Jump to content


Photo
- - - - -

... "คลังอาวุธ" ขบวนการเสรีไทย ...


  • Please log in to reply
53 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 ศรอรชุน

ศรอรชุน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,103 posts

ตอบ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 - 10:48

ปลอดประสพ โม้ไว้เยอะ ว่าน้ำจะไม่ท่วม สุดท้ายก็... "เอาไม่อยู่" เหมือนเดิม

ประกาศด่วน!!! ตามหาคนหาย(หัว)
http://webboard.seri...-ตามหาคนหายหัว/

"ควาย" ในความหมายของผม คือ คนที่มีความคิด เล่นเน็ตเป็น แต่แยกแยะ ดี ชั่ว ถูก ผิด ไม่ได้  

              มิได้หมายถึง ชาวรากหญ้า ที่เป็นเหยื่อในสงครามทางความคิดครั้งนี้

 

"คนชั่ว" จะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา... อยากให้ถึงวรรคท้ายของคำทำนาย ไวๆ ว่ะ...


#52 ห่วยแมน

ห่วยแมน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 438 posts

ตอบ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 - 11:05


เปรียบเทียบ คอป.-กสม.สรุปฆ่า91ศพ-เผาเมือง

Posted Image

เปรียบเทียบ คอป.-กสม.สรุปฆ่า91ศพ-เผาเมือง

Source - มติชน (Th)


Thursday, July 07, 2011 05:28

อย่างน้อย 2 องค์กรที่จัดทำรายงานสรุปเหตุการณ์สลายม็อบกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในช่วงเดือนมีนาคมพฤษภาคม 2553 มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ศพ และบาดเจ็บอีกนับพันคน ได้แก่ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)ที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นางอัมราพงศาพิชญ์ เป็นประธานทั้งสององค์กรมีบทสรุปผลการตรวจสอบเหตุการณ์"ฆ่าหมู่"ใจกลางเมืองหลวงและการใช้กำลังทหารเพื่อสลายม็อบคนเสื้อแดงใน "สาระสำคัญ" ดังนี้ในบทสรุปของ คอป. ที่มาจากการตรวจสอบเหตุการณ์สลายม็อบ นปช.ระหว่างเดือนเมษายนพฤษภาคม 2553 พบมีผู้เสียชีวิต 92 ราย บาดเจ็บ1,885 ราย แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 542 ราย พลเรือน1,343 ราย
มีการดำเนินคดีผู้ชุมนุมตามประเภทความผิดเป็น4 กลุ่มคดี 1.ก่อการร้าย 145 คดี 2.การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ 21 คดี 3.ทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ 86 คดี และ 4.กระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ 20 คดี
คอป.ยังสรุปอีกว่า เหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดงในครั้งนั้น อย่างน้อย 13 ราย เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ แต่ปรากฏว่ายังไม่ดำเนินการดังกล่าว
นอกจากนี้แล้ว คอป.ยังสรุปวิกฤตการณ์ขัดแย้งระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่า แม้เป็นดูเสมือนหนึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ยึดมั่นในอุดมการณ์แตกต่างกัน ในความเป็นจริงความขัดแย้งมีรากเหง้าของปัญหาหยั่งลึกถึงระดับโครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศ
"ความขัดแย้งที่เดิมอาจจะเริ่มจากความขัดแย้งระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคล แต่เมื่อผสมกับสภาพปัญหาเชิงโครงสร้างความเหลื่อมล้ำของสังคมและความอ่อนแอของกลไกในระบอบประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ โดยเฉพาะข้อวิจารณ์เกี่ยวกับความสอดคล้องกับหลักนิติธรรมของกลไกต่างๆ ของรัฐ ทำให้ปัญหามีความซับซ้อนมากขึ้น"
คอป.เห็นว่าทุกฝ่ายควรร่วมกันแสวงหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหา และการแสวงหาทางออกนั้นควรอยู่บนพื้นฐานของการค้นหาความจริงซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ของการนำประเทศสู่ความขัดแย้ง
ขณะที่ กสม.ตรวจสอบเหตุการณ์ชุมนุมของนปช.และการสลายม็อบระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ใน 9 กรณี

กรณีที่ 1 การสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ การปฏิบัติหน้าที่และผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่มีผลสืบเนื่องมาจาก นปช.ปลุกระดมมวลชนชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภาหรือลาออก บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นมา
กสม.สอบพยานบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 28 รายนปช. 54 ราย ผู้ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมแต่อยู่ในเหตุการณ์26 ราย รวมทั้งพยานเอกสาร เช่น ข้อเท็จจริงจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)ได้ข้อสรุปว่า ผู้ชุมนุมกระทำเกินกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และแม้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ แต่ในวันที่ 10 เมษายน การที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลุ่ม นปช.ต่อต้านและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ทั้งยังมีกลุ่มชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับผู้ชุมนุมถือว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีอาวุธและมีลักษณะเป็นกระบวนการที่พร้อมใช้อาวุธและความรุนแรงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงมิใช่การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
กสม.ยังระบุอีกว่า ในส่วนของรัฐบาล การขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไป รัฐบาลทำไปตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้ก่อนจริง เป็นการกระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้

กรณีที่ 2 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากระเบิดเอ็ม 79 บริเวณแยกศาลาแดงเมื่อวันที่22 เมษายน 2553
กสม.สอบถามจากพยานบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ21 คน และพยานเอกสาร สรุปว่าการชุมนุมของนปช.เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการใช้ความรุนแรง

กรณีที่ 3 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 คณะกรรมการเห็นว่าทหารเสียชีวิตจากอาวุธปืนและประชาชน รวมถึงทหารจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนทั่วไปและทหารที่เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ

กรณีที่ 4 เหตุการณ์กรณีการชุมนุมของกลุ่มนปช.บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย และการบุกเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาฯเมื่อวันที่ 29 เมษายน เข้าข่ายบุกรุก และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของโรงพยาบาล

กรณีที่ 5 เหตุการณ์กรณีการสั่งการของรัฐบาลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม รวมทั้งเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น การเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารต่างๆ
กสม.สรุปว่า นปช.ชุมนุมไม่สงบและมีอาวุธปืน มีกลุ่มบุคคลติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มม็อบ ส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ
ส่วนมาตรการกระชับพื้นที่สี่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบตั้งแต่วันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 ตามประกาศของ ศอฉ.นั้น กสม.เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่ามาจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียหาย และต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ

กรณีที่ 6 การเสียชีวิต 6 ศพและการกระทำในรูปแบบอื่นๆ ในวัดปทุมวนารามระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม
กสม.อ้างว่าการรวบรวมหลักฐานในชั้นนี้ ไม่มีพยานยืนยันว่าใคร ฝ่ายใดเป็นผู้ยิงทั้ง 6 ศพ และผู้เสียชีวิตบางรายได้ความว่าเป็นการเสียชีวิตนอกวัดบางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด แต่ทั้งหมดได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในวัด
กรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น และควรสืบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

กรณีที่ 7 เหตุการณ์กรณีนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเมื่อวันที่ 7เมษายน 2553 และระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล ตลอดจนการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสถานีวิทยุชุมชน กสม.เห็นว่านายกฯกระทำที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและเป็นการจำเป็นเหมาะสมในสถานการณ์ความรุนแรงและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

กรณีที่ 8 เหตุการณ์กรณีชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่ม นปช.ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-20 พฤษภาคม ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึง นปช.เจาะเลือดของผู้ชุมนุมและนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์และทำเนียบรัฐบาล นั้นถือว่าละเมิดสิทธิของผู้อื่น

กรณีที่ 9 การเสียชีวิตและบาดเจ็บของสื่อมวลชนเกิดขึ้นจากการยิงปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มบุคคลผู้ติดอาวุธแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ยิง และกลุ่มที่ติดอาวุธแฝงเป็นใคร ดังนั้น รัฐบาลจึงมีหน้าที่เยียวยาช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

--มติชน ฉบับวันที่ 8 ก.ค. 2554 (กรอบบ่าย)-- วันที่ 7 กรกฎาคม 2554
http://www.nhrc.or.t...hp?news_id=8012
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ = ประเทศไทย

#53 ศรอรชุน

ศรอรชุน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,103 posts

ตอบ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 - 14:30

--- การจำนำข้าว และการขายออกของรัฐบาล ---

คือเวลารับจำนำข้าว รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือก แล้วรัฐบาลจะมีข้าวเปลือกอยู่ในโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ

หลังจากนั้น เมื่ออคส.สั่งให้โรงสีส่งมอบข้าว โรงสีจะต้องส่งมอบข้าวเป็นข้าวสาร

โดยรัฐบาลจะมีสูตรคือ ให้ค่าสีข้าวตันละ 500 บาท และหักค่าแกลบค่ารำ ที่รัฐบาลไม่เอา เป็นมูลค่าขึ้นมา แล้วเอาส่วนต่างไปหักต้นข้าวหรือเพิ่มต้นข้าวให้รัฐบาล

เช่น ข้อมูลที่.....ได้มาคือได้ต้นข้าว 423 กก. เมื่อหักค่าสีข้าว แล้วกับค่าแกลบค่ารำ ต้นข้าวที่รัฐบาลจะได้ ก็อาจจะเป็น 440 กก. เพราะค่าสีแพงกว่า แกลบรำที่ได้

หลังจากนั้น จะหักค่ากระสอบ ค่าขนส่งไปโกดังกลาง สุดท้ายคือรัฐบาลจะได้ข้าว 406 กก.อย่างว่า และมีปลายข้าว ข้าวท่อนอีกส่วนหนึ่ง

คือ สรุปว่า รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือก แต่ที่ได้จริง ๆ จะเป็นข้าวสาร และขายเป็นข้าวสารครับ

Posted Image

ตอนนี้ตามบัญชี ทางคุณกิตติรัตน์ก็บอกแล้วว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน ทั้ง ๆ ที่หลักการการคิดก็น่าจะคิดจากมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ที่มีทั้งหมด

อย่างตอนนี้ข้าวขาวรัฐรับจำนำข้าวเปลือกมาประมาณ 16 ล้านตัน ได้ต้นข้าวปลายข้าวรวม ๆ กันแล้ว ก็ประมาณ 11 ล้านตัน บวกกับปลายข้าวของข้าวหอมมะลิอีกประมาณ 1 ล้านตัน ก็หมายความว่า รัฐมีข้าวสาร ที่มีมูลค่าตันละ 16,000 บาท อยู่ 12 ล้านตัน

แล้วข้าวหอมมะลิที่รับจำนำมาสามล้านกว่าตัน ก็หมายความว่ามีข้าวหอมมะลิ ที่มีมูลค่าตลาดตอนนี้ตันละ 32,000 บาท อยู่ 1.5 ล้านตัน

รัฐบาลจ่ายเงินรับจำนำไป (16 ล้านตัน * 15,000 บาท) + (4 ล้านตัน * 20,000 บาท) = 3.2 แสนล้านบาท

สินทรัพย์ที่รัฐบาลมีคือ (12 ล้านตัน * 16,000 บาท) + (1.5 ล้านตัน *32,000 บาท) = 2.4 แสนล้านบาท

หมายความว่า มูลค่าตามบัญชีนั้น ขาดทุนไปแล้ว 8 หมื่นล้านบาท อันนี้ยังไม่รวมค่าบริหารจัดการ ดอกเบี้ยเงินกู้ และการเสื่อมสภาพของข้าว

และอันนี้ยังไม่รวมถึงการขาดทุนเนื่องจากการทุจริต เพราะอันนี้คงมองเห็นออกมายาก นอกจากว่า รัฐจะเคลียร์สต๊อกจนเหลือ 0 แล้วดูว่าเหลือเงินเท่าไหร่จริง ๆ ก็อาจจะเห็นได้ว่า มีการทุจริตกันไปเท่าไหร่

ซึ่งจากที่พูดไป ถ้าหากข้าวสามารถขึ้นราคาไปเป็นตันละ 670 เหรียญ หรือตันละ 20,000 บาท สำหรับข้าวขาว และ 39,000 บาท สำหรับข้าวหอมมะลิ

สินทรัพย์ของรัฐก็จะเพิ่มมูลค่าเป็นเกือบ 3 แสนล้านบาท ถ้าแบบนี้ก็คือ รัฐจะขาดทุนจากการรับจำนำแค่ 20,000 ล้านบาท

แต่มันจะเป็นไปได้มั้ย ในราคาที่พูดถึงในหัวกระทู้ ก็คงต้องรอเวลาตัดสิน สิ้นปีก็น่าจะรู้


Lpg_Horse ราชดำเนิน

"ควาย" ในความหมายของผม คือ คนที่มีความคิด เล่นเน็ตเป็น แต่แยกแยะ ดี ชั่ว ถูก ผิด ไม่ได้  

              มิได้หมายถึง ชาวรากหญ้า ที่เป็นเหยื่อในสงครามทางความคิดครั้งนี้

 

"คนชั่ว" จะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา... อยากให้ถึงวรรคท้ายของคำทำนาย ไวๆ ว่ะ...


#54 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:12

คลังอาวุธในกระทู้นี้ที่คุณศรอรชุนนำไปใช้สู้กับพวกพันทิพย์

 

มาช่วยหาวิธีหน่อย ไม่รู้ ศรอรชุน จะรอด หรือเปล่า... 

 
... คุณ "ตะกวดขวัญ" ครับ ผมเคยบอกแล้วอย่าพยายามมั่ว เดี๋ยวจะกลายเป็นตัวตลก ครับ...by ศรอรชุน

http://www.pantip.co...2513282.html#15

อัด "ตะกองขวัญ" เป็น "ตะกวด"

แถมด้วย ประเด็นที่ "ตะกวด" แสดงความความมั่ว โง่งม และคำโกหก อีก 6 ประเด็น

คงมีพรรคพวกเสื้อแดง ทำใจรับไม่ได้ แจ้งลบกระทู้เฉยเลย ทำไงให้ไม่ต้องโดนลบ ดีครับ... 555++
 
http://webboard.seri...อย-ไม่รู้-ศรอร/
 
http://webboard.seri...ิงห์สาคู-รำคาญ/


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน