Jump to content


Photo
- - - - -

ไพโรจน์ซัดนิธิ : ทำลายประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว


  • Please log in to reply
9 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Cemeterys

Cemeterys

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 796 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 01:33

อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักคิด นักเขียน นักวิจารณ์ พูดได้ทุกเรื่องเขียนได้ทุกราว ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ อาจารย์นิธิพูด ใคร ๆ ต้องฟัง รอบเดือนนี้ อาจารย์นิธิ หนุนโครงการจำนำข้าวอย่างต่อเนื่อง ด้วยบทความชุด "เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว" ควบคู่ไปกับ ปปช. ที่กำลังจับทุจริตประเทศไทยขายข้าวให้กับประเทศไทย แบบ ทีทูที
บทความของอาจารย์ยังไม่ทันสะเด็ดน้ำ ดร.ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ นักวิจัยอาวุโส ก็ออกโรงบ้าง ด้วยบทความ "ทำลายประเทศไทยด้วยการจำนำข้าว"
เป็นความเห็นของนักวิจัยที่ออกมาโต้นักวิจารณ์อย่างน่ารับฟัง
ที่มา: http://www.matichon.co.th

Attached Images

  • 1311230470.jpg

Edited by Cemeterys, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 01:44.


#2 Cemeterys

Cemeterys

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 796 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 01:35

ผู้เขียนขอแสดงจุดยืนที่เห็นต่างกับวิธีคิดของ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ (จากนี้ไปจะขอเรียกสั้นๆ ว่านิธิ) ในบทความที่ลงในมติชนเรื่อง "เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว" ขณะเดียวกันก็สังเคราะห์บทความของอาจารย์นิพนธ์และอาจารย์อัมมาร ที่โต้ตอบนิธิ ในความคิดของนิธิ การที่รัฐบาลต้องการที่จะเพิ่มรายได้ให้กับชาวนาอย่างเป็นกอบเป็นกำ เป็นน้ำเป็นเนื้อในเวลาอันรวดเร็ว ต่างกับที่รัฐบาลในอดีตเคยทำมา เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องการพลิกชีวิตของชาวนา โดยวิธีการที่ต่างกับรัฐบาลในอดีต ซึ่งนิธิเชื่อว่ามันจะพลิกแผ่นดิน เปลี่ยนประเทศไทย


นิธิมองว่าการเพิ่มรายได้ให้ชาวนาในระดับนี้ "เป็นการปฏิรูปสังคม" เพราะฉะนั้น เราไม่ควรใช้หลักเกณฑ์หรือวิธีคิดแบบเดิมๆ เช่น รัฐควรจะขาดทุนน้อยๆ เพราะทรัพยากรจำกัด มีค่าเสียโอกาสเสมอ แต่ผลของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่า มันคุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม นิธิยังอ้างว่าประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก เขาก็ช่วยเหลือภาคเกษตรและชาวนากันมาแล้วทั้งนั้น ไม่เห็นคนรวยหรือชนชั้นกลางเขาเดือดร้อนอะไร คนที่ปฏิเสธรัฐสวัสดิการเป็นคนที่น่าสงสาร ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าคนที่ปฏิเสธรัฐสวัสดิการคงมีน้อยมากไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำก็คือรับซื้อข้าวทุกเม็ดจากชาวนาในราคาที่สูงกว่าตลาดไว้มากๆ เช่น ประมาณร้อยละ 50-60 ในฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา รัฐบาลเมื่อมีข้าวอยู่ในมือแล้ว ควรที่พยายามขาดทุนให้น้อยที่สุด แต่เนื่องจากเป้าหมายหลักที่แท้จริงคือ การเพิ่มรายได้เพื่อให้ชาวนามีชีวิตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีเงินซื้อสินค้าคงทนถาวร ช่วยให้เศรษฐกิจเดินสะพัด ใครจะปฏิเสธว่าไม่ดีได้อย่างไร อีกหน่อยชาวนาฐานะดีขึ้น จำนวนหนึ่งคงหันไปทำอย่างอื่น ไม่เห็นจะต้องน่าวิตกกังวลอะไร เมื่อฐานะทางเศรษฐกิจของชาวนาดีขึ้น อำนาจทางการเมืองของชาวนา ซึ่งในอดีตไม่ค่อยจะมี ก็จะเพิ่มตามมา ผู้เขียนคิดว่า นิธิคงหมายถึง การส่งผลที่เป็นบวกต่อการพัฒนาประชาธิปไตยด้วย ช่วยลดหรือสยบพลังอำนาจอนุรักษ์ดั้งเดิม อะไรทำนองนั้น

ถ้าผู้เขียนเข้าใจไม่ผิด ถ้าเป็นเช่นนี้ การขาดทุนทางการเงินย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ ขาดทุนให้ถึงหลักแสนล้านก็ย่อมได้ สำหรับชาวนาประมาณ 10 ล้านคน คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม และนิธิก็เชื่อว่า โครงการประกันรายได้ให้ชาวนา เช่น ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ขาดทุน อาจจะมากกว่าสมัยปัจจุบันด้วยซ้ำ ถ้าการรับซื้อข้าวมาเก็บไว้แล้วมีการทุจริต นิธิก็คิดว่ามันมีการทุจริตกันทั้งนั้นในการแทรกแซงประเภทนี้ ไม่ว่าในรัฐบาลไหน โครงการใหญ่หลวงระดับนี้จะไม่ให้มีการทุจริตได้อย่างไร ปัญหาเหล่านี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์น่าจะอุดช่องโหว่ลดการทุจริต



นิธิเชื่อว่าคนจำนวนหนึ่ง หรือจำนวนมากที่คัดค้านโครงการนี้มีเบื้องหลังหรือ motive ทางการเมืองที่ไม่ดี รัฐบาลไม่ควรไปใส่ใจ นิธิลืมไปว่าในประเด็นหลังนี้ คนเขาก็มีสิทธิคิดเหมือนกันว่าที่นิธิสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนี้ ส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจากแรงจูงใจทางการเมืองได้เช่นกัน

ผู้เขียนคิดว่าวิธีคิดของนิธิค่อนข้างประหลาด ในประเด็นที่ว่า ถ้ารัฐต้องการจะช่วยชาวนาให้มีรายได้สูงขึ้นมากๆ ยิ่งเร็วยิ่งดี เนื่องจากชาวนาเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คงมีทั้งชาวนาจนและรวยไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะต้องช่วยเฉพาะคนจนน่าจะดูผลที่ตามมา นิธิเชื่อว่าไม่ว่าจะใช้วิธีการไหนก็มีข้อบกพร่องคือขาดทุนหรือมีการทุจริตทั้งนั้น วิธีการรับซื้อข้าวราคาสูงๆ เก็บไว้รอขายขาดทุนมากๆ อาจจะดูไม่ดีในสายตาของคนบางคน แต่ผลลัพธ์สำคัญกว่าวิธีการ นิธิลืมไปว่าวิธีการที่เลวในที่สุดจะส่งผลลัพธ์ที่เลวตามมา โดยฉพาะในระยะยาวที่จะกลับมาทำลายฐานเศรษฐกิจของชาวนา ยุทธศาสตร์ของการเลือกนโยบายแทรกแซงข้าวจึงมีความสำคัญมาก



นิธิให้ความสำคัญกับตลาดน้อยเกินไป ลืมไปว่าผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยมีความได้เปรียบในตลาดโลกอยู่แล้วในด้านคุณภาพ ถ้ารัฐพัฒนาตลาดข้าว (ไม่ใช่ทำลาย) เพื่อให้ตลาดสามารถทำหน้าที่ให้มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลาดจะเป็นกลไกที่สำคัญทางเศรษฐกิจต่อวิถีชีวิตของชาวนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวนี่ก็เป็นการใช้การพัฒนาตลาดเพื่อปฏิรูปสังคม ซึ่งจะเป็นผลดีมากกว่าการมีอำนาจทางการเมืองของชาวนาแล้วใช้อำนาจนี้เพื่อประโยชน์ของกลุ่ม แต่ส่วนรวมและประเทศเสียหายอันเนื่องมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคการเมือง สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ ทุ่มพัฒนาวิจัยข้าวเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต และพัฒนาสถาบันเพื่อช่วยชาวนาให้ปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ

ถ้านิธิคิดว่าการรับซื้อข้าวจากชาวนาในราคาสูงๆ กว่าตลาด ทำได้ถาวรและยาวนานจะเปลี่ยนประเทศไทยได้ เขาคงหมายถึงการพลิกแผ่นดิน ประเทศไทยจะมีความมั่งคั่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน สังคมเป็นประชาธิปไตย และมีเสถียรภาพ ผู้เขียนก็คิดว่านี่เป็นเรื่องเพ้อฝันเป็นการสร้างวิมานในอากาศ ผู้เขียนเชื่อว่าโครงการที่ทำในลักษณะนี้ ถ้าฝังรากลึก เข้มข้น รุนแรง มีโอกาสที่จะทำลายประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและการคลังให้อ่อนแอลง

ทำไมถึงเป็นเรื่องเพ้อฝัน เราต้องไม่ลืมว่า แม้เราจะมีชาวนาประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 27 ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ แต่ผลผลิตข้าวในปัจจุบัน เป็นเพียงร้อยละ 20 ของภาคเกษตร ขณะที่ภาคเกษตรมีผลผลิตเพียงประมาณร้อยละ 10 ของ GDP ซึ่งโดยนัยยะผลผลิตข้าวจะมีสัดส่วนต่อ GDP เพียง 2-3% เท่านั้น หรือประมาณไม่เกิน 3-4 แสนล้านบาทต่อปี ถ้าดูจากข้อมูลนี้ การขาดทุนจากการที่รัฐบาลทำอะไรโง่ๆ คือการซื้อข้าวมาเก็บไว้เยอะๆ โดยหวังว่าจะได้ราคาดี ซึ่งเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ แล้วขาดทุนปีหนึ่งๆ เป็นหลักแสนล้านบาท แม้อาจจะดูไม่มากสำหรับคน 10 ล้านคน จากผลผลิตข้าว 3-4 แสนล้านบาท มันสมเหตุผลหรือไม่ ยังไม่ได้พูดถึงความเสียหายอื่นๆ ที่จะตามมาที่นิธิไม่ได้กล่าวถึง

พลังที่จะเปลี่ยนประเทศไทยหรือพลิกแผ่นดินในทางเศรษฐกิจเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งยั่งยืนในอนาคตได้ไม่มีทางลัดโดยวิธีอื่นใด นอกจากการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการเพิ่มผลิตภาพหรือ Productivity หรือผลผลิตต่อคนงานในทุกๆ


ส่วนรวมทั้งภาคเกษตรของประเทศไทย ซึ่งเผอิญนอกภาคเกษตรเป็นภาคที่ใหญ่ที่สุด ร้อยละ 90 ของผลผลิต และประมาณ 2 ใน 3 ของกำลังแรงงาน โดยเศรษฐกิจไทยจะต้องมีแรงงานทุนและความรู้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพเฉกเช่นหลายประเทศในเอเชียที่ล้ำหน้ากว่าเราไปมากโขแล้ว การจะทำเช่นนี้ได้เราต้องได้รัฐบาลที่มีกึ๋น ดำเนินนโยบายที่มียุทธศาสตร์ที่ดีถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถอย่างแท้จริงของประเทศไทย คือสามารถทำเรื่องยากๆ มากกว่าเพียงแค่เพิ่มรายได้ให้แก่คนงานหรือชาวนา โดยไม่พัฒนาสถาบันที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มหรือผลิตภาพ แรงงานไม่ว่าจะเป็นชาวนาหรือแรงงานของภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการจะมีพลังเปลี่ยนประเทศพลิกแผ่นดินไม่ว่าประเทศใด


พลังดังกล่าวจะต้องไม่ใช่พลังที่มาจากการใช้พลังการเมืองเพื่อโอนถ่ายรายได้ความมั่งคั่งหรือทรัพยากรมาที่กลุ่มของตน โดยไม่มีส่วนเพิ่มผลผลิตหรือ Productivity ให้แก่ประเทศได้มากกว่าที่ฝ่ายหรือกลุ่มของตนเป็นฝ่ายรับ ซึ่งหมายความว่าโดยสุทธิชาวนาอาจจะได้รับการช่วยเหลือจากส่วนอื่นๆ ของสังคม แต่เศรษฐกิจข้าวหรือเศรษฐกิจการเกษตรต้องมีความแข่งแกร่งมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพแข่งขันกับใครๆ ในโลกได้ ซึ่งในประเด็นหลังนี้ นิธิไม่ได้ให้ความสนใจ

เราต้องไม่ลืมว่าประเทศที่รวยมาก่อนเราเขาช่วยคนในภาคเกษตร โดยกระจายรายได้จากส่วนอื่นของสังคมก็จริงอยู่ แต่รัฐบาลในประเทศเหล่านั้นก็เรียนรู้และมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาที่จะลดความเสียหายจากการตั้งราคาให้สูงกว่าตลาดมากๆ และเก็บพืชผลไว้ในโกดังจนถึงกับต้องเอาไปบริจาคให้ประเทศอื่น เช่นกรณีของสหรัฐ โดยไม่ตั้งราคาให้เกินความเป็นจริงไปกว่าราคาตลาดจนอุปทานหรือผลผลิตล้นเกิน


ทำไมเราไม่เรียนรู้แล้วดึงประสบการณ์ในส่วนที่ดีของเขามาใช้เพื่อบริหารข้าวหรือภาคเกษตรของเราอย่างมีวิสัยทัศน์ อย่าอ้างกันแบบโคมลอยโดยไม่มีข้อเท็จจริง แม้กระทั่งญี่ปุ่นระยะหลังๆ คนชั้นกลางญี่ปุ่นจำนวนมากก็รับไม่ได้กับการอุ้มชาวนาในภาคเกษตร โดยเฉพาะเมื่อฐานะการคลังของรัฐเลวลงเรื่อยมา จนในที่สุดรัฐบาลก็ปรับนโยบายการช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าว

ในความเป็นจริงนิธิไม่ได้คิดวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดจากการรับซื้อข้าวราคาสูงมาเก็บไว้เหมือนกับสมมุติว่ามันไม่เป็นปัญหานอกจากว่ามีการขาดทุนหรือมีการทุจริต ซึ่งนิธิก็ไม่สนใจรอบด้านละเลยเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญ นิธิไม่ได้อ่านงานที่นักวิชาการพูดถึงเรื่องการจำนำข้าวอย่างครบถ้วนจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ ดูเหมือนนิธิเลือกที่จะดึงความเห็นของผู้ที่คัดค้าน ซึ่งหลายเรื่องเป็นประเด็นปลีกย่อยไม่ใช่สาระสำคัญเหมือนกับว่านิธิเลือกคู่ขัดแย้ง (แม้ไม่ได้เอ่ยนาม) และเลือกประเด็นขัดแย้งเพื่อความสะดวกของตนเอง เช่น ผู้เขียนไม่คิดว่าจะมีนักวิชาการสักกี่คนที่ไม่เห็นความจำเป็นของ welfare state และไม่เห็นด้วยว่าคนจนต้องได้รับการช่วยเหลือ เราต่างกันในวิธีการที่จะให้ช่วยเหลือกันมากกว่า

ในแวดวงวิชาการหรือปัญญาชน องค์ความรู้เรื่องการแทรกแซงตลาดข้าวโดยรัฐบาลในตลาดข้าว ล่าสุดรวมศูนย์อยู่ที่นักวิชาการ 3 คน ซึ่งมีวิธีคิดที่คล้ายกันมาจาก TDRI และมหาวิทยาลัยเกษตรฯ หรือสถาบันคลังสมอง ซึ่งได้แก่ นิพนธ์ พัวพงศกร อัมมาร สยามวาลา และสมพร อิศวิลานนท์ ตามลำดับ (จะขอเขียนย่อทั้ง 3 คนนี้ว่า "นอส") นิธิน่าจะวิเคราะห์หลักคิดของนักวิชาการทั้ง 3 คนนี้ รวมทั้งวิเคราะห์หลักฐานข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนในการเปรียบเทียบวิธีคิดของนิธิ เพื่อความสมบูรณ์และครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของสังคม

ในงานเขียนก่อนหน้าของสมพรและในบทความที่นิพนธ์ และอัมมาร ตอบนิธิ คนที่ติดตามเรื่องบทบาทของรัฐบาลในการแทรกแซงตลาดข้าว ทุกคนรู้ดีว่า "นอส" เป็นมันสมองทางวิชาการตัวแทนของ TDRI ในการออกแบบการประกันรายได้ให้แก่ชาวนาสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ หลักคิดของ "นอส" นั้นยอมรับว่าคนนอกภาคเกษตรต้องช่วยคนภาคเกษตรในการโอนรายได้และทรัพยากร แต่ควรจะเลือกช่วยชาวนาที่มี need จริงๆ คือยากจนกว่าชาวนาด้วยกัน หรือต้องพึ่งนาน้ำฝนใช้พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งทำนาได้แค่ปีละครั้ง ไม่ใช่เหวี่ยงแหช่วยกันไม่เลือกหน้า ในทางการเมืองราคาประกันต้องสูงกว่าราคาตลาด แต่เป็นที่รู้กันว่าต่ำกว่าสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์มาก



วิธีคิดของ "นอส" ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ "นอส" เชื่อจากหลักการและประสบการณ์ทั่วโลกในอดีตว่ารัฐค้าขายไม่เป็น ทรัพยากรของรัฐเหมือนไม่มีใครเป็นเจ้าของ ถ้ารัฐซื้อข้าวมาเก็บไว้เอง โดยเฉพาะมีต้นทุนสูงๆ ยังไงๆ ก็ต้องมีการรั่วไหล เทวดาที่ไหนจะมานั่งดูแลทุกๆ พื้นที่ไร่นา รัฐบาลซื้อง่ายแต่ขายยาก โดยเฉพาะไม่อยากจะขาดทุนมากๆ หารู้ไม่ว่ายิ่งเก็บไว้นานๆ ก็เสี่ยงที่จะขาดทุนมาก ซื้อมาแล้วประมูลทันทีก็ขาดทุนเร็วเกินไป รับไม่ได้เสียอีก "นอส" จึงมีหลักคิดว่าใช้เพียงแค่ใช้ "กระดาษ" ก็พอ นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าการลดต้นทุนการทำธุรกรรมหรือ transaction cost ชาวนามารับส่วนต่างในรายได้เมื่อราคาตลาดข้าวต่ำกว่าราคาประกัน (หรือที่เรียกกันว่า deficiency payment) ชาวนาเก็บข้าวแล้วเอาไปขายกันเอง รัฐไม่ต้องมายุ่ง โดยตรรกะชัดเจนว่าลดต้นทุนละค่าเสียโอกาสในการเก็บข้าวไว้นานๆ ของรัฐบาล


โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าระบบนี้ถ้าให้เวลาทำงานที่ยาวนานพอ มีการขึ้นระบบทะเบียนชาวนา และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยังไงๆก็น่าจะเป็นระบบที่ดีกว่า รัฐซื้อข้าวมาเก็บไว้เองมากมายเป็นเวลานานๆ ซึ่งสินค้าข้าวไม่เหมือนกับสินค้าอื่นๆ ยิ่งเก็บนานยิ่งเสื่อม ยิ่งมีมากผู้ซื้อก็รู้ มีอำนาจต่อรองสูงกว่า ขายจริงเมื่อไหร่ราคาก็ลง รัฐบาลจีนถึงไม่โง่ ที่จะมาทำสัญญาจีทูจีอะไรกับเรา จะไปฮั้วกับผู้ผลิตก็ไม่มีวันจะสำเร็จ หนึ่งใน "นอส" ถึงดูถูกเหยียดหยามคนในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่าสมองกลวงหรือเปล่า นอกจากนี้ ประวัติการขายในอดีตและในอนาคตก็จะไม่มีความโปร่งใสมีเรื่องอื้อฉาวตลอด (ผู้สนใจน่าจะได้อ่านการให้สัมภาษณ์ของแก้วสรร อติโพธิ เรื่องความเกี่ยวพันระหว่างพรรคการเมืองของรัฐบาลกับนักธุรกิจบริษัท เพรซิเดนท์ อะกรี เทรดดิ้ง ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สยามอินดิก้า เป็นต้น)

นิธิเชื่อข้อมูลบางอย่างง่ายและเร็วไป ข้อมูลของ TDRI พอสรุปได้ว่า สมัยประกันรายได้ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ รัฐบาลขาดทุนทางการเงินปีแรกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ปีที่สองประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้นิธิคิดว่า ถ้าจำนำข้าวจะขาดทุนสักแสนล้าน ก็ไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนอะไร


โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า การขาดทุนสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์นั้นก็ยังค่อนข้างสูง ไม่ทราบว่าอะไรคือสาเหตุ แต่จำนวนการขาดทุนนี้ทำให้ดูเหมือนนิธิปักใจเชื่อว่าไม่ว่าจะใช้วิธีการไหน มันก็ขาดทุนกันทั้งนั้น อย่าไปสนใจมันเลยดีกว่า ในความเห็นของผู้เขียนรัฐบาลไหนทำขาดทุนมากกว่ากัน ไม่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อะไร เราต้องการเวลาดูกันให้ยาวกว่านี้ 5 ปี 10 ปี หรือยาวกว่านั้น ความเสียหายที่จะมีผลต่อการคลัง ถ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ปีต่อปี สะสมมากขึ้นๆ ความเสียหายมีแน่นอน

แต่สำคัญกว่านั้น นิธิไม่ได้สนใจลองวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความเชื่อของตนเอง กับความเชื่อของ "นอส" ซึ่งไม่ได้อยู่ที่เรื่องการขาดทุนทางการเงินอย่างเดียว แต่จะอยู่ที่ความฉิบหายและความอ่อนแอของอุตสาหกรรมข้าวไทยในอนาคต ซึ่งรัฐบาลก็จะเล่นเกมที่เป็นผู้แพ้เช่นกัน นิธิอาจจะลืมไปว่าในอุตสาหกรรมข้าวที่มีการแข่งขันสูงในระดับโลก อุตสาหกรรมข้าวนี้จะมีประสิทธิภาพ และมีขีดความสามารถสูงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐเป็นผู้ส่งเสริมการทำงานของตลาดภายในประเทศ โดยการสร้างกฎกติกาและกลไกทางสถาบัน เพื่อลดความไม่สมบูรณ์ของตลาด ลดต้นทุนการทำธุรกรรม เพิ่มข่าวสารให้แก่ทุกฝ่าย ไม่ใช่มาทำลาย โดยคิดว่ารัฐบาลคือเทวดา ดูตัวอย่างของประเทศที่เจริญแล้ว



นิธิไม่ได้วิเคราะห์ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย และความเสียหายที่จะตามมาในระยะยาว จากการที่ตลาดข้าวที่เคยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร จะค่อยๆ ถูกทำลายเพราะรัฐบาลเข้ามาทำลายกลไกของตลาดด้วยการตั้งราคาไว้สูงกว่าตลาดมากๆ และรับซื้อไว้เอง บิดเบือนโครงสร้างของแรงจูงใจโดยการตั้งราคาไว้สูงมากๆ การตั้งราคาไว้สูงมากๆ ถึงร้อยละ 50 ของราคาตลาด ถ้าเป็นมีดก็จะเป็นมีดที่มาทิ่มแทงทำลายเศรษฐกิจข้าวและชาวนาของไทยเอง เพราะกลไกตลาดจะไม่สามารถคัดเลือกแบ่งเกรดข้าวอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนในอดีต แรงจูงใจและปริมาณการผลิตข้าวที่ไม่มีคุณภาพสูงขึ้น (ข้อมูลจากสมพร หนึ่งใน "นอส" นั้นคือ ปัจจุบันผลผลิตต่อไร่ของไทยก็ยังต่ำกว่าเวียดนามหรืออินเดีย) เพราะระบบรับจำนำข้าว ซื้อข้าวคละกันไป

การขยายตัวของอุปทานข้าวที่ไม่ได้มาจากผลิตภาพและการเปลี่ยนแปลงหรือนวัตกรรมใดๆ ขณะที่อุปสงค์ต่อราคาและรายได้ค่อนข้างต่ำในระยะยาวเพราะคนทั้งโลกรวมถึงคนไทยกินข้าวน้อยลงเรื่อยๆ ต่อคน เทคโนโลยีของโลกที่จะทำให้อุปทานข้าวเพิ่มง่ายและมากขึ้น หมายความว่าอุปทานจะมากกว่าอุปสงค์และแนวโน้มราคาจะลดลง



ถ้ามองในลักษณะการจัดองค์กรอุตสาหกรรมหมายและการกำหนดยุทธศาสตร์ เราควรจะควบคุมปริมาณการผลิตแต่สินค้ามีคุณภาพมีแบรนด์และราคาที่เป็นพรีเมี่ยม รัฐบาลไทยควรทุ่มเทช่วยเหลือด้านความรู้วิจัยในทุกรูปแบบเหมือนประเทศที่เจริญแล้วเขาทำ ในขณะที่เขาอุ้มภาคเกษตรโดยการพยุงราคาโดยนำเงินที่ผลาญสูญเสียไปจำนวนมากไปกับการรับซื้อข้าวที่มากและสูงเกินความจำเป็น ชาวนาไทยต้องแข่งกับคู่แข่งด้านคุณภาพสินค้า และต้นทุนเทคโนโลยีการผลิตโดยใช้คนน้อยลง ค่อยๆ เคลื่อนย้ายอย่างน้อยครึ่งหนึ่งออกไป ทำกิจกรรมอื่นๆ ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรที่ productive มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การรับซื้อข้าวแบบที่เป็นอยู่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ควรเป็นเกิดขึ้นไม่ได้

ถ้ารัฐบาลมีกึ๋นและทำได้เหมือนที่ประเทศที่เขาเจริญแล้วเขาทำ ประเทศไทยจะเปลี่ยนหรือพลิกแผ่นดินได้ เลิกตั้งราคารับซื้อให้สูงๆ เพื่อหวังคะแนนเสียงและซื้อข้าวมาเก็บไว้ไม่ยอมขายเสียเถอะ


#3 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 05:37

รอคำตัดสินของ ปปช. .........แล้วก็จะรู้เองแหล่ะครับว่า ทีหลัง "อย่าโกงชาติบ้านเมือง" !!! :D

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#4 butadad

butadad

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,119 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 07:14

รอคำตัดสินของ ปปช. .........แล้วก็จะรู้เองแหล่ะครับว่า ทีหลัง "อย่าโกงชาติบ้านเมือง" !!! :D


ใช่ครับ รอด้วยใจระทึก อยากรู้จริงๆว่าไอ้โครงการบ้านี่มันใช้คำว่าจำนำได้อย่างไร มีใครหน้าไหนมาไถ่ถอนบ้าง
ชื่อจริงๆของโครงการคือ โครงการซื้อแพงมาขายถูก(ไม่นับเวียนเทียนมาขาย) ต่างหาก

#5 ant

ant

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,081 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 07:36

วิจารณ์ไว้มากแล้ว แช่งก็มากแล้ว ด่าไว้ก็เยอะแล้วครับ

ช่วงนี้ของดการด่าไว้ 2 วัน เพื่อเป็นมงคลกับพ่อหลวงของเรา เรื่องอื่นปล่อยให้เป็นเรื่องของกรรมแล้วกัน

กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นตามสนอง
ตราบที่สูอยู่-กิน..แผ่นดินไทย ตราบโคตรเหง้าสูใช้แผ่นดินนี้ตราบศพสูฝังใต้..ไทยปฐพี สูไม่มีสิทธิ์ยํ่ายี.." พระเจ้าแผ่นดิน "

#6 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 14:35


รอคำตัดสินของ ปปช. .........แล้วก็จะรู้เองแหล่ะครับว่า ทีหลัง "อย่าโกงชาติบ้านเมือง" !!! :D


ใช่ครับ รอด้วยใจระทึก อยากรู้จริงๆว่าไอ้โครงการบ้านี่มันใช้คำว่าจำนำได้อย่างไร มีใครหน้าไหนมาไถ่ถอนบ้าง
ชื่อจริงๆของโครงการคือ โครงการซื้อแพงมาขายถูก(ไม่นับเวียนเทียนมาขาย) ต่างหาก


แค่เริ่มนโยบาย มันก็โกงกันตั้งแต่ "ตั้งชื่อ" แล้วครับ........แล้วแบบนี้ จะให้มีความซื่อตรงได้อย่างไรกันครับ!! :lol: :lol:

ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#7 บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,880 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 14:52

ถ้าอยากช่วยชาวนาจริงๆทำไมไม่รื้อโครงการระบบสหกรณ์ครับ
ความพึงพอใจของคนโง่ คือ หายนะ

#8 PHOENiiX

PHOENiiX

    ปู 4ssโกงชาวนา

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,226 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 18:10

รอคำตัดสินของ ปปช. .........แล้วก็จะรู้เองแหล่ะครับว่า ทีหลัง "อย่าโกงชาติบ้านเมือง" !!! :D


โดนแน่ค่ะ หลักฐานชัดๆ จะๆ ขนาดนั้น

#9 Emolution

Emolution

    โคตรพ่อโคตรแม่ควายแดง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,029 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 18:17

หลักฐานเพียบ

#10 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 22:17

เหอ เหอ เหอ ประกันราคาข้าว ยุคอภิสิทธิ์ ขาดทุน เพราะชาวนาที่ได้รับประโยชน์
จากโครงการ มันมากกว่านี้เยอะ ตัวเลขมันก็ย่อมสูงเป็นธรรมดา แต่ทีสำคัญก็คือมัน
ไม่ได้ประกันแค่ ราคา แต่ประกันไปถึงความเสียหายจากการทำนาด้วย แม้ชาวนา
รายเล็ก ๆ ที่ปลูกข้าวไว้กินเองก็ได้อานิสงค์ จากการประกันราคา แต่การขาดทุนมัน
ก็ยังไม่เท่ากับการ รับจำนำ ที่ชาวนาได้ประโยชน์จำนวนน้อยกว่ามาก 55555

นิธิ เชียร์โครงการ รับจำนำ อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ไม่รู้เคยโผล่ไปดูชาวนารายย่อยที่
ปลูกข้าวไว้กินเองหรือเปล่า ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้านาเขาล่มไป เขาจะเอาอะไรกิน
นาล่ม ทุนเขาหาย แม้กำไรจะไม่หดเพราะไม่ได้ปลูกขาย แต่เขาจะเอาทุนที่ไหนมาทำต่อ
ไม่มีทุนทำต่อ จะเอาข้าวที่ไหนกิน 555

ผลระยะยาว การรับประกันมันสามารถปรับตัวเองไปได้ตลอด ตลาดการค้าก็ไม่เสียหาย
แต่การ รับจำนำ มันส่อแววให้เห็นแล้วว่า ยิ่งยาวน่าจะยิ่งเจ๊ง เจ๊งทั้งเงินเจ๊งทั้งตลาดการค้า
ยังจะเชียร์กันแบบไม่ลืมหูลืมตาอีกเหรอ 55555




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน