1. อย่างแรกที่ผมขอพูดก่อนคือเรื่องการลงประชามติ ที่มักมีการอ้างจากฝ่ายไม่เห็นด้วยว่า รมธ 50 ได้มาเพราะความกลัว เพราะนั่น เพราะนี่ เพราะนู่น เพราะปืน บลา ๆ ๆ ผมเอาอันนี้มาให้ดูก่อน
ที่มา http://www.oknation....t.php?id=102777
เมื่อเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ถูกฉีกทิ้ง และรัฐธรรมนูญฉบับปี50 ถูกร่างขึ้นมาใหม่ โดยคณะกรรมการที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร และเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จสิ้น ได้กำหนดการลงประชามติให้มีขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2550 ซึ่งระยะเวลาก่อนลงประชามติ1เดือนนั้น เกิดความเคลื่อนไหวของคนหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มอำนาจใหม่และอำนาจเก่า ต่างรณรงค์เรื่องรับ-ไม่รับ ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่ทั้งสองขั้วต่างช่วงชิงอำนาจให้กับฝ่ายตน
[ฝ่ายสนับสนุน] สำหรับฝ่ายผู้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ที่กล่าวถึงรัฐธรรมนูญปี 50 ว่าได้แก้ไขจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญปี 40เกือบทุกมาตรา และผู้สนับสนุนหลักที่เห็นได้ชัด ก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคมช. ที่ต่างรณรงค์ให้ประชาชนออกไปรับร่าง และจะได้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ซึ่งกลุ่มการเมืองที่เคยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลทักษิณอย่างพรรคประชาธิปัตย์ก็เห็นด้วยว่า “เป็นการเริ่มต้นฟื้นฟูประชาธิปไตย ให้กลับมา” อีกทั้งกลุ่มของพันธมิตรฯประชาธิปไตย นำโดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุลก็กล่าวต่อชาวพันธมิตรว่า “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สมควรรับอย่างยิ่ง เพราะสามารถทำลายล้างระบอบทักษิณให้สิ้นซาก” รวมถึงกลุ่มของนักธุรกิจที่กล่าวถึงเศรษฐกิจของชาติที่หยุดชะงัก ซึ่งพวกเขาต่างเชื่อมั่นว่า ภายหลังลงมติรับร่างเศรษฐกิจจะต้องดีขึ้นแน่นอน ซึ่งกลุ่มนี้ใช้ “ไฟเขียว” เป็นสีของการแสดงออกถึงการ “รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ
[ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน] ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้ ที่เป็นกลุ่มใหญ่ๆก็ได้แก่ กลุ่มนปก.ที่รวมตัวมาจากม็อบพีทีวีที่ท้องสนามหลวง ,กลุ่มคนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ,กลุ่มไทยรักไทย ที่มี “คำประกาศเจตนารมณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” ซึ่งมีเนื้อหาคว่ำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และได้ใช้ “สีแดง” ภายใต้คำขวัญ “we vote no”และ “ไม่รับรัฐธรรมนูญปี50” และนอกจากกลุ่มทางการเมือง ยังมีกลุ่มของนักวิชาการที่มีจุดหมายอยู่ที่ “ล้มรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐประหาร” โดยทั้งที่มาและเนื้อหาของร่างฉบับนี้มาจากการยึดอำนาจ เช่น “เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร” ,กลุ่มอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งม.เที่ยงคืน,กลุ่มอาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยอาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และกลุ่มอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่มา: http://th.wikipedia....รมนูญ_พ.ศ._2550
[ฝ่ายคมช] การห้ามการรณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ[7]ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ได้ระบุว่าความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี สำหรับผู้ที่กระทำการดังนี้
- ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- ให้ เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่น อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง
- หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียง หรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
- เปิด ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพ ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ นำไป หรือขัดขวางการส่งซึ่งหีบบัตรออกเสียงหรือบัตรออกเสียง เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากแทบทุกภาคว่ามีการแจกใบปลิวเนื้อหาบิดเบือนรัฐธรรมนูญ [10] โดยมีเนื้อหาเหมือนกันจึงมองได้ว่าใบปลิวออกมาจากแหล่งเดียวกัน จากการวินิจฉัยแล้วน่าจะเป็นคนมีเงินที่มีข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของประชาชนถึงขนาดส่งจดหมายกระจายได้ทั่วประเทศเช่นนี้ ด้านนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวระหว่างเสวนาเรื่อง "คว่ำ-ไม่คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ประเทศชาติรอดไม่รอด" ตอนหนึ่งว่าได้มีการส่งจดหมายไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เล่าว่ามีการปล่อยข่าวว่าถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบ ประธานองคมนตรีจะได้รับการยกฐานะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
การซื้อเสียง
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบการกระทำผิดที่มีการดำเนินคดีแล้ว 17 คดี โดย 15 คดี เป็นการแจกใปปลิวบิดเบือนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญและอีก 2 คดีเป็นการซื้อเสียงที่จังหวัดบุรีรัมย์รวมทั้ง พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กกต. ยังได้ลงนามหนังสือถึง กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้แจ้งความดำเนินคดีต่อ นายโสภณ ซารัมย์ อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย กลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ ในข้อหาแจกเงินหัวละ 200 บาท เพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญที่จังหวัดบุรีรัมย์ด้วย[16]
สิ่งที่ผมอยากจะบอกสำหรับเรื่องนี้คือ นี่คือแฟร์เกม และประชาชนก็มีสิทธิที่จะเลือกว่าจะรับหรือไม่รับ ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับไม่รับ ถ้าเห็นด้วยก็รับ
2. ผลประชามติค่อนข้างชัดเจนว่า สูสี ห่างกันแค่ห้าล้านเสียง ผมถามว่า ถ้าเหตุข้อหนึ่งคือความกลัว แล้วจะมีคนอีกสิบล้านกว่าคนมาลงเลือกว่าไม่รับได้อย่างไร (นี่เขาเรียกว่าขี้แพ้ชวนตี เหมือนที่บางส่วนของพวกสิบห้าล้านเสียงตอนนี้อ้างหรือเปล่า)
ที่มา: http://th.wikipedia....รมนูญ_พ.ศ._2550
ผลการออกเสียงประชามติ
ผลการออกเสียงตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550[17] ผลการออกเสียง:
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 25,978,954[18] 57.61%
จำนวนผู้ไม่มาใช้สิทธิ 19,114,001 42.39%
ผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 45,092,955
การลงคะแนน:
บัตรที่นับเป็นคะแนน 25,474,747[18] 98.06%
บัตรเสีย/คืนบัตร 504,207[18] 1.94%
รวม 25,978,954
การเห็นชอบและไม่เห็นชอบ:
เห็นชอบ 14,727,306[18] 57.81%
ไม่เห็นชอบ 10,747,441[18] 42.19%
รวม 25,474,747
เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวมาต่อ
3. ความแตกต่างระหว่างรธน 40 กับ 50
เรื่องที่ชัดเจนคือเรื่องขจัดสิทธิของสส นักการเมืองที่มากเกินไป, ลดการได้เปรียบเสียเปรียบจากกฏจำนวนสสปาร์ตีลิสต์, และให้อำนาจองค์กรอิสระมากขึ้นในการตรวจสอบสสและนักการเมือง โดยเฉพาะเรื่องการทุจริตและการใช้อำนาจในทางมิชอบ รวมถึงการซื้อเสียงและขายเสียงด้วย
ผมไม่สามารถเอารายละเอียดมาลงได้หมด ใครสนใจไปดูได้ที่นี่ครับ http://www.bangkokbi...550---2540.html
รธน 50 ยังคงไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างชัดเจน ไม่ได้มุ่งหมายสร้างการปกครองอันเป็นเผด็จการ
ใครที่ไม่เห็นด้วยก็เปิดให้แก้เป็นรายมาตราได้
ผมถามว่า ใครเสียสิทธิและประโยชน์จากรธน 50 ครับ ไม่ใช่สสและนักการเมืองหรือ
4. ประเด็นนี้ ถือเป็นจุดอ่อนมากที่สุดของรธน 50 แต่ ถ้าจะเปรียบเทียบกับฉบับอื่นในเรื่องความเป็นประชาธิปไตยก็ถือว่าดีอยู่มาก คราวนี้ผมจะเปรียบเทียบกับรธน 40 น่าจะเหมาะสมที่สุด
รธน 40 มาจาก สสรปี 39 และมีรายละเอียดดังนี้
ที่มา http://th.wikipedia....รมนูญ_พ.ศ._2539
สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ที่ประชุมรัฐสภาสรุปให้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน โดยมีที่มาจากตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนทางอ้อม ทั้งหมด 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการ เสนอรายชื่อโดยสถาบันการศึกษา จำนวน 23 คน
ส่วนสมาชิกที่เป็นของตัวแทนประชาชนมีที่มา 3 ขั้นตอนดังนี้
1.จากการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ
2.ให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเองให้เหลือจังหวัดละ 10 คน รวมเป็น 760 คน
3.จากนั้นจึงส่งรายชื่อทั้ง 760 คน ให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกขั้นสุดท้ายให้เหลือจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน
โดยสมาชิกที่กล่าวถึงทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและตัวแทนนักวิชาการก็คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.
รธน 50 มาจาก สสรปี 50 และมีรายละเอียดดังนี้
ที่มา http://th.wikipedia....รมนูญ_พ.ศ._2550
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (ส.ส.ร.) เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ได้รับการสรรหามาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,982 คน (หมายเหตุ สมัชชาแห่งชาติของประเทศไทย (อังกฤษ: National People's Assembly of Thailand) เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพ มาประชุมกันเพื่อคัดเลือกกันเองไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) ลงมติคัดเลือกกันเอง เหลือ 200 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำการคัดเลือกเหลือ 100 คน
สัดส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ มาจากบุคคลในภาครัฐ 28 คน ภาคเอกชน 27 คน ภาคสังคม 23 คน และภาควิชาการ 22 คน หากจำแนกตามภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ 10 คน ภาคกลาง 68 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 คน และภาคใต้ 10 คน
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะคัดเลือกกันเองให้เหลือ จำนวน 25 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมเป็น 35 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตรงที่ขีดเส้นใต้สีแดง คือความแตกต่างของที่มาของสสรทั้งสองปี
ปี 40 สสรมาจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง มาจากการคัดเลือกส่วนหนึ่ง แล้วผ่านสสและสว กลายเป็นสสร
ปี 50 สสรมาจากการคัดเลือกของ สมัชชาแห่งชาติของประเทศไทย (ดูรายละเอียดที่นี่) การคัดเลือกสสรปี 50 คือให้ตัวแทนจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่สสร โดยผ่านการลงมติกันของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ให้ผมมองคือการเลือกคนที่มีคุณภาพเข้ามาทำงาน)
เอาละ ปี 40 เหมือนจะมีความเป็นปชตสูงกว่าก็จริง แต่ เมื่อร่างแล้วกลับไม่มีการถามประชาชนอีกครั้งว่ายอมรับกับรธนใหม่หรือไม่
เปรียบเหมือนซื้อบ้าน จ้้างคนให้ออกแบบ พอออกแบบเสร็จก็ชิ่งหายไป แล้วปล่อยให้คนซื้อบ้านต้องจำใจยอมรับกับบ้านที่ออกแบบมา
ปี 50 เหมือนจะไม่ผ่านกระบวนการปชต แต่ เมื่อร่างแล้วก็ถามว่าจะเอาไหม
เปรียบเหมือนซื้อบ้าน มีคนหาคนออกแบบมาให้ พอออกแบบเสร็จก็มาถามว่าจะเอาไหม
เห็นความแตกต่างหรือยังครับ ผมจะบอกว่า ไม่มีอันไหน ปชต มากกว่ากันหรอกครับ ถ้ามองในแง่นี้
เดี๋ยวจะมาต่อเรื่องที่ว่า การลงประชามติเพื่อรับรธน 50 เหมือนไม่มีตัวเลือกเลย แล้วอย่างนี้จะบอกว่ามีทางเลือกหรือเป็นปชตได้ยังไง
5. ถ้าผลประชามติออกมาว่า ประชาชนไม่เอารธนปี 50 คมชก็จะนำ รธน ปี 40 กลับมา ดังนั้น ประชาชนจึงมีทางเลือกว่าจะเอาฉบับไหน ไม่ใช่ว่าไม่มีทางเลือก
ที่มา http://www.meechaith...e=1&newsid=6122
คมช. เผยเตรียมใช้รัฐธรรมนูญปี 40 หากไม่ผ่านประชามติ
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ คมช. ให้ความชัดเจนกับประชาชนว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ คมช. จะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดมาประกาศใช้ว่า คมช.ไม่ต้องการเป็นผู้ตัดสินใจนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดมาประกาศใช้ เพราะการพิจารณาอาจไม่รอบคอบ และครอบคลุมเท่ากับร่างที่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่ผ่านการทำประชามติ คมช. จะนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาประกาศใช้ แต่เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญที่อยู่ระหว่างการพิจารณาน่าจะผ่านประชามติ เนื่องจากเป็นฉบับที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และมีการแก้ไขดัดแปลงจากรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 รวมทั้ง ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน
ซึ่งการประกาศดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากคำแนะนำของอภิสิทธิ์ว่า คมช ควรมีความชัดเจนว่าจะเอารธนฉบับไหนมาใช้ ถ้า รธน 50 ไม่ได้รับการยอมรับ
ที่มา: http://www.ryt9.com/s/ryt9/105431
[อภิสิทธิพูดว่า]...อย่างน้อยที่สุด ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน คมช.และรัฐบาลก็ต้องไปหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ ซึ่งก็ต้องบอกล่วงหน้า มิฉะนั้น คนไปลงคะแนนก็ไม่ทราบว่าถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะได้อะไรไปแทน ซึ่งรัฐบาลและคมช.ควรทำจุดนี้ และน่าจะประกาศเป็นจุดยืนออกมา ซึ่งตนได้ฟัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.พูดว่าจะนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นตัวตั้ง ซึ่งถ้าขยายความต่อไปว่าตรงไหนที่ต้องปรับปรุง ก็เป็นเรื่องที่ดี
ส่วนเรื่องที่บอกว่า คมช จะปรับแก้ไขรธน 40 โดยที่ไม่บอกว่าจะแก้อะไรบ้าง อันนี้ผมหาข่าวไม่เจอครับ เจอแต่คนตู่ข่าว...ฮา
--------------
จบแล้วครับ
Edited by Pasitnat, 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 18:37.