จริงๆแล้วเรื่องประวัติศาสตร์เนี่ยคุยกันไม่รู้จบหรอกครับ ที่น่าเศร้าก็คือวิชาประวัติศาสตร์ยุคก่อนเราถูกครอบงำด้วยนักวิชาการฝรั่ง
แต่พอมาถึงยุคปัจจุบันเราถูกครอบงำด้วยนักวิชาการเจ๊กและลาว (พวกค่ายมติชนกับศิลปวัฒนธรรมนี่แหละ)
ไปๆมาๆเลยจะไปยกประวัติศาสตร์ไทย-ลาวอย่างท้าวฮุ่ง ขุนเจือง มาเป็นบรรพชนไทยสยามซะและ
แต่ถ้าจะพูดถึงประวัติศาสตร์ไทย ก็ต้องพูดกันตรงๆว่าจะเอาประวัติศาสตร์ไทยตรงไหน และจะเอากฎเกณฑ์อะไรมากำหนดความเป็นคนไทย
จะเอา DNA หรือจะเอาภาษาไทย
แต่ถ้าจะเอา DNA ผมก็ว่าเหลวไหลละ เพราะผมไม่เคยเห็นชาติไหนที่กำเนิดรัฐขึ้นมาโดยไม่มีความเป็นลูกผสม อย่างกรีกที่ว่ากันว่าเป็นต้นเค้าของอารยธรรมตะวันตก
ก็มีกรีกหลายชนเผ่า ไมซีเนียน ดอเรียน ไอโอเนียน ฯลฯ ผสมๆกัน โรมันก็มาจากชนเผ่าอีทรัสแคน 3 เผ่า ยิ่งหลังๆโดนพวกโกธ พวกกอลล์เข้าไปผสมอีก
จีนเองก็มาจาก 3 เผ่าหลักๆแถวลุ่มแม่น้ำแยงซี ยิ่งยุคหลังๆนี่ยิ่งรวมชนกลุ่มน้อยเข้าไปอีกเยอะแยะ แถมมีมองโกล เกาหลีโบราณเข้าไปรวมอีก เรียกว่าโคตรร้อยพ่อพันแม่
ในลาวเองแม้จะค่อนข้างมีชนเผ่าไม่ค่อยเยอะ แต่ก็มีทั้งลาว ทั้งม้ง ทั้งลัวะ เพราะงั้น แนวความคิดเรื่องสายเลือดอารยันบริสุทธิ์ไม่ว่าจะเป็นไทย เยอรมัน หรือลาว
ก็เป็นเรื่องชวนขำกลิ้งลิงกับหมา
แต่ถ้าจะเอาภาษามานับ เราก็จะเจอเชื้อชาติหลากหลายที่ใช้ภาษาไทยร่วมกัน แสดงว่าชนเชื้อชาติไทยเป็นเชื้อชาติสำคัญและมีบทบาทสูงมาแต่โบราณ
มิฉะนั้นก็คงไม่มีหลายๆเชื้อชาติรับเอาไปใช้เช่นนี้ และแสดงให้เห็นเส้นทางการเดินทางของคนไทยโบราณด้วย
ประวัติศาสตร์ในยุคก่อนที่เรียนกันว่าคนไทยอพยพมาจากภูเขาอัลไตนั้น เห็นชัดๆว่าโดนครอบด้วยภาพการอพยพแบบ Exodus ของคนยิวที่พวกฝรั่งตะวันตกจำติดหัวไปกับพระคัมภีร์
แต่จริงๆแล้วการเคลื่อนย้ายของชนชาตินั้นมีการเคลื่อนย้ายโดยธรรมชาติ เช่น เมื่อชุมชนใหญ่เกินกว่าการเพาะปลูกในพื้นที่จะรองรับได้ ก็จะมีผู้นำกลุ่ม พาคนกลุ่มย่อยๆ
ค่อยๆเดินทางหาแหล่งทำกินใหม่ หรือจะเรียกว่า Exodus ย่อยๆก็ได้ หรือการขยายที่ทำกินเดิมออกไปจนเกิดการแผ่ขยายประชากร หรือการเดินทางตามแผ่นดินงอกใหม่
ชายฝั่งทะเลลงมา เพื่อติดตามฝูงสัตว์ในกรณีที่อารยธรรมสังคมยังเป็นแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ หรืออพยพตามเขตเงาฝนชายทะเลลงมา ถ้าเรามองว่าในยุคทวาราวดีนั้น
ชายฝั่งทะเลไทยอยู่แถวๆนครปฐม หากนับย้อนหลังไปไกลกว่านั้น พื้นที่ภาคกลางแทบทั้งหมดอาจจะยังเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวไทยเสียด้วยซ้ำ
ถ้ามองจากภาพนี้ เราก็อาจจะแยกคนไทยได้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งก็คือกลุ่มที่อพยพตามแนวชายฝั่งทะเลลงมาเรื่อยๆ และผสมผสานปะปนกับกลุ่มชนต่างๆในพื้นที่แถบนี้
และอาจจะเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ หรือเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิใหญ่ๆอย่างเช่น ศรีวิชัย เพียงแต่ไม่ใช่ประชากรหลัก
กับอีกกลุ่มก็คือกลุ่มผู้อพยพลงมาภายหลังในลักษณะ EXODUS ซึ่งจะเกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่ผิดธรรมชาติ เช่นการหนีโรคระบาด การถูกกวาดต้อนในสงคราม และการอพยพหนีภัยสงคราม
ซึ่งอย่างหลังน่าจะใช่ที่สุด
ภาพของการอพยพหนีสงครามนั้น นักประวัติศาสตร์ยุคเก่าจะมองไปที่ยุคของกุบไลข่าน ที่กองทัพมองโกลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆในประวัติศาสตร์โลกมากที่สุด
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การรุกรานของจีนนั้นน่าจะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น อย่างสมัยชุนชิวของจีน ก็มีการเกิดของนครรัฐใหม่ๆทางใต้ของจีน ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเจ้านครรัฐทางใต้
ที่อึดอัดกับพรมแดนที่ขยายไม่ออกด้านเหนือ ก็จะขยายดินแดนลงมาทางใต้ ด้วยการทำสงครามกับชนกลุ่มน้อยที่ "เคี้ยวง่ายกว่า" และคนไทยที่มักปกครองเป็นนครเล็กๆ
ไม่มีเทคโนโลยีด้านรัฐศาสตร์ที่จะบริหารงานระดับรัฐใหญ่หรือจักรวรรดิ ก็ต้องแตกพ่ายกระจัดกระจายกันลงมา
ในยุคสามก๊ก การอพยพของเล่าปี่ที่นำคนมาตั้งรัฐใหม่แถวเสฉวน ก็ส่งผลต่อชนเผ่าทางใต้ สมัยซ้องที่จีนถูกพวกกิม-เกาหลีโบราณ ตีแตกกระเจิงมาจากตอนกลางของ
แม่น้ำแยงซีมาเป็นราชวงศ์ซ้องใต้ ก็กระทบชนเผ่าทางใต้ คนไทยก็คงอพยพลงมาเป็นระลอกๆ มาเพิ่มจำนวนความเข้มข้นให้กับคนไทยที่อาศัยอยู่เดิมในสุวรรณภูมิ
จนกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ชี้นำสังคมได้และเข้ามามีส่วนในอำนาจในหลายๆส่วน
ข้อบกพร่องอีกอย่างหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยไม่ว่าจะเป็นฉบับหลงฝรั่ง หลงเจ๊ก หรือหลงลาว ก็คือปฏิเสธอาณาจักรที่เกิดจากการผสมผสานอย่างอาณาจักรไทย
ทางใต้ ที่ในยุคหนึ่งมีอิทธิพลสูงถึงขนาดเข้าไปเกี่ยวข้องกับยุคหนึ่งของกัมพูชาโบราณ และในประวัติศาสตร์กรุงศรี
หมายเหตุ : พูดแบบนี้ใครอาจจะหาว่าผมภาคนิยม แต่พูดตรงๆเถอะ คนที่พูดแบบนี้แหละ ก็เป็นคนภาคนิยมเหมือนกัน อาจจะนิยมภาคเหนือ ภาคกลาง หรือภาคอีสาน
หรือบางคนนิยมเชื้อสายจีนของตัวเอง มันก็กิเลสเดียวกันน่ะแหละ แต่จริงๆแล้วผมว่าคนใต้น่ะแหละที่ภาคนิยมน้อยที่สุด ขนาดโดนยัดเยียดภาพพจน์ให้เป็นคนมลายู
จนเวลาคนภาคอื่นนึกถึงภาคใต้ จะนึกถึงคนพูดภาษายาวี นุ่งโสร่งใส่หมวกแขก คนใต้ก็ดันไม่เถียงสักคำ แถมเวลาให้แสดงวัฒนธรรมปักษ์ใต้ ยังดันใส่หมวกแขกนุ่งโสร่ง
เต้นรองแง็ง ง้องแง้งๆอีก เพราะฝึกง่ายสุด จนโดนนักการเมืองเลวๆป้ายสีว่าที่ไม่ขุดคอคอดกระก็เพราะคนใต้จะแยกดินแดน (ที่จะแยกดินแดนมันมีแค่ 3 จังหวัด แต่
ภาคใต้มี 14 จังหวัดโว้ย ไอ้ชิบหาย)
อาณาจักรเกิดใหม่แถบชายฝั่งทะเลนี้ จริงๆแล้วเกิดก่อน และเจริญก้าวหน้าเร็วกว่าพวกอาณาจักรในแผ่นดิน เพราะมาตามสูตรสำเร็จของอารยธรรมก็คือ
"การสนทนากับอารยธรรมที่เหนือกว่า" ซึ่งเกิดขึ้นหลายๆแห่งในโลก อย่างอารยธรรมกรีกเกิดได้ เพราะมีการสนทนากับอารยธรรมไมซีเนียน อินเดียอารยันเจริญได้
เพราะมีการสนทนากับอารยธรรมทมิฬ-มิลักขะ ตลอดจนโลกยุโรปที่เจริญได้เพราะชนเผ่าเยอรมันมีการสนทนากับอารยธรรมกรีก-โรมัน
(คำว่าสนทนา ไม่ได้หมายถึงคุยกันดีๆเสมอไปนะฮะ การทะเลาะต่อยตีทำสงครามก็เป็นการสนทนารูปแบบหนึ่ง)
และดินแดนริมฝั่งทะเลแถวแหลมทองก็มีการสนทนากับอารยธรรมทมิฬ-มิลักขะมาแต่โบราณ จนเกิดเป็นอาณาจักรโบราณหลายๆแห่ง ไม่ว่าจะเป็นทวาราวดี ศรีวิชัย กัมพูชา
จามปา ฯลฯ
ความเชื่อแบบนี้จะคัดค้านกับความเชื่อสายซ้ายนิยม ที่โปรรากหญ้า แต่ผมไม่เชื่อว่ะ ผมเชื่อว่าสังคมคนเราจะเนือยและไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ แต่จะเปลี่ยนแปลงได้
ก็เมื่อมีการกระทบ แข่งขัน หรือรับอิทธิพลจากกลุ่มชนอื่น ดังนั้นเมืองไม่ได้เจริญเพราะไพร่เสมอไป แต่ไพร่ต่างหากที่เจริญเพราะเมืองถ่ายทอดความเจริญให้ (ถ้าไม่มีอำมาตย์ทำงานบริษัท ไพร่จะมีมือถือใช้ทุกวันนี้รึ?)
ดังนั้นหนังสือ คำเขมร ลาว ไทย ของจิตร ภูมิศักดิ์ พูดตรงๆว่าผมไม่เชื่อ คือโอเคว่าเมืองอาจจะเจริญเพราะไพร่ แต่เป็นไพร่ฟ้า ฝุ่นเมืองเฟ้ย ไพร่ชายขอบริมไร่ริมนาที่พวกซ้ายไปยกก้นให้น่ะ แทบจะไม่เกี่ยวเล้ย
เทคโนโลยีการจัดกำลังคน การคุมคน ตลอดจนการใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าในด้านงานโยธา หรืองานสงครามนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ใครลุกขึ้นมาจะทำได้โดยธรรมชาติ
มันต้องอาศัยการลองผิดลองถูกหลายๆทฤษฎี คัดเลือก และถ่ายทอด ดังนั้นจู่ๆจะมีอาณาจักรไทยหรือลาวโด่เด่ขึ้นมาด้วยตัวเองนั้น Impossible ครับ
แถมถ้าเป็นอาณาจักรเมืองที่ต้องมีหลายๆเทคโนโลยีช่วย อย่างวิชาบัญชี พาณิชย์ เกษตร นิติ รัฐศาสตร์ ฯลฯ ละก็ ถ้าไม่มีกลุ่มชนหลายๆเชื้อชาติมาร่วมกันแชร์ประสบการณ์
หรือไม่มีชนชาติที่เทคโนโลยีเหนือกว่ามาถ่ายทอดให้ละก็ ไม่มีทาง ดังนั้นนครรัฐริมทะเลที่มีการเดินทางง่าย มีการค้าและการผสมผสานของผู้คนสูงจึงก้าวหน้าเร็วที่สุด
ดังนั้นขณะที่ประวัติศาสตร์สายอื่นๆไม่ว่าจะเป็นสายเหนือ หรือสายกลางในสมัยสุโขทัยหรือสมัยพ่อขุนเม็งราย ที่ยังเป็นการยกพลไม่กี่พัน ไล่เฉาะกะบาลกับนครรัฐใกล้เคียง
หรือสมัยขุนเจืองที่เป็นแค่ฮีโร่ชนเผ่าขี่้ช้างไล่กระทืบกันข้ามคันนา อาณาจักรอื่นๆริมทะเลในยุคเดียวกันก็ยกกองทัพเรือพร้อมกำลังพลเป็นหมื่นๆแสนๆห้ำหั่นกันไปแล้ว (ซึ่งการทำสงครามระดับนี้
ต้องอาศัยทั้งการคุมคน การจัดสรรเสบียง การบริหารระดับสูง ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ) อย่างในยุคพระเจ้าเกียรตินครในอินโด รบกับแม่ทัพ 2 คนของกุบไลข่าน กำลังพลก็เป็นหลักหมื่นๆคน
อีกอย่างที่นักวิชาการเจ๊ก-ลาว พยายามจะทำลายก็คือเครดิตของหลักศิลาจารึกพ่อขุนราม ที่หาว่าร.4 ที่ตอนนั้นเป็นภิกษุท่านทำปลอมขึ้น หลักฐานหนึ่งที่อ้างกันก็คืออักษรอริยกะที่ท่านประดิษฐ์ใช้เอง
มีส่วนคล้ายตัวหนังสือในจารึก (แต่ไม่คิดว่าท่านจะลอกเลียนศิลาจารึกมาใช้มั่งเนาะ) แต่สิ่งที่ผมพบว่าน่าสนใจในศิลาจารึกก็คือ วรรณยุกต์ที่มีเพียง 3 คือ สามัญ และ เอก กับ โท (ที่เขียนด้วยไม้จัตวา)
สอดคล้องกับรูปแบบวรรณกรรมเก่าแก่ที่สุดของไทยคือ "โคลง" ซึ่งเน้นเอก-โท ในวรรคท้าย แสดงว่าเสียงวรรณยุกต์ตรี และจัตวานั้น "แปลกปลอม" ในภาษาไทยดั้งเดิม
และที่น่าสนใจก็คือ เสียงวรรณยุกต์ในภาษาปักษ์ใต้ก็มีแค่ 3 ใครที่เป็นคนใต้ที่นี่ ลองผันวรรณยุกต์ กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า ดู คุณจะพบว่าเสียง ก่า กับเสียง ก้า จะรวมเป็นเสียงเดียวกัน และเสียงก๊าและก๋า จะรวมเป็นเสียงเดียวกัน
ทำให้เหลือแค่ 3 เสียง ยังไม่นับรวมถึงรูปวรรณยุกต์ ตรี และจัตวา ที่แปลกปลอมโดยสิ้นเชิง เพราะไม่มีคำใดๆที่เป็นคำไทยแท้ที่สะกดด้วยวรรณยุกต์ 2 ตัวนี้
นักวิชาการหลายๆคนโมเมว่าความผิดแปลกนี้เพราะภาษาไทยใต้ไปผสมผสานกับภาษามลายูพื้นเมือง แต่ผมว่ามั่วนิ่ม ถ้าว่ากันตรงๆ ภาษา 5 วรรณยุกต์นั้น เกิดจากการภาษาไทยที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนต่างหากเล่า
นั่นก็คือไทยเหนือ ไทยล้านนา ลาว เป็นคนไทยกลุ่มที่อพยพลงมาทีหลังในลักษณะ Exodus เพราะสงครามยุคราชวงศ์ซ้องหรือยุคกุบไลข่าน ทำให้เกิดการสังสันท์ทางภาษาไทยใหม่ที่ใกล้ชิดกับชุมชนจีนมากกว่ากับภาษาไทยเก่า
และคงจะลงมาในลักษณะกระจัดกระจาย เพราะทำประวัติศาสตร์หายไม่มีเหลือเลย มีแต่ตำนานจิ๊บๆอย่างคนไทยออกมาจากน้ำเต้าปุง หรือผีแถนสร้าง ลักษณะแบบนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่สังคมนั้นเป็นชนเผ่าเล็กๆแต่แรก หรือไม่งั้น
ก็เป็นลักษณะที่ศูนย์กลางอารยธรรมถูกทำลายโดยสิ้นเชิงจนอารยธรรมในเผ่าสูญหายในไม่กี่ชั่วรุ่น (ลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นกับอินเดียนในอเมริกาใต้ หลังจากโดนสเปนเข้าไปทำลายอาณาจักรในสมัยศตวรรษที่ 18)
คนไทยเหนือ และคนลาว (ผมจะไม่พูดถึงไทยอีสาน เพราะจริงๆแล้วคนไทยอีสานปัจจุบันก็มาจากไทยเหนือและลาว หรือไม่ก็กัมพูชา เป็นชุมชนเกิดใหม่ที่เกิดหลังสงครามไทย ลาว ญวน เขมร ในยุคร.3
แม้จะมีนครรัฐเก่าๆอยู่บ้าง ก็เป็นนครรัฐที่ร่วงโรยแล้ว นักวิชาการบางคนชอบอ้างถึงอาณาจักรโบราณแถวๆนี้ แต่ตามทฤษฎีอพยพตามลำน้ำหรือชายฝั่งเกิดใหม่ หรือเงาฝน ผมก็เชื่อว่าประชากรอาณาจักรโบราณเหล่านั้น
ก็คงจะไปกองอยู่แถวอาณาจักรจามปา หรือกัมพูชา หรือไม่ก็แถวละโว้เสียตั้งนานแล้ว) เป็นภาษาไทยรุ่นใหม่ที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาในโลกที่มีวรรณยุกต์และมีนัยะทางความหมาย
เมื่อเกิดการผสมผสานกันระหว่างกลุ่มชน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของคนจีนในไทย หรือคนลาวที่มาจากการกวาดต้อนในศึกสงคราม การอพยพ อิทธิพลของภาษา 5 วรรณยุกต์ก็ค่อยๆเข้มข้นขึ่นในภาคกลาง จนท้ายที่สุด
คนกลางกับคนใต้ที่เคยเป็นชนชาติสยามเก่าด้วยกันก็คุยกันไม่รู้เรื่องอีกต่อไป (จากเดิมที่คุยกันรู้เรื่องขนาดที่พ่อขุนรามนิมนต์พระจากนครขึ้นมาเทศนาได้ หรือราชวงศ์ศรีธรรมโศกราชเข้ามามีส่วนแจมใน
การชิงอำนาจยุคพระมหาจักรพรรดิได้)
ผมเคยตามร่องรอยของภาษาเหน่อแบบไทยๆลงไป และพบว่าภาษาที่เรียกว่าพูดเหน่อนั้น จะทวีความเหน่อขึ้นเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่ประจวบ และในรอยต่อนั้น คนพูดเหน่อจนกลายเป็นสำเนียงเกือบใต้ แต่ดันฟังภาษาใต้ไม่รู้เรื่อง
แถมยังแอบมานินทาคนใต้ให้ผมฟังอีกต่างหาก เรื่องแปลกแต่จริง
อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือรูปประโยคปฏิเสธ เราจะพบว่ารูปประโยคปฏิเสธดั้งเดิมของภาษาไทยคือ "หา + V + ไม่" เช่น "หาไปไม่" "หามีไม่" "หากินไม่" พบบ่อยมากในวรรณคดีไทยโบราณ ถ้าพูดด้วยสำเนียงไทยกลางจะดูโบราณๆ
แต่เพื่อนๆที่เป็นคนใต้ลองพูดด้วยสำเนียงใต้ดู จะพบว่ามันเป็นภาษาปกติที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันน่ะแหละ แต่ในภาษาไทยใหม่นั้น จะเป็นรูปแบบ "ไม่+V" หรือ "บ่ + V" ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของภาษาจีน "ปู้ หรือ หม่าย + V" ของภาษาจีนกลางหรือแต้จิ๋ว
ก็แค่อีกมุมมองหนึ่งที่นำเสนอให้เพื่อนๆลองคิดเป็นอาหารสมองดู ไม่ได้ตั้งใจจะดราม่าหรือภาคนิยมใดๆทั้งสิ้น แค่เห็นนักประวัติศาสตร์สายดั้งเดิมทะเลาะกับสายศิลปะวัฒนธรรม แล้วเกิดความรำคาญเลยสะกิดว่า ...
จะเอาตูไปเหมารวมกับพวกมลายูพวกตูก็ไม่ว่าแล้ว แต่เกรงใจกันมั่งเฮอะ เห็นแล้วเซ็ง
Edited by isa, 17 October 2012 - 23:43.