Jump to content


Photo
- - - - -

ไม่ค่อยเกี่ยวกะการเมือง...แต่บางทีมันก็เกี่ยวนะ --> เราเลือกลงโทษคนโกงเพื่อความเป็นธรรม ไม่ใช่เพื่อการแก้แค้น


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 O2Giant

O2Giant

    โปรแกรมมั่ว

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,135 posts

ตอบ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 07:50

นัก วิทยาศาสตร์ค่อนข้างเห็นตรงกันว่าความสงบเรียบร้อยของสังคมสร้างมาจาก -หรืออย่างน้อยก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับ- พื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ที่พร้อมจะลงโทษคนโกง แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยเห็นตรงกันในแง่ของเหตุผลที่คนเลือกที่จะลงทุนพลังงาน หรือทรัพยากรในการลงโทษคนอื่น บางคนก็คิดว่ามันเป็นระบบของการแก้แค้นแบบตาต่อตา-ฟันต่อฟัน (reciprocity) บ้างก็คิดว่ามนุษย์มีสามัญสำนึกของความเป็นธรรมอยู่ การโกงที่ละเมิดสามัญสำนึกตรงนี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงโทษขึ้น

เพื่อที่จะทดสอบว่าเหตุผลอะไรกันแน่ที่เป็นตัวตัดสินใจในการลงโทษคนโกง Nichola J. Raihani แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และ K. McAuliffe แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จึงออกแบบการทดลองขึ้นมาชุดหนึ่ง
ในการทดลองของนักวิจัยทั้งสอง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัคร 560 คนจะได้เข้ามาจับคู่ร่วมเล่นเกมออนไลน์ กฏของเกมมีดังนี้

  • อาสาสมัครทั้งสองในแต่ละคู่จะได้รับเงินเป็นจำนวนต่างๆ กัน สำหรับคู่ที่อยู่ในกลุ่ม A คนแรกจะได้เงิน 0.70 ดอลล่าร์ ส่วนคนที่สองได้เงิน 0.10 ดอลล่าร์; กลุ่ม B คนแรกได้ 0.70 ดอลล่าร์ คนที่สองได้ 0.30 ดอลล่าร์, กลุ่ม C คนแรกได้ 0.70 ดอลล่าร์ คนที่สองได้ 0.70 ดอลล่าร์

  • อาสาสมัครคนที่สองในแต่ละคู่มีสิทธิ์เลือกว่าจะโกงเอาเงิน 0.20 ดอลล่าร์มาจากคู่ของตัวเองหรือไม่

  • จากนั้นอาสาสมัครคนที่หนึ่งก็จะมีสิทธิ์เลือกว่าจะลงโทษคู่ของตัวเองหรือ ไม่ การลงโทษจะต้องเสียค่าต๋ง 0.10 ดอลล่าร์เพื่อแลกกับการตัดเงินคู่ของตัวเอง 0.30 ดอลล่าร์
นักวิจัยได้เอาความถี่ในการลงโทษระหว่างสามกลุ่มนี้มาเปรียบเทียบกัน ผลปรากฏว่า ในกรณีที่ไม่มีการโกงเกิดขึ้น ความถี่ในการลงโทษของทั้งสามกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันเท่าไรนัก อยู่ที่ประมาณ 10-13% (ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าไม่ถูกโกงแล้วจะลงโทษเพื่อนหาพระแสงอะไร โดยเฉพาะกลุ่ม A ที่ถ้าโดนตัดเงินนี่เท่ากับติดลบเลยนะ)
แต่ในกรณีที่เกิดการโกงขึ้น ความถี่ในการลงโทษจะเพิ่มขึ้นทันที ตรงนี้คงไม่น่าแปลกใจเท่าไร

ความแปลกมันอยู่ที่ความถี่ในการลงโทษไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่ากันทุกกลุ่ม กลุ่ม A และกลุ่ม B มีความถี่ในการลงโทษต่ำกว่ากลุ่ม C มาก ทั้งที่มูลค่าของการโกงคือ 0.20 ดอลล่าร์เท่ากัน (ความถี่ในการลงโทษของกลุ่ม A และ B อยู่ที่ประมาณ 15-17% ขณะที่กลุ่ม C ตัวเลขเกือบจะถึง 45%)

หากพิจารณาจำนวนเงินที่แต่ละคนได้ในเชิงสัมพัทธ์เทียบกับคู่ของตัวเอง เราจะเห็นความสัมพันธ์ทันที ในกลุ่ม A กับกลุ่ม B นั้น แม้มีการโกงเกิดขึ้น คนโกงได้เงินไม่สูงกว่าคนที่ถูกโกงแต่อย่างใด (หลังจากการโกง คู่ของกลุ่ม A จะได้เงิน 0.50 : 0.30 ส่วนกลุ่ม B ได้เงิน 0.50 : 0.50) แต่ว่ากลุ่ม C นั้นไม่ใช่ คนโกงจะได้เงินมากกว่าคนที่ถูกโกง (0.50 : 0.90) ความแตกต่างของเงินที่ได้จากการโกงในกลุ่ม C นั้นสูงมากจนแม้แต่ขนาดถูกลงโทษแล้วคนโกงก็ยังได้เงินมากกว่าอยู่ดี (0.40 : 0.60)

นักวิจัยจึงสรุปว่าความรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด การลงโทษที่แรงกว่าความต้องการแก้แค้น คนที่ถูกโกงและรู้สึกว่าผลที่เกิดขึ้นจากการโกงนั้นไม่เป็นธรรมจะมีแนวโน้ม ในการเลือกลงโทษคนโกงสูงมาก แม้ว่าการลงโทษนั้นจะมีต้นทุนที่ทำร้ายผลประโยชน์ของตนเอง แต่หากการโกงนั้นไม่ได้ทำให้คนที่ถูกโกงตกอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ คนส่วนมากกลับยอมทนรับสภาพการถูกโกง ไม่ลงโทษคนโกงเพื่อการแก้แค้นเอาคืน

งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน Biology Letters doi: 10.1098/rsbl.2012.0470
ที่มา - Jusci

---------- หากการโกงนั้นไม่ได้ทำให้คนที่ถูกโกงตกอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ คนส่วนมากกลับยอมทนรับสภาพการถูกโกง ไม่ลงโทษคนโกงเพื่อการแก้แค้นเอาคืน