Jump to content


Photo
- - - - -

จับผิดคนสะเอียบ


  • Please log in to reply
22 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 17:56

จากข่าวนี้
http://www.manager.c...D=9550000112315

และจากข้องมูลนี้
http://water.rid.go....new/planup.html
http://water.rid.go....p?cal2=18082012
http://water.rid.go....p?cal2=19082012
http://water.rid.go....p?cal2=20082012
http://water.rid.go....p?cal2=21082012
http://water.rid.go....p?cal2=22082012
http://water.rid.go....p?cal2=23082012
http://water.rid.go....p?cal2=24082012
http://water.rid.go....p?cal2=25082012
http://water.rid.go....p?cal2=26082012
http://water.rid.go....p?cal2=27082012
http://water.rid.go....p?cal2=28082012
http://water.rid.go....p?cal2=29082012
http://water.rid.go....p?cal2=30082012
http://water.rid.go....p?cal2=31082012
http://water.rid.go....p?cal2=01092012
http://water.rid.go....p?cal2=02092012
http://water.rid.go....p?cal2=03092012
http://water.rid.go....p?cal2=04092012
http://water.rid.go....p?cal2=05092012
http://water.rid.go....p?cal2=06092012
http://water.rid.go....p?cal2=07092012
http://water.rid.go....p?cal2=08092012
http://water.rid.go....p?cal2=09092012
http://water.rid.go....p?cal2=10092012
http://water.rid.go....p?cal2=11092012
http://water.rid.go....p?cal2=12092012
http://water.rid.go....p?cal2=13092012
http://water.rid.go....p?cal2=14092012
http://water.rid.go....p?cal2=15092012


คนสะเอียบแม่งโกหกว่ะ น้ำที่ท่วมสุโขทัยส่วนนึงมาจาก หัวงานที่สร้างเขื่อนแก่ง
เสือแต้นนั้นแหละห่าเอ้ย กูจับผิดมึงได้ละ

มาลองดูกัน ผมไล่ดูข้อมูลผังน้ำตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม ถึงวันนี้ วันที่ 15
กันยายนช่วงแรกตั้งแต่วันที่ 18 - 21 สิงหาคม น้ำจาก สถานนีวัดน้ำที่ y.20
(จ.แพร่ บ้านห้วยสัก อ.สอง จ.แพร่ จุดสร้างเขื่อน แก่งเสือเต้น) อยู่ในช่วง 50-60 ลบ.ม.(ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที)

พอวันที่ 22 ปริมาณน้ำขึ้นมาเป็น 189 ลม.ม. ปรากฎว่าน้ำที่ อำเภอเมืองแพร่ ขึ้นจาก เดิม วันที่ 21 สิงหาคม 141 ลบ.ม. มาเป็น 360 ลบ.ม.ทันทีเลย

และน้ำที่สุโขทัยก็ขึ้นจาก 83 มาเป็น155 ด้วยในวันเดียวกันแต่อันนี้อาจเป็นไปได้ว่ามาจากน้ำฝนเพราะน้ำต้องใช้เวลาเดินทางจากแพร่มาสุโขทัยประมาณ 2 วันครึ่ง

เอาที่นี้มาดูวันที่น้ำท่วมกัน วันที่ 11 กันยายน วันที่น้ำท่วมสุโขทัยมีน้ำในลำน้ำ
แม่ยมที่สุโขทัยอยู่ 487 แล้วปริมาณน้ำ ก่อนหน้านั้น สถานนี้วัดน้ำท่า Y.20
เป็นเท่าไหร่
วันที่ ปริมาณน้ำ
3 116
4 196
5 486
6 214
7 245
8 288
9 219
10 306
11 241
12 167
13 133
14 144
15 556

เห็นมั้ยว่าตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นมาน้ำมันมากขึ้นเรื่อยๆ และที่สำคัญดูน้ำวันนี้ครับ 55


สรุป *คุณ*โกหกทำไมครับพี่น้อง เห็นแก่ตัวเหรอครับ
ปล.ข้อมูลจากน้องที่ไปดูงานที่สุโขทัยปริมาณที่ท่วมสุโขทัยอยู่ Q = 30 ลบ.ม.
ท่วมมาแล้ว 3 วัน ปริมาณ = 60*60*24*30*3 =
7,776,000 ลบ.ม. คือปริมาณน้ำที่ทะลุกำแพงเข้าท่วมสุโขทัยหรือเท่ากับ 7 ล้านลบ.ม.

เอาสมุติว่าให้รับน้ำที่มากจาก Y.20 500 ลบ.ม. เป็นเวลา 3วันเลย
เราจะได้ปริมาณน้ำเท่าไหร่ =60*60*24*500*3 =
129,600,000.00 ลบ.ม. หรือ 130 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนแก่งเสือเต้นรับน้ำได้ 1,175 ล้าน ลบ.ม.แปลว่าอะไร?

แปลว่าถ้ามีเขื่อนน้ำคราวนี้จะไม่ท่วมสุโขทัยไงครับ

ผมนะรักป่าไม่ใช่ไม่รักป่าแต่ถามหน่อยเถอะมึงแก้ปัญหาผิดจุดเปล่าครับ ผมว่า
ป่าที่มันหายไป 90% เกิดจากคนบุกรุกเปล่าครับ ไอ้ที่เสียไปจากเขื่อนเนี้ยไม่มี
ข้อมูลแต่คิดว่าไม่ถึง 1% มั้ง จริงๆมึงต้องการอะไรกันแน่ครับ ห่านเถอะ

mr_satan (ปล ผมลอกมากจาก FB ผมอีกที่ช่วยๆตรวจสอบข้อมูลด้วยก็จะขอบคุณครับ) (เอามาให้อ่านเล่นอาจไม่ค่อยได้เข้ามาตอบนะครับ)

Edited by mr_satan, 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 17:58.


#2 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 18:04

เอาง่ายๆ เลยครับ เขื่อนที่ไว้กันน้ำท่วม ต้องไม่เก็บน้ำเลย จนฝนตกแล้วเก็บเพื่อไม่ให้
น้ำไปท่วมชาวบ้านเขา แบบนี้ มีจริงหรือเปล่า ผมเห็นก็เก็บน้ำทุกเขื่ีอน พอตกไม่ทันเท่าไหร่
มันก็ต้องปล่อยน้ำมาท่วมอยู่ดี

ดังนั้นอ้างว่ามีเขื่อนแล้วน้ำไม่ท่วม จึงเป็นไปไม่ได้ในเมืองไทย เพราะว่าเขื่อน
มันเอาไว้ผลิตไฟฟ้า กับเก็บน้ำไว้หน้าแล้ง

การที่อ้างว่าสร้างเขื่อนเพื่อกันน้ำท่วม จึงเป็นความจริงแค่บางส่วนเท่านั้น

#3 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 18:19

http://www.ngosthail...-43-10&Itemid=2

เหตุผลที่ไม่ควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และแนวทางการจัดการลุ่มน้ำยม เพื่อแก้ไขปัญหา น้ำแล้ง น้ำท่วม

การออกมาต่อต้าน คัดค้านโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นมานานนับสิบๆ ปี เนื่องมาจากเริ่มมีการผลักดันโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยอ้างว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นจะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมได้ ทั้งที่มีผลการศึกษาจากหลายหน่วยงานได้ข้อสรุปแล้วว่า โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมได้ อาทิ

1. ผลการศึกษาของ องค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO.) ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม เขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถ เยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ เพียง 8 เปอร์เซ็นต์

2. ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ด้วยเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน

3. ผลการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ของอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าที่จะถูกน้ำท่วมไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ และชุมชนอย่างมาก

4. การศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่มีข้อสรุปว่า พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติ ผืนเดียวที่เหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทยทั้งประเทศ

5. ผลการศึกษาของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยเหตุผลในการจัดการน้ำ ยังมีทางออก และทางเลือกอื่น ๆ อีกหลายวิธีการ ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

6. ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เสนอ 19 แผนงานการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม ได้อย่างเป็นระบบทั้งลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

7. ผลการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี ได้ชี้ชักว่า บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ตั้งอยู่แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก คือ รอยเลื่อนแพร่ ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเสี่ยงอย่างมากที่จะสร้างเขื่อนใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลก เสมือนหนึ่งเป็นการวางระเบิดบนหลังคาบ้านของคนเมืองแพร่

8. ผลการศึกษาของโครงการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเลือกนโยบายการจัดการลุ่มน้ำยม (SEA) ชี้ให้เห็นว่ามีทางเลือกมากมายในการจัดการน้ำ ในลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เช่น การทำทางเบี่ยงน้ำเลี่ยงเมือง การทำแก้มลิง การพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น

พื้นที่อ่างเก็บน้ำของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จะกระทบต่อผืนป่าสักทองธรรมชาติผืนสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งมีไม้สักทองขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น กว่า 40,000 ไร่ ริมแม่น้ำยม ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม จ.แพร่ โดยกรมชลประทานอ้างว่าพื้นที่ที่จะเป็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่มีสภาพป่าแล้ว ขณะที่ชาวบ้านตำบลสะเอียบต้องเชิญชวนสื่อมวลชนไปพิสูจน์สภาพป่าสักทองเป็นประจำทุกปี

พิธี บวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ เป็นประเพณีที่ชาวบ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ จัดเป็นกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการร่วมกันอนุรักษ์ป่าสักทองและขอขมาต่อแม่น้ำยม อีกทั้งเป็นการประกาศจุดยืนในการคัดค้านเขื่อนแก่งเสือเต้นมาโดยตลอด
หากแต่ป่าสักทองธรรมชาติผืนนี้ กลับเป็นพื้นที่เป้าหมายของนักแสวงประโยชน์ ที่ไม่ได้คำนึงถึงอนาคตของรุ่นลูกรุ่นหลาน นอกจากงบประมาณที่จะมาพร้อมกับโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น กว่า 12,000 ล้านบาท ยังมีไม้สักทองอีกกว่า 40,000 ไร่ ซึ่งมูลค่าไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท จึงไม่แปลกที่โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นเสมือนผีที่ถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพมาตลอดทุกยุคทุกสมัย

แนวทางในการแก้ไขปัญหา ภัยแล้ง น้ำท่วม ลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

การจัดการน้ำแบบบูรณาการ ลุ่มน้ำยมทั้งระบบ ได้มีการศึกษาและวางแผนโดยกรมทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้ผลสรุปออกมาแล้วว่า ไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็สามารถบริหารจัดการน้ำได้ ซึ่งในแผนนี้ใช้งบประมาณน้อยกว่าโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเสียอีก แต่ระบบราชการไทย ถือประเพณีไม่ขัดขวางผลประโยชน์ของหน่วยงานราชการด้วยกัน แผนการจัดการลุ่มน้ำยมทั้งระบบของกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงไม่ได้ดำเนินการให้เป็นจริง การจัดการโดยใช้แนวทางทางภูมินิเวศวิทยา การจัดการน้ำแบบใหม่ และการพัฒนาที่ยั่งยืน มองภาพรวมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ลุ่มน้ำยมได้ แต่ทำไมไม่เลือก

1. การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ป่า การปลูกป่าเสริม การปกป้อง พิทักษ์ รักษา และการจัดการป่า โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ ให้กลับคืนมาสู่สมดุล อย่างยั่งยืน

2. การขุดลอกตะกอนแม่น้ำ อันจะสามารถฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับมาทำหน้าที่แม่น้ำตามธรรมชาติได้ การทำทางเบี่ยงน้ำเพื่อระบายออกนอกเขตชุมชน การสร้างเครือข่ายทางน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังนอกเขตชุมชน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว หากแต่บางจังหวัด บางพื้นที่ที่ยังติดขัดเรื่องงบประมาณในการดำเนินการ เพราะผู้แทนราษฎรในพื้นที่นั้นๆ ไม่มีศักยภาพในการดึงงบประมาณมาดำเนินการ ตรงข้ามกับพื้นที่ที่มีผู้แทนราษฎร มีรัฐมนตรี การดำเนินการแล้วเสร็จลุล่วงไปหลายโครงการ แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมได้ เพราะโครงการต่างๆ ยังไม่ครบตามแผนที่วางไว้ทั้งระบบ

3. การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยม การขุดลอกคูคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับห้วยหนองคลองบึง การยกถนนให้สูงขึ้น หรือเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ การสร้างบ้านเรือนให้อย่างน้อยชั้นล่างสุดต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด

4. การแนะนำให้เกษตรกรการปลูกพืชอายุสั้น พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การกำหนดให้เป็นเขตเสี่ยงภัยจากน้ำท่วม การหยุดยั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ขวางทางน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำยม

5. การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทางตอนล่างลงมาตลอดจนถึงกรุงเทพฯ ได้ เนื่องจากที่ราบลุ่มแม่น้ำยมเป็นที่พักน้ำ ที่สามารถพักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันถึง 500-1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณมากกว่าความจุของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเสียอีก

6. การซ่อมบำรุง ปรับปรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้ว ปัจจุบันลุ่มแม่น้ำยมมีระบบชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง 24 แห่ง ระบบชลประทานขนาดเล็ก 220 แห่ง บ่อน้ำตื้น 240 บ่อ และระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าของกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน 26 แห่ง รวมพื้นที่ชลประทาน 1,117,465 ไร่ ระบบชลประทานเหล่านี้ล้วนแต่มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ ประสิทธิภาพเฉลี่ยระบบชลประทานของกรมชลประทานมีเพียง 35% ส่วนระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 57% ขณะที่ประสิทธิภาพระบบชลประทานทั่วโลกเฉลี่ย 64% การจัดการด้วย DSM โดยการซ่อมบำรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ใช้น้ำ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้น้ำจะสามารถทำให้เหลือน้ำจำนวนมาก เฉพาะระบบของกรมชลประทานถ้าใช้ระบบ DSM จะเหลือน้ำถึง 101 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับปริมาณในการอุปโภคบริโภคของคนในลุ่มแม่น้ำยมถึง 7.6 ล้านคน

7. การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยม สามารถดำเนินการได้โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยแผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

8. การพัฒนาระบบประปา การขาดแคลนน้ำในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ความต้องการน้ำมีสูง ไม่ได้เกิดจาก การขาดน้ำดิบเท่านั้น แต่เกิดจากระบบการผลิตน้ำประปาของการประปาภูมิภาคไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เมืองสุโขทัยขาดแคลนน้ำประปาในฤดูแล้ง เพราะระบบการผลิตน้ำประปามีความสามารถในการผลิตน้ำประปาเพียง 60 % ของความต้องการน้ำประปาสูงสุดในฤดูแล้ง การขยายระบบการผลิตน้ำประปาจะสามารถช่วยในการขาดแคลนน้ำอุปโภค–บริโภค ในเมืองใหญ่ได้ อย่างไรก็ตามการรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำในฤดูแล้งก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น
ทางเลือกในการจัดการน้ำที่ดำเนินการศึกษาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก เสนอโครงการแก้ไขปัญหาภัยน้ำท่วมแบบเบ็ดเสร็จ 19 แบบ คือ 1.ปลูกป่าป้องกันน้ำท่วม 2. เกษตรแนวระดับป้องกันน้ำท่วม 3.อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน 4.ป้องกันไฟและแนวซับน้ำ 5.พื้นที่กักเก็บน้ำเพื่อป้องกันภัยน้ำท่วมบนที่สูง 6.คลองเฉลิมพระเกียรติป้องกันน้ำท่วมฉับพลัน 7.ชลประทานแนวระดับป้องกันน้ำท่วม 8.ศูนย์อพยพเพื่อบรรเทาภัยน้ำท่วมหมู่บ้าน 9.ตุ่มน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม 10.ถนนเฉลิมพระเกียรติป้องกันน้ำท่วม 11.สะพานและทางระบายน้ำเฉลิมพระเกียรติ 12.อ่างเก็บน้ำหน้าเมืองเพื่อป้องกันน้ำท่วม 13.แนวคันดินป้องกันเมืองเพื่อป้องกันน้ำท่วม 14.พื้นที่กักเก็บน้ำชั่วคราวป้องกันน้ำท่วม 15.ฝายพิเศษป้องภัยน้ำท่วม 16.ระบบเตือนภัยธรรมชาติสู่ภูมิภาค 17.โครงการศึกษาเพื่อการป้องภัยธรรมชาติ 18.ความร่วมมือกองทัพบกในการขุดคลอง คู อ่างเก็บน้ำ แนวคันดิน 19.ความร่วมมือตำรวจตระเวนชายแดน ให้ความรู้แก่ประชาชน

สุดท้ายการสร้างเขื่อนนี้เพื่อป้องกันน้ำท่วมจริงๆ อย่างที่พูดหรือไม่ หรือว่ามีอะไรมากกว่านั้น ^_^

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#4 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 18:54

ถ้า "ผลที่ได้-ไม่คุ้มเสีย" จะดันทุรังทำไปทำไมครับ

นอกเสียจาก "ผลประโยชน์แอบแฝงคำโตๆ" เท่านั้นที่บังตา :( :( :(

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#5 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 20:29

อันนี้ไม่ได้บอกว่าควรสร้างนะ แค่บอกในมุมเดี่ยวจากเหตการณ์ครั้งนี้เท่านั้น เขื่อนแก่งเสือเต้นผมไม่ได้ติดตามไม่ค่อยมีความรู้
จะสร้างไม่สร้างก็แล้วแต่มันเป็นเรื่องของคนทุกคน แต่ว่านะ จากข้อมูลที่ผมมี มันเป็นแค่แม่น้ำเดี่ยวที่จัดการน้ำไม่ได้ วิธีการจัดการคือย้ายน้ำไปลุ่มน้ำอื่น ไปน่านบ้างอะไรบ้าง

การโกงเป็นเรื่องปกติมันมีอยู่แล้วละ แต่คิดว่าโครงการใหญ่ๆัมันจะน้อยกว่าโครงการเล็กๆ (สมัยก่อนนะ เดี่ยวนี้ไม่รู้แนวโน้มหนักขึ้นทุกวัน)

แต่ที่แน่ๆตามข้อมูล ที่เห็นถ้ามีคราวนี้ไม่ท่วมแน่ที่สุโขทัย ข้างบนผมยังไม่ได้อ่านว่างๆจะมาเก็บละกัน แต่เท่าที่เห็น ไอ้ทีว่าแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้แค่ 8% นี้ 8% ของอะไรเหรอของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ของลุ่มน้ำยมหรือของที่ไหน

ส่วนตัวพูดโดยข้อมูลเท่าที่เห็นถ้าเฉพาะจาก แพร่ สุโขทัย พิจิตร ถึง อยุทธา ร่วมถึงทางฝั่งลุ่มน้ำน่านด้วย คิดว่าน่าจะช่วยได้เยอะ แต่ทั้งนี้ทังนั้นต้องบอกก่อนว่าผมคิดแค่เฉพาะทางด้านวิศวกรรมเท่านั้นเรื่องสิ่งแวดล้อมผมไม่มีความรู้พอ เรื่องประมงไม่ทราบ สัตว์ป่าอะไรยิ่งไปกันใหญ่

ถ้าจะทำจริงผมก็ไม่ได้อะไร แค่บอกตามที่คิดครับ เหมือนเรื่องคอคอดกระซึ่งผมเห็นด้วย แค่นั้นจริงๆ

#6 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 20:45

เอาง่ายๆ เลยครับ เขื่อนที่ไว้กันน้ำท่วม ต้องไม่เก็บน้ำเลย จนฝนตกแล้วเก็บเพื่อไม่ให้
น้ำไปท่วมชาวบ้านเขา แบบนี้ มีจริงหรือเปล่า ผมเห็นก็เก็บน้ำทุกเขื่ีอน พอตกไม่ทันเท่าไหร่
มันก็ต้องปล่อยน้ำมาท่วมอยู่ดี

ดังนั้นอ้างว่ามีเขื่อนแล้วน้ำไม่ท่วม จึงเป็นไปไม่ได้ในเมืองไทย เพราะว่าเขื่อน
มันเอาไว้ผลิตไฟฟ้า กับเก็บน้ำไว้หน้าแล้ง

การที่อ้างว่าสร้างเขื่อนเพื่อกันน้ำท่วม จึงเป็นความจริงแค่บางส่วนเท่านั้น


ที่ถามมาเนี้ยแสดงว่าไม่เข้าใจการทำงานของเขื่อนเลย เขื่อนคือ ก้อนดินที่มันกันช่องเขาที่เราเห็น ส่วนอ่างเก็บน้ำคือ พื้นที่ที่เป็นน้ำ
เขื่อนไม่มีเขื่อนไหนเลยที่เอาไว้รับแต่น้ำท่วม เขื่อนไม่ได้มีแค่เอาไว้รับน้ำท่วมอย่างเดี่ยว ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำที่ต้องเอาไว้ใช้อุปโภคบริโภค อุสหกรรม แล้วก็การเกษตร

อธิบายการทำงานง่ายๆ คิดถึงโอ่ง โอ่งพอมีฝนตกมามันก็เก็บน้ำได้ ถ้าอยากใช้เมื่อไหร่ก็มาตักไปใช่ แต่วันดีคืนดีพอมีฝนตกมาก น้ำที่มันเกินมาโอ่งก็ช่วยเก็บไม่ให้เปียกชานบ้าน
ถ้าฝนหยุดก็ดีไป บ้านไม่เปียกแต่ถ้าฝนมากกว่าเกิน มันล้นโอ่ง

ถามว่าโอ่งทำให้น้ำท่วมหรือเปล่า ตอบว่าเปล่าเพราะน้ำที่มันล้นออกมา ถึงไม่มีโอ่งน้ำมันก็เปียกอยู่ ดีี เหมือนลุ่มน้ำแม่ยมนี้ที่เราไม่มีอะไรไปเก็บน้ำเลย น้ำมาเท่าไหร่ก็ไหร่ลงมาหมด แต่ในความเ็ป็นจริงแล้วโอ่งยังช่วยเก็บน้ำที่ตกลงมาด้วย ถึงจะเป็นกรณีที่น้ำล้นโอ่งก็มีส่วนนึงที่โอ่งเก็บไว้ไม่ทำให้น้ำเปียกบ้านมากเกินไป ครับ

ความจริงคือถ้าไม่มี เขื่อนในหลวง กับเขื่อนพระราชินี ปี 54 เป็นทะเล จากปริมาณน้ำ ยังไงก็ท่วมรัฐบาลเอาไงก็ไม่อยู่หรอก แต่ที่ผิดพลาดมากคือดันปิดข่าว แล้วบริหารไม่ดี จริงๆก็เพราะการเมืองมายุ่ง ทำให้การบริหารไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ เอาตามเสียงข้างมากว่างั้น 55 ตลกละ ผลคือท่วมมากและท่วมนาน

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ขอให้ทราบด้วยครับว่าผมเห็นแก่ประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ถ้าจุดประสงค์ตรงกันก็พอคุยกันได้ ถ้าสร้างเขื่อนมันไม่ดีขนาดนั้น แล้วละก็ ลองคิดถึงการที่ไม่มีเขื่อนในหลวงกับเขื่อนราชินีดู จริงเหรอ ที่ว่าไม่ดี

ถ้าบอกมีดีมีเสียยังพอเข้าใจ 55

#7 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 20:48

เขื่อนที่แท้จริงคือป่า เพราะป่าถ้าเปรียบง่ายๆก็เหมือนกันพรมพอมีน้ำตกลงพรมมันก็ช่วยซับเอาน้ำไว้กว่าจะซึมจนพรมเปียกแล้วไหลออกไปที่อื่นได้ก็นานอยู่ ลองคิดดูป่าสมัยก่อนมีพื้นที่ปกคลุมแผ่นดินแทบทั้งหมด แต่มาวันนึงคนดันไปตัดมันหมด ที่นี้จากที่เคยมีตัวซับน้ำเหมือนพรม ก็กลายเป็นเหมือนพื้นโล้นมีแต่กระเบื้อง พอมีน้ำตกลงไปมันก็ไหลเลยทางไหนต่ำก็ไปทางนั้น

พื้นที่ป่า(ถ้าไม่โดนตัดไปซะเกือบจะหมดเหมือนทุกวันนี้ อ
ะนะ โดยเฉพาะป่าทางเหนือ)มีพื้นที่กว้างขวางมาก แต่ละตารางเมตรแค่ซับน้ำไว้ซักไม่กี่สิบมิลิเมตร ก็เหมือนมีเขื่อนยักษ์ใหญ่ที่รับน้ำได้แล้ว คิดว่าน่าจะมากกว่าทุกเขื่อนที่มีรวมกันซะอีก

ผมเคยไปดูงานทางเหนือ เค้าเผากันกระจาย โครงการพระราชดำริ เค้าก็ยังเผายังตัด แพร่ งี้ โล่งกันเลย 55 ผมไปดูงานแถวตะัวันออก พื้นที่ติดกับป่าเขาใหญ่ก็ตัดกันปลูกอ้อยบ้าง ปลูกยางบ้าง น้ำมันปาล์มบ้างทำกันเป็นล่ำเป็นสัน ถามๆดู ของเจ้าพ่อคนนั้น กำนั้นคนนี้ นักกินเมืองคนโน้น

รับกรรมร่วมกันพี่น้อง 55 (อย่าถามหาทางแก้ มันไม่มี บ้างที่มันก็ต้องเจ็บก่อนแหละถึงจะจำ 55)


[font="lucida grande, , tahoma, verdana, arial, sans-serif}"]อันนี้เป็นความเห็นที่ผมลงไว้ใน FB[/font]

Edited by mr_satan, 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 20:51.


#8 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 20:51

ป่าคือเขื่อน แต่เขื่อนไม่ใช่ป่านะครับ ^_^

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#9 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 20:53

เออประเด็นคือ ข้อมูลที่ให้ในข่าวมันไม่จริงครับ เป็นการโกหก

#10 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:00

เขื่อนแก่งเสือเต้น จะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือไม่ครับ

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#11 ID007

ID007

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,055 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:38

ทำประชามติมาแล้ว คนที่อยู่ใต้เขื่อน รอบๆอยากให้ทำ ไปทำสำรวจประชากรควายดีกว่ามั๊ยพี่ เรื่องแบบนี้ยังต้องถาม

นักวิชาการ คนทั่วไป คัดค้าน ควายรมต ทำไม่สน

ตกลงเสียงส่วนใหญ่ นี่มันวัดกันยังไงวะ ควาย รมต ควาย กนอ ควายประสพ

#12 ด้อยความรู้

ด้อยความรู้

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 20 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:43

การสร้างเขื่อน ถึงยังไงมันก็ยังเป็นแค่สิ่งก่อสร้าง ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินความคุ้มค่าของสิ่งที่เสียไปต่อสิ่งที่จะได้รับกลับมา
แต่ถึงไร ถ้าจำเป็นที่จะต้องสร้างเขือนจริงๆ ส่งที่สำคัญกว่าคือการจัดการและการบริหาร ที่จำเป็นจะต้องเป็นผู้เชื่ยวชาญและมีประสบการณ์
ถามว่าตอนนี้ เรามีการจัดการที่ดีพอหรือยัง? ผู้มีหน้าที่ดูแลมีความเหมาะสมหรือไม่?

ทำตรงนี้ให้ดีก่อนดีกว่าไหม ก่อนที่จะพูดถึงสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ

#13 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 22:24

Posted Image
Posted Image

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#14 conservative

conservative

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 762 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 10:35

หาทางอื่นที่สูญเสียพื้นที่ป่าไม้น้อยกว่าการสร้างเขื่อนดีกว่าไหมครับ

พวกแก้มลิง เขื่อนใต้ดิน

เสียเวลาศึกษามากหน่อย ดีกว่าทำไปแล้วไม่คุ้ม

#15 DETECT2

DETECT2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 291 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 16:40

ผมจะบอกว่า ฝนไม่ได้ตกหน้าเขื่อนทั้งหมดนะครับ มันแค่บางส่วนจริงๆ ฝนหลังเขื่อนปริมาณมากพอที่จะทำให้น้ำท่วมได้ถ้าระบบจัดการน้ำไม่ดีพอ คำถามคือจะรับมือ ฝนหลังเขื่อน(ท้ายเขื่อน) กันอย่างไร ตอบตรงนี้ให้ได้ดีกว่าครับ
คนเสื้อแดงตอนนี้ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่คนเกลียดพวกเสื้อแดงเริ่มจะมีมากขึ้น

#16 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 17:10


เอาง่ายๆ เลยครับ เขื่อนที่ไว้กันน้ำท่วม ต้องไม่เก็บน้ำเลย จนฝนตกแล้วเก็บเพื่อไม่ให้
น้ำไปท่วมชาวบ้านเขา แบบนี้ มีจริงหรือเปล่า ผมเห็นก็เก็บน้ำทุกเขื่ีอน พอตกไม่ทันเท่าไหร่
มันก็ต้องปล่อยน้ำมาท่วมอยู่ดี

ดังนั้นอ้างว่ามีเขื่อนแล้วน้ำไม่ท่วม จึงเป็นไปไม่ได้ในเมืองไทย เพราะว่าเขื่อน
มันเอาไว้ผลิตไฟฟ้า กับเก็บน้ำไว้หน้าแล้ง

การที่อ้างว่าสร้างเขื่อนเพื่อกันน้ำท่วม จึงเป็นความจริงแค่บางส่วนเท่านั้น


ที่ถามมาเนี้ยแสดงว่าไม่เข้าใจการทำงานของเขื่อนเลย เขื่อนคือ ก้อนดินที่มันกันช่องเขาที่เราเห็น ส่วนอ่างเก็บน้ำคือ พื้นที่ที่เป็นน้ำ
เขื่อนไม่มีเขื่อนไหนเลยที่เอาไว้รับแต่น้ำท่วม เขื่อนไม่ได้มีแค่เอาไว้รับน้ำท่วมอย่างเดี่ยว ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำที่ต้องเอาไว้ใช้อุปโภคบริโภค อุสหกรรม แล้วก็การเกษตร

อธิบายการทำงานง่ายๆ คิดถึงโอ่ง โอ่งพอมีฝนตกมามันก็เก็บน้ำได้ ถ้าอยากใช้เมื่อไหร่ก็มาตักไปใช่ แต่วันดีคืนดีพอมีฝนตกมาก น้ำที่มันเกินมาโอ่งก็ช่วยเก็บไม่ให้เปียกชานบ้าน
ถ้าฝนหยุดก็ดีไป บ้านไม่เปียกแต่ถ้าฝนมากกว่าเกิน มันล้นโอ่ง

ถามว่าโอ่งทำให้น้ำท่วมหรือเปล่า ตอบว่าเปล่าเพราะน้ำที่มันล้นออกมา ถึงไม่มีโอ่งน้ำมันก็เปียกอยู่ ดีี เหมือนลุ่มน้ำแม่ยมนี้ที่เราไม่มีอะไรไปเก็บน้ำเลย น้ำมาเท่าไหร่ก็ไหร่ลงมาหมด แต่ในความเ็ป็นจริงแล้วโอ่งยังช่วยเก็บน้ำที่ตกลงมาด้วย ถึงจะเป็นกรณีที่น้ำล้นโอ่งก็มีส่วนนึงที่โอ่งเก็บไว้ไม่ทำให้น้ำเปียกบ้านมากเกินไป ครับ

ความจริงคือถ้าไม่มี เขื่อนในหลวง กับเขื่อนพระราชินี ปี 54 เป็นทะเล จากปริมาณน้ำ ยังไงก็ท่วมรัฐบาลเอาไงก็ไม่อยู่หรอก แต่ที่ผิดพลาดมากคือดันปิดข่าว แล้วบริหารไม่ดี จริงๆก็เพราะการเมืองมายุ่ง ทำให้การบริหารไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ เอาตามเสียงข้างมากว่างั้น 55 ตลกละ ผลคือท่วมมากและท่วมนาน

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ขอให้ทราบด้วยครับว่าผมเห็นแก่ประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ถ้าจุดประสงค์ตรงกันก็พอคุยกันได้ ถ้าสร้างเขื่อนมันไม่ดีขนาดนั้น แล้วละก็ ลองคิดถึงการที่ไม่มีเขื่อนในหลวงกับเขื่อนราชินีดู จริงเหรอ ที่ว่าไม่ดี

ถ้าบอกมีดีมีเสียยังพอเข้าใจ 55


นั่นไง ก็ยอมรับว่า เขื่อนไม่ใช่มีหน้าที่สำหรับป้องกันน้ำท่วม
พอดีว่า การเก็บน้ำในเขื่อน อาจจะช่วยเรื่องน้ำท่วมอยู่บ้าง
ดังนั้น อย่าอ้างเรื่องน้ำท่วมเพื่อสร้างเขื่อน

#17 nunoi

nunoi

    เด็กข้างถนน

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,745 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 17:20

สำหรับผม เขื่อนมันก็มีข้อดีข้อเสียในตัวเอง แต่ถ้ายังไม่สร้างเขื่อน ระบบจัดการน้ำนะ สร้างๆๆ ไปกันก่อนไม่ได้หรือ งบหลายแหล่มันไปอยู่ไหนหมดก็ไม่รู้ ท่วมซ้ำซาก อยู่ทุกๆปีมันก็ไม่ไหว เอาว่าท่วมได้ แต่ขอ ท่วมน้อยๆ หน่อย จากตัวเมือง สร้างอะไรป้องกันน้ำ ก็สร้างกำแพงกันน้ำจากแม่น้ำยมเฉยๆๆ ไม่ได้มีอะไรเลย แล้วน้ำที่อื่นล่ะ ถ้าสร้างระบบจัดการน้ำดีๆ เขื่อนผมก็ว่าไม่ต้องสร้างก็ได้ แต่พอหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำยมก็จะแล้ง จนเดินเล่นได้อีกนั้นล่ะ เฮ้อ

กฎหมายมันก็แค่สิงที่สร้างมาอย่างมีเป้าหมาย แต่หาก เอาแต่บอกว่ากฎหมายเป็นแบบนี้ แบบนั้น โดยไม่สนใจว่าเป้าหมายจริงๆ นันคืออะไร ก็คงไม่ใช่ 

 

 


#18 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 17:42

การสร้างเขื่อนไม่ใช่ให้มาแก้ปัญหาน้ำท่วม เพราะมันก้อแค่เก็บน้ำไว้ชั่วคราว ถ้ามันเต็มมันก้อต้องปล่อย

จำปีที่แล้วได้ไหม ที่เขื่อนภูมิพล นะ นำ้เต็มเขื่อนจนต้องระบายน้ำออกมาทีเดียว แล้วไงละ ท่วมหนัก

ปัญหาคือ ระบบการจัดการบริหารน้ำตากหากละที่เราต้องทำ

ในหลวงท่านเคยให้ทำประตูกั้นน้ำทุก ๆ ช่วง ของแม่น้ำสายใหญ่ในประเทศแต่คนที่ไม่ใ้ห้โครงการเกิดคือ บักแม้ว

ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#19 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:06

การสร้างเขื่อนไม่ใช่ให้มาแก้ปัญหาน้ำท่วม เพราะมันก้อแค่เก็บน้ำไว้ชั่วคราว ถ้ามันเต็มมันก้อต้องปล่อย

จำปีที่แล้วได้ไหม ที่เขื่อนภูมิพล นะ นำ้เต็มเขื่อนจนต้องระบายน้ำออกมาทีเดียว แล้วไงละ ท่วมหนัก

ปัญหาคือ ระบบการจัดการบริหารน้ำตากหากละที่เราต้องทำ

ในหลวงท่านเคยให้ทำประตูกั้นน้ำทุก ๆ ช่วง ของแม่น้ำสายใหญ่ในประเทศแต่คนที่ไม่ใ้ห้โครงการเกิดคือ บักแม้ว


แก้ความเข้าใจผิดนิดนึง ที่บอกปล่อยน้ำออกมาที่เดี่ยวอันนี้ไม่จริง น้ำที่ไหลออกมาเป็นน้ำที่ไหลล้นออกมาจากความจุปกติแล้ว ที่เค้าเรียกระดับเก็บกัก
รู้หรือเปล่าเขื่อนในหลวง ช่วยเก็บน้ำเมื่อปีที่แล้วไปถึง 40% ของลุ่มน้ำแล้ว น้ำมันมากจริง (อันนี้เป็นข้อมูลที่จำได้ในหัว)

ส่วนเรื่องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นคงยากครับ ผมตายแ้ล้วเกิดใหม่ก็สร้างไม่ได้หรอก ก็ว่ากันไป ยังไงผมก็ไม่ใช่คน แพร่ คนสุโขทัย คนพิจิตร ที่ได้รับผลเต็มๆ ก็ได้แต่สงสารอะนะ
แนะนำสำหรับคนแถวลุ่มน้ำยม ให้ปรับตัวกับน้ำท่วมเลยครับ สร้างบ้างยกสูง ยังไงคงท่วมไม่เกิน 3 เมตรผมว่านะ อย่าไปหวังกับระบบที่ว่าๆมา ถ้ามันป้องกันได้จริง คงไม่ท่วมทุกปีจริงมะ

ปกติเรื่องอื่นไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นอะไร แต่เรื่องนี้มันสายงานผม ก็กว่ากันไป ประเทศชาติไม่ใช่ของผมคนเดี่ยว แล้วผมก็มันคนของติดตัวน้อยด้วยไม่ค่อยมีกังวลอะไรอะนะ

ไอ้เืรื่องนักการเมืองมันโกงกิน ไม่ต้องไปกลัวหรอก มันโกงทุกระดับนั้นแหละ ไม่กินแก่งเสือเต้นมันก็รวย กับโครงการอื่นอยู่ดี ฝากเวลาเลือกตั้งก็เลือกคนดีๆมากหน่อยละกัน

#20 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:13



เอาง่ายๆ เลยครับ เขื่อนที่ไว้กันน้ำท่วม ต้องไม่เก็บน้ำเลย จนฝนตกแล้วเก็บเพื่อไม่ให้
น้ำไปท่วมชาวบ้านเขา แบบนี้ มีจริงหรือเปล่า ผมเห็นก็เก็บน้ำทุกเขื่ีอน พอตกไม่ทันเท่าไหร่
มันก็ต้องปล่อยน้ำมาท่วมอยู่ดี

ดังนั้นอ้างว่ามีเขื่อนแล้วน้ำไม่ท่วม จึงเป็นไปไม่ได้ในเมืองไทย เพราะว่าเขื่อน
มันเอาไว้ผลิตไฟฟ้า กับเก็บน้ำไว้หน้าแล้ง

การที่อ้างว่าสร้างเขื่อนเพื่อกันน้ำท่วม จึงเป็นความจริงแค่บางส่วนเท่านั้น


ที่ถามมาเนี้ยแสดงว่าไม่เข้าใจการทำงานของเขื่อนเลย เขื่อนคือ ก้อนดินที่มันกันช่องเขาที่เราเห็น ส่วนอ่างเก็บน้ำคือ พื้นที่ที่เป็นน้ำ
เขื่อนไม่มีเขื่อนไหนเลยที่เอาไว้รับแต่น้ำท่วม เขื่อนไม่ได้มีแค่เอาไว้รับน้ำท่วมอย่างเดี่ยว ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำที่ต้องเอาไว้ใช้อุปโภคบริโภค อุสหกรรม แล้วก็การเกษตร

อธิบายการทำงานง่ายๆ คิดถึงโอ่ง โอ่งพอมีฝนตกมามันก็เก็บน้ำได้ ถ้าอยากใช้เมื่อไหร่ก็มาตักไปใช่ แต่วันดีคืนดีพอมีฝนตกมาก น้ำที่มันเกินมาโอ่งก็ช่วยเก็บไม่ให้เปียกชานบ้าน
ถ้าฝนหยุดก็ดีไป บ้านไม่เปียกแต่ถ้าฝนมากกว่าเกิน มันล้นโอ่ง

ถามว่าโอ่งทำให้น้ำท่วมหรือเปล่า ตอบว่าเปล่าเพราะน้ำที่มันล้นออกมา ถึงไม่มีโอ่งน้ำมันก็เปียกอยู่ ดีี เหมือนลุ่มน้ำแม่ยมนี้ที่เราไม่มีอะไรไปเก็บน้ำเลย น้ำมาเท่าไหร่ก็ไหร่ลงมาหมด แต่ในความเ็ป็นจริงแล้วโอ่งยังช่วยเก็บน้ำที่ตกลงมาด้วย ถึงจะเป็นกรณีที่น้ำล้นโอ่งก็มีส่วนนึงที่โอ่งเก็บไว้ไม่ทำให้น้ำเปียกบ้านมากเกินไป ครับ

ความจริงคือถ้าไม่มี เขื่อนในหลวง กับเขื่อนพระราชินี ปี 54 เป็นทะเล จากปริมาณน้ำ ยังไงก็ท่วมรัฐบาลเอาไงก็ไม่อยู่หรอก แต่ที่ผิดพลาดมากคือดันปิดข่าว แล้วบริหารไม่ดี จริงๆก็เพราะการเมืองมายุ่ง ทำให้การบริหารไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ เอาตามเสียงข้างมากว่างั้น 55 ตลกละ ผลคือท่วมมากและท่วมนาน

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ขอให้ทราบด้วยครับว่าผมเห็นแก่ประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ถ้าจุดประสงค์ตรงกันก็พอคุยกันได้ ถ้าสร้างเขื่อนมันไม่ดีขนาดนั้น แล้วละก็ ลองคิดถึงการที่ไม่มีเขื่อนในหลวงกับเขื่อนราชินีดู จริงเหรอ ที่ว่าไม่ดี

ถ้าบอกมีดีมีเสียยังพอเข้าใจ 55


นั่นไง ก็ยอมรับว่า เขื่อนไม่ใช่มีหน้าที่สำหรับป้องกันน้ำท่วม
พอดีว่า การเก็บน้ำในเขื่อน อาจจะช่วยเรื่องน้ำท่วมอยู่บ้าง
ดังนั้น อย่าอ้างเรื่องน้ำท่วมเพื่อสร้างเขื่อน

อันนี้เถียงต้องการเอาชนะ เฉยๆหรือไงครับ หน้าที่หลักมันมี 2 อย่างคือเก็บน้ำใช้หน้าแล้ง กับ ป้องกันน้ำท่วมหน้าฝน อันนี้คือความจริงเลย ไปเปิดตำราดูได้ เขียนกันเป็นตำราเลย

อย่าเอาอคติมาตัดสินเรื่องผลประโยชน์ของชาติเลยครับ

เออ ข้อมูลทีเยอะๆ ข้างบนผมอ่านแล้วครับ มันเยอะมาก แถวพูดแบบลอยๆเลยนะครับ เอาหลักฐานแบบ จะๆมาสักอันก็ดีครับ อย่างไอ้เรื่องป้องกันน้ำท่วมได้แค่ 8% เนี้ยก็ได้ พอดีผมรู้ด้านนี้ จะได้ช่วยตรวจสอบได้

พอแค่นี้ดีกว่า ขี้เกียจจะพูดมาก

ผมขอทำนายว่า สุโขทัยจะท่วมแบบนี้ ไปอีกนาน นานมากๆ ทุกปี

นอกจากจะ 1.สร้างแก่งเสือเต้น 2. ขยายลำน้ำเดิมให้ใหญ่เป้น 2 เท่า ก็ดูๆกันไป

#21 mr_satan

mr_satan

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 132 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:26

อีกนิด เห็นข้อมูลน้ำวันที่ 15 ข้างบนมั้ยครับ 556 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ผลคือวันที่ 16 น้ำท่วมที่สุโขทัยรอบสอง

ปล ผมสงสัยข้อมูลระยะเวลาน้ำไหลจาก อ.สอง ถึง สุโขทัย สองวันครึ่งนี้ท่าจะไม่จริง เหมือนวันเดี่ยวถึงเลย

#22 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:26


การสร้างเขื่อนไม่ใช่ให้มาแก้ปัญหาน้ำท่วม เพราะมันก้อแค่เก็บน้ำไว้ชั่วคราว ถ้ามันเต็มมันก้อต้องปล่อย

จำปีที่แล้วได้ไหม ที่เขื่อนภูมิพล นะ นำ้เต็มเขื่อนจนต้องระบายน้ำออกมาทีเดียว แล้วไงละ ท่วมหนัก

ปัญหาคือ ระบบการจัดการบริหารน้ำตากหากละที่เราต้องทำ

ในหลวงท่านเคยให้ทำประตูกั้นน้ำทุก ๆ ช่วง ของแม่น้ำสายใหญ่ในประเทศแต่คนที่ไม่ใ้ห้โครงการเกิดคือ บักแม้ว


แก้ความเข้าใจผิดนิดนึง ที่บอกปล่อยน้ำออกมาที่เดี่ยวอันนี้ไม่จริง น้ำที่ไหลออกมาเป็นน้ำที่ไหลล้นออกมาจากความจุปกติแล้ว ที่เค้าเรียกระดับเก็บกัก
รู้หรือเปล่าเขื่อนในหลวง ช่วยเก็บน้ำเมื่อปีที่แล้วไปถึง 40% ของลุ่มน้ำแล้ว น้ำมันมากจริง (อันนี้เป็นข้อมูลที่จำได้ในหัว)

ส่วนเรื่องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นคงยากครับ ผมตายแ้ล้วเกิดใหม่ก็สร้างไม่ได้หรอก ก็ว่ากันไป ยังไงผมก็ไม่ใช่คน แพร่ คนสุโขทัย คนพิจิตร ที่ได้รับผลเต็มๆ ก็ได้แต่สงสารอะนะ
แนะนำสำหรับคนแถวลุ่มน้ำยม ให้ปรับตัวกับน้ำท่วมเลยครับ สร้างบ้างยกสูง ยังไงคงท่วมไม่เกิน 3 เมตรผมว่านะ อย่าไปหวังกับระบบที่ว่าๆมา ถ้ามันป้องกันได้จริง คงไม่ท่วมทุกปีจริงมะ

ปกติเรื่องอื่นไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นอะไร แต่เรื่องนี้มันสายงานผม ก็กว่ากันไป ประเทศชาติไม่ใช่ของผมคนเดี่ยว แล้วผมก็มันคนของติดตัวน้อยด้วยไม่ค่อยมีกังวลอะไรอะนะ

ไอ้เืรื่องนักการเมืองมันโกงกิน ไม่ต้องไปกลัวหรอก มันโกงทุกระดับนั้นแหละ ไม่กินแก่งเสือเต้นมันก็รวย กับโครงการอื่นอยู่ดี ฝากเวลาเลือกตั้งก็เลือกคนดีๆมากหน่อยละกัน


ผมขอเถียงครับ การสร้างเขื่อนไมได้่ช่วยในเรื่องน้ำท่วมเลย

จริง ๆ แล้ว เขื่อน เค้ามีไว้เพื่่อช่วยเรื่อง การเกษตร และ ระบบ ชลประทานครับ

เพราะเขื่อนเป็นพื้นที่ไว้สำหรับเก็บกักน้ำไว้ แล้วปล่อยออกมาครับ อย่าลืมว่า เขื่อน ต่าง ๆ มาจากแม้น้ำสาย ต่าง ๆ มาบรรจบกัน หรือ แม้แต่เป็ฯทางผ่านของคลองที่มาจากน้ำตกต่าง ๆ แล้วถ้ามีฝนตกลงมาอีก มาสมทบกับน้ำในเขือนเดิมอีกล

ดังที่ท่านว่า เขื่อนภูมิพล รับน้ำมามาก ถ้าการบริหารจัดการน้ำไม่ดีเหมือนปีที่แล้ว เขือนก้อต้องปล่อยน้ำออกมา เพื่่อไม่ให้เขือนพัง

แม้แต่ในจีน ที่มีเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่น้ำก้อยังท่วมอยู่

ในเมกา มีเขือนอยู่มาก แต่ทำไมน้ำยังท่วม

เพราะฝนไม่ได้ตกที่เดียว ใช่ไหม

วิธีการก้อคือ บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

ในหลวงท่านทรงมีราชดำริให้สร้างประตูกันน้ำไว้ทุก ๆ จุดของแม่น้ำสายใหญ่ แต่คนที่ล้มคือ บักแม้ว

ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#23 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:37

อีกนิด เห็นข้อมูลน้ำวันที่ 15 ข้างบนมั้ยครับ 556 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ผลคือวันที่ 16 น้ำท่วมที่สุโขทัยรอบสอง

ปล ผมสงสัยข้อมูลระยะเวลาน้ำไหลจาก อ.สอง ถึง สุโขทัย สองวันครึ่งนี้ท่าจะไม่จริง เหมือนวันเดี่ยวถึงเลย


น้ำผ่าน สุโขทัย กี่ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีครับ

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน