Jump to content


Photo
- - - - -

3เดือนยิ่งลักษณ์แก้น้ำท่วมผิดทาง

ยิ่งลักษณ์ น้ำท่วม

This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
10 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 An.mkII

An.mkII

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,395 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 18:33

3เดือนยิ่งลักษณ์แก้ผิดทาง





หากไล่เรียงเหตุการณ์ก็จะพบว่า ความสาหัสของสถานการณ์ในวันนี้เป็นเพราะความไม่รู้ ไม่ตื่นตัว และไม่ตัดสินใจของรัฐบาล

สถานการณ์น้ำท่วมมาถึงจุดวิกฤตที่สุด ภายหลังนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงนามในคำสั่งให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา ทำให้น้ำไหลเข้าคลองแสนแสบ ซึ่งผ่านพื้นที่ชั้นใน ล่าสุดนิคมอุตสาหกรรมบางชัน กำลังได้รับผลกระทบจากน้ำที่เอ่อล้นตามท่อระบายน้ำ นอกจากนี้ อาจกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน จนถึงขั้นท่วมทั่วกรุงเทพฯ

Posted Image


การแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาของรัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดความรู้ ความเข้าใจ ทำให้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ ผิดพลาด ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่าไม่ได้อ่อนแอ หรือไม่กล้าตัดสินใจ แต่ปัญหาน้ำท่วมมีปัจจัยใหม่ตลอด และในช่วงเวลาที่เข้ามารับตำแหน่งน้ำได้เต็มความจุของทุกเขื่อนแล้ว

จากการตรวจสอบข้อมูลของกรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมอุตุนิยมวิทยา มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) รวมทั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พบว่ารัฐบาลเองไม่ตื่นตัวต่อสถานการณ์น้ำที่ก่อตัวมาตั้งแต่เดือน ส.ค. ที่ผ่านมาทำเพียงแค่การระดมความช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น แต่ไม่เคยเตรียมป้องกันวิกฤตครั้งนี้แต่เนิ่นๆ

นับแต่วันที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งช่วงต้นเดือน ก.ค. ก็มีฝนตกหนาแน่นในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพล จ.ตาก อยู่ที่ระดับ 58% ของความจุ ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีระดับน้ำกักเก็บ 65% ของความจุ แม้กระทั่งพายุนกเตนที่พาดผ่านด้านเหนือของประเทศไทยช่วงปลายเดือน ก.ค. ระดับน้ำเขื่อนภูมิพลเพิ่มเป็น 62% ส่วนเขื่อนสิริกิติ์อยู่ที่ 76% ของความจุ
ดังนั้น ช่วงต้นเดือน ส.ค. ก็มีน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือ 14 จังหวัด

20 ส.ค. นายกรัฐมนตรีประชุม ศอส. สั่งการกรมชลประทานสำรวจพื้นที่รับน้ำเพิ่ม ช่วยแก้ปัญหาอุทกภัย และใช้บางระกำโมเดลแก้ปัญหาในพื้นที่อื่นๆ

29 ส.ค. หลัง ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภา กรมชลประทานแจ้งเตือนหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.นครสวรรค์ เพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าปริมาณน้ำจะอยู่ในเกณฑ์สูงสุดประมาณ 2,500–2,600 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ให้ประชาชนที่เสริมกระสอบทรายป้องกันพื้นที่ พร้อมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง

5 ก.ย. กรมชลประทานแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างอีกครั้ง เนื่องจากปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เปลี่ยนแปลงจาก 2,400 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็น 2,800 ลบ.ม.ต่อวินาที พื้นที่น้ำท่วมขยายเป็น 22 จังหวัด

มาตรการของรัฐบาลในขณะนั้น คือ รายการพิเศษ “ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม” เพื่อรับบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในวันที่ 14 ก.ย.

13 ก.ย. กรมชลประทานแจ้งเตือนอีกครั้ง เนื่องจากฝนตกหนักระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.นครสวรรค์ อยู่ที่ 3,800-3,900 ลบ.ม.ต่อวินาที เกินกว่าความจุลำน้ำที่รับได้เพียง 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที

Posted Image

วันเดียวกันนี้ ประตูน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี แตก น้ำไหลเข้าท่วม จ.ลพบุรี และอีกเพียง 1 สัปดาห์ต่อมา คันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.อ่างทอง ก็แตก น้ำเข้าท่วม จ.อ่างทอง ซึ่งการที่ประตูน้ำและคันกั้นน้ำแตกทั้งสองที่ เป็นสัญญาณอันตรายแสดงให้เห็นว่าปริมาณน้ำนั้นมีมากเกินความจุลำน้ำ จนทำให้ระบบการควบคุมน้ำเสียหายใช้การไม่ได้

17 ก.ย. นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และนครสวรรค์ และได้สั่งการแก้ไขปัญหาโดยให้จังหวัดบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ แก้ไขปัญหาน้ำล้นตลิ่งข้ามแนวป้องกัน โดยระดมสรรพกำลังเพื่อแก้ไขปัญหาให้บรรเทาเบาบางลง
ในช่วงที่สัญญาณวิกฤตเริ่มปรากฏ แต่รัฐบาลก็ยังไม่มีท่าทีตื่นตัวต่อปัญหา แม้นายกรัฐมนตรีจะประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับผู้ว่าราชการจังหวัด ต่างๆ แต่ก็เพียงสั่งให้แต่ละจังหวัดแก้ปัญหา ช่วยเหลือประชาชน และให้ประสานขอรับการสนับสนุนมาที่ ศอส. ขณะที่นายกฯ ก็เพียงแค่เดินทางไปมอบของยังชีพแก่ประชาชนในจังหวัดต่างๆ

ท่าทีการตื่นตัวต่อปริมาณน้ำและความรุนแรงใน การเคลื่อนตัวของน้ำเริ่มปรากฏให้เห็น หลังพายุไห่ถางและเนสาดเคลื่อนตัวเข้ามาสร้างผลกระทบช่วงปลายเดือน ก.ย.

นายกฯ สั่งการให้จังหวัดต่างๆ รายงานข้อมูลปริมาณน้ำและความรุนแรงในการเคลื่อนของมวลน้ำ และมอบหมายให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลรายจังหวัด เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือแก้ไขปัญหา โดยให้รัฐมนตรีพักค้างคืนที่จังหวัด และให้ ปภ.เร่งสนับสนุนตามที่จังหวัดต่างๆ ขอขุดลอกคูคลอง ขณะเดียวกันขอให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหารือเร่งด่วนร่วมกับกรมชล ประทานในการเร่งระบายและดันน้ำออก โดยเฉพาะในเขตตะวันตกของกรุงเทพฯ
ที่สำคัญ มีการแต่งตั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ให้เป็นผู้อำนวยการ ศปภ. เมื่อวันที่ 4 ต.ค.

5 ต.ค. พายุโซนร้อนนาลแกขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนบน ฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายกฯ ได้ประชุมทางไกลร่วมกับ ศอส. และ จ.ปทุมธานี นนทบุรี ร้อยเอ็ด และยโสธร ให้ทุกจังหวัดแจ้งเตือนประชาชน และให้กรมชลประทานร่วมกับจังหวัดตรวจสอบความแข็งแรงของคันกั้นน้ำ

Posted Image

ขณะนั้นปริมาตรน้ำในเขื่อนใหญ่ภาค เหนือ ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต่างมีระดับน้ำกักเก็บเกิน 100% ของความจุแล้วทั้งสิ้น และในวันที่ 5 ต.ค. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตัดสินใจระบายน้ำเขื่อนต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้น รวมเป็นวันละ 300 ล้าน ลบ.ม. เป็นเวลา 5 วัน

และในคืนเดียวกันนี้เอง คันกั้นน้ำ จ.พระนครศรีอยุธยา ก็แตก น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาก็สมทบกับแม่น้ำป่าสักที่ไหลบ่ามาจาก จ.ลพบุรี ท่วมทุกพื้นที่ของ จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใน 1 สัปดาห์ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร โรจนะ ไฮเทค แฟคตอรี่แลนด์ ทยอยถูกน้ำท่วมเสียหายตามลำดับ

8 ต.ค. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติให้เฝ้าระวังภาคกลางตอนล่างและกรุงเทพฯ ที่อาจประสบปัญหาน้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งข้ามคันกั้นน้ำ จากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุดช่วงกลางเดือนและปลายเดือน ต.ค. โดยคาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และระดับน้ำจะสูงขึ้นจากปริมาณน้ำฝนและน้ำเหนือที่จะไหลมาสมทบ
ขณะนั้น วีระ วงศ์แสงนาค ที่ปรึกษาอธิบดีกรมชลประทาน ประเมินว่าน้ำเหนือไหลบ่าตามทุ่งน่าจะมีปริมาตรถึง 1 หมื่นล้าน ลบ.ม. แต่รัฐบาลกลับไม่ยอมรับ และมั่นใจว่าสามารถป้องกันพื้นที่กรุงเทพฯ ได้

9 ต.ค. ศปภ.สั่งการให้กรุงเทพฯ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปทุมธานี นนทบุรี และฉะเชิงเทรา ป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และพิจารณาว่าจะป้องกันพื้นที่สำคัญและพื้นที่เศรษฐกิจได้หรือไม่ รวมทั้งทำแผนการอพยพ โดยประเมินว่ามวลน้ำในเขต อ.นครหลวง และอุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา จะไหลลงสู่เขตพื้นที่ อ.บางปะอิน และวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

แต่เป็นการแจ้งเตือนหลังจากนิคมอุตสาหกรรมสห รัตนนครและโรจนะถูกน้ำท่วมเสียหายไปแล้วตั้งแต่วันที่ 7 และ 9 ต.ค. ส่วนนิคมฯ ไฮเทคถูกน้ำท่วมเสียหายตามมาในวันที่ 13 ต.ค.

เวลานั้นรัฐบาลยังไม่เปิดเผยข้อมูลมวลน้ำมหาศาลถึง 1.2 หมื่นล้าน ลบ.ม. ที่อยู่ด้านเหนือ แม้แต่วันที่ 14 ต.ค. หลังไม่อาจซ่อมประตูน้ำคลองบ้านพร้าว จ.ปทุมธานี ได้ ทำให้ ปลอดประสพ สุรัสวดีแจ้งให้ประชาชนรีบอพยพโดยด่วน แต่ภายหลัง พล.ต.อ.ประชา กลับแจ้งว่า|ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ไม่ต้องรีบอพยพ เพราะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

มวลน้ำมหาศาลกว่าหมื่นล้าน ลบ.ม. หลุดมาให้ประชาชนได้รับรู้ก็เมื่อ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ชี้แจงหลังจากนั้นผ่านมาอีก 1 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากนั้น ศปภ. ก็เริ่มที่จะประกาศขอให้ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมอพยพ โดยเตรียมจุดอพยพรองรับไว้ใน 9 จังหวัด

Posted Image

รัฐบาลโดย ศปภ. มิได้ทำให้ประชาชนได้เข้าใจต่อสถานการณ์ที่แท้จริง หลังภาวะน้ำทะเลหนุนช่วงกลางเดือนผ่านไป ก็แถลงว่ามวลน้ำก้อนใหญ่ได้ผ่านกรุงเทพฯ ไปแล้ว และเชื่อมั่นว่าจะรับมือภาวะน้ำทะเลหนุนช่วงปลายเดือน ต.ค.ได้ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา คือ คันกั้นน้ำแตกหลายจุด มวลน้ำทะลักเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ หลายเขต มีการอพยพประชาชนแล้วนับหมื่นคน

ถึงกระนั้นนายกฯ ก็ยังทำให้เกิดความสับสนมากเข้าไปอีก เมื่อบอกว่าหลังวันที่ 31 ต.ค. เมื่อหมดภาวะน้ำทะเลหนุนสูง สถานการณ์จะคลี่คลายและน้ำจะลดลง กระทั่งโพสต์ทูเดย์เปิดเผยข้อมูลว่ามวลน้ำค้างทุ่งด้านเหนือยังมีมากกว่า หมื่นล้านลบ.ม. และยังต้องเผชิญภาวะน้ำทะเลหนุนสูงอีก 2 ครั้งในช่วงกลางเดือนและปลายเดือน พ.ย. นายกฯ และนักวิชาการใน ศปภ.ถึงออกมาแถลงข่าวยอมรับ

วิกฤตใหญ่ยังไม่คลี่คลาย แต่การแก้ปัญหากลับไม่คืบหน้า กระทั่ง ธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ถึงขนาดใช้คำว่า “ฉิบหาย” กลางที่ประชุม ศปภ. โดยขอให้นายกฯ ตัดสินใจเลือกดำเนินการอย่างใดให้เด็ดขาด เพราะหากมัวแต่ละล้าละลัง ฟังแต่ความเห็นนักวิชาการรอบตัว ก็ถึงคราวต้องเสียหายรุนแรงมากกว่านี้


เพียงแต่ความเด็ดขาดของนายกฯ ครั้งล่าสุด เมื่อออกคำสั่งให้ กทม.เปิดประตูน้ำคลองสามวา อาจนำมาซึ่งความฉิบหายตามที่ ธีระ เคยกล่าวไว้ก็ได้

วิกฤตที่เผชิญอยู่ขณะนี้ ป่วยการที่จะโทษน้ำจากเขื่อน หรือฟ้าฝนที่ไม่อาจควบคุมได้ แต่ความหนักหนาสาหัสของสถานการณ์ในวันนี้เป็นเพราะความไม่รู้ ไม่ตื่นตัว และไม่ตัดสินใจของรัฐบาล

3เดือนยิ่งลักษณ์แก้ผิดทาง
การกระทำโดยขาดสติยั้งคิด ขาดเหตุผล ความรู้จักถูกผิดนั้น เป็นเหตุให้เกิดความหลง ความลืมตัว ทำให้กระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยชอบได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก อาจจะนำความเสีย เสื่อมสลาย มาสู่ตนเอง ตลอดทั้งประเทศชาติได้พระราชดำรัส ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓

#2 An.mkII

An.mkII

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,395 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 18:36




อมน้ำ?-บริหารผิด?


ระดับเวลาการบริหารน้ำของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และตัวเลขน้ำของ2เขื่อนใหญ่ในช่วงต่างๆและผลกระทบที่เกิดขึ้น



Posted Image


http://www.posttoday...อมน้ำ-บริหารผิด
การกระทำโดยขาดสติยั้งคิด ขาดเหตุผล ความรู้จักถูกผิดนั้น เป็นเหตุให้เกิดความหลง ความลืมตัว ทำให้กระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยชอบได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก อาจจะนำความเสีย เสื่อมสลาย มาสู่ตนเอง ตลอดทั้งประเทศชาติได้พระราชดำรัส ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓

#3 An.mkII

An.mkII

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,395 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 18:40

มติครม พบแล้ว ที่บอกว่ามีคนสั่งกั๊กน้ำ ไม่ยอมให้ปล่อย เหตุเพราะกลัวนาข้าวเสียหาย กระทบ โครงการรับจำนำข้าว จึงสั่งเขื่อนลดการระบายน้ำทั้งๆที่ทางเขื่อนขอพร่องน้ำออก

Posted Image


คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 2 กันยายน 2554 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร การช่วยเหลือด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ สรุปได้ดังนี้

เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "นกเตน" ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา ประกอบกับปัจจุบันร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ทั่วประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่งผลทำให้เกิดผลกระทบด้านการเกษตรทั้งสิ้นรวม 48 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ เพชรบูรณ์ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน เลย สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ บึงกาฬ นครพนม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี กรุงเทพ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง ชุมพร ภูเก็ต และพังงา

ผลกระทบด้านการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ก.ย.54)

ด้านพืช เกษตรกร 404,100 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 3,530,969 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 3,151,463 ไร่ พืชไร่ 266,654 ไร่ พืชสวนและอื่น ๆ 112,852 ไร่

ด้านประมง เกษตรกร 53,559 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย แบ่งเป็น บ่อปลา 67,562 ไร่ กุ้ง/ปู/หอย 2,242 ไร่ กระชัง/บ่อซีเมนต์ 77,023 ตารางเมตร

ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 38,732 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 2,291,732 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 49,858 ตัว สุกร 50,036 ตัว แพะ-แกะ 416 ตัว สัตว์ปีก 2,091,422 ตัว แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ 3,658 ไร่

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี และชลบุรี

การดำเนินการช่วยเหลือด้านการเกษตร

1. การแจ้งเตือนภัย

1.1 สถานการณ์น้ำ จำนวน 5 ฉบับ (วันที่ 14,17,19,29,31 สิงหาคม 2554)

1.2 การคาดการณ์การเกิดอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก จำนวน 6 ฉบับ (วันที่ 19,22,24,26,29,31 สิงหาคม 2554)

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ได้เตรียมการไว้ จำนวน 1,360 เครื่อง ปัจจุบัน สนับสนุนแล้ว จำนวน 775 เครื่อง ในพื้นที่ 50 จังหวัด

3. สนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำ เตรียมการไว้ 295 คัน ปัจจุบัน สนับสนุนแล้ว 4 คัน

4. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 171,155 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 221,186 ตัว แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 2,425 ชุด

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 2 กันยายน 2554

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ 400 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 76 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 44 ของความจุอ่าง มากกว่าปี 2553 จำนวน 14,542 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 17,743 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณทั้งหมด 33 แห่ง มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 76 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 43 ของความจุอ่าง มากกว่าปี 2553 จำนวน 14,095 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 16,716 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำ มากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 8 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำสิริกิต์ (94%) ***ัดฯ (82%) แม่กวงฯ (90%) แควน้อยฯ (90%) ห้วยหลวง (100%) น้ำอูน (90%) หนองปลาไหล (91%) ประแสร์ (88%)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิต์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำทั้งหมด ร้อยละ 84 ของความจุอ่าง เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 57 ของความจุอ่าง สามารถรับน้ำได้อีก 3,975 ล้านลูกบาศก์เมตร

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำวัง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แม่น้ำยม ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม แม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม

แม่น้ำชี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม แม่น้ำโขง และ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำตาปี ตันหยงมัส โก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ



ที่มา มติคณะรัฐมนตรี 2 กันยายน 2554

http://www.eppo.go.t...4-09-06.html#17

ที่มาข่าว http://www.posttoday...น้ำเขื่อนภูมิพล

โดย: Namwhan Chonnida
การกระทำโดยขาดสติยั้งคิด ขาดเหตุผล ความรู้จักถูกผิดนั้น เป็นเหตุให้เกิดความหลง ความลืมตัว ทำให้กระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยชอบได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก อาจจะนำความเสีย เสื่อมสลาย มาสู่ตนเอง ตลอดทั้งประเทศชาติได้พระราชดำรัส ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓

#4 lostman

lostman

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 382 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 19:22

ดูสิว่าจะ แถ-ลง กันอย่างไงอีก มาเป็นมติครม.ขนาดนี้แล้ว แสดงว่ารู้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น จะมาบอกว่าเข้ามาก็น้ำเต็มแล้ว คงไม่ใช่แล้วล่ะ
รวย จน ขึ้นกับความขยัน ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตยประชาธิปไตยกินได้ คือ พวกที่จ้องหากิน หาผลประโยชน์เข้าตัว โดยอ้างคำว่าประชาธิปไตย

#5 zereza

zereza

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,950 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 19:26

หรือว่ามันตั้งใจทำลายงานของ...พ่อ :(
"ถ้าคุณตั้งคำถามของปัญหาที่เกิดขึ้นผิด ก็อย่าหวังว่าจะได้ทางออกของปัญหาที่ถูกต้อง""อิทัปปัจจยตา และ ปฏิจจสมุปปบาท สองหลักใหญ่ที่เป็นหัวใจแห่งพุทธะ หากคนไทยเรียนรู้และปฏิบัติตามได้เกินครึ่ง ชาติไทยจะห่างไกลความวิบัติทั้งปวง"

#6 ไอโอดีนแมน

ไอโอดีนแมน

    มันเป็นศาสตร์ของความฮา!

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,014 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 20:51

เอ้า ควายแดงเข้ามาตอบกันหน่อยเร็ว!!!

:P :P :P :P :P
"If you tell the truth, you don’t have to remember anything."

#7 nnnn43

nnnn43

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,771 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21:09

เอาอยู่ค๊ะ ! :lol:
ผู้ที่ขาดคุณธรรม ย่อมไม่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ผู้ที่ขาดความรู้ ย่อมไม่มีสายตาอันกว้างไกล พูดคนฉลาดหนี่งคำ พูดคนโง่ร้อยคำ

#8 centrino14

centrino14

    อำมาตย์ตัวพ่อ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,146 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 21:19

ไม่มีปัญหา เดี๋ยวสื่อชั้นนำระดับโลก ที่ดังไปถึงดาวนาเม็กอย่าง DNN
จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้ มติ ครม. จิ๊บๆ ขนาด กราฟยังแก้ไขได้ ไม่ต้องกังวล
ให้คางคกออกมาพ่นยางใส่ สาวกกาสรสีชาดนิดหน่อย ก็เชื่อแล้ว... :D :D :D
เบื่อพวกเสื้อแดงตอแหล

#9 memory

memory

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 23 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 22:49

:wub: :wub: :wub: น้าเต็มแก้วเลยบริหารไม่เป็น :( :( :(

#10 halfmoon

halfmoon

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,338 posts

ตอบ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 23:36

พรรคที่ตั้งขึ้นมาแบบหลวมๆ นายทุนพรรคก็เข้าแทรกบงการได้ ประเทศก็ฉิบหาย
อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง

#11 ชาตินี้ไม่เอาตระกูลชินวัตร

ชาตินี้ไม่เอาตระกูลชินวัตร

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,098 posts

ตอบ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 09:56

หนังสือพิมพ์พึ่งรู้แต่ประชาชนรู้นานแล้ว หลังจากต้องไปทักทายกับไอ้เข้หน้าบ้าน สวัสดีกับงูบนบ้าน