การศึกษาเป็นเรื่องรองครับ ที่สำคัญก็คือจิตสำนึกของความเป็นคนชั้นกลางต่างหาก
ในความคิดของผม ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นปัญหาของการปะทะของความคิดทางการเมือง 2 แบบ คือการเมืองแบบระบบประชาธิปไตยอิสระของคนชั้นกลางในเมือง กับการเมืองแบบอุปถัมภ์ ของคนต่างจังหวัด นายทุนกินรวบ และนักธุรกิจการเมือง
การเมืองแบบคนชั้นกลางเป็นการเมืองแบบผูกพันกันด้วยหน้าที่ และระบบ แบ่งแยกชัดเจน แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ของตนสมบูรณ์แล้วก็จบกัน เช่นประชาชนมีหน้าที่ชำระภาษีครบถ้วน ทำหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย แค่นี้ถือว่าจบแล้ว เพราะประชาชนแต่ละคนก็มีงานการในหน้าที่ตัวเองอยู่แล้ว ส่วนงานอื่นๆโดยเฉพาะส่วนที่เป็นสาธารณะ เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเมือง การรักษาความปลอดภัยก็เป็นหน้าที่ของตำรวจ หากเกิดเหตุบกพร่องในส่วนใดส่วนหนึ่ง ส่วนนั้นก็ต้องปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่ไปโยนให้ส่วนอื่น และส่วนอื่นก็ไม่ควรจะไปเสือกกะโหลก แน่นอนว่าคนที่อยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ก็จะเลือกประชาธิปัตย์ เพราะเป็นพรรคการเมืองที่ใกล้เคียงกับรูปแบบนี้มากที่สุด
ส่วนการเมืองแบบอุปถัมภ์เป็นไปแบบตรงกันข้าม จะเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน และหาประโยชน์ซึ่งกันและกัน มาจากอุปนิสัยรากหญ้าที่จะแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มผู้นำ และกลุ่มพึ่งพิง ถ้าจะดูตัวอย่างง่ายๆก็ครอบครัวดาราดังๆบางคน ที่มีคนทำมาหากินอยู่คนเดียว แต่มีเครือญาติเข้ามาเกาะกินอีรุงตุงนังนั่นแหละครับ แต่ด้วยความที่เขาเคยชินกับระบบนี้ เลยไม่รู้สึกว่ามันผิด คนที่เป็นผู้นำก็รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องให้คนอื่นพึ่งพา คนที่เป็นผู้พึ่งพิงก็รู้สึกว่ามันเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องให้ตัวเองพึ่งพา (สรุปว่าโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง) แต่ก็จะมีผู้นำบางประเภทที่ “เป็นงาน” ก็จะถือโอกาสหาประโยชน์คืนจากผู้พึ่งพาบ้าง ในรูปแบบต่างๆ
และเมื่อคนรากหญ้าถูกปลุกให้เข้ามาใช้สิทธิในทางการเมืองโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแนวความคิดให้เป็นระบบ ก็เอาแนวความคิดแบบอุปถัมภ์นี้เข้ามาด้วย ผลก็คือระบบการเมืองนี้มองทรัพยากรของชาติเป็นเป้าหมาย แล้วก็มองว่าผู้แทนของตนคือผู้นำที่จะเข้ามากอบโกยทรัพยากรจากส่วนกลางลงไปยังท้องถิ่นตัวเอง ยิ่งมากยิ่งดี ผู้นำที่ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้พึ่งพิง ต่อให้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศมากแค่ไหน ก็ยังเป็นผู้นำที่เลว
และปัจจุบันแนวความคิดที่สองก็ยิ่งเข้มแข็ง ด้วยการเข้ามาของนักธุรกิจการเมืองที่เห็นช่องโหว่ตรงนี้ และฉกฉวยมันมาใช้ประโยชน์ ตลอดจนการกระจายอำนาจผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่น แทนที่จะปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของระบบอุปถัมภ์แทน และการบริหารประเทศแบบประชานิยม ยิ่งสอดคล้องกับการเมืองระบบอุปถัมภ์ เปิดโอกาสให้ผู้นำจากท้องถิ่นได้กอบโกยทรัพยากรจากส่วนกลางในลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา โดยมีผู้พึ่งพิงรากหญ้าเป็นฐานอำนาจที่แข็งแกร่งอยู่ข้างหลัง
และที่ยิ่งทำให้สับสนยิ่งขึ้นก็คือ เหล่านักคิดนักเขียนปีกซ้ายทั้งนักวิชาการ ทั้งสื่อ ที่แทนที่จะช่วยกันพัฒนารากหญ้าให้ขึ้นมาเป็นคนชั้นกลาง กลับโลกสวยไม่ลืมหูลืมตา กลับปลูกฝังแนวคิด "ปล้นคนรวย-ช่วยคนจน" ให้กับสังคม เลยกลายเป็น"ลงโทษคนขยัน ให้รางวัลคนขี้เกียจ "สังคมอุดมไปด้วยคนที่จ้องจะหาผลประโยชน์จากคนที่ตนมองว่าฐานะดีกว่า และคนที่ถ้าฐานะดีกว่า ถ้าไม่หาผลประโยชน์คืน ก็ขาดทุนไป
ทุกวันนี้ ไม่แปลกที่เราจะนั่งแท็กซี่ พอถึงที่หมาย แท็กซี่กลับไม่ยอมทอนเงิน แถมมองหน้ากวนโอ๊ยบอกว่า "รวยแล้วก็แบ่งกันบ้างสิ" หรือพวกสื่อที่นั่งเทียนเขียนคอลัมน์บางรายที่ด่าคนเมืองมันเสียทุกเรื่อง เพียงเพราะเห็นว่าคนเมืองมีโอกาสมากกว่าในสังคม (ภาษีเงินได้กรูก็จ่ายเยอะ ภาษีมูลค่าเพิ่มกรูก็จ่าย ภาษีจ๊อบกรูก็จ่าย บริจาคทุนการศึกษากรูก็ให้ ทอดกฐิน ใส่ซองกรูก็ใส่ จะเอาไงกับกรูอีก) เพียงแค่เป็นกลยุทธ์ทางจิตวิทยาง่ายๆก็คือ...ทำให้มันรู้สึกผิดเข้าไว้ แล้วจะได้ล้วงกระเป๋าเงินมันได้ง่ายๆ มันจะได้ไม่หือ...เท่านั้นเอง
และยิ่งสร้างความสับสนให้กับสังคมโดยการกล่าวหาว่าคนชั้นกลางที่เชิดชูราชวงศ์ นับถือศาสนานั้น เป็นพวกระบบอุปถัมภ์ ทั้งๆที่คนชั้นกลางนับถือสถาบัน หรือศาสนาในแง่สัญลักษณ์และสิ่งเชิดชูจิตใจ และเป็นฝ่ายเกื้อหนุนการทำงานของสถาบันต่างหาก ไม่ใช่ฝ่ายพึ่งพิง
และตราบเท่าที่ระบบอุปถัมภ์ยังคงอยู่ เราก็ไม่มีทางเซ็ตระบบสังคมให้เป็นระบบระเบียบแบบสังคมตะวันตกหรือญี่ปุ่นได้ เราจะไม่มีคนอาชีพต่างๆที่เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาชีพสาธารณะอย่างตำรวจ คนขับรถสาธารณะ รปภ. หรืออื่นๆ... มีแค่พวกกะหลั่วที่แฝงตัวมาทำงานเพื่อหาผลประโยชน์ หรือไม่มีที่ไปเท่านั้นเอง
และตราบเท่าที่สื่อและนักวิชาการยังมั่วแหลกอยู่แบบนี้ เราก็ไม่มีทางหนีหล่มโคลนนี้พ้น