Jump to content


Photo
- - - - -

ขอร้องแอดมินและสมาชิกทุกท่าน ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลนี้หน่อยครับ


  • Please log in to reply
310 ความเห็นในกระทู้นี้

#101 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:58

“คำนูณ” ชำแหละ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ให้ส่งออกได้ไม่จำกัด แถมขายในประเทศก็ต้องใช้ราคาตลาดโลก
ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข คนไทยไม่มีวันได้ประโยชน์จากพลังงานของชาติอย่างคุ้มค่า
ระบุเปิดสัมปทานรอบ 21 สำคัญมาก เพราะจะกินเวลาถึง 39 ปี หนุนทำประชามติก่อน พร้อมชี้เป็นเรื่องมหัศจรรย์

เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์-คมช.” ขัดแย้งกันทางการเมือง แต่เรื่องพลังงานกลับเป็นไปในทิศทางเดียวกันหมด

http://www.manager.c...D=9550000090625

เป็นที่น่าแปลกใจ 41 ปีมานี้ เราฉีกรัฐธรรมนูญมาแล้ว 4 ฉบับ
แต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ไม่เคยมีคนตั้งคำถามเลยว่าหลักการสมควรเปลี่ยนแปลงหรือยัง
แปลกหรือไม่ทำไมกฎหมายฉบับหนึ่งมีรากฐานทางปรัชญาสูงมาก ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ทะเลาะกันจะเป็นจะตาย
เพื่อไทยกับรัฐประหาร หรือ คมช. ประณามกันสาดเสียเทเสีย แต่ทิศทางพลังงานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นใคร
นโยบายพลังงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอด มันมหัศจรรย์ที่สุดในโลก

หรือจะพูดว่าไม่มหัศจรรย์เลย ถ้าเรารู้ว่าเนื้อแท้ของนโยบายพลังงานบ้านเรา
มันมีเงาทมึนของกลุ่มทุนมหาอำนาจอยู่เบื้องหลัง และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเขา
จริงอยู่เราต้องโอนอ่อนผ่อนตามผลประโยชน์ของเขา แต่ผลประโยชน์ของคนไทย มันก็ต้องให้คุ้ม สมน้ำสมเนื้อกัน

สิ่งที่เราพูดกันอยู่ ต้องก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะก็ไม่ได้ต่างจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ ก็มีการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมครั้งใหญ่ในปี 2550
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในขณะนั้น
ได้มีการเปิดสัมปทานรอบที่ 20 มีการต่ออายุออกไป มีความวิจิตรพิสดารตามสมควร
มาถึงยุคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ทิศทางนโยบายปิโตรเลียมก็ไม่ได้ขยับเขยื้อน

มันมหัศจรรย์หรือไม่ ที่ปรัชญารากฐานนโยบายพลังงานแห่งชาติตั้งแต่ปี 2514 ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ความขัดแย้งทางการเมืองมีมากมาย คนตายไปเป็นร้อย แต่กลุ่มการเมืองไม่เคยเห็นต่างเรื่องพลังงานเลย
เห็นมีแต่ภาคประชาชนที่ตั้งคำถาม แต่ก็ไม่เคยไปสู่สื่อกระแสหลัก เพราะผลประโยชน์มหาศาล ทั้งปตท. และกระทรวงพลังงาน

ประชาธิปัตย์วิจารณ์ น.ส.ยิงลักษณ์เรื่องแต่งตัว ส่วนเพื่อไทยก็วิจารณ์นายอภิสิทธิ์เรื่องหนีทหาร


แต่ไม่มีนักกากรเมืองคนไหนหันมาพูดเรื่องสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แล้วเสนอแนวทางที่ต่างจากกระแสหลักอย่างจริงจัง


#102 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:22



จาก คลิปข้างบน ขอเสนอรัฐออกกฎ ดังนี้
1. แก๊สจากโรงแยกแก๊ส ให้นำไปใช้ในครัวเรือนเท่านั้น
2. แก๊สที่ผลิตได้จากโรงกลั่น ให้นำไปใช้กับยานยนต์และอุตสาหกรรม
3. ให้ปิโตรเคมีนำเข้าแก๊สมาใช้ ห้ามใช้แก๊สจากโรงกลั่น เว้นแต่ ผลิตขึ้นได้เองเพื่อใช้ในโรงงานของตัวเอง
4. ราคาที่ขายให้ครัวเรือนเป็นราคาต้นทุนจริงๆ ไม่เป็นราคา บวก บวก ประมาณ 16.45 บาท/กก.
5. ราคาที่ขายให้ผู้ใช้ยานยนต์และอุตสาหกรรม เป็นราคาตลาดในประเทศ
ประมาณ 18.14 บาท/กก.
6. ยกเลิกเงินชดเชยให้โรงกลั่น และนำเข้า
7. ราคาต้นทุนต้องตรวจสอบได้ทุกเวลา หากเกินความเป็นจริง ให้ปรับเงินสองเท่าของที่ขายไป เพื่อนำเข้ากองทุนน้ำมัน

Edited by Stargate-1, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 21:41.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#103 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 21:50

วันนี้ (20 ก.ค.) เฟซบุ๊ก “คำนูณ สิทธิสมาน” ของ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้โพสต์ภาพข่าวในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 19 ก.ค.กรณีที่กรมเชื้อเพลิงพลังงานกำลังพิจารณาเลื่อนการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ หรือครั้งที่ 21 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด หรืออาจเปิดอีกครั้งต้นปี 2556 เนื่องจากมีกระแสต่อต้านการเปิดสัมปทานรอบนี้ พร้อมกล่าวว่า ต้องทำประชามติเท่านั้น

นายคำนูณ กล่าวว่า เป็นเรื่องถูกต้องแล้วที่ นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลี่ยมรอบที่ 21 ไว้ก่อน แต่จากนี้ไปรัฐจะต้องเปิดพื้นที่สื่อให้แก่ภาคประชาชนที่เห็นต่างกับรัฐได้สื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย จนเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้กลไกออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 มาตัดสินในท้ายที่สุดเลยดีกว่า ว่า จะใช้ระบบแบ่งผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับผู้รับสัมปทานตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 หรือที่เรียกว่าระบบ “THAILAND 3” ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2532 หรือจะยกเครื่องปฏิรูปใหม่

“เพราะระบบ “THAILAND 3” หากทำสัญญากับบริษัทผู้รับสัมปทานใดไปแล้วจะมีผลต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อยๆ 20 + 10 + 6 = 36 ปี เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อย่าลืมว่าที่เราเปิดสัมปทานครั้งแรกเมื่อปี 2514 ในระบบ “THAILAND 1” นั้นกินเวลารอบแรก 12 + 30 = 42 ปี จะหมดปีหน้า 2556 แล้วยังได้สิทธิต่ออีก 10 ปี โดยเงื่อนไขเดิมแทบทุกอย่าง ตัดสินกันให้รอบคอบเพื่อลูกหลานในอนาคต - “ประชามติ” เถอะครับ !!” นายคำนูณกล่าว และว่า การเสนอให้ใช้กลไก ประชามติ ก็เพราะมีบทบังคับให้รัฐจัดเวลาให้ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกันเพื่อแสดงข้อมูลต่อประชาชน

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#104 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 08:22

คุณ มนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการที่จี้ให้รัฐเลิกอุ้มพลังงาน หวั่นประเทศเผชิญภาวะวิกฤติ

คุณรสนา โตสิตระกูล ได้โต้แย้งมาแล้วว่า คลาดเคลื่อจากข้อเท็จจริง

1. มนูญ - นักวิชาการจี้รัฐเลิกอุ้มพลังงาน
ข้อเท็จจริง - รัฐไม่เคยใช้เงินหลวงอุ้มรา
คาพลังงานเลย

แต่ใช้เงินกองทุนน้ำมันที่ป็นของประชาชนไปพยุงราคาแอลพีจีที่ธุรกิจปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบ

2. มนูญ - ไทยนำเข้าน้ำวันละ 977,374 บาร์เรล คิดเป็น 84%ของความต้องการ
ข้อเท็จจริง - คนไทยใช้เบนซิน+ดีเซลวันละ 450,000 บาร์เรลเท่านั้น น้ำมันที่นำเข้ามามากจึงเป็นไปเพื่อการส่งออก

3. มนูญ - น้ำมันดิบไทยมี 2 แสนบาร์เรล
ข้อเท็จจริง-สิ่งที่กลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปได้ไม่ใช่แค่น้ำมันดิบ ยังมี คอนเดนเสตและก๊าซโซลีนธรรมชาติ รวมกันวันละประมาณ 3 แสน บาร์เรล

4. มนูญ – ไทยนำเข้าน้ำมันดิบสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซี่ยนรองจากสิงคโปร์
ข้อเท็จจริง – 1.เนื่องจากเราส่งออกน้ำมันดิบคุณภาพดีไปจำนวนมาก
2.ธุรกิจปิโตรเคมีแย่งเอาคอนเดนเสตและก๊าซโซลีนธรรมชาติไปใช้เป็นวัตถุดิบทำพลาสติก
3.เป็นการนำเข้าเพื่อกลั่นแล้วส่งออก

5. มนูญ-รัฐบาลแทรกแซงอุดหนุนราคาน้ำมันและก๊าซ 1.8 แสนล้านบาท
ข้อเท็จจริง - รัฐไม่เคยใช้เงินหลวงอุ้มราคาพลังงานเลย แต่ใช้เงินกองทุนน้ำมันที่เป็นของประชาชน
ที่ผ่านมารัฐนำเงินกองทุนน้ำมันไปใช้ผิดประเภทโดยไปพยุงราคา LPG เพื่อให้ธุรกิจปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบ

ธุรกิจปิโตรเคมีจึงได้รับประโยชน์จากความทุกข์ยากของประชาชน เป็นกระทำที่ขาดความเป็นธรรมและผิดมาตรา 157


http://www.facebook....&type=1

Edited by กรกช, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 08:41.


#105 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 08:36

รสนา โตสิตระกูล

ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดได้ในประเทศตามที่ ก.พลังงานระบุคือ 44 % ของความต้องการใช้ในประเทศ

ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาหักลบกับน้ำมันดิบที่นำเข้า เพราะน้ำมันที่ขุดได้ในไทยถูกส่งออกไปขายต่างประเทศจำนวนมาก
ประเทศที่ซื้อน้ำมันดิบจากไทยได้แก่ อเมริกา จีน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

คุณมนูญเคยพูดในทำนองว่า เพราะน้ำมันของเราดีเกินไป กลั่นแล้วได้เบนซินมากกว่าดีเซล เลยส่งออก
และนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางมากลั่น สภาพที่เกิดขึ้นคือ ประเทศไม่ได้ประโยชน์จากการให้สัมปทานขุดเจาะน้ำมัน

เพราะพ.ร.บ ปิโตรเลียม พ.ศ 2514 อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานขุดเจาะสามารถส่งออกน้ำมันที่ขุดได้โดยเสรี

คนไทยต้องใช้น้ำมันในราคานำเข้า 2 ต่อ
คือ

น้ำมันดิบราคานำเข้า
น้ำมันกลั่นแล้วในประเทศแต่โรงกลั่นขายในราคานำเข้าจากสิงคโปร์

การที่โรงกลั่นได้ราคาน้ำมันกลั่นแล้วในไทย ในราคาเหมือนนำเข้าจากสิงคโปร์ก็เพราะ
ในยุคที่รัฐบาลเชื้อเชิญให้มีการตั้งโรงกลั่นในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป
จึงได้ให้แรงจูงใจโรงกลั่นว่าแม้กลั่นในไทย แต่ให้ขายได้ในราคานำเข้า

ปัจจุบันน้ำมันทั้งดิบและกลั่นแล้วกลายเป็นสินค้าส่งออกในระดับต้นๆของไทย

ในเดือนพ.ค 2555 น้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 3 เรายังต้องคง "แรงจูงใจ" นี้ไปอีกนานเท่าไหร่

#106 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 08:39

พ.ร.บ ปิโตรเลียม พ.ศ 2514 เก็บค่าภาคหลวงในอัตราขั้นบันได 5-15%
ในการเปิดสัมปทานรอบ 21 ในปีนี้ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยืนยันจะใช้สูตรเดิมในการเก็บค่าภาคหลวง 5-15%
โดยอ้างว่าแหล่งน้ำมันของเราเป็นกระเปาะเล็ก แต่ขนาดกระเปาะเล็ก แต่ปริมาณที่ขุดได้ไม่ขี้ริ้วขี้เหร่

ก๊าซอยู่ในอันดับ 24 ของโลก ส่วนน้ำมันอยู่ในอันดับ 32
ในขณะที่โบลิเวีย ขุดก๊าซ อยู่ในอันดับ 33 แต่โบลิเวียได้ส่วนแบ่ง 82%
พม่าขุดก๊าซในอันดับที่ 36 แต่ได้ส่วนแบ่งประมาณ 90%

น่าคิดว่าเหตุใดประเทศไทยจึงได้ส่วนแบ่งน้อยกว่า

ส่วนแบ่งที่มีการแก้ไขในปี 2532 จาก 12.5% เป็น 5-15% ในตอนนั้น
ราคาน้ำมันดิบมีราคาเพียง 18 เหรียญต่อบาร์้เรล หรือลิตรละ 2.80 บาท

แต่ปัจจุบับราคาน้ำมันดิบประมาณ 100 เหรียญต่อบาร์เรล หรือ ประมาณ 18-20 บาทต่อลิตร ผลตอบแทนที่รัฐได้จึงต่ำมาก

ถ้าเราต้องใช้น้ำมันราคาตลาดโลก และยังเป็นราคาที่ไม่มีการแข่งขัน
ทำให้แพงกว่าประเทศอเมริกาทั้งที่เราส่งน้ำมันดิบไปขาย
ส่วนแบ่งจากสัมปทานก็ต่ำ ไม่มีผลดีต่อคนไทยและประเทศ

ควรหยุดการให้สัมปทาน ถ้าทรัพยากรของเราราคาต่ำขนาดนี้ เก็บไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไป
แล้วเราก็นำเข้าน้ำมันทั้งหมดเสียเลยดีไหม ไหนๆคนไทยต้องซื้อในราคานำเข้าทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันกลั่นแล้ว

ก็ไม่จำเป็นต้องมากลั่นในประเทศให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนๆเห็นอย่างไร

http://www.facebook....236945323048705

#107 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 08:48

รสนา โตสิตระกูล
21 กรกฎาคม ผ่าน โทรศัพท์มือถือ.

เมื่อคืนมาพูดที่วิทยาลัยวันศุกร์ เรื่องนโยบายพลังงานของรัฐ พร้อมทีมงาน มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี สมลักษณ์ หุตานุวัตร
ข้อมูลทรัพยากรปิโตรเลียมหน้าทะเลสงขลาที่เพิ่งอัพเดทเมื่อวาน ตอนเตรียมพูดให้คนสงขลา เห็นแล้วตกใจ!

ปิโตรเลียมขุดหน้าทะเลสงขลาวันละ 3.45 ล้านลิตร ปีละ 1,260 ล้านลิตร มูลค่า ไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาทต่อปี (คิดราคาน้ำมันดิบลิตรละ20บาท)

แต่คนสงขลาใช้น้ำมันสำเร็จรูปแพงกว่าคนกรุงเทพหรือเปล่า ต้องหลบไปเติมน้ำมันที่มาเลย์ ทำไมคนสงขลาจึงไม่ได้ประโยชน์จากทรัพยากรของตัวเอง!?!

http://www.facebook....236945323048705

#108 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:59

คำนูณ สิทธิสมาน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ขาหนึ่ง แม้เรามีปิโตรเลี่ยมขุดได้เอง 47 % ของความต้องการใช้งานภายในประเทศ
แต่เราก็ต้องบริโภคน้ำมันดิบในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งทั้งหมด

อีกขาหนึ่ง แม้เราจะมีโรงกลั่นน้ำมันผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเกินความต้องการใช้ในประเทศจนต้องส่งออก
แต่คนไทยผู้มีกรรมหนักกลับต้องบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปนี้ในราคาตลาดโลก (ตลาดสิงคโปร์)
บวกค่าขนส่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องขนส่งจริง แพงกว่าที่โรงกลั่นขายในตลาดโลกเสียอีก !!!


http://www.facebook....&type=1

#109 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:08

ไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ลิตรละ 24-25 บาท ทำไมคนไทยจ่ายแพง

http://thai-energy.b...2/04/24-25.html

#110 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 21:55

ลองไปดูทางพันทิบเขาแสดงความเห็นกันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร?

http://www.pantip.co.../X12432469.html

http://www.pantip.co.../X12434567.html

http://topicstock.pa.../C12419733.html

Edited by Stargate-1, 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 13:25.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#111 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 22:37

U.S. Imports from Thailand by 5-digit End-Use Code 2002 - 2011


Crude 15,500 18,593 6,164 43,619 169,343 337,224 465,555 446,137 321,291 657,182

http://www.census.go...orts/c5490.html


Crude.JPG

Edited by Stargate-1, 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 23:04.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#112 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 00:06

น้ำมันนำเข้าสหรัฐ จากไทย ตั้งแต่ มค. - พค. 55 มีจำนวน 3,889,000 บาร์เรล แล้วเป็นเงิน 472,334,000 เหรียญสหรัฐ

Exhibit 3. GENERAL IMPORTS OF CRUDE OIL BY COUNTRY,


http://www.census.go...lease/exh3s.pdf

Crude oil in 2012.JPG

การจัดหาปิโตรเลี่ยม.JPG

Edited by Stargate-1, 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:39.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#113 promotion

promotion

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,761 posts

ตอบ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 02:19

อยากให้ ปตท. ขุดเจาะน้ำมันในไทยเราแทนต่างชาติจังครับ

#114 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 07:52

ได้อ่านกระทู้จากพันธิพย์ที่คุณ Stargate-1 นำมาลง
ฝ่ายสนับสนุน ปตท.ก็มีความรู้ข้อมูลดี แต่หลักของโลกใบนี้คือ เหตุผล

พลังงานสมบัติชาติ ที่สมควรเป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชน
กลับกลายเป็นกำไรเข้ากระเป๋าเอกชนมหาศาล แต่คนไทยต้องมาใช้ราคาพลังงานแพงๆ

ตรงนี้คือความไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง

ถ้า ปตท.ขาดทุน แล้วคนไทยต้องใช้พลังงานราคาแพง ตรงนี้เหตุผลรับฟังได้
แต่ความเป็นจริงคือ ปตท.กำไรก้าวกระโดดทุกปี ปีล่าสุดแสนล้าน

ถ้าจะมาอ้างว่า เอกชนก็ต้องทำกำไร ก็ย้อนไปอ่านตรงตัวสีน้ำเงินตั้งแต่ต้นใหม่

#115 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 08:05

เหตุผล คือหลักของโลกใบนี้
และเมื่อมีความไม่ชอบธรรมเกิดขึ้น

ก็ย่อมมีสิ่งที่ไม่ปกติเกิดขึ้น

ตรงนี้จริงแท้แน่นอน

#116 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 08:51

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2555 12:34:44 น.
นางสาวณินทิรา อภิสิงห์ ผู้อำนวยการสายการเงินองค์กร บมจ.บางจากปิโตรเลียม(BCP)กล่าวว่า หลังการปรับปรุงคุณภาพโรงกลั่นในช่วงไตมาส 2/55 แล้วเสร็จ จะทำให้บริษัทสามารถเดินกำลังการกลั่นเต็มที่ระดับ 1.1 แสนบาร์เรล/วันในช่วงครึ่งปีหลัง และจะทำให้ทั้งปี 55 กำลังการกลั่นเฉลี่ยจะอยู่ที่ 9.8 หมื่นบาร์เรล/วัน สูงขึ้นจากปี 54 ที่มีกำลังการกลั่น 8.6 หมื่นบาร์เรล/วัน

พร้อมกันนั้น การปรับปรุงคุณภาพการกลั่นจะทำให้การกลั่นเพิ่มมาอีก 0.50-1.0 เหรียญ/บาร์เรล และคาดว่าครึ่งปีหลังนี้จะมีค่าการกลั่นยืนอยู่ระดับ 7 เหรียญ/บาร์เรล

ต้นทุนการเจาะน้ำมันดิบใน Asia ก็คือในอ่าวไทยนั่นเอง เนื่องจากน้ำมันที่ขุดได้มาจากอ่าวไทย ลองค้นจาก หน้า 33 ของ Anual report 2011 JDA 8% Indo 5% Thai 3% Azerbiaijan1% Malay 1% จากทั้งหมด 18% Corp.

ขอถามว่าต้นทุนน้ำมันดิบเป็นเท่าไร ถ้าค่าการเจาะ คือ $10.62 ซึ่งเป็นค่าการเจาะถูกที่สุดในโลก ถ้าเป็นบนดินจะถุกกว่านี้ แล้วต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปจะเป็นเท่าไร ถ้าค่าการกลั่น คือ $7

แล้วของไทยมีค่าการขุดเจาะเท่าไหร่ ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปเท่าไหร่

http://www.hess.com/...product lifting
หน้า 33-34

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#117 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 18:28

รายงานของ CHEVRON กับ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่ตรงกัน
มันไม่ใช่ความประสาทของผมที่เอามาลง แต่มันเป็นเรื่องของ กรมเชื้อเพลิงต้องออกมาตรวจสอบ มันอยู่กลางทะเล ตรวจสอบยากก็ต้องไปดูที่รายงานผลประกอบการที่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบบ้าง ข่าวต่างๆบ้าง หากไม่พบข้อพิรุธใดก็ช่วยชี้แจงด้วย


Unocal successfully starts Thai oil expansion project

About Unocal Corporation


El Segundo, Calif., June 9, 2005 - Unocal Corporation (NYSE: UCL) today said that its Unocal Thailand Limited subsidiary has successfully started up the second oil central processing platform (CPP) at the Platong operating area in the Gulf of Thailand. The Platong Oil CPP 2 was brought online safely and on schedule marking a major milestone for the project's goal of significantly increasing Unocal's current crude oil production in the Gulf of Thailand by the third quarter 2005.
"With the timely platform installation and successful start up on schedule, we are on track to achieve our target of ramping up gross crude oil production to 40,000 barrels per day (b/d) by the third quarter this year, from the current level of 24,000 b/d gross," said Tara Tiradnakorn, Unocal Thailand president. "This production increase significantly adds to Thailand's total indigenous crude oil output and helps the Kingdom reduce its dependence on oil imports."
Unocal Thailand's initial crude oil production from the first phase of the Thai Oil development started at some 3,000 barrels (gross) in July 2001. Oil production from five operating areas - Kaphong, Plamuk, Platong, Surat and Yala - has continued to increase and cumulative production reached 20 million barrels (gross) in January 2005.
The Platong Oil CPP2 is the largest central processing platform ever constructed in Thailand. The CPP was successfully installed at the Platong complex in March after the 13-month construction at CUEL's Laemchabang fabrication yard on Thailand's eastern seaboard.
"The Platong crude oil development not only helps the country meet its rising energy demand but also demonstrates Unocal Thailand's world-class performance in delivering on commitments to the Kingdom of Thailand" said Stephen Green, Unocal's vice president for International Energy Operations. "The 22-month timeframe from project sanction to production startup is another example of the extraordinary capabilities of our Unocal Thailand team."
The Thai oil expansion project is the last of the five major Unocal development projects that were slated to begin production in 2005. So far this year, Unocal has participated in new production from the Mad Dog (Unocal, 15.6% working interest) and K2 (Unocal, 12.5% W.I.) fields in the deepwater Gulf of Mexico, the Moulavi Bazar gas field (Unocal, 100% W.I.) in Bangladesh, and the Central Azeri crude oil export project (Unocal, 10.3% W.I.) in the Caspian Sea.
So far in 2005, Unocal Thailand's gross daily production (Unocal, average 64% W.I.) has averaged approximately 1.280 billion cubic feet of natural gas, 42,000 barrels of condensate, and 24,000 barrels of crude oil.
Unocal Thailand operates 16 operating areas in the Gulf of Thailand on behalf of Mitsui Oil Exploration Co., Ltd., PTT Exploration and Production Public Company Limited, and Amerada Hess (Thailand), Ltd.

Unocal is one of the world's leading independent natural gas and crude oil exploration and production companies. The company's principal oil and gas activities are in Asia and North America.

หมายเหตุ เขา ramp up กัน 30,000 หรือ 40,000 กันแน่ ที่ลงทุนเพิ่ม มันเป็นเซ็นเตอร์แท่นเจาะนะ ไม่ใช่แหล่งเจาะ

ลองดู ข้อมูลผู้ร่วมทุน อย่าง MOECO


Mitsui Oil Exploration Co., Ltd. ("MOECO", Head office: Hibiya Central Bldg. 2-9, Nishi Shimbashi 1-Chome, Minato-ku, Tokyo, JAPAN / President: Mr. Junji Sato) is pleased to announce it has entered into a Stock Purchase Agreement with Pogo Producing Company of the United States of America and their affiliate Pogo Overseas Production B.V. ("Pogo") to purchase Pogo's Thailand assets jointly with PTTEP Offshore Investment Company Limited (PTTEPO), a wholly-owned subsidiary of PTT Exploration and Production Public Company Limited of Thailand. Pogo's Thailand assets consist of a 46.34% interest in the B8/32 Concession and the adjacent Block 9A Concession located in the Gulf of Thailand. The purchase price is US$820 million in cash, of which MOECO will contribute approximately 40% and PTTEPO approximately 60% with MOECO and PTTEPO each acquiring interests in the assets in the same proportion. MOECO's interests in the assets are to be held through its wholly-owned subsidiary, MOECO International B.V.
The Concessions are located offshore about 230km south of Rayong and Chevron is the operator with a working interest of approximately 51%. Recent daily production from the Concessions in 2005 has averaged at about 59,200 barrels of crude oil and 240 million cubic feet of gas.
The transaction is expected to close in the third quarter of 2005, subject to receipt of necessary approvals.
Together with Unocal Thailand, Ltd. ("Unocal") and other partners, MOECO has significant interests in operations in the Gulf of Thailand with an average working interest of approximately 20% in various concessions and under four Gas Sales Agreements. Currently, total daily production from these operations is approximately 1,200 million cubic feet of natural gas (or 200,000 barrels oil equivalent), 40,000 barrels of condensate and 30,000 barrels of crude oil. The volume of natural gas produced in these projects accounts for about 60% of all domestic gas production in Thailand. MOECO's share of production under these projects amounts to approximately 60,000 barrels oil equivalent per day, making MOECO the third largest producer of natural gas, condensate and crude oil in Thailand, next only to Unocal and PTTEP. On the onshore side, MOECO is expanding its operations conducting exploration activities in its capacity as operator in two blocks.
Upon closing, in addition to greatly enhancing MOECO's interests in Thailand, the acquisition will significantly improve the balance of MOECO's production portfolio with a significant increase in the proportion of crude oil production.
MOECO continues to strive to enhance its position as a reliable and respected participant in the global exploration and production industry through its increased commitment in the Kingdom of Thailand and pursuit of other international growth opportunities.


http://www.dmf.go.th...=6&y=2005&ln=th


http://www.dmf.go.th...10&y=2005&ln=th

Edited by Stargate-1, 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 10:57.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#118 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:46

พื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area : JDA)
พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นพื้นที่เขตไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ที่ประเทศไทยและมาเลเซีย ต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ในปี 2515 ไทยและมาเลเซียสามารถตกลงแบ่งอาณาเขตทะเลได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในการแบ่งเขตไหล่ทวีปที่อยู่ห่างจากชายฝั่งสงขลาออกไป ทำให้ยังคงมีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันเป็นเนื้อที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2522 รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อก่อตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Development Area : MTJA) เพื่อบริหารจัดการพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนนี้ และเรียกพื้นที่ทับซ้อนนี้ว่า "พื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย" (Joint Development Area : JDA) และตกลงที่จะพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันโดยใช้หลักการแบ่งผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายเท่ากันทั้งสองฝ่าย

เขตทะเล.JPEG JDA แผนที่.jpg

JDA โมเดล...แน่ใจหรือว่าประเทศได้ประโยชน์???

ประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเลที่ยังค้างคาใจสำหรับผู้ที่ติดตามกรณีพื้นที่ JDA (พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย) ก็คือ เราใช้เกณฑ์อะไรมาเป็นตัวกำหนดพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ซึ่งหากเราดูตามแผนที่และลากเส้นจากฝั่งอ่าวไทยออกไปในทะเล ที่ระบุเป็นเส้นรุ้งเส้นแวงเราจะพบว่าพื้นที่บนสุดของพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว อยู่ตรงกับพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ตอนล่างสุดของพื้นที่ที่อ้างว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อนนั้น อยู่ตรงกับอำเภอปานาเระ ในจังหวัดปัตตานี

คำถามจึงมีว่าพื้นที่ประเทศไทยยังมีจังหวัดนราธิวาสอีกหนึ่งจังหวัดจะถึงเขตแดนของมาเลเซีย แล้วประเทศมาเลเซียมามีผลประโยชน์ได้อย่างไร มันทับซ้อนจากการแบ่งพื้นที่โดยกติกาอะไร ใครเป็นผู้กำหนด มีการอ้างกฎกติการะหว่างประเทศมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการลากเส้นตรงจากสายน้ำอันเป็นเขตแดนคือแม่น้ำสุไหงโก-ลก ปรากฏว่าเส้นตรงถูกลากเฉียงขึ้นมาในพื้นที่ฝั่งไทย แต่ในขณะเดียวกันหากเราใช้ข้อกำหนดนี้ไปใช้ในฝั่งอันดามันที่เป็นการแบ่งเขตแดนในทะเลระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซียที่จังหวัดสตูล เราก็จะพบว่าหากใช้มาตรฐานดังกล่าว เกาะลังกาวีของประเทศมาเลเซียในปัจจุบันก็จะต้องเป็นของประเทศไทย..???

ถ้าฟังข้อมูลจากพื้นที่ยกกรณีพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียที่อำเภอสะเดา ตรงปาดังเบซาร์ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่สะท้อนมาตลอดว่าเคยเป็นพื้นที่ของเรามาแต่โบราณ แต่ในยุคหนึ่งฝ่ายทหารได้ตกลงกับฝ่ายมาเลเซียกันเขตแดนใหม่กินพื้นที่เข้ามาในฝั่งไทยจำนวนมาก ทำให้คนไทยที่เป็นชาวสวนต้องสูญเสียที่ดินอันเป็นของบรรพบุรุษ สุดท้ายมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ และกำหนดให้เป็นพื้นที่ที่เรียกกันว่า No Man ’s Land ทั้งๆ ที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในลักษณะของการสำรวจที่หาข้อยุติได้เพราะอยู่ในพื้นที่ชุมชนของทั้งสองประเทศ และมีกติการะหว่างประเทศมากมายที่จะนำมาตัดสินได้ ซึ่งน่าจะง่ายกว่าพื้นที่ในทะเล แต่เราก็ไม่สามารถจัดการได้ หรือผลประโยชน์มันไม่มากพอเหมือนแหล่งก๊าซและน้ำมันที่ผู้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจะมาจัดสรรแบ่งปันกันใช่หรือไม่...???

JDA pttep.JPEG
ชนิดของปิโตรเลียม............น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ

แสดงว่ายังมีความหวังกับน้ำมันดิบกับ JDA นะครับ ซึ่งเป็นแหล่งค่าใช้จ่ายในการเจาะถูกมาก และ มีอายุยาวนาน

HESS.JPEG

JDA - Oil Gas.JPG

Edited by Stargate-1, 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 15:49.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#119 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:14

ผมขอให้กำลังใจคุณ Stargate-1 และทุกท่านที่ตอบโต้กับทีมงานสนับสนุนกลุ่มพลังงานในพันทิพย์

ขอย้ำอีกครั้งว่า

พลังงานสมบัติชาติ ที่สมควรเป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชน
กลับกลายเป็นกำไรเข้ากระเป๋าเอกชนมหาศาล แต่คนไทยต้องมาใช้ราคาพลังงานแพงๆ

ตรงนี้คือความไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง

ถ้า ปตท.ขาดทุน แล้วคนไทยต้องใช้พลังงานราคาแพง ตรงนี้เหตุผลรับฟังได้
แต่ความเป็นจริงคือ ปตท.กำไรก้าวกระโดดทุกปี ปีล่าสุดแสนล้าน

ถึงฝ่ายสนับสนุน ปตท.จะมีข้อมูลต่างๆมาโต้แย้ง แต่ก็ไม่ได้ช่วยทำให้ความไม่ชอบธรรมตรงนี้หายไป
และกำไรของ ปตท.ไม่ว่าจะมาจากส่วนไหน แต่นั่นก็คือกำไรจากการทำธุรกิจน้ำมัน


การเอาพลังงาน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศมาแปรรูป มันสมควรหรือ ?

ปตท.กำไรแสนล้าน ถ้าปตท.เป็นของรัฐ 100 % กำไรทั้งหมดก็เข้ารัฐเต็มๆ
เอาเงินตรงนั้นมาช่วยทำให้ราคาพลังงานถูกลง เพื่อลดภาระให้ประชาชน เพื่อประโยชน์ประชาชนก็ย่อมได้

นี่แค่เรื่องแปรรูปก็พิสูจน์หลัก เหตุผล เรื่องความไม่ชอบธรรมได้แล้ว

และเหตุผิดปกติมันมีหลายอย่าง ถึงตัวเลขบางส่วนมันอาจไม่ชี้ชัดว่า ปตท.ฉ้อฉล
แต่ก็ไม่ได้หมายความทุกส่วนในการทำธุรกรรมพลังงานของ ปตท.นั้นถูกต้องทั้งหมด
อย่างเช่นราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้น ปตท.ขึ้นราคาน้ำมันทันที
พอราคาตลาดโลกลดลง ปตท.กว่าจะลงได้คนไทยลุ้นเหนื่อย แถมลงนิดๆหน่อย ไม่เหมือนตอนขึ้น
รวมถึงเรื่องท่อก๊าซ ที่มีความฉ้อฉล

ท่อก๊าซแสนกล ราคาขึ้นลงตามใจผู้บริหาร ?

http://www.manager.c...553000013621313

Posted Image

มูลค่าที่แท้จริงของท่อก๊าซชุดแรกที่ปตท.ต้องส่งคืนให้รัฐตามคำพิพากษาศาลปกครองเป็นเท่าไหร่กันแน่ ?

เพราะตอนตีราคาซื้อจากประชาชน 46,189.22 ล้านบาท แต่วันดีคืนดีก็จ้างฝรั่งมาประเมินใหม่มีมูลค่าเป็นแสนล้าน มีอายุใช้งานเพิ่มขึ้นเท่าตัว
แต่พอจะต้องส่งคืนให้กลับมาให้รัฐมูลค่าดังกล่าวก็หล่นฮวบลงมาติดดิน


ถามว่าผู้บริหาร ปตท.ทราบเรื่องนี้แค่ไหน ?

ขอให้ดูข่าวเก่าข่าวนี้ผู้บริหาร ปตท. กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่ามูลค่าโครงข่ายท่อก๊าซนั้นเป็นแสนล้าน...แต่เหตุไฉนเมื่อส่งคืนรัฐตามคำสั่งศาลจึงมีมูลค่าไม่ตรงกับที่เคยกล่าวกับสื่อ


“ประเสริฐ” ยัวะโบรกฯ ประเมินหุ้น ปตท.เหลือแค่ 300 บาท ซัดท่อก๊าซไม่ใช่ท่อประปา

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการออนไลน์
ประจำวันที่ : 17 ธ.ค. 50

ผู้บริหาร ปตท.ฉุนบทวิเคราะห์ประเมินหุ้น PTT หั่นราคาลงเหลือแค่ 300 บาท หลังการโอนสินทรัพย์และท่อก๊าซคืนให้แผ่นดิน ชี้ ราคาที่หายไป 70-80 บาท คงประเมินว่าท่อก๊าซเป็นท่อประปา ระบุ มูลค่าทางบัญชีสูงถึง 1 แสนล้าน คิดเป็น 10% ของสินทรัพย์รวม


วันนี้ (17 ธ.ค.) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ออกมาเปิดเผยกับสื่อมวลชน หลังฝ่ายบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง ได้ออกบทวิเคราะห์ประเมินราคาหุ้นของ PTT เหลือเพียง 300 บาท หลังมีการโอนสินทรัพย์ที่ดิน ท่อก๊าซ และท่อน้ำมัน กลับคืนให้เป็นสมบัติของชาติ

นายประเสริฐ ชี้แจงว่า ปัจจุบันโครงข่ายท่อก๊าซและที่ดินของ ปตท.ตามมูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของมูลค่าสินทรัพย์ของ ปตท.ที่มีอยู่ประมาณ 8-9 แสนล้านบาท โดยเบื้องต้นยังไม่ได้พิจารณาว่าจะโอนท่อส่วนไหนให้กระทรวงการคลังบ้าง ซึ่งในมูลค่าดังกล่าวมีท่อบางส่วน ซึ่งเป็นท่อทางทะเลที่ไม่ต้องรอนสิทธิ

ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ภายหลังจาก ปตท.โอนท่อก๊าซให้คลังจะทำให้มูลค่าหุ้นลดลง 70-80 บาท โดยมูลค่าหุ้นที่นักวิเคราะห์ตีมูลค่าว่าจะหายไป 70-80 บาทนั้น เขาคงตีความว่า จะเอาท่อก๊าซของ ปตท.ไปเป็นท่อประปา คือ ปตท.เลิกธุรกิจท่อก๊าซไปแล้ว แต่จริงๆ ไม่ใช่ ปตท.ยังทำธุรกิจท่อก๊าซต่อได้ เอาก๊าซมาส่งตามปกติ เพียงแต่มีภาระจ่ายค่าตอบแทนให้กับกระทรวงการคลังเท่านั้น นายประเสริฐ กล่าว

Edited by กรกช, 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:15.


#120 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:44

กำลังขมวดปมที่จะแก้ปัญหาแก๊สกำลังจะขึ้นราคา ดูปริมาณการใช้ต่อการผลิต

ครัวเรือนใช้ 2,656,215 ตัน
โรงแยกแก๊สผลิต 3,507,641 ตัน

ยานยนต์ใช้ 919,872 ตัน
อุตสาหกรรมทั่วไปใช้ 717,660 ตัน
โรงกลั่นอื่นๆผลิต 1,991,770 ตัน


ก็ อย่างที่เสนอรัฐไว้ให้สงวนแก๊สจากโรงแยกไว้ให้ครัวเรือน และให้โรงกลั่นซึ่งมีแหล่งคอนเดนเซทในอ่าวไทยจากแท่นเจาะของบ.ที่ตนถือหุ้นอยู่แล้ว นำมากลั่นขายให้ยานยนต์จากปั๊มของตัวเอง และ เอาบางส่วนไปทำสัญญาขายตรงให้โรงงานอุตสาหกรรม ก็น่าจะแก้ปัญหาเรื่องราคาได้
ส่วนที่จะไปใช้กับปิโตรเคมียิ่งไม่ต้องห่วง บ.เขามีหุ้นอยู่กับบ.ที่มีแท่นเจาะอยู่ เอาคอนเด็นเซทจากแท่นเจาะนั้นเข้าโรงงานได้เลย ไม่ต้องส่งออกไปถึงอเมริกา ส่งให้บ.ของตนเอง เช่น ไทยออยล์กลั่น ต้นทุนก็ไปคิดกันเอง จะแสดงต้นทุนทางบัญชีอย่างไรก็แล้วแต่ชอบ อัดยายขนมยายอยู่แล้ว ทีนี้ก็ไม่ต้องมาอุดหนุนกันอีกจากกองทุนน้ำมัน บ.ที่เจาะน้ำมันล้วนร่วมทุนกับบ.ไทยทั้งนั้น ไม่ต้องไปซื้อไกลๆ

ดูบ.ที่ลงทุนในไทย


http://www.baanmaha....hread11754.html

ราคาน้ำม้นดิบที่ผลิตในประเทศสามารถคำนวณหาได้จาก Annual Report ต่างๆของปตท.สผ.และของกรมเชื้อเพลิงฯ เมื่อประชาชนรู้ราคาต้นทุน ก็จะเห็นว่าราคาน้ำมันแปรรูปขายแพงกันจนเกินเหตุจริงๆ ราคาน้ำมันดิบและสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น ทุกวันนี้ก็ใช้ราคานำเข้าอยู่แล้ว โดยบอกว่านำเข้ามามากจึงต้องคิดราคานำเข้า และค่าที่บวกๆๆ มาจากไหนกัน ทำไมไม่ไปคิดกับผู้ผลิต เช่น ภาษีน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติที่ขายหน้าโรงกลั่นแทนการเก็บ 50% จากกำไร การไม่เก็บภาษีนี้ ทำให้อยากส่งออกกันนัก แล้วนำเข้ามาแทนด้วยราคาตลาดโลก

ส่วนการปรับแต่งการใช้พลังงานให้สมดุลย์กับประเภทของพลังงานที่มีอยู่ ต้องเป็นนโยบายแห่งชาติ ไม่ทำกันเล่นๆเป็นฤดูกาล ทุกหน่วยงานต้องขยับ ก็จะช่วยลดการนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและสำเร็จรูป

จะเห็นว่าปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมาจากภาคขนส่งประมาณ 66% ถ้าลดการใช้ลง โดยการใช้แก๊ส LPG และพลังงานอื่นๆแทน เช่น ไฟฟ้า เป็นต้น การเพิ่ม LPG จากการแยก NG โดยการสร้างโรงแยกแก๊สเพิ่ม การนำเอา NG มาใช้ในภาคขนส่ง เป็นการไม่สมควร แต่ก่อนเราไม่รู้ว่าใน NG มีค่ามากเมื่อนำมาแยกส่วนขาย และใน NG เมื่อเผาไหม้แล้วมีสารพิษอะไรบ้าง หากการสร้างโรงแยกแก๊สบนบกมีปัญหา ก็หาทางสร้างในทะเล

ในภาคการเกษตรให้สนับสนุนการใช้ไบโอดีเซลที่ชาวบ้านผลิตกันเองแทนดีเซล ใช้คอนเดนเสทแทนดีเซล เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม ก็ใช้คอนเดนเสทแทนดีเซล โดยทำสัญญาซื้อขาย พร้อมจัดส่ง ก็จะลดการใช้น้ำมันสำเร็จรูปไปได้อีก 20%

เมื่อลดปริมาณการใช้นำมันสำเร็จรูปโดยใช้แก๊ส LPG คอนเดนเสท หรืออื่นๆแทนในภาคขนส่งลง ภาคการเกษตร และ ภาคอุตสาหกรรมได้แล้ว จนมีน้ำมันสำเร็จรูปเพียงพอเท่ากับที่ผลิตได้ในประเทศ ก็ควรควบคุมราคาดีเซลในราคาที่ผลิตเองในประเทศ โดยไม่ต้องเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน

Edited by Stargate-1, 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 07:20.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#121 ก๊องส์ไข่กวน

ก๊องส์ไข่กวน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,012 posts

ตอบ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 21:17

จะดันไม่ให้ตกพร้อมกระทู้ข้าว

#122 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 22:56

PTTGC อนุมัติปรับสูตรซื้อขายวัตถุดิบปิโตรฯ กับ PTT

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า บริษัทมีมติอนุมัติให้ปรับสูตรราคาซื้อขายวัตถุดิบปิโตรเคมีจากก๊าซธรรมชาติ ระหว่างบริษัทฯ และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตวัตถุดิบได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สูตรราคาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สะท้อนหลักการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน การปรับสูตรราคาซื้อขายครั้งนี้ จึงใช้หลักการที่ทั้งสองฝ่ายตกลงแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2555 นี้ เป็นต้นไป

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ยังได้กล่าวถึงผลกระทบของการใช้สูตรราคาซื้อขายใหม่ ที่ระดับราคาน้ำมันดิบปัจจุบัน ว่าจะมีผลให้ราคาวัตถุดิบปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นประมาณ 40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 โดยสมมุติฐานในการกำหนดสูตรราคาใหม่จะอยู่บนช่วงระดับน้ำมันดิบ 70-130 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และอ้างอิงเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตและจำหน่าย ตามมาตรฐานสากล เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ในระยะยาว ซึ่งบริษัทฯจะดำเนินการร่วมกับ ปตท. เพื่อพิจารณาการสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจปลายน้ำและการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสำหรับโครงการขยายการลงทุน (Debottlenecking) ของบริษัทฯในฐานะที่บริษัทฯเป็นแกนหลักในธุรกิจปิโตรเคมีของกลุ่ม ปตท. ต่อไป


เขายังฟังเราบ้าง ไม่เสียแรงที่โพสต์กันนะ

Edited by Stargate-1, 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 07:21.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#123 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:05

รสนา โตสิตระกูล

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติบอกว่ารัฐได้ผลตอบแทนจากสัมปทานปิโตรเลียม 55 - 65 % แต่วิธีการคิดก็คือ ปิโตรเลียมของเราเป็นของฟรี
เวลาผู้รับสัมปทานมาลงทุน เราให้เขาหักต้นทุนคืออุปกรณ์เครื่องขุดเจาะต่างๆ เป็น 50 % ของมูลค่าปิโตรเลียม
หลังหักต้นทุนไปแล้ว เหลือเท่าไหร่ก็มาแบ่งกัน 100 - 50 = 50 รัฐได้ 29.87 ส่วนผู้รับสัมปทานได้ = 50 - 29.87 = 20.13
จากนั้นเอามาเทียบบัญญัติไตรยางค์กับ 100 ผลคือรัฐได้ 59.74 % ส่วนผู้รับสัมปทานได้ 40.26 %

เพื่อนๆเห็นว่าการคิดแบบนี้ถูกต้องตามหลักความเป็นธรรมหรือไม่

อีกประการ เรายอมรับหรือไม่ว่าทรัพยากรปิโตรเลียมของเราเป็นของฟรี
แม้แต่ชาวบ้านที่เอาที่ดินให้คนเช่าปลูกข้าว ก็ยังแบ่งข้าวกันกับคนมาลงทุนปลูก 50:50 โดยไม่ได้ให้คนมาลงทุนปลูกหักค่าใช้จ่ายก่อนแบ่ง
หรือการทำธุรกิจ ใครมีที่ดินหรืออาคารให้ใช้ ย่อมไม่ถือว่าที่ดินเป็นของฟรีใช่ไหม

แล้วเจ้าหน้าที่รัฐให้เรายอมรับว่าปิโตรเลียมเป็นของฟรี ต้องถามประชาชนเจ้าขิงประเทศจะยอมรับตรรกะนี้หรือไม่ค่ะ

#124 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:14

ประสาท มีแต้ม

สำหรับวิธีคิดในแบบ (ค) ก็ตรงไปตรงมาแต่น่าตกใจ คือ ลงทุนไป 136,454 ล้านบาท ในสิ้นปีได้กำไรสุทธิ 123,241.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.3 ของทุนที่ลงไป (ตัวเลขนี้ไม่ผิดครับ อ้างอิงมาจากทางราชการทั้งนั้น) ด้วยเหตุนี้แหละที่บริษัทยูโนแคลเคยประกาศว่า “กำไรของบริษัทที่ไปลงทุนในหลายประเทศทั่วโลกนั้นกำไรเกินครึ่งมาจากประเทศไทย”

http://www.manager.c...D=9550000093113

Edited by กรกช, 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:19.


#125 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:16

แล้วไง.? รึ ไม่รู้ว่ามันหายไปไหน ??
โง่นี่ .. เป็ด มันรู้เลย..เปิดตู้เย็น..
ถามดู มันยังรู้เลย ..เข้มชะ....

#126 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:52

อิฐบูรณ์ อ้นวงษา

ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานมักพูดว่า

การขุดเจาะปิโตรเลียมในบ้านเรานั้นมีความลำบากลำบนมากกว่าการขุดเจาะในประเทศอื่นๆ
มีความเสี่ยงสูงในการขุดหา หลุมเป็นกระเปาะ ๆ ทำให้มีต้นทุนทุนในการขุดเจาะที่สูง
เราจึงไม่ควรที่จะไปเรียกเก็บค่าตอบแทนที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ไม่มีใครกล้ามาลงทุนขุดเจาะปิโตรเลียม และจะทำให้ประเทศเราไม่มีพลังงานใช้

ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อมูลที่พบได้จากบริษัทขุดเจาะน้ำมันทั้งไทยและเทศ ที่มีแนวโน้มการขุดเจาะพบปิโตรเลียมในอัตราที่สูงขึ้น
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. ออกมาบอกว่า

ในปี 55 ปตท.สผ. ได้เจาะหลุมสำรวจและประเมินผล 29 หลุม พบปิโตรเลียม 23 หลุม คิดเป็นผลสำเร็จสูงถึง 79%

ในขณะที่ข้าราชการในกระทรวงพลังงานพูดเหมือนนัดแนะกันว่า ขุด 10 หลุมจะพบแค่หลุมเดียวเท่านั้น ใครแน่ที่โกหกเรา ?

http://www.facebook....&type=1

#127 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:53

โจทย์ จากข้อมูลข้างล่าง ให้หาราคาต้นทุนน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ ของ ปตท.สผ.

ราคาขาย สผ..JPG
Lifting cost สผ..JPG
DD&A = Depreciation, Depletion and Amortization , G&A = General & Administrative (expense)

Ratio สผ..JPG
ราคาน้ำมันไทย.JPEG
ราคาแก๊สไทย.JPEG
มิย.55 .JPEG

Edited by Stargate-1, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 01:15.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#128 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 09:09

เข้าไปอ่านลิ๊งค์จากพันทิพย์ที่คุณ Stargate-1 เอามาแปะ ตอนท้ายๆมีสมาชิกนำคำชี้แจงจาก เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท. ปตท.
ผมก็ขอโต้แย้งสักหน่อย

1.ประเทศไทยมีกำลังการกลั่นน้ำมันเกินความต้องการจริงและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินเพื่อ
สร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางวันละ 800,000 บาร์เรล มาเป็นวัตถุดิบในการกลั่น และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพียงประมาณวันละ 200,000 บาร์เรล ดังนั้นเรานำเข้าสุทธิประมาณวันละ 600,000 บาร์เรลเพื่อใช้ในประเทศ ผลที่ตามมาคือ
-ราคาน้ำมันในประเทศจำเป็นต้องอิงราคาตลาดโลก เพราะต้นทุนเราซื้อน้ำมันดิบในราคาตลาดโลก
-เราควรต้องประหยัดการใช้น้ำมันเพื่อลดภาระการนำเข้าและสูญเสียเงินออกนอกประเทศ ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราใช้พลังงานต่อประชากรในเกณฑ์สูง
-มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซฯ สร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล จึงสามารถขายน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ถูกกว่าไทย
-สิงคโปร์นำเข้าน้ำมันดิบเช่นกัน และนำมากลั่นเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายในประเทศจะมีราคาแพงกว่าไทยเพราะเก็บภาษีสูงเพ่อให้เกิดการประหยัด


เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบแสดงว่าเรามีน้ำมันไม่พอใช้ แล้วให้สัมปทานชาติอื่นสูบไปทำไม ?
เรามีน้ำมันไม่พอใช้ แล้วเราส่งออกทำไม ?
น้ำเข้าจากตะวันออกกลางจริงหรือไม่ ? โรคน้ำมันไหลย้อนเป็นไปได้มั๊ย ?
เคยให้ฝ่ายประชาชนจริงๆไปตรวจสอบตรงนี้บ้างมั๊ย ?

และการทำธุรกรรมบางอย่างของ ปตท.ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าฉ้อฉล
แล้วหลักฐานการซื้อขายน้ำมันถึงแม้จะมีใบเสร็จ จะให้เชื่อถือได้อย่างไร ?

คนไทยขึ้นชื่ออยู่แล้วเรื่องทุจริตคอรัปชั่น และยิ่งตรงที่มีผลประโยชน์มหาศาลแบบนี้มันยิ่งน่าคิด

และเรานำเข้าน้ำมันทั้ง 100 % หรือ ถึงต้องไปอิงตลาดสิงคโปร์ ? เหตุผลที่อ้างๆมาฟังยังไงก็ไม่ขึ้น

2.ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยจะถูกปรับเพื่อให้สะท้อนราคาต้นทุนน้ำมันดิบที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน โดยผู้ขายน้ำมันรับซื้อจากโรงกลั่นและปรับราคาเป็นช่วงๆเพื่อให้ผู้บริโภคไม่ถูกกระทบจากราคาที่ผันผวนจนเกินไป
-ธุรกิจการกลั่นและธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมีการแข่งขันเสรี มีผู้ประกอบการนอกเหนือจาก ปตท.คือ บริษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ที่ใหญ่กว่า ปตท.หลายสิบเท่า
-ทั้งสองธุรกิจมีวัฏจักรขึ้นลงตามสภาพตลาด และจะมีผลตอบแทนการลงทุนโดยเฉลี่ยไม่สูง ทำให้บริษัทข้ามชาติขาดความสนใจที่จะลงทุน และเริ่มทยอยขายกิจการในประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น Shell ขายโรงกลั่นระยอง บริษัท BP, Q8 และ ConocoPhillips ขายกิจการปั๊มน้ำมัน
-ดังนั้น ปตท.จึงไม่ได้กำไรมากมายจากการกลั่นและขายน้ำมันตามที่มีการกล่าวหา ในทางตรงกันข้าม ปตท.ได้มีบทบาทสำคัญในการชะลอการขึ้นราคาขายปลีก เพื่อบรรเทาภาระผู้ใช้น้ำมันในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2550-1


ปตท.กำไรจากส่วนไหนไม่สำคัญ แต่ทั้งหมดคือกำไรจากการทำธุรกิจน้ำมัน และตอนท้ายช่างกล้าพูด

ตอนน้ำมันตลาดโลกขึ้น ปตท.ก็รีบขึ้นราคาทันที ยิ่งตอนปี 50-51 ที่เอามาอ้าง ขึ้นรายวันไปถึงร่วม 50 บาทมั๊งถ้าจำไม่ผิด
ส่วนตอนราคาตลาดโลกลง ปตท.กว่าจะลงได้คนไทยลุ้นเหนื่อย

3.ปตท.ไม่เคยทำกำไรสูงถึงระดับ 195,000 ล้านบาทตามที่ถูกกล่าวหา ข้อเท็จจริงคือปี 2550 ปตท.มีกำไรสูงสุดคือประมาณ 97,000 ล้านบาท ปี 2551 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและพลังงานทำให้กำไรลดลงเหลือประมาณ 51,700 ล้านบาท
-กำไรของ ปตท.มาจากทั้งธุรกิจที่ ปตท.ดำเนินการเองและส่วนแบ่งกำไรของบริษัทที่ ปตท.ลงทุน โดยการถือหุ้นในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจโรงกลั่น และธุรกิจปิโตรเคมี
-หากมองเฉพาะตัวเลขกำไรจะดูเหมือนว่า ปตท.มีกำไรสูง แต่เมื่อพิจารณาขนาดธุรกิจและภาระการลงทุนทั้งหมด จะเห็นว่าปตท.ได้รับผลตอบแทนการลงทุนในสัดส่วนเพียง 5-10%
-ปี 2551 ปตท.มีรายได้ 2 ล้านล้านบาท มีสินทรัพย์รวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท และได้กำไร 51,700 ล้านบาท ทำให้มีสัดส่วนกำไรต่อรายได้ (profit margin) เพียง 2.6% และสัดส่วนกำไรต่อสินทรัพย์ (ROA) เพียง 5.2%


ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ว่า ปตท.จะได้กำไรมาจากส่วนไหน แต่ทั้งหมดคือรายได้จากการทำธุรกิจน้ำมัน
และถ้า ปตท.เป็นของรัฐ 100 % ก็สามารถนำเงินตรงนั้นมาช่วยทำให้ราคาพลังงานในประเทศถุกลงได้

4.โดยข้อเท็จจริง ปตท.มีศักยภาพที่จะทำกำไรได้สูงกว่าผลประกอบการ แต่เนื่องจากเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่บรรเทาภาระด้านราคาพลังงานให้แก่คนไทย ปตท.จึงรับภาระต่างๆคือ
-ชะลอการขึ้นราคาขายปลีกน้ำมัน ทำให้ค่าการตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
-ขายก๊าซหุงต้ม (LPG) ในประเทศราคาคงที่ตามที่รัฐควบคุม ซึ่งต่ำกว่าราคาในตลาดโลก ทั้งที่ต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาผลิตคือก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้น
-ลงทุนขยายกิจการNGV ตามนโยบายรัฐเพื่อเป็นทางเลือกให้กับภาคขนส่งในภาวะน้ำมันแพงปัจจุบันมีสถานีเกือบ 400สถานีทั่วประเทศ
-ขาย NGV ในประเทศราคาคงที่ตามที่รัฐควบคุม 8.50บาท/กก ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ค่าขนส่งและค่าลงทุนสถานีอุปกรณ์ต่างๆรวมประมาณ 14.50บาท/กก
-ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนต่างๆเพื่อเตรียมรองรับทิศทางในอนาคตที่จะสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ


อ้างโน่น อ้างนี่ แต่กำไรแบบก้าวกระโดด ล่าสุดเป็นแสนล้าน แบบนี้จะอ้างยังไงเหตุผลก็ฟังไม่ขึ้น
ต้นทุน NGV 8.50 จริงหรือ ? 8.50 บาท บวกค่าอะไรเข้าไปบ้าง ? มาจากไหนบ้าง ?
ทำไมอเมริกาขาย 2.50 บาทได้ทั้งที่ค่าครองชีพต่างกันมากมาย
แล้ว LPG น่ะ มันจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รัฐอุ้มนั่นถูกแล้ว วิธีการหาเงินมาอุ้มง่ายๆก็มี
แค่เก็บค่าภาคหลวงเพิ่มนิดหน่อยก็ได้เงินมากมายมหาศาลแล้ว
ย้ำ !!! เก็บเพิ่มแค่นิดหน่อย ไม่ต้องเก็บมากๆเหมือนบางประเทศ ก็แก้ปัญหาตรงนี้ได้แล้ว แต่คิดจะทำกันหรือเปล่า ?
เพราะเจตนาหลายๆอย่าง องค์ประกอบหลายๆอย่างมันบ่งบอกว่า พวกข้าพเจ้ายังรวยไม่สะใจ
อยากรู้จริงๆว่าคนที่รวยบนความเดือดร้อนคนอื่นนี่มันมีความสุขตรงไหน ? ทำไมใจดำกันจัง

5.เนื่องจากประเทศไทยจะต้องนำเข้าพลังงานในอนาคตเป็นปริมาณสูง ปตท.มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดหาพลังงานมาตอบสนองความต้องการใช้ให้เพียงพอและในราคาที่เป็นธรรม จึงต้องจัดสรรรายได้เพื่อนำมาลงทุนต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบท่อก๊าซ คลังน้ำมันและก๊าซ โรงแยกก๊าซ รวมทั้งการเสาะแสวงเป็นเจ้าของปริมาณสำรองและแหล่งผลิตน้ำมันและก๊าซทั้งในและนอกประเทศ โดยในปี 2552 ปตท.ใช้เงินลงทุนรวมมากกว่า 70,000 ล้านบาท
-หากปตท.นำกำไรมาลดราคาขายปลีกน้ำมัน ก็จะช่วยประชาชนได้ในระยะสั้น แต่จะมีผลเสียระยะยาวคือ จะไม่เกิดสำนึกของการประหยัดและปตท.จะขาดความเข้มแข็งทางการเงินที่จะไปลงทุนเพื่อเสถียรภาพในอนาคต
-ประเทศอื่นๆที่ต้องนำเข้าพลังงาน จะมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเขามีความเข้มแข็งและไปลงทุนต่างประเทศเพื่อจะสามารถรักษาประโยชน์ของประเทศได้ในระยะยาว
-บริษัทน้ำมันแห่งชาติหลายแห่งได้แปรรูปและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความคล่องตัวในการระดมทุนสำหรับการขยายธุรกิจ เช่น CNPC CNOOC และ Sinopecของจีน Gazpromของรัสเซีย Petrobrasของบราซิล การแปรรูป ปตท.จึงสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลและน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่จะสร้างบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยให้เข้มแข็งมากขึ้น
ผมเขียนบทชี้แจงนี้เพื่อที่จะให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของไทยและบทบาทของ ปตท.ซึ่งมีความสำคัญต่อเสถียรภาพด้านพลังงานของชาติในอนาคต เนื่องจากปตท.ถูกโจมตีในเรื่องต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง
ผมหวังว่าหากท่านผู้อ่านได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกด้าน ก็จะสามารถแยกแยะประเด็นและพิจารณาได้ว่าประเทศไทยและประชาชนไทยควรเตรียมการด้านพลังงานอย่างไร ปตท.เป็นผู้ร้ายจริงหรือไม่ และหากมีข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือมีข้อสงสัยในประเด็นอื่นๆ กรุณาติดต่อผ่าน website ของ ปตท. <www.pttplc.com>


อ้างเพื่อให้ประชาชนประหยัดน่ะ ก็อยากถามหน่อยมีคนไทยตาดำๆส่วนไหนไม่ประหยัดพลังงานบ้าง ?
คนเขาบ่นกันทั้งประเทศจนตัวคุณเองต้องออกมาชี้แจง ยังจะมาพูดแบบนี้อีก
น้ำมันแพงคนส่วนหนึ่งจึงหนีไปใช้แก๊ส อย่างนี้ไม่เรียกว่าประหยัดเหรอ ?
แต่ก็ยังไม่วายใจดำอำมหิตตามไปสูบเลือดสูบเนื้อเขาอีก

ตอนนี้ ปตท.คือผู้ร้ายในสายตาคนไทย เพราะคนไทยเดือดร้อนจากราคาพลังงาน แต่ ปตท.กำไรแสนล้าน
ปตท.จะยกเหตุผล 108 -1009 ยกข้อมูล ตัวเลข การนำเข้า ส่งออก ยกโน่น ยกนี่มาอ้างอิงแค่ไหน ก็คงไม่มีผลช่วยทำให้คนไทยเข้าใจ ปตท.
เพราะผลกำไรของปตท.มันเห็นๆกันอยู่ว่ามากมายมหาศาลแค่ไหน ก็เลยไม่รู้จะเอาเหตุผลตรงไหนมาเข้าใจ
ถ้า ปตท.ขาดทุน เสมอตัว หรือกำไรน้อยก็ว่าไปอย่าง และนี่แค่ตัวเลขกำไรตามบัญชี ที่ซิกแซก มีนอกมีในอีกเท่าไหร่ไม่รู้

เรื่องบางเรื่องมันพิสูจน์หลักฐานความผิดยาก แต่เรื่องเจตนา เรื่องความจริงใจ เรื่องความบริสุทธิ์ใจ มันพิสูจน์ไม่ยาก

Edited by กรกช, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 10:13.


#129 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 10:47

ความคิดเห็นที่ 76 Posted Image Posted Image Posted Image
ทำไมไม่เอาที่ไปโพสไว้ว่า รายงานของ Chevron กับกรมเพลิงไม่ตรงกันในบอร์ดโน้นมาลงบ้างหล่ะ จะได้อธิบายให้ฟัง ว่าไอ้คนที่เอาข็อมูลนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นเพื่อเจตนาให้เห็นว่ามีลับลมคมใน มันประสาทแค่ไหน

แล้วไอ้ที่บอวกว่าข้อมูลมันตรวจสอบได้หน่ะ ไอ้ที่โพสๆ ต่อๆกัน มันจริงหรือเท็จหล่ะ ดูไปทางไหนบล้อคไหน ก็ข้อมูลเดียวกันเด๊ะ แล้วไอ้เรื่องต้นทุนเจาะน้ำมัน 10 เหรียญ นี่ก็เรื่องนึงแล้ว


และอีกเรื่องที่เคยเห็นพูดๆกันอยู่แวบนึง ที่กลุ่นี้เขาเอามาบิดเบือนกันว่าว่าส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป 24-25 บาท แล้วทำไมขายคนไทยแพง ปตท. ได้กำไรเพราะขายถูกแล้วสั่งน้ำมันแพงเข้ามาขาย เห็นเสริชดู ไปโพสๆกันไว้ทั่ว ไอ้คนออกความเห็นก็ด่าเอาๆ โดยไม่ได้ใช้สมองคิดอะไรเลย ใครชี้แจงอะไรก็ไม่ฟังไม่รับรู้ปิดหูปิดตากัน

แก้ไขเมื่อ 01 ส.ค. 55 01:38:48
แก้ไขเมื่อ 01 ส.ค. 55 01:13:43

จากคุณ : Deknon22 Posted Image เขียนเมื่อ : 1 ส.ค. 55 01:06:31 Posted Image


ที่ไม่ไปลงในพันทิบเพราะไม่มี Login ครับ ลงรูปไม่ได้ ลองแล้ว ให้ตามไปดูเอง แล้วลองบวกเลขดู ห้าแหล่งของ CHEVRON ที่ความเห็น #117 รวม มิย.48 ** 28,370 กค.48** 33,623 สค.48** 36,442 กย.48** 34,629 ตค48** 31,917 พย 48** 38,032 ธค48** 37,462

10-48.JPG


ในความเห็น 116 ค่าเจาะของ HESS $10.62 น่าจะเป็นค่าเฉลี่ยของเอเซียและอื่นๆ แต่ของ JDA น่าจะถูกกว่านั้น ให้ดูรูปใน ความเห็น 118 ที่ HESS บอกว่า ถูกสุด และ ยืนยาวนาน ของPTTEP ก็แค่ $4.35 เอง บิดเบือนตรงไหน บิดเบือนให้ค่าสูงเกินความเป็นจริงหรือ และไม่ปกปิดด้วย คุณDeknon22 ทำเหมือนเป็นคนวงใน แต่ไม่ยอมเปิดเผยเรื่องค่าขุดเจาะ มันยั้งไงๆอยู่นะ ไม่รู้หรือปิดบังกันแน่ ช่วยตอบที

และ ดูจุดเขียวๆใน JDA ขุดได้ทั้งน้ำมันและแก๊ส ที่ s-1 Senja, c-3 CAKERAWALA

ลองเทียบ JDA ดู แบ่งแบบนี้ไม่เรียกว่าเสียท่าหรือ แล้วมาเลย์เลือกตรงกลางเลย เหมือนสำรวจมาแล้วว่ามีน้ำมัน
แล้วจะเอาโมเดลนี้ไปใช้แบ่งกับเขมรอีกหรือเปล่านะ

JDA แบบไทย.JPG JDA แผนที่.jpg

Edited by Stargate-1, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 13:09.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#130 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 16:16

https://www.facebook...&type=1

ทุ่มงบโฆษณา ทุ่งงบปิดปากสำนักข่าว และพอรัฐประกาศจะลอยตัวค่าก๊าซ
ก็จ้างนักวิชาการออกมาเสนอความเห็นถึงผลเสียของการอุดหนุนและประกันราคา
จ้างทีมงานมาให้ความเห็นสนับสนุนการลอยตัวในเว็บไซด์ต่างๆ
ทำคลิปบิดเบือนข้อมูลความจริงเรื่องปลดหนี้กองทุน ออกมาหลอกลวงประชาชน เพื่อให้ยอมรับการลอยตัวก๊าซ
โดยอ้างว่าคนใช้รถคือตัวสร้างปัญหา และเป็นการใช้ผิดประเภท

แต่ปั๊ม LPG ของ ปตท.กลับขยายสูงสุด ?????

ผมบอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่า การหาข้อมูลหลักฐานความผิด มันอาจเป็นเรื่องยาก
เพราะระดับนี้จะมาพลาดง่ายๆคงไม่ใช่ ก็คงหาทางป้องกัน หาทางหนีทีไล่ไว้หมดแล้ว

แต่ในเรื่องเจตนา เรื่องความบริสุทธิ์ใจ ผมว่ามันเข้าใจได้ไม่ยาก

#131 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 17:21

สภาเครือข่ายการเมืองภาคพลเมือง ร้องผู้ตรวจฯ สอบจริยธรรม รมว.พลังงาน ปัดภาระให้ประชาชน หลังโฆษณาชวนเชื่อขึ้นราคาก๊าซ หมกเม็ดข้อมูล เอื้อ ประโยชน์บริษัทเอกชน

วันนี้ ( 1 ส.ค.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง และสภาเครือข่ายการเมืองภาคพลเมือง
ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบรมว.พลังงาน อาจปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อประมวลจริยธรรม

เนื่องจากกระทรวงพลังงานได้ซื้อหน้าสื่อโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเห็นว่าก๊าซหุงต้มไม่พอใช้ จึงต้องนำเข้า ส่งผลให้ราคาก๊าซที่แท้จริงต้องเพิ่มขึ้น
ทั้งที่แท้จริงแล้วสัดส่วนการใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนและภาคขนส่งสามารถใช้ก๊าซในประเทศได้เพียงพอ
แต่สัดส่วนที่ใช้ก๊าซมากที่สุด คือ ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.ที่สามารถซื้อก๊าซได้ถูกกว่าบริษัทอุตสาหกรรมอื่นๆ
อีกทั้งประธานกรรมการ คือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมบริษัทชินคอร์ปอีกด้วย


จะเห็นได้ว่า การกระทำดังกล่าวของรมว.พลังงานและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน เป็นการหมกเม็ดข้อมูลเพื่อประโยชน์เอกชนและผู้อื่น
จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวขัดประมวลจริยธรรมนักการเมือง
ตามรัฐธรรมนูญมาตรา279 และประมวลจริยธรรมนักการเมือง หรือขัดประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
รวมถึงขัดต่อประมวลกฎหมายมาตรา 341, 148, 152 และ มาตรา 157หรือไม่

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้สภาเครือข่ายการเมืองภาคพลเมืองก็จะยื่นเรื่องดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ต่อไป

“เจ้าหน้าที่รัฐใช้งบประมาณในการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อจะได้ขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซด้วยความชอบธรรม
ทั้งที่จริงแล้วก๊าซภายในประเทศมีเพียงพอที่จะใช้ในภาคครัวเรือน และภาคขนส่ง
ซึ่งถือว่าราคาในสองส่วนนี้มีราคาสูงมากกว่าราคาก๊าซในภาคปิโตรเคมี
แต่ขณะนี้รัฐบาลกลับขึ้นราคาก๊าซที่ใช้ในภาคครัวเรือน และภาคขนส่ง มากกว่าขึ้นราคาภาคปิโตรเคมี
ซึ่งเห็นว่า เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน อีกทั้งยังเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอกชน ”
พ.ญ.กมลพรรณ กล่าว

http://www.dailynews...politics/146845

Edited by กรกช, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 17:21.


#132 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 12:03

นับจากวันที่ 5 กค.ถึง 2 สค. ปตท.ขึ้นราคาน้ำมันมาแล้ว 7 ครั้ง
ส่งผลให้เบนซิน 91 แพงขึ้น 3.40 บาท เบนซิน 95 แพงขึ้น 2.40 บาท
สวนทางกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

https://www.facebook...&type=1

#133 Bazzinga

Bazzinga

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 17 posts

ตอบ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 03:18

จริงๆแล้วมันก็ไม่ผิดหรอกที่จะเอากราฟหรือรีพอร์ตต่างๆมาใช้อ้างอิงในการหาความจริง

แต่ถ้าพูดถึงตรรกะในการพิสูจความจริงแล้ว

ผมคิดว่าถ้าจะคอมเพลนเรื่องราคาน้ำมันในไทย

การนำข้อมูลใน Annual Report ของ PTT, ซึ่งใครๆก็รู้ว่าเป็น Key ในการกำหนดราคาน้ำมันในไทย

มาใช้อ้างอิง

มันคงไม่ได้ความจริงที่ต้องการหรอกครับ

Edited by Bazzinga, 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 03:19.

You exist only in what you did.

#134 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 01:15

จาก#127

การคำนวณทำให้สามารถหาต้นทุนได้จริง ต้นทุนที่ถูกปิดบังมาโดยตลอด ปิดไม่มิดหลอก หากคำนวณไม่ได้ก็ถามผู้รู้ว่าคำนวณได้อย่างไร ที่แสดงในตารางเป็นเพียงราคาต้นทุนของน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติเฉลี่ย-Unit Cost ของ PTTEP ไม่ใช่ PTTนะครับ และ ไมรู้ว่าราคาต้นทุนนี้เป็นความจริงที่ต้องการหรือไม่

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#135 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 10:00

เสวนาสงครามนกกระสาครั้งที่ 11 ประเด็น " ขุมทรัพย์น้ำมันไทย เข้ากระเป๋าใคร ? "

http://www.youtube.com/watch?v=m9A4NDEnhnY

จะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนหนอ ที่ชาวกบทั้งหลายจะตาสว่าง แล้วหันมาสามัคคีกันต่อต้านฝูงนกกระสากันอย่างพร้อมใจกัน ?

#136 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 11:46

จับตาแก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม


ปตท.สผ. ลุ้นต่อสัมปทานปิโตรเลียม
Dailynews 8/10/2007

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียด ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่ง บงกช ของบริษัท ปตท.สผ.และบริษัทเชฟรอน เพื่อเตรียมเสนอ ครม.ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หลังจากที่คณะกรรมการปิโตรเลียมได้เห็นชอบในหลัก การมาตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ยอมรับว่าที่ผ่านมาใช้เวลาในการพิจารณานานเพราะต้องรอบคอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น

ทั้งนี้การต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่จะหมดสัญญาเก่าในปี 55 โดยของเชฟรอนในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และ บี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 ซึ่งจะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ประมาณ 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 400,000-500,000 ล้านบาท แยกเป็นเงินลงทุนของเชฟรอน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ปตท.สผ. 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ.

ขนเม็ดเงินลงทุน 4.5 แสนล้าน!
Thairath [8 ต.ค. 50 - 05:00]

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) เปิดเผยว่า การต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกช ของบริษัท ปตท.สผ.สำรวจปิโตรเลียม และบริษัทเชฟรอน ใกล้ได้ข้อสรุปในเงื่อนไขต่างๆแล้ว ก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณาเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งการต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่หมดสัญญาในปี 2555 โดยเชฟรอนขอสัมปทานในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และบี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 จะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ของสัญญา 450,000 ล้านบาท สำหรับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่กระทรวงการคลังจะได้รับตามที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น เชฟรอนจะจ่ายให้กระทรวงการคลัง ปีละ 25,000 ล้านบาท และ ปตท.สผ.จ่ายให้ปีละ 14,000 ล้านบาท

นายไกรฤทธิ์ยังกล่าวถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมว่า ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมปีนี้จะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ปี 2549 ที่ 36,000 ล้านบาท

แก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม
ข่าวเศรษฐกิจ วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2555 19:40น.

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางเตรียมการจัดหาสัมปทานปิโตรเลียมในอนาคต เนื่องจากแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่ดำเนินการโดย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ที่แหล่งบงกชในอ่าวไทยและสัมปทานที่ร่วมทุนของบริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิตอีกหลายโครงการ จะหมดอายุลงใน 10 ปี ข้างหน้า หรือในปี 2565 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นคณะทำงานจะดูความเป็นไปได้ในการแก้กฎหมาย เพื่อต่ออายุสัมปทานเพิ่มจากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสามารถต่ออายุได้ 1 ครั้ง หรือดำเนินการผลิตออกไปได้อีก 10 ปี ซึ่งสัมปทานดังกล่าวได้ใช้สิทธิ์การต่ออายุสัมปทานไปแล้ว

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้ผู้รับสัมปทานเดิมได้ต่ออายุสัญญามากกว่าการเปิดประมูลสัมปทานใหม่ เพราะจะทำให้เกิดการลงทุนสำรวจได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อรักษาเสถียรภาพกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติ โดยคาดว่าคณะทำงานจะได้แนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 ปี


กมธ.วุฒิสภา พร้อมใช้ พ.ร.บ.คำสั่ง เรียก รมว.พลังงาน แจงสัมปทานปิโตรเลียม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 กรฎาคม 2555 ที่ห้องรับรอง 2 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. เป็นประธาน มีวาระพิจารณาประเด็นการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21 ของกระทรวงพลังงาน การประชุมครั้งนี้ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงานเข้าชี้แจง โดย กมธ. ได้หารือกันถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่ง น.ส.รสนาระบุกับที่ประชุมว่า กมธ. ได้ส่งหนังสือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบคำถามเพิ่มเติมจำนวน 7 ข้อ ประกอบด้วย
1. การคิดค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15 เปอร์เซ็นต์ตามรายหลุมเจาะหรือคิดเป็นผลผลิตทั้งแหล่ง
2. ขอทราบขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อทราบปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริงเพื่อใช้คำนวณค่าภาคหลวง
3. ขอรายละเอียดผลตอบแทนพิเศษของแต่ละแหล่งสัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการให้สัมปทานครั้งแรกและการต่อสัมปทานปิโตรเลียม
4. การโอนหรือขายสัมปทานปิโตรเลียมให้บุคคลอื่นทุกรายการพร้อมราคา
5. เปรียบเทียบข้อแตกต่างของกฎหมาย กฎระเบียบในการให้สัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการสำรวจและขุดเจาะของประเทศไทย กับประเทศพม่า กัมพูชา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย โบลิเวีย และเวเนซูเอลา
6. มีกระบวนการตรวจสอบหรือพิจารณาการใช้ดุลพินิจหรือหลักเกณฑ์ที่มีธรรมาภิบาลมากน้อยเพียงใด
7. มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ให้ผู้คืนสัมปทานปิโตรเลียมเดิมมาประมูลใหม่หรือไม่

ปูด อธิบดีซุ่มแก้ กม. ต่อสัมปทานแหล่งบงกช

ทั้งนี้ สิ่งที่ กมธ. ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ สัญญาสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งสิริกิติ์และแหล่งบงกช โดยเฉพาะแหล่งบงกชที่เป็นแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่สุดในทะเล มีปริมาณกว่า 1 หมื่นล้านลิตรต่อปี กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาว่าจะมีการแก้กฎหมายเพื่อให้มีการต่อสัญญาสัมปทานอีก 10 ปี ทั้งที่บริษัทผู้รับสัมปทานเคยได้สิทธิการต่อมาแล้วครั้งหนึ่ง
ทาง กมธ. เห็นว่า การต่อสัมปทานดังกล่าวควรได้รับการทักท้วง เนื่องจากการเก็บผลประโยชน์ของการให้สัมปทานในแหล่งบงกชนั้นใช้รูปแบบ “ไทยแลนด์วัน” แหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวควรจะเป็นของประเทศ มากกว่าให้มีการต่อสัญญาสัมปทานแล้วทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เลขานุการ กมธ. กล่าวว่า แหล่งบงกชมีการต่ออายุสัมปทานไปแล้ว 10 ปี และตามกฎหมายบริษัทผู้รับสัมปทานไม่สามารถต่อสัญญาสัมปทานได้แล้ว แต่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าทางอธิบดีพยายามตั้งทีมเพื่อแก้กฎหมายต่อสัญญาสัมปทานอีก ซึ่งหลุมปิโตรเลียมนี้ยังสามารถนำปิโตรเลียมขึ้นมาได้อีกหลายปี ถ้าขึ้นมาแล้วเป็นของหลวงทั้งหมด ประเทศไทยสามารถที่จะลืมตาอ้าปากได้เลย เพราะถ้านำจำนวนน้ำมันดิบ 1 หมื่นล้านลิตร คูณ 20 บาท จะได้เงินจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้น แหล่งบงกชจึงควรที่จะมีการประมูลโอเปอเรเตอร์ (ผู้ผลิต) ผู้มาปฏิบัติมากกว่าผู้มาสัมปทาน เช่น ให้ ปตท.สผ. มารับทำตรงนี้โดยแบ่งไป 10 % ของมูลค่าจะดีกว่าหรือไม่ เพราะความเสี่ยงของการขุดเจาะน้ำมันจะอยู่ในช่วงแรกเท่านั้นว่าจะเจอปิโตรเลียมหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา กมธ. ได้ขอเอกสารการให้สัมปทานจากกระทรวงพลังงานแต่ไม่เคยได้รับแต่อย่างใด

เล็งเปิดอภิปราย ม. 161

นายคำนูน สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะ กมธ. ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กมธ. ต้องยืนยันให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ. เพราะมีคำถามในเชิงนโยบายที่ข้าราชการประจำไม่สามารถที่จะตอบได้ ที่สำคัญคือปรัชญาการให้สัมปทานของประเทศไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็จะผิดไปตลอด ระบบคิดของการให้สัมปทานของประเทศไทยคือให้เพื่อการส่งออก 100 % คนไทยมีทรัพยากรของเราเกือบ 50 % แต่เป็นกรรมสิทธิของผู้ได้รับสัมปทาน โดยให้มีการเปิดขายไปต่างประเทศได้ทั้งหมด แต่เวลาเราซื้อจะซื้อเข้ามาในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง
อย่างไรก็ตาม การที่มีการชะลอสัมปทานรอบที่ 21 นั้น ควรจะมีการทบทวนรากฐานของการให้สัมปทานทั้งหมด ดังนั้น รมว.พลังงานต้องมาตอบ และเมื่อ รมว. ไม่มาตอบ กมธ. ต้องทำหนังสือยืนยันไปอีกครั้งหนึ่งว่าให้ รมว.พลังงานมาตอบต่อ กมธ. ในครั้งต่อไปในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้หากไม่มา กมธ. จะใช้ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและฯ พ.ศ. 2554 ในการเชิญ รมว.พลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ.
นอกจากนี้ ในการเปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปนั้น ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 ได้เปิดช่องให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้ ซึ่งการให้สัมปทานปิโตรเลียมนั้นเป็นต้นทางของปัญหาทั้งหมดของประเทศ ถ้าสามารถปฏิรูปตรงนี้ได้ก็ปฏิรูปประเทศได้
ทั้งนี้มาตรา 161 บัญญัติว่า “สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ”

Edited by Stargate-1, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 12:15.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#137 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 14:00

16 สค. พลังงานส่อเลื่อนขึ้นราคา NGV - LPG ภาคขนส่งออกไป

http://www.thairath....tent/eco/281223

--------------------------------------------------------------------------------------------

คลิ๊กอ่านดูแล้วยังไม่ยืนยัน 100 % แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า

จากการตื่นตัวในเรื่องพลังงานของภาคประชาชน
ทำให้รัฐบาลต้องหันมาทบทวนเกี่ยวกับนโยบายต่างๆของเรื่องพลังงาน
ทั้งเรื่องการให้สัมปทานพลังงานกับเอกชนในแบบเดิมๆที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์
และการลอยตัวก๊าซที่สร้างความเดือดร้อนให้คนไทย

ถ้าภาคประชาชนเงียบ นิ่งเฉย ป่านนี้ก็คงสมใจหมายกันไปแล้ว

ก็อยากฝากให้ทุกท่านช่วยกันแชร์เรื่องนี้ออกไปให้มากๆ

Edited by กรกช, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 14:01.


#138 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 07:38

ค้นจากเว็บของบ.MOECO
Moeco Data.JPEG

MOECO. Product JPEG.JPG

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#139 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 11:45

จดหมายถึง "สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา" จาก ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

http://www.facebook....123613731031938

"สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา" วันนี้เป็นมหาเศรษฐีร่ำรวยมหาศาล รายการข่าวเช้าช่อง 3 เรตติ้งสูงสุดติดต่อกันหลายปี
แต่ที่น่าเสียดายคือเมื่อประชาชนให้ความเชื่อมั่นและติดตามจนคุณสรยุทธ์ร่ำรวยขนาดนี้แล้ว แต่รายการของคุณสรยุทธ์ยังทำงานรับใช้ช่วยโฆษณาชวนเชื่อให้กับ ปตท. และกระทรวงพลังงาน ทั้งๆที่ ปตท.รวยขึ้นมหาศาล บริษัทข้ามชาติที่เข้ามาสัมปทานพลังงานก็รวยติดอันดับต้นๆของโลกไปแล้ว เหตุเพราะการสัมปทานปล้นทรัพยากรพลังงานไทยนั้น คนไทยสูญเสียน้ำมันคุณภาพดีที่สุดในโลก ในราคาภาคหลวงและผลตอบแทนรัฐแสนต่ำ แต่คนไทยยังต้องใช้ราคาพลังงานสูงกว่าราคาตลาดโลก

วันนี้คุณสรยุทธ์เป็นมหาเศรษฐีที่คงไม่เดือดร้อนเพราะราคาน้ำมันแพงแล้ว และอันที่จริงถ้าคุณสรยุทธ์จะยืนหยัดแสวงหาความเป็นจริงด้านพลังงาน หรือจะเปิดโอกาสให้คนที่เขาต่อต้านได้แสดงความเห็นผ่านรายการคุณสรยุทธ์บ้าง ต่อให้ ปตท.ไม่ลงโฆษณาก็คงไม่ได้ลดความเป็นมหาเศรษฐีของคุณสรยุทธ์ไปได้ จริงไหม? (นอกเสียจากว่าคุณสรยุทธ์เป็นคนประเภท "รวยไม่รู้จักพอ") หรืออีกนัยหนึ่งถ้าคุณสรยุทธ์จะทำงานแบบสื่อมืออาชีพที่เปิดโอกาสให้คนที่คัดค้่นได้ออกอากาศรายการคุณสรยุทธ์บ้าง บางที ปตท.ก็อาจจะเลือกลงโฆษณาชวนเชื่อกับรายการคุณสรยุทธ์มากขึ้นเสียด้วยซ้ำ

แต่วันนี้ประชาชนตาดำๆ ที่เป็นผู้ชมทีวีจำนวนมากที่เป็นส่วนสำคัญทำให้คุณสรยุทธ์ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีในวันนี้ กำลังเดือดร้อนจากปัญหาข้าวยากหมากแพงโดยที่เขาไม่เคยรู้ว่ามันเป็นขบวนการปล้นทรัพยากรฉ้อฉลประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม แต่เพราะสื่อมวลชนบ้านเราส่วนใหญ่เพิกเฉยตกอยู่เป็นทาสทุนน้ำมันไปเสียหมด ประชาชนไม่มีโอกาสได้รู้ความจริง จึงไม่ตื่นรู้ลุกขึ้นมาทวงคืนสิทธิ์ของตัวเองได้

จะมีคนไทยสักกี่คนในวันนี้ที่รู้ว่าประเทศไทยมีน้ำมันที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก แต่กลับปล่อยให้มีการสัมปทานพลังงานในราคาแสนถูกส่งออกต่างประเทศไปทั้งหมด แต่คนไทยต้องบริโภคน้ำมันในราคาที่แพงกว่าสิงคโปร์ แพงกว่ามาเลเซีย แพงกว่าพม่า แพงกว่าสหรัฐอเมริกา ฯลฯ


ในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น เวเนซูเอล่า, โบลิเวีย, อาร์เจนติน่า ฯลฯ ประชาชนเขาลุกขึ้นมาต่อสู้ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปีทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของคนในชาติ ค่าภาคหลวงและผลตอบแทนรัฐจากการสัมปทานพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 80% และประชาชนคนในหลายประเทศเหล่านั้นก็ได้มีโอกาสใช้ราคาพลังงานในราคาภายในประเทศที่เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเอง หรือไม่ก็กลายเป็นประเทศรัฐสวัสดิการจากความร่ำรวยที่เพิ่มขึ้นมาในการปรับผลตอบแทนจากการสัมปทานพลังงานคืนให้แก่รัฐใหม่หมด

คำถามคือคุณสรยุทธ์ รายการทีวีเรตติ้งสูงสุด ร่ำรวยมหาศาลจะยืนอยู่ข้างไหน ระหว่างฝ่ายทุนสามานย์ในผ้าคลุมสื่อมวลชนที่รับงานโฆษณาชวนเชื่อและประชาสัมพันธ์ให้ธุรกิจพลังงานที่พร้อมนำเสนอขัดขวางการปฏิรูปพลังงานชาติทุกรูปแบบ หรือจะเป็นสื่อมวลชนที่ยืนข้างประชาชนเพื่อการปฏิรูปพลังงาน?

แค่สงสัยว่าคนที่เรียกตัวเองว่าสื่อมวลชน และอยู่ในสื่อกระแสหลักวันนี้ ไม่อายบ้างหรือครับที่ ปล่อยให้สื่อเล็กๆอย่าง ASTV ที่จนกว่า เงินน้อยกว่า เงินเดือนออกช้ากว่าต้องมาเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานให้กับคนทั้งประเทศ โดยสื่อมวลชนหลักกลับเพิกเฉยกันไปเสียหมด?

แต่อาจด้วยสถานภาพและข้อจำกัด "สื่อมวลชนมหาเศรษฐี" ของคุณสรยุทธ์ อาจจะเป็นเรื่องที่คาดหวังได้ยากว่าจะออกมารณรงค์ต่อสู้แบบ "ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง" เหมือนกับ ASTV

แต่อย่างน้อยที่สุดคุณสรยุทธ์หากยังมีความเป็นมืออาชีพเหลืออยู่ ก็ควรจะให้เวลากับผู้ที่คัดค้านนโยบายพลังงานและ ปตท.ได้ออกอากาศในระดับที่เท่าเทียมกันบ้าง ไม้ใช่อาศัยรายการเรตติ้งสูง(ที่ประชาชนจำนวนมากให้ความเชื่อถือ)ระดมโฆษณาให้กับ ปตท. หรือกระทรวงพลังงานฝ่ายเดียวเช่นนี้ เพราะนั่นเท่ากับเลือกยืนข้างข้อมูลทุนพลังงานอย่างเดียว การทำเช่นนี้คุณสรยุทธ์อาจถูกมองได้ว่า "ทรยศและเนรคุณประชาชนและผู้ชม"ที่เขาศรัทธาเชื่อถือการนำเสนอของคุณสรยุทธ์จนเป็นมหาเศรษฐีมาจนถึงวันนี้ จริงหรือไม่?

ขอสิทธิ์ของประชาชนที่คัดค้านนโยบายพลังงานและ ปตท. ให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายพลังงานและ ปตท. ได้มีโอกาสแสดงความเห็นในรายการคุณสรยุทธ์ในอีกด้านหนึ่งอย่างเต็มที่บ้าง เพราะถือว่ารายการคุณสรยุทธ์ได้ระดมโฆษณาชวนเชื่อให้กับกระทรวงพลังงานและ ปตท.ด้านเดียวมานานเกินไปแล้ว โดยจะเลือกใครสัมภาษณ์ก็ได้ครับจากรายชื่อดังต่อไปนี้ มล.กรณ์กสิวัฒน์ เกษมศรี, ส.ว. รสนา โตสิตระกูล, ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน, คุณณรงค์ โชควัฒนา, อ.ประสาท มีแต้ม, หรือ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ผมไม่ทราบว่าจะคาดหวังมากไปหรือไม่ว่า คุณสรยุทธ์ มหาเศรษฐีและสื่อมวลชน จะคืนกำไรให้กับประชาชนและผู้ชมบ้างด้วยการให้ ผู้ที่คัดค้านนโยบายของกระทรวงพลังงานและ ปตท. ได้ออกอากาศนำเสนอข้อมูลอีกด้านอย่างเต็มที่ เพื่อให้ความเป็นธรรมของผู้ชมที่ควรจะมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน ได้หรือไม่?

ได้แต่หวังว่า คนที่มองว่า สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา เห็นแก่เงินอย่างเดียว ยอมทรยศหักทุกคนได้ไม่เว้นแม้แต่ประชาชนและผู้ชมที่ศรัทธาตัวเอง จะเป็นเรื่องที่คนเหล่านั้นมองผิดและเข้าใจผิดไปเอง!!!

จากใจ
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์


#140 raksthaban

raksthaban

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 640 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 19:28

อย่าเถียงกัน ให้เสียเซลล์สมอง

เอาแค่นี้ ดีก่า น้ำมันเกิดขึ้นได้จากซากพืชซากสัตว์ ตายทับถมกันหลายล้านปี

และเมื่อประเทศไทยขุดพบ ซากไดโนเสาร์ แล้วเหตุอันใดเล่า ประเทศไทยจะไม่มีเหรอ

และก็ขุดพบที่ทางภาคอิสานส่วนใหญ่
คำตอบ ก็อยู่ในสมองท่านแล้ว
Posted Image

#141 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 21:59

แหล่งน้ำมันแหล่งใหม่-บัวบาน
เพิ่งขุดได้สดๆร้อนๆในอ่าวไทย
G5-43.JPEG
Bua Ban.JPEG
Buaban 2011.JPEG

Edited by Stargate-1, 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 07:58.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#142 kuuga

kuuga

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,008 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 22:04

แหล่งน้ำมันแหล่งใหม่-บัวบาน
เพิ่งขุดได้สดๆร้อนๆในอ่าวไทย
G5-43.JPEG
Bua Ban.JPEG

แล้วทำไมน้ำมันแพงซิ...หาย ตอบหน่อย ในเมื่อขุดได้ ขุดดี ตอบ
กระบือ=ควาย มีค่า มนุษย์มีค่า = ควาย ไร้ค่า

#143 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 22:08

อ่านตั้งแต่ต้น ให้เกิน3บรรทัด

หรือ ลองไปดูทางพันทิบเขาแสดงความเห็นกันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร?

http://www.pantip.co.../X12432469.html

http://www.pantip.co.../X12434567.html


http://topicstock.pa.../C12419733.html


ปัจจุบันการโพสต์กระทู้เรื่องน้ำมันในห้องหว้ากอเป็นสิ่งต้องห้ามไปแล้ว

ราคาน้ำมันเทียบกับปตท.JPG

ใครจะรักชาติหรือขายชาติอย่างแท้จริง ไม่ต้องขอเวลาพิสูจน์กันใหม่ การกระจายหุ้น ปตท.เห็นกันชัดๆ! หน็อยแน่ พอเปิดจอง ญาติพี่น้อง พวกพ้องนักธุรกิจการเมืองกวาดหุ้นกองใหญ่ไปก่อนใคร จากราคา 35 บาท ตอนนี้ขายสูงกว่า 160 บาท หลังจากเคยกระฉูดไปถึง 190 บาท

แม่เจ้าโว้ย! ไม่รวยชาตินี้ แล้วจะแฮปปี้ชาติไหนอีก?

ตัวอย่างของการแปรรูปที่ชวนน้ำลายหก


นี่ไงครับรายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท.
ตัวอย่าง 4 ใน 6 รายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท มากสุดซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น

1. นายทวีฉัตร จุฬารกูร – หลานของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (เลขาธิการพรรคไทยรักไทย) 2,200,000 ล้านหุ้น

2. นายประยุทธ มหากิจศิริ – กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 2,000,000 ล้านหุ้น

3. นายดิษฐพล ดำรงรัตน์ – ญาติ นพ. พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 1,700,000 ล้านหุ้น

4. นายสุธี มีนชัยนันท์ – ญาตินายวิชาญ มีนชัยนันท์สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 300,000แสนหุ้น

จริงๆแล้ว 6 อันดับแรกนั้นได้หุ้นทั้งหมด 16 ล้านหุ้น มูลค่าขณะนั้นมีมูลค่าเพียง 385 ล้านบาท แต่2ปีถัดมามีมูลค่าถึง 1,377 ล้านบาทแล้ว ดูแค่นี้ก็น่าจะรู้แล้วว่าทำไม ทรท ถึงอยากนำ กฟผ. เข้าตลาดหุ้นนัก แล้วนี่ก็คือเหตุผลที่นายยกไม่กล้าเผชิญหน้ากับกลุ่มประท้วง แบบนี้ไม่เรียกว่าขายชาติแล้วจะขายอะไรครับ

แหล่งข้อมูล: นสพ. ไทยรัฐ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 หน้า 19 หัวข้อ “ทักษิณกร้าว” แหล่งข่าวนี้ไม่กล้าเปิดเผยถึง 2 ผู้ถือหุ้นที่เหลือคือใคร?? แต่จำนวนที่หุ้นที่หักล้างจากจำนวนหุ้นของสี่บุคคลข้างบนนี้ก็คือ 2 ราย ที่เหลือนั้นถือหุ้นถึง 9.8ล้านหุ้น

Edited by Stargate-1, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 08:50.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#144 kuuga

kuuga

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,008 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 22:08


ปตท. ปลื้มปี 54 โกยรายได้ 2.2 ล้านล้านบาท ฟันกำไรเละ 1.05 แสนล้านบาท สูงสุดในประวัติการณ์ เตรียมทุ่มงบลงทุน 7 แสนล้าน ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานครบวงจร หวังติดอันดับ FORTUNE 100 ภายในปี 2563 มีผลประกอบการอยู่ในระดับชั้นนำ และติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ ภายในปี 2556

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2553 ความต้องการใช้พลังงานของประเทศอยู่ที่ 2,071 พันบาร์เรลต่อวัน โดย ปตท.มีการจัดหาได้ประมาณ 372 พันบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 18 คาดว่าในปี 2563 ความต้องการพลังงานของประเทศจะอยู่ที่ 2,841 พันบาร์เรลต่อวัน และ ปตท.จะจัดหาประมาณ 1,484 พันบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณร้อยละ 52 จะเห็นได้ว่า ปตท.มีหน้าที่หลักในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ

นอกจากนี้ ปตท. ยังมีหน้าที่สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศชาติ โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา ปตท.สามารถนำเงินส่งรัฐได้ประมาณ 63,000 ล้านบาท โดยนำส่งในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 39,000 ล้านบาท และในรูปเงินปันผลประมาณ 24,000 ล้านบาท

ในการประชุมกับคณะกรรมการบริษัท ได้เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทว่าขอเสนอย้าย ปตท.จากการทำธุรกิจอยู่บนฐานของทรัพยากรธรรมชาติ มาเป็นการทำธุรกิจบนองค์ความรู้และเทคโนโลยี หรือ Technology Advanced Green ปัญหาของการทำธุรกิจจะต้องได้รับการอนุมัติจากชุมชนด้วย ซึ่งต้องแสดงให้เห็นว่ามีความห่วงใย แบ่งปันความรู้ให้ชุมชน และให้ความสำคัญกับคนในชุมชน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร กล่าวว่า ทิศทางกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. ตั้งเป้าที่จะเป็นบริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ ติดอันดับ Fortune 100 ภายในปี 2563 มีผลประกอบการอยู่ในระดับชั้นน้ำภายในปี 2563 และติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) ภายในปี 2556

ส่วนแผนการลงทุนปี 2555-2559 เงินลงทุนรวม 357,996 ล้านบาท ประกอบด้วยร้อยละ 45ลงทุนในการขยายธุรกิจถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน FLNG และไฟฟ้า อีกร้อยละ 38 ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจก๊าซฯ ในโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายไปยังนครสวรรค์และนครราชสีมา สถานีรับจ่าย LNG และขยายสถานี NGV อีกร้อยละ 14 ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจน้ำมัน ประกอบด้วย คลังน้ำมัน/LPG โครงการขยายขีดความสามารถในการนำเข้าก๊าซหุงต้มและก๊าซแอลเอ็นจี และสถานีบริการน้ำมัน ส่วนที่เหลือร้อยละ 3 ลงทุนด้านการวิจัย พัฒนา และอื่นๆ

ส่วนการลงทุนของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. อีกประมาณ 360,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซฯ และน้ำมันทั้งในและต่างประเทศ โดยในปี 2555 ปตท.ได้จัดสรรเงินสำหรับลงทุนไว้ 91,467 ล้านบาท ปี 2556 ลงทุน 85,484 ล้านบาท ปี 2557 ลงทุน 81,513 ล้านบาท ปี 2558 ลงทุน 61,148 ล้านบาท และปี 2559 ลงทุน 38,384 ล้านบาท เมื่อรวมงบลงทุนในส่วนของ ปตท.สผ. แล้วงบลงทุน 5 ปี รวมเป็นประมาณ 720,000 ล้านบาท แต่ในส่วนนี้ยังไม่รวมเงินลงทุนของกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี คือ บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน กล่าวว่า ในปี 2554 ปตท. มีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 47,246 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขายและบริการ 2,197,555 ล้านบาท หากรวมผลการดำเนินงานจากบริษัทในกลุ่มตามสัดส่วนการลงทุนที่มีกำไรสุทธิอีก 58,050 ล้านบาทแล้ว กลุ่ม ปตท.มีกำไรสุทธิรวม 105,296 ล้านบาท จากรายได้จาการขายและบริการรวม 2,428,165 ล้านบาท มีรายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจ่าย หรือ EBITDA 210,748 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2554 ของ ปตท. แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยช่วงไตรมาสที่ 4/2554 และส่งผลกระทบอย่างมาก แต่เนื่องจาก ปตท.มีแผนการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ ได้แก่ แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง, การจัดการสภาวะวิกฤติ, การกู้คืนระบบสารสนเทศ, การจัดเตรียมทรัพยากรบุคลากร, การจัดเตรียมสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง, และการกู้คืนอาคารและสถานที่ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและการให้บริการ อีกทั้งสามารถใช้ศักยภาพที่มีเข้าช่วยฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติใน ครั้งนี้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยปีนี้ถือว่า ปตท.ได้ทำกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากยอดขายแล้ว ยังมีในส่วนของกำไรจากการเก็บสตอกน้ำมันรวมทุกบริษัทในเครือกว่า 10,000 ล้านบาท ส่วนปีนี้จะต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะคาดว่าจะไม่มีกำไรจากสตอกน้ำมัน และมีปัญหาความผันผวนของราคาพลังงานสูง




ผยุงราคาภาษาอะไร กำไรแสนล้าน น้ำมันโลกถูก ปตท. ได้กำไร คนไทยเสียประโยชน์

กระบือ=ควาย มีค่า มนุษย์มีค่า = ควาย ไร้ค่า

#145 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 22:20

หากมีการสร้างโรงแยกแก๊สเพิ่มก็จะสามารถรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศได้ ไม่ต้องนำเข้าLPG ราคาแก๊ส LPG ก็สามารถลอยตัวใช้ราคาที่ผลิตในประเทศ ซึ่งไม่น่าจะเกินราคาที่ภาคครัวเรือนใช้อยู่

ครัวเรือนใช้ -------------------------- 2,656,215 ตัน
ยานยนต์ใช้
-----------------------------919,872 ตัน
อุตสาหกรรมทั่วไปใช้
-----------------717,660 ตัน
ปิโตรเคมี------------------------------2,413,413 ตัน
--------------------------------------- -------------------
--------------------------------------- -6,707,180 ตัน
---------------------------------------- ==========

โรงแยกแก๊สผลิต------------------- 3,507,641 ตัน
โรงกลั่นอื่นๆผลิต------------------- 1,991,770 ตัน
โรงแยกแก๊ส(ที่สร้างเพิ่ม)ผลิต-----1,823,973 ตัน
------------------- -------------------- ------------------
--------------------------------------- 7,323,384 ตัน
--------------------------------------- ==========

Edited by Stargate-1, 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 13:21.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#146 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 22:22

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อมูลอันมีค่าเหล่านี้ครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#147 สงสารสาวจันทร์

สงสารสาวจันทร์

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,698 posts

ตอบ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 00:36

ไม่เห็นขุนพลปชป.มาวิเคราะห์อะไรบ้าง ผมไม่อยากเห็นพวกดีแต่ปาก อยากอยู่กับท้อง

เห็นหัวชาวบ้านบ้าง โอกาสมาถึงคุณแล้วนะ

#148 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 01:21

ตัวคุณก็วิเคราะห์ได้ถ้ามีข้อมูลพอ ค้นดูซิ ผมก็ค้นจนรู้ และก็วิเคราะห์เองใน ความเห็นที่ #102 และตอบโจทย์ได้ในความเห็นที่ #127 เพราะมีข้อมูลครบอยู่แล้ว

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#149 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 09:47

แหล่งน้ำมันของไทยแหล่งบัวบานและสงขลา หรือรวมเรียกว่าแหล่งสงขลาในรายงานของกรมเชื้อเพลิง
แหล่งบัวบานและสงขลา.JPEG
น้ำมัน 04-55.JPEG
Bua Ban กรมเชื้อเพลิง.jpeg

Edited by Stargate-1, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 13:40.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#150 Shuan Sheep

Shuan Sheep

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 58 posts

ตอบ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 18:21

คุณ Stargate-1 สุดยอดครับ บางคนในนี้เค้าไม่ฟังหรอกครับ ถูกปิดตาปิดหู ด้วยคลิปอีป้า โดยไม่นึกสักนิดว่า ถ้ามันเยอะจิงๆ เนี่ย บรรดาประเทศมหาอำนาจคงจ้องจะยึดหรือทำสงครามเพื่อแย่งชิงแหล่งพลังงาน
อันมากมายของยายป้ากับบรรดาสาวกชาบูไปแล้ว

ผลิตเยอะ แต่ใช้เยอะกว่า มันคงจะรวยอยู่หรอก
ศักดิ์ศรีมีกันได้ แต่ไม่ได้เอาไว้ค้ำคอ :ph34r:




ผู้ใช้ 4 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 4 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน