ผมเห็นด้วยกับคุณ amp หลายประเด็นเหมือนกันนะครับ
แต่เรื่องการเดินหน้าผ่าความจริงหยุดล้มล้างรัฐธรรมนูญนี่ผมก็คิดว่ายังต้องทำครับ
เพราะอย่าลืมว่าเรื่องที่พวกเรารู้จนเบื่อแล้วมันซ้ำซาก
แต่ชาวบ้านเขาไม่รู้หรอกครับ การลงพื้นที่ก็ต้องไปอธิบายตรงนั้น
และฝั่งทักษิณเขาก็ไม่ได้เลิก
ส่วนเรื่องการจำนำข้าว ผมว่าพูดในสภาเหมาะกว่า
และการฟ้องประชาชนไปมันก็ไม่เห็นชัดเท่ากับผลจริงๆ
(ทักษิณเขาถึงมั่นใจเดินหน้าต่อ เพราะเขาเชื่อว่าเกษตรกรส่วนใหญ่อยากได้ 15,000)
ดังนั้นเรื่องการขึ้นเวทีไปด่าว่าการจำนำข้าวนี่คงทำได้ผิวๆ
(เหมือนเราไปโจมตีนโยบายค่าแรง 300 ให้ผู้ใช้แรงงานฟังมันก็เสี่ยงอยู่)
เรื่องจำนำข้าวลึกๆ ผมว่าคงต้องไปว่าในสภา
ถ้ามันมีช่องตามกติกาผมก็คิดว่ายังคงต้องใช้ทางนั้น
สรุปคือผมยังเห็นว่าการลงลึกไปในพื้นที่ ดึงชาวบ้านให้หันมาต่อต้านการล้างรัฐธรรมนูญยังสำคัญมากครับ
เรื่องอาจน่าเบื่อไม่น่าสนใจแล้ว แต่มันจะกลับมาแน่ๆ
เราต้องรวบรวมเสียงต้านไว้เผื่อมีการทำประชามติ
(ถ้าทักษิณเขาโพลได้ว่าคนไม่ใส่ใจต่อต้านแล้ว ผมว่าเขาเร่งรีบทำประชามติทันที)
แต่ส่วนที่ผมเห็นด้วยกับคุณ amp มากๆคือแนวทางของ ปชป.ดูมันช่างล้าหลัง ซ้ำซาก ทื่อๆเหมือนหุ่นไขลานที่รอหมดกำลัง
คือการนำเสนอไม่เชื่อมโยงกับความสนใจในปัจจุบันเลยครับ
เรื่องต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญเราควรต้องจับประเด็นมาเล่นกับเรื่องใหม่ๆด้วย
จะใช้วิธีสมมุติแทรกเข้าไป อุปมาอุปมัยก็ต้องประดิษฐถ้อยคำขึ้นมา
(เรื่องพวกนี้แกนนำเสื้อแดงถนัดมาก)
ผมไม่อยากจะไปเสนออะไร ปชป.เท่าไหร่เพราะเขาก็คงมียุทธวิธีของเขา
แต่บางทีเห็นแล้วก็ไม่เข้าตาจริงๆครับ
ปล.เช่นถ้าจะต่อต้านการนิรโทษกรรมทักษิณ
เราก็ใช้ตัวเลข 46,000 ล้านมาตั้ง
แล้วเราอาจถามชาวบ้านว่าโกงเงินเท่าไหร่ถึงเรียกว่าโกงครับ
5 บาทโกงมั้ย 10 บาทล่ะ.. จิ๊บๆ
ถ้าซักหมื่นนึ่งล่ะ นี่ชั่วแล้ว
แสนนึงล่ะ นี่ชั่วมาก พอเป็นล้านถือว่าชั่วสุดๆ
แต่นี่ 46,000 ล้านก็เท่ากับเรานิรโทษกรรมให้คนชั่วสุดๆตั้ง 46,000 คนเลย
(ตรรกะปัญญาอ่อนแบบนี้ณัฐวุฒิใช้อยู่บ่อยไป เอาไอ้นั่นไปเชื่อมโยงกับไอ้โน่นแล้วสรุปผลมาเป็นแบบนี้ ชาวบ้านเชื่อ)
หรืออย่างเรื่องนิรโทษ 98 ศพก็บอกได้ว่าเป็นการปล่อยฆาตกร 98 คน
แต่มาหักมุมสรุปว่าคนสั่งอาจมีคนเดียวนั่งอยู่ดูไบก็เป็นได้
ผมยกตัวอย่างเร็วๆได้แค่นี้แหละครับ อยากให้ ปชป.สื่อสารกับชาวบ้านให้ง่ายๆแต่เข้าใจได้มิลืมเลือน
Edited by คลำปม, 6 October 2012 - 00:51.