Jump to content


Photo
- - - - -

ขอถามแบบคนไม่รู้ พรบ. ล้างมลทินคืออะไรครับ


This topic has been archived. This means that you cannot reply to this topic.
5 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 BeastGuy

BeastGuy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,364 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 09:34

ใครเป็นออก
แล้วออกมาเพื่อจุดประสงค์อะไรครับ
ขอบคุณครับ

#2 hentai

hentai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,046 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 10:22

http://library2.parl...law181050-1.pdf

:D

"คนโง่มักจะชอบว่าคนอื่นว่าโง่"

"ถ้าคนเราคิดเหมือนกันหมด ก็ไม่มีเลือกตั้งซิครับ"

"ผมไม่พูด เรื่อง 112 แล้ว นะครับ กรุณาอย่าถาม (17 พค 2012)"


#3 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 13:33

รู้ไว้ใช่ว่า

“ล้างมลทิน ล้างแค่ไหน และล้างอย่างไร”


นับแต่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นมา เป็นผลให้ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้กักกัน รวมถึง
ผู้ต้องถูกลงโทษโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษโดยคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ของศาล ได้รับการล้างมลทินสำหรับในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ ๕ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่า ผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ
สำหรับข้าราชการพลเรือน ที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกดำเนินการทางวินัยก็ได้รับผลการล้างมลทิน
ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ เช่นเดียวกัน กล่าวคือ มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยซึ่งได้รับโทษหรือทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่กฎหมายนี้
ใช้บังคับ ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การล้างมลทินมีผล
เป็นการล้างเฉพาะโทษที่ผู้นั้นถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เท่านั้น มิได้มีผลเป็นการลบล้างการกระทำหรือพฤติกรรม
อันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์นั้นด้วย (เทียบเคียงความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จ
ที่ ๗๗/๒๕๕๒) และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกสั่งให้ออก
จากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัยหรือผู้ที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษไปแล้ว โดยให้
ผู้นั้นไม่ต้องถูกเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยอีก
ผลจากการล้างมลทินดังกล่าวข้างต้นนั้น ถ้าต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนหรือหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ผู้บังคับบัญชาจะหยิบยกการถูกลงโทษทางวินัยหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นขึ้นพิจารณาดำเนินการใหม่ เพื่อลงโทษทางวินัยหรือดำเนินการทางวินัยจากมูลเหตุเดียวกันนั้นได้อีกหรือไม่ อย่างไร เรื่องนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็น (เรื่องเสร็จที่ ๒๓๔/๒๕๕๒) สรุปดังนี้
๑. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชา และมีคำสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย หรือมีคำสั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษไปแล้ว ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง ตามมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติ
ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับ ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อพระราชบัญญัติ
ล้างมลทินฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมได้รับประโยชน์จากการล้างมลทินตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
ล้างมลทินฯ มีผลให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ และผู้บังคับบัญชา
ก็ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้อีกต่อไป
๒. กรณีผู้บังคับบัญชามีการดำเนินการทางวินัยแล้ว แต่มีคำสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย หรือสั่งให้ยุติเรื่อง หรืองดโทษ ต่อมาพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ มีผลใช้บังคับ จากนั้น

- ๒ -


คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ผู้นั้นอยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับการล้างมลทิน
ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ทำให้ไม่อาจดำเนินการเพิ่มโทษ หรือดำเนินการทางวินัยในมูลกรณีเดียวกันได้อีก ผู้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้อีกต่อไป
๓. กรณีผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้นั้นได้
รับโทษทั้งหมดหรือบางส่วนแล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ


ล้างมลทินฯ เมื่อผู้นั้นได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ
มีผลใช้บังคับ จึงได้รับการล้างมลทินตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ก็ไม่อาจดำเนินการทางวินัยกับผู้นั้นได้อีกต่อไป
๔. กรณีผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว แต่ผู้นั้น
ยังไม่ได้รับโทษทางวินัย ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรง ในระหว่างที่ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ มีผล
ใช้บังคับ กรณีนี้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะทำให้ได้รับรับประโยชน์จากการล้างมลทินตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยกับผู้นั้นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ

___________________


3]ฝ่ายวินัยและเบียนประวัติ

3]กองการเจ้าหน้าที่

3]กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

3]โทร ๐ ๒๒๔๕ ๑๐๙๑


"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"


#4 เทพธิดาผ้าซิ่น

เทพธิดาผ้าซิ่น

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 31 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 13:48

รู้ไว้ใช่ว่า

“ล้างมลทิน ล้างแค่ไหน และล้างอย่างไร”


นับแต่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นมา เป็นผลให้ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้กักกัน รวมถึง
ผู้ต้องถูกลงโทษโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษโดยคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ของศาล ได้รับการล้างมลทินสำหรับในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ ๕ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่า ผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ
สำหรับข้าราชการพลเรือน ที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกดำเนินการทางวินัยก็ได้รับผลการล้างมลทิน
ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ เช่นเดียวกัน กล่าวคือ มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยซึ่งได้รับโทษหรือทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่กฎหมายนี้
ใช้บังคับ ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การล้างมลทินมีผล
เป็นการล้างเฉพาะโทษที่ผู้นั้นถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เท่านั้น มิได้มีผลเป็นการลบล้างการกระทำหรือพฤติกรรม
อันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์นั้นด้วย (เทียบเคียงความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จ
ที่ ๗๗/๒๕๕๒) และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกสั่งให้ออก
จากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัยหรือผู้ที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษไปแล้ว โดยให้
ผู้นั้นไม่ต้องถูกเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยอีก
ผลจากการล้างมลทินดังกล่าวข้างต้นนั้น ถ้าต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลความผิดทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนหรือหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ผู้บังคับบัญชาจะหยิบยกการถูกลงโทษทางวินัยหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นขึ้นพิจารณาดำเนินการใหม่ เพื่อลงโทษทางวินัยหรือดำเนินการทางวินัยจากมูลเหตุเดียวกันนั้นได้อีกหรือไม่ อย่างไร เรื่องนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็น (เรื่องเสร็จที่ ๒๓๔/๒๕๕๒) สรุปดังนี้
๑. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชา และมีคำสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย หรือมีคำสั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษไปแล้ว ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง ตามมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติ
ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับ ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อพระราชบัญญัติ
ล้างมลทินฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมได้รับประโยชน์จากการล้างมลทินตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ
ล้างมลทินฯ มีผลให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ และผู้บังคับบัญชา
ก็ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้อีกต่อไป
๒. กรณีผู้บังคับบัญชามีการดำเนินการทางวินัยแล้ว แต่มีคำสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย หรือสั่งให้ยุติเรื่อง หรืองดโทษ ต่อมาพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ มีผลใช้บังคับ จากนั้น


- ๒ -


คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ผู้นั้นอยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับการล้างมลทิน
ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ทำให้ไม่อาจดำเนินการเพิ่มโทษ หรือดำเนินการทางวินัยในมูลกรณีเดียวกันได้อีก ผู้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้อีกต่อไป
๓. กรณีผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้นั้นได้
รับโทษทั้งหมดหรือบางส่วนแล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ


ล้างมลทินฯ เมื่อผู้นั้นได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ
มีผลใช้บังคับ จึงได้รับการล้างมลทินตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ก็ไม่อาจดำเนินการทางวินัยกับผู้นั้นได้อีกต่อไป
๔. กรณีผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว แต่ผู้นั้น
ยังไม่ได้รับโทษทางวินัย ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรง ในระหว่างที่ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ มีผล
ใช้บังคับ กรณีนี้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะทำให้ได้รับรับประโยชน์จากการล้างมลทินตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยกับผู้นั้นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ

___________________


3]ฝ่ายวินัยและเบียนประวัติ

3]กองการเจ้าหน้าที่

3]กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

3]โทร ๐ ๒๒๔๕ ๑๐๙๑


พี่ครับ ผมอ่านได้ไม่เกินวันละ 3 บรรทัดครับ แล้วผมจะรู้เรื่องมั๊ยเนี่ย :lol:
ตราบใดที่ยังไม่สามารถซื้อลอตเตอรี่ได้ในราคา 80 บาท ก็อย่าไปหวังอะไรอย่างอื่นให้มันมากมายกันเลย ครับพี่...น้อง

#5 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 13:55

อ่านข้อสุดท้ายครับ...
๔. กรณีผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว
แต่ผู้นั้นยังไม่ได้รับโทษทางวินัย

ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรง ในระหว่างที่ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ มีผลใช้บังคับ
กรณีนี้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จะทำให้ได้รับรับประโยชน์จากการล้างมลทินตาม มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยกับผู้นั้นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ

ถ้ายังไม่เคยได้รับโทษ(ไล่ออก)จากการกระทำ = ไม่มีสิทธิ์...ใช้ประโยชน์จาก พรบ.นี้
และอีกอย่าง ปปช.และ อพก.เพิ่งจะชี้มูลและสั่งลงโทษ...
พรบ.ล้างมลทิน สิ้นสุดผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 ธค.50 แล้วครับ


ขนาดว่า***...ในระหว่างที่ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ มีผลใช้บังคับ...***
ยังใช้ไม่ได้ แล้วขณะนี้ พรบ.ล้างมลทิน ไม่มีผลใช้บังคับ มันจะได้ๆยังไง

Edited by คนกรุงธน, 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 14:01.

"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"


#6 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 14:10

ถ้าตีความตามที่พวกมันเห่า ก็เท่ากับว่า
...ตั้งแต่มีประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้และในอนาคต ข้าราชการจะทำผิดยังไงก็ได้ก่อนวันที่ 5 ธ.ค.50 ก็จะไม่ถูกลงโทษเลย...

Edited by คนกรุงธน, 25 กันยายน พ.ศ. 2555 - 14:12.

"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"