Jump to content


Photo
- - - - -

คมชัดลึก 4-6-55 ตอน ศาลรัฐธรรมนูญ...ศาลรัฐประหาร?


  • Please log in to reply
81 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:42

กรณี "ศาลรัฐธรรมนูญ" สั่งให้ "รัฐสภา" รอการแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา 291
http://www.youtube.com/watch?v=WdaaSnndlL4

ฟังดูแล้วรู้สึกเห็นด้วยกับดร.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ หลายเรื่องเลยครับ ถ้าให้พูดตามที่ดูในคลิปผมว่าคุณรสนาเหตุผลอ่อนกว่าดร.วีรพัฒน์นะครับ ก็ลองเอามาตั้งกระทู้ดูครับเผื่อท่านใดจะมีเหตุผลมาลบล้างของดร.วีรพัฒน์

ส่วนตัวหลังจากดูคลิปนี้ ผมเห็นด้วยกับเพื่อไทยที่จะไม่ฟังคำสั่งระงับชั่วคราวของศาลรธน.ก็ได้ ถ้าคำสั่งของศาลรธน.นั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ และ ขัดรธน.

เราไม่ควรตัดสินว่าผิดเพียงแค่ว่าเป็นพรรคพท. เพราะอย่างนั้นก็จะเท่ากับว่าเราไม่ได้ใช้เหตุผล

อันนี้คือที่เห็นด้วยกับ ดร.วีรพัฒน์ ที่พูดในคลิปนะครับ
1 การตีความของศาลรธน.คราวนี้เรียกได้ว่าอาจจะเป็นการตีความเพื่อขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของศาลรธน.จนไปครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติ และ ฝ่ายบริหาร

2 กรณีมาตรา 68 ,ผมสมมุติแบบนี้ก็แล้วกันนะครับว่าถ้าวันหนึ่งปชป.จะแก้กฏหมาย หรือ แก้ รธน.ซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติแล้วศาลรธน.มีคำสั่งห้าม มันจะเกิดอะไรขึ้นครับ ?

------------------------------

ตอน 2
http://www.youtube.com/watch?v=0v7K0d48SmM
คมชัดลึก 5-6-55 ตอน ศาลรัฐธรรมนูญ...ศาลรัฐประหาร? ตอน2 ผู้ร่วมรายการ ประสพ บุษราคัม ประธานคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฏหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน(กปพ.)­สภาผู้แทนราษฎร/อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.อุดรธานี,นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา/ส.ว.ฉะเชิงเทรา,สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา/อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550,นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง

อ.สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย กับ คุณนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ชี้แจงหลายเรื่องที่คุณรังสิมาไม่ได้ตอบในตอนแรก รวมถึงชี้แจงเรื่องเว็บไซต์ของศาลรธน.

Edited by Moo3storey, 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 07:02.


#2 ถั่งเช่า ตรา ควายธนูแดง

ถั่งเช่า ตรา ควายธนูแดง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,683 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:44

ถ้าดูจากร่างที่เขียนว่า มาตรา 291 ให้จัดตั้งสสร. เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นี่ก็อาจจะเข้าข่ายการล้มการปกครองก็ได้นะครับ

#3 sigree

sigree

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,883 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:44

ผมคิดว่าปัญหาของเรื่องนี้คือ ยืนคนละหลักการ

ผมสนใจคำพูดของ สว รสนา ที่ตั้งคำถามในเชิงรัฐธรรมนูฐฉบับนี้มาจาก ประชามติ โดยตรง

คำถามคือ

สส ซึ่งเป็นตัวแทนเสียงของประชาชน เป็นอำนาจทางอ้อม มีสิทธิล้มอำนาจโดยตรงไหม?

#4 G-GEAR53

G-GEAR53

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,263 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 13:48

นอกเรื่องหน่อยครับ..
พอเปิดที่วีผ่านเห็นอีจอมแหล...ผมไม่ดูครับ..
...ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด ...ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว ...ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่ ...ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่ากับ"" ดินสุดท้าย ของเผ่าพันธุ์

#5 ทรงธรรม

ทรงธรรม

    ต่อให้ต้องเรียนจนแก่ ก็จะเรียนต่อไป คนเราพัฒนาได้ทุกคน

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,157 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:01

ว่ากันตามตัวบทกฎหมายล้วน ๆ ก็จริงอย่างที่คุณ moo3storey ว่าล่ะครับ เหมือนที่ผมพูดไปแล้วในกระทู้ ม.68

แต่การตีความของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ เป็นการปกป้องหน้าที่ของตนเองครับ คือเมื่อมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัย แต่คนเสนอคืออัยการไม่ส่งเรื่อง(เรื่องมาอยู่ที่ศาลแล้ว เพราะผู้ร้อง ๆ ไว้ 2 ที่) เป็นคนทั่วไป ถ้าตามหลักของคนถือตัวหนังสือ จะไม่ทำอะไรกับเรื่องนี้ก็ได้ แต่สำหรับคนที่รู้หน้าที่ของตนเองดี(มีธรรมะกับหน้าที่) จำเป็นต้องตัดสินใจกระทำการออกมา คั่นเรื่องไว้ก่อนครับ ก่อนที่จะมีการลงมติวาระ 3 มิเช่นนั้นจะไม่ทันการณ์ และจะไม่ยุติธรรมกับคนร้อง ผลการตัดสินยังเป็นเรื่องที่ต้องรอ แต่กระบวนการจะสะดุดไม่ได้
อัยการซะอีกที่ต้องกลับไปทบทวนบทบาทของตน ว่าได้ทำตามหน้าที่รับผิดชอบของตนเองดีแล้วหรือยัง

ส่วนเรื่องที่ว่าหาก มีกรณีขอแก้เป็นบางข้อ ผมว่าศาลก็ต้องพิจารณาว่าเป็นข้อที่มีสาระสำคัญอย่างไร จะมีผลกระทบต่อประชาชนรุนแรงหรือไม่ แต่กรณีของเพื่อไทย ยังไม่มีความชัดแจ้ง ว่าจะแก้ในเรื่องใด แต่โดยหลักแล้วการตั้ง สสร.ขึ้นมาบ่งชี้ว่า ต้องมีการแก้ในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเมื่อไม่มีกรอบที่ชัดเจน ก็จำเป็นที่ศาลต้องการความกระจ่าง

สรุปแล้ว ศาลนอกจากต้องรู้จักหน้าที่ของตัวเองแล้ว ยังต้องเป็นผู้รู้ทันต่อสถานการณ์ จึงจะธำรงความเป็นธรรมไว้ได้

ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ

 

PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract

 

FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query  FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY


#6 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:04

คุณรสนาบอกว่าจริงๆแล้วเตรียมมาตรา 154 ไว้ด้วย แต่อันนั้นคือหลังผ่านวาระ 3



เผื่อไว้ถ้ามาตรา 68 หยุดพท.ไม่ได้ก็ต้องไปว่ากันที่มาตรา 154 อีกที

การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติ (มาตรา ๑๕๔)

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ประธานวุฒิสภา
- ประธานรัฐสภา
- นายกรัฐมนตรี

วิธีการและเงื่อนไข
- เป็นร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

- นายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการเพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

#7 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:05

ไปดูกรณีฮิตเลอร์แล้วกันใช้เสียงข้างมากออกกฎหมายแก้ให้ควบตำแหน่งตามที่ต้องการอย่างไรก็ได้

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#8 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:17

ไปดูกรณีฮิตเลอร์แล้วกันใช้เสียงข้างมากออกกฎหมายแก้ให้ควบตำแหน่งตามที่ต้องการอย่างไรก็ได้

เรื่องพท.ใช้เสียงข้างมากอันนี้ผิดหลักการปชต.แน่นอนครับ กลายเป็นลูกจ้างของบริษัทเผด็จการแม้ว-ปู

แต่กลับกันนะครับ ในกรณีที่ศาลตีความเกินที่ข้อกฏหมายกำหนดก็เป็นเผด็จการนะครับ คืออันนี้ก็ว่าตามหลักการนะครับ เพราะมันจะกลายเป็นว่าศาลมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบได้ทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่ไม่มีข้อกำหนด มันก็จะเป็นเหมือนที่ดร.วีรพัฒน์ว่า ศาลก็จะกลายเป็นผู้ปกครองประเทศ ต่อไปนักการเมืองก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าจะทำอะไรก็ต้องแล้วแต่ศาล ขอแค่มีเสียงของตุลาการ 5 ท่านขึ้นไปก็ทำได้ทุกเรื่อง อำนาจอยู่ที่ตุลาการหมด

คือตอนนี้เรามองเพราะว่ามันเป็นพท.รึเปล่าครับ อันนี้คือถ้ากรณีนี้เกิดกับปชป.บ้าง มันก็เป็นปัญหาเหมือนกัน

#9 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:19


ไปดูกรณีฮิตเลอร์แล้วกันใช้เสียงข้างมากออกกฎหมายแก้ให้ควบตำแหน่งตามที่ต้องการอย่างไรก็ได้

เรื่องพท.ใช้เสียงข้างมากอันนี้ผิดหลักการปชต.แน่นอนครับ กลายเป็นลูกจ้างของบริษัทเผด็จการแม้ว-ปู

แต่กลับกันนะครับ ในกรณีที่ศาลตีความเกินที่ข้อกฏหมายกำหนดก็เป็นเผด็จการนะครับ คืออันนี้ก็ว่าตามหลักการนะครับ เพราะมันจะกลายเป็นว่าศาลมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบได้ทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่ไม่มีข้อกำหนด มันก็จะเป็นเหมือนที่ดร.วีรพัฒน์ว่า ศาลก็จะกลายเป็นผู้ปกครองประเทศ ต่อไปนักการเมืองก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าจะทำอะไรก็ต้องแล้วแต่ศาล ขอแค่มีเสียงของตุลาการ 5 ท่านขึ้นไปก็ทำได้ทุกเรื่อง อำนาจอยู่ที่ตุลาการหมด

คือตอนนี้เรามองเพราะว่ามันเป็นพท.รึเปล่าครับ อันนี้คือถ้ากรณีนี้เกิดกับปชป.บ้าง มันก็เป็นปัญหาเหมือนกัน

ข้อกำหนดศาลมีครับ แถมยังให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนุญเองอีก แต่จนบัดนี้วิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญจากฝ่ายนิติบัญญัติก็ยังไม่เห็น

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#10 blue

blue

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,979 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:27

คุณรสนา แกไม่ใช่นักกฎหมาย รับเชิญไปโต้ข้อกฎหมาย ก็เป็นเหยื่อ จอมขวัญ นั่นแหละ

ผมเหมือนคุณ GEAR ครับ ไม่ได้ดูคลิป แต่ดูจากข้อ 1 ข้อ 2 ของท่านเจ้าของกระทู้

1. ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายขอบเขตอำนาจไปก้าวก่ายฝ่ายบริหารฝ่ายนิติบัญญัติ
2. ม 68 ถ้า ปชป แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วศาลรัฐธรรมนูญสั่งห้าม

ปชป ตอนเป็นรัฐบาลก็เคยแก้รัฐธรรมนูญมาแล้วนะครับ ไม่เห็นมีใครโวย ไม่มีใครห้าม
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ถ้าเรามองที่ผล คือการรับเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งของศาล
รัฐธรรมนูญ แล้วเอามาตีความว่าก้าวก่ายบริหาร นิติบัญญัติ ไม่มีอำนาจดำเนินการ
มันก็ต้องออกมาในรูปแบบที่เขาคัดค้านกันอยู่นั่นแหละครับ

ผมจึงยกตัวอย่างว่าตอน ปชป เป็นรัฐบาลก็แก้รัฐธรรมนูญ ทำไมมันไม่มีปัญหาล่ะครับ
มันไม่มีปัญหาเพราะมันไม่มีคนร้อง ถ้ามีคนร้องก็คงถูกระงับเหมือนกันแหละครับ แต่
ระงับแล้ว วินิจฉัยแล้วจะทำต่อได้หรือไม่ได้มันเป็นเรื่องภายหลัง

กรณีนี้ มีคนร้องว่าแก้รัฐธรรมนูญอย่างนี้ไม่ได้มันไม่ถูกต้อง จะไม่ให้ศาลรับเรื่องหรือครับ
ศาลรับเรื่องแล้วเห็นว่า มันมีเค้าความจริงตามที่เขาร้อง ก็บอกสภาว่า คุณอย่างเพิ่งทำต่อ
มีคนร้องว่าคุณกำลังจะทำลายชาติ คุณมาให้รายละเอียดกับศาลก่อน มันไปขยายอำนาจ
ศาล ไปก้าวก่ายฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ตรงไหนครับ

ม 68 บอกศาลรับเรื่องจากผู้ร้องโดยตรงไม่ได้ต้องรับเรื่องผ่านอัยการ
ถ้าจะตีความกันแบบนี้ มันก็เท่ากับไปก้าวก่ายดุลยพินิจของศาลนั่นแหละ
เพราะตาม ม 68 ไม่ได้ห้ามศาลว่าห้ามรับเรื่องโดยตรงจากผู้ร้อง แต่เขา
กำหนดว่าผู้ทราบการกระทำให้ยื่นเรื่องต่ออัยการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ซึ่งหากจะพูดถึงเจตนารมณ์ ที่ให้ยื่นให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
มันเป็นเรื่องที่เกรงว่าผู้ร้องจะไม่สามารถหาข้อเท็จจริงที่เป็นหลักเป็นเกณฑ์
ได้มากกว่าจึงต้องให้อัยการช่วยตรวจสอบ แต่ถ้าเขารู้เรื่องมีหลักเกณฑ์
ศาลก็มีดุลยพินิจที่จะรับเรื่องโดยตรงได้ ซึ่งเป็นดุลยพินิจที่เป็นอำนาจ
ของศาลเอง และมันก็ไม่ได้ไปขัดกับ ม 68 ตรงไหน

#11 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:41

ไม่ต้องเป็นนักกฎหมายถ้าเข้าใจระบอบการปกครองแบบที่เราใช้อยู่ก็อธิบายได้ไม่ยาก

ง่ายๆเลย ที่มาของอำนาจอธิปไตยทั้งสามนั้นถูกกำหนดโดยรัุธรรมนูญ

ไม่ใช่เรื่องที่อาจานขี้หมาอธิบายว่าคนเก้าคนควบคุมทุกเรื่อง แถมไม่ได้มาจาการเลือกตั้ง

ความรู้แบบหางอึ่งพวกนี้มาออกสื่อแสดงความโง่อยู่ได้ยังไง

#12 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:45

ศาลปกป้องรัุธรรมนูญด้วยมาตรา 68

ประชาชนปกป้องรัุธรรมนูญด้วยมาตรา 69
  • -3- likes this

#13 paj044

paj044

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 438 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:51

เข้ามาอ่าน ไม่รู้กฎหมายดีพอจะออกความเห็น
ปล่อยให้เป็นเรื่องนักกฎหมายเขาสู้กันไป คอยฟังผล พอ

เพียงแต่เซ็งกับสื่อมวลชนบ้านเรา
อยากจะจัดรายการถกกันเรื่องกฎหมาย
ทำไมไม่เอานักกฎหมายที่เชี่ยวชาญมาถกกัน
เอา สว.รสนาที่จบวารสารมาถกกฎหมายเนี่ยนะ
เหมือนเอานักมวยสมัครเล่นมาเปรียบคู่ชกกับนักมวยมืออาชีพ
แล้วคิดว่าใครจะชนะล่ะ

ความเป็นกลางมันคือหลุมหลบภัยของคนขี้ขลาด - ชัย ราชวัตร


#14 BlueArmy

BlueArmy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 287 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 14:53

การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติ (มาตรา ๑๕๔)

วิธีการและเงื่อนไข
- เป็นร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย


รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ไม่ทราบว่าขั้นตอนหลังจากนี้มีมากน้อยแค่ไหน นางกมีโอกาสรวบรัดนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก่อนที่จะมีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่
ชีวิตยอมพลีเพื่อชาติ เลือดทุกหยาดแด่ภูมินทร์ แม้นชีพม้วยไร้ชีวิน วงศ์จักรินทร์คงสืบไป

#15 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:00


การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติ (มาตรา ๑๕๔)

วิธีการและเงื่อนไข
- เป็นร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย


รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ไม่ทราบว่าขั้นตอนหลังจากนี้มีมากน้อยแค่ไหน นางกมีโอกาสรวบรัดนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยก่อนที่จะมีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่

ได้ครับ รวบรัดถ้าโดนตีกลับ รัฐสภาก็รวบรัดยืนยันกลับไปได้อีก

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#16 ดราม่า

ดราม่า

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,395 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:00

ประเทศไทย โดยเฉพาะนักวิชาการแดง ถือเอาตะวันตกเปนต้นแบบ ลองมารับฟังความเห็นของ อาจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติ พูดถึงเรื่องศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน ถ่วงดุลอำนาจเสียงข้างมากดูหน่อย ในประเด็นศาลรัฐธรรมนูญหยุดอำนาจเสียงข้างมาก

http://bit.ly/LeoPTd

ปัญหาการใช้อำนาจ หรือใช้สิทธิเสรีภาพจนเกินกว่าเหตุ หรือจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ และเมื่อไม่มีกลไกมาคอยปราม หรือกำกับให้อยู่ในเหตุในผล หรือยับยั้งให้อธิบายกันให้แจ่มชัดเสียก่อน ก็เป็นเหตุให้เกิดเสียหายร้ายแรงมาแล้ว คือกรณีของฮิตเล่อร์ที่ใช้เสียงข้างมากตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานสภา และประธานาธิบดีมาแล้ว จนทำให้เยอรมันต้องตั้ง

ศาลรัฐธรรมนูญ

ขึ้นมาเป็นสถาบันพิเศษ เพื่อคอยพิทักษ์รัฐธรรมนูญ



เหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวมาในอดีต เรื่องการใช้อำนาจโดยลุแก่โทสะ หรือตามอำเภอใจนั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในเยอรมัน เมื่อหลังสงครามใหม่ ๆ ในมลรัฐแห่งหนึ่ง กำลังเป็นยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์ ปรากฏว่าฝ่ายที่มีเสียงข้างมากชนิดเกินร้อยละ ๗๕ และมีจำนวนเสียงมากพอที่จะถอดถอนสมาชิกสภาด้วยกันให้พ้นจากสมาชิกภาพได้ เคยพยายามจะรวมหัวกันลงมติถอดถอนสมาชิกภาพของฝ่ายเสียงข้างน้อย คือฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เห็นต่างจากตนอย่างดื้อ ๆ โดยปราศจากเหตุสมควรมาแล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญ

แห่งมลรัฐก็ออกคำสั่งห้ามการลงมติเช่นนั้น เพราะจะขัดต่อรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย



เมื่อไม่นานมา นี้

ศาลรัฐธรรมนูญ

แห่งมลรัฐที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดในเยอรมัน ก็เพิ่งจะออกคำสั่งห้ามมิให้รัฐบาลมลรัฐก่อหนี้ตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมงบ ประมาณซึ่งจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ และได้ผ่านการพิจารณาของสภาไปแล้ว โดยศาลเหตุผลที่ว่า การก่อนหนี้ดังกล่าวแม้รัฐบาลจะอ้างว่าเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของมลรัฐ ก็มีเหตุน่าเชื่อว่าอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับภาระทาง ภาษีอากร และความสามารถในการชำระหนี้ของมลรัฐจนเกินสมควรแก่เหตุได้



ดังนั้นศาลจึงสั่งให้ระงับไว้ก่อนจนกว่าจะชี้แจงกันจนเชื่อแน่ได้ว่าเป็นไป อย่างสมเหตุสมผลแล้วอย่างแท้จริง



ล่าสุด

ศาลรัฐธรรมนูญ

เยอรมัน ก็เพิ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ผู้แทน 9 นายที่สภาเลือกขึ้นมาทำหน้าที่ในกองทุนฟื้นฟูยุโรป ที่จะให้ความเห็นชอบในการจ่ายเงินกองทุนมูลค่ากว่าสี่แสนล้านยูโร แทนสภาผู้แทนราษฎร โดยศาลสั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เพิ่งผ่านสภาไปเป็นการชั่ว คราว เพราะเหตุผลว่าจะกระทบต่อหลักความรับผิดชอบของสภาผู้แทนราษฎรต่อประชาชนทั้ง ประเทศ เนื่องจากถ้ามอบอำนาจให้ ส.ส. 9 คนทำการแทน ก็เท่ากับตัดสิทธิ ส.ส. คนอื่น ๆ ในการที่จะทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนในเรื่องที่จะกระทบต่อภาระภาษีของปวงชน ในอนาคตไปในสาระสำคัญ ทั้งนี้จนกว่า

ศาลรัฐธรรมนูญ

จะพิจารณาให้เสร็จสิ้นไปก่อนว่าการทั้งหลายนี้จะ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่



ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าการดำเนิน การของรัฐบาล หรือของสภาจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุควรสงสัยควรจะได้พิจารณากันให้ถี่ถ้วนเสียก่อนเท่านั้น นี่เป็นกติกาของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ถ่ายเดียว ซึ่งในระบอบที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่นี้ถือหลักยอมให้คนกลางเป็นคนคอยตัดสินข้อ พิพาท และแน่นอนคนกลางอย่าง

ศาลรัฐธรรมนูญ

ต้องระวังอย่าใช้อำนาจยับยั้งตามอำเภอใจ และใช้อำนาจนี้เมื่อ “จำเป็น” อย่างยิ่งยวดเท่านั้น






ให้ดูเยอรมันเป็นตัวอย่างครับ ประเทศเขามีประสพการณ์"เสียงข้างมากลากไปลงเหว"
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ" อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สนับสนุนกฎหมายเก็บภาษีที่ดินคนรวย สนันสนุนกฎหมายเก็บภาษีมรดก “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”หนูดี

#17 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:00

พี่น้องเอ๋ย...

ประเทศนี้ปกครองด้วยกฎหมายใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสูงสุด

สภา ครม. ศาล ถูกกำหนดให้มีที่มาโดยรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น 3 อำนาจอธิปไตย จึงเป็นอิสระ มีการถ่วงดุลกันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

วาทกรรมที่บอกว่า ศาลไม่ได้มาจากประชาชน มันเป็นวาทกรรมที่ใช้ไม่ได้

เพราะที่มาของอำนาจอธิปไตยนั้นถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ จึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

นักวิชาการเด็กๆ น่าจะละอายใจตัวเองด้วย สอนสิ่งที่ถูกต้องให้ลูกศิษย์และประชาชนในหลักการทีถูกต้องซะ ก่อนที่นักวิชาการห่วยแตกจะไม่มีที่ยืน

#18 kop16

kop16

    U will never walk alone.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,507 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:04

มาตรา ๖๙ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา
ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้



/// เผาบ้านเผาเมือง เป็นการต่อต้าน โดยสันติวิธี หรือเปล่า

If you try hard enough, you can be whatever you want to be.


#19 หมอต้นไม้

หมอต้นไม้

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 155 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:08

เรื่องภาษากฏหมายนี้มันดิ้นไปมาได้จริงๆ เลยนะ แล้วแต่ว่าใครจะตีความกันอย่างไร แต่สุดท้ายคงต้องยึดหลักการที่ถูกต้อง
ซึ่งเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญก็กำลังทำหน้าที่นี้อยู่

ไม่ได้ต้องการจะเบี่บงประเด็นนะ เพียงแต่สงสัยว่าดร.อะไรนี้ ไปอยู่ที่ไหน ไม่ออกมาให้ความเห็นเรื่อง "พรบ. ปรองดอง จอมปลอม"
ของบังเละ ที่มันจะล้างคำสั่งศาลทั้งหมดเลย ยกประโยชน์ให้คนทำผิด อันนั้นหนักกว่าเรื่องศาลรับคำร้องเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียอีก
งง จริงๆ เลย

#20 BlueArmy

BlueArmy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 287 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:14

แต่กลับกันนะครับ ในกรณีที่ศาลตีความเกินที่ข้อกฏหมายกำหนดก็เป็นเผด็จการนะครับ คืออันนี้ก็ว่าตามหลักการนะครับ เพราะมันจะกลายเป็นว่าศาลมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบได้ทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่ไม่มีข้อกำหนด มันก็จะเป็นเหมือนที่ดร.วีรพัฒน์ว่า ศาลก็จะกลายเป็นผู้ปกครองประเทศ ต่อไปนักการเมืองก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าจะทำอะไรก็ต้องแล้วแต่ศาล ขอแค่มีเสียงของตุลาการ 5 ท่านขึ้นไปก็ทำได้ทุกเรื่อง อำนาจอยู่ที่ตุลาการหมด

คือตอนนี้เรามองเพราะว่ามันเป็นพท.รึเปล่าครับ อันนี้คือถ้ากรณีนี้เกิดกับปชป.บ้าง มันก็เป็นปัญหาเหมือนกัน


ถ้าไม่มีคนเสนอเรื่องขึ้นไป ศาลก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่มีศาลมาคานอำนาจนิติบัญญัติ สส.เสียงข้างมากหรือรัฐบาลก็จะมีอำนาจมากเกินไป
ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าออกกฎหมายก็จริง แต่ไม่ควรให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติมีส่วนได้ส่วนเสีย
ถึงแม้ว่าจะตั้ง สสร. มาร่าง แต่ สสร. ที่ได้มาจากฝ่ายการเมืองก็จะถูกครอบงำจากฝ่ายการเมือง อีกประการคือต้องผ่านการลงมติของฝ่ายนิติบัญญัติว่าจะรับหรือไม่ ดังนั้น การตั้ง สสร. ควรมีความชัดเจน
ชีวิตยอมพลีเพื่อชาติ เลือดทุกหยาดแด่ภูมินทร์ แม้นชีพม้วยไร้ชีวิน วงศ์จักรินทร์คงสืบไป

#21 sorrow

sorrow

    REFORM BEFORE ELECTION

  • Members
  • PipPipPip
  • 717 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:15

ผมไม่ใช่นักกฎหมาย แต่อ่านบทความที่ ดร. คนนี้เขียนแล้วก็ต้องบอกว่า
ใจความที่แกจะสื่อนั้นมีนิดเดียว แต่เขียนซะเยอะแยะ
ความจริงบอกสั้นๆ ก็ได้ว่าแกจะยุให้เผาไทยลุยไปเลย
แกก็ยุได้แหละครับ เพราะถ้าโดนยุบพรรค ตัดสิทธิ ติดคุกนี่แกไม่โดนด้วย

ส่วนเรื่องต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อนไหมนี่
มาตรา ๖๘ เขียนชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่า
ผู้ร้องมีสิทธิทั้งยื่นอัยการสูงสุด และยื่นที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่งั้นอัยการฯ ก็มีสิทธิที่จะจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผู้ร้องสิครับ

ร่วมกันทำลายล้างระบอบทักษิณ-เผด็จการชินวัตรให้หมดไปจากแผ่นดินไทย

 

โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่      เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน
คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ      ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย


#22 PookLook

PookLook

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,769 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:23

เฮ้อ.....พันธมิตรดันส่งควายไปให้เชือดคาทีวี ไม่น่าเล้ยยยยย :D

#23 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:25

Posted Image

#24 Baboonga

Baboonga

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:27

ประเทศไทย โดยเฉพาะนักวิชาการแดง ถือเอาตะวันตกเปนต้นแบบ ลองมารับฟังความเห็นของ อาจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติ พูดถึงเรื่องศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน ถ่วงดุลอำนาจเสียงข้างมากดูหน่อย ในประเด็นศาลรัฐธรรมนูญหยุดอำนาจเสียงข้างมาก


http://bit.ly/LeoPTd

ปัญหาการใช้อำนาจ หรือใช้สิทธิเสรีภาพจนเกินกว่าเหตุ หรือจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ และเมื่อไม่มีกลไกมาคอยปราม หรือกำกับให้อยู่ในเหตุในผล หรือยับยั้งให้อธิบายกันให้แจ่มชัดเสียก่อน ก็เป็นเหตุให้เกิดเสียหายร้ายแรงมาแล้ว คือกรณีของฮิตเล่อร์ที่ใช้เสียงข้างมากตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานสภา และประธานาธิบดีมาแล้ว จนทำให้เยอรมันต้องตั้ง

ศาลรัฐธรรมนูญ

ขึ้นมาเป็นสถาบันพิเศษ เพื่อคอยพิทักษ์รัฐธรรมนูญ



เหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวมาในอดีต เรื่องการใช้อำนาจโดยลุแก่โทสะ หรือตามอำเภอใจนั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในเยอรมัน เมื่อหลังสงครามใหม่ ๆ ในมลรัฐแห่งหนึ่ง กำลังเป็นยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์ ปรากฏว่าฝ่ายที่มีเสียงข้างมากชนิดเกินร้อยละ ๗๕ และมีจำนวนเสียงมากพอที่จะถอดถอนสมาชิกสภาด้วยกันให้พ้นจากสมาชิกภาพได้ เคยพยายามจะรวมหัวกันลงมติถอดถอนสมาชิกภาพของฝ่ายเสียงข้างน้อย คือฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เห็นต่างจากตนอย่างดื้อ ๆ โดยปราศจากเหตุสมควรมาแล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญ

แห่งมลรัฐก็ออกคำสั่งห้ามการลงมติเช่นนั้น เพราะจะขัดต่อรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย



เมื่อไม่นานมา นี้

ศาลรัฐธรรมนูญ

แห่งมลรัฐที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดในเยอรมัน ก็เพิ่งจะออกคำสั่งห้ามมิให้รัฐบาลมลรัฐก่อหนี้ตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมงบ ประมาณซึ่งจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ และได้ผ่านการพิจารณาของสภาไปแล้ว โดยศาลเหตุผลที่ว่า การก่อนหนี้ดังกล่าวแม้รัฐบาลจะอ้างว่าเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของมลรัฐ ก็มีเหตุน่าเชื่อว่าอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับภาระทาง ภาษีอากร และความสามารถในการชำระหนี้ของมลรัฐจนเกินสมควรแก่เหตุได้



ดังนั้นศาลจึงสั่งให้ระงับไว้ก่อนจนกว่าจะชี้แจงกันจนเชื่อแน่ได้ว่าเป็นไป อย่างสมเหตุสมผลแล้วอย่างแท้จริง



ล่าสุด

ศาลรัฐธรรมนูญ

เยอรมัน ก็เพิ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ผู้แทน 9 นายที่สภาเลือกขึ้นมาทำหน้าที่ในกองทุนฟื้นฟูยุโรป ที่จะให้ความเห็นชอบในการจ่ายเงินกองทุนมูลค่ากว่าสี่แสนล้านยูโร แทนสภาผู้แทนราษฎร โดยศาลสั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เพิ่งผ่านสภาไปเป็นการชั่ว คราว เพราะเหตุผลว่าจะกระทบต่อหลักความรับผิดชอบของสภาผู้แทนราษฎรต่อประชาชนทั้ง ประเทศ เนื่องจากถ้ามอบอำนาจให้ ส.ส. 9 คนทำการแทน ก็เท่ากับตัดสิทธิ ส.ส. คนอื่น ๆ ในการที่จะทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนในเรื่องที่จะกระทบต่อภาระภาษีของปวงชน ในอนาคตไปในสาระสำคัญ ทั้งนี้จนกว่า

ศาลรัฐธรรมนูญ

จะพิจารณาให้เสร็จสิ้นไปก่อนว่าการทั้งหลายนี้จะ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่



ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าการดำเนิน การของรัฐบาล หรือของสภาจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุควรสงสัยควรจะได้พิจารณากันให้ถี่ถ้วนเสียก่อนเท่านั้น นี่เป็นกติกาของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ถ่ายเดียว ซึ่งในระบอบที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่นี้ถือหลักยอมให้คนกลางเป็นคนคอยตัดสินข้อ พิพาท และแน่นอนคนกลางอย่าง

ศาลรัฐธรรมนูญ

ต้องระวังอย่าใช้อำนาจยับยั้งตามอำเภอใจ และใช้อำนาจนี้เมื่อ “จำเป็น” อย่างยิ่งยวดเท่านั้น






ให้ดูเยอรมันเป็นตัวอย่างครับ ประเทศเขามีประสพการณ์"เสียงข้างมากลากไปลงเหว"



ตี๋ล้มเจ้าออกมาบอกแล้วครับ ว่าเลียนแบบเยอรมันไม่ได้ เพราะว่า รัฐธรรมนูญเราไม่ได้เขียนไว้ แต่ของเยอรมันเขียนไว้...

#25 Classic

Classic

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 364 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:33

เฮ้อ.....พันธมิตรดันส่งควายไปให้เชือดคาทีวี ไม่น่าเล้ยยยยย :D


:rolleyes: ไม่เห็นแปลกเลย ควายแถวๆนี้บางตัวถูกเชือดจนล่อนจ้อน จนคนอ่านสมเพช ก็ยังมองไม่เห็นยางอายของมันเลยแม้แต่น้อย

Edited by Classic, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:34.


#26 sorrow

sorrow

    REFORM BEFORE ELECTION

  • Members
  • PipPipPip
  • 717 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 15:40


ประเทศไทย โดยเฉพาะนักวิชาการแดง ถือเอาตะวันตกเปนต้นแบบ ลองมารับฟังความเห็นของ อาจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติ พูดถึงเรื่องศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน ถ่วงดุลอำนาจเสียงข้างมากดูหน่อย ในประเด็นศาลรัฐธรรมนูญหยุดอำนาจเสียงข้างมาก


http://bit.ly/LeoPTd

ปัญหาการใช้อำนาจ หรือใช้สิทธิเสรีภาพจนเกินกว่าเหตุ หรือจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ และเมื่อไม่มีกลไกมาคอยปราม หรือกำกับให้อยู่ในเหตุในผล หรือยับยั้งให้อธิบายกันให้แจ่มชัดเสียก่อน ก็เป็นเหตุให้เกิดเสียหายร้ายแรงมาแล้ว คือกรณีของฮิตเล่อร์ที่ใช้เสียงข้างมากตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานสภา และประธานาธิบดีมาแล้ว จนทำให้เยอรมันต้องตั้ง

ศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาเป็นสถาบันพิเศษ เพื่อคอยพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

.........


ให้ดูเยอรมันเป็นตัวอย่างครับ ประเทศเขามีประสพการณ์"เสียงข้างมากลากไปลงเหว"


ตี๋ล้มเจ้าออกมาบอกแล้วครับ ว่าเลียนแบบเยอรมันไม่ได้ เพราะว่า รัฐธรรมนูญเราไม่ได้เขียนไว้ แต่ของเยอรมันเขียนไว้...


แล้วทีไอ่แม้วจะเลียนแบบเยอรมัน ใช้เสียงข้างมากยึดประเทศ ทำไมทำได้ล่ะครับ :angry:

ร่วมกันทำลายล้างระบอบทักษิณ-เผด็จการชินวัตรให้หมดไปจากแผ่นดินไทย

 

โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่      เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน
คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ      ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย


#27 BlueArmy

BlueArmy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 287 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 16:47

อาจารย์บอก การขัดขวางการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่ไว้
การขัดขวางการทำหน้าที่ของรัฐบาลก็ไม่น่าจะทำได้เช่นกัน แต่ก็เกิดการขัดขวางการทำหน้าที่ของรัฐบาลขึ้นมาแล้ว
ชีวิตยอมพลีเพื่อชาติ เลือดทุกหยาดแด่ภูมินทร์ แม้นชีพม้วยไร้ชีวิน วงศ์จักรินทร์คงสืบไป

#28 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:09

ประเด็นเรื่องศาลรธน.สามารถรับเรื่องโดยไม่จำเป็นต้องให้อัยการเป็นคนยื่น กับ เรื่องที่ศาลมีคำสั่งให้พท.ชะลอการพิจรณา อันนี้ผมเข้าใจนะครับอันนี้ผมเห็นด้วยกับศาล

เสื้อแดงก็ยังไม่สมควรจะโวยวายกันเพราะศาลรธน.ยังไม่ได้วินิจฉัยเลย ศาลอาจยกคำร้องก็ได้ ถ้าศาลยกคำร้องเสื้อแดงก็คงออกมาบอกว่าศาลยุติธรรมที่สุดอีก(เฮ้อ!)

แต่ผมติดใจเรื่องการตีความของศาลเท่านั้นครับ ว่าศาลตีความเกินขอบเขตไปรึเปล่า คือศาลไม่ได้ตีความแบบคุณรสนานะครับ ศาลตีความแบบเพิ่มเนื้อหาเข้าไปด้วยเลย

#29 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:11

เฮ้อ.....พันธมิตรดันส่งควายไปให้เชือดคาทีวี ไม่น่าเล้ยยยยย :D


แล้วควายที่ชื่อโปกรู้หรือยังว่า ในโลกนี้มีประเทศเยอรมันนีที่ศาลสั่งระงับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมาแล้ว ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกในโลก

#30 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:15

เขากำลังใช้อำนาจนิติบัญญัติ ล้มล้างคำพิพากษาของศาล
คดีที่ยังคาอยู่ให้จำหน่ายคดีออก
ไม่ได้ก้าวก่ายเลย ฮ่าๆๆ

Edited by phoosana, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:17.

We love fender.

#31 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:16


เฮ้อ.....พันธมิตรดันส่งควายไปให้เชือดคาทีวี ไม่น่าเล้ยยยยย :D


แล้วควายที่ชื่อโปกรู้หรือยังว่า ในโลกนี้มีประเทศเยอรมันนีที่ศาลสั่งระงับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมาแล้ว ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกในโลก

ผมสนับสนุนให้ท่าน PookLook ออกทีวีพร้อมคุณรสนาครับ ผมอยากเห็นท่าน PookLook เชือดคุณรสนาคาทีวี :D

#32 sun

sun

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,371 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:17

เท่าที่ดูเหมือนว่าคุณวีรพัฒน์เขากำลังสร้างราคาให้ตัวเองนะ พยายามออกสื่่อเพื่อเรตติ้งนะครับ

#33 Bourne

Bourne

    สายลับ ๆ ล่อ ๆ หัดเกรียน

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,471 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:33

ได้ดูรายการนี้นิดหน่อยตอนใกล้จบ เมื่อคืนวาน ขนาดดูนิดหน่อย ยังรู้สึกรำคาญไอ่วีรพัฒน์มาก และทำให้ไม่อยากกลับไปดูทั้งรายการเพื่อฟังไอ่วีรพัฒน์มันพ่นอีก

ยอมรับครับว่า มันมีความรู้ แต่ขาดประสบการณ์ภาคสนาม ทุกอยากที่พ่นมามีแต่ทฤษฎี และความรู้สึกตามอุดมคติของมัน มันบอกว่า ต้องให้ประชาชนลองผิด ลองถูก แต่โทษที นี่เรื่องบ้านเมืองครับ ไม่ใช่ LAB ถ้าผิดพลาดแล้วมีคนรับเคราะห์แยะ แถมกลุ่มประชาชนที่ลองก็ไม่มีความสามารถพอที่จะรับผิดชอบต่อผลการทดลองด้วย

RIP เหอะไอ่วีรพัฒน์

Edited by Bourne, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:34.

ภาระกิจหลักของผมบนบอร์ดเสรีไทย คือ ด่าควายครับ เรื่องคิดต่างผมรับได้ แต่เรื่องคิดชั่วผมรับไม่ไหวครัช

#34 เด็กปากเกร็ด

เด็กปากเกร็ด

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,363 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:34



เฮ้อ.....พันธมิตรดันส่งควายไปให้เชือดคาทีวี ไม่น่าเล้ยยยยย :D


แล้วควายที่ชื่อโปกรู้หรือยังว่า ในโลกนี้มีประเทศเยอรมันนีที่ศาลสั่งระงับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมาแล้ว ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกในโลก

ผมสนับสนุนให้ท่าน PookLook ออกทีวีพร้อมคุณรสนาครับ ผมอยากเห็นท่าน PookLook เชือดคุณรสนาคาทีวี :D

ผมคนนึงที่อยากเห็นความรู้ความสามารถ PookLook ผู้มีความรู้ด้านประชาธิปไตย เป็นอย่างมากครับ

#35 overtherainbow

overtherainbow

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,295 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 17:36

ตกลง
ศาลจำเป็นต้องรอเอกสารประกอบการพิจารณาคดีหรือกิจกรรมต่างๆที่ต้องเกี่ยวกับศาล
จากอัยการแต่เพียงผู้เดียวกลุ่มเดียวหรือปล่าวคะ
หรือไม่จำเป็น
ประชาชนทั่วๆไปก็สามารถทำได้
ใช่มั้ยคะ

#36 wikkie

wikkie

    โตขึ้นหนูจะเป็นนายก

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,003 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 18:10




เฮ้อ.....พันธมิตรดันส่งควายไปให้เชือดคาทีวี ไม่น่าเล้ยยยยย :D


แล้วควายที่ชื่อโปกรู้หรือยังว่า ในโลกนี้มีประเทศเยอรมันนีที่ศาลสั่งระงับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมาแล้ว ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกในโลก

ผมสนับสนุนให้ท่าน PookLook ออกทีวีพร้อมคุณรสนาครับ ผมอยากเห็นท่าน PookLook เชือดคุณรสนาคาทีวี :D

ผมคนนึงที่อยากเห็นความรู้ความสามารถ PookLook ผู้มีความรู้ด้านประชาธิปไตย เป็นอย่างมากครับ

ความสามารถที่ดีที่สุดของpooklookคือ" ก๊อปมาแปะ"
รู้จักความหมายของ ประชาธิปไตย ดีพอแล้วหรอ

#37 butadad

butadad

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,119 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 18:12

รายการน่าจะเชิญคนที่รู้กฏหมาย มาออกรายการทั้งคู่. เล่นแบบนี้. รายการก็จะได้ผลตามที่ตัวเองต้องการนะซิ. หากินง่ายเนอะจอมขวัญ

#38 blue

blue

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,979 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 18:19

มาตรา 68 นี้ ถ้าดูตามเจตนารมณ์ที่นิติราษฎร์เอามาอ้างว่า ผุ้ร่างเข้าใจตรงกันว่า
ต้องยื่นเรื่องผ่านอัยการนั้น ผมว่าตรงนี้มันไม่ใช่เจตนารมณ์ของ มาตรา 68 เพราะ
เจตนารมณ์มันต้องระบุเป็นเหตุเป็นผลว่าที่กำหนดมาอย่างนี้มันเพราะอะไร

เจตนารมณ์ที่แท้จริงมันน่าจะเป็นเพราะเกรงว่าผู้ที่ยื่นเรื่องร้องต่อศาลจะไม่มีความรู้
ในเรื่องการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ จึงให้อัยการช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง
ก่อนยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ คือเราต้องมองในมุมของสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญนะครับ
ไม่ใช่มองในมุมห้ามใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ผู้ที่กำลังคัดค้านอยู่ขณะนี้ ผมว่าเขา
มองในมุมห้ามใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เมื่อมองในมุมนี้เขาก็ต้องยืนยันหัวชนฝา
ว่าต้องผ่านอัยการแหละครับ เพราะดูเจตนาแล้วไม่ต้องการให้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

แล้วรู้ได้ไงว่าเขาไม่อยากให้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก็เขากำลังจะแก้รัฐธรรมนูญ ม 291
แบบไม่ให้ประชาชนรู้ว่าเขาจะแก้เรื่องอะไรไงครับ แต่มันดันมีคนไปฟ้องศาลซะก่อน
มันก็ต้องอลเวงละครับ เพราะจะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังบอกไม่ได้ว่าจะแก้เรื่องอะไร
ศาลก็ดันมาบอกให้ไปชี้แจงอีก ปัญหาก็คือ จะให้ใครไปชี้แจงกับศาลครับ ผมอยากรุ้
ว่าไอ้ตัวไหนเป็นคนรับผิดชอบไปชี้แจงกับศาล เพราะโกหกประชาชน หรือทำสับขาหลอก
ประชาชนไปวัน ๆ นั้นทำได้ครับ เสียงส่วนใหญ่เขาไม่ถือ แต่จะไปโกหกศาล หรือไปทำ
สับขาหลอกกับศาลนี่ เผลอ ๆ ติดคุกครับ มันก็เลยเป็นปัญหาออกมาเรียงหน้าคัดค้านกัน
เท่านั้นแหละ

#39 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 18:28

รายการน่าจะเชิญคนที่รู้กฏหมาย มาออกรายการทั้งคู่. เล่นแบบนี้. รายการก็จะได้ผลตามที่ตัวเองต้องการนะซิ. หากินง่ายเนอะจอมขวัญ

จริงๆแล้วเชิญท่านสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา/อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ด้วยครับ แต่ท่านมาไม่ทัน :( คือถ้าท่านสุรชัยมาตอบจะชัดเจนกว่าเพราะเป็นสสร.ปี 50 แต่ก็ยังมีสัมภาษณ์ท่านนิพิฎฐ์ทางโทรศัพท์ตอนท้ายด้วยครับ

#40 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 18:37

ร่างรัฐธรรมนูญตะบักตะบวยที่เปิดช่อง ให้ฉีกทั้งฉบับนี้ทิ้งแล้วร่างฉบับใหม่
การกระทำนี้เป็นการพิทักษ์ธรรมนูญหรือไม่ อิอิ

Edited by phoosana, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 18:38.

We love fender.

#41 ไอ้เบื๊_อก

ไอ้เบื๊_อก

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 114 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 19:06

Posted Image


งานนี้ศาลรัฐธรรมนูญ พลาดไปหน่อย โดยอาศัยความรู้สึกของศาลที่บริสุทธิใจ ที่อยากให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม ตามนิสัยความเป็นผู้พิพากษา แต่มาใช้ตอนที่ ทุกฝ่ายจ้องห้ำหั่นกัน แบบ "และ หรือ อาจ ในบทบัญญัติ" ทำให้เสียรังวัด
ซึ่งนักกฎหมายอ่านวรรค 2 แล้วน่าจะหมายถึง อัยการสูงสุดมีอำนาจส่งศาลรัฐธรรมนูญ เท่านั้น ถ้าสังเกตใน มาตราอื่นในรัฐธรรมนูญ หากมีเจตนาจะให้ผู้อื่นด้วยจะระบุชัด หรือ มีคำว่า " เช่น (ตัวอย่าง)" เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้มีส่วนได้เสีย เป็นต้น
แต่ผมมองว่า เหตุที่ล้ำเส้น นอกจากเพื่อต้องการให้ประเทศลดความร้อนแรงแล้ว อาจต้องการไต่ส่วนแล้ว ให้คู่กรณีชี้แจงอย่างชัดแจ้งว่า ในใจเป็นอย่างไร เป็นสัญญาประชาคม ซึ่งล่าสุด ถ้าจำไม่ผิด ประธานศาลรัฐ มีระเบียบให้ไต่ส่วนผ่านการถ่ายทอดสด น่าจะเป็นการวางเกมส์ให้ผู้ร่าง สัญญากับประชาชนว่า สิ่งที่ร่าง สุดท้ายไม่ใช่หน้ากากหลอก ปชช
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ไม่มีทางเลือกอื่น ท้ายสุดก็ต้องปล่อยให้ทำต่อ เพราะไม่มีฝ่ายใดให้การโง่ๆ ว่า ทำเพื่อเปลื่ยนระบอบการปกครอง เป็นรัฐไทยใหม่
แต่ภถ้าผลไม่ออกมาเช่นนั้น ความศักดิ์สิทธิของศาลรัฐธรรมนูญ จะสูญเสียไป อันตรายมาก

เมื่อกฎหมายก่อนตราออกใช้ ก็มีบทบัญญัติว่า กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พรบ ก่อนตราออกใช้ ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญก่อนเพื่อกลั่นกรองว่า ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ อีกก๊อกหนึ่ง

งานนี้หวังว่า Landing ได้สวย

#42 อย่าเอยนามข้า

อย่าเอยนามข้า

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 152 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 21:02

จริงๆแล้วเรื่องของการใช้กฎหมายไม่ใช่ดูที่ความถูกต้องอย่างเดียว แต่ดูความเหมาะสมควบคู่ด้วยถ้าจะบอกว่ากฎหมายต้องตีความตามตัวอักษรอย่างเดียวคงไม่ใช่ก็ต้องดูเจตนารมณ์ของกฏหมาย และดูว่าการใช้กฎหมาย(ปฏิบัติ)มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดการบังคับตามกฎหมายมีผลดีหรือเสีย บางทีการออกกฎหมายมีช่องว่างเพราะเป็นตัวอักษรเขียนได้แต่อธิบายได้ไม่หมด ทำไมผู้พิพากษาต้องมีข้อสอบยากๆก็เพราะวัดความรู้คู่กับวิจารณญาณบางคนตอบไม่ตรงธงแต่ได้คะแนนเพราะเหตุผลดี ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง การมีรัฐธรรมนูญต้องโดยเนื้อหาโดยเจตนารมณ์ไม่ใช่แค่ตัวหนังสือที่ดิ้นได้
อย่าถามว่าทำไมจึงรักเพราะความรักมักไม่มีเหตุผล แล้วทำไมจึงภักดีนั้นเพราะความดีของผู้นั้นมากมายและแท้จริงเหนือสิ่งอื่นใดทำไมต้องหมอบกราบคลานเข่าเพราะด้วยความเคารพรักยิ่ง ทำไมจึงห่วงแหนและเทิดทูนเพราะผู้มีความดีอันยิ่งใหญ่นั้นมีรักแท้อันเต็มไปด้วยความเสียสละแม้เหน็ดเหนื่อยมากเพียงใดไม่เคยปริปากบ่น ไม่เคยเรียกร้องให้ใครมารักนี่เป็นบารมีของผู้ยิ่งใหญ่ที่เราเทิดไว้ยิ่งชีวิต

#43 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 21:24

นี่แค่ก็อกแรก

พอกฎหมายผ่านสภา ทีนี้ก็ก็อกสองกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ...ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด

เราเตือนคุณแล้ว...

#44 tantena

tantena

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 27 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 21:25

ดูต่อตอนนี้ด่วน หนุกหนานครับ :)

อ. แปล และขยายว่า อสส.ต้องรับร่างแล้วส่งต่อเท่านั้น ไม่ต้องกรอง หุหุ ฉลาดโคตรๆ


ให้และมาขยายผู้ร้อง ไม่ได้ขยาย อสส. โห๊ะๆ ฟังต่อ

Edited by tantena, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 21:27.


#45 Moo3storey

Moo3storey

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,284 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 21:56

ภาคแรกนี่แค่ปูเรื่องครับ ภาคสองบู๊กันอย่างเดียว

อ.สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ชี้แจงได้ดีมากครับ สมกับเป็นสมาชิกสภาร่างรธน. พ.ศ.50

คุณจอมขวัญถามคุณนิพิฎฐ์ว่ามีสิทธิ์โดนแบบทรท. พปช. มั๊ย ?
คุณนิพิฎฐ์ - แน่นอน ผิดอีกก็ยุบอีก
ประสพ บุษราคัม - (เม้งแตก)ยุบอีกคราวนี้เราจะตั้งพรรคเสื้อแดง!!!

#46 Critical

Critical

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 642 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 22:19

อาจารย์สุรชัยบอกว่า ให้คิดถึงประเทศชาติเป็นหลัก

ประสพจะสำนึกบ้างมั้ยนะ แต่ผมคิดว่าไม่ :lol: :lol: :lol:
"การยอมรับแนวคิดหนึ่งในวงกว้าง ไม่ได้เป็นสิ่งพิสูจน์ความถูกต้องของความคิดนั้น" - แดน บราวน์, สาส์นลับที่สาบสูญ

#47 anchalin

anchalin

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 158 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 22:22

คุณรสนา แกไม่ใช่นักกฎหมาย รับเชิญไปโต้ข้อกฎหมาย ก็เป็นเหยื่อ จอมขวัญ นั่นแหละ

ผมเหมือนคุณ GEAR ครับ ไม่ได้ดูคลิป แต่ดูจากข้อ 1 ข้อ 2 ของท่านเจ้าของกระทู้

1. ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายขอบเขตอำนาจไปก้าวก่ายฝ่ายบริหารฝ่ายนิติบัญญัติ
2. ม 68 ถ้า ปชป แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วศาลรัฐธรรมนูญสั่งห้าม

ปชป ตอนเป็นรัฐบาลก็เคยแก้รัฐธรรมนูญมาแล้วนะครับ ไม่เห็นมีใครโวย ไม่มีใครห้าม
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ถ้าเรามองที่ผล คือการรับเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งของศาล
รัฐธรรมนูญ แล้วเอามาตีความว่าก้าวก่ายบริหาร นิติบัญญัติ ไม่มีอำนาจดำเนินการ
มันก็ต้องออกมาในรูปแบบที่เขาคัดค้านกันอยู่นั่นแหละครับ

ผมจึงยกตัวอย่างว่าตอน ปชป เป็นรัฐบาลก็แก้รัฐธรรมนูญ ทำไมมันไม่มีปัญหาล่ะครับ
มันไม่มีปัญหาเพราะมันไม่มีคนร้อง ถ้ามีคนร้องก็คงถูกระงับเหมือนกันแหละครับ แต่
ระงับแล้ว วินิจฉัยแล้วจะทำต่อได้หรือไม่ได้มันเป็นเรื่องภายหลัง

กรณีนี้ มีคนร้องว่าแก้รัฐธรรมนูญอย่างนี้ไม่ได้มันไม่ถูกต้อง จะไม่ให้ศาลรับเรื่องหรือครับ
ศาลรับเรื่องแล้วเห็นว่า มันมีเค้าความจริงตามที่เขาร้อง ก็บอกสภาว่า คุณอย่างเพิ่งทำต่อ
มีคนร้องว่าคุณกำลังจะทำลายชาติ คุณมาให้รายละเอียดกับศาลก่อน มันไปขยายอำนาจ
ศาล ไปก้าวก่ายฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ตรงไหนครับ

ม 68 บอกศาลรับเรื่องจากผู้ร้องโดยตรงไม่ได้ต้องรับเรื่องผ่านอัยการ
ถ้าจะตีความกันแบบนี้ มันก็เท่ากับไปก้าวก่ายดุลยพินิจของศาลนั่นแหละ
เพราะตาม ม 68 ไม่ได้ห้ามศาลว่าห้ามรับเรื่องโดยตรงจากผู้ร้อง แต่เขา
กำหนดว่าผู้ทราบการกระทำให้ยื่นเรื่องต่ออัยการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ซึ่งหากจะพูดถึงเจตนารมณ์ ที่ให้ยื่นให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
มันเป็นเรื่องที่เกรงว่าผู้ร้องจะไม่สามารถหาข้อเท็จจริงที่เป็นหลักเป็นเกณฑ์
ได้มากกว่าจึงต้องให้อัยการช่วยตรวจสอบ แต่ถ้าเขารู้เรื่องมีหลักเกณฑ์
ศาลก็มีดุลยพินิจที่จะรับเรื่องโดยตรงได้ ซึ่งเป็นดุลยพินิจที่เป็นอำนาจ
ของศาลเอง และมันก็ไม่ได้ไปขัดกับ ม 68 ตรงไหน


อันนี้ต้องถามถึงว่าใครได้ผลประโยชน์ หากประชาชนได้ผลประโยชน์และไม่ผิดหลักกฏหมาย ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ก้าวล่วงอยู่แล้ว จริงมั้ยคะ

#48 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 22:23

พรรคเสื้อแดงแพ้ทุกสนาม แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปสู้เค้า

#49 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 22:24

ต้องถามว่าแก้รัฐธรรมนูญในสภา หรือ ไปตั้งคนนอกเข้ามาแก้

ต้องถามว่าแก้มาตรา 291 ซึ่งเป็นมาตราให้แกไขรัฐธรรมนูญในสภาได้หรือไม่?

#50 ไอ้เบื๊_อก

ไอ้เบื๊_อก

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 114 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 23:48

ความยากมันอยู่ที่ว่า
ที่กำลังมีปํญหา คือ ร่าง..รัฐธรรมนูญ คือ ร่าง ที่ เขียนเพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ ร่าง พรบ
ดังนั้น ศักดิ์เหนือกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ซึ่งต้องเกิดแล้ว)
ซึ่งศาลไม่มีสิทธิ์สั่งชลอได้
นี่แหละถึง ถกเถียงกันมาก ว่า เกินขอบเขต และล้ำอำนาจการถ่วงดุลของนิติบัญญัติ ???




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน