Jump to content


Photo
- - - - -

คมชัดลึก 4-6-55 ตอน ศาลรัฐธรรมนูญ...ศาลรัฐประหาร?


  • Please log in to reply
81 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 BlueArmy

BlueArmy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 287 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 00:02

ประเด็นเรื่องศาลรธน.สามารถรับเรื่องโดยไม่จำเป็นต้องให้อัยการเป็นคนยื่น กับ เรื่องที่ศาลมีคำสั่งให้พท.ชะลอการพิจรณา อันนี้ผมเข้าใจนะครับอันนี้ผมเห็นด้วยกับศาล

เสื้อแดงก็ยังไม่สมควรจะโวยวายกันเพราะศาลรธน.ยังไม่ได้วินิจฉัยเลย ศาลอาจยกคำร้องก็ได้ ถ้าศาลยกคำร้องเสื้อแดงก็คงออกมาบอกว่าศาลยุติธรรมที่สุดอีก(เฮ้อ!)

แต่ผมติดใจเรื่องการตีความของศาลเท่านั้นครับ ว่าศาลตีความเกินขอบเขตไปรึเปล่า คือศาลไม่ได้ตีความแบบคุณรสนานะครับ ศาลตีความแบบเพิ่มเนื้อหาเข้าไปด้วยเลย


ผมว่าไม่มีมนุษย์หน้าไหนสามารถใส่รายละเอียดลงไปในรัฐธรรมนูญได้ครบถ้วนทุกอย่างหรอกครับ ที่ผ่านมาจะได้ยินอยู่บ่อยๆว่าเป็นช่องโหว่ของกฎหมาย อ้างกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องปฏิบัติหรือไม่มีบทลงโทษ ส่วนที่คลุมเครือไม่ชัดเจนต่างก็ตีความเข้าข้างตัวเองกัน เป็นประเด็นขัดแย้งในสังคม จึงได้มีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา ซึ่งหน้าที่ที่กำหนดไว้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพิจารณาว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถึงแม้ว่าจะบอกว่าศาลตีความเรื่องที่ไม่มีกำหนดไว้ในหน้าที่ของศาล รธน. แต่เรื่องที่พิจารณาทั้งหมดก็เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร หรือแม้กระทั่งศาลเองก็เกิดขึ้นมาจากรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถโต้แย้งการทำหน้าที่ของศาล รธน. ซึ่งถือเป็นที่สุด
และวิธีพิจารณาคดี ศาลก็จะยกกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาใช้พิจารณาคดี ไม่ใช่ว่า5ใน9คนคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น

Edited by BlueArmy, 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 00:05.

ชีวิตยอมพลีเพื่อชาติ เลือดทุกหยาดแด่ภูมินทร์ แม้นชีพม้วยไร้ชีวิน วงศ์จักรินทร์คงสืบไป

#52 turbora

turbora

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 314 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 01:10

Posted Image


ก็เขียนไว้ชัดเจนนี่ครับ มาตรา68 วรรค2 เสนอเรื่องให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ
ถ้าติดต่องานกับหน่วยราชการแล้ว เจอwording แบบนี้คุณต้องทำทั้งสองอย่าง และทั้งสองหน่วยงานมีหน้าที่ต่างกัน ถ้าคุณยื่นให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริง
หลังจากท่านตรวจสอบแล้วสรุปเสร็จเลิกเลยก็อาจจะเป็นได้ เราไม่ได้ต้องการให้อัยการเป็นผู้วินิจฉัย แต่เราต้องการให้ศาลเป็นผูวินิจฉัยเป็นอำนาจของศาลท่าน
ฉะนั้นอำนาจที่จะรับหรือไม่รับต้องเป็นของท่าน เดี๋ยวนี้พวกศรีธนญชัยมันเยอะเวลายื่นอะไรต้องให้coverที่สุด ตัดสินได้อย่างใจก็เห็นด้วยชื่นชม
พอไม่ได้อย่างใจก็ออกมาโวยวาย จะถอดถอน เวรกรรม

#53 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:51

อ่านมาตรา 68 อีกครั้ง...."ศาลมีอำนาจสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว"

Edited by Can Thai, 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:52.


#54 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:59

เห็นหลายท่านสงสัยว่าศาลใช้อำนาจเกินหน้าที่และขอบเขตหรือไม่

ผมกลับสงสัยข้อเท็จจริงนี้ครับ

ถ้าศาลเองก็ไม่แน่ใจว่าเกินหน้าที่หรือไม่ เสียงน่าจะแตกกว่านี้นะครับ แต่นี่..ทำไมตุลาการถึงลงคะแนนรับคำร้องถึง 7 ต่อ 1?

Edited by ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:59.

gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#55 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 06:47

ตอนที่ 2


#56 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 08:23

เห็นหลายท่านสงสัยว่าศาลใช้อำนาจเกินหน้าที่และขอบเขตหรือไม่

ผมกลับสงสัยข้อเท็จจริงนี้ครับ

ถ้าศาลเองก็ไม่แน่ใจว่าเกินหน้าที่หรือไม่ เสียงน่าจะแตกกว่านี้นะครับ แต่นี่..ทำไมตุลาการถึงลงคะแนนรับคำร้องถึง 7 ต่อ 1?

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐๐ วรรคห้า
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้
แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๑๗ ศาลมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี ดังต่อไปนี้
(๒) คดีที่ขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่า บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการโดยใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญ

ข้อ ๒๐ การยื่นคำร้องต่อศาลตามข้อ ๑๗ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ข้อกำหนดนี้ และกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาล

ถามว่าการที่ฝ่ายนิติบัญญัติยังไม่ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย อันนี้ความผิดใครกันครับ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคสอง
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว

ศาลเลยมาตีความประโยคนี้กันว่าจะแยกประโยคยังไง
(1) ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิ “เสนอเรื่อง” ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและ “ยื่นคำร้อง” ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดั งกล่าว หรือ
(2) ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด “ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง” ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
มี 7 คนเห็นตาม (1) และ 1 คนเห็นตาม (2)

แบบนี้ศาลทำเกินหน้าที่อีกหรือครับ

Edited by Solidus, 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 08:24.

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#57 turbora

turbora

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 314 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 08:48

มองง่ายๆครับว่าใครเป็นผู้มีอำนาจพิจรณากม.รัฐธรรมนูญ อำนาจอยู่ที่ใคร อัยการสูงสุดหรือศาลรธน. ถ้าศาลเป็นผู้มีอำนาจนั้นแต่ไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่อง คนที่ร่างเจตนาของก. มาตรานี้มันคงจะวิปริตผิดไปจากคนปกติ อัยการเป็นเพียงช่องทางหนึ่งที่กำหนดไว้เป็นแนวทางหนึ่งเท่านั้น ถ้าการเสนอเรื่องต้องผ่านอัยการสูงสุดเพียงช่องทางเดียวก็คงไม่ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ครับ ให้อัยการเป็นผู้วินิจฉัยได้เลย ในมาตรา68วรรค2ก็เขียนอยู่ชัดเจนว่า ให้เสนอเรื่องผ่านอัยการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลวินิจฉัย จะเห็นว่าอำนาจอยู่ที่ศาล อัยการไม่มีหน้าที่วินิจฉัยเป็นเพียงบุรุษไปรษณีย์เท่านั้นไม่ว่าจะตรวจสอบแล้วว่าเท็จหรือจริงก็ต้องยื่นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยอีกทีหนึ่ง ให้สังเกตุว่าอำนาจนี้เป็นของศาลโดยครบถ้วนทั้งกระบวนการครับ

ส่วนเรื่องwebของศาลรัฐธรรมนูญนั้น กมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่webของศาลนะครับ ข้อความใดๆในเวปเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติเท่านั้น ในกรณีนี้เมื่อศาลได้วินิจฉัยในเรื่องนี้แล้วหน้าที่ของผู้ที่ดูแลเวปมีหน้าที่เติมข้อความเพิ่มลงไปให้ครบถ้วน เพียงเท่านั้นครับ ไม่ใช่เอาwebมาบังคับอำนาจของศาล นี่แกล้งมึนเล่นบทศรีธนญชัยกันแถมสื่อก็เอาไปตีข่าวสร้างความสับสนเข้าไปอีก เวรกรรมของประเทศจริงๆ

#58 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:34

ความยากมันอยู่ที่ว่า
ที่กำลังมีปํญหา คือ ร่าง..รัฐธรรมนูญ คือ ร่าง ที่ เขียนเพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ ร่าง พรบ
ดังนั้น ศักดิ์เหนือกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ซึ่งต้องเกิดแล้ว)
ซึ่งศาลไม่มีสิทธิ์สั่งชลอได้
นี่แหละถึง ถกเถียงกันมาก ว่า เกินขอบเขต และล้ำอำนาจการถ่วงดุลของนิติบัญญัติ ???

ร่างที่เขียนเพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ = เตรียมล้มรัฐธรรมนูญเดิม
มันก็ไม่ได้เป็นการแก้ไขแล้วสิครับ แต่เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญเดิม

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#59 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:45


ความยากมันอยู่ที่ว่า
ที่กำลังมีปํญหา คือ ร่าง..รัฐธรรมนูญ คือ ร่าง ที่ เขียนเพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ ร่าง พรบ
ดังนั้น ศักดิ์เหนือกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ซึ่งต้องเกิดแล้ว)
ซึ่งศาลไม่มีสิทธิ์สั่งชลอได้
นี่แหละถึง ถกเถียงกันมาก ว่า เกินขอบเขต และล้ำอำนาจการถ่วงดุลของนิติบัญญัติ ???

ร่างที่เขียนเพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ = เตรียมล้มรัฐธรรมนูญเดิม
มันก็ไม่ได้เป็นการแก้ไขแล้วสิครับ แต่เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญเดิม


ขัดมาตรา 68 ชัดแจ้งแดงแจ๋ อิอิ
We love fender.

#60 Shariff

Shariff

    สมาชิกหน้าตาดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,802 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:51

มาตรา 68 นี้ ถ้าดูตามเจตนารมณ์ที่นิติราษฎร์เอามาอ้างว่า ผุ้ร่างเข้าใจตรงกันว่า
ต้องยื่นเรื่องผ่านอัยการนั้น ผมว่าตรงนี้มันไม่ใช่เจตนารมณ์ของ มาตรา 68 เพราะ

เจตนารมณ์มันต้องระบุเป็นเหตุเป็นผลว่าที่กำหนดมาอย่างนี้มันเพราะอะไร

เจตนารมณ์ที่แท้จริงมันน่าจะเป็นเพราะเกรงว่าผู้ที่ยื่นเรื่องร้องต่อศาลจะไม่มีความรู้
ในเรื่องการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ จึงให้อัยการช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง
ก่อนยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
คือเราต้องมองในมุมของสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญนะครับ
ไม่ใช่มองในมุมห้ามใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ผู้ที่กำลังคัดค้านอยู่ขณะนี้ ผมว่าเขา
มองในมุมห้ามใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
เมื่อมองในมุมนี้เขาก็ต้องยืนยันหัวชนฝา
ว่าต้องผ่านอัยการแหละครับ เพราะดูเจตนาแล้วไม่ต้องการให้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

แล้วรู้ได้ไงว่าเขาไม่อยากให้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก็เขากำลังจะแก้รัฐธรรมนูญ ม 291
แบบไม่ให้ประชาชนรู้ว่าเขาจะแก้เรื่องอะไรไงครับ แต่มันดันมีคนไปฟ้องศาลซะก่อน
มันก็ต้องอลเวงละครับ เพราะจะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังบอกไม่ได้ว่าจะแก้เรื่องอะไร
ศาลก็ดันมาบอกให้ไปชี้แจงอีก ปัญหาก็คือ จะให้ใครไปชี้แจงกับศาลครับ ผมอยากรุ้
ว่าไอ้ตัวไหนเป็นคนรับผิดชอบไปชี้แจงกับศาล เพราะโกหกประชาชน หรือทำสับขาหลอก
ประชาชนไปวัน ๆ นั้นทำได้ครับ เสียงส่วนใหญ่เขาไม่ถือ แต่จะไปโกหกศาล หรือไปทำ
สับขาหลอกกับศาลนี่ เผลอ ๆ ติดคุกครับ มันก็เลยเป็นปัญหาออกมาเรียงหน้าคัดค้านกัน
เท่านั้นแหละ


ขออนุญาตทำ Hi Light นะครับ
"การปลดปล่อยตัวเองออกจากความเป็นทาสทางความคิดมิใช่ใครอื่น, มีแต่เราเท่านั้นที่จะต้องกระทำ "จากเพลง Redemption song.

#61 MIRO

MIRO

    Praise the Sun

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,883 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:52

ภาคแรกนี่แค่ปูเรื่องครับ ภาคสองบู๊กันอย่างเดียว

อ.สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ชี้แจงได้ดีมากครับ สมกับเป็นสมาชิกสภาร่างรธน. พ.ศ.50

คุณจอมขวัญถามคุณนิพิฎฐ์ว่ามีสิทธิ์โดนแบบทรท. พปช. มั๊ย ?
คุณนิพิฎฐ์ - แน่นอน ผิดอีกก็ยุบอีก
ประสพ บุษราคัม - (เม้งแตก)ยุบอีกคราวนี้เราจะตั้งพรรคเสื้อแดง!!!


ตั้งพรรคหอยพรรคปู ก็ตั้งไปเถอะ
แต่อย่ามา เจือกอ้างประชาธิปไตยอีกละ -_-

The most valuable things in life are not measured in monetary terms.

The really important things are not houses and lands, stocks and bonds, automobiles and real estate,

but friendships, trust, confidence, empathy, mercy, love and faith.


#62 99 ราตรี

99 ราตรี

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 361 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:59

คือศาลยังแค่รับเรื่องไว้พิจารณานะคับยังไม่ได้ตัดสินเลยเรื่องอาจจะผ่านแบบ พรก.กู้เงิน ก่อนหน้านี้ก้ได้ จะรีบดิ้นไปไหนนี่ยังไม่ทันตัดสินเลยก็จะล้มศาลกันแล้วถ้าผลออกมาผิดจริงคนพวกนี้ไม่มีทางยอมรับหรอก

ปล.มีคนพวกนี้มากๆประเทศชาติเสี่ยงอันตรายมาก

#63 18Bottle

18Bottle

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 777 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:23

คือศาลยังแค่รับเรื่องไว้พิจารณานะคับยังไม่ได้ตัดสินเลยเรื่องอาจจะผ่านแบบ พรก.กู้เงิน ก่อนหน้านี้ก้ได้ จะรีบดิ้นไปไหนนี่ยังไม่ทันตัดสินเลยก็จะล้มศาลกันแล้วถ้าผลออกมาผิดจริงคนพวกนี้ไม่มีทางยอมรับหรอก

ปล.มีคนพวกนี้มากๆประเทศชาติเสี่ยงอันตรายมาก


เค้าเรียกว่า ประชาธิปไตย์แบบ "ไอ่-hear-แม้ว" คือถ้าไม่เข้าทางกรู ให้ถือว่าผิดทั้งหมด

อำมาตย์แกล้ง กรูไม่ยอม กรูจะสั่งเผา !!! <_<

#64 tumzzz

tumzzz

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 134 posts

ตอบ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:47

มาตรา 68 วรรค 2
ตรงคำว่า ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่อง
-ตรงคำว่ามีสิทธิ แสดงว่า เค้าเปิดช่องให้ ถ้าเป็นการบังคับว่าต้องให้อัยการยื่นอย่างเดียว ผมว่าเค้าจะไม่เขียนคำว่ามีสิทธิลงไป แต่จะเขียนว่าให้ส่งให้อัยการยื่นไปเลย
ดังนั้น จะตีความประโยคต่อไป "และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย" ให้หมายถึงอัยการยื่น อย่างเดียวไม่ได้
ผมว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายน่าจะเป็นแบบนี้ คือไม่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่อัยการฝ่ายเดียว

ประโยคท้าย " ห้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว"

ชัดเจนอยู่แล้วครับว่า ศาลมีอำนาจสั่งให้เลิกได้

ความเห็นส่วนตัวนะครับ พอดีไม่ได้ดูรายการ ผิดพลาดขออภัย ^^

#65 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 04:42

ไหนๆตั้งกระทู้แล้วก็เอาให้ครบไตรภาคไปเลย

ตอนที่ 3
http://www.youtube.com/watch?v=V4GWzoE-twM
คมชัดลึก 6-6-55 ตอน ศาลรัฐธรรมนูญ...ศาลรัฐประหาร? ตอน3 ผู้ร่วมรายการ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักฎหมายอิสระ,วัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย,วรินทร์ เทียมจรัส อดีตสมาชิกวุฒิสภา,วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์

เทปนี้ผมเห็นด้วยกับท่าน อ.วรินทร์ เทียมจรัสหลายเรื่อง แต่รำคาญคุณจอมขวัญบ้างนิดหน่อยนะ ส่วนดร.วีรพัฒน์เทปแรกพูดดีมีหลักการนะ แต่ไหงมาหัวทิ่มไปไม่เป็นท่าตอนเทปสามได้ ข้อเสนอให้ถอยคนละก้าวของดร.วีรพัฒน์มันก็คือเกี้ยเซี๊ยะกันนะ แนวคิดแบบนี้น่ากลัวนะเพราะถ้าอำนาจอธิปไตยรวมหัวกันเกี้ยเซี้ยกันแบ่งผลประโยชน์ โดยที่ไม่ยอมทำหน้าที่ถ่วงดุลตรวจสอบ แล้วอย่างนั้นปชช.จะได้อะไร พูดซะดิบดีมาเสียตอนเสนอแนวคิดบ้าๆแบบนี้แหละ ถึงจะมีเจตนาบริสุทธิ์เพื่อหาทางออกก็เถอะ

#66 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 05:25

ประธาน ................กิริยา ................................กรรม ..............อนุประโยค(ประโยคย่อย)
ผู้ทราบการกระทำ ย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องให้ อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรธน.

ประโยคหลัก
ผู้ทราบการกระทำ ย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องให้ อัยการสูงสุด

ประโยคย่อย
อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรธน.

อันนี้คือที่ดร.วีรพัฒน์อ้างว่าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาแล้วบอกว่า ต้องเกิดเหตุการณ์ในประโยคหลักก่อนถึงจะไปประโยคย่อยได้ เหตุการณ์มันจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน

แต่ผมเห็นแย้งนะครับ ดร.วีรพัฒน์ใช้ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย แต่ผมขอใช้ภาษาคน(ทั่วไป) แบบชาวบ้าน
สมมุติว่า ผมเขียนข้อความทิ้งไว้ฝากให้น้องไปซื้อของว่า

"ให้ไอ้ปึ้ด ไปซื้อก๋วยเตี๋ยวหน้าอัยการ และ ไปซื้อโอเลี้ยงที่หน้าศาล"

ถามว่าจำเป็นมั๊ยว่าต้องไปซื้อก๋วยเตี๋ยวให้เสร็จก่อนถึงจะไปซื้อโอเลี้ยงได้ แล้วถ้าเกิดร้านก๋วยเตี๋ยวมันปิดแปลว่าก็ไม่ต้องซื้อโอเลี้ยงรึเปล่า ? แล้วต้องไปซื้อก๋วยเตี๋ยวที่หน้าอัยการที่เดียว แล้วให้ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นคนไปซื้อโอเลี้ยงให้รึเปล่า ?

Edited by Moo3storey, 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 05:29.


#67 อย่าเอยนามข้า

อย่าเอยนามข้า

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 152 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 10:12

ความยากมันอยู่ที่ว่า
ที่กำลังมีปํญหา คือ ร่าง..รัฐธรรมนูญ คือ ร่าง ที่ เขียนเพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ ร่าง พรบ
ดังนั้น ศักดิ์เหนือกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ซึ่งต้องเกิดแล้ว)
ซึ่งศาลไม่มีสิทธิ์สั่งชลอได้
นี่แหละถึง ถกเถียงกันมาก ว่า เกินขอบเขต และล้ำอำนาจการถ่วงดุลของนิติบัญญัติ ???


ตอนนี้นกฉัตรชัย กับนก สินจัยเข้ายอมรับแล้วนะค่ะว่าเค้าเป็นแฟนกันรู้ไหม เหอๆ หรือว่าคุณไม่รู้จริงๆว่าตอนนี้ไทยมีรัฐธรรมนูญอยู่แล้วใครเข้าใช้ร่างกฎหมายมาใช้บังคับกันวะ เข้าใจคำว่าร่างไหมหืมมมมมม แต่เนื้อหาเข้าข่ายฉีกทั้งฉบับนะเฟ้ย อย่างนี้เข้าเรียก กบฎนิติบัญญัติ
อย่าถามว่าทำไมจึงรักเพราะความรักมักไม่มีเหตุผล แล้วทำไมจึงภักดีนั้นเพราะความดีของผู้นั้นมากมายและแท้จริงเหนือสิ่งอื่นใดทำไมต้องหมอบกราบคลานเข่าเพราะด้วยความเคารพรักยิ่ง ทำไมจึงห่วงแหนและเทิดทูนเพราะผู้มีความดีอันยิ่งใหญ่นั้นมีรักแท้อันเต็มไปด้วยความเสียสละแม้เหน็ดเหนื่อยมากเพียงใดไม่เคยปริปากบ่น ไม่เคยเรียกร้องให้ใครมารักนี่เป็นบารมีของผู้ยิ่งใหญ่ที่เราเทิดไว้ยิ่งชีวิต

#68 ไร้สีไร้กลิ่น

ไร้สีไร้กลิ่น

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,501 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 10:59

สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบมีความแตกต่างกัน (แต่พิธีกรคิดไม่ทันว่าผู้สัมภาษณ์หลุดประเด็น)

ปัจจุบัน - แก้พรบ. เป็นเรื่องไม่เร่งด่วน มีผลกระทบมาก และมีความไม่ชอบมาพากล ผิดหลักกฎหมาย จึงต้องใช้อำนาจศาลมาตัดสินโดยให้ชะลอก่อน
นักวิชาการกลับยกเรื่องอนาคต - เรื่องเร่งด่วนที่มีผลต่อคนมาก แต่มีคนไปยื่นต่อศาลให้ชะลอการออกพรบ.ทำให้เสียหาย นี่เรียกว่ากังวลเกินกว่าเหตุ เรื่องยังไม่เกิดขึ้น ปัจจุบันศาลก็ไม่ได้รับเรื่องสะเปะสะปะ

เวลาจะสนทนาก็ควรสนทนาในบริบท สถานการณ์แบบปัจจุบัน ว่าศาลทำสมควรหรือไม่อย่างไร ไม่ใช่ไปยกกรณีอนาคตที่ยังไม่เกิด

เหตุการณ์ปัจจุบัน - การออกพรบ.มีผลทำให้คนผิดเป็นถูกโดยการใช้อำนาจเผด็จการรัฐสภา สิ่งที่เป็นประจักษ์พยานแล้วคือมีผู้คนไม่เห้นด้วย ออกมาต่อต้าน ผิดตามหลักการกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ผิดหลักนิติรัฐ การที่อัยการทำงานอยู่คนเดียวอาจผิดพลาดได้ก็ต้องมาช่วยพิจารณา โดยยังไม่ให้การตัดสิน แต่ให้ชะลอการใช้พรบ.ก่อน แล้วถามว่าเรื่องพรบ.ปรองดองเร่งด่วนสำหรับประชาชนหรือไม่ หรือเร่งเพื่อคนๆเดียว แล้วถ้าชะลอไปก่อนจะมีปัญหาอะไร

ส่วนเรื่องอนาคต โดยส่วนตัวเชื่อว่าศาลก็มีปัญญา มีคุณธรรม คงไม่รับเรื่องสะเปะสะปะ หรือใช้อำนาจโดยมิชอบ แต่ถ้าศาลเป็นเพียงแค่คนอ่านกฎหมาย ไม่รู้จักแยกแยะ ผมว่าจ้างหุ่นยต์มาแทนดีกว่า

- ผมถือว่าศาลเมตตาทั้ง 2 ฝ่าย
1. ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ทบทวนให้ดีก่อนออกพรบ. ซึ่งการชะลอไปก่อนก็ไม่ได้ถือเป็นเรื่องเสียหายต่อประเทศแต่อย่างใด การเร่งกลับมีผลทำให้เกิดแรงต่อต้าน
2. ฝ่ายรัฐบาล ถ้าดื้อดึงออกพรบ. แล้วเกิดเรื่องถึงศาลมีความเห็นว่ารัฐบาลทำผิด ก็จะต้องได้รับโทษหนัก เหมือนกรณีจตุพร กว่าศาลจะตัดสินก็เป็นสส.ไปแล้ว พรรคจะโดนยุบด้วยหรือไม่ก็ยังไม่รู้ แล้วการที่ศาลออกมาชะลอก่อนจะได้ไม่ดึงดันต่อก็เหมาะสมแล้ว
ปล.
- ถ้าศาลทำผิดก็มีวิธีจัดการ แต่คำถามคือ ตอนนี้ศาลผิดยังไง แม้แต่อัยการก็ยังบอกว่าเคารพคำสั่งศาล ไม่เห้นมาตะแบงว่าศาลผิดหรือริดรอนอำนาจตนเลย
- อัยการทำผิดก็มีวิธีจัดการ แต่ตอนนี้มีใครจัดการหรือยัง ทำไมนักวิชาการออกมาตำหนิศาลแต่ไม่ตำหนิอัยการหรือประธานรัฐสภา
-ที่บอกกลัวเป็นบรรทัดฐานต่อไป แล้วไม่ดียังไง ในเมื่อมีการแก้พรบ.ที่ไม่เหมาะสมแล้วศาลสามารถชะลอการพิจารณาได้ ผมว่าเอาเป็นบรรทัดฐานไปเลยยิ่งดีมีคนมาช่วยถ่วงดุลย์ตรวจสอบการประพฤติมิชอบ หรือที่กลัวเพราะไม่อยากให้ตรวจสอบใช่หรือไม่

Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:52.


#69 TH_BorderBoy

TH_BorderBoy

    สมาชิกใหม่มาก

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,484 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:08

ผมว่าเทป 2 อ.สุรชัย ตอบได้ชัดเจนแล้วนะ
เทปนั้น ประสพ บุษราคัม ถึงกับเม้งแตกแถๆ ถูๆ ไปข้างๆ คูๆ
ข้าวของแค่ขึ้นราคา อย่าเรียกว่าของแพง เดี๋ยวเสื้อแดงเขาเคืองเอา

#70 Bourne

Bourne

    สายลับ ๆ ล่อ ๆ หัดเกรียน

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,471 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:17

ผมเข้าใจว่า มาตรา 68 มี 3 ส่วนคือ เจตนารมณ์ ผู้วินิจฉัย และขั้นตอน
- เจตนารมณ์ คือ การป้องกันการล้มล้างการปกครองฯ
- ผู้วินิจฉัย คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะวินิจฉัย ชี้ชัดว่าการกระทำที่ถูกร้องเข้าข่ายหรือไม่ และทำตามเจตนารมณ์ของมาตรา 68 หากวินิจฉัยว่าเข้าข่าย
- ขั้นตอน คือ ยื่นให้อัยการสูงสุดเป็นผู้รับเรื่องและรวบรวมข้อมูล

ปรากฎว่า ส่วน "ขั้นตอน" นั้น "ไม่ทำงาน" และข้อหา "ล้มล้างการปกครองฯ" เป็นข้อหาร้ายแรงที่ควรพิจารณาอย่างเร่งด่วน ประกอบกับเงื่อนเวลาที่จะมีการ vote วาระ 3 ในอนาคตอันใกล้มาก สรุป ตุลาการ เข้ามารับเรื่องเอง ถือว่าสมควรแล้วครับ
ภาระกิจหลักของผมบนบอร์ดเสรีไทย คือ ด่าควายครับ เรื่องคิดต่างผมรับได้ แต่เรื่องคิดชั่วผมรับไม่ไหวครัช

#71 ไร้สีไร้กลิ่น

ไร้สีไร้กลิ่น

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,501 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:40

มาตรา 68 วรรค 2
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว

ผมอ่านแล้วก็แปลตามตัวอักษร/รูปประโยคได้ว่า

ผู้ทราบการกระทำย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ผู้ทราบการกระทำย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว


แต่ฝ่ายศรีธนญชัยที่ไม่เห็นด้วยกับศาลกลับตีความว่า
"ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ อัยการ(เท่านั้นที่มีสิทธิ)ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว"
ซึ่งถ้ายึดตามความหมายแบบหลัง อัยการก็จะต้องผิดเพราะไม่ยื่นคำร้องให้ศาลเลิกการกระทำ แต่ทำไมนักวิชาการเหล่านั้นไม่ตำหนิอัยการ ดังนั้นแสดงว่าอัยการก็เห้นตามความหมายแรก จึงรอตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
(ในวรรคนี้ไม่ได้บอกว่า "ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้ว อัยการ(เท่านั้นที่มีสิทธิ)ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว" ถ้าแบบนี้อัยการต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วค่อยยื่น)

ปล. อย่างเช่น
คนไทยมีสิทธิในการเลือกตั้งสส.เพื่อร่างกฎหมายและยื่นรายชื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี
จริงอยู่มันอาจดูกำกวม แปลได้ 2 อย่าง แต่จะไปบอกว่าสส.เท่านั้นมีหน้าที่ยื่นถอดถอนหรือครับ?
แค่การแปลก็รู้แล้วว่าใครทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

ปล.2 ขอขำดร.วีรพัฒน์หน่อย แกยังคิดว่าพรรคเพื่อไทยทำเพื่อประชาชนอยู่อีกเหรอ คนมีปัญญาคงไม่โง่แต่น่าจะแกล้งโง่มากกว่า ทำเหมือนไม่ได้ติดตามมาก่อนว่าตอนประชุมเป็นเช่นไร ไม่รู้เหรอว่าจะแก้ให้ศาลรัฐธรรมนูญหมดอำนาจ อย่างงี้จะไปตัดสินใครถ้าเค้าบอก"ผมไม่เจตนา" ก็คงเชื่อตามเค้าหมด โลกสวยไปมั้ย แล้วอาจารย์ภาษาไทยที่ไปถามมาเขาแปลได้แบบเดียวจริงหรือ??? สงสัยจะแกล้งโง่ด้วยเหมือนกัน

Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 19:20.


#72 ไอ้เบื๊_อก

ไอ้เบื๊_อก

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 114 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 19:47

มาตรา 68 วรรค 2
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว

ผมอ่านแล้วก็แปลตามตัวอักษร/รูปประโยคได้ว่า

ผู้ทราบการกระทำย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ผู้ทราบการกระทำย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว


แต่ฝ่ายศรีธนญชัยที่ไม่เห็นด้วยกับศาลกลับตีความว่า
"ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ อัยการ(เท่านั้นที่มีสิทธิ)ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว"
ซึ่งถ้ายึดตามความหมายแบบหลัง อัยการก็จะต้องผิดเพราะไม่ยื่นคำร้องให้ศาลเลิกการกระทำ แต่ทำไมนักวิชาการเหล่านั้นไม่ตำหนิอัยการ ดังนั้นแสดงว่าอัยการก็เห้นตามความหมายแรก จึงรอตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
(ในวรรคนี้ไม่ได้บอกว่า "ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้ว อัยการ(เท่านั้นที่มีสิทธิ)ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว" ถ้าแบบนี้อัยการต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วค่อยยื่น)

ปล. อย่างเช่น
คนไทยมีสิทธิในการเลือกตั้งสส.เพื่อร่างกฎหมายและยื่นรายชื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี
จริงอยู่มันอาจดูกำกวม แปลได้ 2 อย่าง แต่จะไปบอกว่าสส.เท่านั้นมีหน้าที่ยื่นถอดถอนหรือครับ?
แค่การแปลก็รู้แล้วว่าใครทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

ปล.2 ขอขำดร.วีรพัฒน์หน่อย แกยังคิดว่าพรรคเพื่อไทยทำเพื่อประชาชนอยู่อีกเหรอ คนมีปัญญาคงไม่โง่แต่น่าจะแกล้งโง่มากกว่า ทำเหมือนไม่ได้ติดตามมาก่อนว่าตอนประชุมเป็นเช่นไร ไม่รู้เหรอว่าจะแก้ให้ศาลรัฐธรรมนูญหมดอำนาจ อย่างงี้จะไปตัดสินใครถ้าเค้าบอก"ผมไม่เจตนา" ก็คงเชื่อตามเค้าหมด โลกสวยไปมั้ย แล้วอาจารย์ภาษาไทยที่ไปถามมาเขาแปลได้แบบเดียวจริงหรือ??? สงสัยจะแกล้งโง่ด้วยเหมือนกัน


อย่างที่บอกไปแล้วว่าเป็นเรื่องยากครับ
ถ้าเราสังเกตในกฎหมายมาตราอื่น การให้สิทธิบุคคลอื่น กฎหมายต้องระบุให้ชัดแจ้ง และตามหลักการเขียนกฎหมาย ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย ยิ่งกว่า ร้าน 7-11 ถ้าผุ้ทรง พิจารณาว่ามาตรานี้จะใช้วงกว้าง เผื่ออนาคตที่ยังคิดไม่ถึง มักจะเขียน อทิเช่น หรือเมื่อมีกฎหมายอื่นกำหนดไว้

มาตรานี้จริงๆไม่ยากในการตีความจึงไม่ได้เผื่ออนาคตไว้ และไม่นึกถึงว่า " และ " จะมีปัญหาขนาดนี้
ถ้าวัตถุประสงค์จริงๆต้องการให้ผู้อื่นด้วย ต้องระบุไว้ชัดแจ้ง
ถ้าเปลี่ยนใหม่ มาตรา 68 ว2 เป็น ....หรือยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว มันจบ
ผมเดาว่า เจตนารมณ์กฎหมายให้อัยการสูงสุด เพราะไม่อยากให้ใครก็ได้เกียจขี้หน้าก็ฟ้อง ทำให้รกศาล ให้อัยการกรองว่ามีมูล ??? (ซึ่งเป็นหลักทั่วๆไปในกฎหมายหลายๆฉบับ)
โดยอยู่ภายใต้ สมมุติฐานว่า อสส เป็นกลางอย่างแท้จริง
ตอนนี้ อสส ยักษ์หลับเพิ่งตื่น โดยไม่รู้สาเหตุ
กำลังประชุมเรื่องนี้
หากออกมาว่า คดีไม่มีมูล
ห่าลงแน่นอน

แต่ที่สำคัญที่สุด เมื่อ รู้ว่า บริหาร นิติบัญญัติ มันเกาะเกี่ยวกันแบบ หาดุลถ่วงไม่เจอ แล้วจะพึ่งใคร
เหมือนบ้าน ต้องมีพ่อแม่ที่ลูกๆต้องฟัง ถ้าลูกตีกันจนว่า ๆ you ไม่สมควรเป็น พ่อ แม่ ฉัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้น
ผมภาวนาว่า อย่าให้เหมือนตะวันออกกลาง ที่สุดท้าย เชื่อว่า ฝรั่งหัวขาวคือผู้เปลี่ยมซึ่งความยุติธรรม

#73 ปราบมาร

ปราบมาร

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 30 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 19:51

อย่างนี้ต้องจับ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี2540 โดยตั้ง สสร.มาแก้ใขรัฐธรรมนูญ ประหารให้หมด ข้อหาล้มล้างการปกครอง


อำนาจศาลมีผลตัดสินย้อนหลัง ฮ่า !!!!!!!!!!!!

#74 ไร้สีไร้กลิ่น

ไร้สีไร้กลิ่น

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,501 posts

ตอบ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 23:29

แต่ผมก็ยังแปลว่าคนทั่วไปมีสิทธิยื่นนะครับ
เพราะในหมวดนี้เป็นหมวดพิทักษ์สิทธิของประชาชน ในหัวข้อหมวดใหญ่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว
เอาง่ายๆนะครับ ผมพูดถึงกรณีอื่นทั่วไป อย่างเช่นคนไข้ไปหาหมอ ต้องรับบัตรคิว มีการคัดกรองประวัติและวัดความดันโดยพยาบาลก่อน นี่คือหลักการทั่วไป แต่กรณีคนไข้มีความจำเป็นเร่งด่วนแล้วพยาบาลไม่สนใจบอกให้รอคิวทำตามขั้นตอน คนไข้ก็มีสิทธิเข้าไปหาหมอก่อนได้ แน่นอนโดยทั่วไปก็ไม่ทำ ถ้าไม่มีความจำเป็นก็คงโดนไล่ซะเปล่าๆ ดังนั้นส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอน แต่ไม่ใช่เรื่องตายตัวว่าต้องแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่เช่นนั้นก็เป็นการจำกัดสิทธิ และกรณีนี้มีหลักฐานชัดเจนว่าอัยการเพิกเฉยทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ ผู้ฟ้องก็ทำตามขั้นตอนทั่วไปแล้ว ไม่ได้ยื่นศาลก่อนหรือยื่นศาลอย่างเดียว นี่ล่ะครับความยุติธรรม อย่ามากำหนดเป็นอัยการอย่างเดียวเลย

ที่แน่ๆในเมื่อมันไม่ชัดเจน แปลได้ 2 ความหมาย จะมาเอาความหมายใดความหมายหนึ่งไม่ได้ ในเมื่อกำกวมและคิดว่าเป็นปัญหาก็ต้องยอมให้เป็นไปได้ 2 แบบ คือ จะฟ้องเลยหรือผ่านอัยการก่อนก็ได้ ต่อไปจะปรับค่อยว่ากัน ถึงได้ถามไงว่า อาจารย์ภาษาไทยที่ไหนเค้าแปลได้ความหมายเดียว

ปัญหาคือ ประธานรัฐสภาทำหน้าที่ไม่เหมาะสม สื่อไม่สน อัยการทำหน้าที่ไม่เหมาะสม สื่อไม่สน แต่ สื่อสนสส.แย่งเก้าอี้ สื่อสนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แบบนี้เป็นธรรมมั้ย แล้วการเลื่อนไป 1 เดือนมันนำความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างไร (ไม่ควรนำเรื่องการรบกับข้าศึกมาใช้กรณีนี้ เพราะกรณีนี้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์จากการแก้) ตอนนี้ศาลก็แค่รอตรวจสอบ ถ้าจะทำก็ทำได้กลัวอะไรเพราะศาลไม่ได้ห้าม ทุกคนก็บอกทำเลย เอาให้สุดๆไปเลย ถ้ากลัวศาลใช้อคติยุบพรรค ก็ร้องเรียนดำเนินคดีได้ว่ามีกระบวนการไม่เหมาะสมอย่างไร

ยังไงก็กันไว้ดีกว่าแก้ครับ ประโยชน์ก็เกิดทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายรัฐก็จะได้ระวังเรื่องยุบพรรคไม่เสนอแก้ไปมั่วๆ(ยิ่งมีแต่คนเชี่ยวชาญกฎหมายจนโดนยุบมาหลายทีแล้ว - -") ดีกว่าไม่มีเหตุเตือนแล้วมาโดนฟ้องกลับเจอยุบพรรคไม่รู้ตัวนะ

ปล. อัยการออกมายอมรับคำวินิจฉัยของศาล ถ้าศาลผิดจริงจะยอมรับทำไม ที่บอกว่าอัยการจะตรวจสอบด้วยเป้นการแสดงว่าไม่เห็นด้วยกับการที่ศาลวินิจฉัย เพราะถึงมือศาลแล้วก็ไม่ต้องสอบข้อเท็จจริง แต่ผมมองว่าก็เพราะกลัวจะผิดฐานเพิกเฉยไงจึงต้องมีการตรวจสอบ ถ้าแน่จริงก็เพิกเฉยต่อสิ

ปล.2 ลองสมมติว่าเป็นคดีความของคุณ คุณไปฟ้องอัยการแล้วไม่รับเรื่อง หรือไม่ยอมตรวจสอบเสียที หรือเพิกเฉยบ้าง ถ้าไม่มีการพิทักษ์สิทธิ์แบบนี้ คุณจะทำอย่างไร ???

Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 23:59.


#75 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 01:32

เรื่องสิทธิ์ มักจะเป็นเรื่องกฎหมายแพ่ง....ที่จริงก็ฟ้องศาลเองได้อยู่แล้ว

สิทธิ์ในการปกป้องรัฐธรรมนูญในมาตรา 69 ก็ค้ำประกันสิทธิ์ของประชาชนอยู่แล้ว

ถ้าจะบอกว่าประชาชนใช้สิทธิ์ตามมาตรา 69 ผ่านมาตรา 68

อธิบายแบบนี้จะง่ายกว่ากันเยอะเลย

#76 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 01:35

ถ้าผ่านวาระสาม ทีนี้แหละ เข้าข่ายความผิดจัง ๆ "ล้มล้างรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง" ร้องที่ศาลเป็นคดีความได้อยู่แล้ว

หายห่วง

#77 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:04

ถ้าผ่านวาระสาม ทีนี้แหละ เข้าข่ายความผิดจัง ๆ "ล้มล้างรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง" ร้องที่ศาลเป็นคดีความได้อยู่แล้ว

หายห่วง

เห็นในตอนที่สาม ทั้งวัฒนา เมืองสุข กับ คุณ วรินทร์ เทียมจรัส เค้าพูดตรงกันเรื่องยุบนะครับป๋า เค้าบอกว่าถ้าจะมีการยุบพรรคเพราะมีการทำผิดเนี่ยไม่ได้ผิดเพราะวาระสาม แต่มันผิดตั้งแต่วาระ1 วาระ 2 แล้ว

พูดในตอน3 ช่วงที่ 1.18.26

#78 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:29

ยุบพรรคกับเรื่องข้อหาล้มล้างรัฐธรรมนูญ คนละคดีครับ

เรียกว่าโดนหลายคดี หลายคนละกัน

ใครยกมือให้ผ่านน่าจะโดนกราวรูด

#79 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:47

อสส เหมือนชี้ช่องให้กากแม้ว ว่าสภานิติบัญญัติไม่ได้ใช้สิทธิเสรีภาพแต่ใช้อำนาจหน้าที่
และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มี สสร มา ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ ไม่ใช่เป็นการล้มล้างการปกครอง

ล้มรัฐธรรมนูญ 50 = ล้มล้างการปกครอง หรือไม่

ม. 68 อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพชนชาวไทย สิทธิพิทักษ์ธรรมนูญ
แต่เนื้อนั้นคือป้องกันการเปลี่ยนแปลงการปกครองทั้งสิ้น


มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้าง
การ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทาง
ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบ
การ กระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ใน กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการ เมืองที่ถูกยุบ
ในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว


แล้วถ้าผมแปลแบบศรีธนนชัยบ้างว่า

มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้(2550)
หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทาง
ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้(2550) มิได้


แปลว่าการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองต้องได้มาตาม
วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เท่านั้น
ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ 2555 2556 หรือรัฐธรรมนูญเขมร หรือมอนเต

Edited by phoosana, 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:49.

We love fender.

#80 ห้าสิงหา

ห้าสิงหา

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 76 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 02:54

ใช่ครับป๋า ใครยกมือผ่าน โดนเรียบ แบบป๋าบอกแน่นอน

ตอนนี้ ปชป. เค้าเตรียม walk out แล้ว ไม่ขอสังคยานาร่วมด้วย ไม่อยากโดนรูด
แมลงสาป ◘ ◘ ◘ ◘ ◘ ◘ 100% Facebook http://www.facebook.com/fiveaugustTwitter @5thaugust

#81 ห้าสิงหา

ห้าสิงหา

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 76 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 03:08

มาตรา ๖๙ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา

ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้


แมลงสาป ◘ ◘ ◘ ◘ ◘ ◘ 100% Facebook http://www.facebook.com/fiveaugustTwitter @5thaugust

#82 ไอ้เบื๊_อก

ไอ้เบื๊_อก

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 114 posts

ตอบ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 12:18

ถ้าผ่านวาระสาม ทีนี้แหละ เข้าข่ายความผิดจัง ๆ "ล้มล้างรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง" ร้องที่ศาลเป็นคดีความได้อยู่แล้ว

หายห่วง


มันอาจไม่ใช่อย่างนั้นซิครับ
เละเทะไปหมด
หายห่วง

ห่วงคนจะหาย มากว่า
บ้านเมืองใกล้วิกฤติเต็มที




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน