Jump to content


Photo
- - - - -

ศาลรธน.เอาอะไรมาคิดในการวินิจฉัยเมื่อ 13 กค.55 จากม.ทักษิณ


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 kokkai

kokkai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,237 posts

ตอบ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:19

วันจันทร์ที่ 16 กรกฏาคม 2012 เวลา 15:51 น. เขียนโดย ดร. ศาสดา วิริยานุพงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์และ

รักษาการรองผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ หมวด เวทีทัศน์

(ผมชอบความเห็นข้อนี้ครับ)

โดยประเด็นที่หนึ่ง คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าว่าผู้ฟ้องมีอำนาจที่จะฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก

มาตรา 68 วรรคสอง ให้สิทธิผู้ที่รับทราบการกระทำตามวรรคหนึ่ง สามารถเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จ

จริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว และประชาชนผู้ทราบการกระทำตาม

วรรคหนึ่งสามารถที่จะยื่นร้องโดนตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการตีความในทางยอมรับสิทธิ ไม่ใช่เป็นการตัดสิทธิ

ของผู้ที่ทราบการกระทำตามวรรคหนึ่ง ในการที่จะ พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ดังนั้นผู้ร้องจึงมีสิทธิในการยื่นร้องโดยตรง

ต่อศาลรัฐธรรมนูญ

โดยถ้าเราพิจารณาตามเจตนารมณ์ของการมีองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือพิทักษ์รัฐ

ธรรมนูญ การที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎเกณฑ์สูงสุดในบรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งปวงตามทฤษฎีของ Hans Kelsen

นักกฎหมายชาวออสเตรีย (1881-1973) ที่เรียกว่าทฤษฎีรามิดของกฎเกณฑ์ (Piramide des norms) หรือ ลำดับชั้น

ของกฎเกณฑ์ (Hiérarchie des normes) กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในระดับรองมาจึงต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น

กฎเกณฑ์สูงสุด ซึ่งก่อให้เกิดระบบการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย (Le contrôle de

constitutionnalité des lois) หรือกล่าวได้ว่าการออกกฎหมายใดๆ จะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือที่เรียกว่าหลัก

ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (le principe de constitutionnalité)

ดังนั้นจึงจะต้องมีการการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (contrôle de constitutionnalité) โดยมีองค์กรที่ทำ

หน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย เพื่อเป็นการประกันความเป็นกฎหมายสูงสุดของ

รัฐธรรมนูญ สำหรับองค์กรที่เรียกว่าศาลรัฐธรรมนูญนี้เป็นรูปแบบของศาลพิเศษที่แยกออกจากศาลยุติธรรมมีอำนาจ

หน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะคดีรัฐธรรมนูญเท่านั้น โดยรูปแบบของศาลพิเศษนี้มีขึ้นครั้งแรกในประเทศออสเตรีย

เมื่อปี ค.ศ. 1920 จากแนวคิดของ Hans Kelsen ต่อมาหลายประเทศก็ได้นำรูปแบบนี้ไปใช้รวมทั้งประเทศไทย ดัง

นั้น ถ้าไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ของตนแล้วจะมีศาลรัฐธรรมนูญไว้ทำไม

http://www.isranews....6-08-52-08.html