Jump to content


Photo
- - - - -

ขอเชิญ.สภาเสรีไทยมาช่วยหาทางออกให้ชาวนามีอนาคตที่ยั่งยืน.


  • Please log in to reply
85 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 stt99

stt99

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,172 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:11






การเลือกพันธุ์ข้าว

นาย ก. กับ นาย ข. มีพื้นที่ 20 ไร่
นาย ก. เลือกปลูกข้าวหอมจังหวัด ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.5 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 18000 บาท รวมได้เงิน 180000 บาท
นาย ข. เลือกปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 0.75 ตัน/ไร่ ขาย(จำนำ)ราคาตันละ 16000 บาท รวมได้เงิน 240000 บาท
ก็คำนวณเอาว่าจะปลูกอะไรดี


เข้าใจว่า ข้าวหอมปทุมมีปัญหาทางด้านจัดเก็บ เหมือนกัน ความชื้นสูง ข้าวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และเหม็นเปรี้ยวได้ง่ายหลังจากที่หุงแล้วกินไม่หมด
และอีกเรื่องนึงคือ การผลิตข้าวหอมปทุม นั้น ข้าวหอมปทุม ไม่สามารถแทนที่ข้าวขาว และ ไม่สามารถนำเอาไปทำเป็นข้างนึี่ง หรือ Parboiled Rice เช่นเดียวกัน


โรงสีในจังหวัดปทุมธานี ไม่รับข้าวหอมปทุม บอกว่าสีแล้วเหลือเมล็ดน้อย

ถ้าขายตามกลไกตลาดไม่มีปัญหาเท่าไหร่หรอกเพราะมันควบคุมไปในตัวอยู่แล้ว แต่ดันเจอรับจำนำข้าวทุกเม็ดเลยไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีคนซื้อ ไม่ต้องไปคิดว่าคุณภาพหลังการขายจะเป็นยังไง คิดแต่ทำยังไงให้ได้เงินมากสุด
เอาข้าวเจ้าอื่นมันก็ได้เงินมากกว่าพวกที่ปลูกข้าวหอม ลองคิดเฉลี่ยไร่ละ 0.65 ตัน ก็ได้เงิน 195000 บาท


พอดีกระทู้นี้ มัน เป็นกระทู้การพัฒนาชาวนาให้มี อนาคตยั่งยืนไม่ใช่ การบิดเบือนตลาด หรือไม่ก็ เป็นการโกงการจำนำ

ก็คุยเรื่องทำยังไงให้ชาวนาอยู่ดีกินดีไม่ใช่หรือครับ แล้วนั่นก็ไม่ใช่เรื่องโกงการจำนำเลยครับ แต่เป็นการเลือกพันธุ์ข้าวที่จะปลูกว่าพันธุ์ไหนปลูกแล้วสามารถขายได้ราคาดีที่สุด ไม่ใช่คิดแต่ว่าราคาต่อตันสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ อย่างเดียว ต้องคิดเรื่องผลผลิตต่อไร่ด้วย แล้วเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม


ถ้าไม่อย่างนั้นประเทศไทยเราไม่ปลูกข้าวปทุมธานีกันหมดเหรอ แล้ว ขายไม่ได้ น่ะ ถ้าตามสมมติฐานนี้ แก้ง่ายครับ คือปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตเยอะ แต่จัดเก็บไม่ได้ ขายไม่ได้ ได้แต่เอาไปจำนำ หลอกว่าเป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวปทุมก็เอาไปทำข้าวนึ่งไม่ได้ สุดท้ายก็ไปจมกับ โกดังของรัฐบาลนั่นแหละ

Edited by stt99, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:14.


#52 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:36

ผมอยากให้กระทู้นี้เป็นการรวบรวมแนวคิดอนาคตชาวนาไทยครับ..แล้วเดี่ยวเรามาช่วยกัน.รวบรวมส่วนดีๆของแต่ละคน.แล้วมาวางรูปแบบกันอีกที..เพื่อจะมีอะไรดีๆเกิดขึ้นครับ.. :D

#53 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:54

ถ้าไม่อย่างนั้นประเทศไทยเราไม่ปลูกข้าวปทุมธานีกันหมดเหรอ แล้ว ขายไม่ได้ น่ะ ถ้าตามสมมติฐานนี้ แก้ง่ายครับ คือปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตเยอะ แต่จัดเก็บไม่ได้ ขายไม่ได้ ได้แต่เอาไปจำนำ หลอกว่าเป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวปทุมก็เอาไปทำข้าวนึ่งไม่ได้ สุดท้ายก็ไปจมกับ โกดังของรัฐบาลนั่นแหละ

ก็นั่นแหละ แต่เดิมมันมีกลไกตลาดคุมอยู่ ปลูกข้าวได้มากแต่ตลาดไม่ต้องการก็เจ๊ง ประกันราคาแม้ให้ส่วนต่างก็จริงแต่ถ้าขายข้าวไม่ได้ก็เจ๊งอยู่ดี แต่จำนำนั้นไม่ใช่ เพราะรัฐดันรับหมด
ส่วนประเทศไทยเราไม่ปลูกข้าวปทุมธานีกันหมดเหรอ อันนี้ไม่ต้องห่วงหรอกครับ เพราะข้าวพันธุ์นี้มันให้ผลผลิตดีในพื้นที่เขตชลประทาน แถมยังอยู่เฉพาะภาคกลางอีก แต่ยังไม่สำคัญเท่าอายุเก็บเกี่ยวที่นานพอ ๆ กับพวกข้าวดอกมะลิ เลยไปปลูกข้าวเจ้าชนิดอื่นกันดีกว่า :lol: :lol: :lol:
ส่วนเรื่องคุณภาพข้าวหอมมะลินี่ แค่เอาข้าวหอมจังหวัดมาปนก็มีผลแล้วล่ะครับไม่ต้องไปเอาข้าวปทุมธานีมาปนเลยก็ได้ คุณภาพตกลง แถมจับได้ยากด้วย

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#54 stt99

stt99

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,172 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:17


ถ้าไม่อย่างนั้นประเทศไทยเราไม่ปลูกข้าวปทุมธานีกันหมดเหรอ แล้ว ขายไม่ได้ น่ะ ถ้าตามสมมติฐานนี้ แก้ง่ายครับ คือปลูกข้าวปทุมธานี ผลผลิตเยอะ แต่จัดเก็บไม่ได้ ขายไม่ได้ ได้แต่เอาไปจำนำ หลอกว่าเป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวปทุมก็เอาไปทำข้าวนึ่งไม่ได้ สุดท้ายก็ไปจมกับ โกดังของรัฐบาลนั่นแหละ

ก็นั่นแหละ แต่เดิมมันมีกลไกตลาดคุมอยู่ ปลูกข้าวได้มากแต่ตลาดไม่ต้องการก็เจ๊ง ประกันราคาแม้ให้ส่วนต่างก็จริงแต่ถ้าขายข้าวไม่ได้ก็เจ๊งอยู่ดี แต่จำนำนั้นไม่ใช่ เพราะรัฐดันรับหมด
ส่วนประเทศไทยเราไม่ปลูกข้าวปทุมธานีกันหมดเหรอ อันนี้ไม่ต้องห่วงหรอกครับ เพราะข้าวพันธุ์นี้มันให้ผลผลิตดีในพื้นที่เขตชลประทาน แถมยังอยู่เฉพาะภาคกลางอีก แต่ยังไม่สำคัญเท่าอายุเก็บเกี่ยวที่นานพอ ๆ กับพวกข้าวดอกมะลิ เลยไปปลูกข้าวเจ้าชนิดอื่นกันดีกว่า :lol: :lol: :lol:
ส่วนเรื่องคุณภาพข้าวหอมมะลินี่ แค่เอาข้าวหอมจังหวัดมาปนก็มีผลแล้วล่ะครับไม่ต้องไปเอาข้าวปทุมธานีมาปนเลยก็ได้ คุณภาพตกลง แถมจับได้ยากด้วย





ผิดล่ะครับ ก็บอกเองไม่ ใช่เหรอว่า ข้าวหอมจังหวัดเหมือนกับ ข้าวหอมมะลิ ทุกประการตรวจ DNA ไม่เจอ ดังนั้น เมื่อไม่เจอ หรือ DNA เหมือนกัน มันก็คือข้าวหอมมะลิ แล้วมันจะผิดได้ อย่างไร ปกติ น่ะ ข้าวหอมมะลิ มีสองราคา คือ ข้าวหอม ธรรมดา กับ ข้าวหอมอุบล สุรินทร์ ขนาดเมล็ดสั้นยาวไม่เหมือนกัน แต่ พออนุโลมได้ ว่า เป็นข้าวหอม เกรด A มีเมล็ดยาว มากขึ้น ส่วนข้าวหอม เกรด B ก็ มี เมล็ดยาว น้อยลงมา แต่ ความบริสุทธิ์ นั้น ต้อง 92 เปอร์เซนต์

ถ้าไปอ่านความเห็นของผมให้ ดี ๆ ผมก็บอกว่า การจำนำข้าวเป็นการบ่อนทำลาย ศักยภาพ ของ ข้าวไทย อย่างเห็นได้ชัด จากตัวอย่างที่มีการพูดเรื่องการปลอมปนในการจำนำข้าว

ข้าวปลูกแล้ว ต้องขายได้ ทั้งใน และต่างประเทศ ตามปริมาณ ความต้องการและต้องสมดุลย์กัน ขายไม่ได้ มันเป็นภาระอย่างที่ เห็น ๆ กันอยู่ แพงเกินไปก็ขายไม่ได้ ความหลากหลายของข้าวนั่นแหละ ที่ชาวนา จะต้องศึกษาเรียนรู้ เราคงไม่พูดถึงเรื่องการโกงการจำนำ ความไม่ซื่อสัตย์ของชาวนา หรือ โรงสี เพราะ การจำนำนี่มันบิดเบือนแต่แรก นั่นแหละ ถ้าผมเป็นชาว นา ผมก็ต้องปลูกข้าว ที่จำนำได้ มากที่สุดนั่นแหละ ครับ แต่ถ้า ไม่มีโครงการจำนำข้าว ล่ะจะทำอย่างไร หรือจะให้ ชาวนาปลูกข้าวหอมปทุมธานีทั้งประเทศ เพื่อให้ผลผลิตมาก แต่ขายไม่ได้ ข้าวเมล็ดรีบ บูดเสียได้ ง่าย อันนั้นก็ตามใจ นะครับ

แต่ถ้าในความคิดเห็นของผม ไม่ใช่บัญญัติไตรยางค์ มันมีปัจจัยอย่างอื่น เข้ามาพิจารณาเยอะ ปลูกแล้ว ต้องขายได้ มีความต้องการทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ไม่ใช่ปลูกแล้วเอามาจำนำ เข้าใจนะครับ

#55 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:20

ผิดล่ะครับ ก็บอกเองไม่ ใช่เหรอว่า ข้าวหอมจังหวัดเหมือนกับ ข้าวหอมมะลิ ทุกประการตรวจ DNA ไม่เจอ ดังนั้น เมื่อไม่เจอ หรือ DNA เหมือนกัน มันก็คือข้าวหอมมะลิ แล้วมันจะผิดได้ อย่างไร ปกติ น่ะ ข้าวหอมมะลิ มีสองราคา คือ ข้าวหอม ธรรมดา กับ ข้าวหอมอุบล สุรินทร์ ขนาดเมล็ดสั้นยาวไม่เหมือนกัน แต่ พออนุโลมได้ ว่า เป็นข้าวหอม เกรด A มีเมล็ดยาว มากขึ้น ส่วนข้าวหอม เกรด B ก็ มี เมล็ดยาว น้อยลงมา แต่ ความบริสุทธิ์ นั้น ต้อง 92 เปอร์เซนต์

ถ้าไปอ่านความเห็นของผมให้ ดี ๆ ผมก็บอกว่า การจำนำข้าวเป็นการบ่อนทำลาย ศักยภาพ ของ ข้าวไทย อย่างเห็นได้ชัด จากตัวอย่างที่มีการพูดเรื่องการปลอมปนในการจำนำข้าว

ข้าวปลูกแล้ว ต้องขายได้ ทั้งใน และต่างประเทศ ตามปริมาณ ความต้องการและต้องสมดุลย์กัน ขายไม่ได้ มันเป็นภาระอย่างที่ เห็น ๆ กันอยู่ แพงเกินไปก็ขายไม่ได้ ความหลากหลายของข้าวนั่นแหละ ที่ชาวนา จะต้องศึกษาเรียนรู้ เราคงไม่พูดถึงเรื่องการโกงการจำนำ ความไม่ซื่อสัตย์ของชาวนา หรือ โรงสี เพราะ การจำนำนี่มันบิดเบือนแต่แรก นั่นแหละ ถ้าผมเป็นชาว นา ผมก็ต้องปลูกข้าว ที่จำนำได้ มากที่สุดนั่นแหละ ครับ แต่ถ้า ไม่มีโครงการจำนำข้าว ล่ะจะทำอย่างไร หรือจะให้ ชาวนาปลูกข้าวหอมปทุมธานีทั้งประเทศ เพื่อให้ผลผลิตมาก แต่ขายไม่ได้ ข้าวเมล็ดรีบ บูดเสียได้ ง่าย อันนั้นก็ตามใจ นะครับ

แต่ถ้าในความคิดเห็นของผม ไม่ใช่บัญญัติไตรยางค์ มันมีปัจจัยอย่างอื่น เข้ามาพิจารณาเยอะ ปลูกแล้ว ต้องขายได้ มีความต้องการทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ไม่ใช่ปลูกแล้วเอามาจำนำ เข้าใจนะครับ

DNA เหมือนกันเพราะเป็นข้าวดอกมะลิ 105 แค่ต่างกันในจังหวัดที่ปลูกแค่นั้น ถ้าคุณใช้วิธีตรวจ DNA ยังไงมันก็ไม่ต่างเพราะมันเป็นพันธุ์เดียวกัน แต่ถ้าคุณใช้คุณสมบัติอย่างอื่นมันก็ต่างนะครับ
คุณไปดูได้เลยว่าไม่ว่าจะจำนำหรือประกันราคา จังหวัดไหนข้าวดอกมะลิ 105 ปลูกแล้วได้คุณภาพข้าวหอมมะลิ ก็จะไม่มีข้าวหอมจังหวัด จังหวัดไหนได้คุณภาพข้าวหอมจังหวัดก็จะไม่มีข้าวหอมมะลิ
ข้าวดอกมะลิ 105 ปลูกทางอีสาน ได้คุณภาพข้าวหอมมะลิแต่ก็ต้องแลกกับการที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำลง ขณะที่ภาคกลางถึงได้คุณภาพแค่ข้าวหอมจังหวัด แต่ผลผลิตต่อไร่ก็สูงขึ้นไปด้วย แต่ก็มีภาคเหนือบางจังหวัดที่ได้คุณภาพข้าวหอมมะลิ แต่ผลผลิตเท่าภาคกลาง
ปลูกแล้วต้องขายได้ ทั้งใน และต่างประเทศ แต่จะมีชาวนากี่คนครับที่ขายเองโดยไม่ผ่านพวกโรงสี และพ่อค้าคนกลาง ถ้าไม่กี่คนก็จะกลายเป็นปลูกแล้วต้องขายในประเทศให้ได้แค่นั้น ส่วนที่จะขายต่างประเทศ คนขายไม่ได้เป็นคนปลูก
ข้าวปทุมธานีถ้าขายไม่ได้จริง ทำไมทุกวันนี้มันยังอยู่ได้ล่ะครับ แสดงว่ามันต้องมีคนซื้ออยู่

Edited by Solidus, 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 04:54.

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#56 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:59

ใจเย็นๆกันนะครับ.กระทู้นี้ต้องการแนวคิดของทุกๆคนมาช่วยกัน.ข้อมมูลและความคิดเห็นของทุกคนผมถือว่ามีประโยชน์ครับ..แต่หลักการหรือแนวคิดอาจจะไม่เหมือนกัน..อันนี้เราอย่าว่ากันครับ.ผมเองยังไม่รู้เรื่องข้าวเท่ากับสมาชิกหลายๆคนในนี้เลย..ผมก็กำลังหาข้อมูล..แล้วเดี่ยวเราเอาข้อดีของทุกคนมาจัดรูปแบบ.และขั้นตอนออกมากันใหม่นะครับ..
ขอบคุณครับ.

#57 father

father

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 124 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 23:28

มาเพิ่มเติมให้ เมื่อคืนลืมไป

หลายปีมาแล้ว เคยมีญี่ปุ่นคนหนึ่งมาบรรยายถึงประสบการณ์ในการปลูกข้าวโดยไม่ต้องดูแล

ปล่อยให้ระบบนิเวศน์ในธรรมชาติดูแลให้ เพียวแต่เราต้องทำให้แปลงนามันมีสภาพเป็นธรรมชาติ

คนญี่ปุ่นคนนี้แต่งหนังสือชื่อ

ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว (ชื่อที่แปลเป็นไทยแล้ว)

ผมมีหนังสือเล่มนี้อยู่ ;)

หลักคิดของเรื่องนี้เกิดจาก ญึ่ปุ่นคนนี้สังเกตุเห็นข้าวที่เติบโตเองในธรรมชาติโดยไม่มีใครดูแลมัน

แต่มันโตได้เพราะสภาพแวดล้อมที่มันโตเกื้อหนุน

วิธีนี้ใช้ทุนน้อย อาจใช้มากหน่อยตอนแรกเท่านั้น แรงงานก็น้อยเพราะไม่ต้องดูแลเอง

ไม่ใช้สารเคมีเช่นยาฆ่าแมลง ใช้แต่ปุ๋ยคอก

เหมาะกับคนที่อยากรวยมั๊กๆ

อีกเรื่องคือ กบนอกกะลาเคยทำตอน อรหันต์ชาวนา

ถ่ายทอดชีวิตชาวนาที่สามารถปลดหนี้จนหมด

ด้วยการใช้วิถีชิวิตในการเป็นชาวนาที่ชาวนาไทยควรเอาอย่าง

แค่นี้แหละ

ชาวนาไทยต้องรู้แจ้งก่อนว่า ไม่มีใครอยากช่วยให้คุณรวย

เพราะถ้าคุณรวยแล้ว นักการเมืองที่ร่วมมือกับนายทุนที่หากินบนหลังคุณอยู่ เขาจะหากินกับใคร

จริงมะ ;) ;) ;)
Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image

#58 stt99

stt99

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,172 posts

ตอบ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:49


ผิดล่ะครับ ก็บอกเองไม่ ใช่เหรอว่า ข้าวหอมจังหวัดเหมือนกับ ข้าวหอมมะลิ ทุกประการตรวจ DNA ไม่เจอ ดังนั้น เมื่อไม่เจอ หรือ DNA เหมือนกัน มันก็คือข้าวหอมมะลิ แล้วมันจะผิดได้ อย่างไร ปกติ น่ะ ข้าวหอมมะลิ มีสองราคา คือ ข้าวหอม ธรรมดา กับ ข้าวหอมอุบล สุรินทร์ ขนาดเมล็ดสั้นยาวไม่เหมือนกัน แต่ พออนุโลมได้ ว่า เป็นข้าวหอม เกรด A มีเมล็ดยาว มากขึ้น ส่วนข้าวหอม เกรด B ก็ มี เมล็ดยาว น้อยลงมา แต่ ความบริสุทธิ์ นั้น ต้อง 92 เปอร์เซนต์

ถ้าไปอ่านความเห็นของผมให้ ดี ๆ ผมก็บอกว่า การจำนำข้าวเป็นการบ่อนทำลาย ศักยภาพ ของ ข้าวไทย อย่างเห็นได้ชัด จากตัวอย่างที่มีการพูดเรื่องการปลอมปนในการจำนำข้าว

ข้าวปลูกแล้ว ต้องขายได้ ทั้งใน และต่างประเทศ ตามปริมาณ ความต้องการและต้องสมดุลย์กัน ขายไม่ได้ มันเป็นภาระอย่างที่ เห็น ๆ กันอยู่ แพงเกินไปก็ขายไม่ได้ ความหลากหลายของข้าวนั่นแหละ ที่ชาวนา จะต้องศึกษาเรียนรู้ เราคงไม่พูดถึงเรื่องการโกงการจำนำ ความไม่ซื่อสัตย์ของชาวนา หรือ โรงสี เพราะ การจำนำนี่มันบิดเบือนแต่แรก นั่นแหละ ถ้าผมเป็นชาว นา ผมก็ต้องปลูกข้าว ที่จำนำได้ มากที่สุดนั่นแหละ ครับ แต่ถ้า ไม่มีโครงการจำนำข้าว ล่ะจะทำอย่างไร หรือจะให้ ชาวนาปลูกข้าวหอมปทุมธานีทั้งประเทศ เพื่อให้ผลผลิตมาก แต่ขายไม่ได้ ข้าวเมล็ดรีบ บูดเสียได้ ง่าย อันนั้นก็ตามใจ นะครับ

แต่ถ้าในความคิดเห็นของผม ไม่ใช่บัญญัติไตรยางค์ มันมีปัจจัยอย่างอื่น เข้ามาพิจารณาเยอะ ปลูกแล้ว ต้องขายได้ มีความต้องการทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ไม่ใช่ปลูกแล้วเอามาจำนำ เข้าใจนะครับ

DNA เหมือนกันเพราะเป็นข้าวดอกมะลิ 105 แค่ต่างกันในจังหวัดที่ปลูกแค่นั้น ถ้าคุณใช้วิธีตรวจ DNA ยังไงมันก็ไม่ต่างเพราะมันเป็นพันธุ์เดียวกัน แต่ถ้าคุณใช้คุณสมบัติอย่างอื่นมันก็ต่างนะครับ
คุณไปดูได้เลยว่าไม่ว่าจะจำนำหรือประกันราคา จังหวัดไหนข้าวดอกมะลิ 105 ปลูกแล้วได้คุณภาพข้าวหอมมะลิ ก็จะไม่มีข้าวหอมจังหวัด จังหวัดไหนได้คุณภาพข้าวหอมจังหวัดก็จะไม่มีข้าวหอมมะลิ
ข้าวดอกมะลิ 105 ปลูกทางอีสาน ได้คุณภาพข้าวหอมมะลิแต่ก็ต้องแลกกับการที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำลง ขณะที่ภาคกลางถึงได้คุณภาพแค่ข้าวหอมจังหวัด แต่ผลผลิตต่อไร่ก็สูงขึ้นไปด้วย แต่ก็มีภาคเหนือบางจังหวัดที่ได้คุณภาพข้าวหอมมะลิ แต่ผลผลิตเท่าภาคกลาง
ปลูกแล้วต้องขายได้ ทั้งใน และต่างประเทศ แต่จะมีชาวนากี่คนครับที่ขายเองโดยไม่ผ่านพวกโรงสี และพ่อค้าคนกลาง ถ้าไม่กี่คนก็จะกลายเป็นปลูกแล้วต้องขายในประเทศให้ได้แค่นั้น ส่วนที่จะขายต่างประเทศ คนขายไม่ได้เป็นคนปลูก
ข้าวปทุมธานีถ้าขายไม่ได้จริง ทำไมทุกวันนี้มันยังอยู่ได้ล่ะครับ แสดงว่ามันต้องมีคนซื้ออยู่


http://thammculture..../มาตรฐานข้าวไทย

เข้าไปดูนะครับ ว่า ในมาตรฐานข้าวไทยน่ะ มี ข้าวหอมจังหวัด หรือเปล่า และ ก็ กรุณา ว่าง ๆ เดินไปในตลาดด้วย ว่า มีใครบอกว่า นี่เป็นข้าวหอมจังหวัด

ขอโทษนะครับ เคยกินข้าวหอมสุรินทร์ แท้ ๆ หรือเปล่า เคยกินข้าวหอมเชียงรายแท้ ๆ หรือเปล่า เคยกินข้าวเสาไห้ แท้ๆ หรือเปล่า หรือไม่ก็ เคยกินข้าวหอมอุบล แท้ ๆ หรือเปล่า อย่างเก่งก็แค่ปิดป้าย บนกระสอบ นะครับ แท้ ไม่แท้ พิสูจน์ยาก

สิ่งเหล่านี้คือปัญหาทีเกิดกับข้าวไทย รวมทั้งผู้บริโภคด้วย การพิมพ์ฉลากบนถุงว่า เป็นข้าวเสาไห้ ข้าวหอมสุรินทร์ หรืออุบุล หรือเชียงรายนั้น เป็นแค่การโฆษณา เคยรู้สึกกันหรือเปล่า ซื้อข้าวหอมแต่ละยี่ห้อแล้ว ถ้าถุงไหนรสชาติดี กลับไปซื้อปรากฏว่า หายจากตลาด หรือไม่ก็ ซื้อกลับมาแล้ว รสชาติไม่เหมือนเดิม เราจะทำอย่างไร ให้มีมาตรฐานเดียวกัน หมด

การตรวจ DNA หรือการคัดคุณภาพ ในเมื่อ DNA เหมือนกัน มันก็ เป็นข้าวอย่างเดียวกัน มาปฏิเสธ ไม่ได้ หรอกครับ หอมไม่หอม ขึ้นอยู่กับ การรักษาพันธุ์ข้าววิธีการเพาะปลูก รวมทั้งสถานที่เพาะปลูกด้วย เชื่อหรือไม่ว่า ข้าวหอม นั้น ต้อง จังหวัด ฉะเชิงเทรา ภาคกลางนี่แหละครับ ข้าวหอมที่อร่อย นั้น ต้องมาจากนครนายก ภาคกลาง แต่สิ่งเหล่า นี้ หายไปจากท้องตลาดในประเทศ เพราะอะไร พันธุ์ข้าวหรือไม่ มีการพัฒนาให้ รักษาคุณภาพเหมือนเดิมหรือไม่ อันนี้ ต้องทำต่อ

Edited by stt99, 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 06:10.


#59 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 07:22

http://thammculture..../มาตรฐานข้าวไทย

เข้าไปดูนะครับ ว่า ในมาตรฐานข้าวไทยน่ะ มี ข้าวหอมจังหวัด หรือเปล่า และ ก็ กรุณา ว่าง ๆ เดินไปในตลาดด้วย ว่า มีใครบอกว่า นี่เป็นข้าวหอมจังหวัด

ขอโทษนะครับ เคยกินข้าวหอมสุรินทร์ แท้ ๆ หรือเปล่า เคยกินข้าวหอมเชียงรายแท้ ๆ หรือเปล่า เคยกินข้าวเสาไห้ แท้ๆ หรือเปล่า หรือไม่ก็ เคยกินข้าวหอมอุบล แท้ ๆ หรือเปล่า อย่างเก่งก็แค่ปิดป้าย บนกระสอบ นะครับ แท้ ไม่แท้ พิสูจน์ยาก

สิ่งเหล่านี้คือปัญหาทีเกิดกับข้าวไทย รวมทั้งผู้บริโภคด้วย การพิมพ์ฉลากบนถุงว่า เป็นข้าวเสาไห้ ข้าวหอมสุรินทร์ หรืออุบุล หรือเชียงรายนั้น เป็นแค่การโฆษณา เคยรู้สึกกันหรือเปล่า ซื้อข้าวหอมแต่ละยี่ห้อแล้ว ถ้าถุงไหนรสชาติดี กลับไปซื้อปรากฏว่า หายจากตลาด หรือไม่ก็ ซื้อกลับมาแล้ว รสชาติไม่เหมือนเดิม เราจะทำอย่างไร ให้มีมาตรฐานเดียวกัน หมด

การตรวจ DNA หรือการคัดคุณภาพ ในเมื่อ DNA เหมือนกัน มันก็ เป็นข้าวอย่างเดียวกัน มาปฏิเสธ ไม่ได้ หรอกครับ หอมไม่หอม ขึ้นอยู่กับ การรักษาพันธุ์ข้าววิธีการเพาะปลูก รวมทั้งสถานที่เพาะปลูกด้วย เชื่อหรือไม่ว่า ข้าวหอม นั้น ต้อง จังหวัด ฉะเชิงเทรา ภาคกลางนี่แหละครับ ข้าวหอมที่อร่อย นั้น ต้องมาจากนครนายก ภาคกลาง แต่สิ่งเหล่า นี้ หายไปจากท้องตลาดในประเทศ เพราะอะไร พันธุ์ข้าวหรือไม่ มีการพัฒนาให้ รักษาคุณภาพเหมือนเดิมหรือไม่ อันนี้ ต้องทำต่อ

เอามาตรฐานข้าวหอมมะลิสำหรับการส่งออกต่างประเทศมาใช้สำหรับข้าวในประเทศ ไม่ใช่คุณคิดไม่ได้นะนั่น แล้วนั่นเป็นเรื่องสำหรับพ่อค้าส่งออกครับ ไม่ใช่เรื่องของชาวนา แต่ถ้าเรื่องข้าวหอมมะลิกับข้าวหอมจังหวัดนี่เรื่องของชาวนาโดยตรงเลยครับ ที่สำคัญนะมาตรฐานที่คุณเอามามันเป็นมาตรฐานซื้อขายข้าวเปลือกรึครับ ให้เดินในตลาดไม่ทราบว่าตลาดที่คุณให้ผมเดินนะมันตลาดซื้อขายข้าวเปลือกหรือครับ
ข้าวหอมสุรินทร์ ข้าวหอมเชียงราย เคยกินครับ แต่แท้ ๆ รึเปล่าไม่ทราบ เนื่องจากไม่ได้ถามชาวนาที่มาให้ว่าที่นาของพวกเขาปลูกข้าวพันธุ์อื่นด้วยรึเปล่า
เอาข้าวถุงมาอ้างนี่ยิ่งแล้วใหญ่ อันนี้ชาวนาทำหรือครับ ต้องไปถามพวกพ่อค้าข้าวมากกว่านะครับว่าข้าวถุงที่เอามาขายนะเอามาจากไหนบ้าง สีนานเท่าไหร่แล้ว ผสมอะไรไปบ้าง อยากให้มาตรฐานเดียวกันอันนี้คงต้องไปตั้งแต่ต้นทางเลยกระมัง ปลูกให้ได้มาตรฐานเดียวกันก่อน ยังไม่นับพวกของดี ๆ ดันส่งขายนอกหมด เหลือเกรดต่ำลงมาบรรจุถุงให้กินในประเทศ
การตรวจ DNA ใช้ได้กรณีมีการปลอมปนกันของข้าวต่างพันธุ์ อย่างข้ามหอมมะลิกับข้าวหอมปทุม (ข้าวหอมปทุมตอนนี้อยู่ ๆ ก็หายไปจากตลาดซะมาก ไม่รู้หายไปไหน :lol: :lol: :lol:) ถ้าเอาเรื่องคุณภาพอย่างอื่นอย่างหอมหรือไม่หอม อันนี้น่าสนใจ เพราะถึงจะใช้ข้าวพันธุ์ดอกมะลิ105 ปลูก แต่ถ้าไม่หอมเลย จะโดนกดราคารับซื้อในราคาข้าวเจ้าทั่วไปก็ไม่แปลก ไม่ใช่จะอ้างว่าในเมื่อปลูกพันธุ์นี้ก็ต้องขายในราคาข้าวหอมมะลิเหมือนกัน

Edited by Solidus, 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 07:28.

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#60 DETECT2

DETECT2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 291 posts

ตอบ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:07

เรามีคำตอบจากกูรู ผู้รู้หลายท่านให้ความเห็น แต่คนที่จะเห็นชอบโครงการคือนักการเมืองซึ่งพูดได้เลยว่าชีวิตทั้งชีวิตไม่ได้สัมผัสการการผลิตโดยตรง สิ่งเดียวที่เขาสัมผัสมีวงจรเดียวคือ บริโภคข้าว เติบโตมาด้วยข้าว ความเห็นดีๆ จากนักวิชาการ กูรูชาวนา ก็เป็นแค่ลมปาก นักการเมืองฟังแต่ไม่ค่อยสนใจจะทำตามมากนักหรอกครับ
คนเสื้อแดงตอนนี้ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่คนเกลียดพวกเสื้อแดงเริ่มจะมีมากขึ้น

#61 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:25

พันธุ์เดียวกัน แต่ปลูกต่างจังหวัดกัน ปริมาณสารที่ให้ความหอมมันก็ไม่เท่ากัน

Posted Image

ขนาดจังหวัดเดียวกันแต่สภาพการปลูก สภาพดินต่างกัน ปริมาณสารความหอมก็ยังไม่เท่ากันเลย

Posted Image

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#62 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:18

เข้ามาดันก่อน.เดี่ยวจะหายซะก่อน

#63 yuth8866

yuth8866

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 468 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:46

หอมมะลิ 105 เหมือนกัน ปลูกคนละที่ DNA เหมือนกัน แต่คุณภาพต่ากันครีบ
ทั้งกายภาพ กลิ่น และลักษณะของรสสัมผัส
ไม่วั้นในตลาดคงไม่ต้องระบุ เป็นหอมอุบล หอมสุรินทร์ หอมทุ่งกุลา
ส้มสานน้ำผึ้งเหมือนกัน ปลูกที่กำแพงเพร รสชาติไม่ดีเหมือนทางเหนือ ครับ
ผมว่าภูมิศาสตร์มีส่วนช่วยให้ข้าวไทย ยังแตกต่างกับประเทศคู่แข่ง เรื่องคุณภาพ

เรื่องต้นทุน/ตันมันประกอบด้วย 2 ส่วนครับ คือ
-ต้นทุนคงที่ ต่างๆ ปุ๋ย ค่าแรง น้ำมัน ยาฆ่าแมลง
-ผลผลิต/ไร่
นั่นคือถ้าคุณลดต้นทุนได้ แต่ผลผลิต/ไร่ ตกลงมา ต้นทุน/ตัน ก็จะเท่าเดิม
ผลผลิตต่อไร่ต่ำ มันหมายถึง ค่าเสียโอกาส บนที่ดินด้วยนะครับ

ทางออกน่่จะเป็นเพิ่มผลผลิต/ไร่ มากกว่านะครับ


#64 เปลี่ยนDisplay Nameได้แล้ว

เปลี่ยนDisplay Nameได้แล้ว

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,768 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:49

เอาเงินไปจ้างชาวนาให้ทำนาแบบใหม่ ในเมื่อมีความรู้แล้วแต่ชาวนาไม่เอาด้วย ก็จ้างให้ทำไปซะเลย

ชาวนาคนไหนไม่มีที่นาเป็นของตัวเองแล้วมาเข้าร่วม รัฐก็จะออกค่าเช่านาให้ แต่ชาวนาต้องทำนาในรูปแบบที่รัฐกำหนดไว้

หากได้ลองทำจริงแล้วผลที่ได้ออกมาดีกว่า ก็น่าจะเปลี่ยนทัศนคติได้บ้าง

Edited by เปลี่ยนDisplay Nameได้แล้ว, 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:50.


#65 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:56

ผมอยากให้ชาวเสรีไทยทุกท่าน..มาช่วยกันออกความคิดว่า.ถ้าเรามีงบ.สี่แสนล้านบาทเราจะมีวิธีไหนที่จะทำให้ชาวนาอยู่ดีกินดี.กับอาชีพชาวนาที่ปลูกข้าวให้คนทั้งประเทศกิน..การระดมสมองของชาวเสรีไทยในการช่วยกันคิดอาจจะมีประโยชน์กับชาวนาไม่มากก็น้อยครับ..(ของผมเองก็กำลังคิดอยู่พอเขียนเสร็จแล้วก็จะเอามาลงครับ)ผมเชื่อความสามารถของชาวสมาชิกเสรีไทยทุกท่านครับ(ไม่ว่าจะสีอะไร)เราอาจทำอะไรได้มากกว่าที่คิดครับ..ผมเชื่อระบบการกลั่นกรองของเราชาวเสรีไทยครับ.ว่าในที่สุดแล้วเราจะได้แนวทางดีๆให้กับชาวนา..แบบยั่งยืน.. :)

ผมชอบกระทู้แบบนี้ครับ ทำไมผมไม่คิดตั้งแบบนี้มั่งว่ะ :huh: :huh:

ยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ เพราะต้องศึกษาเยอะมาก ปัญหามันเรื้อรังมานานแสนนาน
จนชาวนาใช้วิธ๊ประท้วงเป็นมาตราฐานไปแล้ว แต่อยากจะขอเป็นส่วนน้อยนิด
ในการเสนอความเห็นเรื่องที่พอคิดออกบ้าง แต่ตอนนี้ขอติดไว้ก่อนคับ :lol: :lol:

เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#66 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:07

1. ชาวนาต้องกล้าที่จะเปิดรับเอาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะช่วยให้การทำนามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ชาวนาต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีการทำนา โดยไม่ยึดติดความเชื่อแบบเดิมๆที่เคยทำ
3. ชาวนาควรเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นและมีมันสมองเป็นของตัวเอง (กล้าที่จะตัดสินใจเองโดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นจนเกินไป)
4. กล้าที่จะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนในลักษณะองค์กรณ์หรือสหกรณ์ เพื่ออำนาจต่อรองกับโรงสีหรือแม้แต่รัฐบาล

นึกได้แค่นี้ก่อนครับ

เห็นด้วยครับ

ผมขอเพิ่มในส่วนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนของพ่อหลวงเข้าไปด้วยละกันครับ

ที่ชาวนายังยากจนทุกวันนี้ เพราะอะไรเป็นสาเหตุหลักครับ
ขายข้าวไม่ได้ แต่ยังมีข้าว มีปลากิน ปัญหาส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ความไม่พอเพียงหรือเปล่า จึงทำให้เกิดหนี้มากมาย
บอกตรงๆผมมีญาติเป็นชาวนา หลายคนมีที่นามากอยู่ ก็สามารถมีกินมีใช้ได้เพราะอยู่อย่างพอเพียง
ถ้าขายข้าวได้บ้างพอมีเงินมาทำอย่างอื่นก็มีชีวิตที่ดีขึ้น แต่หลายคนฟุ้งเฟ้อ โอ้อวด สุรุ่ยสุหร่าย
อยากได้ใคร่มี อยากขี่รถโก้ อวดโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ สุดท้ายที่นาต้องหลุดจำนอง เห็นแล้วก็เศร้าแทน :huh: :huh:

ตอบคำถามเรื่องเงินสี่แสนล้าน ถ้าจะเอามาช่วยชาวนาได้อย่างเป็นระบบ คงต้องไปดูที่ภาระหนี้ปัจจุบัน
และกลับไปสั่งสอนเรื่องการจัดทำบัญชี เหมือนที่ครั้งนึงรัฐเคยรณรงค์ บวกประกันราคาข้าวที่ผลิตออกมาใหม่
เพื่อให้ชาวนาได้หายใจหายคอ จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แล้วรัฐหาตลาดให้มากขึ้น เพื่อจะระบายข้าวให้ได้

เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#67 สิงห์สนามซ้อม

สิงห์สนามซ้อม

    คนดีไม่กลัวการตรวจสอบ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,757 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:59

ตราบใดที่ยังเข้าใจว่า "ถ้าอยากได้กำไรมาก ก็ต้องเพิ่มยอดผลิตให้มาก" ต่อให้ปลูกข้าว ร้อยปี พันปี ก็เหมือนเดิม :lol: :lol:
ต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ครับ

" ประกาศบอยคอต ช่อง 3 ไม่ว่าจะข่าว ละคร หรือการ์ตูนลูก  กรูไม่ดู !!! "


#68 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:02

ตราบใดที่ยังเข้าใจว่า "ถ้าอยากได้กำไรมาก ก็ต้องเพิ่มยอดผลิตให้มาก" ต่อให้ปลูกข้าว ร้อยปี พันปี ก็เหมือนเดิม :lol: :lol:
ต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ครับ

หวังว่าคงไม่ใช้วิธีเผานา จำกัดพื้นที่เพาะปลูก เผาข้าวในสต็อกเพื่อลดปริมาณในโลกลงนะครับ อินเดีย เวียตนาม พม่า เขมร ยังมีข้าวในสต็อกอีกเยอะเลย :rolleyes: :rolleyes:

เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#69 เดอะอำมาตย์

เดอะอำมาตย์

    อิคคิวเป่าปุ้น

  • Members
  • PipPipPip
  • 799 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:04

เชือดพวกผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ก่อนเลย

ใส่น้ำลงไปในถังรั่ว ใส่ให้ตายก็ไม่เต็ม
" เราควรรอให้คนอื่นยอมรับเรา หรือควรทำให้เราเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น "

#70 DOLBY DIGITAL

DOLBY DIGITAL

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 284 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:24

ผมกลับมองไปยังรุ่นลูกครับ ลงทุนให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการเพาะปลูกต่างๆสมัยใหม่ ปรับมุมมองทัศนคติการทำเกษตรแบบเดิมๆ การเรียนรู้เรื่องการตลาด การจัดการผลผลิต การวางแผนการเพาะปลูก รวมถึงเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ที่สำคัญ " ปลูกจิตสำนึก" ด้วยครับ
เพราะถ้าเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในปัจจุปันได้ คงต้องลงทุนกับรุ่นลูกในอนาคตเท่านั้นแหละครับ

สิ่งที่ควรปฏิรูปที่สุดไม่ใช่การเมือง แต่เป็นนักการเมือง

" นรชาติวางวาย  มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

  สถิตทั่วแต่ชั่วดี  ประดับไว้ในโลกา "


#71 Nanolove

Nanolove

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 7 posts

ตอบ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:20

ผมสนับสนุนให้มีการเก็บเงินเข้ากองทุนแบบกองทุนพลังงาน
อาจเก็บจากภาษีส่งออก ข้าวถุง
แล้วนำไปพยุงราคาช่วงตกต่ำ
นอกจากนี้ ควรมีมาตราการเสริม
เช่นจำกัดผลผลิตการรับประกันหรือรับจำนำ
เพราะเราต้องจำกัดปริมาณการเพาะปลูก
ไม่ให้มากจนเกินไป
ส่วนตัวผมอยากให้ลดส่งออกลงเหลือ 1 ใน 3
ของปริมาณข้าวทั้งหมด เพราะเหมือนกับเราพึ่งตนเองไม่ได้
ปลูกน้อยราคาสูง ดีกว่าปลูกมากราคาต่ำ

#72 DarkSwan

DarkSwan

    Reporter Activated

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,689 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 17:17

นั่งทำงานอยู่ผมก็คิดเล่นๆ แหวกแนวเพี้ยนๆ ว่า

ถ้าให้ชาวนาทำนาอะไรเอง อะไรอย่างนี้ ต่อให้เอาแนวทางนโยบายอะไรไปเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
สารพัดข้ออ้าง ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่เป็น เดี๋ยวก็ปัจจัยโน่นนี่

1. ชาวนาปลุกข้าวเป็น แต่ไม่มีการวางแผน ไม่มีนโยบาย บริหารไม่เป็น คนที่ำมีความรู้ด้านนี้ ก็คงปลูกข้าวไม่เป็น ไปบอกให้ทำก้ไม่ทำ เราสามารถทำให้คนปลูกข้าวก็ปลูกไป คนคิดนโยบาย คนบริหารการตลาดก็ทำไป ได้ไหม?
2. ปัญหาของชาวนาที่ต้องออกมาให้ ประกันราคาบ้าง จำนำข้าวบ้าง แสดงว่า การขายข้าวของเขา ไม่มีรายได้ที่แน่นอน? ลงทุนไปแล้ว ก็ขาดทุน? ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

ถ้าเกิดเราทำให้มีการลงทุนแบบ รัฐวิสาหกิจข้าวไทย จะเป็นไปได้ไหม?
เหมือนกับ การไฟฟ้าฯ, การประปาฯ, ปตท. (อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่แล้วนี่หว่า?) เป็นต้น

มีผู้บริหาร ในองค์กร ดูแลเรื่องกำหนดนโยบายว่าจะปลูกข้าวอย่างไร เป็นต้นว่า ทำเกษตรปลูกข้่าวตามทฤษฎีพอเพียง ดูแลการผลิตตั้งแต่ปลูกข้าว เกี่ยว สี และดูแลการตลาดว่าจะขายที่ไหนอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้จะสามารถกำหนดวิธีการปลูก คุณภาพ และการตลาดได้หรือเปล่านะ?

ส่วนชาวนา ก็รับเข้ามาเป็น ลูกจ้าง/พนักงาน มีเงินเดือน อาจจะเหมาจ่าย เดือนละ 9,000.- (คิด 300 คูณ 30 วัน) มีสวัสดิการ และมีประกันสังคม อ้อ เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ - -* ถ้าีผลผลิตดี หรือข้าวมีคุณภาพ ขายได้มากขึ้น ก็มีโบนัสให้ตามส่วนไป

แบบนี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน และน่าจะทำให้รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้เป็นชนชั้นล่าง? แบบที่ชอบอ้างๆ กันหรือเปล่านะ อย่างน้อย เขาก็ไม่ต้องกังวลว่า ปีนี้ปลูกข้าวจะขาดทุนหรือเปล่า? ชีวิตน่าจะมั่นคงขึ้น

ก็คิดเล่นๆ นะครับ
แต่สรุปแนวคิดผม ถ้าให้ชาวนาปลูกข้าวเอง ปลูกใครปลูกมันน่ะ ชาติหน้าอีกสิบชาติ ก็ไม่เจริญกันสักทีหรอก
เพราะคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วก็จะต้องมาวุ่นวายกับเรื่องจำนำ, ประกันนี้ต่อไปจนชั่วกัลปาวสานชาติไทยกันเลยล่ะ

ถ้าอยากได้ความเท่าเทียม

ก็ปีนป่ายขึ้นไปให้อยู่เทียบเท่ากับคนอื่นเค้า

อย่าได้กระชากฉุดให้คนอื่นเขาลงมาตกต่ำเท่ากับตน


#73 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 23:25

นั่งทำงานอยู่ผมก็คิดเล่นๆ แหวกแนวเพี้ยนๆ ว่า

ถ้าให้ชาวนาทำนาอะไรเอง อะไรอย่างนี้ ต่อให้เอาแนวทางนโยบายอะไรไปเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
สารพัดข้ออ้าง ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่เป็น เดี๋ยวก็ปัจจัยโน่นนี่

1. ชาวนาปลุกข้าวเป็น แต่ไม่มีการวางแผน ไม่มีนโยบาย บริหารไม่เป็น คนที่ำมีความรู้ด้านนี้ ก็คงปลูกข้าวไม่เป็น ไปบอกให้ทำก้ไม่ทำ เราสามารถทำให้คนปลูกข้าวก็ปลูกไป คนคิดนโยบาย คนบริหารการตลาดก็ทำไป ได้ไหม?
2. ปัญหาของชาวนาที่ต้องออกมาให้ ประกันราคาบ้าง จำนำข้าวบ้าง แสดงว่า การขายข้าวของเขา ไม่มีรายได้ที่แน่นอน? ลงทุนไปแล้ว ก็ขาดทุน? ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

ถ้าเกิดเราทำให้มีการลงทุนแบบ รัฐวิสาหกิจข้าวไทย จะเป็นไปได้ไหม?
เหมือนกับ การไฟฟ้าฯ, การประปาฯ, ปตท. (อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่แล้วนี่หว่า?) เป็นต้น

มีผู้บริหาร ในองค์กร ดูแลเรื่องกำหนดนโยบายว่าจะปลูกข้าวอย่างไร เป็นต้นว่า ทำเกษตรปลูกข้่าวตามทฤษฎีพอเพียง ดูแลการผลิตตั้งแต่ปลูกข้าว เกี่ยว สี และดูแลการตลาดว่าจะขายที่ไหนอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้จะสามารถกำหนดวิธีการปลูก คุณภาพ และการตลาดได้หรือเปล่านะ?

ส่วนชาวนา ก็รับเข้ามาเป็น ลูกจ้าง/พนักงาน มีเงินเดือน อาจจะเหมาจ่าย เดือนละ 9,000.- (คิด 300 คูณ 30 วัน) มีสวัสดิการ และมีประกันสังคม อ้อ เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ - -* ถ้าีผลผลิตดี หรือข้าวมีคุณภาพ ขายได้มากขึ้น ก็มีโบนัสให้ตามส่วนไป

แบบนี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน และน่าจะทำให้รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้เป็นชนชั้นล่าง? แบบที่ชอบอ้างๆ กันหรือเปล่านะ อย่างน้อย เขาก็ไม่ต้องกังวลว่า ปีนี้ปลูกข้าวจะขาดทุนหรือเปล่า? ชีวิตน่าจะมั่นคงขึ้น

ก็คิดเล่นๆ นะครับ
แต่สรุปแนวคิดผม ถ้าให้ชาวนาปลูกข้าวเอง ปลูกใครปลูกมันน่ะ ชาติหน้าอีกสิบชาติ ก็ไม่เจริญกันสักทีหรอก
เพราะคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วก็จะต้องมาวุ่นวายกับเรื่องจำนำ, ประกันนี้ต่อไปจนชั่วกัลปาวสานชาติไทยกันเลยล่ะ

.ผมว่าเอามาปรับแต่งหน่อยวางรูปแบบให้ดีๆก็อาจจะทำได้นะครับ :P

#74 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 03:39

เรื่องนำ้ใช้การเกษตรเเละที่ทำกินคับ ที่ต้องรีบลงมือช่วยชาวนา รัฐต้องออกกฏหมายเวณคือ จะเป็นให้ชาวนาชาวไร้เช่าในราคาถูกก็ได้ เเละ ให้มีการส่งเสริมด้านความรู้ในทุกๆด้าน เงินมาลงทุน ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่กู้ ธกส.ก็กู้ระบบอื่น รัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นเเละเหมาะสมเท่านั้นคับสำหรับเรื่องนี้

ยังเห็นด้วยกับการจำนำข้าวกันอยู่หรือพี่น้องชาวไทยย้ำชัดๆอีกกี่ทีก็ได้

1. ประเทศที่ซื้อข้าวก็ไม่ได้มีแค่จีน และประเทศที่ขายข้าวก็ไม่ได้มีแค่ไทยกับเวียดนาม เพราะงั้นอย่าหมกมุ่นกับ 2 ประเทศนี้มากนัก

2. ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวในโลกที่ปลูกข้าว และประชากรบนโลกนี้ก็ไม่จำเป็นต้องง้อข้าวจากไทย เพราะงั้น ประเทศไทยไม่มีสิทธิที่จะดึงราคาข้าวในตลาดโลกให้ขึ้นตามใจชอบ นอกซะจากราคาของข้าวไทยเอง

3. ข้าวไม่ใช่หุ้น ยิ่งเก็บยิ่งมีต้นทุนเพิ่ม ยิ่งเก็บยิ่งเสื่อมคุณภาพ เสื่อมราคา เพราะงั้นที่บอกว่าตราบเท่าที่ไม่ขายก็ไม่ขาดทุนจึงเป็นเรื่องไม่จริง

4. คนค้าขายต้องมุ่งที่กำไรจากการขาย ไม่ใช่ราคาขายที่ตัวเองตั้งเอาเองตามใจชอบ เพราะเมื่อลูกค้าไม่ซื้อมันก็จบ

5. ข้าวสายพันธุ์ไทยถูกใจประชากรในหลายๆประเทศก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะผูกปิ่นโตซื้อข้าวไทยกินจนชั่วฟ้าดินสลาย เพราะงั้นผมถึงได้บอกว่าเมื่อเสียตลาดไปแล้วเราเอาคืนยาก

6. ไม่มีการค้าขายในโลกนี้ที่ไหนที่ใช้วิธีเพิ่มต้นทุน เพื่อเพิ่มราคาขาย เพราะงั้นการบีบให้มีการซื้อขายข้าวเปลือกในราคาสูง เพื่อหวังจะให้ราคาขายข้าวสูงขึ้น มีแต่จะทำให้พ่อค้าหนีไปซื้อข้าวจากเพื่อนบ้านที่ต้นทุนถูกกว่ามาขายต่อ และมีแต่ทำให้รัฐบาลขาดทุน(ภาษีคุณ ภาษีผมนั่นล่ะ)

ศักยภาพการผลิตมันก็เป็นอำนาจการแข่งขัน และทำให้เกิดความสามารถการต่อรอง และที่ไทยดึงราคาตลาดโลกไม่ได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะศักยภาพของคู่แข่งมิใช่หรือ <<< คุณก็รู้นี่นา แล้วคุณยังจะเชื่อน้ำยาโครงการจำนำข้าวที่อ้างว่าจะดึงราคาตลาดโลกให้สูงขึ้นได้ยังไงล่ะ

มีข้าวเเต่ขายไม่ได้กำไลจะมีประโยชน์อะไร

เรื่องคุณภาพข้าว ประเทศไทยส่งออกข้าวคุณภาพดีน่ะไม่ได้แปลว่าเพราะเป็นข้าวหอมมะลิ หรือข้าวแป้งอ่อน แต่เขาหมายถึงว่า เป็นข้าวที่เกี่ยวในปีนั้นขายในปีนั้น ข้าวคุณภาพต่ำก็หมายถึงข้าวที่ค้างปี เหตุที่ค้างปีก็เพราะมันเป็นข้าวจากคลังสำรอง

#75 isa

isa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 447 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 10:32

สำหรับเรื่องพันธ์ข้าว ต้องขอสารภาพว่าไม่มีความรู้มากนักครับ
แต่ขอคิดต่างออกไปนิดหน่อย

ปัญหาที่เรามองว่าชาวนาเดือดร้อนนั้น เพราะเราคิดแนวคิดว่า "เงิน = ทรัพย์สิน" เกินไปหรือเปล่าครับ
หรือบางครั้งเรามองแค่ความเป็นอยู่แบบฉาบฉวย เราเลยเหมาเอาว่าคนที่มีบ้านหรูๆ แต่งตัวดีๆ ขับรถ
อย่างคนเมืองเป็นคนรวยที่ได้เปรียบในสังคม

แต่ถ้าเรามองในอีกแง่ล่ะครับ ขอเสนอแนวคิดจากหนังสือพ่อรวยสอนลูกก็แล้วกัน ผมไม่ได้เชื่อทั้งหมด แต่พบว่าแนวคิดหลายๆอย่างในหนังสือน่าสนใจดี ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการพัฒนาไปสู่ความมั่งคั่งมีแค่ 2 อย่างที่ดูเหมือนง่าย แต่จริงๆแล้วไม่ง่ายก็คือ

1. ทรัพย์สิน
2. หนี้สิน

และในส่วนของทรัพย์สิน คนทั่วไปมักจะติดอยู่แค่ความคิดที่ว่า "เงิน = ทรัพย์สิน” แต่ถ้าเราตีความเสียใหม่ว่า
ทรัพย์สิน คือ
1. สิ่งที่ก่อให้เกิดรายได้
2. สิ่งที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย
3. สิ่งที่สามารถจะใช้ประกันฐานะ กิจการ หรือสิ่งที่จะเป็นรายได้ในอนาคต

ขณะที่หนี้สินคือ

1. รายจ่ายประจำเพื่อการบริโภค

2. รายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

3. รายจ่ายในปัจจุบันที่อาจก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต

4. สิ่งที่ดูเหมือนทรัพย์สิน แต่ไม่ก่อรายได้ มีแต่รายจ่าย

5. สิ่งที่ก่อให้เกิดรายได้หรือลดรายจ่าย แต่ขณะเดียวกันก็มีรายจ่าย


คราวนี้เรามาเปรียบเทียบกันระหว่างชาวนากับคนเมืองว่าจากปัจจัยครอบครองที่มีอยู่ ว่าปัจจัยใดเป็นทรัพย์สิน ปัจจัยใดเป็นหนี้สิน และใครจะเป็นผู้พัฒนาไปสู่ความมั่งคั่งได้มากกว่ากัน

ปัจจัย

35]1. เงินได้

35]2. เครดิต

35]3. ที่อยู่อาศัย

35]4. สินทรัพย์ในครอบครอง

35]5. ปัจจัยในการทำกิน

35]6. ความรู้และเทคโนโลยีในการทำกิน

35]7. เวลาว่าง

35]8. สุขภาพ

35]9. เครือข่ายความสัมพันธ์เพื่อนและญาติมิตรตลอดจนคู่ค้าทางธุรกิจ


ข้อที่ 1 เงินได้ : ข้อนี้คนเมืองได้เปรียบแน่นอน เพราะโดยคนเมืองทั่วไปจะมีรายได้ที่แน่นอนเป็นประจำ ทำให้สามารถบริหารจัดการได้ง่าย ขณะที่ชาวนามีความเสี่ยงสูงเพราะมีรายได้ปีละไม่กี่ครั้ง และรายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตและพ่อค้าคนกลาง
ข้อ 2. เครดิต เป็นเหมือนแหล่งเงินทุนสำรองที่หากนำมาใช้ให้ถูกก็เกิดประโยชน์ ข้อนี้คนเมืองได้เปรียบแน่นอน เพราะแค่มีเงินเดือน บริษัทบัตรเครดิตก็แห่กันวิ่งเข้าหา แต่ข้อเสียก็คือเครดิตส่วนใหญ่ในลักษณะนี้เป็นเครดิตระยะสั้น เหมาะกับการบริโภคมากกว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอื่นๆได้จริง จึงหนักไปทางเป็นหนี้สินเสียมากกว่าจะเป็นทรัพย์สิน
ข้อ 3 : ที่อยู่อาศัย ข้อนี้ชาวนาได้เปรียบชัดเจน สำหรับชาวเมืองแล้วค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ เกือบจะถึง 1 ใน 3 ของรายได้ ขณะที่ชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง รายจ่ายตรงนี้เป็นศูนย์
ข้อ 4 : สินทรัพย์ในครอบครอง ข้อนี้ผมก็ถือว่าชาวนาค่อนข้างจะได้เปรียบ ถ้ารู้จักใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์ ก็จะสามารถสร้างสินทรัพย์ที่มีรายได้หรือลดรายจ่ายในการบริโภคขึ้นมาจากที่ดินของตัวเองได้โดยใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในที่ดินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นฝูงไก่ เป็ด หมู วัว หรือต้นไม้สำหรับบริโภค หรือแม้กระทั่งการปลูกต้นไม้เพื่อใช้ไม้ราคาแพง อย่างไม้ยมหอม ไม้พะยูง หรือไม้ค้ำยันอายุสั้นๆอย่างไม้ไผ่ ฯลฯ ขณะที่คนเมืองที่มีที่อยู่จำกัด บางคนอยู่ในคอนโดแคบๆเท่าแมวดิ้นตาย จึงครอบครองทรัพย์สินที่ส่วนใหญ่เป็นทรัพย์เสื่อมค่า อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น น้อยคนที่จะมีความรู้เรื่องเล่นทรัพย์สินที่ทวีค่าได้อย่างทองคำหรือหุ้น
ข้อ 5 : ปัจจัยทำกิน : ข้อนี้ผมก็มองว่าชาวนาได้เปรียบ คนเมืองส่วนใหญ่ทำงานเป็นลูกจ้างให้กับกิจการของคนอื่น แม้จะมีตำแหน่งสูงๆถึงระดับผู้บริหาร ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะไม่เสี่ยงที่จะสูญเสียงานในวันใดวันหนึ่ง หนำซ้ำ ตำแหน่งบริหารที่ยิ่งสูงก็ยิ่งเสี่ยงที่จะสูญเสียงาน ขณะที่ระยะเวลาจ้างงานสำหรับพนักงานระดับต่ำอาจเป็นชั่วชีวิต แต่ระยะเวลาจ้างงานสำหรับพวกตำแหน่งสูงๆกลับสัน้มาก หรือแม้แต่คนที่เป็นเจ้าของกิจการเอง ส่วนใหญ่ก็บริหารงานอยู่บนเงินกู้ ซึ่งหากเจ๊งขึ้นมา ก็ติดลบ ขณะที่ชาวนา หากยังมีที่ดินเป็นปัจจัยของตัวเองอยู่ และไม่สร้างหนี้สินเกินไป พึ่งพาเทคโนโลยีให้น้อยลงในการทำงาน อย่างมากก็กลับมานับหนึ่ง ไม่ถึงกับติดลบ
ข้อ 6 : ความรู้และเทคโนโลยีในการทำกิน : ข้อนี้ผมก็มองว่าชาวนาได้เปรียบนะ ชาวนาไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงมากมายในการทำนา และชุดความรู้ที่ประสบความสำเร็จสามารถนำมาใช้ซ้ำๆได้ ขณะที่คนที่อยู่ในภาคธุรกิจต้องอัพเดทตัวเองตลอด เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หนำซ้ำ แต่ละคนยังต้องมีความรู้คร่อมตำแหน่งงาน อย่างเช่นปัจจุบันฝ่ายผลิตก็ยังต้องเรียนรู้งานของฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดจำหน่ายด้วย จะมีความรู้เฉพาะอย่างแบบเมื่อก่อนไม่ได้อีกแล้ว
ข้อ 7: เวลาว่าง ข้อนี้ผมก็มองว่าชาวนาเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ชาวนาไม่ต้องเสียแรงกับการไถนา หว่าน หรือเก็บเกี่ยวเอง ทุกอย่างใช้เครื่องจักรหรือการจ้างวาน ดังนั้นเวลาของชาวนาจึงเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แต่เวลาส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมา กลับถูกใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์ อย่างการเล่นการพนัน กินเหล้าเมายา สังสันท์ฮาเฮ ซึ่งจัดเป็นการก่อหนี้สิน ขณะที่ของคนเมือง กลับมีเวลาว่างน้อยมาก เวลาช่วงกลางวันแต่ละวันถูกใช้ไปกับการทำงาน 7-8 ชั่วโมง การเดินทางอีก 2-4 ชั่วโมง แม้จะถูกเพ่งเล็งเรื่องใช้เวลากับการบันเทิง อย่างเช่นเดินห้าง เที่ยวกลางคืน แต่อีกด้าน คนเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในวัยเรียน หรือวัยเริ่มทำงาน ใช้เวลามากมายไปกับการติววิชา ศึกษาเพิ่มเติมความรู้ ตลอดจนรับจ๊อบ (เด็กผู้ชายในออฟฟิศที่ผมรู้จักรับจ๊อบงานนอกแทบจะทุกคน และรายได้ที่ได้มาเกือบจะเป็น 50-100% ของรายได้ปกติ)

ข้อ 8 สุขภาพ : ข้อนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดรายจ่าย ใครที่เคยเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลมาย่อมจะรู้ว่าค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยนั้นสาหัสขนาดไหน สามารถจะทำให้เงินออมตลอดปีสองปีหายวับไปกับตาได้เลยทีเดียว แม้คนเมืองจะดูเหมือนได้เปรียบที่สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพได้มากกว่า แต่ก็มีข้อเสียเปรียบตรงที่ถูกแวดล้อมด้วยปัจจัยที่บั่นทอนสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่ได้คุณภาพเนื่องจากเวลาและโอกาสไม่อำนวย โรคออฟฟิศ โรคเครียด โรคซึมเศร้า ตลอดจนการขาดเวลาที่จะออกกำลังกาย พักผ่อนไม่พอ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน ฯลฯ ขณะที่ชาวนาส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพแบบทำตัวเอง เช่น รับสารพิษจากการฉีดยาฆ่าแมลงโดยป้องกันตัวเองไม่ดีพอ หรือเจ็บป่วยจากโรคพิษสุรา จากอุบัติเหตุ ฯลฯ ข้อนี้ผมมองว่าชาวนาได้เปรียบ เพราะเป็นปัจจัยที่คุมง่ายกว่า (แต่ไม่ยักกะคุมกัน)

ข้อ 9 เครือข่ายความสัมพันธ์เพื่อนและญาติมิตรตลอดจนคู่ค้าทางธุรกิจ : ผมมองว่าแม้ชาวนาจะมีปัจจัยข้อนี้เยอะ แต่กลับกลายเป็นข้อเสียเปรียบ เพราะญาติมิตรของชาวนานั้นส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายพึ่งพามากกว่าจะให้ความช่วยเหลือ ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ก็เลยเป็นแบบไม่เสมอตัวก็ขาดทุน ขณะที่ทางคนเมือง โดยเฉพาะคนเชื้อสายจีนนั้น จะอาศัยสายสัมพันธ์ในการทำธุรกิจ ทำให้เป็นปัจจัยบวก แต่หากเป็นคนเมืองที่เป็นคนไทย จะมีความสัมพันธ์แบบหลวมๆ เสมอตัว ไม่ได้ไม่เสีย

...หากพิจารณาจากปัจจัยข้างบน ก็น่าจะพอเห็นภาพว่าสิ่งใดที่เป็นข้อด้อยที่สามารถจะปรับปรุงให้เป็นข้อเด่นบ้าง มีหลายอย่างของชาวนาที่มีเหนือกว่าคนเมืองแต่กลับไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ อย่างเช่นที่ดินเหลือที่ถูกปล่อยว่างอยู่เปล่าๆ เวลาว่างที่ถูกใช้ไปโดยไร้ประโยชน์ สุขภาพที่ถูกใช้ไปกับความสนุกที่เสียสุขภาพ ที่สามารถจะปรับปรุงได้ด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง

แต่ในแง่ของการจัดทำเป็นบริษัทรับจ้างทำนาโดยให้ชาวนาเป็นลูกจ้างนั้น ผมบอกตรงๆว่าไม่เห็นด้วยครับ เพราะการเป็นพนักงานบริษัท แม้จะเป็นแค่ระดับลูกจ้างโรงงาน ก็ต้องอาศัยวินัยการทำงาน การพัฒนาตัวเอง ความตรงต่อเวลา ความอดทน และการปรับตัวให้เข้ากับองค์กรในระดับหนึ่ง สำหรับชาวนาหลายๆคนที่ชินกับการทำงานแบบอิสระ อยากทำเมื่อไหร่ก็ได้ นี่จะยิ่งเป็นการบีบให้หมดที่ยืนในสังคมไปซะอีกเปล่าๆ

(ยาวหน่อย ขออภัยครับ)

#76 isa

isa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 447 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 10:49

เสริมอีกนิด หลายๆท่านดูเหมือนจะติดกับความคิดในเรื่องความอยู่ดีกินดี ดังต่อไปนี้ครับ

1. ที่อยู่อาศัยที่ดี คือบ้านหรูๆ - ไม่จริง ที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้นอยู่กับการออกแบบบ้านที่เหมาะสม มีการถ่ายเทอากาศและแสงที่ดี ใช้วัสดุที่คงทนพอสมควร ความสวยนั้นอยู่ที่การรักษาความสะอาด การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับไอเดีย ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากก็สวยได้ แม้จะมีพื้นที่จำกัดหรือวัสดุราคาถูก
2. อาหารที่ดีคืออาหารหรูราคาแพง - ไม่จริง อาหารที่ดีคืออาหารที่สะอาด มีสารอาหารครบถ้วน มีรสชาติถูกปาก (ซึ่งขึ้นอยู่กับฝีมือแม่ครัวและรสนิยมของคนกิน)
3. สุขภาพที่ดีคือการรักษาที่ดี มีคุณภาพ - ไม่จริง สุขภาพที่ดีคือสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติตัวที่ช่วยให้รักษาสุขภาพที่แข็งแรงและเลี่ยงปัจจัยเสี่่ยงที่จะนำไปสู่ความเจ็บป่วยแต่เนิ่นๆ
4. ความสุขในชีวิตคือความบันเทิงราคาแพง - ไม่จำเป็น ความสุขในชีวิตคือการเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและความทุกข์ ความสุขนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจ ความบันเทิงเป็นเพียงสิ่งกระตุ้น ยิ่งความบันเทิงรูปแบบยิ่งง่าย ค่าใช้จ่ายน้อยยิ่งดีเท่านั้น
5. ความสะดวกคือปัจจัยสำคัญ - ไม่จำเป็นเสมอไป ความสะดวกหลายอย่างคือการลดเวลาทำงานทำให้มีเวลาว่างเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเวลาว่างพวกนัี้นถูกนำไปใช้ผิดๆมันก็ไม่มีประโยชน์ ความสะดวกบางอย่างเช่นรถยนต์ อาจกลายเป็นปัจจัยบั่นทอนสุขภาพ
อย่างคนบ้านใกล้ที่ทำงานขับรถไป แทนที่จะเดินหรือปั่นจักรยานซึ่งจะได้ออกกำลังกายไปในตัว ความสะดวกบางอย่างเช่นมือถือหรือคอมพิวเตอร์ก็ถูกมาใช้ไร้สาระมากกว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แท้จริง

...แค่นี้ครับ

#77 David_GinoLa

David_GinoLa

    สมาชิกระดับไพร่

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,561 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 10:53


"การเมืองต้องเป็นเรื่องการเสียสละ การเมืองคือภาระของทุกผู้การเมืองเรื่องส่วนรวมร่วมรับรู้ การเมืองต้องต่อสู้เพื่อส่วนรวม"เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

#78 annykun

annykun

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,567 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 10:56

นั่งทำงานอยู่ผมก็คิดเล่นๆ แหวกแนวเพี้ยนๆ ว่า

ถ้าให้ชาวนาทำนาอะไรเอง อะไรอย่างนี้ ต่อให้เอาแนวทางนโยบายอะไรไปเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
สารพัดข้ออ้าง ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่เป็น เดี๋ยวก็ปัจจัยโน่นนี่

1. ชาวนาปลุกข้าวเป็น แต่ไม่มีการวางแผน ไม่มีนโยบาย บริหารไม่เป็น คนที่ำมีความรู้ด้านนี้ ก็คงปลูกข้าวไม่เป็น ไปบอกให้ทำก้ไม่ทำ เราสามารถทำให้คนปลูกข้าวก็ปลูกไป คนคิดนโยบาย คนบริหารการตลาดก็ทำไป ได้ไหม?
2. ปัญหาของชาวนาที่ต้องออกมาให้ ประกันราคาบ้าง จำนำข้าวบ้าง แสดงว่า การขายข้าวของเขา ไม่มีรายได้ที่แน่นอน? ลงทุนไปแล้ว ก็ขาดทุน? ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

ถ้าเกิดเราทำให้มีการลงทุนแบบ รัฐวิสาหกิจข้าวไทย จะเป็นไปได้ไหม?
เหมือนกับ การไฟฟ้าฯ, การประปาฯ, ปตท. (อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่แล้วนี่หว่า?) เป็นต้น

มีผู้บริหาร ในองค์กร ดูแลเรื่องกำหนดนโยบายว่าจะปลูกข้าวอย่างไร เป็นต้นว่า ทำเกษตรปลูกข้่าวตามทฤษฎีพอเพียง ดูแลการผลิตตั้งแต่ปลูกข้าว เกี่ยว สี และดูแลการตลาดว่าจะขายที่ไหนอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้จะสามารถกำหนดวิธีการปลูก คุณภาพ และการตลาดได้หรือเปล่านะ?

ส่วนชาวนา ก็รับเข้ามาเป็น ลูกจ้าง/พนักงาน มีเงินเดือน อาจจะเหมาจ่าย เดือนละ 9,000.- (คิด 300 คูณ 30 วัน) มีสวัสดิการ และมีประกันสังคม อ้อ เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ - -* ถ้าีผลผลิตดี หรือข้าวมีคุณภาพ ขายได้มากขึ้น ก็มีโบนัสให้ตามส่วนไป

แบบนี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน และน่าจะทำให้รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้เป็นชนชั้นล่าง? แบบที่ชอบอ้างๆ กันหรือเปล่านะ อย่างน้อย เขาก็ไม่ต้องกังวลว่า ปีนี้ปลูกข้าวจะขาดทุนหรือเปล่า? ชีวิตน่าจะมั่นคงขึ้น

ก็คิดเล่นๆ นะครับ
แต่สรุปแนวคิดผม ถ้าให้ชาวนาปลูกข้าวเอง ปลูกใครปลูกมันน่ะ ชาติหน้าอีกสิบชาติ ก็ไม่เจริญกันสักทีหรอก
เพราะคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วก็จะต้องมาวุ่นวายกับเรื่องจำนำ, ประกันนี้ต่อไปจนชั่วกัลปาวสานชาติไทยกันเลยล่ะ


ผมว่าแนวคิดนี้ดีครับ หากมีจริงๆ วางรูปแบบดีๆ การปฎิวัติการปลูกข้าวในประเทศจะง่ายขึ้นมากๆ แต่คงสรองรับชาวนาได้แค่จำนวนนึงเท่านั้นครับ คาดว่าคงไม่อาจช่วยชาวนาได้หมดประเทศหรอก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ให้เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินนโยบายพวกเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมเกษตรแบบผสมผสาน แบบจริงจังต่อเนื่อง ครบวงจรไปเลย ผ่านรูปแบบรัฐวิสาหกิจ(จ้างชาวนาบางส่วนที่สนใจทำ) หากได้ผลดี ชาวนาที่ไม่ได้เข้าร่วมอาจเล็งเห็นประโยชน์จนหันมาทำตามก็ได้ รัฐวิสาหกิจอาจช่วยควบคุมกลไกตลาดภายในประเทศได้อีกด้วย
เช่น ขายข้าวที่ตัวเองผลิตออกมาน้อยลงเพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น หรือขายให้มากขึ้นเอากำไรเข้ากระเป๋าเมื่อราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น

คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม  คือ   ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

คุณธรรมที่พร้ำสอน  ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา   ส่วน  ประชาธิปไตยน่ะรึ  เอาเข้าจริงๆ  สำคัญอันใด?? 

 


#79 raffy

raffy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,517 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:12


นั่งทำงานอยู่ผมก็คิดเล่นๆ แหวกแนวเพี้ยนๆ ว่า

ถ้าให้ชาวนาทำนาอะไรเอง อะไรอย่างนี้ ต่อให้เอาแนวทางนโยบายอะไรไปเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
สารพัดข้ออ้าง ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่เป็น เดี๋ยวก็ปัจจัยโน่นนี่

1. ชาวนาปลุกข้าวเป็น แต่ไม่มีการวางแผน ไม่มีนโยบาย บริหารไม่เป็น คนที่ำมีความรู้ด้านนี้ ก็คงปลูกข้าวไม่เป็น ไปบอกให้ทำก้ไม่ทำ เราสามารถทำให้คนปลูกข้าวก็ปลูกไป คนคิดนโยบาย คนบริหารการตลาดก็ทำไป ได้ไหม?
2. ปัญหาของชาวนาที่ต้องออกมาให้ ประกันราคาบ้าง จำนำข้าวบ้าง แสดงว่า การขายข้าวของเขา ไม่มีรายได้ที่แน่นอน? ลงทุนไปแล้ว ก็ขาดทุน? ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

ถ้าเกิดเราทำให้มีการลงทุนแบบ รัฐวิสาหกิจข้าวไทย จะเป็นไปได้ไหม?
เหมือนกับ การไฟฟ้าฯ, การประปาฯ, ปตท. (อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่แล้วนี่หว่า?) เป็นต้น

มีผู้บริหาร ในองค์กร ดูแลเรื่องกำหนดนโยบายว่าจะปลูกข้าวอย่างไร เป็นต้นว่า ทำเกษตรปลูกข้่าวตามทฤษฎีพอเพียง ดูแลการผลิตตั้งแต่ปลูกข้าว เกี่ยว สี และดูแลการตลาดว่าจะขายที่ไหนอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้จะสามารถกำหนดวิธีการปลูก คุณภาพ และการตลาดได้หรือเปล่านะ?

ส่วนชาวนา ก็รับเข้ามาเป็น ลูกจ้าง/พนักงาน มีเงินเดือน อาจจะเหมาจ่าย เดือนละ 9,000.- (คิด 300 คูณ 30 วัน) มีสวัสดิการ และมีประกันสังคม อ้อ เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ - -* ถ้าีผลผลิตดี หรือข้าวมีคุณภาพ ขายได้มากขึ้น ก็มีโบนัสให้ตามส่วนไป

แบบนี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน และน่าจะทำให้รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้เป็นชนชั้นล่าง? แบบที่ชอบอ้างๆ กันหรือเปล่านะ อย่างน้อย เขาก็ไม่ต้องกังวลว่า ปีนี้ปลูกข้าวจะขาดทุนหรือเปล่า? ชีวิตน่าจะมั่นคงขึ้น

ก็คิดเล่นๆ นะครับ
แต่สรุปแนวคิดผม ถ้าให้ชาวนาปลูกข้าวเอง ปลูกใครปลูกมันน่ะ ชาติหน้าอีกสิบชาติ ก็ไม่เจริญกันสักทีหรอก
เพราะคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วก็จะต้องมาวุ่นวายกับเรื่องจำนำ, ประกันนี้ต่อไปจนชั่วกัลปาวสานชาติไทยกันเลยล่ะ


ผมว่าแนวคิดนี้ดีครับ หากมีจริงๆ วางรูปแบบดีๆ การปฎิวัติการปลูกข้าวในประเทศจะง่ายขึ้นมากๆ แต่คงสรองรับชาวนาได้แค่จำนวนนึงเท่านั้นครับ คาดว่าคงไม่อาจช่วยชาวนาได้หมดประเทศหรอก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ให้เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินนโยบายพวกเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมเกษตรแบบผสมผสาน แบบจริงจังต่อเนื่อง ครบวงจรไปเลย ผ่านรูปแบบรัฐวิสาหกิจ(จ้างชาวนาบางส่วนที่สนใจทำ) หากได้ผลดี ชาวนาที่ไม่ได้เข้าร่วมอาจเล็งเห็นประโยชน์จนหันมาทำตามก็ได้ รัฐวิสาหกิจอาจช่วยควบคุมกลไกตลาดภายในประเทศได้อีกด้วย
เช่น ขายข้าวที่ตัวเองผลิตออกมาน้อยลงเพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น หรือขายให้มากขึ้นเอากำไรเข้ากระเป๋าเมื่อราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น


โซนนิ่งการเพาะปลูกและผลผลิตทางการเกษรครับ
วางให้ได้ วางให้ดี และวางให้เหมาะ
โซนไหน ทำอะไร เมื่อไร วางเป็นระยะ 3 - 5 ปี
แรงงานก็ไม่ไปไหนหรอกครับใครๆก็อยากอยู่บ้านเกิดกันทั้งนั้น
เพราะรู้ว่ามีรายได้ที่แน่นอน

#80 annykun

annykun

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,567 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:13

เรืองราคากลางในการประกันราคาข้าว ลองคิดเล่นๆ ไม่รู้จะเป็นไปได้มั๊ย?

คิดราคากลางจากต้นทุนการผลิตโดยรวมของประเทศ อาจเป็นแบบ max/ค่าเฉลี่ย + กำไรเล็กน้อย 10-20% ให้แก่ชาวนา
แล้วรัฐพยายามอย่างไรก็ได้เพื่อลดราคากลางนี้ให้ได้ตำ่ที่สุด(อันหมายถึงการพยายามลดต้นทุนการผลิตลง)
โดยมีเป้าหมายสูงสุดให้ราคากลางนี้ตำ่กว่าราคาข้าวในตลาดโลกให้ได้ เมื่อทำได้ชาวนาจะขายข้าวในตลาดได้ตามปรกติโดยรัฐ
ไม่ต้องใช่เงินภาษีเข้าไปช่วย (อันหมายถึงไม่ต้องใช้ประกัน/จำนำอีกต่อไป)
ส่วนจำนำมีต่อ รูปแบบเดิมนี่ล่ะแต่ปรับราคาไม่ให้สูงกว่าตลาดโลกมากนัก จำกัดโควต้า และทำเมื่อราคาข้าวตกตำ่มากๆเท่านั้น

คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม  คือ   ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

คุณธรรมที่พร้ำสอน  ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา   ส่วน  ประชาธิปไตยน่ะรึ  เอาเข้าจริงๆ  สำคัญอันใด?? 

 


#81 isa

isa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 447 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:14


นั่งทำงานอยู่ผมก็คิดเล่นๆ แหวกแนวเพี้ยนๆ ว่า

ถ้าให้ชาวนาทำนาอะไรเอง อะไรอย่างนี้ ต่อให้เอาแนวทางนโยบายอะไรไปเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
สารพัดข้ออ้าง ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่เป็น เดี๋ยวก็ปัจจัยโน่นนี่

1. ชาวนาปลุกข้าวเป็น แต่ไม่มีการวางแผน ไม่มีนโยบาย บริหารไม่เป็น คนที่ำมีความรู้ด้านนี้ ก็คงปลูกข้าวไม่เป็น ไปบอกให้ทำก้ไม่ทำ เราสามารถทำให้คนปลูกข้าวก็ปลูกไป คนคิดนโยบาย คนบริหารการตลาดก็ทำไป ได้ไหม?
2. ปัญหาของชาวนาที่ต้องออกมาให้ ประกันราคาบ้าง จำนำข้าวบ้าง แสดงว่า การขายข้าวของเขา ไม่มีรายได้ที่แน่นอน? ลงทุนไปแล้ว ก็ขาดทุน? ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

ถ้าเกิดเราทำให้มีการลงทุนแบบ รัฐวิสาหกิจข้าวไทย จะเป็นไปได้ไหม?
เหมือนกับ การไฟฟ้าฯ, การประปาฯ, ปตท. (อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่แล้วนี่หว่า?) เป็นต้น

มีผู้บริหาร ในองค์กร ดูแลเรื่องกำหนดนโยบายว่าจะปลูกข้าวอย่างไร เป็นต้นว่า ทำเกษตรปลูกข้่าวตามทฤษฎีพอเพียง ดูแลการผลิตตั้งแต่ปลูกข้าว เกี่ยว สี และดูแลการตลาดว่าจะขายที่ไหนอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้จะสามารถกำหนดวิธีการปลูก คุณภาพ และการตลาดได้หรือเปล่านะ?

ส่วนชาวนา ก็รับเข้ามาเป็น ลูกจ้าง/พนักงาน มีเงินเดือน อาจจะเหมาจ่าย เดือนละ 9,000.- (คิด 300 คูณ 30 วัน) มีสวัสดิการ และมีประกันสังคม อ้อ เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ - -* ถ้าีผลผลิตดี หรือข้าวมีคุณภาพ ขายได้มากขึ้น ก็มีโบนัสให้ตามส่วนไป

แบบนี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน และน่าจะทำให้รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้เป็นชนชั้นล่าง? แบบที่ชอบอ้างๆ กันหรือเปล่านะ อย่างน้อย เขาก็ไม่ต้องกังวลว่า ปีนี้ปลูกข้าวจะขาดทุนหรือเปล่า? ชีวิตน่าจะมั่นคงขึ้น

ก็คิดเล่นๆ นะครับ
แต่สรุปแนวคิดผม ถ้าให้ชาวนาปลูกข้าวเอง ปลูกใครปลูกมันน่ะ ชาติหน้าอีกสิบชาติ ก็ไม่เจริญกันสักทีหรอก
เพราะคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วก็จะต้องมาวุ่นวายกับเรื่องจำนำ, ประกันนี้ต่อไปจนชั่วกัลปาวสานชาติไทยกันเลยล่ะ


ผมว่าแนวคิดนี้ดีครับ หากมีจริงๆ วางรูปแบบดีๆ การปฎิวัติการปลูกข้าวในประเทศจะง่ายขึ้นมากๆ แต่คงสรองรับชาวนาได้แค่จำนวนนึงเท่านั้นครับ คาดว่าคงไม่อาจช่วยชาวนาได้หมดประเทศหรอก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ให้เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินนโยบายพวกเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมเกษตรแบบผสมผสาน แบบจริงจังต่อเนื่อง ครบวงจรไปเลย ผ่านรูปแบบรัฐวิสาหกิจ(จ้างชาวนาบางส่วนที่สนใจทำ) หากได้ผลดี ชาวนาที่ไม่ได้เข้าร่วมอาจเล็งเห็นประโยชน์จนหันมาทำตามก็ได้ รัฐวิสาหกิจอาจช่วยควบคุมกลไกตลาดภายในประเทศได้อีกด้วย
เช่น ขายข้าวที่ตัวเองผลิตออกมาน้อยลงเพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น หรือขายให้มากขึ้นเอากำไรเข้ากระเป๋าเมื่อราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น


แนวคิดจ้างชาวนานี้ จริงๆแล้วผมเกรงว่าจะได้ผลตรงกันข้ามน่ะสิครับ

เพราะการเกษตรเทคโนโลยีปัจจุบันใช้คนน้อย ใช้เครื่องจักรเยอะ องค์กรที่เข้ามาทำนา แทนที่จะว่าจ้างชาวนาจำนวนมาก ก็กลายเป็นว่าจ้างแค่ช่าง 10 คน กับรถุไถรถเกี่ยว แค่นี้ก็ครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นร้อยๆไร่แล้ว
แถมคุ้มทุนกว่า และเสี่ยงกับปัจจัยด้านบุคลากรกว่าการว่าจ้างแรงงานชาวนาจำนวนมาก ...สาเหตุหนึ่งที่โรงงานที่ไปตั้งต่างจังหวัดล้มเหลว เพราะขาดแรงงานที่มีคุณภาพ และการทำงานแบบตำข้าวสารกรอกหม้อ
ทำให้การผลิตไม่ต่อเนื่อง การกระจายการผลิตไปยังชนบทเพื่อกระจายรายได้จึงไม่เป็นจริงเสียทีไงครับ แต่โรงงานที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรม ใช้การรวมแรงงานจากทั้่วประเทศเข้ามา จะลดความเสี่ยงของโรงงานได้
เพราะเป็นแรงงานที่คัดแล้วจากทั่วประเทศ (รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย)

ถ้าให้รัฐเป็นคนทำ ก็จะต้องแบกค่าใช้จ่ายมหาศาล เป็นองค์กรที่อุ้ยอ้ายที่พนักงานขาดคุณภาพ ขาดความสามารถในการแข่งขัน เหมือนกับที่เกิดกับรัฐวิสาหกิจหลายๆแห่งของไทยน่ะแหละ เผลอๆจะยิ่งหนักกว่าเสียอีก

#82 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:14

ผมว่าถ้าเราปล่อยให้หน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลหรือพัฒนาพันธุ์ข้าวผมว่าเราคงไปไม่ถึงไหน..ผมไม่ได้ว่าไม่ดีนะครับ.แต่รัฐไม่พลักดันจริงๆเท่านั้นเอง..ควรให้เอกชนทำโดยการสนับสนุนเงินทุนจากทางรัฐ..ผมว่าจะไปได้ดีกว่านี้..

Edited by kon_thai, 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:16.


#83 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:35


นั่งทำงานอยู่ผมก็คิดเล่นๆ แหวกแนวเพี้ยนๆ ว่า

ถ้าให้ชาวนาทำนาอะไรเอง อะไรอย่างนี้ ต่อให้เอาแนวทางนโยบายอะไรไปเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
สารพัดข้ออ้าง ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่เป็น เดี๋ยวก็ปัจจัยโน่นนี่

1. ชาวนาปลุกข้าวเป็น แต่ไม่มีการวางแผน ไม่มีนโยบาย บริหารไม่เป็น คนที่ำมีความรู้ด้านนี้ ก็คงปลูกข้าวไม่เป็น ไปบอกให้ทำก้ไม่ทำ เราสามารถทำให้คนปลูกข้าวก็ปลูกไป คนคิดนโยบาย คนบริหารการตลาดก็ทำไป ได้ไหม?
2. ปัญหาของชาวนาที่ต้องออกมาให้ ประกันราคาบ้าง จำนำข้าวบ้าง แสดงว่า การขายข้าวของเขา ไม่มีรายได้ที่แน่นอน? ลงทุนไปแล้ว ก็ขาดทุน? ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

ถ้าเกิดเราทำให้มีการลงทุนแบบ รัฐวิสาหกิจข้าวไทย จะเป็นไปได้ไหม?
เหมือนกับ การไฟฟ้าฯ, การประปาฯ, ปตท. (อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่แล้วนี่หว่า?) เป็นต้น

มีผู้บริหาร ในองค์กร ดูแลเรื่องกำหนดนโยบายว่าจะปลูกข้าวอย่างไร เป็นต้นว่า ทำเกษตรปลูกข้่าวตามทฤษฎีพอเพียง ดูแลการผลิตตั้งแต่ปลูกข้าว เกี่ยว สี และดูแลการตลาดว่าจะขายที่ไหนอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้จะสามารถกำหนดวิธีการปลูก คุณภาพ และการตลาดได้หรือเปล่านะ?

ส่วนชาวนา ก็รับเข้ามาเป็น ลูกจ้าง/พนักงาน มีเงินเดือน อาจจะเหมาจ่าย เดือนละ 9,000.- (คิด 300 คูณ 30 วัน) มีสวัสดิการ และมีประกันสังคม อ้อ เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ - -* ถ้าีผลผลิตดี หรือข้าวมีคุณภาพ ขายได้มากขึ้น ก็มีโบนัสให้ตามส่วนไป

แบบนี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน และน่าจะทำให้รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้เป็นชนชั้นล่าง? แบบที่ชอบอ้างๆ กันหรือเปล่านะ อย่างน้อย เขาก็ไม่ต้องกังวลว่า ปีนี้ปลูกข้าวจะขาดทุนหรือเปล่า? ชีวิตน่าจะมั่นคงขึ้น

ก็คิดเล่นๆ นะครับ
แต่สรุปแนวคิดผม ถ้าให้ชาวนาปลูกข้าวเอง ปลูกใครปลูกมันน่ะ ชาติหน้าอีกสิบชาติ ก็ไม่เจริญกันสักทีหรอก
เพราะคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วก็จะต้องมาวุ่นวายกับเรื่องจำนำ, ประกันนี้ต่อไปจนชั่วกัลปาวสานชาติไทยกันเลยล่ะ

.ผมว่าเอามาปรับแต่งหน่อยวางรูปแบบให้ดีๆก็อาจจะทำได้นะครับ :P

ซีพี พยายามจะทำตัวเป็นลักษณะนั้น เท่ากับผูกขาด เหมือนการไฟฟ้า กำหนดราคาในประเทศทำได้ครับ
แต่ถ้าให้แข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นก็เจ๊ง เหมือนที่รัฐทำจำนำข้าวนี่แหละนะผมว่า :huh: :huh:

เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#84 kon_thai

kon_thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,437 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:39



นั่งทำงานอยู่ผมก็คิดเล่นๆ แหวกแนวเพี้ยนๆ ว่า

ถ้าให้ชาวนาทำนาอะไรเอง อะไรอย่างนี้ ต่อให้เอาแนวทางนโยบายอะไรไปเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
สารพัดข้ออ้าง ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่เป็น เดี๋ยวก็ปัจจัยโน่นนี่

1. ชาวนาปลุกข้าวเป็น แต่ไม่มีการวางแผน ไม่มีนโยบาย บริหารไม่เป็น คนที่ำมีความรู้ด้านนี้ ก็คงปลูกข้าวไม่เป็น ไปบอกให้ทำก้ไม่ทำ เราสามารถทำให้คนปลูกข้าวก็ปลูกไป คนคิดนโยบาย คนบริหารการตลาดก็ทำไป ได้ไหม?
2. ปัญหาของชาวนาที่ต้องออกมาให้ ประกันราคาบ้าง จำนำข้าวบ้าง แสดงว่า การขายข้าวของเขา ไม่มีรายได้ที่แน่นอน? ลงทุนไปแล้ว ก็ขาดทุน? ไม่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

ถ้าเกิดเราทำให้มีการลงทุนแบบ รัฐวิสาหกิจข้าวไทย จะเป็นไปได้ไหม?
เหมือนกับ การไฟฟ้าฯ, การประปาฯ, ปตท. (อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่แล้วนี่หว่า?) เป็นต้น

มีผู้บริหาร ในองค์กร ดูแลเรื่องกำหนดนโยบายว่าจะปลูกข้าวอย่างไร เป็นต้นว่า ทำเกษตรปลูกข้่าวตามทฤษฎีพอเพียง ดูแลการผลิตตั้งแต่ปลูกข้าว เกี่ยว สี และดูแลการตลาดว่าจะขายที่ไหนอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้จะสามารถกำหนดวิธีการปลูก คุณภาพ และการตลาดได้หรือเปล่านะ?

ส่วนชาวนา ก็รับเข้ามาเป็น ลูกจ้าง/พนักงาน มีเงินเดือน อาจจะเหมาจ่าย เดือนละ 9,000.- (คิด 300 คูณ 30 วัน) มีสวัสดิการ และมีประกันสังคม อ้อ เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ - -* ถ้าีผลผลิตดี หรือข้าวมีคุณภาพ ขายได้มากขึ้น ก็มีโบนัสให้ตามส่วนไป

แบบนี้จะทำให้ชาวนามีรายได้ที่แน่นอน และน่าจะทำให้รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้เป็นชนชั้นล่าง? แบบที่ชอบอ้างๆ กันหรือเปล่านะ อย่างน้อย เขาก็ไม่ต้องกังวลว่า ปีนี้ปลูกข้าวจะขาดทุนหรือเปล่า? ชีวิตน่าจะมั่นคงขึ้น

ก็คิดเล่นๆ นะครับ
แต่สรุปแนวคิดผม ถ้าให้ชาวนาปลูกข้าวเอง ปลูกใครปลูกมันน่ะ ชาติหน้าอีกสิบชาติ ก็ไม่เจริญกันสักทีหรอก
เพราะคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วก็จะต้องมาวุ่นวายกับเรื่องจำนำ, ประกันนี้ต่อไปจนชั่วกัลปาวสานชาติไทยกันเลยล่ะ

.ผมว่าเอามาปรับแต่งหน่อยวางรูปแบบให้ดีๆก็อาจจะทำได้นะครับ :P

ซีพี พยายามจะทำตัวเป็นลักษณะนั้น เท่ากับผูกขาด เหมือนการไฟฟ้า กำหนดราคาในประเทศทำได้ครับ
แต่ถ้าให้แข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นก็เจ๊ง เหมือนที่รัฐทำจำนำข้าวนี่แหละนะผมว่า :huh: :huh:

ทำแบบ ซีพีผมก็ไม่เห็นด้วย.จากผลงานที่พ่านมา.มันเอาแต่ได้เห็นแก่ตัว.ตั้งแต่ไก่ หมู กุ้ง ปลา อาหาร.ไม่เคยเห็นใครเอาแต่ได้อย่าง ซีพี..
ผมต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถเพื่อที่จะทำให้ข้าวไทยเติบโตจริงๆไม่ใช่เพื่อตนเองคนเดียวครับ..

#85 Cemeterys

Cemeterys

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 796 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:16

ทำในสิ่งที่ยากกกส์ที่สุด ก่อนเป็นอันดับแรกครับท่าน kon thai

นั่นคือ "การปลูกจิตสำนึก" ในการดำรงชีวิตครับ ;) ;)

ถูกต้องแล้วครับ

#86 Illusion

Illusion

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 68 posts

ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:59

อยู่ที่เกษตรกรเลือกว่าจะผลิตผลในเชิงอุตสาหกรรม หรือ แบบเกษตรกรรมดั่งเดิม

ถ้าอยากได้เงินมากๆแบบอุตสาหกรรมก็ปลูกเชิงเดี่ยว ซึ่งผลผลิตแบบเชิงเดี่ยวปริมาณคือตัวเงิน ทำยังไงให้ได้เยอะๆมากๆก็ไม่พ้นเข้าวังวนปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช ซึ่งก็มีความเสี่ยงมากกว่า แลกกับเงินที่มากกว่า ก็คงมีทั่งคนที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ

ถ้าแบบเกษตรกรรมดั่งเดิม สามารถพึ่งพาตนเองได้ ก็เกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งรายได้ถ้าเทียบกับมาตรฐานคนทั่วไปอาจจะมองว่าน้อยกว่าแบบแรก แต่ความเสี่ยงก็น้อยกว่าด้วยเช่นกัน

คงอยู่ที่เกษตรกรเองว่าต้องการแบบไหน บางคนเงินหรือทรัพย์สินคือสิ่งสำคัญเพราะไม่เคยมีก็อยากมีบ้าง บางคนชอบที่จะอยู่แบบมีกินมีใช้ไม่เดือดร้อนเพราะมีความสุขดีอยู่แล้ว

ที่พูดมาทั่งหมดนี้ สำคัญสุดคือต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง แล้วเลือกว่าจะเดินไปทางไหน และต้องมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือก ไม่ใช่การโทษเรื่องโชคชะตาหรือฐานะ :P




ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน