Edited by yai4, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 08:50.
รบกวนท่านผู้รู้ เรื่อง 3G คือผมอยากจะรู้ว่าเค้าจะคิดค่าบริการประชาชนผู้บริโภคอย่างไรครับ
#1
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 06:51
#2
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:49
แต่ผมมีสิ่งที่อยากแชร์กับเพื่อนๆ
ขออนุญาตท่านเจ้าขอกระทู้ด้วยครับ
คือปัจจุบัน ประเทศเรามีบริการ 3g หลายรูปแบบ
สรุปหลักๆคือ คิดค่าบริการเป็นรายเดือน และจำกัดจำนวนข้อมูลที่ส่ง
หมายถึงเหมาจ่าย 799 899 ที่ข้อมูล 1gb ถ้าเกินนี้จะปรับมาเป็น edge ซึ่งตรงนี้ผมถือว่าเป็นการเอาเปรียบลูกค้าอย่างมาก
คือ
ถ้าเกิน ปรับลด
ถ้าไม่ถึง .......
เป็นแบบนี้ทุกค่าย ยกเว้น 3g tot
หมายความว่า ถ้าบ้านผมมีอุปกรณ์ทั้งหมด 4 ชิ้น ผมต้องจ่ายเงินเดือนละประมาณ 3200 บาท เพื่อให้สามารถใช้ 3g ได้ทุกแห่ง
ครับ ต้องจ่ายทุกเดือน จะใช้งานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็ต้องจ่าย
#3
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:53
ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆเรา
ไปถึงไหนกันแล้วครับป่านนี้??
มันเป็นการบ่งบอกอะไรบางอย่าง
เกี่ยวกับการบริหารงานของภาครัฐบาล
ถ้าไม่โกงกินกันจนเกินไป "ฮั้วกันแต่พองาม"
ป่านนี้ประเทศเจริญกว่านี้แน่นอนครับ
- nhum likes this
ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด
...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี
โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี
...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย
#4
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:33
#5
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:52
ผมเคยใช้อยู่พักนึง(เปิดระบบ3g) เริ่มแรกๆก็เร็วมาก พอครบลิมิตแล้วก็กลับมาเป็น 384k อืดเป็นเต่าเหมือนเดิม
ใช้ wifi ดีกว่าครับ เร็วดีกว่ากันเยอะเลย ถูกกว่าด้วย
...ตอนนี้ก็ใช้ sim3g แต่ปิดไว้เปิดแค่ระบบ 2gอย่างเดียว แต่ใช้ wifi...
พูดง่ายๆก็คือ เราซื้อความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง
Edited by คนกรุงธน, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:03.
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#8
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:07
รู้จักกับการจำกัดความเร็วในการใช้งาน 3G (Fair Usage Policy) มีไว้เพื่ออะไร และผู้ใช้ได้อะไร
เป็นประเด็นที่หลายๆคนพูดถึงกับ Fair Usage Policy (FUP) หรือการจำกัดความเร็วในการใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในการเชื่อมต่อดา ต้าเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต เมื่อครบปริมาณการใช้งานที่กำหนดไว้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับการจำกัดปริมาณการใช้งานอย่างเหมาะสม Fair Usage Policy กัน
ทำไมต้องมีการกำหนด Fair Usage Policy
เมื่อก่อนในสมัยที่เรายังใช้ GPRS/EDGE เชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต สมัยนั้นเรายังใช้งานในปริมาณข้อมูลที่น้อย เนื่องจากการใช้งานบนความเร็วที่ไม่มากนัก บรรดาเว็บไซต์ต่างๆ ยังไม่ได้เป็น Social Network แบบทุกวันนี้ ใช้งานแค่เช็คข้อความอีเมล์พร้อมภาพไม่กี่ภาพ หรือดู Wap Site ช่วงนั้นเรายังใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบรายคิดเป็นเวลา (รายชั่วโมง) โดยนับเป็นนาที เช่นเดียวกับการคิดค่าบริการอินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็ม 56K แบบหมุนโทรศัพท์ แต่เมื่อมีการให้บริการ 3G แบบทดลองใช้ และแบบหยวนๆใช้ (คือยังไม่ได้มีการประมูลใบอนุญาต โดยค่ายผู้ให้บริการนำคลื่นเดิมมาให้บริการ 3G) ค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จึงได้กำหนด Fair Usage Policy เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการใช้งานดาต้าผ่านเครือข่าย 3G ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อการใช้งานอย่างเหมาะสม โดยกำหนดสิทธิ์ในการใช้งานตามปริมาณการรับส่งข้อมูล หากใช้งานครบตามปริมาณการใช้งานที่กำหนดแล้ว ก็ยังสามารถใช้งาน 3G ได้ โดยไม่เสียค่าบริการเพิ่มเติม เพียงแต่ถูกปรับลดความเร็วลง ทำให้เราไม่ได้ใช้ความเร็วสูงสุดตามที่เครือข่ายและตัวเครื่องรองรับ
เหตุผลที่ค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องกำหนดเงื่อนไข Fair Usage Policy ขึ้น เนื่องจากมีลูกค้านำระบบ 3G แบบไม่จำกัด (Unlimited) ไปเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยนำไปใช้งานที่ไม่เหมาะสมและผิดวัตถุประสงค์ เช่นการดาวน์โหลด Bittorrent ซึ่งมีการรับส่งข้อมูลในปริมาณมาก (เหมาะกับการใช้งานบนบรอดแบนด์หรือ ADSL มากกว่า) เมื่อมีการนำไปใช้งานในลักษณะนี้ ซึ่งกระทบต่อการใช้งานโดยรวม ส่งผลให้ผู้ใช้งานคนอื่นๆ ใช้งานได้ช้าเพราะถูกแย่งแบนด์วิธ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดเงื่อนไขข้อจำกัดเพื่อให้เครือข่ายโดยรวม สามารถให้บริการลูกค้าทุกคนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ใครบ้างที่ต้องเผชิญกับการถูกจำกัดการใช้งานตามเงื่อนไข Fair Usage Policy
ไม่ใช่ว่าผู้ใช้บริการทุกคนจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการใช้งานจากผู้ให้บริการ ด้วยเงื่อนไข Fair Usage Policy อย่างไม่มีทางเลือก เพราะการจำหน่ายแพ็คเกจ 3G ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ซึ่งถือว่า ผู้ใช้ยอมรับการสมัครใช้งานแพ็คเกจ โดยมีการศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบแล้ว
ตัวอย่าง โปรโมชั่น 3G ของ 12Call ที่มีการกำหนดปริมาณการใช้งาน หากใช้งานครบกำหนดต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติม โดยไม่ถูกปรับลดความเร็วลง
แบบแรกคือ แพ็คเกจที่ให้บริการโดยนำเสนอปริมาณการใช้งานเบื้องต้น ยกตัวอย่างแพ็คเกจของ 12Call แบบเติมเงิน สามารถใช้งาน 3G ได้ 200MB ต่อเดือน หากใช้งานครบ 200MB ส่วนที่ใช้เกินจะไม่ถูกจำกัดความเร็ว (ไม่ถูกจำกัด Fair Usage Policy) แต่จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติมในอัตราที่กำหนด แบบนี้ผู้ใช้จะต้องศึกษาและเข้าใจการบริหารการใช้ 3G อย่างรอบคอบ และรู้วิธีปิด 3G ป้องกันเน็ตรั่ว เพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายบานปลาย เรามักจะเห็นในแพ็คเกจแบบเติมเงินมากกว่าแบบรายเดือน
แพ็คเกจ 3G มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบบปริมาณการใช้งาน และไม่จำกัดปริมาณการใช้งาน
แบบที่ 2 ตัวอย่างแพ็คเกจ TruemoveH แบบรายเดือน หากเป็นแพ็คเกจต่ำๆ อย่าง Net 150, 350, 650 จะใช้งานได้ตามปริมาณการใช้งานที่กำหนด เมื่อใช้งานครบตามปริมาณการใช้งานที่กำหนดแล้ว จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติมในส่วนที่เกินเม็กกะไบต์ละ 2 บาท โดยไม่ถูกจำกัด Fair Usage Policy แต่หากเป็นแพ็คเกจสูงๆ อย่าง Net 799, Net 899, Net 1699 หากใช้ครบตามปริมาณการใช้งานที่กำหนดก็สามารถใช้งานต่อไปได้โดยไม่เสียค่า บริการเพิ่มเติม แต่จะถูกปรับลดความเร็วในการใช้งานลงเหลือ 128Kbps แบบนี้เรียกว่า ถูกจำกัดความเร็วในการใช้งานตามเงื่อนไข Fair Usage Policy
ตัวอย่างแพ็คเกจ i-mobile 3GX คิดค่าบริการเป็น MB
แบบที่ 3 ก็คือ การจำหน่ายแพ็คเกจเป็นเม็กกะไบต์ ตามปริมาณการใช้งาน อย่างเช่น i-mobile 3GX แบบรายเดือน ที่คิดค่าบริการเป็นเม็กกะไบต์ ใช้งานเท่าไหรก็เหมาจ่ายเท่านั้น ไม่มีการกำหนด Fair Usage Policy ใช้ครบตามปริมาณที่กำหนดก็ซื้อเพิ่ม แบบนี้ก็แฟร์ดีไม่ถูกจำกัดลดความเร็วลง
พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนไป การกำหนด Fair Usage Policy ก็ต้องเป็นธรรม
เนื่องด้วยพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์พกพา (แท็ปเล็ต) และอุปกรณ์เชื่อมต่อ 3G อย่างแอร์การ์ด และ Mi-Fi (Personal Mobile HotSpot) ทำให้แต่ละผู้ให้บริการต้องกำหนด Fair Usage Policy ไว้ เพื่อป้องกันการนำไปใช้ผิดประเภท โดยแบ่งเป็น
สมาร์ทโฟน (iPhone, BlackBerry, Android) / แท็ปเล็ต (iPad, Android Tablet) และ USB AirCard (รวมไปถึง Mi-Fi) โดยการพิจารณาแพ็คเกจเพื่อใช้ในการใช้งาน 3G นั้น ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และพฤติกรรมในการใช้งานของเรา เช่น สมาร์ทโฟน สามารถเลือกใช้แพ็คเกจเพื่อใช้งานในปริมาณการรับส่งข้อมูล 1 – 2 GB ต่อเดือน (ถ้าไม่นำไปเชื่อมต่อเป็น Personal HotSpot ปล่อยสัญญาณให้กับคอมพิวเตอร์หรือแท็ปเล็ต) แต่หากต้องการใช้สมาร์ทโฟนแชร์สัญญาณ Wi-Fi หรือใช้แอร์การ์ด, Mi-Fi เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือแท็ปเล็ต ควรจะเลือกโปรโมชั่นที่ใช้งานได้ปริมาณ 3 – 5GB ต่อเดือน เพราะใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อรับส่งข้อมูลในปริมาณที่มาก และในบางแพ็คเกจที่แถมพ่วงการใช้งาน Wi-Fi ฟรีเข้าไปด้วย ก็ลองสลับมาใช้ Wi-Fi แทน รับรองว่า ไม่เกินกำหนดตามเงื่อนไข Fair Usage Policy แน่นอน (ถ้าเลือกแพ็คเกจให้เหมาะสม) ลองดูตารางจาก i-mobile 3GX
ตัวอย่างปริมาณการใช้งาน 3G ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของเรา
จากตารางข้างต้น พอจะทราบได้คร่าวๆจากพฤติกรรมการใช้งานของเรา บางคนชอบฟังเพลง บางคนชอบดู Youtube บางคนชอบอ่านข้อความ บางคนติด Social Network เราก็เลือกแพ็คเกจให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของเรา หากเลือกอย่างเหมาะสมกับการใช้งานจริงๆ รับรองไม่ติด Fair Usage Policy ให้ช้าไม่ทันใจแน่ เพราะเราเลือกบริหารการใช้งาน 3G อย่างคุ้มค่า ใครชอบ Youtube ชอบดาวน์โหลด ก็ใช้ Wi-Fi บ้าน ออฟฟิศ ช่วยประหยัด 3G ได้มาก
เลือกแพ็คเกจไหนดี Data Calculator ช่วยได้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า พฤติกรรมการใช้งานของเรา ควรจะเลือกแพ็คเกจไหนถึงจะเหมาะสม และไม่ใช้เกินปริมาณการใช้งานจนถูกจำกัด Fair Usage Policy ผู้ให้บริการแต่ละค่ายนำเสนอเครื่องมือตรวจสอบคือ Data Calculator จาก AIS dtac TruemoveH ซึ่ง ทุกค่ายจะแบ่งการใช้งานตามอุปกรณ์ออกเป็น SmartPhone อย่าง iPhone, BlackBerry, Android, WindowsPhone / iPad, Tablet / Laptop ใช้กับแอร์การ์ด หรือ Mi-Fi ถ้าดูจากภาพประกอบด้านบน คงจะเห็นได้ชัดว่า โน้ตบุ๊กหรือแล็ปท็อป ใช้ปริมาณการรับส่งข้อมูลมากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าทุกอุปกรณ์จะใช้ความเร็ว 3G ได้เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการรองรับของอุปกรณ์ อย่างเช่น The New iPad รองรับการดาวน์โหลดสูงสุด 42Mbps
สลับใช้ Wi-Fi บ้าง ทางเลือกในการใช้งาน 3G อย่างประหยัด (ปริมาณการใช้งาน)
ตอนนี้ พฤติกรรมในการใช้งานอุปกรณ์พกพา สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต แอร์การ์ด ของคนไทยเปลี่ยนไป หากอยู่บ้าน หรือออฟฟิศ ก็ใช้ Wi-Fi เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน หากออกมานอกสถานที่ก็ใช้ 3G หรือเดินเข้าห้างก็มีบริการ Wi-Fi ให้ใช้ หรือมีบริการ Wi-Fi ฟรีทั่วกรุง ดังนั้น ผู้ใช้สามารถบริหารการใช้งาน 3G ไม่ให้เกินลิมิตจากปริมาณการใช้งานที่กำหนดไว้ได้ หรือหากใช้งานเกินปริมาณที่กำหนดไว้ ก็พยายามปรับไปใช้ Wi-Fi แทน ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่จะต้องรู้วิธีปิด 3G เพื่อป้องกันเน็ตรั่วด้วย เพราะส่วนใหญ่ที่เกินกำหนด Fair Usage Policy คือนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น ให้แพ็คเกจต่ำสุด แต่นำไปกระจายสัญญาณ Wi-Fi HotSpot ให้คอมพิวเตอร์และแท็ปเล็ต เป็นต้น
ความเป็นธรรมของการกำหนดเงื่อนไขจำกัดปริมาณการใช้งาน Fair Usage Policy
ผู้ใช้หลายคนออกมาร้องเรียนว่า ผู้ให้บริการไม่เป็นธรรมในการจำกัดสิทธิ์ในการใช้งานโดยอ้างเงื่อนไข Fair Usage Policy ส่วนฝั่งผู้ให้บริการก็มีข้อกำหนดเพื่อไม่ให้เครือข่ายโดยรวมถูกดึงแบนด์วิธ จากการนำไปใช้งานที่ไม่เหมาะสม ทางผู้ใช้ก็ออกมาแสดงความเห็นว่า การกำหนดเงื่อนไขของ Fair Usage Policy ในบางแพ็คเกจ กดความเร็วต่ำจนเกินไป บางแพ็คเก็จลดความเร็วลงเหลือ 64Kbps ซึ่งความเร็ว EDGE ยังเร็วกว่า หรือบางแพ็คเกจลดความเร็วเหลือ 128Kbps ก็ยังพอรับไหว บางแพ็คเก็จก็ลดเหลือ 256Kbps แต่ก็ยังถือว่าช้าเกินไปอยู่ดี แต่สำหรับผู้ใช้บางรายที่สมัครแพ็คเกจแท็ปเล็ต มักจะถูกจำกัดความเร็วเหลือ 384Kbps ซึ่งเป็นความเร็วในระดับ 3G ที่พอจะยอมรับได้ ถามว่าความเหมาะสมอยู่ที่ตรงไหน เพราะผู้ใช้ก็มองว่า ผู้ให้บริการเอาเปรียบโดยเหมือนบังคับให้ใช้แพ็คเกจสูงกลายๆ ต้องจ่ายเดือนละเกือบพันเพื่อให้สามารถใช้งานได้ปริมาณมากๆ หลังจากนั้นถูกลดความเร็วลง ถามว่า จะบริหารอย่างไรให้ไม่เกินจากปริมาณการใช้งานที่กำหนด อาจต้องสลับไปใช้ Wi-Fi บ้าง หรือขณะดู Youtube หรือดาวน์โหลดไฟล์ก็ใช้ Wi-Fi แทนก็เป็นทางเลือกที่ช่วยได้
ถ้าไม่อยากถูกจำกัดด้วย Fair Usage Policy ล่ะ?
ค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ๆ AIS, Dtac, TruemoveH นั้นนำเสนอทั้ังแพ็คเกจที่ไม่ถูกจำกัดความเร็วในการใช้งาน หากใช้งานเกินจากที่กำหนดก็มีค่าบริการเพิ่มเติม กับแพ็คเกจ Unlimited ที่ใช้งานได้ไม่จำกัด แต่หากใช้ครบตามปริมาณที่กำหนดก็ปรับลดความเร็วลง โดยไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม และทางเลือกสำหรับแพ็คเกจของ MVNO จาก TOT อย่าง i-mobile 3GX, iFox ซึ่งจำหน่ายแพ็คเกจเป็นเม็กกะไบต์ (1024 MegaBye = 1GigayByte) โดยไม่มีการจำกัดปริมาณการใช้งาน Fair Usage Policy แต่จะขายเป็นเม็กกะไบต์ เช่น เหมาจ่าย 399 บาท ใช้งานได้ 2500MB หรือประมาณ 2.5GB หากใช้ครบก็ตัดการเชื่อมต่อ จ่ายเงินซื้อเม็กใหม่ ถ้าเป็นแบบนี้เราจะต้องหมั่นตรวจสอบปริมาณการใช้บริการเป็นประจำ
สรุป
การจำกัด Fair Usage Policy นั้น เป็นข้อจำกัดที่เป็นเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละรายที่กำหนดการใช้งานตาม ความเหมาะสม เพื่อการใช้งานโดยรวม แต่ผู้ใช้เองก็ควรจะเลือกแพ็คเกจให้เหมาะสมและนำอุปกรณ์มาใช้งาน 3G ให้เหมาะสมกับแพ็คเกจด้วยเช่นกัน เพราะผู้ให้บริการมีการนำเสนอแพ็คเกจที่หลากหลาย และไม่ได้เป็นการบังคับโดยไม่มีทางเลือก เพราะผู้ใช้บริการยินดีที่จะสมัครแพ็คเกจที่ตนพอใจได้ตามความต้องการ และยอมรับถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้งานแต่ละแพ็คเกจแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ความเห็นจากผู้ใช้ก็อยากจะให้มีการกำหนดเงื่อนไข Fair Usage Policy เป็นรายวัน แต่อย่าลืมว่า ในขณะนี้ 3G ที่เราใช้ ยังเป็น 3G ที่ผู้ให้บริการนำคลื่นความถี่เดิมมาให้บริการ คงต้องรอดูกันว่า การกำหนดเงื่อนไขในการจำหน่ายแพ็คเกจหลังการประมูลคลื่นความถี่ 2100MHz จะเป็นอย่างไร
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#9
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:15
เนตรั่ว คือการที่เราใช้เกินแพคเกจที่เราสมัครไว้ หรือเปิดระบบทิ้งไว้
โทรมือถือ ถ้าใช้เล่นเนทแล้ว เวลาเลิกใช้แล้วต้องปิดระบบ 3g หรือ gprs ด้วยนะครับ ไม่งั้นเงินไหลออกไปครับ
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#10
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:31
3.5G Technology
GO!broadband utilizes the latest 3.5G mobile technology, also known as HSDPA (High-speed Downlink Packet Access)
which allows you to access the Internet wirelessly, with download speeds of up to 7.2Mbps!
1. 7.2Mbps. GO! Broadband USB Modems ราคา 300 USB = 300X24.82= 7446 บาท.
2. ค่าบริการรายเดือนแบบเหมาจ่าย 78 USB = 78X24.82= 1935 บาท (อัตตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 11/10/2012)
3. ค่าลงทะเบียน ครั้งแรก
Prima Plans Essential Extra Extra Text Executive Executive Text Elite Administration Fee $10 $10 $10 $10 $10 $10 License Fee** $25 $25 $25 $25 $25 $25 Deposit for Locals (Yellow/Red IC) $50 $50 $50 $50 $50 $50 Deposit for Foreigners (Green IC) $100 $100 $100 $100 $100 $200
#11
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:36
สังเกตุรึเปล่าว่า imobile ขายเป็นแพคเกจโดยไม่มีการปรับความเร็ว และไม่มีโปร unlimited
สิ่งที่ผมพยายามหาคำตอบ
จริงๆแล้วเราใช้ 3g ต่อเดือน มีมูลค่าเท่าไรกันแน่
พฤติกรรมการใช้ data ของเราในแต่ละวันเป็นอย่างไร
โดยส่วนตัว ส่วนใหญ่ผมทำงานอยู่ที่บ้าน ออกไปหาลูกค้าบ้างนานๆครั้ง ไปทำงานต่างจังหวัด 2-3 เดือนต่อครั้ง
งานผมจึงต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ตในการติดต่องานเป็นหลัก นั่นก็คือผมต้องใช้งาน data ทุกวัน
ในทุกที่ที่ไป ล้วนมี wifi รวมกระทั่งบ้านและ สำนักงานของผมเอง (ก็บ้านนะแหละ)
ผมจึงมีความจำเป็นต้องใช้ 3g น้อยมาก ยกเว้นไปในที่ที่ไม่มีwifiให้ใช้
ผมเคยใช้ package 3g ที่รวมwifi ด้วย แต่ไม่work ครับ connect ไม่ติด หรือ speed ต่ำมาก
ผมเลยลองหาข้อมูลในเน็ตดูว่า operator เจ้าไหนที่น่าสนใจ รวมทั้งปรึกษากับ IT supported ของผมเอง
พบว่า 3g แท้ๆมีเพียงเจ้าเดียว (ในตอนนั้น เมื่อ 2 ปีที่แล้ว) คือ tot
ผมได้ลองติดต่อเพื่อใช้บริการกับผู้ขายบริการของ tot 2 เจ้า คือเจ้าข้างบน กับอีกเจ้านึงแถวรัชดา
สรุปเลยละกันว่า ปัจจุบันผมใช้ 3g ของเจ้าแถวถนนรัชดา เป็นแบบเติมเงินครั้งละ 200 บาท ไม่จำกัดเวลาใช้ จ่ายตาม data ที่ใช้ ตามที่คุณคนกรุงธนกล่าวมาข้างต้น
โดยผมใส่ใน mifi เพื่อใช้เป็น mobile router สำหรับshare กับเครื่องในสังกัด (ภรรยา กับ ลูกๆอิอิ) เวลาออกไปนอกบ้าน เที่ยวต่างจังหวัด หรือไปทำงานนอกสถานที่
สิ่งที่พบและอยากแชร์กับเพื่อนคือ มูลค่าที่ผมใช้งานต่อเดือนในส่วนของ3g นั้นน้อยมาก
คือผมเติม 200 ใช้ได้ประมาณ 2-3 เดือนกว่าจะหมด (ยกเว้นตอนน้ำท่วมปีที่แล้ว ตอนนั้นเปลืองมากเพราะที่มั่นผมล่มทุกที่)
นั่นหมายความว่า ถ้าเราเหมาจ่ายรายเดือน ผมก็จะจ่ายเงินไปฟรีๆกับสิ่งที่ผมไม่ได้ใช้ ประมาณ 3000 บาทต่อเดือน (อันนี้คุณภรรยาเป็นคนบอก)
หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนที่กำลังตัดสินใจใช้3gครับ
ถ้าอยากจะคุยกันเรื่องดูบอลพรีเมียร์แบบไม่ต้องจ่ายรายเดือนก็ได้นะครับ
#12
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:43
ระวังเรื่อง เนตรั่วนะครับ...มันกินเงินเรากระอักเลยครับ...
เนตรั่ว คือการที่เราใช้เกินแพคเกจที่เราสมัครไว้ หรือเปิดระบบทิ้งไว้
โทรมือถือ ถ้าใช้เล่นเนทแล้ว เวลาเลิกใช้แล้วต้องปิดระบบ 3g หรือ gprs ด้วยนะครับ ไม่งั้นเงินไหลออกไปครับ
เน็ตรั่ว มันไม่จำเป็นต้องใช้เกินเพ็คเกจหรอกครับ
ปกติระบบมันจะเปิดให้ใช้3gได้โดยไม่ได้ร้องขอ
เพียงเรามีอุปกรณ์ที่ใช้งานได้เช่น iphone แล้วไม่ได้ปิดการเชื่อม cellular data ไว้เท่านั้นก็บรรลัยแล้วครับท่าน
ผมเคยโดนตอน เปลี่ยนเป็น ios5 แล้วไม่ได้ปิดการเชื่อมต่อ โดนไปเดือนนั้น 18000 แต่ทางศูนย์ตัดเข้าระบบเหมาจ่ายให้ เหลือแค่ 799
จำเป็นต้องจ่ายโดยที่ไม่ได้ต้องการใช้
ยุติธรรมดีมั๊ยครับ
#13
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:26
ถือว่าถูกไหมครับถ้าเทียบกับรายได้ ประชากร ของดูไป ครับตอนนี้ใช้ 3G ของประเทศบรูไนอยู่ครับ ขอจัดราคาแบบเหมาจ่ายรายเดือนมาให้ดูครับ..ที่นี่มีแค่2บริษัท DST กัน B-Mobile ครับ
3.5G Technology
GO!broadband utilizes the latest 3.5G mobile technology, also known as HSDPA (High-speed Downlink Packet Access)
which allows you to access the Internet wirelessly, with download speeds of up to 7.2Mbps!
1. 7.2Mbps. GO! Broadband USB Modems ราคา 300 USB = 300X24.82= 7446 บาท.
2. ค่าบริการรายเดือนแบบเหมาจ่าย 78 USB = 78X24.82= 1935 บาท (อัตตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 11/10/2012)
3. ค่าลงทะเบียน ครั้งแรก
Prima Plans Essential Extra Extra Text Executive Executive Text Elite Administration Fee $10 $10 $10 $10 $10 $10 License Fee** $25 $25 $25 $25 $25 $25 Deposit for Locals (Yellow/Red IC) $50 $50 $50 $50 $50 $50 Deposit for Foreigners (Green IC) $100 $100 $100 $100 $100 $200
#14
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:49
.
ปล.รู้สึกว่าจะตอบไม่ตรงคำถามของท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ
Edited by เมรีสีน้ำเงิน, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:54.
- คนกรุงธน likes this
#15
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:24
ถ้าต้องเดินทางตลอดเวลา ขึ้นเหนือล่องใต้ รถทัวร์ รถไฟ...ก็ต้องใช้ EDGE
ถ้าอยู่ใน กทม.เช้าไปเย็นกลับบ้าน ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องใช้ 3G เนทที่บ้านก็พอแล้ว
แต่ถ้าทำธุรกิจสำคัญ แล้วต้องรถติดอยู่บนถนนนานๆ ก็จำเป็นต้องใช้ 3G
ก็ต้องเลือกกันครับ...ส่วนเรื่องราคาค่าใช้งาน ดูตามแต่ละค่ายแล้วผมก็ว่ารับได้นะ
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#16
ตอบ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:27
ตรงนี้บางคนใช้เน็ตแบบมือถือน่าจะได้ประโยชน์มาก
คุณอาจจะคลั่งเหมือนหมาบ้า กับบางสิงที่เกิดขึ้นในชีวิต
คุณอาจจะสบถ สาปแช่งโชคชะตา
แต่เมื่อวาระสุดท้ายมาถึง คุณก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไป
Curious Case Of Benjamin Button
#17
ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:50
#18
ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 01:50
ทำ Video call ยังไม่ได้เลย 3G เมืองไทย
ทำได้ครับ นานแล้วด้วย
ขึ้นอยู่กับความแรงของสัญยาณ
ถ้าใช้ประกอบกับmifi สามารถใช้งาน face time ได้เลย
ตอนไปสงขลา ไปงานแข่งรถ ยังใช้ถ่ายทอดสดมาให้ลูกดูที่บ้านได้
#19
ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 08:40
ถือว่าถูกไหมครับถ้าเทียบกับรายได้ ประชากร ของดูไป ครับ
ตอนนี้ใช้ 3G ของประเทศบรูไนอยู่ครับ ขอจัดราคาแบบเหมาจ่ายรายเดือนมาให้ดูครับ..ที่นี่มีแค่2บริษัท DST กัน B-Mobile ครับ
3.5G Technology
GO!broadband utilizes the latest 3.5G mobile technology, also known as HSDPA (High-speed Downlink Packet Access)
which allows you to access the Internet wirelessly, with download speeds of up to 7.2Mbps!
1. 7.2Mbps. GO! Broadband USB Modems ราคา 300 USB = 300X24.82= 7446 บาท.
2. ค่าบริการรายเดือนแบบเหมาจ่าย 78 USB = 78X24.82= 1935 บาท (อัตตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 11/10/2012)
3. ค่าลงทะเบียน ครั้งแรก
Prima Plans Essential Extra Extra Text Executive Executive Text Elite Administration Fee $10 $10 $10 $10 $10 $10 License Fee** $25 $25 $25 $25 $25 $25 Deposit for Locals (Yellow/Red IC) $50 $50 $50 $50 $50 $50 Deposit for Foreigners (Green IC) $100 $100 $100 $100 $100 $200
ถือว่าถูกไหมครับถ้าเทียบกับรายได้ ประชากร ของดูไป ครับ
ตอนนี้ใช้ 3G ของประเทศบรูไนอยู่ครับ ขอจัดราคาแบบเหมาจ่ายรายเดือนมาให้ดูครับ..ที่นี่มีแค่2บริษัท DST กัน B-Mobile ครับ
3.5G Technology
GO!broadband utilizes the latest 3.5G mobile technology, also known as HSDPA (High-speed Downlink Packet Access)
which allows you to access the Internet wirelessly, with download speeds of up to 7.2Mbps!
1. 7.2Mbps. GO! Broadband USB Modems ราคา 300 USB = 300X24.82= 7446 บาท.
2. ค่าบริการรายเดือนแบบเหมาจ่าย 78 USB = 78X24.82= 1935 บาท (อัตตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 11/10/2012)
3. ค่าลงทะเบียน ครั้งแรก
Prima Plans Essential Extra Extra Text Executive Executive Text Elite Administration Fee $10 $10 $10 $10 $10 $10 License Fee** $25 $25 $25 $25 $25 $25 Deposit for Locals (Yellow/Red IC) $50 $50 $50 $50 $50 $50 Deposit for Foreigners (Green IC) $100 $100 $100 $100 $100 $200
ที่ บรูไน ประชาชนมีทางเลือกไม่มากนัก..ถือว่าราคายังสูงอยู่ครับหากเทียบกับประสิทธิภาพในบางพื้นที่ ส่วนตัวใช้ 3G ก็เพื่อเชื่อมต่อไปยังระบบอื่น
ที่เป็นตัวช่วยในการติดต่อเช่นการใช้โทรศัพย์ออนลายที่มีบริการหลายค่ายที่ใช้โทรต่างประเทศ ราคาแค่นาทีละ1บาท หรือการใช้คุยผ่านกล้อง
ตามโปรแกรมต่างๆที่มีให้ใช้บริการฟรี ด้วยความไวของระบบ3G ก็ถือว่าคุ้มครับ.
#20
ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 08:59
แต่ก็ยังอยากรู้ราคาของเพื่อนบ้านเราเช่น เวียดนาม ลาว สิงคโปร มาเลย์ อาจร่วมถึง ญี่ปุ่น จีน ด้วยก็ได้ครับ
ที่เห็นบอกกันว่าเค้าใช้ 3G กันตั้งนานแล้ว เค้ามีวิธีคิดอัตราแบบไหน เหมือนของบ้านเราหรือเปล่า
รายได้ที่รัฐบาลประเทศอื่นที่ได้รับจากการให้สัมปทาน 3G เค้าคิดกันไง ประมูลเหมือนบ้านเราหรือเปล่า
แล้วรายได้ของรัฐบาลจะได้แค่ตอนประมูลจบแค่นี้หรือเปล่าครับ ตรงนี้ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรครับ อาจจะต้องรบกวนผู้รู้อีกสักที
ขอขอบคุณล่วงหน้า
#21
ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:04
เคยพบท่่านผู้รู้ที่อยู่สหภาพ TOT ท่านเล่าให้ฟังว่า 3G เป็นเพียงแค่เทคโนโลยีอย่างหนึ่่งของโทรศัพท์ที่สามารถอ่าน ดูหนัง มีภาพ เสียง ได้เท่านั้น (ประมาณนี้นะคะ โลว์เทคเหมือนกันฟังแล้วอาจจะมาสื่อได้ไม่ชัดเจน) และทุกวันนี้เราก็ใช้เทคโนโลยี 3G กันอยู่แล้ว (เพราะเราสามารถทำทุกอย่างได้อย่างที่กล่าวไว้) แต่เรากำลังถูกบริษัทหรือกลุ่มที่มีผลประโยชน์หลอกลวงว่า 3G คือระบบของโทรศัพท์อีกระบบหนึ่งที่พัฒนาก้าวหน้าไปอีกขั้น ดังนั้น การประมูลหรือการทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่อง 3G เป็นผลประโยชน์ที่เอื้อให้กับกลุ่มทุนล้วนๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง...จึงได้เกิดเหตุให้มีคนคัดค้านเรื่องนี้ขึ้นมาค่ะ (ปล.ไว้วันหลังจะถามให้ชัดแล้วจะมาอธิบายอีกครั้งค่ะ แต่ก็ประมาณนี้แม้ไม่เป๊ะนักนะคะ)
.
ปล.รู้สึกว่าจะตอบไม่ตรงคำถามของท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ
เสริมครับ
เริ่มจาก G ย่อมากจาก Generation (ยุคสมัย) ครับ
ยุค 1G
เป็นยุคที่ใช้ระบบอะนาล็อกครับ คือการใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียงเป็นหลัก
เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ ใช้เฉพาะโทรออก-รับสาย เท่านั้น
วิธีการคือส่งสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆ
ทำให้มีปัญหาในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ เรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่
สมัยนั้นโทรศัพท์เซลลูลาร์จะมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก เรียกว่าต้องแบกกันทีเดียว
ยุค 2G (บ้านเราใช้ระบบนี้อยู่)
เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบอะนาล็อกมาเป็นการเข้ารหัสแบบ Digital
และส่งทางคลื่น Microwave ทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้านการรับส่งข้อมูลได้
นอกเหนือจากการใช้งานทางด้านเสียงเพียงอย่างเดียว ยุคนี้สามารถติดต่อเชื่อมโยงผ่านทางการเชื่อม
กับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization)
ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming
ยุคนี้ได้พัฒนาต่อเป็น 2.5G เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง
เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งและรับข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps ทีเดียว เล่นเน็ทได้นั่นแหล่ะ
ต่อมาได้พัฒนาเป็น 2.75G เป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)
EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 Kbps ทีเดียว
เริ่มฟังเพลงทางเน็ทได้แล้ว ฟลุ๊คๆอาจจะดู youtube แบบไม่กระตุกได้ด้วย
ยุคนี้มีคู่แข่งคือ เทคโนโลยีการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line)
เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้บริการ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบอย่างชัดเจนถึงความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูล
ผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G แต่บ้านเราคงยังไม่สังเกตมั้ง
ยุค 3G บ้านเรากำลังคลานมาทางนี้
เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 เป็นการผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี เข้าด้วยกัน
ช่องสัญญาณความถี่ และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล
รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น ด้วยระดับความเร็วสูงถึง 1.8 Mbps (ช้ากว่าเน็ท Hi speed ตามบ้านอีก)
ทำให้สามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ประชุมทางไกลผ่านหน้าจอ
ด้วยอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แสดงกราฟฟิก และการแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ อย่างรวดเร็ว
การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ โต้ตอบกันได้
คุณสมบัติหลักของ 3G คือมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on)
นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ
อ๊ะ! แต่เดี๋ยวก่อน ทำไมคุณพระถึงไม่อยากได้ 3G ล่ะ
มาทำความรู้จักเทคโนโลยี Wimax กันครับ
การแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ
และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย
เทคโนโลยี Wimax เป็นระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 48 กิโลเมตร
ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMax สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า
ยิ่งกว่านั้นยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว
แล้วเราจะเอาไปทำไมไอ้ 3G น่ะ บ้านอื่นเมืองอื่นเค้าใช้กันมาเป็นชาติแล้ว แถมความเร็วก็งั้นๆแหล่ะ งั้นมาดู 4G กัน
ยุค 4G (การรวม WiMax เข้ากับ 3G)
เทคโนโลยี 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล
โดยระบบนี้จะคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional)
คือระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง และระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการ
เทคโนโลยี 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 Mbps
จะดูหนังความคมชัดระดับ DVD หรือชมการถ่ายทอดสดกีฬา (บอลแน่นอน) ผ่านทางเครือข่ายได้สบายๆ
นอกจากนั้น 4G ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดเล็กก็ได้
คือผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่าย กลุ่มก๊วน แชร์หนัง เพลง เกม หรือพูดกันหลายๆคนแบบเห็นหน้าได้ด้วยตัวเอง
เทคโนโลยี 4G เป็นฝันร้ายของเทคโนโลยี Wi-Fi แน่นอน เพราะฉนั้นไม่มีทางที่จะเกิดในไทยได้แน่ๆ ฟันธง!
เพราะบ้านเรามีขาใหญ่ Wi-Fi อยู่ ไม่ต้องบอกนะว่าเป็นค่ายไหน
ที่มา : http://www.husokku-a...hp?topic=3159.0
ส่วนนี้คือ ทำไมเราต้องประมูล 3G (ย่าน 2100Hz) : http://www.blognone.com/node/36609
" ประกาศบอยคอต ช่อง 3 ไม่ว่าจะข่าว ละคร หรือการ์ตูนลูก กรูไม่ดู !!! "
#22
ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:17
เรื่อง wimax ผมได้ยินครั้งแรกตอนไหนรู้ไหมครับ เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ครับ ตอนนั้นได้ข่าวมาว่า อเมริกา ใช้แล้วด้วย รู้สึกจะได้ยินจากรายการ it ทางวิทยุอ่ะครับ แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร แต่รู้ว่ามัน เร็วกว่า 3G มากมายหลายเท่ามากครับ
เคยพบท่่านผู้รู้ที่อยู่สหภาพ TOT ท่านเล่าให้ฟังว่า 3G เป็นเพียงแค่เทคโนโลยีอย่างหนึ่่งของโทรศัพท์ที่สามารถอ่าน ดูหนัง มีภาพ เสียง ได้เท่านั้น (ประมาณนี้นะคะ โลว์เทคเหมือนกันฟังแล้วอาจจะมาสื่อได้ไม่ชัดเจน) และทุกวันนี้เราก็ใช้เทคโนโลยี 3G กันอยู่แล้ว (เพราะเราสามารถทำทุกอย่างได้อย่างที่กล่าวไว้) แต่เรากำลังถูกบริษัทหรือกลุ่มที่มีผลประโยชน์หลอกลวงว่า 3G คือระบบของโทรศัพท์อีกระบบหนึ่งที่พัฒนาก้าวหน้าไปอีกขั้น ดังนั้น การประมูลหรือการทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่อง 3G เป็นผลประโยชน์ที่เอื้อให้กับกลุ่มทุนล้วนๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง...จึงได้เกิดเหตุให้มีคนคัดค้านเรื่องนี้ขึ้นมาค่ะ (ปล.ไว้วันหลังจะถามให้ชัดแล้วจะมาอธิบายอีกครั้งค่ะ แต่ก็ประมาณนี้แม้ไม่เป๊ะนักนะคะ)
.
ปล.รู้สึกว่าจะตอบไม่ตรงคำถามของท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ
เสริมครับ
เริ่มจาก G ย่อมากจาก Generation (ยุคสมัย) ครับ
ยุค 1G
เป็นยุคที่ใช้ระบบอะนาล็อกครับ คือการใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียงเป็นหลัก
เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ ใช้เฉพาะโทรออก-รับสาย เท่านั้น
วิธีการคือส่งสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆ
ทำให้มีปัญหาในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ เรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่
สมัยนั้นโทรศัพท์เซลลูลาร์จะมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก เรียกว่าต้องแบกกันทีเดียว
ยุค 2G (บ้านเราใช้ระบบนี้อยู่)
เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบอะนาล็อกมาเป็นการเข้ารหัสแบบ Digital
และส่งทางคลื่น Microwave ทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้านการรับส่งข้อมูลได้
นอกเหนือจากการใช้งานทางด้านเสียงเพียงอย่างเดียว ยุคนี้สามารถติดต่อเชื่อมโยงผ่านทางการเชื่อม
กับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization)
ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming
ยุคนี้ได้พัฒนาต่อเป็น 2.5G เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง
เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งและรับข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps ทีเดียว เล่นเน็ทได้นั่นแหล่ะ
ต่อมาได้พัฒนาเป็น 2.75G เป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)
EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 Kbps ทีเดียว
เริ่มฟังเพลงทางเน็ทได้แล้ว ฟลุ๊คๆอาจจะดู youtube แบบไม่กระตุกได้ด้วย
ยุคนี้มีคู่แข่งคือ เทคโนโลยีการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line)
เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้บริการ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบอย่างชัดเจนถึงความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูล
ผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G แต่บ้านเราคงยังไม่สังเกตมั้ง
ยุค 3G บ้านเรากำลังคลานมาทางนี้
เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 เป็นการผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี เข้าด้วยกัน
ช่องสัญญาณความถี่ และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล
รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น ด้วยระดับความเร็วสูงถึง 1.8 Mbps (ช้ากว่าเน็ท Hi speed ตามบ้านอีก)
ทำให้สามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ประชุมทางไกลผ่านหน้าจอ
ด้วยอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แสดงกราฟฟิก และการแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ อย่างรวดเร็ว
การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ โต้ตอบกันได้
คุณสมบัติหลักของ 3G คือมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on)
นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ
อ๊ะ! แต่เดี๋ยวก่อน ทำไมคุณพระถึงไม่อยากได้ 3G ล่ะ
มาทำความรู้จักเทคโนโลยี Wimax กันครับ
การแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ
และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย
เทคโนโลยี Wimax เป็นระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 48 กิโลเมตร
ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMax สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า
ยิ่งกว่านั้นยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว
แล้วเราจะเอาไปทำไมไอ้ 3G น่ะ บ้านอื่นเมืองอื่นเค้าใช้กันมาเป็นชาติแล้ว แถมความเร็วก็งั้นๆแหล่ะ งั้นมาดู 4G กัน
ยุค 4G (การรวม WiMax เข้ากับ 3G)
เทคโนโลยี 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล
โดยระบบนี้จะคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional)
คือระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง และระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการ
เทคโนโลยี 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 Mbps
จะดูหนังความคมชัดระดับ DVD หรือชมการถ่ายทอดสดกีฬา (บอลแน่นอน) ผ่านทางเครือข่ายได้สบายๆ
นอกจากนั้น 4G ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดเล็กก็ได้
คือผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่าย กลุ่มก๊วน แชร์หนัง เพลง เกม หรือพูดกันหลายๆคนแบบเห็นหน้าได้ด้วยตัวเอง
เทคโนโลยี 4G เป็นฝันร้ายของเทคโนโลยี Wi-Fi แน่นอน เพราะฉนั้นไม่มีทางที่จะเกิดในไทยได้แน่ๆ ฟันธง!
เพราะบ้านเรามีขาใหญ่ Wi-Fi อยู่ ไม่ต้องบอกนะว่าเป็นค่ายไหน
ที่มา : http://www.husokku-a...hp?topic=3159.0
ส่วนนี้คือ ทำไมเราต้องประมูล 3G (ย่าน 2100Hz) : http://www.blognone.com/node/36609
#23
ตอบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:29
ถ้าเป็นระบบเก่า แป๊บๆมันก็ขอคำนวนเส้นทาง น่ารำคาญ
เคยเอา CDMA มาใช้ ตอนออกมาแรกๆ
ค่าอุปกรณ์แพงมากแต่อยากลอง
ก็ไม่ประทับใจ สัญญาณมันขาดๆหายๆเวลารถวิ่ง
ส่วนค่าบริการ เลือกแบบ prepaid ดีกว่า เพราะ unlimited มันปลอมๆ
ถ้าเขาวาง 3G ของจริงได้ มันจะเร็วกว่าที่เราใช้ในปัจจุบันเยอะ
โทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันน่าจะเป็นที่นิยม
รวมถึงการเรียกดูกล้องวงจรปิดแบบทางไกล ก็จะสะดวกขึ้นมาก
ความเป็นกลางมันคือหลุมหลบภัยของคนขี้ขลาด - ชัย ราชวัตร
#24
ตอบ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:11
ผมว่า กสทช น่าจะกำหนดราคา ค่าใช้บริการ 3G ไปเลยว่าจะเก็บจากประชาชนผู้บริโภคเท่าไร ห้ามเกินเท่าไร ประเด็นนี้ กสทช มีคิดบ้างไหมครับ
แล้วให้ บริษัทเข้ามาประมูล จะเอาก็เอาไม่เอาก็ไม่ว่ากัน
ปล. ผู้เข้ามาประมูลยังไงก็ต้องเอาคืนกับ ประชาชนผู้บริโภคอยู่แล้ว แต่จะช้าจะเร็วขึ้นอยู่กับ...... เพราะมันก็เกือบเป็นธุรกิจกึ่งผูกขาดไปแล้ว มีคู่แข่งทั้งประเทศไม่เกิน 5 ราย
ก็ให้ กสทช เป็นคนกำหนด ว่าอย่าพึ่งมารีดกับประชาชน อย่างไรคุณก็ได้ทั้งทุนทั้งกำไรคืนอยู่แล้ว แต่ให้มันช้าหน่อยก็ได้ โดยมีขั้นสูงกำหนดราคาไว้ว่าห้ามเกิน
พอเป็นไปได้ป่ะครับ
#25
ตอบ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:44
คนไทยนิสัยเสีย ไม่ชอบทำตามกฏ
ถ้าอันลิมิต
เจอโหลดบิทกัน 100 คน สัญญาณคนอื่นก็ห่วยแล้วครับ -*-
#26
ตอบ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:47
ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน