Jump to content


Photo

"เพียงไม่ทำชั่ว ยังไม่นับว่าเป็นคนดี"


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 Suraphan07

Suraphan07

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,016 posts

ตอบ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 - 09:56

เพียงไม่ทำชั่ว ยังไม่นับว่าเป็นคนดี

สพฺพาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ

ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
ทำความดีให้พร้อม
ทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


พุทธวจนะข้างต้นเรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์"(หลักคำสอนสำคัญ) อันเป็น "หัวใจพระพุทธศาสนา"พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ที่มาประชุมกันที่พระเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย ในวันเพ็ญเดือนสาม
เหตุการณ์ครั้งนั้นได้กลายมาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งชื่อ "วันมาฆะบูชา" ชาวพุทธได้เฉลิมฉลอง
สืบต่อมาจนบัดนี้


พระพุทธองค์ได้ประทานหลักการปลูกฝังและพัฒนาตน ให้เป็นคนดีไว้ ๓ หลัก ซึ่งจะต้องกระทำต่อเนื่องกันไปเป็นขั้นตอนคือ

ขั้นแรก ต้องละเว้นความชั่วทั้งปวง คือเว้นจากการกระทำที่ทำตัวเราให้ชั่ว ให้เลวทรามลงทั้งหมด
เปรียบได้กับการปราบพื้นที่ เช่นไถ พรวนดิน กำจัดวัชพืช ทำพื้นที่ให้เหมาะสมที่จะเพาะปลูกพันธุ์พืช
ขั้นที่สอง ต้องกระทำความดีเสริม คือ สร้างพฤติกรรมที่จะทำให้จิตใจเราสูงขึ้น ประเสริฐขึ้น เปรียบได้กับ
นำเอาพันธุ์พืชที่ต้องการเพาะหรือปลูกลงยังพื้นที่ซึ่งได้เตรียมไว้แล้ว
ขั้นที่สาม ต้องทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง ทำใจให้สะอาดหมดจดจากสิ่งมัวหมอง เบื้องต้นต้องถอนจิตจากเรื่องร้ายเสียก่อน เช่น คิดจะโกง คิดจะเอารัดเอาเปรียบเขา คิดจะล้างผลาญเขา ก็ถอนใจออกมาเสีย แล้วน้อมใจไปในเรื่องที่ดีงาม
ที่ทำให้จิตบริสุทธิ์สะอาดขึ้น สูงขึ้น เปรียบได้กับการ เอาใจใส่ดูแล รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้แก่พันธุ์พืชที่เพาะปลูกแล้วให้เจริญเติบโต


เพาะปลูกพืชจะให้ได้ผลผลิตสมบูรณ์ดี ก็ต้องทำเป็นขั้นตอน
การปลูกฝังความดีงามในตัวคนก็จะต้องทำเป็นขั้นตอนเช่นกัน
และต้องทำให้ครบ สมบูรณ์เต็มที่ ไม่ขาดตกบกพร่องด้วย

เพียงงดเว้นจากความชั่วเท่านั้น ผู้รู้ท่านเรียกว่า
"คนไม่ทำชั่ว"
งดเว้นจากความชั่วแล้วทำความดีเสริมเต็มความสามารถ อาจเรียกเขาว่า "คนดี"
งดเว้นจากความชั่ว ทำความดีให้พร้อม และทำจิตให้สะอาดผ่องใส จึงควรได้สมญาว่า "คนดีที่แท้จริง"

จากหนังสือ : สัมผัสพระพุทธเจ้าด้วยใจ
อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก