และหรือแสดงพฤติการณ์ เจตนาจงใจฝ่าฝืน..
ถึง ณ.เวลานี้บ้านเมืองไม่ได้เสียหาย
แต่ถ้าดันทุรังทำไปบ้านเมืองเสียหายหรือไม่?
อย่ามาตั้งโจทย์ว่าศาลจะไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ
ระหว่างนักการเมือง นักวิชาการ ที่คิดจะงัดข้อกับนักกฏหมาย
ลองดูซักตั้งซิว่า.."ใครจะแม่น..กติกามากกว่ากัน"
เพียงแต่ว่าหากตกม้าตายห่านไปเองก็อย่ามาเล่นบทดราม่า
ร้องเหมือนหมาขี้เรื้อนว่าถูกกลั่นแกล้งทางการเมืองอีกล่ะ...
ศาลรธน.ขู่ดึงดันถึงขั้นยุบพรรค
อาจารย์ นิติฯ มช. ชี้ชัด ศาลไม่มีอำนาจระงับ โหวต รธน.วาระ 3 เสนอ ปธ.สภา ทำหนังสือขอเหตุผล การใช้อำนาจตาม ม.68 ด้าน ศาล รธน. ขู่ ดึงดันเดินหน้า อาจถึงขั้นยุบพรรค
นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมสั่งระงับการพิจารณาในวาระที่ 3 ซึ่งยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนฯ ควรทำหนังสือไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอดูรายละเอียดเหตุผลถึงการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ที่อ้างการใช้อำนาจตามมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญ ก่อนจะหาช่องทางดำเนินการต่อไป เช่นเดียวกับศาลที่ต้องชี้แจงว่า อำนาจของตนมีสิทธิในส่วนใดบ้าง
"ผมมองว่า การกระทำของศาลในกรณีนี้ ไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ หรืออย่างมากที่สุดหากมีการอ้างตามมาตรา 68 ก็ขอให้มีการพิจารณาเลยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร แต่ยืนยันว่า การรับวินิจฉัยและสั่งระงับการพิจารณาในวาระที่ 3 ซึ่งเปรียบเสมือนการสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่มีกฎหมายใดรองรับแน่ และไม่เป็นไปตามมาตรา 68"
นายสมชาย กล่าวว่า บทบัญญัติในมาตรา 68 เป็นไปเพื่อการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การพิจารณาว่า กฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ จะอยู่ในข่ายมาตรา 154 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุถึงการส่งร่างกฎหมายที่ตราขึ้นใหม่ และข้องใจถึงการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็เกิดขึ้นตามปกติไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ เพราะการร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 40 ยังไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการจะดำเนินการใดต้องระวัง เพราะจะเป็นการวางหลักเกณฑ์ประเทศในครั้งต่อไป
โฆษกศาลรธน. ยัน มีอำนาจทำได้
ด้านนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษพรรคเพื่อไทย ระบุว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณา เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการรับคำร้องดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับคำร้องจากอัยการสูงสุดเท่านั้นว่า เป็นการตีความของโฆษกพรรคเพื่อไทยเอง แต่ถ้าได้อ่านเอกสารของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.55 จะชัดเจนว่า คณะตุลาการได้ตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้ว่า ประชาชนสามารถสามารถใช้สิทธิในเรื่องนี้ผ่าน 2 ช่องทาง คือผ่านทางอัยการสูงสุดและยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
"จากคำให้สัมภาษณ์ ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้บอกชัดเจนแล้วว่า คณะตุลาการฯ เห็นว่า มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณา"
นายพิมล กล่าวว่า เรื่องนี้ ก่อนที่คณะตุลาการจะมีหนังสือไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ก็ได้มีการพูดคุยกันและพิจารณาแล้วว่า การชะลอการรับร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน ไม่ได้เกิดความเสียหาย ซึ่งส่วนตัวเองเห็นว่า หากรัฐสภาเดินหน้าประชุมต่อ ก็ต้องรับผิดชอบกับผลที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ตุลาการได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ยังบอกไม่ได้ว่า ถ้ามีการดำเนินการอย่างนั้นจริงศาลจะมีท่าทีอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น แต่คิดว่าตุลาการฯ คงจะต้องมีการหารือกัน
นายพิมล ยังกล่าวถึงการตั้งข้อสังเกตว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาเรื่องนี้ค่อนข้างเร็วว่า ส่วนตัวมองถึงสภาพแวดล้อมทางการเมือง และสภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้นว่า เรารอได้หรือไม่ และได้ชี้แจงไปก่อนแล้วว่า การใช้อำนาจของคณะตุลาการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการใช้อำนาจในเชิงป้องกันไม่ใช่การแก้ไข ซึ่งการรับเรื่องไว้พิจารณาหรือไม่นั้น เป็นดุลยพินิจของคณะตุลาการฯ รวมถึงต้องพิจารณาว่า เป็นไปตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการกำหนดว่าเรื่องประเภทใดจะต้องพิจารณาจะรับหรือไม่รับภายในระยะเวลาเท่าใดนับแต่มีการยื่นคำร้องเข้ามา
ทั้งนี้ ปกติเมื่อเรื่องเข้ามายังสำนักงานฯ แล้วก็จะมีการแต่งตั้งตุลาการฯประจำคดี ว่าควรรับหรือไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย หากเห็นว่า สมควรรับ ก็ดำเนินการต่อ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับก็เสนอให้ที่ประชุมคณะตุลาการฯพิจารณา แต่ในกรณีคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้อำนาจตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และได้ให้ตุลาการทั้งหมดเป็นตุลาการประจำคดี คือทั้งองค์คณะช่วยกันพิจารณา ว่าจะรับหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ท่านเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญ
"การพิจารณาลักษณะเช่นนี้ก็เคยทำในกรณีการพิจารณา พรก. , ร่างพรบ.งบประมาณ และกรณีของขอให้ตรวจสอบความถูกต้อง ของพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่จะมีการประชุม คณะตุลาการฯ ก็จะมีการพูดคุยแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองทุกครั้ง"
ผู้สื่อข่าวถามว่า การรับเรื่องไว้พิจารณาของศาล ทำให้ถูกมองว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ทหารเข้ามาทำรัฐประหารเร็วขึ้นหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า คงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะการที่เราจะดำเนินการอะไรก็ระมัดระวังอยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญก็ไม่อยากให้ทหารเข้ามา
ขู่ ดึงดันเดินหน้าทำให้เสียหาย อาจถึงขั้นยุบพรรค
ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า สำหรับบทลงโทษกรณี หากประธานสภาไม่ฟังคำสั่งศาล ที่ออกคำสั่งให้ชะลอการพิจารณาการลงมติในการแก้รัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ไปก่อนจนกว่าศาลจะวินิจฉัยแล้วเสร็จ ถึงแม้ตามรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ แต่เมื่อศาลมีคำสั่งก็ต้องผูกพันองค์กร
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญของมาตรา 68 วรรคสาม ระบุ ว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการ เนื่องจากเห็นว่า เห็นมีบุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการกล่าวแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมือง ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางล้มล้างได้
แหล่งข่าว ระบุด้วยว่า การที่เขาจะเดินหน้าต่อ บทลงโทษก็คงไม่มี แต่เมื่อแสดงพฤติการณ์ เจตนาจงใจฝ่าฝืน ศาลรัฐธรรมนูญคงไปห้ามไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการจงใจแสดงให้เห็นพฤติการณ์ว่า กำลังจะมีการพฤติการณ์ ส่อไปทางนั้นหรือไม่ ทั้งที่ศาลเองก็ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า การที่พ้น 15 วันไปแล้ว ไม่ลงวาระที่ 3 จะส่งผลเสียหายอะไร
"บ้านเมืองไม่ได้เสียหาย แต่ถ้าดันทุรังทำไปบ้านเมืองเสียหายหรือไม่ อย่ามาตั้งโจทย์ว่าศาลจะไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ" แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ
ที่มา.http://bit.ly/KwtznD
Edited by zeed~ko, 5 June 2012 - 09:43.