Jump to content


Photo

ปล่อย ....


  • Please log in to reply
6 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 วฤก

วฤก

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 245 posts

ตอบ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 08:29

ปล่อย….

๏ ปล่อยเถิดนะจะไหลก็ให้ปล่อย
จะเปรอะรอยเปื้อนริ้วเลอะผิวหมอง
แรระเรื่อเจือไว้ในละออง
นั่นนะฟ้องฟกช้ำฝากน้ำตา

ได้ขืนสุดสุดฝืนขึ้นยืนหยัด
ประกาศชัดชูราชศาสนา
“ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” บาทบีฑา
ก็ไม่ล้าหลุดล้มอุดมการณ์

ลุกขึ้นมา... ภราดรไถ่ถอนเจ็บ
เรียนแล้วเก็บกำลังยังประสาน
เพื่อไผทใช่ตนเถิดทนทาน
แต่โบราณบาดลึกยังถึกทน

ปล่อยเถิดนะจะไหลก็ให้ปล่อย
ก็แค่รอยเปื้อนริ้วผิวถนน
แดงระเรื่อเจือไว้ในสกล
แค่เลือดคนไทยหลั่ง.... คลั่งฆ่ากัน ๚ะ

วฤก: ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

#2 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 11:20

ผมอ่านแล้วครับ คุณก็จัดเป็น..กวีเอก..ของแผ่นดินผู้หนึ่ง

การที่ผมได้พบ นับเป็นวาสนา คุณเข้าใจ.ฉันทลักษณ์. ได้

แจ่มชัด. บทกวี.ถึงรื่นไหลไม่สะดุด.( บทกวีจะไพเราะ ) อยู่ที่

ความรื่นไหลเรียงร้อยของ..สัมผัสใน..ส่วนสัมผัสนอก.สัมผัส-

เชื่อมบท. ตามแผนผังตัวอย่าง พักเดียวก็จำได้.ผู้สนใจศึกษา

ไม่ยาก แต่บอกแล้วว่าความรื่นไพเราะ...อยู่ที่...สัมผัสใน...

ที่มีอยู่ ๒ แบบ ตามที่ท่านครู .หลวงธรรมาภิมณฑ์..ได้ชำระไว้

( ๑ สัมผัส สระ.๒ สัมผัสอักษร ) เชิญท่านผู้สนใจ สอบถามได้

ถามผม หรือ ท่าน วฤก... ก็ได้ .....ขอบคุณครับ.



#3 วฤก

วฤก

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 245 posts

ตอบ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 08:52

ขอบคุณท่านพระฤาษีมากครับ

#4 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 11:50

ครับขอบคุณ ..ภาษาไทย ฉันทลักษณ์..ไม่ใช่ของผมคนเดียว

ผมดีใจที่พบคุณ จากใจจริง ช่วยกันครับ คุณมีสักยภาพสูง-

ในด้าน..ฉันทลักษณ์ .. ผมเคยท้อ ที่คน( ชอบเขียนกลอน ) จำ-

นวนไม่น้อย ..แต่งตามอย่างคนดัง..โดยไม่ศึกษา.ฉันทลักษณ์ .

กลอนที่เสียเห็นง่ายๆคือ ( คำเสียงสระ ..ไอ...อาย...อัน-อาน )

อันนี้สัมผัสกันไม่ได้.. อีก ๑ ก็คือ เสียงปลายวรรค...วรรคแรก-

ไม่นิยมเสียง (สามัญ-ตรี ) เสียงมันอ่อน .เบา. แต่ก็นั่นแหละ -

มันยากที่ชี้แนะ. ๓๐ กว่าปีมานี่ ผมก็อ่อนล้าเหมือนกัน แหล่งที่

ทำลาย ฉันทลักษณ์-หลักภาษาไทย.แห่งใหญ่คือ ค่ายเพลง-

ต่าง ๆ ภาษา วัยรุ่นที่ใช่ในเฟซฯ และ..บรรดาคนดัง..ที่เขียนกลอน

โดยยึดถือความดัง มากกว่า กฏแบบแผน ฉันทลักษณ์ ที่ท่านครู

ได้วางหลักไว้..พูดมาก คงมีคนด่าอีกแล้ว.ไว้ว่างค่อยคุยกันนะครับ...






#5 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 10:36

ถ้าคุณพระฤาษีพอมีเวลา

ก็สอนเรื่องฉันทลักษณ์เป็นวิทยาทานหน่อยนะครับ ผมและท่านอื่นๆ จะได้นำมาประกอบการอ่านบทกวีอื่นๆ แบบมีความรู้มากขึ้นครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#6 แม่รำพึง

แม่รำพึง

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 104 posts

ตอบ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 20:09

เห็นด้วยกับคุณGopครับ หากท่านพระฤาษีท้อใจเวลาเห็นบทกลอนที่ผิดฉันทลักษ์ สัมผัสไม่ถูกหลักท่านพระฤาษีควรเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องด้านนี้ให้สมาชิกทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทกลอนบทกวีเหล่านี้ศึกษาให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้นครับ ภาษาไทย บทกวีไทย เป็นภาษาที่งดงามที่สุดในโลกแล้ว ทุกวันนี้เด็กสมัยใหม่ทำให้ภาษาไทยวิบัติมากเกินไป ภาษาไทยเป็นสิ่งล้ำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์ไว้
ผมเป็นเพียงสมาชิกที่มีความรู้น้อยต้อยต่ำคนนึงที่อยากเห็นคนไทยใช้ภาษาไทยเราให้ถูกต้องถูกหลัก
ขอเป็นกำลังใจให้ท่านพระฤาษี ท่านวฤกและกวีทุกท่าน มีผลงานที่งดงามออกมาให้ชาวเสรีไทยเรียนรู้ศึกษาต่อไป.

ด้วยความเคารพทุกท่านครับ.

#7 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 11:06

ขอบคุณมากครับทุุกท่านที่ให้เกียรติ เคยเขียนแนะนำไว้หลายแห่ง

ที่นี่ก็มี แต่จำไม่ได้แล้วว่ากระทู้ไหน ตอนนี้กำลังเขียน บท ...

( อาศิรวาทราชสดุดี ) วันที่ ๕ ธ.ค ๕๕ เดี๋ยวสิ้นธุระ จะเขียนแนะ

ให้เพื่อน ศึกษากัน ( สัมผัส กาพย์.กลอน. ) นั้น ไม่ยากหรอกครับ

แผนผังที่ท่านครู หลวงธรรมาภิมณฑ์..ได้วางหลักไว้ เพียงแต่ ความ

ไพเราะนั้น ( มันเกิดจาก สัมผัสใน..แต่ละวรรค ) มีชื่อเรียกมากมาย

คำเทียบคู่.คำเทียบรถ.คำแซกแอก.ฯลฯ อันนี้ไม่จำเป็นต้องจำหรอก

ตัวอย่าง ( จตุบาท ชาติเชื้อ เหลือขอ.......เกิดก่อ กักขฬะ ถ่อยสถุล )

จะเห็นว่า..สัมผัสใน มีทั้งอักษร..ชาติเชื้อ..และสัมผัสสระ ( บาท-ชาติ.

เชื้อ-เหลือ ) ( เกิดก่อ-กัก )เป็นสัมผัสอักษร( ฬะ-สะ ) เป็นสัมผัสสระ

นี่เป็นตัวอย่างเล็กน้อย แล้วคุณไปอ่านกลอนที่ มีอยู่ทั่วไป คุณจะเห็น

ความแตกต่างตรง ( ความเรียบรื่น ) ของสัมผัสในวรรค แต่ท่านครูก็

ไม่ได้มีกฏบังคับไว้ ฉะนั้นจะคิดว่าเขาผิดไม่ได้ เขาไม่ผิด ฉันทลักษณ์.

เพียงแต่ขาดความไพเราะเท่านั้น นี่เล่าสู่กันฟังก่อนนะครับ..




ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน