Jump to content


แรงงานไทยกับการรับมือการเปิดเสรีแรงงาน


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 Guest_Jobstreet_*

Guest_Jobstreet_*
  • Guests

ตอบ 28 เมษายน พ.ศ. 2555 - 14:34

นายจ้างแนะทางรอดหลังเปิดเสรีแรงงาน

ให้ลูกจ้างหมั่นเรียนรู้ให้รอบด้าน เน้นการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ



จ็อบสตรีทดอทคอมหนึ่งในเว็บไซต์จัดหางานที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทยและมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการส่งเสริมความก้าวหน้าด้านอาชีพได้จัดทำผลสำรวจล่าสุดเรื่อง“แรงงานไทยกับการรับมือการเปิดเสรีแรงงาน” พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่รู้จักการเปิดเสรีแรงงานและในจำนวนนั้น 43% เชื่อว่าจะทำให้แรงงานไทยหางานได้ยากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับฝ่ายนายจ้าง ที่มีเพียง 34% เท่านั้นที่เชื่อว่านโยบายนี้จะส่งผลดีต่อแรงงานไทย

ในปีที่ผ่านมา ประเด็นด้านแรงงานที่มีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง คือการปรับขั้นค่าแรงขั้นต่ำ และ เปิดเสรีแรงงานอาเซียน ซึ่งนอกจากหน่วยงานด้านการศึกษาที่ต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตใหม่สามารถรับมือกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ในอีก 3 ปีข้างหน้าแล้ว หน่วยงาน องค์กร และบริษัทต่างๆ เองก็ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ การประกาศใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำ300 บาท ก็มีผลกระทบไม่น้อยต่ออุตสาหกรรมการจ้างงาน จ็อบสตรีทดอทคอมจึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็น ของทั้งฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง ในสองประเด็นดังกล่าวขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้รับทราบความคิดเห็นและการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือในแง่ของการวางแผนด้านแรงงานที่มีต่อ 2 กรณีดังกล่าวนอกจากนี้ยังได้สำรวจถึงความพอใจต่อการทำงาน และความคาดหวังของลูกจ้างต่อนายจ้างและความหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง ซึ่งได้ทำเป็นต่อเนื่องเป็นปีที่สองเนื่องในวันแรงงานด้วย ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างในบริษัทเอกชนจำนวน 2,890ราย และกลุ่มตัวแทนนายจ้างจำนวน303 องค์กร

สำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือการเปิดเสรีแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น จากการสำรวจพบว่ามีแรงงานเพียง 56% เท่านั้นที่ระบุว่ารู้จักนโยบายดังกล่าว โดยในจำนวนนั้น 43% เชื่อว่าจะมีผลให้แรงงานไทยหางานได้ยากขึ้น ในส่วนของนายจ้างนั้น 34% คิดว่ามีผลดีต่อแรงงานไทย ในขณะที่ 20% คิดว่าไม่เป็นผลดีต่อแรงงานไทย และ นายจ้างส่วนใหญ่ถึง46% ไม่แน่ใจและไม่ทราบว่าจะส่งผลดีหรือร้ายต่อแรงงานไทย

เหตุที่นายจ้าง 20% คิดว่าการเปิดเสรีแรงงานจะไม่เป็นผลดีต่อแรงงานนั้น 62% เชื่อว่าการลงทุนอาจไหลไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากกว่า เนื่องจากต้นทุนถูกกว่า ทำให้กระทบต่อการจ้างงานในไทย ในขณะที่คิดว่า การที่แรงงานไทยขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษจะส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้เมื่อเปิดเสรีแรงงาน นอกจากนี้ อีก 6% เชื่อว่า แรงงานไทยที่มีทักษะสูงจะออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมการจ้างงานเกิดภาวะสมองไหล

งานสำรวจครั้งนี้มุ่งเน้นที่การเตรียมความพร้อมต่อความเปลี่ยนแปลงด้านการจ้างงานทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อหวังว่าแรงงานไทยจะสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ หลังจากการขึ้นค่าแรงมีผลบังคับใช้แล้ว และจะมีการเปิดเสรีแรงงานในอีกไม่กี่ปีนี้ ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายค่าแรงมากขึ้น ย่อมคาดหวังการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากพนักงาน ในขณะเดียวกัน เมื่อเปิดเสรีแรงงานแล้ว ตัวเลือกของทั้งนายจ้าง และลูกจ้างเองก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกันแรงงานที่มีทักษะก็สามารถเลือกที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่อาจได้รับค่าจ้างสูงกว่า ในขณะเดียวกันนายจ้างเองก็อาจมีตัวเลือกเป็นแรงงานต่างชาติที่มีทักษะดีกว่าโดยเฉพาะในด้านภาษา

จ็อบสตรีทดอทคอมในฐานะที่เป็นสื่อกลางระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง ได้รวบรวมคำแนะนำจากนายจ้างที่ฝากมายังลูกจ้างเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่การเปิดเสรีแรงงานดังนี้ คือ เพิ่มทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ, หมั่นหาความรู้ ความสามารถเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถทำงานได้หลากหลายขึ้น (Multi Skill), มีวินัยในการทำงาน อดทน สู้งาน ไม่เลือกงาน และสุดท้ายคือ เตรียมรับมือกับการทำงานกับคนที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรม

เมื่อสอบถามถึงเรื่องการขึ้นค่าแรงหรือขึ้นเงินเดือนประจำปี 2555 ลูกจ้าง 52% ระบุว่าได้รับค่าแรงเพิ่ม โดย 36% ในจำนวนนั้น เป็นผลจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เมื่อถามต่อไปถึงความเห็นที่มีต่อการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 37% เชื่อว่ามีผลดีต่อทั้งตนเองและเศรษฐกิจโดยรวม 35% เชื่อว่ามีผลดีต่อตนเองแต่ไม่ดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม 8% คิดว่าไม่เป็นผลดีต่อตนเองแต่ดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม อีก 20% เชื่อว่าไม่ดีต่อทั้งตนเองและเศรษฐกิจโดยรวม

ในฝ่ายนายจ้างนั้น พบว่า 51% มีการปรับขึ้นค่าแรงตามที่กฏมายกำหนด ในขณะที่ 37% ระบุว่าค่าแรงที่จ่ายเกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว 8% ระบุว่าไม่ได้ปรับขึ้นเนื่องจากไม่ได้อยู่ใน 7 จังหวัดนำร่อง และ ไม่ได้ปรับขึ้นเนื่องจากเหตุผลอื่นๆ อีก 4%

จ็อบสตรีทดอทคอมได้สำรวจต่อไปถึงผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ที่มีต่อการจ้างงานในส่วนของนายจ้าง พบว่า 52% ของกลุ่มนายจ้างที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าการปรับขึ้นค่าแรงนั้นไม่ได้มีผลต่อการจ้างคนเพิ่มในอนาคต ยังคงมีการจ้างพนักงานเป็นปกติ ในขณะที่ 21% ระบุว่าจะมีการรับคนน้อยลง 5% ระงับการจ้างพนักงานเพิ่ม 12% ไม่มีการจ้างเพิ่มและลดการงานล่วงเวลาลงด้วย โดยกลุ่มที่ระบุว่าจะมีการชะลอและระงับการจ้างพนักงานเพิ่มนั้น 38% คาดว่าจะมีผลต่อไป 3-6 เดือน 22% คาดว่ามีผลมากกว่า 12 เดือน 21% คาดว่าจะมีผลไปอีกเพียง 1-3 เดือน และ 19% คาดว่าน่าจะมีผลต่อไปอีกในระหว่าง 6-12 เดือน

และในวันแรงงานของทุกปี จ็อบสตรีทได้ทำการสำรวจความพึงพอใจในการทำงานของลูกจ้าง และความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง โดยปีนี้จัดสำรวจเป็นปีที่ 2 แล้วพบว่า 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามขณะนี้มีงานทำ แต่ในจำนวนนี้ มีเพียง 36%เท่านั้นที่พอใจกับงานที่ทำในปัจจุบัน 32% รู้สึกเฉยๆ และ อีก 32% ไม่พอใจกับงานในปัจจุบัน โดยสาเหตุหลักที่ไม่พอใจกับงานที่ทำนั้น 52% ระบุว่าเนื่องจากเงินเดือนและค่าตอบแทนไม่จูงใจ 13% ระบุว่าไม่พอใจเจ้านาย 10% ระบุว่างานไม่ท้าทาย 6% ไม่พอใจเนื่องจากที่ทำงานอยู่ไกลเกินไป และเนื่องจากเหตุผลอื่นๆ อีก 18% ซึ่งเหตุผลที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดในเหตุผลอื่นๆ คือ เนื่องจากไม่พอใจในระบบการทำงานขององค์กร และ ไม่มีความมั่นคง ขาดความก้าวหน้า เมื่อเทียบกับผลสำรวจเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมานั้น พบว่าสาเหตุหลักที่ลูกจ้างไม่พอใจกับงานที่ทำนั้น ยังคงเป็นเหตุผลอันเนื่องมาจาก ค่าตอบแทนไม่จูงใจ เช่นเดิม

ทั้งนี้ สิ่งที่แรงงานไทยอยากจะได้จากนายจ้างมากที่สุดในปีนี้ได้แก่ การให้ความเป็นธรรมไม่เอาเปรียบพนักงาน 41% รองลงมาคือ การขึ้นค่าแรงหรือเงินเดือนให้เหมาะสม 27% การเพิ่มสวัสดิการและวันหยุด 14% การเลื่อนตำแหน่งหรือมอบหมายงานที่ท้าทายขึ้น 12%

สำหรับความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้างนั้น พบว่า นายจ้าง 46% คาดหวังว่าลูกจ้างจะมีความรับผิดชอบ และรู้จักหน้าที่ของตน รองลงมา 37% คาดหวังความกระตือรือร้น และทุ่มเทในการทำงาน อันดับต่อมาที่นายจ้างต้องการคือ ความจงรักภักดีต่อองค์กร 7% และ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน 7%

ความต้องการของลูกจ้าง VS ความต้องการของนายจ้าง




ลูกจ้าง


นายจ้าง


การปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเป็นธรรม ไม่เอาเปรียบ
รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ขึ้นค่าแรงหรือเงินเดือนให้เหมาะสม
กระตือรือร้น ทุ่มเทในการทำงาน
เพิ่มสวัสดิการและวันหยุด
จงรักภักดีต่อองค์กร
การเลื่อนตำแหน่งหรือมอบหมายงานที่ท้าทายขึ้น
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน