Jump to content


Photo
- - - - -

ขอแรงเพื่อนๆช่วยกันเกาะติด และกระพือข่าวนี้กันหน่อยค่ะ - ขัดขวางการปล้นชาติ

พลังงาน

This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
9 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Siren

Siren

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,336 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 09:24

จากบทความของปานเทพ ในเว็บผู้จัดการ ประเทศไทยจะดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยรัฐได้ผลตอบแทนต่ำมาก - พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อระงับชั่วคราว และทบทวนเรื่องค่าตอบแทนที่รัฐควรจะได้ค่ะ!


จดหมายสำคัญจาก พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร !?
http://www.manager.c...D=9550000087903

จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้รายงานประวัติการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยนับตั้งแต่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2514 มาจนถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2550 นั้น ตลอดระยะเวลาเกือบ 36 ปีได้มีออกสัมปทานไปแล้วทั้งสิ้น 110 สัญญา รวมจำนวนแปลงสัมปทานทั้งสิ้น 157 แปลง ซึ่งในจำนวนนี้ยังคงเหลือดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 63 สัญญา 79 แปลงสัมปทาน

ที่น่าสนใจก็คือการสัมปทานปิโตรเลียมที่ผ่านมาประเทศไทยได้ค่าตอบแทนจากเอกชนที่ได้รับค่าภาคหลวงเพียงประมาณร้อยละ 12.5 ของปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียม
ซึ่งถือว่าผลตอบแทนที่ให้กับรัฐนั้นต่ำมาก

เปรียบเทียบกับประเทศโบลิเวีย ซึ่งผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันน้อยกว่าประเทศไทย แต่ก็ได้รับผลตอบแทนให้กับรัฐสูงถึงร้อยละ 82

เปรียบเทียบกับประเทศคาซัคสถาน ได้รับผลตอบแทนจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมจากเอกชนได้สูงถึงร้อยละ 80

รัสเซีย
ได้รับผลตอบแทนจากเอกชนในการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมสูงถึงร้อยละ 90 ของรายได้ในส่วนที่ราคานั้นสูงกว่า 25 เหรียญต่อบาร์เรล

ประเทศไทยจึงได้รับค่าภาคหลวงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่ประชาชนคนไทยกลับต้องใช้ราคาพลังงานที่สูงยิ่งในราคาที่อ้างว่าเป็นไปตามกลไกลตลาดโลก เพื่อสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มธุรกิจพลังงานที่จำกัดความร่ำรวยเอาไว้เพียงไม่กี่คน

ประเทศไทยจึงเสียระโยชน์ถึง 2 ด้าน

ด้านหนึ่งประชาชนคนไทยยังคงต้องใช้พลังงานแพงเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเหมือนเดิม

ในขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐไทยกลับได้ผลตอบแทนต่ำติดดิน ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กลับใครทั้งสิ้นเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเช่นกัน

ปัจจุบันส่วนแบ่งปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วในการสัมปทานของประเทศไทยที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเชฟรอนได้มากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 สูงถึงร้อยละ 50.5 ของปริมาณสัดส่วนปิโตรเลียม
รองลงมาเป็นอันดับที่ 2 ก็คือกลุ่มบริษัท ปตท. มีสัดส่วนร้อยละ 29.2 แต่ผลประโยชน์ใน ปตท. ร้อยละ49 ก็ตกอยู่กับผู้ถือหุ้นคนไทยเพียงไม่กี่คนอยู่ดี

นิตยสารและเว็บไซต์ฟอร์จูน 500 ได้จัดอันดัเชฟรอนให้เป็นบริษัทที่มีรายได้สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก โดยมีรายได้ต่อปีสูงถึง 245,621 ล้านเหรียญสหรัฐ (7.37 ล้านล้านบาท) และมี “กำไร”สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกสูงถึง 26,895 ล้านเหรียญสหรัฐ (806,850 ล้านบาท)

ในขณะที่ ปตท. ก็ได้ถูกเลื่อนจากอันดับที่ 128 ของโลก มาเป็นอันดับ 95 ของโลกด้วย
รายได้ 7,969 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.39 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐ (103,680 ล้านบาท)


แต่ล่าสุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ก็กำลังจะดำเนินการต่อไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 นี้ โดยเป็นการเปิดสัมปทานทั้งหมด 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลงและอ่าวไทย 5 แปลง ด้วยผลตอบแทนให้กับรัฐต่ำติดดินเหมือนเดิม

Edited by Siren, 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 09:26.

Now!  Restart Thailand  


#2 Siren

Siren

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,336 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 09:30

อันนี้เป็นจดหมายจาก พลเอกจรัลค่ะ


พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ในฐานะเป็นประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย) จึงได้ทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อขอให้ระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้

“ด้วยคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งชององค์กรสาธารณะประโยชน์ ดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหาด้านยุทธศาสตร์ให้แก่สังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนมาตั้งแต่ พ.ศ.2555 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการธุรกิจพลังงานที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน จึงได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และจากแหล่งต่างๆในประเทศและต่างปะเทศโดยมีผลการศึกษาที่ใคร่ขอนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณา ดังนี้

1. ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ประเทศไทยรวมถึงอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมันและก๊าซที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับสูงของโลกอาณาเขตหนึ่ง และแหล่งข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ประมาณว่าประเทศไทยมีปริมาณปิโตรเลียมจำนวนมากเป็นอันดับค่อนข้างสูงของโลก และสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่มากกว่าประเทศในกลุ่ม OPEC บางประเทศ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยเป็นมูลค่าปีละกว่า 3.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากการให้สัมปทานการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในผืนแผ่นดินไทยใน 20 รอบที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาติ ที่เป็นสมบัติของไทยทุกคนในระดับที่ควรจะเป็น

2. การเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมครั้งใหม่รอบที่ 21
(ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ประกอบไปด้วยสัมปทานบนบก 17 แปลง (ภาคกลางและ ภาคเหนือ 6 แปลง ตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง) และอ่าวไทย 5 แปลง รวมพื้นที่กว่า 45,000 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นการหยิบยื่นให้โอกาสแก่ผู้ยื่นขอสัมปทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทฯข้ามชาติ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับน่าจะทำให้รัฐฯขาดรายได้อย่างน้อยปีละ 1 แสนล้านบาท จากการให้สัมปทานในครั้งนี้ ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยจะขาดรายได้ตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2.55 ล้านล้านบาท เป็นอ่างต่ำ ทั้งนี้ยังไม่รวมส่วนต่ออายุอีก 10 ปีอีกด้วย

3. การกำหนดกฎระเบียบ วิธีการ ในรูปแบบของการสัมปทานและการกำหนดค่าภาคหลวงตลอดจนผลประโยชน์อื่นๆที่ประเทศควรจะได้รับในอดีตถูกกำหนดภายใต้บทสรุปที่ว่า “ประเทศไร้พลังงานธรรมชาติ” หรือ “มีแต่ไม่คุ้มค่าในการสำรวจ” เป็นผลให้รัฐบาลที่ผ่านมากำหนดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมเข้ารัฐ ในอัตราค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ระหว่างร้อยละ 5-15 ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถเก็บค่าภาคหลวงเข้ารัฐฯ ได้เพียงประมาณร้อยละ 12 เท่านั้น

4. หากประเทศไทยเปลี่ยนการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศผู้ให้สัมปทานที่เก็บค่าภาคหลวงระดับสูงเช่น ประเทศเวเนซูเอลา หรือประเทศโบลิเวีย น่าจะมีรายได้จากการเก็บค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเพิ่มขึ้นและเพียงพอในการดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการได้อย่างราบรื่นโดยไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ


5. การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของไทยที่ผ่านมาได้มีส่วนค้ำจุนระบบเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งมาโดยตลอดมา และหน่วยงานเอกชนไทยสามารถสร้างหน่วยธุรกิจด้านการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมขึ้นมาได้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพและสมรรถนะในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในประเทศได้เอง สมควรได้นำความสามารถดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม จึงใคร่ขอกราบเรียนเสนอแนะให้รัฐบาลกรุณาพิจารณา โดยเร่งด่วนดังนี้

1. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและรับรู้ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการปิโตรเลียมของชาติ เพื่อความโปร่งใสและเพื่อประโยชน์ของลูกหลานไทยในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

2. ควรระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 นี้ไว้ก่อน เพื่อทบทวนมาตรการต่างๆ ให้ประเทศไทยและประชนชาวไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ
ได้แก่

2.1 ทบทวนกฎระเบียบและประกาศที่กำหนดการเก็บค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15 และปรับปรุงวิธีการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ทั้งระบบ โดยพิจารณาเพเปรียบเทียบ (Benchmark) กับประเทศที่เก็บค่าภาคหลวง (เช่น ประเทศเวเนซูเอลา และประเทศโบลิเวีย เป็นต้น) เป็นพื้นฐานในการอ้างอิง

2.2 ทบทวนระบบการแบ่งกำไรจากผู้รับสัมปทานเพื่อให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม

2.3 พิจารณาให้หน่วยงานของคนไทยมีสิทธิและหน้าที่หลักในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในอาณาเขตประเทศไทยเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของชาติในระยะยาว

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดกรุณาพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

พลเอกจรัล กุลละวณิชย์
ประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม

Now!  Restart Thailand  


#3 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 09:50

พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองเรื่องนี้ไปเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา

http://www.facebook....&type=1

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนตัวผมคิดว่าก็คงหยุดอะไรไม่ได้

แต่ก็ขอชื่นชมทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ในการพยายามนำความถูกต้องชอบธรรมกลับคืนสู่สังคมไทย รวมถึงคุณ จขกท.ด้วย

#4 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 10:47

ดันครับ

เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#5 Siren

Siren

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,336 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:11

พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองเรื่องนี้ไปเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา

http://www.facebook....&type=1

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนตัวผมคิดว่าก็คงหยุดอะไรไม่ได้

แต่ก็ขอชื่นชมทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ในการพยายามนำความถูกต้องชอบธรรมกลับคืนสู่สังคมไทย รวมถึงคุณ จขกท.ด้วย

เห็นว่า คณะกรรมาธิการการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและการเสริมสร้างธรรมภิบาล วุฒิสภา ที่คุณรสนา เป็นประธานกำลังเกาะติดเรื่องนี้อยู่ และกระทรวงพลังงานต้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในวันที่ 19 กรกฎานี้นี่ค่ะ (รมว.ส่งรองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และผู้อำนวยการสำนักบริหารสัมปทานปิโตรเลียมเป็นตัวแทนไปชี้แจงครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ค่ะ

Now!  Restart Thailand  


#6 ขุนพลชิน

ขุนพลชิน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,053 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:22

น่าจะตั้งว่าถ้าราคาเกิน 30 ต้องมีส่วนแบ่งเพิ่มให้รัฐอีก 50% จากรายได้การขาย ?? ทำได้ป่าว ไม่มีความรู้

#7 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:31

ผมว่าท่าพวกเราคนไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศ..ท่าร่วมแรงร่วมใจกันผมว่าน่าจะเปลี่ยนแปลงได้นะครับ...ท่าเราออกมารวมตัวรวมพลังเรียกร้องความจริง..ผมว่ามันน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง......ใครเห็นด้วยบ้างครับ..ท่าเราปล่อยให้เงียบ..มันก็จะเงียบต่อไป...

#8 Siren

Siren

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,336 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 11:48

อันนี้ เป็นประเด็นที่น่าสนใจบางส่วนที่กระทรวงพลังงานเข้าชี้แจงคณะกรรมาธิการฯ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 นี้ค่ะ (ทีมา http://thaipublica.o...eum-monopoly-2/ )

น.ส.รสนาถามว่า ค่าภาคหลวงที่มีคนตั้งคำถามว่าน่าจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพราะสัดส่วนที่ได้ค่อนข้างต่ำ ขณะที่ราคาปิโตรเลียมพุ่งขึ้นสูงมากแต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไม่ได้เพราะเหตุใด

นางบุญบันดาลชี้แจงว่า ในกรณีของบริษัทเชฟรอน ละบริษัทปตท.สผ. เป็นผู้ได้รับสัมปทานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ภายใต้ระบบสัมปทานแบบไทยแลนด์วัน (Thailand 1) ซึ่งมีค่าภาคหลวงเป็นค่าคงที่อยู่ที่ 12.5 % บวกกับภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50 % ต่อมาปี 2532 มีการเปลี่ยนรูปแบบของการจัดเก็บค่าภาคหลวงใหม่ในลักษณะที่ถ้าผู้สัมปทานมีผลประโยชน์มากขึ้นรัฐก็จะมีผลประโยชน์มากขึ้นตาม โดยมีการเปลี่ยนค่าภาคหลวงจาก 12.5% เป็นแบบขั้นบันไดระหว่าง 5-15% แหล่งที่มีขนาดเล็กจะได้มีการพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้ ขณะที่แหล่งขนาดใหญ่จะเก็บค่าภาคหลวงมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ โดยในกรณีถ้าเป็นแหล่งขนาดใหญ่หรือมีราคาน้ำมันสูงขึ้น รัฐจะได้เพิ่มจากตัวนี้ รวมไปถึงการเก็บภาษีปิโตรเลียมอีก 50 % ฉะนั้น ผลประโยชน์ตอนนี้ของรัฐมาจากการเก็บค่าสัมปทานในระบบไทยแลนด์ทรี (Thailand 3) เมื่อคิดในสัดส่วนของการแบ่งผลประโยชน์กันแล้วส่วนที่รัฐได้จะอยู่ที่ 60-75 % โดยอัตราส่วนตรงนี้จะนำมาใช้กับการเปิดสัมปทานรอบที่ 21

น.ส.รสนากล่าวว่า เหตุใดเมื่อคิดเป็นเม็ดเงินแล้ว ค่าตอบแทนที่รัฐได้รับมีจำนวนไม่ถึง 60-70 % ตามที่อ้าง แต่อยู่ที่ 29 % เท่านั้น

นางบุญบันดาลกล่าวว่า ในการแก้กฎหมาย พ.ศ. 2532 ที่มีการเปลี่ยนระบบใหม่ไม่ได้มีผลย้อนหลังไปใช้กับผู้รับสัมปทานรายเดิม ถ้าจะให้คำนวณตัวเลข จะต้องนำเฉพาะผู้ได้รับสัมปทานเฉพาะผู้ที่อยู่ภายใต้กฎหมายหลังปี 2532 มาคำนวณ

น.พ.เจตน์ถามว่า สัมปทาน 2514 มีอายุกี่ปี มีการต่ออายุสัมปทานหรือไม่ ในสัญญาสัมปทานนั้นผลประโยชน์ที่ได้เพิ่มขึ้นจากการต่อสัญญามีอะไร

นางบุญบันดาล กล่าวว่า ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ม. 25 ระบุว่า ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมมีระยะเวลา 8 ปี ถ้าผู้ที่ได้รับสัมปทานปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการ มีสิทธิขอต่อระยะเวลาสำรวจอีก 4 ปี ม. 26 ระบุว่า ระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมเป็นระยะเวลา 30 ปี มีสิทธิขอต่ออีก 10 ปี ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาผู้ได้รับสัมปทานคือบริษัท ปตท.สผ. กับบริษัทเชฟรอน ได้ขอใช้สิทธิขอต่อสัมปทานระยะเวลาการผลิตออกไป เพราะสัมปทานแรกที่ได้ 30 ปี จะสิ้นสุดในปี 2555-2556 ซึ่งสัมปทานของทั้ง 2 บริษัทยึดแบบไทยแลนด์วันตามสัญญาสัมปทานเดิม แต่ทางคณะกรรมการปิโตรเลียมเห็นว่าข้อกฎหมายสามารถมีการเจรจาตกลงกันได้ จึงเป็นที่มาที่ทางบริษัทเชฟรอนต้องจ่ายผลประโยชน์เพิ่มขึ้นประมาณ 750 ล้านเหรียญสหรัฐตลอดระยะเวลา 10 ปีที่จะได้รับการต่อสัมปทาน ส่วน ปตท.สผ. ยอมจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ของปริมาณสะสมของปิโตรเลียมที่ทำการผลิตขึ้นมา

ด้าน มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เลขานุการ กมธ. ถามว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2532 มีการแก้ไขจากเดิมที่เก็บค่าภาคหลวง 12.5% เป็นการเก็บแบบขั้นบันได 5-15% ถ้ามีการผลิตได้ 1,000 บาร์เรลต่อวัน ค่าภาคหลวงจะอยู่ที่ 5% ผลตอบแทนที่รัฐจะได้ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง และในท้าย พ.ร.บ. ยังหมายเหตุว่าเนื่องจากราคาปิโตรเลยมตกต่ำ แต่ 5-7 ปีที่ผ่านมา ราคาปิโตรเลียมเพิ่มสูงขึ้นแต่ พ.ร.บ. กลับไม่ถูกแก้ ดังนั้น หมายเหตุท้าย พ.ร.บ. ปี 2532 ขัดกับภาวะในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง กระทรวงพลังงานน่าจะเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวหรือไม่

นางบุญบันดาลกล่าวว่า เหตุผลที่ปรากฏอยู่ในการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม อันดับแรกคือ แหล่งปิโตรเลียมของไทยเหลือแต่แหล่งขนาดเล็กที่ผลิตประมาณ 300 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ผู้ที่ได้รับสัมปทานในรอบแรกๆ จะได้แหล่งสัมปทานขนาดใหญ่ซึ่งสามารถผลิตได้ถึง 70% ของปิโตรเลียมที่ไทยผลิตได้ทั้งหมด เหตุผลที่สองมาจากค่าน้ำมันที่ต่ำลง เราเก็บค่าภาคหลวงที่ 12.5% แหล่งขนาดเล็กไม่สามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้ จึงมีการแก้กฎหมายว่าแหล่งขนาดเล็กเก็บน้อยแต่แหล่งขนาดใหญ่ก็เก็บเพิ่มขึ้น เพราะเรามองความเป็นธรรม เขามาลงทุนสำรวจโดยที่รัฐไม่ได้จ่ายเงินค่าการสำรวจแต่อย่างใด ผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนทั้งหมด ความเสี่ยงจะอยู่กับผู้รับสัมปทาน แต่ถ้าเมื่อใดมีการขุดขึ้นมา เราถึงจะเข้าไปเก็บในตัวของผลประโยชน์ตัวนั้น เพราะเราเองอยากมีแหล่งปิโตรเลียมในประเทศ
“เชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ทำการทบทวนและทำการศึกษาตัวนี้มาโดยตลอด มองว่าแหล่งของไทยยังเป็นแหล่งที่มีขนาดเล็ก สู้ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ไม่ได้อยู่แล้ว แต่ในส่วนของประเทศกัมพูชานั้นยังไม่มีการผลิตปิโตรเลียมขึ้นมา” นางบุญบันดาลกล่าว

น.ส.รสนากล่าวว่า แม้ว่าประเทศกัมพูชาจะยังไม่มีการผลิต แต่กำหนดเงื่อนไขว่าจะเก็บค่าภาคหลวงคงที่ 12.5 % หลังจากนั้นส่วนแบ่งของรัฐที่เป็นเรื่องกำไรน้ำมัน 40-60 % ก๊าซ 35 % ถามว่าทำไมเขาถึงสามารถทำอย่างนี้ได้ แต่ของเรายังอยู่เหมือนเดิมทุกอย่างเลย นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ ยังมีกำหนดเงื่อนไขว่าไม่ต้องการส่วนแบ่งกำไรแล้ว แต่เปลี่ยนเป็น Production Sharing ขุดมาเท่าไหร่ก็แบ่งกันเลย ซึ่งตนคิดว่าวิธีการนี้ดีที่สุด ถ้าจะเปลี่ยน อุปสรรคอยู่ตรงไหน รวมไปถึงอุปกรณ์การขุดเจาะเป็นของรัฐใช่หรือไม่ แต่ของไทยอุปกรณ์ไม่ตกของรัฐ ต้องให้รายเก่าต่ออายุไปเรื่อยๆ และอุปกรณ์ทุกอย่างที่มีการขนเข้ามาได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งอุปกรณ์ที่ขนเข้ามามีมูลค่ากว่า 1.7 หมื่นล้านดอลล่าร์ เรื่องดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่

นางบุญบันดาลกล่าวว่า ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีลักษณะข้อตกลงที่ไม่เหมือนกัน ประเทศเราเลือกระบบที่เหมาะกับประเทศ เพราะเราต้องการให้มีการสำรวจพบแหล่งในประเทศ ขณะที่ผลการสำรวจข้อมูลที่ได้มานั้น แหล่งของไทยไม่ได้มีมากเท่ากับมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย แล้วแต่ว่าจะใช้ลักษณะไหนที่เหมาะกับไทย ทั้งนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยืนยันว่า ระบบสัมปทานแบบไทยแลนด์ทรี ที่จะใช้กับการขอเปิดสัมปทานรอบที่ 21 มีความเหมาะสมกับการเปิดสัมปทานในครั้งนี้มาก
“ส่วนที่ กมธ. ตั้งข้อสังเกตว่า สถานการณ์ในปี 2532 กับปัจจุบันส่วนไหนมีเหมือนและต่างกันนั้น ขอยืนยันเหตุผลเดิมว่า ขณะนี้แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยเป็นแหล่งขนาดเล็ก ไม่ใหญ่เหมือนที่ค้นพบในปี 2514 ส่วนที่ระบุถึงค่าน้ำมันที่ต่ำลงจึงต้องการที่จะปรับปรุงใหม่นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ว่าให้ประโยชน์กับผู้รับสัมปทานที่อาจะเจอแหล่งขนาดเล็กและเสียค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในลักษณะที่มีราคาน้ำมันสูง ก็จะมีตัวผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ค่าภาคหลวงที่ไปถึง 15 % เป็นการเก็บส่วนเพิ่มที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นเราก็จะได้ค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้นตามมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่เพิ่มขึ้น และได้ภาษีเพิ่มขึ้นจากตัวกำไร” นางบุญบันดาลกล่าว

อย่างไรก็ตาม มล.กรกสิวัฒน์ แย้งว่า “กฎหมายปี 32 น่าจะล้าสมัยกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น หลุมเจาะที่ 1,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็น 58 ล้านลิตรต่อปี หลุมนี้ถ้าเป็นกฎหมายเดิมได้ 12.5% ถ้าเป็นปัจจุบันจะเหลือ 5 % หลุมนี้มีมูลค่าปิโตรเลียมทั้งสิ้น 1,160 ล้านบาท ในปี 2532 ออกมา 100 กว่าล้านก็โอเค แต่วันนี้ราคาพลังงานปรับขึ้นไปแล้วเป็น 100 เหรียญ กฎหมายตัวนี้ไม่ทันสมัยแล้ว และช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งสูง มีหลายประเทศลุกขึ้นมาแก้ไขกฎหมายกันหมดเลย โดยเฉพาะอเมริกาใต้ มีแต่ไทยประเทศเดียวที่ไม่แก้ และงบการเงินวันนี้อย่าง ปตท.สผ. รายงานว่าได้กำไร 8.4 หมื่นล้าน สูงขึ้นจากปีก่อน 7 หมื่นกว่าล้าน ตัวเลขที่ปรากฏไม่แสดงให้เห็นว่าเป็นธุรกิจที่ยังยากลำบาก”

Now!  Restart Thailand  


#9 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 21:09

ช่วยได้เต็มที่คือสาบแช่ง
ให้คนทรยศต่อแผ่นดินทั้งหลาย
จงได้รับทุกข์ทรมานทั้งตังเอง
วงษ์วานว่านเครือ และผู้เกี่ยวข้อง

จงชิบหายไวๆเถิด
อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง

#10 Toys

Toys

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 641 posts

ตอบ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 21:50

แมร่งเอ๊ย................ :angry: :angry: :angry: :angry: :angry: