เจ้า "ไม่ได้" เต็มใจสละอำนาจให้กับราษฏร
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ ประจักษ์ ก้องกีรติ อธิบายเจตนาที่แท้จริงในการสละอำนาจของรัชกาลที่ 7 ว่าจริงๆแล้วไม่ได้มี "ความเต็มใจ" ที่จะสละอำนาจอันเป็นของกษัตริย์อยู่เดิมให้เป็นของประชาชนอย่างที่กลุ่มนิ
ยมเจ้ามักจะกล่าวอ้างแต่อย่างใด หากแต่เกิดจากความไม่สามารถต่อลองอำนาจของกษัตริย์ได้ลงตัว จนนำไปสู่การสละราชสมบัติและเขียนพระราชหัตถเลขาสละราชย์ "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่สละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป..." ที่กลุ่มนิยมเจ้ามักจะกล่าวอ้างเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของคำอธิบายแนวคิดกษัตริย์นักประชาธิปไตย
ในประเด็นนี้สมศักดิ์ และ ประจักษ์ อธิบายในตอนหนึ่ง ดังนี้:
"ความขัดแย้งที่ ร.7 มีต่อคณะราษฎรอันนำไปสู่การสละราชย์ในเดือนมีนาคม 2477 (2478 ตามปฏิทินปัจจุบัน) นั้น ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่คือการที่ทรงพยายามต่อรองขอเพิ่มพระราชอำนาจของพระองค์เองในระดับที่คณะราษฎรไม่อาจยอมรับได้ เดิมทีเดียว ร.7 เพียงแต่ใช้การขู่สละราชย์เป็น “อาวุธ” ต่อรองเท่านั้น แต่เมื่อขู่มากๆเข้าแล้วอีกฝ่ายไม่ยอมทำตาม จึงต้องทรงสละราชย์จริงๆ
อย่างไรก็ตาม ในการที่ทรงนิพนธ์พระราชหัตถเลขาสละราชย์นั้น ร.7ทรงหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงข้อเรียกร้องรูปธรรมของพระองค์ แต่ทรงหันเข้าหาหลักการประชาธิปไตยอันสูงส่งแทน (เช่น การที่รัฐบาลไม่ยอมให้พระองค์มีบทบาทในกระบวนการทางเมืองมากขึ้นกลายเป็น “คณะรัฐบาล…ไม่ยินยอม…ให้ราษฎรได้มีโอกาสออกเสียงก่อนที่จะเปลี่ยนหลักการและนโยบายสำคัญอันมีผลได้เสียแก่ราษฎร” ฯลฯ) ซึ่งทำให้พระราชหัตถเลขามีศักยภาพที่จะกลายเป็นเอกสารสำหรับใช้โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลไปทันที อันที่จริง อาจกล่าวได้ว่านั่นเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ด้วย เห็นได้จากการที่ทรงมีพระบรมราชโองการมายังรัฐบาลว่า “ขอให้ประกาศพระราชหัตถ?เลขาทรงสละราชสมบัตินั้นแก่ประชาชนให้ทราบทั่วกันด้วย” (หนังสือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถึงพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา, 4 มีนาคม 2477)"
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ ประจักษ์ ก้องกีรติ, "พระราชหัตถเลขาสละราชย์ ร.7: ชีวประวัติของเอกสารฉบับหนึ่ง"
3 มีนาคม 2553http://www.facebook....tml&h=DAQG2Tnhl
ั
ข้อความในพระราชหัตถเลขาก็เอามาพูดไม่ครบ
มันเกิดทันหรอ มาทำเป็นสู่รู้พระราชหฤทัยของพระองค์
ตะนิ่นตาญี ต้องขออภัยเจ้าของกระทู้ คุณ BlueArmy ที่ต้องแตกกระทู้นี้ออกมา
เพราะรับไม่ได้จริงจริงกับ บทความ กึ่ง วิเคราะห์ ของ สมศักดิ์ เจียมฯ ที่ได้
บิดเบือน “ข้อเท็จจริง” ทั้งทางด้านวิชาการ และ ประวัติศาสตร์ ในกรณีที่เกี่ยวกับ
ความเห็นไม่ตรงกัน ระหว่าง รัชกาลที่ ๗ กับ คณะราษฎร ในขณะที่รัชกาลที่ ๗ ทรงเสด็จ-
ไปประทับรักษาพระองค์อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้ทรงส่งพระราชบันทึกมายัง คณะราษฎร
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อ รัฐบาล โดยทรงเรียกร้องในสาระสำคัญอยู่ ๗-๘ ประการ
ตะนิ่นตาญี จำได้ไม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงใคร่ขออนุญาตเพื่อนเพื่อน คัดลอกมา
จาก หนังสือ ลักษณะสังคมและการปกครองของไทย เขียนโดย คุณ ไพบูลย์ ช่างเรียน ดังนี้
๑.พระองค์มีพระราชประสงค์ให้แก้ไขเกี่ยวกับการตั้งสมาชิกประเภท ๒ เสียใหม่
เพราะเท่าที่เป็นมา รัฐบาลมักเลือกเอาแต่พวกที่อยู่ใน คณะราษฎร เป็นส่วนมาก
โดยไม่ได้พิจารณาถึงคุณวุฒิและความเหมาะสมเฉพาะบุคคล
๒.ทรงเห็นว่า มาตรา ๓๙ แห่งรัฐธรรมนูญนั้นยังไม่เหมาะสม เพราะพระราชบัญญัติใดที่
พระมหากษัตริย์คัดค้าน สภาอาจยืนยันให้เป็นไปตามเดิมโดยความเห็นข้างมากเพียงเสียงเดียว
จึงควรแก้ไขว่า “ถ้าสภาลงมติตามเดิมโดยให้มีเสียงข้างมาก ๓ ใน ๔ ของสมาชิกทั้งหมด”
๓.ได้ทรงขอให้รัฐบาลทำมาตรา ๑๔ ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญจริงจริง อันได้แก่ การให้ เสรีภาพ-
ในการพูด การเขียน การโฆษณา และให้เสรีภาพในการประชุมโดยเปิดเผยและการตั้งสมาคม
๔.ขอให้ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญ เพราะมีวิธีการที่ขัดกับหลักเสรีภาพในร่างกายของประชาชน
๕.ขออภัยโทษให้แก่นักโทษการเมือง
๖.ข้าราชการที่ถูกลงโทษ โดยถูกปลดออกจากราชการโดยถูกสงสัยว่าจะมีผิดทางการเมืองก็ดี หรือถูกกล่าวหา
ว่ากล่าวร้ายรัฐบาล ถูกลงโทษและพ้นโทษไปแล้วก็ดี แต่ถูกตัดสิทธิในการรับเบี้ยบำเหน็จบำนาญ
ขอให้รับบำเหน็จบำนาญตามที่เขามีเกณฑ์
๗.ข้าราชการที่ถูกสงสัยในข้อหาเป็นกบฏ และที่กำลังจะฟ้อง ขอให้งดการฟ้องร้องจับกุม
๘.ขอให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรให้คำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะไม่ตัดกำลังและงบประมาณของ
ทหารรักษาวังให้น้อยกว่าเท่าที่มีอยู่ในเวลานี้
เหล่านี้คือข้อเท็จจริงในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่ง รัฐบาล ในขณะนั้น โดย พระยาพหลฯ ได้มีหนังสือตอบ
พระราชบันทึก แบบเลี่ยงที่จะปฏิบัติตาม ในที่สุดรัชกาลที่ ๗ จึงทรง พระราชทาน พระราชหัตถเลขา
ลงวันที่ ๒ มีนาคมพ.ศ. ๒๔๗๗ ประกาศสละราชสมบัติโดยเด็ดขาด.....
ถาม สมศักดิ์ เจียมฯ ตรงตรง ใน ๘ ข้อ ที่กล่าวมามีข้อไหน ที่บ่งบอกถึง ความพยายาม
ในการต่อรองเพื่อเพิ่มอำนาจของ รัชกาลที่ ๗ ? ผลเสีย กับการกล่าวอ้างของ คณะราษฎร
ในเวลานั้นมีเพียงประการเดียวคือ อำนาจ เป็นของ ประชาชน มากขึ้น นี่คือผลเสีย
ในอันที่ คณะราษฎร ไม่อาจยอมได้ และไม่มีวันยอมให้ ประชาชนได้รับ เสรีภาพ ที่แท้จริง
แม้กระทั่ง เสรีภาพ ในการพูด การพิมพ์...สมศักดิ์ เจียมฯ น่าจะ ขอบพระคุณ รัชกาลที่ ๗ ให้มากไว้
เพราะหากวันนั้นพระองค์ทรงได้ตาม พระราชประสงค์ แล้ว วันนี้ สมศักดิ์ เจียมฯ และสหาย
คงไม่ต้องดิ้นรนเดือดร้อน จะเป็น-จะตาย ขอแก้ไข-ยกเลิก กฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ แล้วกระมัง...
ตะนิ่นตาญี
วันอังคารที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๗.๑๙ นาฬิกา