Jump to content


Photo
- - - - -

ฟังข่าว รัฐบาลชุดนี้ตัดเงินค่ายา ที่ใช้รักษาเข่าเสื่อม จริงหรือปล่าวครับ


  • Please log in to reply
14 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 มัจฉาร่วมข้อง

มัจฉาร่วมข้อง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 282 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:21

ถ้าจริง ชื่อว่า แย่มากๆ

คนแก่ คนที่รับบำนาญ เดือนละไม่กี่บาท

คนแก่ที่ต้องรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ต้องทรมานมาก

นี่ยังต้องควักกระเป๋าจ่ายค่ายาเองอีกหรือ

ทั้งๆที่มีสิทธิเบิกได้

#2 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:37

มีกระทู้ของเพื่อนสมาชิก "นายตัวเกร็ง" เล่าเรื่องจริงที่คุณแม่เจอมากับตัว เรื่องตัดยารักษาโรคครับ
กระทู้อยู่ข้างล่างนี่แหละครับท่าน ที่ไหนสักแห่ง
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#3 notcomeng

notcomeng

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,963 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:49

ข่าวล่าสุดเห็นว่ากำลังพิจารณาใหม่อีกครั้งครับ

ปลัดคลัง เผย พร้อมทบทวนการห้ามใช้ยานำเข้ากลูโคซามีน เพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมอีกครั้ง หลังกระทบหลายฝ่าย แจงนโยบายการควบคุมค่ารักษาไม่ได้ริดรอนสิทธิ์ข้าราชการ

สืบเนื่องจากกรณีที่กระทรวงการคลังส่งหนังสือแจ้งหัวหน้าส่วนราชการทั่วประเทศยกเลิกเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต รักษาอาการข้อเสื่อม โดยชี้แจงว่า ยาบรรเทาอาการข้อเสื่อมมีประสิทธิผลในการรักษาไม่ชัดเจน และไม่มีความคุ้มค่าพอที่จะให้เบิกจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยคำสั่งดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป สร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มข้าราชการ จนมีการหารือร่วมกันเพื่อฟ้องศาลปกครองและยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ขอให้ทบทวน เพราะถูกมองว่าเป็นการจำกัดและละเมิดสิทธิ ตามที่ได้รายงานข่าวไปนั้น

ล่าสุด วานนี้ (21 ตุลาคม) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า จะกลับไปพิจารณารายละเอียดอีกครั้งเพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน มีคนเกี่ยวข้องจํานวนมาก ซึ่งหากมีผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ก็จะทบทวนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังมีหน้าที่แจ้งกระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าส่วนราชการ ในฐานะผู้รักษาพยาบาล ขณะที่ส่วนราชการจะเป็นต้นสังกัดข้าราชการจะได้ออกระเบียบปฏิบัติ ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 นี้

ทั้งนี้ นโยบายการควบคุมค่ารักษาเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการควบคุมค่าใช้จ่ายประจําไม่ให้เกินร้อยละ 70 ของงบประมาณรายจ่าย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 72-73 เพราะที่่ผ่านมาค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบสวัสดิการอื่น ๆ ทั้ง กองทุนประกันสังคม หรือระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค

นายอารีพงศ์ กล่าวต่อไปว่า การควบคุมรายจ่ายรักษาพยาบาลเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวินัยทางการคลัง เพราะในอนาคตจะมีการกู้เงินอีกมากเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่เราก็มีเป้าหมายจะคุมเพดานหนี้สาธารณะไม่ให้เกินร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จึงจําเป็นต้องควบคุมรายจ่ายที่สูงเกินจริง แต่ไม่ได้ไปริดรอนสิทธิ์ของข้าราชการลง เนื่องจากผลศึกษาของแพทย์ ก็พบว่า ยาที่ผลิตในประเทศกับยานอกมีประสิทธิภาพเทียบเคียงกัน แต่ราคาแตกต่างกันมาก ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ หากแพทย์เห็นว่าจําเป็นต้องใช้ยานอก ให้แพทย์ลงความเห็นร่วมกัน 3 คน ก็ยังสามารถเบิกยาดังกล่าวได้
http://health.kapook.../view49407.html


และนี่เป็นความคิดเห็นของแพทย์ครับ

ข้อคิดเห็นที่แตกต่างต่อกระแสยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (กลูโคซามีน)

รองศาสตราจารย์ นพ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ
หน่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

เชื่อว่าวันนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มีข้อสงสัยมากขึ้นกว่าวันก่อน ๆ ไม่เพียงสงสัยในเรื่องโรค การรักษา และข้อสงสัยล่าสุด กับประสิทธิภาพของตัวยากลูโคซามีนที่รัฐตั้งข้อสงสัย…

โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ในวัยนี้กระดูกจะเริ่มเสื่อมลง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานข้อมาก อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ทำให้กระดูกอ่อนถูกทำลายการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ถ้าใช้งานข้อหนักเกินไปก็ต้องลดการใช้งานข้อ ถ้าเกิดจากน้ำหนักตัว ก็ต้องลดน้ำหนัก แต่ถ้าข้อยังเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนเกิดอาการปวดข้อ อาจจะต้องใช้การรักษาด้วยยา

Q การรักษาด้วยยาจะใช้เมื่อไหร่ ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

การรักษาด้วยยามีทั้งแบบรักษาตามอาการ กับรักษาระยะยาว คนไข้ที่มีอาการปวดเข่า บรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อย แต่เป็นการรักษาแบบครั้งคราว และอีกวิธีคือการรักษาแบบระยะยาว เพื่อชะลออาการข้อเสื่อม เป็นยาที่รับประทานอย่างต่อเนื่อง เช่น กลูโคซามีน ซัลเฟต คอนโดรอิติน ซัลเฟต ไดอะเซอเรน และยาฉีดเข้าข้อยากลุ่มนี้ มีการพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยลดอาการปวดในระยะยาว

Q มีกระแสอ้างว่า กลูโคซามีนให้ผลการรักษาไม่ชัดเจนมีความเห็นอย่างไร

ทราบข่าวว่า มีรายงานตั้งข้อสงสัยในตัวยากลูโคซามีนว่าให้ผลการรักษาไม่ชัดเจน จนเป็นข้อมูลที่รัฐนำมาอ้างในการตัดสิทธิ์รายชื่อยารักษาโรคข้อเสื่อม ออกจากบัญชีเบิกจ่าย ซึ่งประเด็นนี้ต้องย้อนกลับไปดูงานวิจัยชิ้นนี้ ว่าใช้ยาอะไร และวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มไหน การศึกษา GAIT Study ที่ทำในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐนำมาใช้เป็นข้อมูล เป็นการศึกษากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ไม่ใช่กลูโคซามีน ซัลเฟต ซึ่งตัวยากลูโคซามีน ซัลเฟตนี้มีรายงานสนับสนุนจากหลายแหล่งพบว่า ช่วยชะลออาการปวดได้ในระยะยาว

Q ประสบการณ์ในการใช้ กลูโคซามีนกับคนไข้ เป็นอย่างไร

ผู้ป่วยจำนวนมากมีผลการรักษาที่ดี จากที่เคยมีอาการปวดข้อ ข้อติด ข้อฝืด ข้อขัด ข้อเสียว เมื่อรับประทานยากลูโคซามีน ซัลเฟต อย่างต่อเนื่องจะลดอาการปวด และสามารถใช้งานข้อได้ดีขึ้น

Q ข้อแนะนำในการเลือกยาชะลอโรคข้อเสื่อม

ต้องรับประทานยาติดต่อกันนานพอสมควรจึงจะเห็นประสิทธิภาพ ยาที่ให้ผลการรักษาที่ดี ต้องมีการศึกษา การวิจัยในระยะยาวจนมั่นใจว่าได้ผลดี หากใช้ยาที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีผลการวิจัยสนับสนุน หรือยาเลียนแบบ จะเป็นการเสี่ยงและทำให้เสียเวลา มารู้ตัวอีกทีก็ช้าไปเสียแล้ว



Posted Image

ศาสตราจารย์ นพ.วีระชัย โควสุวรรณ




ศาสตราจารย์ นพ.วีระชัย โควสุวรรณ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและระบาดวิทยา
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อรัฐตัดสิทธิ์เบิกจ่ายยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่เพียงแค่ทำให้คนสูงวัยในวงการราชการต่างวิพากษ์วิจารณ์ แต่ยังกลายเป็นหัวข้อถกเถียงในวงการแพทย์ ถึงความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้อ้างอิง ?

Q ได้ข่าวว่าในวงการออโธปิดิกส์ กำลังมีประเด็นฮอตให้วิจารณ์

เป็นความเห็นที่แตกต่างมากกว่า จากการอ่านบทความ BMJ ที่เป็นวารสารทางการแพทย์ ในสหราชอาณาจักร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแบบ Indirect Meta-analysis หรือ network Meta-analysis ซึ่งเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยของยา กลูโคซามีน และ ยาดรอยตินเทียบกับยาหลอก แล้วสรุปว่าให้ผลทางการรักษาไม่ชัดเจน แพทย์ในวงการมีความเห็นว่า ผลการศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบทางอ้อม ซึ่งการวิเคราะห์ชนิดนี้มีการตั้งความเชื่อของผู้วิจัยประกอบเข้ากับการวิเคราะห์มากกว่าการใช้ข้อมูลจากงานวิจัยโดยตรง ในความเป็นจริงแล้วการสังเคราะห์งานวิจัยทางการแพทย์มี 2 วิธีการ คือ Direct กับ Indirect Meta-analysis ซึ่งวิธีวิจัยแบบ Direct จะมีความน่าเชื่อถือ ไม่ซับซ้อนและตรงไปตรงมามากกว่าวิธี Indirect

Q แล้วมีงานวิจัย หรือสถาบันอื่นที่น่าเชื่ออีกหรือไม่

หน่วยงานวิจัยทางการแพทย์ด้านกระดูกและข้อ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือที่สุดมี 4 หน่วยงาน คือ OARSI, EULAR, Cochrane และAAOSโดยทุกหน่วยทำการวิจัยเรื่องข้อเข่าเสื่อม แบบ Direct Meta-analysis มีผลการศึกษาออกมาว่ากลูโคซามีน ซัลเฟต ให้ประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอก ซึ่งขัดแย้งกับผลสรุปของ BMJ ดังนั้นจึงไม่ควรนำงานวิจัยของ BMJ มาใช้ในการอ้างอิงเพียงงานวิจัยเดียว

Q การใช้ข้อมูลนี้มาอ้างอิงส่งผลอย่างไร

ตอนนี้รัฐใช้เป็นข้อมูลในการตัดสิทธิ์เบิกจ่ายยารักษาข้อเข่าเสื่อม มีผลให้ข้าราชการไม่สามารถเบิกจ่ายยาบรรเทาอาการข้อเสื่อมได้ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งผลการศึกษาของ BMJ ทำเฉพาะกับตัวยากลูโคซามีน บางตำรับ แต่รัฐนำมาอ้างว่ายาในกลุ่ม SYSADOA ทั้งหมดไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา เหมือนเป็นการกล่าวหา อย. ของประเทศไทยที่ยอมขึ้นทะเบียนยากลุ่มนี้ และยังกล่าวหาว่าแพทย์ใช้ยาไม่มีประสิทธิภาพมาตลอด ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถร้องเรียนแพทย์ผู้ทำการรักษาได้ด้วย จึงมีการตั้งข้อสงสัยกันว่า หรือรัฐไม่มีเงิน ต้องการแค่ประหยัดงบประมาณเท่านั้น จึงพยายามหาข้ออ้างทางวิชาการเพื่อริดรอนสิทธิการรักษาของข้าราชการ

Q เคยมีประสบการณ์ตรงในการรักษาด้วยยากลูโคซามีนหรือไม่

จากประสบการณ์รักษาคนไข้มาหลายราย ตัวยากลูโคซามีน ซัลเฟต ใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมได้ผลดี คนไข้ต้องได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้ายาตัวนี้ไม่ดีจริงคงไม่ได้รับการ อนุมัติจาก อย. ที่เป็นหน่วยงานของรัฐเอง ทำเช่นนี้ก็เหมือนกับรัฐตบหน้าตัวเอง นอกจากนี้การรักษาอย่างต่อเนื่องจนอาการเข่าเสื่อมดีขึ้น ทำให้คนไข้ไม่ต้องไปเสี่ยงกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ที่มีต้นทุนสูง เสี่ยงกับการติดเชื้อได้อีกด้วย ซึ่งไม่เข้าใจว่า กลุ่มแพทย์ที่ไม่เคยดูแลผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมกล้าออกความเห็น ให้ใช้แต่ยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพในการลดปวดด้อยกว่ายากลุ่มนี้ (จากการสังเคราะห์ของOARSI, EULAR, Cochrane และAAOS) และยังแนะนำให้ผ่าตัดเข่า ทำไมไม่ให้แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยโดยตรงเป็นผู้ตัดสิน ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ได้ออกแนวทางการรักษาข้อเสื่อมให้กับแพทย์ทั่วไปแล้ว ซึ่งถ้าแพทย์ใช้แนวทางนี้จะช่วยให้การรักษาผู้ป่วยเหมาะสมและคุ้มค่ามากขึ้น ซึ่งคิดว่าแพทย์ด้านกระดูกและข้อมีความรับผิดชอบสูงพอที่จะพิจารณาปัญหาขาดงบประมาณของประเทศ ซึ่งไม่ด้อยกว่ากลุ่มแพทย์ที่ออกความเห็นดังกล่าว





Posted Image

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.เสก อักษรานุเคราะห์



ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.เสก อักษรานุเคราะห์
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย

จากการที่รัฐตัดกลุ่มยารักษาโรคไขข้อ ออกจากรายชื่อบัญชียาที่เบิกจ่ายได้ ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากมาย โดยเฉพาะแพทย์ด้านกระดูก และหนึ่งในนั้นคือแพทย์ผู้ริเริ่มรักษาคนไข้ด้วยตัวยานี้ มีประสบการณ์รักษามานานนับสิบ ๆ ปี

โรคข้อมีอยู่หลายชนิด ที่พบมากที่สุดคือข้อเสื่อม ตอนที่คนเราอายุยังน้อยกระดูกอ่อนจะหนา เมื่ออายุมากขึ้นร่างการซ่อมแซมกระดูกที่สึกหรอได้น้อยลง ก็จะทำให้กระดูกอ่อนบางลงเรื่อย ๆ กระดูกเสียดสีกันได้ง่ายขึ้น จนเกิดอาการ ที่เราเรียกว่าโรคข้อเสื่อม

Q แนวทางรักษาโรคข้อของคุณหมอเป็นอย่างไร

ขึ้นอยู่กับระดับความเสื่อมของคนไข้ว่าน้อย กลาง หรือมาก เราพบกับคนไข้ตอนที่ปัญหาอยู่ในระดับไหน การป้องกันดีกว่าการรักษา แนวทางคือการพยายามคงสภาพที่ดีของข้อไว้ ไม่ให้ข้อเสื่อมเร็ว ยืดเวลาการใช้งานข้อออกไป อีกอย่างคือการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง นั่ง-นอน-ยืน และออกกำลังกายให้ทำให้ถูกต้อง รวมทั้งการใช้ยาควบคู่กันไปด้วยเพื่อชะลอการเสื่อมของข้อ ช่วยไม่ให้เกิดอาการเข่าเจ็บ หรือเข่าดังในที่สุด

Q กลุ่มยาไหนที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะ

ยาที่ใช้มากในการรักษาโรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะ คือกลูโคซามีน ซัลเฟต ซึ่งเป็นยาที่มีประวัติการใช้มายาวนาน ในอดีตใช้วิธีฉีดเข้าไปโดยตรงที่ข้อ และมีการพัฒนาต่อมาเป็นรูปแบบรับประทาน ซึ่งกลูโคซามีน รูปแบบรับประทานที่จะให้ผลการรักษาต้องเป็นกลูโคซามีน ซัลเฟต และจะให้ประสิทธิภาพดีที่สุด ต้องรับประทาน 1500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยกลูโคซามีน ซัลเฟต ถ้ารับประทานต่อเนื่องจะไปกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนให้หนาตัวขึ้น

Q คุณหมอมั่นใจในประสิทธิภาพของยากลูโคซามีนแค่ไหน

มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมเป็นคนแรก ๆ ที่เริ่มใช้ยาตัวนี้รักษาคนไข้ที่เป็นข้อเสื่อม เมื่อได้ผลดีก็ใช้รักษาคนไข้มาโดยตลอดหลายสิบปี ถึงตอนนี้ก็ใช้รักษาคนไข้มาเป็นพัน ๆ คน และตัวผมเองก็รับประทานกลูโคซามีน ซัลเฟต มาแล้วกว่า 12 ปี ข้อเข่ายังใช้การได้ดี แม้แต่แพทย์ด้านกระดูกเองยังรับประทานตัวยานี้เลย ก็เลยไม่เข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลถึงอ้างว่าตัวยาไม่ดี และนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ให้ข้าราชการใช้สิทธิ์เบิกได้อีกต่อไป


สมปอง จูฑะวงศ์
ข้าราชการบำนาญ อาจารย์ 2 ระดับ 7
กระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อรัฐประกาศตัดสิทธิ์การเบิกจ่ายยารักษาโรคข้อเข่า รัฐได้ไปเต็ม ๆ คือ การประหยัดงบรายจ่าย แต่ก็เสียไปเต็ม ๆ เหมือนกัน ในแง่ความรู้สึก ขวัญและกำลังใจของข้าราชการสูงวัยที่ได้รับผลกระทบไปทั่วประเทศ

ประสบการณ์ในการรักษาโรคข้อ

มีปัญหาเรื่องของเอ็นข้อไหล่อักเสบ และข้อเข่าอักเสบ ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล แรก ๆ หมอก็ให้ยาแก้ปวด ควบคู่กับการกายภาพ อาการก็ดีขึ้นมาบ้างแต่ไม่หายขาด ต่อมาหมอให้แผนการรักษาแบบระยะยาวโดยให้กินยา กลูโคซามีน หลังจากกินยาต่อเนื่องไปไม่นานอาการก็ค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้ก็กำลังทำการรักษาอยู่ และเชื่อว่าจะดีขึ้นแน่นอน มั่นใจในตัวยานี้มาก ๆ

การที่รัฐตัดสิทธิ์การเบิกในตัวกลุ่มนี้ มีผลอย่างไร

รัฐเค้าไม่ให้เบิกตั้งแต่มกราคมนี้แล้ว ตอนนี้ข้าราชการเดือดร้อนกันมาก เพราะเงินเดือนข้าราชการไม่มากข้าราชการบำนาญก็ยิ่งแย่ เพราะได้เงินเดือนตายตัวไม่มีการปรับขึ้น ยารักษาโรคข้อมีราคาค่อนข้างสูง ตอนนี้รัฐไม่ยอมให้เบิก เราก็ต้องจ่ายเองไปเต็ม ๆ อยากให้รัฐเห็นใจข้าราชการสูงวัยที่ต้องมาเสียเงินค่ายาเอง ไม่น่ามาตัดสิทธิ์ตัวยานี้เลย

กับประเด็นที่รัฐสงสัยว่า ยากลุ่มนี้อาจมีประสิทธิภาพไม่ดีจริง

ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะมีประสบการณ์ด้วยตัวเองมาหลาย ๆ ปี เห็นผลจากการรักษามาแล้วถ้าบอกว่าประสิทธิภาพของยาไม่ดี ก็ไม่น่าใช่ อีกอย่างคือตัวเองเชื่อในประสบการณ์ความสามารถของหมอ ถ้าหมอรักษามาหลายปีจนมั่นใจ และใช้กับคนไข้จนหายดี ก็น่าจะเป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพดี

http://health.kapook.../view21783.html


ผมขอเน้นที่ข้อความนี้ครับ

Q มีกระแสอ้างว่า กลูโคซามีนให้ผลการรักษาไม่ชัดเจนมีความเห็นอย่างไร

ทราบข่าวว่า มีรายงานตั้งข้อสงสัยในตัวยากลูโคซามีนว่าให้ผลการรักษาไม่ชัดเจน จนเป็นข้อมูลที่รัฐนำมาอ้างในการตัดสิทธิ์รายชื่อยารักษาโรคข้อเสื่อม ออกจากบัญชีเบิกจ่าย ซึ่งประเด็นนี้ต้องย้อนกลับไปดูงานวิจัยชิ้นนี้ ว่าใช้ยาอะไร และวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มไหน การศึกษา GAIT Study ที่ทำในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐนำมาใช้เป็นข้อมูล เป็นการศึกษากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ไม่ใช่กลูโคซามีน ซัลเฟต ซึ่งตัวยากลูโคซามีน ซัลเฟตนี้มีรายงานสนับสนุนจากหลายแหล่งพบว่า ช่วยชะลออาการปวดได้ในระยะยาว

เหมือนรัฐจะจงใจใช้งานศึกษาอ้างอิงแบบต้องการจะตัดงบ แต่แพทย์หลายๆคนไม่เห็นด้วย เพราะสิ่งที่เค้าอ้างอิง มันไม่ใช่ตัวยาแบบเดียวกันกับที่เบิกครับ

#4 paj044

paj044

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 438 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:01

รัฐบาลเขาอยากลดช่องว่างในสังคม
จะยกระดับการรักษาพยาบาลของ 30 บาทก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีเงิน
เลยใช้วิธีกระชากอันที่มันสูงกว่าลงมา จะได้ต่ำเตี้ยเรี่ยดินเหมือนๆกัน
ข้าราชการเป็นคนส่วนน้อย ก้มหน้ารับกรรมไปเถอะ

ความเป็นกลางมันคือหลุมหลบภัยของคนขี้ขลาด - ชัย ราชวัตร


#5 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:20

มีกระทู้ของเพื่อนสมาชิก "นายตัวเกร็ง" เล่าเรื่องจริงที่คุณแม่เจอมากับตัว เรื่องตัดยารักษาโรคครับ
กระทู้อยู่ข้างล่างนี่แหละครับท่าน ที่ไหนสักแห่ง


http://webboard.seri...่น/#entry460863

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#6 ยิ่งรัก(โพย)

ยิ่งรัก(โพย)

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,420 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:28

จริง แต่ดูเหมือนกำลังพิจารณาว่าจะเอากลับเข้ามารึเปล่า

#7 noswords

noswords

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 543 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:47

เห็นว่ามีการทำหนังสือร้องเรียนไปที่รัฐบาลเพื่อให้ชะลอคำสั่งของกระทรวงการคลังอยู่นะครับ
http://www.thaihospi...hp?topic=6414.0

What is a rebel? - A man who says NO!Albert Camus


#8 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:01

ตามข่าวอยู่เหมือนกัน เพราะเข่าขวา.
ไม่ค่อยดี. แต่ข่าวก็ยังไม่แน่นอน....

#9 กากจริงไรจริง

กากจริงไรจริง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,172 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:35

เดชะบุญ แม่ผมเลยจุดนี้มาแล้ว ผ่าเรียบร้อยทั้งสองข้าง เดินปร๋อ

#10 Nirvana

Nirvana

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 501 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:45

ได้ยินข่าวนี้

เข่าอ่อนเลยครับ !!!

#11 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:16

ข้าราชการ ไม่ใช่ฐานเสียง อย่ามาหยุมหยิม.... -_- -_-

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#12 promotion

promotion

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,761 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:36

ก็ต้องพิจารณาด้วยนะครับว่า สิ่งนั้น มันควรจัดเป็น "ยา" หรือ "อาหารเสริม" และได้ผลจริงหรือไม่ ซึ่งพบว่าการศึกษาวิจัยที่ผ่านมามีน้อยมากๆ ที่พบว่าสารตัวนี้มันมีประโยชน์ และในต่างประเทศส่วนใหญ่จัดสารชนิดนี้เป็น "อาหารเสริม" ครับ ซึ่งหากมันเป็นเพียงอาหารเสริม ก็ไม่ควรเอาเงินงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน ไปลงให้กลุ่มคนบางกลุ่มได้รับ "อาหารเสริม" ครับ

#13 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:27

ข้าราชการ ไม่ใช่ฐานเสียง อย่ามาหยุมหยิม.... -_- -_-


ในนี้มีเยอะนะ เดี๋ยวมีคนมาจัดให้หรอก B)

ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 


#14 pinkpanda

pinkpanda

    คุ้กกี้เกลียดควายแดงค่ะ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,600 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:36


ข้าราชการ ไม่ใช่ฐานเสียง อย่ามาหยุมหยิม.... -_- -_-


ในนี้มีเยอะนะ เดี๋ยวมีคนมาจัดให้หรอก B)



๕๕๕

ข้อเข่ายังแข็งแรงดีอยู่ค่ะ ยัง...ยังไม่จัดเต็มใส่คุณ rArA

#15 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

ตอบ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:40



ข้าราชการ ไม่ใช่ฐานเสียง อย่ามาหยุมหยิม.... -_- -_-


ในนี้มีเยอะนะ เดี๋ยวมีคนมาจัดให้หรอก B)



๕๕๕

ข้อเข่ายังแข็งแรงดีอยู่ค่ะ ยัง...ยังไม่จัดเต็มใส่คุณ rArA


น่าน ไม่ทันขาดคำ แม่บิวตี้มาแระ :lol: :lol:

ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน