ขอเชิญ.สภาเสรีไทยมาช่วยหาทางออกให้ชาวนามีอนาคตที่ยั่งยืน.
#1
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:48
- ครุฑดำ likes this
#2
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:05
นั่นคือ "การปลูกจิตสำนึก" ในการดำรงชีวิตครับ
ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด
...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี
โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี
...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย
#3
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:45
#4
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:46
roadmap มาเลย
ผมว่าถ้ามัน ok ได้ผล ควรนำไปใช้
ตั้งแต่เรื่อง เมล็ดเพราะพันธุ์ การดูแลรักษาดิน ตลอดจน แนวทางพ่อค้าคนกลาง
ผมว่าชาวนาไทยทำได้นะ มีประสิทธิภาพด้วย
ข้าวไทยสุดยอดที่สุดแล้ว ขอแค่มี
เครื่องมือ นวัตกรรม เทคนิค การดูแลรักษา การตัดสินใจต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
พูดแล้วมันตื่นเต้นนน ขอร่วมด้วยคนครับ หาข้อมูลก่อน
- kon_thai likes this
#5
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:46
1.ลดอัตราดอกเบี้ยลง สำหรับ ปีแรก ๆ
2.ให้ความช่วยเหลือด้านต้นทุนการผลิตอื่น เช่น เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช
สำหรับชาวนา ที่แม้ยังมีหนี้สิน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีให้ความช่วยเหลือ
1.การประกันราคาขายข้าว และประกันการสูญเสียในฤดูการผลิต เช่น น้ำท่วม หรือ ถูกศัตรูพืชบุกทำลาย อันที่จริงของ ปชป เขาล่ะอันนี้
2.การลด จำนวนพ่อค้าคนกลาง โดยการประสานงานของกระทรวงพาณิชย์ ในที่ทุรกันดาร
3.การช่วยเหลือด้านค่าขนส่ง น้ำมันในราคาพิเศษ
- gears likes this
ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ
PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract
FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY
#6
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:49
สำหรับชาวนา ที่ยังมีหนี้สินคั่งค้างอยู่เกินกว่าที่จะชำระได้ในกรณีปกติ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ อาจจะด้วยวิธีการ
1.ลดอัตราดอกเบี้ยลง สำหรับ ปีแรก ๆ
2.ให้ความช่วยเหลือด้านต้นทุนการผลิตอื่น เช่น เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช
สำหรับชาวนา ที่แม้ยังมีหนี้สิน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีให้ความช่วยเหลือ
1.การประกันราคาขายข้าว และประกันการสูญเสียในฤดูการผลิต เช่น น้ำท่วม หรือ ถูกศัตรูพืชบุกทำลาย อันที่จริงของ ปชป เขาล่ะอันนี้
2.การลด จำนวนพ่อค้าคนกลาง โดยการประสานงานของกระทรวงพาณิชย์ ในที่ทุรกันดาร
3.การช่วยเหลือด้านค่าขนส่ง น้ำมันในราคาพิเศษ
จะลดพ่อค้าคนกลางได้ยังงัย ในเมื่อพ่อค้าคนกลางเป็นนักการเมือง?
ประชาธิปไตยแบบแดง: 1. ไม่ใช่แดง เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ 2. เสียงส่วนใหญ่ คือเสียงถูกต้อง 3. กฎพวกพ้องต้องเหนือกฎหมาย 4. เบื้องสูงมีไว้เหยียบย่ำ 5. ใครทำก็ผิด แต่แดงต้องไม่ผิด 6. คิดร้ายต่อทักษิณย่อมชั่ว 7. มั่วบิดเบือนหลอกพวกเดียวกัน 8. ปั้นน้ำเป็นตัวแล้วแถ
#7
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:54
ช่วง 3-4 ปีที่แล้ว ผมยังพูดกับครอบครัวเลยว่า ข้าวแพงหน่อยไม่เป็นไร ขอให้ชาวนาอยู่ได้
ราคาตลาดโลกข้าวก็ราคาสูงขึ้นพอสมควร ปัญหาคือนักการเมืองพยายามยัดเยียดให้คนอื่นเห็นภาพความยากจนของชาวนาบังหน้า
เพื่อหวังผลทางการเมืองและผลประโยชน์ แทนที่จะก้าวขึ้นไปพร้อมกันทั้งประเทศ
หลังจากรัฐบาลนี้หมดอำนาจ ตรวจสอบได้เลยครับว่า มีการโกงขนานใหญ่แน่นอน
#8
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:14
1. ปลูกข้าวเน้นคุณภาพเป็นหลัก เช่น ข้าวหอม
2. แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
3. ยกเลิกทำนา ปลูกพืชชนิดอื่น
-------------------------------------------------------
1. ปลูกข้าวเน้นคุณภาพเป็นหลัก เช่น ข้าวหอม
ทำอย่างไรต้นทุนต่ำ และกำไรสูง
จำนำปัจจุบันเป็นการอุ้มชาวนา โดยผลาญภาษีคนในชาติโดยใช่เหตุ
#9
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:26
2. ชาวนาต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีการทำนา โดยไม่ยึดติดความเชื่อแบบเดิมๆที่เคยทำ
3. ชาวนาควรเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีมันสมองเป็นของตัวเอง (กล้าที่จะตัดสินใจเองโดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นจนเกินไป)
4. กล้าที่จะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนในลักษณะองค์กรณ์หรือสหกรณ์ เพื่ออำนาจต่อรองกับโรงสีหรือแม้แต่รัฐบาล
นึกได้แค่นี้ก่อนครับ
- ต้นหอม, RiDKuN_user, ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่ and 3 others like this
#10
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:30
ถ้าชาวนาประเทศเราแข็งแกร่งได้ ผมว่าอะไรก็ไม่กลัวอ่ะ
Edited by gears, 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:34.
#11
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:30
มันมีวิธีอยุ่แล้ว แต่ไม่มีคนยอมทำตาม ขนาดมูลนิธิ
ขอให้กันที่ 1 ไร่ มาปลูกแบบนี้ ถ้าผลผลิตแย่ จะจ่ายเงิน
ชดเชยให้ ก็ยังไม่มีคนทำ
#12
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:40
#13
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:48
ทำนารวม และขายข้าว / ซื้อปุ๋ย ยา เมล็ดพันธุ์ ผ่านระบบสหกรณ์
แต่ข้าราชการไทยที่ขี้โกง กับชาวนาที่ขี้เกียจ พังระบบนี้ไปนานแล้ว
ทั้งๆที่มันเป็นระบบที่ดี ถ้าทำให้ดี ซีพี โรงสี มีหนาว
- ชาวสวน, pream, whiskypeak and 1 other like this
ความเป็นกลางมันคือหลุมหลบภัยของคนขี้ขลาด - ชัย ราชวัตร
#14
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:48
1. ชาวนาต้องกล้าที่จะเปิดรับเอาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะช่วยให้การทำนามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ชาวนาต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีการทำนา โดยไม่ยึดติดความเชื่อแบบเดิมๆที่เคยทำ
3. ชาวนาควรเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีมันสมองเป็นของตัวเอง (กล้าที่จะตัดสินใจเองโดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นจนเกินไป)
4. กล้าที่จะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนในลักษณะองค์กรณ์หรือสหกรณ์ เพื่ออำนาจต่อรองกับโรงสีหรือแม้แต่รัฐบาล
นึกได้แค่นี้ก่อนครับ
http://www.youtube.com/watch?v=3581qrwUSDc
มันมีวิธีอยุ่แล้ว แต่ไม่มีคนยอมทำตาม ขนาดมูลนิธิ
ขอให้กันที่ 1 ไร่ มาปลูกแบบนี้ ถ้าผลผลิตแย่ จะจ่ายเงิน
ชดเชยให้ ก็ยังไม่มีคนทำ
ถ้าตั้งใจระดมความคิด ผมว่ามีชาวนาที่อยู่แบบไม่มีหนี้สินหลายคนนะครับ เอาเป็นแบบอย่างได้
แต่ที่ต้องทำให้ได้ก่อนคือ ให้ได้รัฐบาลที่หวังดีกับประชาชนจริงๆเสียก่อน
เพราะเรื่องนี้มันต้องใช้เวลาและเงินสนับสนุน โดยไม่คิดโกง
#16
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:05
1. ชาวนาต้องกล้าที่จะเปิดรับเอาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะช่วยให้การทำนามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ชาวนาต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีการทำนา โดยไม่ยึดติดความเชื่อแบบเดิมๆที่เคยทำ
3. ชาวนาควรเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีมันสมองเป็นของตัวเอง (กล้าที่จะตัดสินใจเองโดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นจนเกินไป)
4. กล้าที่จะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนในลักษณะองค์กรณ์หรือสหกรณ์ เพื่ออำนาจต่อรองกับโรงสีหรือแม้แต่รัฐบาล
นึกได้แค่นี้ก่อนครับhttp://www.youtube.com/watch?v=3581qrwUSDc
มันมีวิธีอยุ่แล้ว แต่ไม่มีคนยอมทำตาม ขนาดมูลนิธิ
ขอให้กันที่ 1 ไร่ มาปลูกแบบนี้ ถ้าผลผลิตแย่ จะจ่ายเงิน
ชดเชยให้ ก็ยังไม่มีคนทำ
ถ้าตั้งใจระดมความคิด ผมว่ามีชาวนาที่อยู่แบบไม่มีหนี้สินหลายคนนะครับ เอาเป็นแบบอย่างได้
แต่ที่ต้องทำให้ได้ก่อนคือ ให้ได้รัฐบาลที่หวังดีกับประชาชนจริงๆเสียก่อน
เพราะเรื่องนี้มันต้องใช้เวลาและเงินสนับสนุน โดยไม่คิดโกง
มันออกทีวีช่อง 9 ทั่วประเทศนะครับ
ถ้าจำไม่ผิด ช่อง 5 ก็เคยออก นสพ. ก็เคยลง
ไม่ต้องเสียเงิน แถมคุณไชยพรก็บอก (กับเพื่อนผม)
ว่าบอกเพื่อนบ้านแล้ว ก็ไม่มีใครยอมทำตามเลย
ดูในคลิปได้ครับ นาข้างๆ ยังเผาฟางข้าวอยู่เลย
ใช้เงินสนับสนุนแล้วมันจะเปลี่ยนอะไรได้หรือ
เงินไม่ได้เป็น "พระเจ้า" คอยบันดาลให้ "คนไทย"
เปลี่ยนนิสัยให้ดีขึ้นได้นะ ถ้าเปลี่ยนให้แย่ลงอันนี้
มีเพียบ
ถ้าเห็นตัวอย่าง เห็นเงิน เห็นสารพัด ยังเปลี่ยนใจ
เพื่อนบ้านไม่ได้ ก็เลิกหวังได้แล้วครับ
ช่อง PBS
Edited by eAT, 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:11.
#17
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:13
#18
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:16
"คนโง่มักจะชอบว่าคนอื่นว่าโง่"
"ถ้าคนเราคิดเหมือนกันหมด ก็ไม่มีเลือกตั้งซิครับ"
"ผมไม่พูด เรื่อง 112 แล้ว นะครับ กรุณาอย่าถาม (17 พค 2012)"
#19
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:39
บทสนทนายาวมาก เพราะรถติดสาทรไม่ขยับ เลยได้เรื่องมาเต็มๆ
เขาบอกว่า สู้ค่ายา ค่าปุ๋ยไม่ไหว ต้นทุนสูง ขาดทุน หาแรงงานเกี่ยวข้าวไม่ได้ ค่าแรงสูง มิหนำซ้ำยังแล้ง ดินดอน ดินไม่ดี ...บลา บลา บลา
เราถามเขาว่าเคยหาวิธีลดต้นทุนการทำนาโดย
- ทำบัญชีครัวเรือน
- ทำนาโดยเลี่ยงการใช้สารเคมี อย่างที่อาจารย์เคมีท่านหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคเหนือ ลาออกจากการเป็นครูมาเป็นชาวนา แล้วทำนาโดยปลูกมะนาวรอบคลองส่งน้ำเพื่อให้มะนาวตกลงในน้ำ ทำให้น้ำมีสภาพเป็นกรดอ่อน เหมาะแก่การปลูกข้าว ได้ผลผลิตดี ส่วนมะนาวด้านที่ไม่ติดคลอง เอาไปขายได้เงินปีัละเป็นหมื่น
- อาจารย์ยักษ์ มหาวิทยาลัยคอกหมู สอนทำนาโดยได้ผลผลิตน้อยกว่าการใช้สารเคมีเล็กน้อย แต่ลดต้นทุนมหาศาล ทำให้กำไรมาก ขนาดในยุคประกันราคาข้าวยังกำไรไร่ละไม่ต่ำกว่า 5000
- การทำนาแบบคุณชัยพร ชาวนาเงินล้าน
- การทำไร่นาสวนผสม
- การทำนาโยน
- การรวมตัวจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ยกตัวอย่างชาวบ้านในบุรีรัมย์(ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่งรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์โรงสีกันในวัดโดยมีเจ้าอาวาสคอยสนับสนุน ผลิตข้าวปลอดสารเคมีขาย ชาวบ้านได้กำไรเอง
ไม่เอาๆๆๆๆ
โดยเฉพาะสหกรณ์ พี่แกบอก ผู้ใหญ่บ้านจัดตั้งสหกรณ์ตามแบบที่รัฐแนะนำ ทำแล้วก็โกงกิน สินค้าที่เอามาขายก็มีไม่มาก มีไม่ครบ ไม่มีคนดูแล ในที่สุดก็ต้องปิดตัวลง
เราต้องอธิบายว่า สหกรณ์ที่ว่า หมายถึงการรวมตัวของชาวบ้านเอง เพื่อลดต้นทุน เพื่อให้เข้มแข็ง มีอำนาจต่อรอง ไม่ใช่สหกรณ์ร้านค้าอย่างที่แกเข้าใจ
ดูท่าแท็กซี่คนนี้ ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ปลูกข้าวแล้วไม่ขาดทุน
ยังยึดติดกับปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า
ไม่มีการคิดนอกกรอบจากเดิม
แถมเพื่อนบ้านเองก็ไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีการรวมตัวกัน ต่างคนต่างอยู่
- ชาวสวน, ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, Nong and 3 others like this
#20
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:50
1 ตั้งกองทุนชาวนา.เก็บจากการขายข้าว..กิโลกรัมละ2บาทรัฐบาลออกช่วย2บาท.(ในรูปแบบสหกรณ์ ก็ได้)มีทุกอำเภอที่มีชาวนา(คำนวนจากพื้นที่ทำนาของชาวนาของแต่ละอำเภอ)ธกส.ต้องเข้ามาสำรองเงินให้ค่าข้าวก่อนในช่วงแรก(จำนำข้าวเปลือก)ให้ลูกๆของชาวนาเข้ามาบริหารจัดการ(ถ้าไม่เป็นภาครัฐต้องเป็นผู้จัดอบรมให้ทั้งหมด)
2 ตั้งโรงสีชาวนาลานตาก(พร้อมอุกรณ์)โกดังเก็บข้าว.ทุกอำเภอ.(ให้พอกับจำนวนข้าวที่ผลิตได้ของแต่ละอำเภอ)ค่าใช้จ่ายรัฐให้กู้ก่อน.หรือรัฐเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วยกให้แต่ละชุมชนเข้ามาบริหารกันเอง..
3 มีศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวทุกจังหวัด...รัฐบาลออกค้าใช้จ่าย
4 ข้าวทีสีได้จะทำการเปิดการประมูลขายข้าวโดยพ่านกองทุนชาวนาหรือสหกรณ์
ผมว่าหลังจากนั้นไม่น่าจะเกินสองปีชาวนาก็น่าจะลืมตาอ้าปากได้ครับ..
ใครมีความคิดเห็นเพิ่มเติมได้เลยครับ..
#21
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:32
จำนำมีเป็นบางช่วงที่ราคาข้าวตกตำ่ เอาข้อดีทั้ง 2 ระบบมารวมกัน ชดเชยข้อเสียกันและกัน
แต่ทั้งหมดควรอยู่บนหลักการที่ว่า แค่ช่วยให้ชาวนาอยู่ได้เท่านั้น ไม่ใช่ช่วยให้รวย ชาวนาหากอยากรวย ต้องขวนขวายเอาเอง
ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับโครงการช่วยเหลือชาวนา แบบต่างๆ ที่ต้องทำกันขนานใหญ่ หลายโครงการสอดประสานกัน
ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อปฎิวัติ การปลูกข้าวทั้งประเทศไทย การยกระดับและปรับปรุงวิธีการปลูกข้าว
ของชาวนาไทยให้ดีขึ้น เน้นที่่การลดต้นทุนการผลิตข้าว หากทำสำเร็จโครงการช่วยเหลือ อย่าง จำนำ+ประกัน อะไรพวกนี้
จะลดความสำคัญลงจนอาจไม่ต้องใช้อีก เพราะขายข้าวปกติก็ได้ราคาดีกว่า ไม่ยุ่งยากด้วย
แบบว่า ชาวนาเสพติดประชานิยมงอมแงมกันขนาดหนักแล้ว เหมือนติดยา เลิกทันทีไม่ได้ ต้องค่อยๆเลิก และค่อยๆสั่งสอน
อีกอย่างการให้ชาวนาปรับตัว พัฒนาตนเองขึ้น รัฐต้องช่วยเหลือ และดูแลอย่างมาก ไม่ใช่แค่ส่งเสริม รนณรงค์ แบบได้แต่พูด
ปากเปียกปากแฉะ แบบนี้อีกกี่ชาติชาวนาก็ไม่ฟังหรอกครับ แล้วถ้าการปรับตัวมันทำให้เขาลำบากมากขึ้น(แม้จะได้ตังมากขึ้นก็ตาม)
เขาก็ไม่ทำหรอก รัฐต้องให้ความช่วยเหลือและดูแลอย่างเพียงพอ ไม่ให้พวกเขาลำบากขึ้นมากนัก เขาจึงจะยอมเปลี่ยน
อย่างชาวนาเงินล้าน ชาวนาจริงๆ เขาก็ชื่นชมนะ แต่มันออกจะเป็นสกิลส่วนบุคคลของลุงแก โดยเฉพาะพวกเครื่องอำนวยความสะดวก
ที่ลุงแกทำเอง ประยุกต์เอง ชาวนาทั้่วๆไปไม่สามารถทำได้เลย หากรัฐมีโครงการจัดหาเครื่องมือดีๆ ราคาถูกๆให้ชาวนา ยืมไปใช้
หรือหาช่องทางให้ชาวนาหาเครื่องมือเหล่านี้ได้ง่ายๆ เชื่อว่าชาวนาหลายๆ คนคงอยากลองเปลี่ยนตัวเองเพื่อเป็นชาวนาเงินล้าน
แบบลุงเขาบ้างล่ะ แล้วก็ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว แต่อีกหลายๆเรื่อง ต้องทำกันขนานใหญ่ หลายโครงการสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ
ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่นเรื่อง ปุ๋ย ยา เมล็ดพันธุ์ ระบบชลประทาน สหกรณ์ ฯลฯ และที่สำคัญ ความรู้
พูดมาซะยืดยาง สรุปสั้นๆ
- คงโครงการแบบประกัน/จำนำไว้ก่อน แต่ปรับปรุงให้สมเหตุสมผลขึ้นไม่เว่อร์ โปร่งใส ลดภาระทางการเงินของประเทศ
- เอาเงินมาเน้นเรื่องการยกระดับ การปลูกข้าวของชาวนาไทย ทั้งประเทศ ทำหลายๆโครงการ เป็นระบบสอดประสานกัน จริงจังต่อเนื่อง
- *** เอาเป็นว่า ทุกไอเดียดีๆ ที่นักวิชาการไทยคิดเพื่อช่วยเหลือชาวนาน่ะมีเยอะแยะมากมาย รัฐบาลก็เอาไปส่งเสริมแบบจริงๆจังซักที
ใช้วิธีอะไรก็ได้ ไม่ใช่ได้แต่พูดๆ ทำลวกๆ แล้วก็เลิกกันไปแบบทุกวันนี้
แล้วจะทำอย่างไร? รายละเอียดก็เอาไปถกกันต่อไปล่ะกัน
Edited by annykun, 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:39.
- kon_thai likes this
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม คือ ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
คุณธรรมที่พร้ำสอน ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา ส่วน ประชาธิปไตยน่ะรึ เอาเข้าจริงๆ สำคัญอันใด??
#22
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:34
ปัญหาช่วงปลูกข้าว
1. พันธุ์ข้าวสำคัญมาก ส่วนใหญ่ใช้เวลา 120 วัน มีบางพันธุ์ใช้เวลาแค่ 90 วัน แต่เมล็ดข้าวเบา เมื่อสีข้าวไม่เป็นเมล็ดแตกเป็นแป้ง เข้าใจว่าเวียดนามมีพันธุ์ข้าว 100 วัน มีคุณภาพใกล้เคียง ข้าว 120 วันของไทย
2. เมื่อปลูกข้าวเปลือก 1 เมล็ด ข้าวจะแตกกอ 3-7 ต้น ชาวนาต้องมีความรู้เรื่องให้ปุ๋ย ต้นข้าวถึงจะแตกกอมาก
3. น้ำท่วม ฝนแล้ว แต่ละเขตมีช่วงฝนตกไม่เท่ากัน การประกาศช่วงเวลารับจำนำควรดูพื้นที่ด้วย บางแห่งหากไม่เร่งปลูกจะไม่ทันเก็บเกี่ยวช่วงจำนำข้าว ต้องรีบปลูกทั้ง ๆ ที่รู้ว่าน้ำอาจจะท่วม
4. ช่วง 16-30 กันยาเป็นช่วงหมดปีจำนำ ต้องประกาศให้ชาวนารู้ล่วงหน้า เขาจะได้ปลูกข้าวให้พอดีรอบ
3.ชาวนาต้องเกี่ยวข้าวตามกำหนด ช้าไม่ได้ ข้าวแตก เมื่อมีเวลาเก็บแน่นอน โรงสีที่รับข้าวจึงสำคัญหากไม่มีโรงสีรับก็ต้องขายขาด ตันละ 8000 พันบาท (ชาวนาบอกว่าได้แค่ทุน ไม่ได้ค่่าแรง)
จากเหตุการณ์ช่วง 2-3 อาทิตย์นี้
ตัวอย่างที่ 1 ชาวนาแย่งรถเกี่ยวข้าวในวันที่ 15 กันยา เพราะ 16 หมดเวลารับจำนำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือพวกที่เก็บเกี่ยว 16-20 กว่า ๆ ต้องขายข้าว ราคาเงิดสดให้โรงสี 8000 บาท/เกวียน
คนที่เกี่ยว 23 กันยา ได้ 12,490 บาท/เกวียน เพราะเจ้าหน้าที่ให้โรงสีรับฝากข้าวไว้ก่อน 1 ต.ค. ค่อยเอาข้าวเข้าโครงการ แต่ให้โควต้า วันละ 200 ตัน (เกี่ยวต่างกันอาทิตย์เดียว ราคาต่างกันมาก)
ตัวอย่างที่ 2 คนที่เกี่ยวข้าวช่วง 1-4 ต.ค. สหกรณ์การเกษตรยังไม่รับข้าว เพราะมีข้าวค้างจากที่รับฝากช่วง 16-30 กันยายน ยังเคลียข้าวไม่หมด บางคนไปฝากข้าวตามที่เขารับฝาก เจ้าหน้าที่บอกว่าอีก 2 เดือนได้ใบประทวน (คำถามคือ ทำไม่ไม่ออกใบประทวนให้ ถ่วงไว้ 2 เดือนทำไม หาก 2 เดือนไม่ได้ใบ แล้วเจ้าหน้าที่บอกว่าให้ขนข้าวกลับไป แล้วชาวนาจะทำอย่างไร นี่คิดเองนะ(เป็นโรคขี้กลัว...กลัวโดนโกง) ชาวนาบอก 2 เดือน ก็ 2 เดือน เชื่อฟังทุกอย่าง
ตัวอย่างที่ 3 คนที่เกี่ยวข้าววันที่ 4 เอาข้าวไปรอคิวเพื่อให้เขาเปิดรับวันที่ 5 หากฝนตกคืนนี้จะเกิดอะไรขึ้น ค่าเช่ารถก็เพิ่มอีก 1 วัน เอาผ้าใบคลุมรถข้าวจะมีความชื้นสูงไม่ได้ราตา
เหนื่อยแล้วไม่เคยพิมพ์ยาว ๆ หาแป้นตัวอักษรไม่ค่อยเจอ
#23
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:16
ราคาข้าวมันเท่านี้ แต่ราคาปุ๋ย ยา ค่าแรง ค่าเช่า ค่าโสหุ้ยรถไถ
หาวิธีเพิ่มผลผลิตต่อไร่ มันก็มีข้อจำกัดทางธรรมชาติของข้าวเอง
ต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วย
=GMO=
#24
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:19
#25
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:20
ถ้าตั้งใจระดมความคิด ผมว่ามีชาวนาที่อยู่แบบไม่มีหนี้สินหลายคนนะครับ เอาเป็นแบบอย่างได้
แต่ที่ต้องทำให้ได้ก่อนคือ ให้ได้รัฐบาลที่หวังดีกับประชาชนจริงๆเสียก่อน
เพราะเรื่องนี้มันต้องใช้เวลาและเงินสนับสนุน โดยไม่คิดโกง
มันออกทีวีช่อง 9 ทั่วประเทศนะครับ
ถ้าจำไม่ผิด ช่อง 5 ก็เคยออก นสพ. ก็เคยลง
ไม่ต้องเสียเงิน แถมคุณไชยพรก็บอก (กับเพื่อนผม)
ว่าบอกเพื่อนบ้านแล้ว ก็ไม่มีใครยอมทำตามเลย
ดูในคลิปได้ครับ นาข้างๆ ยังเผาฟางข้าวอยู่เลย
ใช้เงินสนับสนุนแล้วมันจะเปลี่ยนอะไรได้หรือ
เงินไม่ได้เป็น "พระเจ้า" คอยบันดาลให้ "คนไทย"
เปลี่ยนนิสัยให้ดีขึ้นได้นะ ถ้าเปลี่ยนให้แย่ลงอันนี้
มีเพียบ
ถ้าเห็นตัวอย่าง เห็นเงิน เห็นสารพัด ยังเปลี่ยนใจ
เพื่อนบ้านไม่ได้ ก็เลิกหวังได้แล้วครับ
ผมไม่ได้คิดว่าเงินเป็นพระเจ้า
แต่การจะทำอะไรที่ต้องการผลในวงกว้าง ต้องใช้เงิน
คุณจะให้คุณพรชัยหรือคนที่มีความคิดดีๆ
ออกไปเผยแพร่หรือสาธิตให้ชาวนาทั่วประเทศได้รู้
เขาก็ต้องใช้เงิน และถ้ามัวแต่ช่วยคนอื่นเขาจะเอาอะไรกิน
หรือการตั้งแปลงสาธิตให้ทั่วประเทศ คุณว่าใช้เงิน ใช้คนเท่าไหร่
และใช้เวลาอีกเท่าไหร่ ชาวนาจึงจะยอมรับ
เพื่อให้เป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
การรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ ผมก็เห็นด้วย(นี่ก็ใช้เงิน)
แต่เราต้องจัดการเรื่องการผลิตก่อน
#26
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:25
ชาวนา นาปี และชาวนา นาปรัง
นาปรังคือทำมามากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีพื้นที่ต้องเหมาะสมนั้นก็คืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ
พวกชาวนาประเภทนี้ทำเป็นอาชีพ พบได้ในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่และภาคอื่นๆ บ้างที่มีระบบกรมชลประทาน
เมื่อรู้ว่านั้นคืออาชีพของเขาๆ จะทำการเพาะปลูกอย่างมีระบบ ส่วนใหญ่จะเพาะปลูกแบบนาดำทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและมากกว่า
ส่วนเรื่องการขาย ชาวนาเหล่านี้จะทราบกลไกอย่างดี อีกทั้งเงินทุนหมุนเวียนเขาจัดเป็นระบบระเบียบและวางแผนไว้ชัดเจน
สำหรับนาปี คือปลูกปีละ 1 ครั้งตามฤดูกาลไม่มีการจัดการตามระบบชลประทาน
ส่วนใหญ่จะมีมากในแถบภาคอีสาน สังเกตุได้ว่าถ้าเข้าหน้านาเมื่อไร
แรงงานจะขอลากลับบ้านไปทำนาทั้งนั้น การเพาะปลูกก็เน้นเป็นนาหว่านผลผลิตได้น้อยกว่านาดำ
การจะได้ผลผลิตมากน้อยก็แล้วแต่ฟ้า ฝน เมื่อเกี่ยวเสร็จก็จะเก็บเอาไว้กินทั้งปี(แรงงานกลับมาทำงานต่อก็จะแบกข้าวกลับมาด้วย) เหลือก็ส่งชายโรงสีไป
ที่ผมชี้ออกมาอย่างนี้แล้วเนี้ย...ผมกลับมองอีกมุมนะครับว่าถ้าเราจะส่งเสริมหรือผลักดันเราควรจะจัดการอย่างไร
เอาอันดับแรกแรงงาน การที่ต้องเข้ามาหางานทำเพราะอะไรก็เพราะว่า 1 ปีเขาทำนาได้แค่นี้จริงๆ มันทำไม่ได้มากกว่านี้
ทั้งๆ ที่เขามีที่มีทางแต่ก็ต้องมาดิ้นรน
โซนนิ่งครับ ผมมองไว้เรื่องนี้ มาจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกกันใหม่
พื้นที่ไหน เหมาะกับอะไร แล้วให้สามารถทำได้ทั้งปี
ไม่ใช่ยึดติดกับการต้องทำนา ยึดติดว่าทำงานแล้วมีเงิน เมื่อมีเงินก็ซื้อข้าวได้(ไม่งั้นปานนี้ผมก็ต้องไปทำนากะเขาด้วย)
เมื่อเป็นโซนการจัดการก็ง่าย พัฒนา ควบคุม ลดเพิ่มได้ ผลผลิตก็ชัดเจน
ปล.คิดไปงั้นแหละครับ คงเป็นไปได้ยาก
#28
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:22
อย่างชาวนาเงินล้าน ชาวนาจริงๆ เขาก็ชื่นชมนะ แต่มันออกจะเป็นสกิลส่วนบุคคลของลุงแก โดยเฉพาะพวกเครื่องอำนวยความสะดวก
ที่ลุงแกทำเอง ประยุกต์เอง ชาวนาทั้่วๆไปไม่สามารถทำได้เลย หากรัฐมีโครงการจัดหาเครื่องมือดีๆ ราคาถูกๆให้ชาวนา ยืมไปใช้
หรือหาช่องทางให้ชาวนาหาเครื่องมือเหล่านี้ได้ง่ายๆ เชื่อว่าชาวนาหลายๆ คนคงอยากลองเปลี่ยนตัวเองเพื่อเป็นชาวนาเงินล้าน
แบบลุงเขาบ้างล่ะ แล้วก็ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว แต่อีกหลายๆเรื่อง ต้องทำกันขนานใหญ่ หลายโครงการสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ
ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่นเรื่อง ปุ๋ย ยา เมล็ดพันธุ์ ระบบชลประทาน สหกรณ์ ฯลฯ และที่สำคัญ ความรู้
ผิดครับ เพราะหัวใจหลักไม่ได้อยู่ที่เครื่องมือ
แต่อยู่ที่ความรู้ต่างหาก อย่างที่ผมบอกไป
ฟางข้าวไม่ต้องเผา แค่ไถกลบ แล้วปล่อยน้ำให้แห้ง
เพื่อไม่ให้เกิดก๊าชฟางเน่า ก่อนหว่านเมล็ด ก็ให้แช่
เชื้อราก่อน ฯลฯ หลายอย่างไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ
ส่วนสหกรณ์ ไม่สำเร็จหรอกครับ คนไทยชี้โกง
อย่างผมก็โดนญาติโกง ให้เดินสายไฟ จ่ายเงินหมด
เพราะเห็นว่าเป็นญาติ ก็เลยหนีไปทำไม่เสร็จ แถมก่อนหนี
ยังหลอกเอาเงินจากพี่สาวไปด้วย สกรณ์ไม่พ้น โกงสะบั้น
ญาติยังโกง แล้วเพื่อนบ้านจะเหลือหรือ?
- kon_thai likes this
#29
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:51
โครงสร้างการบริหารงานสหกรณ์ดีอยู่แล้วค่ะ มีหน่วยงานที่ปรึกษาด้วยนะคะ
แต่ถ้าจะให้เกษตรกรทำ ไม่ไหวแน่ๆค่ะ
ผู้ดำเนินการ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอ
เพราะเป็นงานเอกสารเยอะมาก
#30
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:00
ชาวนาขายข้าวได้ตันละ 10000 รัฐก็เพิ่มให้ 5000 ชาวนาขายได้ ตันละ 9000
รัฐก็เพิ่มให้ 6000 ชาวนาขายได้ 8000 รัฐก็เพิ่มให้ 7000 ตลาดการค้าต่างประเทศ
ก็เดินได้ตามปกติ รัฐจ่ายเงินให้ชาวนาแค่ครึ่งเดียวของการรับจำนำ
ทำไมต้องไปรับจำนำ 15000 แล้วเอาข้าวมาเก็บให้ล้นโกดัง จนพ่อค้าส่งออกจะเจ๊ง
ไปตาม ๆ กัน ตลาดค้าข้าวต่างประเทศถูกแย่งไปง่าย ๆ จนเวียตนามต้องออกมาขอบคุณ
รัฐบาลไทยที่ใจกว้างยิ่งกว่าน้ำท่วมประเทศ 55555555
#31
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:57
ทำแบบนั้นก็ได้ครับ..แต่มันแก้ที่ปลายเหตุมันไม่ยั่งยืน.ชาวนาก็จะรอคอยอย่างเดียว..ปลูกยังงัยก็ขายได้หมื่นห้า...ผมว่าเรามาหัดให้พวกเค้าบริหารและจัดการด้วยตัวเค้าเอง..พวกเค้าจะได้รู้ปัญหาจริงๆ.ในแนวคิดของผมถ้าเราให้พวกเค้าจัดการและบริหารในกลุ่มตัวเองได้ผมว่าดีที่สุดครับ..เหอ เหอ เหอ อยากให้ชาวนาขายข้าวได้ตันละ 15000 ก็ประกันราคาที่ 15000
ชาวนาขายข้าวได้ตันละ 10000 รัฐก็เพิ่มให้ 5000 ชาวนาขายได้ ตันละ 9000
รัฐก็เพิ่มให้ 6000 ชาวนาขายได้ 8000 รัฐก็เพิ่มให้ 7000 ตลาดการค้าต่างประเทศ
ก็เดินได้ตามปกติ รัฐจ่ายเงินให้ชาวนาแค่ครึ่งเดียวของการรับจำนำ
ทำไมต้องไปรับจำนำ 15000 แล้วเอาข้าวมาเก็บให้ล้นโกดัง จนพ่อค้าส่งออกจะเจ๊ง
ไปตาม ๆ กัน ตลาดค้าข้าวต่างประเทศถูกแย่งไปง่าย ๆ จนเวียตนามต้องออกมาขอบคุณ
รัฐบาลไทยที่ใจกว้างยิ่งกว่าน้ำท่วมประเทศ 55555555
#32
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 23:14
1 ตั้งกองทุนชาวนา.เก็บจากการขายข้าว..กิโลกรัมละ2บาทรัฐบาลออกช่วย2บาท.(ในรูปแบบสหกรณ์ ก็ได้)มีทุกอำเภอที่มีชาวนา(กองทุนนี้คำนวนจากพื้นที่ทำนาของชาวนาของแต่ละอำเภอ)ธกส.ต้องเข้ามาสำรองเงินให้ค่าข้าวก่อนในช่วงแรก(จำนำข้าวเปลือก)ให้ลูกๆของชาวนาเข้ามาบริหารจัดการ(ถ้าไม่เป็นภาครัฐต้องเป็นผู้จัดอบรมให้ทั้งหมด)
2 ตั้งโรงสีชาวนาลานตาก(พร้อมอุกรณ์)โกดังเก็บข้าว.ทุกอำเภอ.ค่าใช้จ่ายรัฐให้กู้ก่อน.หรือรัฐเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วยกให้แต่ละชุมชนเข้ามาบริหารกันเอง..
3 มีศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวทุกจังหวัด...รัฐบาลออกค้าใช้จ่าย
4 ข้าวทีสีได้จะทำการเปิดการประมูลขายข้าวโดยพ่านกองทุนชาวนาหรือสหกรณ์
ผมว่าหลังจากนั้นไม่น่าจะเกินสองปีชาวนาก็น่าจะลืมตาอ้าปากได้ครับ..
ถ้าอำเภอ A เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้.50,000ตัน.เอาเข้าโรงสีชาวนา.ให้ ธ.ก.ส.รับจำนำ80เปอรฺเซ็นของราคาข้าวเปลือกในตลาด.(ชาวนาได้เอาเงินไปใช้ก่อน)โรงสีทำการตากข้าว..อบ.ข้าวให้แห้ง..ตั้งค่าหักค่าความชื้นและน้าหนักที่หายจากค่าความชื้นเป็นข้าวแห้งแล้วสีออกมา..เพื่อจะเตรียมส่งประมูลต่อไป..(โรงสีได้แกลบและรำข้าว.ขายเป็นค่าใช้จ่ายของโรงสี)ให้บริษัทเอกชนเข้ามาเป็นคนกลางในการทำการบริหารจัดการในการประมูลรายได้จากการประมูลหักส่วนต่างให้ชาวนาไป(เท่ากับชาวนาขายข้าวสารไม่ใช่ขายข้าวเปลือกแต่ห้ามขายปลีกหรือทำขายเองหรือทำขายปลีกเองได้แต่ต้องไม่เกิน20เปอร์เซ็นอะไรทำนองนี้เพื่อให้ตลาดในภาครวมอยูได้)หักกิโลละ2บาททางรัฐเพิ่มให้2บาท.เงินที่ได้กิโลกรับละ4บาท.เพื่อเอามาบริหารจัดการในการรับจำนำข้าวในปีต่อไปและซื้ออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆให้เช่าใช้กันในกลุ่ม..เช่นรถไถ.รถเกี่ยวข้าว.และอื่นที่จำเป็นที่ต้องใช้ในกลุ่ม.
ข้าวเปลือก 1 ตัน.สีออกมาได้ข้าวสาร 660กก.ได้แกลบ 230กก. รำ110กก.
(1,000 กก.)
#33
ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 23:42
คุณพ่อผมเป็นชาวนา ไม่รวย แต่ไม่เห็นแกเป็นหนี้ ธกส. ลูกแก 8 คน รับราชการ 5 คน ทำงานบริษัท 1 คน เหลือ 2 คน ที่ต้องออกไปทำนาเพื่อสืบทอดเจตนารมย์ของคุณพ่อ
นาแกไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมี เห็นแต่ใส่ขี้วัวขี้ควายของแก แกทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง เลี้ยงปลา ปลูกผัก ปลูกผลไม้ มะนาว เลี้ยงเป็ด ไก่ เรียกว่าแทบไม่ต้องซื้ออาหาร นอกจากอยากเปลียนรสชาดใหม่ๆ เป็นบางครั้ง
ทุกวันนี้ท่านเสียแล้ว ผมเองก็เดินตามรอยพ่อ ทำราชการเป็นหลัก ทำนาบ้าง 5 ไร่ พอได้ไปพักผ่อน ทุกวันนี้เกี่ยวข้าวเอ็งและยังนวดข้าวโดยใช้ไม้ตีข้าวอยู่ ขนมาไว้หลังบ้านแล้วตีตอนเย็นหลังงานประจำ ไม่พึ่งรถสีข้าว และไม่สนใจเข้าโครงการจำนำข้าวด้วย
#34
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:18
อธิบายง่ายๆ แต่ชัดเจนดี
ทำไม...ชาวนาไทย จะไม่มีสิทธิ์ "รวย"...???
http://forum.seritha...=36896&start=60
OmniSci wrote:พี่ finder อย่าปล่อยให้คนเขลาอย่างผมอารมณ์ค้าง อุตสาห์อ่านความเห็นดีๆของพี่ อย่างเห็นด้วยและเข้าใจเห็นภาพแล้วเชียว มาจบตรงที่ให้มา กา vote no ตรงตอนจบของพี่เล่นเอาผมไปต่อไม่เป็นเลย
พี่ช่วยอธิบายต่อไปอีกนิด ได้ไหมครับว่า หลังจาก vote no จนสำเร็จแล้ว เป็นไงต่อ จึงไปจบที่ชาวนาของพวกเราลืมตาอ้าปาก มีเงินใช้ได้หนะครับ
ถ้าผมเข้าใจอย่างที่พี่เข้าใจ เราก็จะได้ไป vote no กันครับ ไม่ได้ล้อเล่น ผมตั้งใจจะช่วยชาวนาจริงๆครับ
แหมจะได้อีกเสียงที่โหวตโน ยอมอธิบายเต็มที่
แต่ไม่รู้คุณจะมาอ่านหรือเปล่า เพราะผมเพิ่งกลับเข้ามากระทู้นี้
อ้อ,ออกตัวก่อนครับ ผมไม่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับข้าวนะครับ
เรื่องที่จะพูดต่อไปนี้ เป็นความรู้ที่ผมรวบรวมจากการรับรู้มาในชีวิต
ถ้าผิดพลาดก็ขออภัย
การจะเหลือเก็บต้องมีรายได้มากกว่ารายจ่ายครับ เป็นเรื่องที่ใครๆก็รู้
ดูที่รายได้
คุณจะเห็นว่า รายได้ของชาวนาขึ้นอยู่กับการประกันราคาหรือจะจำนำก็ตาม เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
ที่ผ่านมาไม่ว่าวิธีไหนก็มีข้อดีและข้อเสีย แต่ปัญหาหลักอยู่ที่การโกงกินจากหน่วยงานราชการร่วมกับพ่อค้า
เริ่มที่โรงสีก่อนเลยครับ ถือเป็นด่านหน้าที่ชาวนาจะต้องเจอ ถ้าขั้นนี้คุมได้ ชาวนาก็ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
จะคุมได้ต้องมีกฎหมายปราบคอรัปชั่นที่เด็ดขาดและรัฐบาลที่โปร่งใสเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้
ดูที่รายจ่าย
รายจ่ายที่ได้ยินอยู่เสมอว่าเป็นภาระของชาวนาคือสารเคมีพวกยาฆ่าแมลงและปุ๋ย
ล่าสุดรัฐบาลออกงบประมาณ4พันล้านเพื่ออุดหนุนราคาปุ๋ยเคมีไม่ให้ขึ้นราคา ชาวนาจะได้ไม่ซื้อแพง
ซึ่งมันผิดครับ การทำเช่นนี้เป็นการช่วยพ่อค้าปุ๋ยให้ขายได้ต่างหาก
ทางที่ถูกคือต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครับ หาได้เองจากธรรมชาติ บนเวทีพธม.ก็พูดเรื่องนี้เป็นระยะ
คนที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารกำจัดแมลงที่ทำจากธรรมชาติจะลดต้นทุนมหาศาล จนเกือบเป็นศูนย์
สรุป ดังนั้นเมื่อรายได้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และรายจ่ายก็น้อยมาก ชาวนาจะจนได้อย่างไร จริงไหมครับ
คราวนี้เราจะทำให้เป็นเช่นนี้ได้อย่างไร ทุกท่านก็ดูสิครับ
ด้านรายรับโรงสีกดราคาชาวนาได้เพราะรัฐบาลไม่เอาจริงและบ่อยครั้งที่กลับเป็นผู้โกงเอง เพราะโรงสีต้องส่งต่อให้พ่อค้าและผู้ส่งออก
หรืออาจส่งไปที่รัฐบาลก่อนแล้วส่งให้พ่อค้าและผู้ส่งออกอีกที เบื้องหลังก็คือพ่อค้าและผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นนายทุนให้รัฐบาล
โดยเอารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการกดราคาชาวนา(กดราคาผ่านโรงสี)หรือโกงชาวนาก็ตาม และผลกำไรจากการขายข้าว
มาแบ่งกับคนในรัฐบาล
ด้านรายจ่าย พ่อค้าปุ๋ยและยาฆ่าแมลงก็เ็ป็นนายทุนให้รัฐบาลเช่นกัน นี่คือเหตุผลที่ไม่มีรัฐบาลใดสนับสนุน
การใช้ปุ๋ยและสารฆ่าแมลงชีวภาพอย่างจริงจัง แถมยังสนับสนุนการใช้และล่าสุดก็ยังอุดหนุนราคาปุ๋ยเคมีอีกด้วยอีกด้วย
และที่ร้ายไม่แพ้กัน รัฐบาลจะแจกพันธ์ข้าวที่ไม่เหมาะกับการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงชีวภาพให้แก่ชาวนา
การที่ชาวนาจะออกจากวงจรอุบาทว์นี้จึงยากขึ้น
สรุปสุดท้าย
นายทุนที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายของชาวนาและนายทุนที่เกี่ยวข้องกับรายรับของชาวนา ต่างล้วนเป็นนายทุนของรัฐบาลทุกรัฐบาล
อย่างนี้แล้ว จะมีรัฐบาลใดจะทำเพื่อชาวนาไหมครับ จึงมีแต่รัฐบาลที่ทำเพื่อนายทุนทั้งนั้น ชาวนาไทยจึงไม่มีทางรวย
นอกจากจะหลุดออกจากวงจรอุบาทว์นี้ อย่างที่รายการกบนอกกะลาเคยเสนอชีวิตชาวนาที่ทำสำเร็จมาแล้ว
ตอนที่ชื่อ"อรหันต์ชาวนา" ตัวเดินเรื่องชื่อแหลม แต่ส่วนใหญ่เพราะขาดการเรียนรู้ จึงยากจะหลุดออกมาได้
การชุมนุมของพธม.ที่ผ่านมาและเมื่อ193วันก็อาศัยจำนวนคนประท้วงเฉพาะในที่ชุมนุม ยังได้ผลมาตลอด
แต่ถ้ามีเสียงโหวตโนมากๆ จำนวนเสียงที่มากนี้จะเป็นแรงเสริมการชุมนุมของภาคประชาชนได้
เพราะถ้ารัฐบาลไม่ฟัง รัฐบาลอาจเจอกับการกดดันที่หนักกว่าจากแรงหนุนของพวกที่โหวตโน ถึงตอนนั้นรัฐบาลอาจอยู่ไม่ได้
การโหวตโนถ้ามากพอจนสามารถทำให้ภาคประชาชนนำมากดดันรัฐบาลได้ นอกจากจะใช้เรียกร้องการปฏิรูปการเมืองแล้ว
ยังสามารถใช้กดดันในเรื่องต่างๆเช่นการเรียกร้องของชาวนาหรือคนในอาชีพอื่นๆได้ด้วย เพราะทุกวันนี้ที่เวทีชุมนุมของพธม.
และก่อนหน้านั้นเมื่อ193วัน ก็ยังมีตัวแทนชาวนามาขึ้นเวทีเพื่อเรียกร้องผ่านไปยังรัฐบาลให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้
และรัฐบาลก็รีบตอบรับชาวนา เพราะกลัวชาวนาจะมาร่วมประท้วงกับพธม.ไงครับ
เห็นไหมครับว่า การมีภาคประชาชนที่มีกำลังเข้มแข็ง จะเป็นที่หวาดกลัวของทุกรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่ทำตาม,
แรงกดดันจากการโหวตโนถ้ามากมายมหาศาล แค่ขู่จะชุมนุมเท่านั้น รัฐบาลก็อุจจาระราดแล้วครับ
คงหายข้องใจแล้วนะครับ เฮ้อ,เหนื่อย กว่าจะเสร็จ
#35
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 01:10
แต่ถ้ามีเสียงโหวตโนมากๆ จำนวนเสียงที่มากนี้จะเป็นแรงเสริมการชุมนุมของภาคประชาชนได้
เพราะถ้ารัฐบาลไม่ฟัง รัฐบาลอาจเจอกับการกดดันที่หนักกว่าจากแรงหนุนของพวกที่โหวตโน ถึงตอนนั้นรัฐบาลอาจอยู่ไม่ได้
การโหวตโนถ้ามากพอจนสามารถทำให้ภาคประชาชนนำมากดดันรัฐบาลได้ นอกจากจะใช้เรียกร้องการปฏิรูปการเมืองแล้ว
ยังสามารถใช้กดดันในเรื่องต่างๆเช่นการเรียกร้องของชาวนาหรือคนในอาชีพอื่นๆได้ด้วย
เพราะทุกวันนี้ที่เวทีชุมนุมของพธม.และก่อนหน้านั้นเมื่อ193วัน ก็ยังมีตัวแทนชาวนามาขึ้นเวทีเพื่อเรียกร้องผ่านไปยังรัฐบาลให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้
และรัฐบาลก็รีบตอบรับชาวนา เพราะกลัวชาวนาจะมาร่วมประท้วงกับพธม.ไงครับ
เห็นไหมครับว่า การมีภาคประชาชนที่มีกำลังเข้มแข็ง จะเป็นที่หวาดกลัวของทุกรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่ทำตาม,
แรงกดดันจากการโหวตโนถ้ามากมายมหาศาล แค่ขู่จะชุมนุมเท่านั้น รัฐบาลก็อุจจาระราดแล้วครับ
อารมณ์ไหน?
#36
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 02:51
ถูกใจเสื้อแดง ของแพงไม่ว่า โดนโกงไม่ด่า ขอแค่ตระกูลชินนรกเป็น นายก พอ..
#37
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 04:52
ทำเป็นแบบ โครงการชาวนารุ่นใหม่ โดยรัฐสนับสนุนเรื่องการสร้างฐานความรู้เรื่องการทำนาอย่างถูกวิธี
คือมันต้องมีคนที่ทำแล้วสำเร็จออกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง และจำนวนต้องมากถึงระดับหนึ่ง คนที่เหลือถึงจะยอมเปลี่ยนความคิด
จากนั้นค่อยไปแก้เรื่องราคา ถ้ายังไม่เปลี่ยนวิธีทำนา มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอมาอุด
Invoke ExitWindowsEx, EWX_SHUTDOWN | EWX_POWEROFF | EWX_FORCEIFHUNG, SHTDN_REASON_MAJOR_SYSTEM
#38
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 04:57
พื้นที่ทางการเกษตรมีอยู่ในเขตชลประทาน 20% นอกเขตชลประทาน 80%
พวกที่อยู่ในเขตชลประทานจะสามารถปลูกข้าวได้มากกว่าพวกที่อยู่นอกเขต 1-2 รอบ
ถ้านาย ก. กับ นาย ข. มีปัจจัยอื่น ๆ เหมือนกันเกือบหมด ต่างกันแค่ นาย ก. อยู่ในเขตชลประทาน นาย ข. อยู่นอกเขต
นาย ก. กับ นาย ข. ได้กำไรจากการขายข้าวแต่ละรอบ 1 แสนบาท
นาย ก. ปลูกข้าวได้ 3 รอบ/ปี นาย ข. ปลูกได้ 1 รอบ/ปี เงินที่ได้ในแต่ละปี นาย ก. ได้ 3 แสนบาท/ปี นาย ข. ได้ 1 แสนบาท/ปี ถ้านาย ข. ระหว่างที่ยังปลูกข้าวไม่ได้ ไปหารายได้เสริมด้วยการใช้แรงงานได้ค่าแรงวันละ 500 บาท 240 วันก็ได้เงิน 1.2 แสนบาทโดยยังไม่หักค่าใช้จ่ายก็ยังได้เงินไม่เท่า นาย ก. เลยครับต่างกันประมาณ 1 แสน/ปี เริ่มเกิดความเหลื่อมล้ำแล้วครับ
Edited by Solidus, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:08.
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#39
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:07
นาย ก. มี 5 ไร่
นาย ข. มี 10 ไร่
นาย ค. มี 20 ไร่
ปัจจัยอื่น ๆ เหมือนกันหมด ได้กำไร 15000 บาท/ไร่/ปี
รวมแล้วแต่ละปี
นาย ก. ได้เงิน 7.5 หมื่นบาท/ปี เฉลี่ยได้เดือนละ 6250 บาท
นาย ข. ได้เงิน 1.5 แสน/ปี เฉลี่ยได้เดือนละ 12500 บาท
นาย ค. ได้เงิน 3 แสนบาท/ปี เฉลี่ยได้เดือนละ 25000 บาท
ดูแล้ว นาย ก. ถ้าปลูกข้าวอย่างเดียวก็ไม่ทำให้มีอยู่มีกินเท่า นาย ข. หรือ ค. ยิ่งนานไปก็ยิ่งมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น
Edited by Solidus, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:07.
- kon_thai likes this
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#40
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:19
พื้นที่เพาะปลูกมาก ผลผลิต ได้น้อยกว่า ต่างประเทศ โดยเฉพาะ ข้าวขาว ธรรมดา ซึ่งคนส่วนใหญ่ในโลกเขาบริโภคกัน
ตรงนี้จะทำอย่างไร ในการลดต้นทุนการผลิตลง ให้มี ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ลงทุนในดูแลรักษาจนข้าวเจริญเติบโตขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด
ข้าวหอมมะลิ นี่ยิ่งเป็นสิ่งที่แก้ง่ายที่สุด ทำได้ทันทีด้วย ผมเข้าใจว่า ใน ประเทศไทย ได้เคยกินข้าวหอมมะลิ แท้ ๆ น้อยมาก ยกเว้นแต่พวก ชาวนาที่เก็บเอาไว้กิน เอง
วิธีแก้ ง่ายนิดเดียวครับ กรมการค้าภายในนี่แหละ หมั่นตรวจจับ คุณภาพ หอมมะลิ ไม่ให้มีการปลอมปน ตั้งค่ามาตรฐาน เท่ากับ มาตราฐานการส่งออก ที่มีความบริสุทธิ์ 92 เปอร์เซนต์ คือ ในข้าวร้อยเม็ดจะต้องมี ข้าวหอม อยู่ 92 เม็ด ต้องตรวจสอบ อย่างเข้มงวด ต้องมีการตรวจ DNA สิ่งเหล่านี้ บางท่าน อาจจะขำ นะครับว่าเป็นไปได้ อย่างไร เรื่องนี้ เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นจริง ในการรักษาข้าวหอมมะลิ
แต่ต้นทุนบานครับ ผู้บริโภคภายในรับสภาพ ราคาข้าวหอมมะลิที่เพิ่มสูงขึ้นได้ หรือเปล่า การปลอมปนข้าวหอมมะลิ นี่มันมาตั้งแต่ชาวนา เอาข้าวเปลือก ข้าวหอม ปทุม ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกัน ทางด้านกายภาพ เดียวกับ ข้าวหอมมะลิ มาปลอมปน ดันนั้น ก็ไม่แปลกใจอีกเหมือนกัน เวลาที่รัฐจำนำข้าวหอมมะลิ น่าจะได้ ข้าวเปลือก ข้าวหอมปทุม แทน หรือปลอมปนซะเป็นส่วนใหญ่ มองตาเปล่า ยาก ต่อให้ผู้เชียวชาญก็เถอะ ต้องทำวิธีทดสอบ นั่นคือ หุง และก็ไปตรวจ DNA แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่รับผิดชอบเอาเอาจังกับ เรื่องพวกนี้ อย่างไร วิธีการเช่นนี้ ก็ ปริมาณข้าวก็เหลือน้อยที่จะส่งออกแล้ว ครับ แค่บริโภคภายในประเทศ ก็ ไม่เพียงพอ ราคาข้าวขยับสูงขึ้นแน่นอน ความต้องการจากต่างประเทศก็มีอยู่
แต่อย่าไป หลงเชื่อเลยครับว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวดีที่สุดในโลก แค่ถูกปากคนบางคน คนเอเซียเป็นบางกลุ่ม ก็เท่านั้น
ข้าวที่ดีที่สุดในโลก คือ ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงต่อไร่ โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด นี่แหละคือสิ่งที่ กรมข้าว และ องค์การข้าวโลก พยายามวิจัยมานาน
Edited by stt99, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:21.
- kon_thai likes this
#41
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:24
นาย ก. กับ นาย ข. มีพื้นที่ 20 ไร่
นาย ก. เลือกปลูกข้าวหอมจังหวัด ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.5 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 18000 บาท รวมได้เงิน 180000 บาท
นาย ข. เลือกปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.75 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 16000 บาท รวมได้เงิน 240000 บาท
ก็คำนวณเอาว่าจะปลูกอะไรดี
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#42
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:33
คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้กินข้าวหอมมะลิเป็นหลักอยู่แล้วครับ ส่วนใหญ่จะกินข้าวเจ้าชนิดอื่นไม่ก็ข้าวเหนี่ยวกันครับ แต่สื่อต่าง ๆ กับไปยกยอซะมากมายไม่มีอะไรมากครับ ประเทศไทย เราตอนนี้ ปลูกข้าว แล้ว เกินพอเพียงบริโภคภายในประเทศ ต้องส่งออกไปขายต่างประเทศ ครึ่งต่อครึ่งทีเดียว
พื้นที่เพาะปลูกมาก ผลผลิต ได้น้อยกว่า ต่างประเทศ โดยเฉพาะ ข้าวขาว ธรรมดา ซึ่งคนส่วนใหญ่ในโลกเขาบริโภคกัน
ตรงนี้จะทำอย่างไร ในการลดต้นทุนการผลิตลง ให้มี ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ลงทุนในดูแลรักษาจนข้าวเจริญเติบโตขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด
ข้าวหอมมะลิ นี่ยิ่งเป็นสิ่งที่แก้ง่ายที่สุด ทำได้ทันทีด้วย ผมเข้าใจว่า ใน ประเทศไทย ได้เคยกินข้าวหอมมะลิ แท้ ๆ น้อยมาก ยกเว้นแต่พวก ชาวนาที่เก็บเอาไว้กิน เอง
วิธีแก้ ง่ายนิดเดียวครับ กรมการค้าภายในนี่แหละ หมั่นตรวจจับ คุณภาพ หอมมะลิ ไม่ให้มีการปลอมปน ตั้งค่ามาตรฐาน เท่ากับ มาตราฐานการส่งออก ที่มีความบริสุทธิ์ 92 เปอร์เซนต์ คือ ในข้าวร้อยเม็ดจะต้องมี ข้าวหอม อยู่ 92 เม็ด ต้องตรวจสอบ อย่างเข้มงวด ต้องมีการตรวจ DNA สิ่งเหล่านี้ บางท่าน อาจจะขำ นะครับว่าเป็นไปได้ อย่างไร เรื่องนี้ เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นจริง ในการรักษาข้าวหอมมะลิ
แต่ต้นทุนบานครับ ผู้บริโภคภายในรับสภาพ ราคาข้าวหอมมะลิที่เพิ่มสูงขึ้นได้ หรือเปล่า การปลอมปนข้าวหอมมะลิ นี่มันมาตั้งแต่ชาวนา เอาข้าวเปลือก ข้าวหอม ปทุม ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกัน ทางด้านกายภาพ เดียวกับ ข้าวหอมมะลิ มาปลอมปน ดันนั้น ก็ไม่แปลกใจอีกเหมือนกัน เวลาที่รัฐจำนำข้าวหอมมะลิ น่าจะได้ ข้าวเปลือก ข้าวหอมปทุม แทน หรือปลอมปนซะเป็นส่วนใหญ่ มองตาเปล่า ยาก ต่อให้ผู้เชียวชาญก็เถอะ ต้องทำวิธีทดสอบ นั่นคือ หุง และก็ไปตรวจ DNA แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่รับผิดชอบเอาเอาจังกับ เรื่องพวกนี้ อย่างไร วิธีการเช่นนี้ ก็ ปริมาณข้าวก็เหลือน้อยที่จะส่งออกแล้ว ครับ แค่บริโภคภายในประเทศ ก็ ไม่เพียงพอ ราคาข้าวขยับสูงขึ้นแน่นอน ความต้องการจากต่างประเทศก็มีอยู่
แต่อย่าไป หลงเชื่อเลยครับว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวดีที่สุดในโลก แค่ถูกปากคนบางคน คนเอเซียเป็นบางกลุ่ม ก็เท่านั้น
ข้าวที่ดีที่สุดในโลก คือ ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงต่อไร่ โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด นี่แหละคือสิ่งที่ กรมข้าว และ องค์การข้าวโลก พยายามวิจัยมานาน
จะว่าไปมีวิธีโกงอย่างหนึ่งคือวิ่งไปสวมสิทธิ์จำนำข้ามเขต โดยเอาข้าวหอมจังหวัดวิ่งไปจำนำที่อิสาน กรณีนี้ไม่สามารถตรวจ DNA ได้ด้วย เพราะมันเป็นข้าวพันธุ์เดียวกันแค่ปลูกต่างพื้นที่แค่นั้น
Edited by Solidus, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:36.
- stt99 likes this
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#43
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 06:45
การเลือกพันธุ์ข้าว
นาย ก. กับ นาย ข. มีพื้นที่ 20 ไร่
นาย ก. เลือกปลูกข้าวหอมจังหวัด ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.5 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 18000 บาท รวมได้เงิน 180000 บาท
นาย ข. เลือกปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.75 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 16000 บาท รวมได้เงิน 240000 บาท
ก็คำนวณเอาว่าจะปลูกอะไรดี
เข้าใจว่า ข้าวหอมปทุมมีปัญหาทางด้านจัดเก็บ เหมือนกัน ความชื้นสูง ข้าวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และเหม็นเปรี้ยวได้ง่ายหลังจากที่หุงแล้วกินไม่หมด
และอีกเรื่องนึงคือ การผลิตข้าวหอมปทุม นั้น ข้าวหอมปทุม ไม่สามารถแทนที่ข้าวขาว และ ไม่สามารถนำเอาไปทำเป็นข้างนึี่ง หรือ Parboiled Rice เช่นเดียวกัน
- kon_thai likes this
#44
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:04
การเลือกพันธุ์ข้าว
นาย ก. กับ นาย ข. มีพื้นที่ 20 ไร่
นาย ก. เลือกปลูกข้าวหอมจังหวัด ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.5 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 18000 บาท รวมได้เงิน 180000 บาท
นาย ข. เลือกปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.75 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 16000 บาท รวมได้เงิน 240000 บาท
ก็คำนวณเอาว่าจะปลูกอะไรดี
เข้าใจว่า ข้าวหอมปทุมมีปัญหาทางด้านจัดเก็บ เหมือนกัน ความชื้นสูง ข้าวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และเหม็นเปรี้ยวได้ง่ายหลังจากที่หุงแล้วกินไม่หมด
และอีกเรื่องนึงคือ การผลิตข้าวหอมปทุม นั้น ข้าวหอมปทุม ไม่สามารถแทนที่ข้าวขาว และ ไม่สามารถนำเอาไปทำเป็นข้างนึี่ง หรือ Parboiled Rice เช่นเดียวกัน
โรงสีในจังหวัดปทุมธานี ไม่รับข้าวหอมปทุม บอกว่าสีแล้วเหลือเมล็ดน้อย
#45
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:27
ถ้าขายตามกลไกตลาดไม่มีปัญหาเท่าไหร่หรอกเพราะมันควบคุมไปในตัวอยู่แล้ว แต่ดันเจอรับจำนำข้าวทุกเม็ดเลยไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีคนซื้อ ไม่ต้องไปคิดว่าคุณภาพหลังการขายจะเป็นยังไง คิดแต่ทำยังไงให้ได้เงินมากสุด
การเลือกพันธุ์ข้าว
นาย ก. กับ นาย ข. มีพื้นที่ 20 ไร่
นาย ก. เลือกปลูกข้าวหอมจังหวัด ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.5 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 18000 บาท รวมได้เงิน 180000 บาท
นาย ข. เลือกปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.75 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 16000 บาท รวมได้เงิน 240000 บาท
ก็คำนวณเอาว่าจะปลูกอะไรดี
เข้าใจว่า ข้าวหอมปทุมมีปัญหาทางด้านจัดเก็บ เหมือนกัน ความชื้นสูง ข้าวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และเหม็นเปรี้ยวได้ง่ายหลังจากที่หุงแล้วกินไม่หมด
และอีกเรื่องนึงคือ การผลิตข้าวหอมปทุม นั้น ข้าวหอมปทุม ไม่สามารถแทนที่ข้าวขาว และ ไม่สามารถนำเอาไปทำเป็นข้างนึี่ง หรือ Parboiled Rice เช่นเดียวกัน
โรงสีในจังหวัดปทุมธานี ไม่รับข้าวหอมปทุม บอกว่าสีแล้วเหลือเมล็ดน้อย
เอาข้าวเจ้าอื่นมันก็ได้เงินมากกว่าพวกที่ปลูกข้าวหอม ลองคิดเฉลี่ยไร่ละ 0.65 ตัน ก็ได้เงิน 195000 บาท
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#46
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:37
ถ้าขายตามกลไกตลาดไม่มีปัญหาเท่าไหร่หรอกเพราะมันควบคุมไปในตัวอยู่แล้ว แต่ดันเจอรับจำนำข้าวทุกเม็ดเลยไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีคนซื้อ ไม่ต้องไปคิดว่าคุณภาพหลังการขายจะเป็นยังไง คิดแต่ทำยังไงให้ได้เงินมากสุด
การเลือกพันธุ์ข้าว
นาย ก. กับ นาย ข. มีพื้นที่ 20 ไร่
นาย ก. เลือกปลูกข้าวหอมจังหวัด ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.5 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 18000 บาท รวมได้เงิน 180000 บาท
นาย ข. เลือกปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.75 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 16000 บาท รวมได้เงิน 240000 บาท
ก็คำนวณเอาว่าจะปลูกอะไรดี
เข้าใจว่า ข้าวหอมปทุมมีปัญหาทางด้านจัดเก็บ เหมือนกัน ความชื้นสูง ข้าวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และเหม็นเปรี้ยวได้ง่ายหลังจากที่หุงแล้วกินไม่หมด
และอีกเรื่องนึงคือ การผลิตข้าวหอมปทุม นั้น ข้าวหอมปทุม ไม่สามารถแทนที่ข้าวขาว และ ไม่สามารถนำเอาไปทำเป็นข้างนึี่ง หรือ Parboiled Rice เช่นเดียวกัน
โรงสีในจังหวัดปทุมธานี ไม่รับข้าวหอมปทุม บอกว่าสีแล้วเหลือเมล็ดน้อย
เอาข้าวเจ้าอื่นมันก็ได้เงินมากกว่าพวกที่ปลูกข้าวหอม ลองคิดเฉลี่ยไร่ละ 0.65 ตัน ก็ได้เงิน 195000 บาท
พอดีกระทู้นี้ มัน เป็นกระทู้การพัฒนาชาวนาให้มี อนาคตยั่งยืนไม่ใช่ การบิดเบือนตลาด หรือไม่ก็ เป็นการโกงการจำนำ
#47
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:49
เลยค้น youtube มาให้
http://www.youtube.com/watch?v=e6oN0X_n36k
file pdf
http://scf.or.th/upl...bce350a88db.pdf
Edited by คุณนายนอกบ้าน, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:52.
#48
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:51
การปลอมปนของชาวนา การปลอมปน ของโรงสี กับ การกดราคาของผู้ค้า รวมทั้งการไม่เอาจริงเอาจังของภาครัฐ
เชื่อหรือไม่ว่า เรามีการส่งออกข้าวหอม มากกว่า ที่ผลิต แค่จำนวนส่งออก นะครับ ไม่ได้รวมกับ ข้าวหอมที่บริโภคภายใน ประเทศจีน ปกติภายในเดือนหน้าก็เริ่มสั่งข้าวหอมจากไทย หลังจากมีการปลอมปน การสั่งข้าวหอมก็ลดน้อยลงไปเยอะ ส่วนใหญ่จะสั่งข้าวหอมปทุมธานี แทน อันนี้ รวมกับ ฮ่องกง ซึ่งสองประเทศนี้ บริโภค ข้าวหอม เป็นลำดับ ต้น ๆ สั่งปีละ หลาย ๆ แสนตัน สำหรับ ข้าวหอม แต่ หลายปีที่ผ่าน สั่งเหมือนเดิม แต่ ได้ข้าวปลอมปนแทน
ยกตัวอย่างเลยนะครับ ว่า อย่างข้าวหอมหลาย ๆ ยี่ห้อ ที่เป็นชื่อห้างสรรพสินค้า หลาย ๆ ยี่ห้อที่เจ้าของรวยที่สุดในประเทศไทย นั้น แต่ละยี่ห้อเดิมที่มีแบบเดียว แต่เพราะการปลอมปนนั่นแหละ ยี่ห้อดั้งเดิม ก็ตายไป ก็ เอายี่ห้อใหม่มาขาย โฆษณา ประหลาด ๆ หลอกให้ ผู้บริโภคหลงผิด ไปตาม ๆกัน
ถ้าแต่ละยี่ห้อรักษามาตรฐานการผลิต และคุณภาพ เอาไว้ ข้าวหอมไทย ราคาเพิ่ม การเพาะปลูกเพิ่ม เบียดบังข้าวที่ไม่มีราคา และไม่คุ้มกับการผลิต เพิ่มมากขึ้น แต่ บางท่าน ก็ อาจจะบอกว่า อ้าว แล้วผลิตมากขึ้นนี่ ราคาก็ต้องตกต่ำ ใช่ครับ ปัญหาคือมันไม่ได้ทำได้ ง่าย ๆ นั่นแหละ ที่จะปลูกเพิ่มากขึ้นในที่นาเดิม ดังนั้น การวิจัยพัฒนา นี่เป็นสำคัญของการเพาะปลูกข้าว
ความต้องการข้าวหอม มีมาก ครับ ทั้งในและต่างประเทศ แต่การปลอมปนจากข้าวหอมปทุม นี่ก็ มีส่วนทำให้ คุณภาพข้าวหอมของไทย ด้อยลงมา จนกระทั่ง เอาไปปลอมปน กับข้าวท้องถิ่นในประเทศอื่น แล้ว บอกว่า เป็นข้าวหอมของไทย
ถ้าสามารถ ลดการปลอมปนได้ ผลก็คือ ข้าวหอม ไม่เพียงพอ ในการบริโภค รวมทั้งการส่งออก ด้วย ดังนั้น การลดการปลอมปนนั่นหมายความว่า ราคา ของข้าวหอม มะลิ สูงขึ้น จูงใจให้ ผลิตมากขึ้น จูงใจให้ พัฒนา สายพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ให้ มีความหอมมากยิ่งขึ้น ต้นทุนต่อไร่ ก็จะถูกลง
จำนวนข้าวหอม ที่ขาดแคลนจากการลดการปลอมแปลงนั้น มีมากเป็นล้านตัน ข้าวสารนะครับ ไม่ใช่ล้านตันข้าวเปลือก ดังนั้น โอกาสที่เราจะพัฒนาเพิ่มผลผลิต ให้เพียงพอต่อความต้องการนั้น ยังมีหนทางเดินอีกยาวไกล แต่ ก็ต้องเริ่มจากก้าวแรกนี่แหละ จริง ๆ เรื่องข้าวนี่ ยาวนะครับ ถ้าจะพัฒนากันอย่างยั่งยืน เอาสำหรับข้าวหอม เป็นพื้น ๆ ก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ
วิธีการจำนำข้าวในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่บ่อนทำลายศักยภาพในการผลิต รวมทั้งการดูแลเรื่องคุณภาพ ตามที่ หลาย ๆ ท่านพูดถึงเรื่องการปลอมปน ตลาดน่ะมี แต่ของห่วยนี่ก็ช่วยไม่ได้ เหมือนกัน
Edited by stt99, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:09.
#49
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:51
ก็คุยเรื่องทำยังไงให้ชาวนาอยู่ดีกินดีไม่ใช่หรือครับ แล้วนั่นก็ไม่ใช่เรื่องโกงการจำนำเลยครับ แต่เป็นการเลือกพันธุ์ข้าวที่จะปลูกว่าพันธุ์ไหนปลูกแล้วสามารถขายได้ราคาดีที่สุด ไม่ใช่คิดแต่ว่าราคาต่อตันสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ อย่างเดียว ต้องคิดเรื่องผลผลิตต่อไร่ด้วย แล้วเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม
ถ้าขายตามกลไกตลาดไม่มีปัญหาเท่าไหร่หรอกเพราะมันควบคุมไปในตัวอยู่แล้ว แต่ดันเจอรับจำนำข้าวทุกเม็ดเลยไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีคนซื้อ ไม่ต้องไปคิดว่าคุณภาพหลังการขายจะเป็นยังไง คิดแต่ทำยังไงให้ได้เงินมากสุด
การเลือกพันธุ์ข้าว
นาย ก. กับ นาย ข. มีพื้นที่ 20 ไร่
นาย ก. เลือกปลูกข้าวหอมจังหวัด ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.5 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 18000 บาท รวมได้เงิน 180000 บาท
นาย ข. เลือกปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.75 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 16000 บาท รวมได้เงิน 240000 บาท
ก็คำนวณเอาว่าจะปลูกอะไรดี
เข้าใจว่า ข้าวหอมปทุมมีปัญหาทางด้านจัดเก็บ เหมือนกัน ความชื้นสูง ข้าวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และเหม็นเปรี้ยวได้ง่ายหลังจากที่หุงแล้วกินไม่หมด
และอีกเรื่องนึงคือ การผลิตข้าวหอมปทุม นั้น ข้าวหอมปทุม ไม่สามารถแทนที่ข้าวขาว และ ไม่สามารถนำเอาไปทำเป็นข้างนึี่ง หรือ Parboiled Rice เช่นเดียวกัน
โรงสีในจังหวัดปทุมธานี ไม่รับข้าวหอมปทุม บอกว่าสีแล้วเหลือเมล็ดน้อย
เอาข้าวเจ้าอื่นมันก็ได้เงินมากกว่าพวกที่ปลูกข้าวหอม ลองคิดเฉลี่ยไร่ละ 0.65 ตัน ก็ได้เงิน 195000 บาท
พอดีกระทู้นี้ มัน เป็นกระทู้การพัฒนาชาวนาให้มี อนาคตยั่งยืนไม่ใช่ การบิดเบือนตลาด หรือไม่ก็ เป็นการโกงการจำนำ
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#50
ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:10
อย่างนี้ ต้อง ส่งเสริมครับ ทำอย่างไร พัฒนาสายพันธุ์อย่างไรที่จะทำให้ สามารถปลูกทดแทน ข้าวที่ไม่ สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะข้าวขาว รวมทั้งข้าวหอมปทุมธานี ที่เป็นผู้ร้ายในการปลอมปน อันนี้ ต้องพัฒนา บ่อย ๆ ครั้ง เราได้ยินว่า ปลูกแล้วขายใคร แต่ กรณี ข้าวนี่ไม่ใช่ ปลูกแล้ว มีที่ขายแน่นอน สำหรับ ข้าว บาสมาติ และข้าวญี่ปุ่น เฉพาะ ส่งข้าวญี่ปุ่น ไปยังประเทศที่มีร้านอาหารญี่ปุ่น นี่ก็ มากมาย แล้ว ครับ ประเทศไทยเป็นครัวโลกจริงๆ อย่าพยายามปลูกสินค้าที่ขายไม่ได้ หรือไม่ สามารถแข่งขันได้ มันจะเป็นปัญหาระยะยาวต่อ ตัวชาวนา เอง และประเทศ ในอนาคต
- kon_thai likes this
ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน