กระทู้ห้องสมุด@พันทิปที่น่าสนใจครับ
#1
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 18:12
ลองไปดูทรรศนะของคนอื่นๆบ้างครับ
ขอถามโง่ๆ เลยครับ คุณคิดว่า ร.7 จะทรงประทานรัฐธรรมนูญให้เราจริงหรือหากไม่มี 2475
http://www.pantip.co.../K13048202.html
#2
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 21:34
ย้อนกลับไปแก้ไขอดีต ก็ทำไม่ได้
บางคนโปรคณะราษฎร์ ก็กล่าวหาผู้กุมอำนาจปกครองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
บางคนเป็น royalist ก็ด่าคณะราษฎร์ที่รวบอำนาจและแย่งชิงกันเป็นใหญ่
ประวัติศาสตร์ มีไว้ให้ศึกษา และหาทางปรับปรุงให้ทุกสิ่งดีขึ้น
ทุกวันนี้ กงล้อประวัติศาสตร์การเมืองยังคงหมุนเหมือนเดิม ไม่มีเปลี่ยน
แย่งชิงอำนาจ โกงกิน ทำเพื่อญาติมิตรใกล้ตัว กฎหมายใดขัดกับผลประโยชน์ก็ฉีกทิ้งเสีย แล้วเขียนใหม่ให้ตรงกับความต้องการ
น้อยคนมากที่เข้ามาในวังวนการเมือง ทำเพื่อประเทศและประชาชน
- sorrow, คนไทย916, Lucas Leiva Benitez Rodger and 3 others like this
#3
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 00:05
แต่ตามบันทึก ก็มีการเขียนรัฐธรรมนูญไว้แล้ว ถึงไม่ใช่แบบประชาธิปไตย แต่ก็เป็นรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ว่าคณะราษฎร์ทำไมไม่ได้รับการยกย่อง ก็ด้วยหลายเหตุผล
อย่างแรกคือ คณะราษฎร์ไม่ได้ล้มล้างทรราช เพราะร. 7 มิได้ทรงทำอะไรผิดในช่วงนั้น
คณะราษฎร์จึงไม่ได้มีสถานะเป็นวีรบุรุษหรือผู้กอบกู้อะไรเลย อยู่ดีๆ ก็ไปยึดเอาอำนาจปกครองประเทศมา
แถมทำในนามของประชาธิปไตย ทั้งที่ประชาชนไม่ได้รับรู้รับทราบแม้แต่น้อย
และการก่อการด้วยการใช้ทหาร ก็ทำให้อำนาจวนเวียนอยู่ในมือของฝ่ายทหาร
ทำให้การปฏิวัติรัฐประหารกลายเป็นความชอบธรรมอย่างหนึ่งไปเสียอย่างนั้น
ส่วนกระทู้นั้น อ่านก็สนุกดี บางคนแรกๆ ก็ดี หลังๆ เริ่มออกลาย
- isa likes this
~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~
#4
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 05:29
"คดีที่ดินรัชฎา ทักษิณโดนกลั่นแกล้ง" ...อ้าว แล้วคดีอื่นๆอีกเป็นกระตั้กล่ะครับ
ทั้งคดีเอ็กซิมแบงค์ คดีจ้างวานฆ่าชิปปิ้งหมู ไม่นับรวมคดีก่อการร้าย...ฯลฯ
...แล้วความคิดก็วนอยู่ในปลักเดิมๆ กลัวทหารปฏิวัติขึ้นสมอง แต่ดันรับได้กับรัฐตำรวจ
หรือนักการเมืองที่กู้มาโกงกันแบบหน้าด้านๆเป็นล่ำเป็นสัน อันธพาลการเมือง
ที่กร่างกลางเมืองข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม....ต้องบอกว่า ประชาธิปไตยพ่องเรอะ?
...ส่วนเรื่องกระทู้นั้นก็ยังมีคนแอ๊บใส่ร้ายเจ้า บอกว่าอำนาจจริงๆอยู่ที่กรมขุนนครสวรรค์พรพินิจ
จะขึ้นมาเป็น King แทน เอิ่ม ขออภัยนะครับ คนยุคนั้นโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าที่คนเขาเคารพเกรงใจ
เขามีสัจจะ เจ้าองค์ที่คนทั่วไปแม้แต่เจ้าด้วยกันเองไม่ไว้ใจก็คือพระองค์เจ้าบวรเดชต่างหาก
นั่นเป็นสาเหตุที่กองทัพโคราชพ่ายแพ้กลายเป็นกบฎบวรเดช ทั้งๆที่ตอนแรกมีทหารเข้าไปร่วมเยอะ
เพราะเคารพพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ-อาจจะจำยศท่านไม่แม่นยำนะครับ) ที่สู้จนตายในที่รบ
อยากถามเหมือนกันว่าแล้วรู้เรื่องที่ปรีดีแอบสอดใส้รัฐธรรมนูญโซเวียตฉบับนารวมให้ร.7 เซ็น
หลอกลวงคิดว่าท่านจะรู้ไม่เท่าทันหรือเปล่า จนกลายเป็นเรื่องให้คณะราษฎร์แตกคอกันตั้งแต่นั้นมาน่ะ
หรือจะแก้ตัวแถๆอย่างเคยว่าเป็นเรื่องใส่ร้ายจากฝ่ายโปรเจ้าน่ะ
#5
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 23:38
เป็นแค่การคาดเดาของผมเท่านั้นนะครับ
หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.
#6
ตอบ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 07:36
#################################################
พระบรมราโชบายการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดินใน ร.๕
พระราชหัตถเลขาตอบ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชดำรัสตอบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ หลังจากที่ทรงทราบความแล้วเป็นเวลาประมาณ ๔ เดือน เรียกสารนี้ว่าพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน แต่ตามต้นฉบับเรียกเรียกพระราชหัตถเลขานี้ว่า พระราชดำรัสตอบความเห็นของผู้ที่จะให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จ.ศ.๑๒๔๗ มีความว่า
"ด้วยเราได้รับหนังสือของท่านทั้งปวงลงชื่อพร้อมกันส่งมาเป็นความเห็นว่าด้วยอันตราย จะมีแก่บ้านเมืองอย่างไร การที่ควรจะหลีกหนีให้พ้นอันตราย ด้วยจัดการได้ถึงที่เพียงเท่าใด ความเห็นของท่านทั้งปวงที่กล่าวมาแล้วนั้น เราได้พิจารณาโดยถ้วนถี่ทุกข้อทุกประการแล้ว
ในเบื้องต้นนี้ เราขอตอบแก่ท่านทั้งปวงว่า เราชอบใจอยู่ในการซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าราชการของเราได้ไปเห็นการในประเทศอื่น แล้วระลึกถึงประเทศของตน ปรารถนาที่จะป้องกันอันตราย แลจะให้มีความยั่งยืนมั่นคงอยู่ในอำนาจอันเป็นอิสรภาพ ในข้อความบรรดาที่ได้กล่าวมาแล้วที่เป็นตัวใจความสำคัญทุกอย่างนั้น เรายอมรับว่าเป็นการจริงดังนั้น
ยกไว้แต่ข้อเล็กน้อยบางข้อ ซึ่งบางทีจะเป็นเข้าใจผิดไป แต่หาเห็นควรที่จะยกขึ้นพูดในที่นี้ไม่ แต่เราขอแจ้งความแก่ท่านทั้งปวง ให้ทราบพร้อมกันด้วยว่าความที่น่ากลัวอันตรายอย่างใดซึ่งได้กล่าวมานั้น ไม่เป็นการที่จะแลเห็นได้ขึ้นใหม่ของเราเลย แต่เป็นการได้คิดเห็นอยู่แล้วทั้งสิ้น แลการที่ควรจะทำนุบำรุงให้เจริญอย่างไรเล่า เราก็มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะได้จัดการนั้นให้สำเร็จตลอดไปได้ ไม่ต้องมีความห่วงระแวงอย่างหนึ่งอย่างใด ว่าเราจะเป็นผู้ขัดขวางในการซึ่งจะเสียอำนาจ ซึ่งเรียกว่าแอบโซลูด (Absolute) เป็นต้นนั้นเลย
เพราะเราได้เคยทดลองรู้มาแล้ว ตั้งแต่เวลาเป็นตุ๊กตา ซึ่งไม่มีอำนาจอันใดเลยทีเดียว นอกจากชื่อ จนถึงเวลาที่มีอำนาจขึ้นมาโดยลำดับจนเต็มบริบูรณ์ในบัดนี้ "ในเวลาที่มีอำนาจน้อยปานนั้นได้ความลำบากอย่างไร และในเวลาที่มีอำนาจมากเพียงนี้ ได้ความลำบากอย่างไรเรารู้ดี จำได้ดี" เพราะที่จำได้อยู่อย่างนี้เหตุไรเล่าเราจึงจะมีความปรารถนาอำนาจปานกลาง ซึ่งจะเป็นความสุขแก่ตัวเรา แลจะเป็นการมั่นคงถาวรของพระราชอาณาจักรด้วยนั้น เพราะเหตุฉะนี้เราขอให้ท่านทั้งปวงเข้าใจว่าเราไม่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งจะต้องบีบคั้นให้หันลงหาทางกลาง เหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินยุโรป ซึ่งมีมาในพงศาวดาร
แลเพราะความเห็น ความรู้ซึ่งเราได้เป็นเจ้าแผ่นดินมาถึงสิบแปดปี ได้พบได้เห็นแลได้เคยทุกข์ร้อน ในการหนักการแรงการเผ็ดการร้อนของเมือง ซึ่งมีอำนาจจะมากดขี่ประการใด ทั้งได้ยินข่าวคราวจากเมืองอื่น ๆ ซึ่งมีเนือง ๆ มิได้ขาด แลการซึ่งเราได้ขวนขวายตะเกียกตะกาย อยู่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงมาแต่ก่อน จนมีเหตุบ่อย ๆ เป็นพยานของเราที่ยกขึ้นชี้ได้ว่า เราไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเหมือนอย่างกับคางคกอยู่ในกะลาครอบ ที่จะพึงทรมานให้สิ้นทิฐิถือว่าตัวโตนั้นด้วยอย่างหนึ่งอย่างใดเลย
เมื่อเราได้ชี้แจงถึงตัวเราเอง ว่าไม่เป็นผู้กีดแก่การจำเริญแลการมั่นคงของบ้านเมืองดังนั้นแล้ว เรายังต้องเป็นผู้รับผิดที่คนทั้งปวงจะลงร้าย ว่าเพราะเราเป็นคนอ่อน ไม่สามารถที่จะหักหาญแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เพราะความเห็นซึ่งจะถือว่า ถ้าเราประสงค์อย่างไรการนั้นคงจะตลอดไปได้ การซึ่งไม่ตลอดไปได้เพราะเราไม่คิดจะให้ตลอดดังนี้ ดูเหมือนเราเป็นผู้ทำให้เสียอำนาจเจ้าแผ่นดินไป เพราะความอ่อนของตัว ในความข้อนี้ เราไม่อยากจะซัดโทษให้แก่ท่านแต่ก่อนเลย แต่เป็นการจำเป็นที่จะต้องพูดว่า อำนาจเสนาบดีเจริญขึ้น เพราะมีอำนาจได้ตั้งเจ้าแผ่นดินมาแต่ก่อนมากนักแล้ว จนตลอดถึงเวลาเราได้เป็นเจ้าแผ่นดินขึ้น ก็เป็นเวลาเคราะห์ร้าย ที่ตัวเราเป็นเด็ก เป็นโอกาสยิ่งใหญ่ที่จะถอนอำนาจเจ้าแผ่นดินได้หมด เหมือนว่าวที่ปล่อยจนหมดสายป่านไม่มีเหลือเลย ยังเหลือแต่ธุระที่เราจะทำอยู่เพียงจะชั่งกำลังตัวว่า เมื่อเราเป็นเด็กอยู่มีกำลังเพียงเท่านั้น จะรั้งว่าวนั้นไม่ให้หกล้ม ฤาจะปล่อยให้ว่าวหลุดลอยเสีย แต่เป็นเดชะบุญที่เราเป็นแต่เด็กกำลังเดียวเท่านั้น ได้อาศัยเอาป่านพันหลักค่อย ๆ สาวเข้ามา จนไม่มีอันตรายหลุดลอยไปได้ แต่ก็ยังเป็นพนักงานอย่างเดียวที่จะสาวสายป่านให้สั้นเข้ามาทุกที สั้นเข้ามาทุกที เมื่อเหลือกำลังก็หย่อนไป เมื่อพอที่จะสาวก็สาวเข้ามาพันหลักไว้ เมื่อผู้ใดได้รู้การเก่า ผู้นั้นจะเห็นได้ว่าความยากลำบากของเรา เป็นประการใด ถ้าผู้ที่ได้เห็นแต่การภายหลังก็จะเข้าใจว่า เราได้นั่งขี้เกียจฤาโง่เซอะ มาเป็น ๑๗ - ๑๘ ปี ที่พูดมานี้ถ้าจะฟังในเวลานี้ ก็เห็นเป็นการเพ้อเจ้อ แต่ถ้าคิดถึงแต่ก่อนแล้วยิ่งเป็นการสำคัญมาก ยากที่จะทำ ซึ่งเราถือว่าเราไม่ได้ขี้เกียจอยู่เปล่าเลย ยกเอามาว่านี้เพราะจะให้เห็นว่าการแต่ก่อนนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุใดคำซึ่งถือว่าความปรารถนาของเราเป็นสำคัญ จะใช้ทั่วไปทุกเวลาไม่ได้ เราไม่ยอมรับผิดชอบในนั้นเลย เพราะเราได้ทำการเต็มกำลังแล้ว แต่เวลาปีหนึ่งสองปีนี้ดูเป็นโอกาสดีขึ้นมาก ที่ควรจะจัดการต่อไปอีกได้ เราก็ได้คิดจัดการต่อไปเมื่อได้รับอนุญาตของเรานั้น เป็นที่ชอบใจของเราอยู่ เราเห็นสมควรที่จะชี้แจงการที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้อย่างไร ความต้องการของเมืองเรานั้นต้องการอันใด ที่ผู้ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้ชิดต่อราชการ จะรู้แน่ได้โดยยาก
คือราชการในเมืองเรานี้ ถ้าจะเทียบกับประเทศอื่น ๆ การแต่เดิม ๆ มานั้น การเอกเสกคิวตีฟ (Executive) กับลิยิสเลตีฟ รวมอยู่ในเจ้าแผ่นดินกับเสนาบดีโดยมาก แต่ครั้งเมื่อ ริเยนซี (Regency) ในตอนต้น อำนาจนั้นก็อยู่แก่ริเยนต์ (Regent) แลเสนาบดีทั้งสองอย่าง ครั้นภายหลังมาเมื่อเราค่อยมีอำนาจขึ้น ตำแหน่งเอกเสกคิวตีฟ (Executive) นั้นเป็นที่หวงแหนของริเยนต์ (Regent) แลจนถึงเคานซิล (Council) ที่ปรึกษาทำกฎหมายเนือง ๆ เป็นต้น จนตกลงเป็นเสนาบดีเป็นคอเวอนเมนต์ (Government) เราก็กลายเป็นหัวหน้าของพวกลิยิสเลติฟเคานซิล เป็นออปโปลิชั่น (Oppolition) ของคอเวอนเมนต์ (Government) ตรง เมื่อภายหลังมามีเหตุการณ์ในการคอเวอนเมนต์ (Government) มากขึ้น เป็นโอกาสที่เราจะได้แทรกมือลงไปได้บ่อย ๆ เราจึงได้ถือเอาอำนาจเอกเสกคิวตีฟ (Executive) ได้ทีละน้อยละน้อย จนภายหลังตามลำดับ ลำดับมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ เรากลายเป็นตัวคอเวอนเมนต์ เราเชื่อเป็นแน่ว่าในการลิยิสเลตีฟเคานซิลครั้งนั้น คงจะได้แรงเพราะเรา จึงได้ทำการตลอดไปได้ไม่มากก็น้อย ครั้นเรากลับมาเป็นเอกเสกคิวตีฟคอเวอนเมนต์ (Executive Government) เสียแล้ว การลิยิสเลตีฟไม่มีผู้อุดหนุน เพราะเป็นการเหลือกำลัง ที่เราจะทำทั้งสองอย่างได้ตลอดเช่น พระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ด้วยราชการเกิดขึ้นมากกว่าหลายสิบเท่านัก แลเพราะเมมเบอร์ที่เป็นตัวสำคัญขาดไปเสียบ้าง จึงทำให้ลิยิสเลตีฟเคานซิลมีเสียงอ่อนไป ทำกฎหมายอันใดก็ไม่ใคร่จะทำสำเร็จได้ โทษที่การลิยิสเลตีฟเคานซิลเสียไป จะลงเอาว่าเพราะแต่ก่อนเราตั้งใจ อุดหนุนอยู่การจึงตลอดไป ในภายหลังเพราะเราทิ้งเสียจึงเสียไป ก็ต้องรับว่าเป็นการจริงอยู่ แต่ต้องขอชี้แจงให้เข้าใจอีกว่า การที่เราทำอยู่ในตำแหน่ง เอกเสกคิวตีฟคอเวอนเมนต์นี้ ถ้าจะเปรียบกับการคอเวอนเมนต์อังกฤษก็เหมือนหนึ่งเป็นปรีเมียเองในตัว แต่ได้เปรียบกว่ากันคนละอย่างคือ ปรีเมียอังกฤษต้องรู้การคิดการที่สำคัญทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นไว้แต่การเล็กน้อย คนอื่นทำไปได้ตำแหน่งมินิสตรี (Ministry) ของตัว แต่ส่วนเราต้องรู้การตั้งแต่ใหญ่ลงไปจนเล็กทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องทำเองสั่งเองทุกสิ่ง ตลอดจนถ้อยความเล็กน้อย ไม่ใคร่จะได้อาศัย ฤาไม่ได้อาศัยเสนาบดีตามตำแหน่งนั้น ๆ เลย เราต้องรับการตำแหน่งนี้หนักยิ่งกว่าปรีเมียอังกฤษ แต่ปรีเมียอังกฤษต้องนั่งในเฮาสออฟปาลียเมนต์ คอยแก้ความ ส่วนเราไม่ต้องนั่งเป็นได้เปรียบปรีเมียอังกฤษ เมื่อการของเราหนักปานนี้ ไม่มีเวลาที่จะหยุดได้ จึงไม่ได้อุดหนุนในการลิยิสเลตีฟเคานซิล ให้แข็งแรงได้เหมือนแต่ก่อน จะหาเวลาที่จะเรียงหนังสือให้ยาว ๆ หน่อยหนึ่งก็ยากเป็นที่สุด อย่าว่าแต่จะทำกฎหมายเลย แต่ในการเอกเสกคิวตีฟคอเวอนเมนต์ เราสามารถที่จะพูดได้ว่า ยังชั่วขึ้นกว่าแต่เป็นแน่ แต่จะเรียกว่าดีนั้นไม่ได้เลย เพราะมีช่องที่จะเสียได้มาก แลไม่เป็นการถาวรด้วย
เพราะฉะนั้น การต้องการในเมืองเราเวลานี้ ที่เป็นต้องการสำคัญนั้นคือ คอเวอนเมนต์รีฟอม (Goverment Reform) จำเป็นที่จะให้พนักงานของข้าราชการแผ่นดินทุก ๆ กรม ทำการให้ได้เนื้อเต็มหน้าที่ แลให้ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน ทำการเดินให้ถึงกันโดยง่าย โดยเร็วทำการรับผิดชอบในหน้าที่ของตัว หลีกลี้ไม่ได้ นี่เป็นความต้องการอย่างหนึ่ง
ความต้องการอีกอย่างหนึ่งนั้นคือ ผู้ทำกฎหมายให้เป็นผู้สำหรับที่จะตริตรองตรวจการทุกสิ่งทุกอย่าง ในพวกที่ว่ามาแล้วนั้น จะทำฤาตัดสินการขัดข้องด้วยทุกวันนี้ จะหาผู้ที่ทำกฎหมายได้ เกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีทีเดียว ได้คิดที่จะทำกฎหมายอันใดอันหนึ่งหลายเรื่องนักหนาแล้ว ไม่สำเร็จไปได้สักเรื่องหนึ่ง เพราะผู้ที่จะทำได้นั้น มักเป็นผู้ที่มีการในตำแหน่งที่ต้องทำเสมอจนเหลือที่จะทำได้ ถ้าจะให้ประชุมเคานซิลทำอย่างเช่นแต่ก่อน ก็ไม่สำเร็จได้เลยสักเรื่องเดียว ความต้องการทั้งสองสิ่งนี้ เป็นต้องการใหญ่ของเมืองเรา
ในการที่จะจัดตำแหน่งเสนาบดีให้รับการได้จริงทุกสิ่งทุกอย่างในสำรับเก่าที่เป็นอยู่บัดนี้ ให้กลับทำการอย่างใหม่ได้จริงนั้นไม่ยาก แต่เพียงที่เคยเป็นออปโปสิชั่น (Opposition) กันมาเสียแต่ก่อน ที่จำเป็นจะต้องเห็นไม่ต้องกัน ฤาแกล้งบิดพลิ้วจะให้เสียนั้นอย่างเดียวเลย เป็นการที่เหลือกำลังจะทำไปได้ก็มี เหมือนอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ กงสุลฝรั่งเศสมีหนังสือมา เรื่องประกาศห้ามไม่ให้บรรทุกกำลังศึกเข้าไปในเมืองจีน เราจึงได้มีคำสั่งเจ้าพระยาภาณุวงศ์ให้ทำคำประกาศ แลให้แปลหนังสือที่ประเทศทั้งปวง ได้ตกลงกันอย่างไร ลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ให้ลูกค้าทั้งปวงทราบ ได้สั่งการโดยละเอียดถ้วนถี่แล้ว ครั้นเมื่อร่างประกาศมาให้เราดู มีข้อความเพิ่มเติมลงไปอีก ว่าเมืองไทยเรามีแต่ข้าวเป็นสินค้า ข้าวไม่เป็นอาวุธ ไม่ต้องห้ามดังนี้ ที่เติมลงนี้ก็ประสงค์จะให้ดีเท่านั้น ใช่จะแกล้งอย่างหนึ่งอย่างใดเลย แต่หาได้ดูในหนังสือฉบับที่ให้แปลนั้นเองไม่ ว่าเขาจะกำหนดห้ามอันใด จะประกาศให้ทราบแลไม่มีกำหนดว่าจะห้ามอันใดบ้าง แลมีหนังสือพิมพ์ข่าวโทรเลข ในเวลานั้นลงออกอึงไปว่า ฝรั่งเศสจะห้ามแต่ข้าวอย่างเดียว ก็ไม่รู้เสียการวางมือไปไม่ได้อย่างนี้ ท่านเสนาบดีกรมนี้ก็นับว่าเป็นผู้มีปัญญายังชั่วกว่ากรมอื่น ๆ ยังเป็นดังนี้จะป่วยกล่าวไปไยถึงกรมอื่น ๆ เล่า เพราะเหตุอันนี้เราจึงต้องรับภาระอันหนัก โดยมิได้อยากจะขวนขวายไปรับเอามาเลย ดังเช่นกล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ถึงตัวท่านเสนาบดีเองเล่า เราก็เชื่อแน่ว่าได้รู้ตัวเหมือนกันว่า กำลังตัวเองไม่พอที่จะรับแก่การปัตยุบันนี้ได้ บางครั้งบางคราวเป็นแน่ จึงได้พากันหลบเลี่ยง ไม่ใคร่อยากเข้าที่ประชุมเลยเป็นนิจ ถ้าเข้าที่ประชุมก็ไม่พูดเสียบ้าง พาลโกรธน้อยอกน้อยใจเป็นการดูถูกดูแคลนไปบ้าง ฤาพูดออกมาแล้วการนั้นมักไม่ใคร่จะได้เป็นตามพูด เพราะความเห็นอย่างอื่นมีมากกว่า ก็เห็นเป็นคำพูดของตัวไม่มีราคาทำให้เกิดความท้อถอยเห็นเสียว่า สู้รักษาให้เป็นคมในฝักไม่ได้ เมื่อการเป็นอยู่ดังนี้ ก็เป็นเหตุที่ชวนให้คิดอยากเปลี่ยนแปลงใม่ แต่ต้องคิดอีกว่า การที่จะเปลี่ยนแปลงนั้น ในท่านสำรับเก่านี้จะทำการได้ฤาไม่ เมื่อทำการไม่ได้แล้วก็มีช่องเดียวแต่จะต้องรีไซน์
การที่มินิสเตอร์ (Minister) จะรีไซน์ (Resign) พร้อมกันมาก ๆ ซึ่งไม่เคยมีในเมืองไทยเลย จะมีเหตุผลประการใดท่านทั้งปวงก็ได้คิดชั่งคิดตวงมาแล้วทุกอย่าง แต่การที่ชั่งตวงนั้นจะถือว่า เป็นความถูกต้องมาแต่ดั้งเดิม เว้นแต่ไม่คิดนั้นไม่ได้ ถ้าเป็นแต่ก่อน จะชั่งน้ำหนักอย่างนี้ไม่ได้เลย แต่ในเวลานี้เราเห็นว่าจะเป็นไปได้อยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไร ๆ ก็ดี ยังเป็นที่ตะขิดตะขวงใจมากแลเป็นที่ตกใจของคนตลอดหัวเมือง ทั่วพระราชอาณาเขตไม่น้อยเลย แต่บางทีก็จะมีเหตุผลได้บ้าง แต่ที่จะเป็นใหญ่โตอันใดไปเป็นไปไม่ได้ ผู้ซึ่งนั่งอยู่นอกจากวง ก็แลเห็นว่าไม่เป็นการยากอันใด แต่ผู้ซึ่งจะเป็นผู้ทำนั้นเป็นความลำบากอยู่บ้าง แต่การเรื่องนี้ก็ได้รั้งรอมานาน แลได้คิดแก้ไขอย่างอื่นมากแล้ว ก็เห็นเป็นการไม่ตลอดได้ ราชการทั้งปวงก็บีบคั้นเร่งรัดเข้า แลโอกาสที่จะจัดก็คอยโปร่ง ๆ ขึ้นทุกที เห็นเป็นเวลาที่ควรจะจัดได้ เราจึงขอบอกท่านทั้งปวงว่าการเรื่องนี้เรากำลังได้คิดจะจัดอยูทีเดียว เมื่อท่านทั้งปวงจะช่วยคิดแล้ว จงคิดการเรื่องนี้เถิด จะได้เทียบเคียงกับความคิดที่ในกรุงเทพ เลือกเอาตามภาระที่สมควรแก่บ้านเมือง
ในส่วนลิยิเลตีฟเคานซิลนั้น เป็นการจำเป็นจะต้องมีดังเช่นเราได้กล่าวมาแล้ว แต่ไม่เป็นการง่ายเลย ที่จะหาตัวผู้ซึ่งจะเป็นการได้จริง ผู้ซึ่งจะมีปัญญาชี้เหตุการติแลชมได้นั้นมีมากคนไป แต่ไม่พ้นจากที่จะเหมือนกับชี้บอกว่า สิ่งนี้แดง สิ่งนี้ดำ สิ่งนี้ขาว ซึ่งแลเห็นอยู่แก่ตาทั่วกันแล้วอย่างนั้นเอง แต่ผู้ซึ่งจะทำให้เป็นรูปร่างอย่างใดเข้านั้น ไม่ใคร่มีตัวเลย อยู่ในไม่พ้นแล้วแต่จะโปรด ฯ ฤาถ้าทรงแล้วก็ได้ แต่ถ้าจะทรงด้วยกำลังเองไม่ไหว ให้ไปทำมาก็เปล่าทั้งนั้น นิ่งเงียบ ๆ เสียพอลืมแล้วก็กลายเป็นเพราะไม่ทรง จึ่งได้ค้าง ส่วนตัวเราเองที่ไหนไหวเพราะการออกเป็นก่ายเป็นกองดังเช่นกล่าวมาแล้ว ถ้าลิยิสเลตีฟเคานซิลที่ตั้งขึ้นใหม่ ยังเป็นอย่างนี้อยู่แลัว ไม่มีดีกว่ามีเพราะเราจะถูกตั้งชื่อว่าเป็นผู้สำหรับที่เขาจะว่าเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อันใดขึ้นอีก การเรื่องที่จะทำกฎหมาย และจะคิดการทั้งปวงในกระบวนได้เสียของกฎหมายที่จะออกไปเหล่านี้ เราเห็นว่าแต่กำลังคนไทยที่จะตั้งขึ้นเป็นลิยิสเลตีฟเคานซิล คงจะทำไม่ตลอดเป็นแน่ ด้วยการเกี่ยวข้องเจือปนกับต่างประเทศมากนัก เหลือความรู้ที่จะรู้ไปได้จริง ๆ จำเป็นจะต้องมีหมอความคนหนึ่งฤาสองคน มาเป็นที่หารือจึ่งจะทำการไปได้
การสองสิ่งนี้ รวมความก็อย่างเดียวกันคือ คอเวอนเมนต์รีฟอม (Goverment Reform) นี่แหละเป็นต้นเหตุที่จะจัดการทั้งปวงได้สำเร็จตลอด ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นการเรียบร้อยได้แล้ว การอื่น ๆ ยากนักที่จะตลอดไปได้ เพราะฉะนั้นเราจึ่งขอให้ท่านทั้งปวงคิดการเรื่องนี้ ตามที่รับมาว่าจะคิดนั้นคิด การอื่น ๆ ที่จะต้องรีฟอมบ้าง จัดขึ้นใหม่บ้างนั้น เราของดไว้พูดต่อภายหลัง ซึ่งเราพูดอธิบายถึงตัวเราเองดังกล่าวข้างต้นนั้น ใช่จะมุ่งหมายปักหน้าว่า ท่านทั้งปวงลงเนื้อเห็นเอาว่าเราเป็นดังเช่นที่ได้กล่าวมานั้นทั่วไป เราเชื่อว่าคงมีผู้รู้แน่ว่าใจเราเป็นอย่างไร แต่ที่ว่าให้ตลอดดังนี้ เพื่อว่าคนในปัตยุบันนี้ฤาสืบไปภายหน้าที่ไม่สามารถรู้น้ำใจเรา เมื่อได้ยินได้ฟังการทั้งนี้ จะเข้าใจน้ำใจของเราผิดไป จึ่งจำเป็นจะต้องว่าไว้ให้ตลอด ตามความที่เป็นจริงอย่างไรในใจของเรา"
(พระราชหัตถเลขา) สยามินทร์
Edited by jairlinethai, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 08:17.
- ยิ่งรัก(โพย) and QueenBee like this
จุดยืนของผม "ต่อต้านระบอบทักษิณ, เสื้อแดง, พวกล้มเจ้า ไม่เอาแป๊ะลิ้ม"
#7
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 07:11
######################################################
รายงานการชุมนุมกรรมการองคมนตรี เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๔๗๐
พระโอวาทผู้ทรงเป็นประธาน (สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต) .....
.....องคมนตรีนี้ได้มีมาแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นเวลานานแล้ว....ทรงพระราชดำริว่ากิจการเป็นโบราณอยู่มาก..... การโบราณนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามประเทศตะวันตกที่รุ่งเรือง แต่ผู้ที่ทรงใช้สรอยอยู่ในเวลานั้น จะหาผู้ทรงแก่เรียนแทบไม่มี ผลที่สุดเมื่อทรงตั้งแบบขึ้นก็เป็นการถ่ายมาจากแบบฝรั่งยิ่งกว่าดัดแปลง (adoupt) ให้เหมาะดีกับกาลเทศะ พระราชประสงค์ที่ตั้งรัฐมนตรี Councillor of State และองคมนตรี Privy Couneillor ก็ตั้งไปดังนั้น แต่คนเหล่านั้นทำการตามหน้าที่ไม่ได้จริงจัง..... แต่ที่ได้ตั้งองคมนตรีทั้งหลายต่อมา ก็เพื่อแสดงความไว้วางพระราชหฤทัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ liberal มาก ถึงแม้ทรงเห็นว่าบ้านเมืองชอบปกครองด้วยอาญาสิทธิแต่ก็เป็นอาญาสิทธิที่ liberal
ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงทราบแน่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชหฤทัย liberal ได้เคยทรงสนทนากันมาแต่ก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วในเรื่อง Form of Government ย่อมทรงตระหนักพระราชหฤทัยอยู่ว่า รูปการปกครองอย่างที่ดีนั้น ก็คือที่เหมาะที่สุดสำหรับบ้านเมืองโดยกาละ ถึงแม้ว่าในเวลานี้ยังจำเป็นต้องคงใช้รูปการปกครองโดยอาญาสิทธิ อาญาสิทธินั้นต้องให้เป็นอย่าง liberal อย่างยิ่งจึงจะทรงตัวอยู่ได้ แต่วันล่วงไปก็ยิ่งจะมีคนที่ได้ศึกษามีความรู้มากขึ้น จะต้องคิดการไว้เตรียมรับ cmancipation ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยลำดับ
เมื่อไรเล่าจะถึงเวลาต้องเปลี่ยนรูปการปกครอง ทรงพระราชดำริห์ว่า เมื่อประชาชนมีความรู้พอแก่การแล้วจึงจะให้ paliamentary system เป็นผลได้ และก็คงจะต้องถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองเช่นนั้นในวันหนึ่งแน่นอน ในขณะรอเวลาที่จะมานั้น เราจะต้องคิดดูว่าจะรอให้ราษฎรเรียกร้องเอาเองฤาจะชิงให้เสียก่อน ถ้าขัดไว้ช้าเกินไปแล้วต้องยอมให้ ก็ไม่เหมาะและอาจจะมีผลร้าย ถ้าแม้ว่ายอมให้เร็วไป ราษฎรยังไม่มีความรู้ ก็อาจไม่เป็นการเป็นงาน และอาจเป็นผลถึงจลาจล เหมือนดังเช่นได้เคยเห็นตัวอย่างในเมืองอื่น ๆ
การที่จะเก็งเวลาให้เหมาะว่าเมื่อใด จะพึงเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น Representative Government นั้น เป็นการยากหนักหนา ใครสามารถเก็งถูกก็ชื่อว่าเป็น Stateman อันวิเศษทีเดียว โดยเหตุนี้ เราควรจะหาทางเตรียมทางเข้าหาอย่างใดได้บ้าง ทรงเห็นว่ามีอย่าง ๑ ปล่อยให้มีการประชุมขึ้นทีละเล็กทีละน้อย อย่างที่ประเทศอังกฤษเขาทำแก่ colonies ของเขาเป็นชั้น ๆ โดยลำดับไป เช่นด้วย Municipal Council, Local Gocernment ฤา Legistative Council.....
และเนื่องน้ำพระราชหฤทัยเป็นดังกล่าวมาแล้ว กรรมการจะออกความเห็นอย่างใด ก็ไม่ต้องพึงกลัวเกรงว่า จะทรงถือเป็นการคิดล้างพระราชอำนาจฤาล่วงเกินอย่างหนึ่งอย่างใดเลย ขอให้กรรมการทั้งหลายแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์แก่การบ้านเมือง.....
ความเห็นส่วนมากอย่างไร ก็จักได้นำความกราบบังคมทูลพร้อมกันกับความเห็นส่วนน้อย
ฯลฯ
พระองค์เจ้าธานี ฯ (กรรมการ)
.....เข้าใจว่าพระดำริห์อันนี้เดินโดยหลักสมมติเอาว่า ประชาธิปไตยเป็นของจำเป็น และพึงถือเป็น World Axiom อันหนึ่ง..... เพราะเห็นว่าประชาธิปไตยที่แพร่หลายไปมากนั้น เกิดจาก prestige ของพวก Anglo - Saxon สหปาลีรัฐอเมริกาได้ริตั้ง demoeratic - system ขึ้น มีอเมริกาใต้และฝรั่งเศสได้รับรองเอาไปใช้ แต่ก็ไม่เห็นเป็นผลจริงจัง ทรงเห็นว่าถ้าไม่ใช่พวก Anglo - Saxon แล้ว ชาติอื่น ๆ ยังทำไม่ได้สำเร็จดี ถ้าสังเกตุประเทศที่ใกล้เคียงบ้านเรา เท่าที่จีนทำไปอย่างพวก Anglo - Saxon นั้นก็มีผลให้มีการจลาจล ประเทศญี่ปุ่นนั้นถึงจะมี Paliament แท้จริงหัวใจของการปกครองก็ยังเป็นรูป autocracy หัวใจราษฎรยังตรงข้ามกับ democratic principle จึงทรงเห็นว่าชาวตะวันออกน่าจะเหมาะแก่การปกครองเป็น patriarchal ไม่น่าเชื่อว่าการปกครองจะมาจากส่วนล่างขึ้นไปส่วนสูง
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (กรรมการ)
เห็นพ้องกับพระดำริห์ผู้ทรงเป็นประธานเป็นส่วนมาก..... คนไทยมีลักษณะดัดง่าย เปลี่ยนง่ายอาจดัดได้ด้วยการศึกษาแน่นอน แต่มีความจริงที่ปรากฎแล้วอย่างหนึ่งคือ ว่าการจะหัดให้ราษฎรรู้จักปกครองด้วยวิธี Representative Government นั้นเป็นการยากต้องกินเวลานาน ญี่ปุ่นได้ทำมาแล้ว เป็นเวลานานปีก็ได้ผลเพียงนี้ ประเทศอื่น ๆ ก็มีครูมาฝึกหัดให้ เช่น ฟิลิปปินส์ ก็ทำอยู่เป็นเวลาตั้ง ๒๐ ปีแล้ว..... ในการเลือกผู้แทน ถ้าขาดการศึกษาก็เป็นการเลือกส่วนตัวยิ่งกว่าเอาการงานเป็นใหญ่ Democracy ที่บกพร่องก็เพราะคนยังเห็นแก่ตัวเป็นส่วนมาก.....
หม่อมเจ้าสิทธิพร (กรรมการ)
.....ทรงเห็นว่าถ้าคิดถึงการภายหน้าแล้ว การที่มี absolute monarchy นั้นก็มีอันตราย danger ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงไว้ซึ่งสุติปัญญาดีก็เกิดการเสียหายได้ เพราะเหตุฉะนั้น ประเทศอื่น ๆ จึงมี limit พวกที่จงรักภักดีต่อแผ่นดิน จึงพยายามหน่วงพระราชอำนาจ ทรงเห็นว่าเมื่อบ้านเมืองมีการศึกษา educa tion ดีก็ต้องมีเสียงราษฎรมากขึ้น สภากรรมการองคมนตรีนี้ควรเป็น advisory body
พระยาสุรินทราชา (กรรมการ)
เห็นพ้องกับหม่อมเจ้าสิทธิพรว่าสภานี้ควรเป็น Consultative body เมื่อฟังตามพระกระแสผู้ทรงเป็นประธาน เห็นว่าที่ประชุมองคมนตรี เปิดโอกาสให้ราษฎรได้รับความพอใจ ว่าเป็นพระมหากรุณาที่ทรงหวังพระราชหฤทัยแก่ความทุกข์สุขของเขา เวลานี้หนังสือพิมพ์ตะโกนเอาอำนาจ ถ้าปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นอันตรายมากที่สุด ที่ประชุมจะเป็นหัวเงื่อนของรัฐบาลกับประชาบาล การกำเริบของราษฎรจะบันเทาลง เพราะว่าถ้ามี consultative body ขึ้นแล้ว เมื่อพระราชทานเรื่องลงมาให้ปรึกษาหารือกัน ถ้าราษฎรรู้สึกว่ามีหม่อมเจ้าสิทธิพร ที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่ในที่ชุมนุมเป็นผู้แทนของเขาแล้ว เขาก็คงพอใจ และคงจะไม่ไปตะโกนในหนังสือพิมพ์ว่าได้รับความเดือดร้อน และไม่มีใครป้องกันผลประโยชน์ของเขา
พระยาจินดาภิรมย์ (กรรมการ)
.....กรุงสยามได้มีความจำเริญขึ้นโดยลำดับ จนนานาประเทศได้ยอมรับแลกเปลี่ยนหนังสือสัญญาใหม่ ยอมให้ไทยมีฐานะเสมอภาค (autonomy) ดังนั้นเป็นที่ยินดีมาก แต่ผลอันเกิดจากความเสมอภาคนี้ ย่อมนำมาซึ่งหน้าที่ ที่จะต้องจัดรูปการปกครองให้เหมาะกับการ เพื่อมิให้ล้าหลังอยู่ได้ แต่การที่จะจัดนี้ จะหักโหมทำไปให้เท่ากับเขาทีเดียวนั้นย่อมไม่ได้อยู่เอง จำต้องค่อยเป็นค่อยไป จึงเห็นว่าเป็นการสมควรแล้วที่จะได้เตรียมการไปแต่บัดนี้ ฯลฯ
.....ที่ประชุมกรรมการนี้จะให้เป็น advisory body ก็ยังได้ผลทางอ้อมอย่างหนึ่ง..... ด้วยเหตุเหล่านี้จึงขอสนับสนุน (support) เรื่องตามที่ผู้ทรงเป็นประธานรับสั่งนั้น
พระยาเทพวิทูร ฯ (กรรมการ)
เห็นว่าตามกระแสรับสั่งผู้ทรงเป็นประธานว่าให้เตรียมตัวหาหนทางสำหรับการภายหน้า อันเป็นหัวเงื่อนหัวต่อนั้นดีนัก พร้อมที่จะฉลองพระเดชพระคุณ เห็นชอบด้วยพระราชดำริห์
พระยาโกมารกุลมนตรี (กรรมการ)
ว่าพระราชประสงค์จะให้มี Body ขึ้นในหมู่องคมนตรี เลือกแต่บุคคลที่ทำงานได้จริงจังนั้น เป็นพระราชดำริห์ที่ดีนัก ส่วนหน้าที่ของคณะนี้ เห็นควรว่าเป็นเพียง consultative Body
ฯลฯ
Edited by jairlinethai, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 14:42.
จุดยืนของผม "ต่อต้านระบอบทักษิณ, เสื้อแดง, พวกล้มเจ้า ไม่เอาแป๊ะลิ้ม"
#8
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 07:18
หนูน้อยอาเลย์นา น่ารักจุงเบย
#9
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 07:49
#10
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 14:21
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม คือ ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
คุณธรรมที่พร้ำสอน ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา ส่วน ประชาธิปไตยน่ะรึ เอาเข้าจริงๆ สำคัญอันใด??
#11
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 14:49
พระราชบันทึกระบอบประชาธิปไตยในประเทศสยาม (มิถุนายน พ.ศ. 2470)
พระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ระบอบประชาธิปไตย" ปรากฏชัดเจนในพระราชบันทึกภาษาอังกฤษที่มีความยาว 3 หน้ากระดาษ พระราชทานลงมายังคณะกรรมการจัดระเบียบองคมนตรี เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2470
ข้าพเจ้าเองค่อนข้างจะคิดว่าประชาธิปไตยอันแท้จริงนั้น จะเป็นผลสำเร็จได้ยากในประเทศสยาม ระบอบประชาธิปไตยอาจถึงกับเป็นอันตรายต่อประโยชน์อันแท้จริงของประชาชน ลองคิดดูก็ได้ทันทีว่า การปกครองระบอบรัฐสภานั้นจะเป็นอย่างไรในประเทศสยาม แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดกันถึงขั้นรายละเอียด ข้าพเจ้าจะขอเอ่ยถึงความจริงข้อหนึ่งคือ พรรคการเมืองของคนจีนจะมีอำนาจเหนือรัฐสภา เราอาจไม่ให้สิทธิ์ทางการเมืองแต่อย่างไรแก่คนจีนก็ได้ แต่เขาก็จะมีอำนาจเหนือสถานการณ์อยู่นั่นเอง เพราะเขามีเงินสดอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก
พรรคการเมืองใดซึ่งตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินทุนจากคนจีน จะไม่มีวันทำการสำเร็จได้ เพราะฉะนั้นการเมืองในประเทศสยามจะอยู่ใต้อำนาจพ่อค้าคนจีนซึ่งจะเป็นผู้สั่งการ ที่พูดมานี้มีทางที่จะเป็นไปได้อย่างยิ่ง เราอาจหาเหตุผลต่างๆเป็นจำนวนมากได้โดยง่าย ในอันที่จะสนับสนุนความคิดที่ว่าประเทศสยามไม่ควรมีรัฐบาลระบอบรัฐสภา เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราก็ควรจะถามว่า "ถ้าอย่างนั้นจะมาคิดถึงเรื่องระบอบประชาธิปไตยกันทำไมเล่า" คำตอบปัญหานี้ก็คือ เราจะต้องจดจำไว้เสมอว่า ประชาชนส่วนใหญ่นั้นมิได้คิดด้วยเหตุผล แต่คิดด้วยอารมณ์เท่านั้น เรื่องนี้เป็นความจริงโดยพิเศษสำหรับฝูงชนทั่วไป จะมีวันหนึ่งซึ่งประชาชนชาวสยามจะเรียกร้องเอารัฐสภา (ในขณะนี้ก็มีร่องรอยเช่นนั้นแล้วในกรุงเทพ ฯมิใช่หรือ?) ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะอธิบาย แม้แต่ด้วยเหตุผลอย่างดีที่สุด ว่าการปกครองระบอบรัฐสภานั้น ไม่เหมาะสมต่อคุณสมบัติในทางเผ่าพันธุ์ของชาวสยาม เขากลับจะพากันตะโกนดังขึ้นไปอีกว่าเขาถูกกดขี่ด้วยชนชั้นปกครอง ที่เป็นทรราชย์ และอาจมีความวุ่นวายบางประการเกิดขึ้นได้ (ในระยะเวลาปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีชาวสยาม ผู้ใดที่พร้อมจะเสียสละชีวิตของเขา เพื่อความเชื่อถือในทางการเมือง)
ประเทศบางประเทศอาจนำเอาระบอบประชาธิปไตยมาใช้เพียงเพื่อความจำเป็นก็ได้ ทั้งที่รู้อยู่ดีว่าระบอบนั้นไม่เหมาะสมกับนิสัยใจคอของประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงมีประเทศบางประเทศที่มีรัฐสภาเป็นการเล่น ๆ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการแน่นอนแล้วที่เราจะต้องเล่นกันอย่างนั้นบ้างในประเทศสยามในเวลาข้างหน้า ด้วยความคิดคำนึงเหล่านี้อยู่ในใจข้าพเจ้าจึงกำลังพิจารณาการปฏิรูปบางอย่างขึ้น
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าถ้าเรายอมรับกันว่าวันหนึ่งเราจะต้องถูกบังคับให้มี ประชาธิปไตยบางแบบขึ้นในประเทศสยามแล้ว เราก็ต้องเตรียมตัวของเราเอง ให้พร้อมอย่างค่อยเป็น ค่อยไป เราจะต้องเรียนรู้และให้การศึกษาแก่ตนเอง เราจะต้องเรียนทดลอง เพื่อที่จะได้มีความคิดว่าการปกครองระบอบรัฐสภานั้น จะดำเนินการได้อย่างไรในประเทศสยาม เราจะต้องพยายามให้การศึกษา แก่ประชาชนให้เขามีการรับรู้ในทางการเมือง ให้เขารู้จักผลประโยชน์อันแท้จริงของเขา เพื่อที่เขาจะไม่ถูกชักนำไปในทางที่ผิดโดยนักปลุกระดม หรือผู้ที่เอาแต่ฝันถึงยุคพระศรีอารย์ ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภากันแล้ว เราก็จะต้องสอนให้ประชาชนรู้จักเลือกตั้ง ว่าทำกันอย่างไร และรู้จักเลือกผู้แทนผู้ซึ่งเห็นแก่ประโยชนของประชาชนอยู่ในใจอย่างแท้จริง
การปรับปรุงจัดตั้งสภาองคมนตรีขึ้นใหม่นั้น เป็นความพยายามที่จะดำเนินการตามขั้นตอน ขั้นแรกแห่งความคิดเหล่านี้ จะมีคนพูดว่า กรรมการองคมนตรี ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ จะไม่เป็นตัวแทนความคิดเห็นสาธารณะ โดยทั่วไปและในฐานะที่เป็นองค์การ ก็จะไม่ใช่ตัวแทนอันแท้จริงแห่งผลประโยชน์ของประชาชน ถ้าจะว่าไปแล้วที่จะพูดกันอย่างนี้ก็เป็นความจริง ข้าพเจ้าได้ตั้งในไว้ว่าจะให้สภาองคมนตรีนี้ เป็นแต่เพียงการทดลองในขั้นแรก และเป็นการศึกษาในวิธีการ แห่งการอภิปรายในรัฐสภาเท่านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าประสบการณ์ที่จะได้รับนั้นจะเป็นประโยชน์สภาองคมนตรี อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นสาธารณะทั่วไปก็ได้ และข้าพเจ้าไม่คิดว่าจะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิงเสียทีเดียว แต่ก็จะต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่าการตั้งสถาบันนี้ขึ้น จะไม่ทำให้ทุกคนได้รับความพอใจ และจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ (ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ที่จะทำสิ่งใดหรือจัดตั้งอะไรขึ้นโดยไม่ถูก วิจารณ์ในทางทำลายจากคนบางกลุ่มในประเทศสยามนี้) ขั้นต่อไปในการศึกษาของเราเพื่อไปสู่ระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในที่ต่าง ๆ การนี้จะเป็นปัจจัยที่จะสอนให้ประชาชนรู้จักใช้สิทธิเลือกตั้ง และการทดลองนี้ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นการให้ความรู้ไปในตัวจะเป็นการดีกว่าในการที่จะให้ประชาชน ได้รู้จักเข้าควบคุมกิจการท้องถิ่นด้วยตนเองก่อน ที่เขาจะพยายามที่จะควบคุมราชการแผ่นดินโดยผ่านรัฐสภา ข้าพเจ้าเชื่ออย่างจริงใจว่าถ้าหากการปฏิรูปนี้ ค่อย ๆ นำเอามาใช้ตามวิธีนี้ การปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็อาจนำมาใช้ได้ต่อไป โดยไม่มีอันตรายมากนักแต่การกระทำนั้นจะต้องค่อยเป็นค่อย ไปเหมือนกับการให้ยาที่กำหนดปริมาณของยาแล้วอย่างรอบคอบแต่ละครั้ง ถ้าหากว่าการทดลองเหล่านี้ล้มเหลวทุกขั้นตอน ก็อาจทำให้ประชาชนแลเห็นความจริงได้ในที่สุดว่าระบอบประชาธิปไตยนั้น
มิใช่ระบอบการปกครองสำหรับประเทศสยาม อันตรายนั้นอยู่ที่ความใจร้อนรีบทำ
ยังมีอีกปัญหาหนึ่งซึ่งอยู่ในใจของนักคิดในประเทศสยาม คือปัญหาเรื่องอำนาจอันล้นพ้นของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งไม่มีผู้ใดทัดทานได้ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นก็เหมือนกับ ระบอบประชาธิปไตยในข้อที่ว่า อาจเป็นภัยอันตรายขึ้นเมื่อใดก็ได้ เพราะหลักการของทั้งสองระบอบนี้ ขึ้นอยู่กับความประเสริฐสุดแห่งธรรมชาติของมนุษย์ อันเป็นสิ่งอ่อนแอเหลือเกินที่จะพึงพาอาศัยได้ ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจิตใจอันมั่นคงของประชาชน และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีแต่ความกรุณานั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นความจริงที่น่าเสียดายว่าราชวงศ์กษัตริย์ทุกราชวงศ์ ไม่ว่าจะประเสริฐอย่างไร จะต้องเปลี่ยนแปรไปทางที่ไม่ดีในวันใดก็วันหนึ่ง และอันตรายที่จะมีพระเจ้าแผ่นดินที่ไม่ดีในวันใดวันหนึ่งนั้น เป็นของที่เกือบจะแน่นอน ข้าพเจ้าเชื่อว่าวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้มีพระเจ้าแผ่นดินที่ดี อยู่บนราชบัลลังก์เสมอไปนั้น ได้ถูกนำมาใช้จนหมดแล้ว และวิธีการทุกวิธีการก็ได้มีความบกพร่องปรากฏขึ้นแล้ว วิธีให้ประชาชนเลือกพระเจ้าแผ่นดินนั้น ดูเหมือนจะดีอยู่ในหลักการ แต่ถึงกระนั้นก็ได้ทำให้เกิดทรราชอันร้ายแรงขึ้นหลายองค์แล้ว เช่น จักรพรรดิแห่งกรุงโรมบางองค์ เป็นต้น
วิธีการอีกวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ก็คือ การเลี่ยงที่จะมีพระเจ้าแผ่นดินที่ไม่ดี แต่ขณะเดียวกันก็สร้างสถาบันขึ้นอันหนึ่งเพื่อควบคุมพระเจ้าแผ่นดิน
วิธีนี้ก็ล้มเหลวไปบางครั้งบางคราวเหมือนกัน เช่นในกรณีพระเจ้าชาร์ลที่ ๑ ของอังกฤษ แต่ถ้าจะพิจารณาโดยทั่วไปแล้ววิธีนี้ได้ผลดีตามสมควร
ข้าพเจ้ามีความต้องการอันแน่วแน่ที่จะจัดตั้งสถาบันอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ซึ่งจะมีอำนาจยับยั้งการกระทำของพระเจ้าแผ่นดินสยามที่กระทำไปโดย พลการ หรือด้วยความไม่ฉลาด (ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่า คงจะไม่มีผู้ใดต้องการที่จะยับยั้งการกระทำที่ดีของพระเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้ารู้สึกว่าถ้าหากว่าข้าพเจ้าทำการได้สำเร็จ ในอันที่จะนำเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีประโยชน์อันแท้จริงมาใช้ได้แล้ว ข้าพเจ้าก็คงจะได้ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศชาติของข้าพเจ้าและแก่พระราชวงศ์
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า เราจะจัดตั้งสถาบันใดขึ้นในขณะนี้ โดยยอมรับว่าระบอบรัฐสภานั้นยังเป็นไปไม่ได้สำหรับเวลาปัจจุบันนี้
บางทีกรรมการองคมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ จะใช้การตามวัตถุประสงค์นี้ได้บ้างกระมัง ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงคิดว่า ความเห็นของหม่อมเจ้าสิทธิพรนั้นน่าสนใจอยู่ แต่ข้าพเจ้าใครขอเสนอการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยเพิ่มอีกมาตราหนึ่งเข้าไปในมาตราสิบสาม หรือหลังมาตราสิบสามมีข้อความว่า "ถ้ากรรมการองคมนตรีมีจำนวนสิบห้านาย ร่วมกันทำหนังสือถึงประธานกรรมการองคมนตรี ให้นำความกราบบังคมทูลว่า มีข้อราชการบางอย่างซึ่งสำคัญต่อประโยชน์ของแผ่นดินและประชาชน และควรที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คณะกรรมการนำเรื่องเหล่านั้นมาพิจารณาได้ ให้ประธานองคมนตรีนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ที่จะเรียกประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาเรื่องเหล่นนั้น" ทั้งนี้ก็เป็นทีเข้าใจว่า พระเจ้าแผ่นดินอาจพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปิดประชุมก็ได้ หรือไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตก็ได้สุดแล้วแต่พระราชดำริ (นี่คือสิทธิของพระเจ้าแผ่นดินที่จะวีโต อันเป็นสิทธิที่ยอมรับกันในระบอบประชาธิปไตยทั้งปวง พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจ ที่จะยุบรัฐสภาได้อีกด้วย) ข้าพเจ้าคิดว่าตามรูปนี้ก็คงจะพอยอมกันได้ และยังดีกว่าที่จะให้สิทธิทั่วไปแก่สถาบัน ที่มิได้มาจากการเลือกตั้งที่ประชุมกันเมื่อไรก็ได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าสิทธิของกรรมการองคมนตรีนี้จะสามารถ ทำงานตามวัตถุประสงค์ได้ คือเป็นเครื่องมือกีดขวางผู้ที่มีอำนาจมิให้กระทำการใด ๆ ตามใจตน หรือกระทำการใด ๆ อันขัดต่อผลประโยชน์ของรัฐ ใครก็ตามที่มีอำนาจคงจะไม่ปฏิเสธคำขอร้องนั้นง่าย ๆ นอกจากจะมีเหตุผลที่ดีจริง ๆ จริงอยู่คนที่ไม่มีศีลธรรมเลยอาจปฏิเสธคำขอร้องเช่นนั้น แต่สำหรับคนเช่นนั้นแล้ว สถาบันใด ๆ ก็ไม่สามารถที่จะป้องกัน มิให้เขาทำชั่วได้ แม้แต่รัฐสภาก็ป้องกันไม่ได้ (ดูตัวอย่างพระเจ้าชาร์ล) และสิ่งที่จะต้องทำเมื่อถึงขั้นนั้นก็คือตัดหัวคน ๆ นั้นเสีย
ฉะนั้น การตั้งกรรมการนี้ขึ้น จึงอาจทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้สองทาง (ถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์นัก)
๑. เป็นเครื่องมือที่จะทดลองและศึกษาวิธีการแห่งการอภิปรายในรัฐสภา
๒. เป็นอิทธิพลที่จะคอยยับยั้งการใช้อำนาจในทางที่ผิด
หมายเหตุ ขอให้สังเกตว่าการแปลคำว่าองคมนตรีเป็นภาษาอังกฤษว่า Privy Councillors นั้นอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะสภาองคมนตรีของเรา โดยเฉพาะที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่นั้น จะเหมือนกับสภาองคมนตรีของอังกฤษเพียงแต่ในนามเท่านั้น ไม่มีความประสงค์ที่จะลอกแบบสภาองคมนตรีของอังกฤษเอามาใช้เลย เราจะต้องพยายามสร้างสถาบันทางการเมืองของเราขึ้นเอง และไม่ลอกแบบจากคนอื่น ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเชื่อในการทดลอง
จุดยืนของผม "ต่อต้านระบอบทักษิณ, เสื้อแดง, พวกล้มเจ้า ไม่เอาแป๊ะลิ้ม"
#12
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 15:42
เคยอ่านที่ไหนมาไม่ทราบ เจ้าฟ้าประชาธิปกกับเจ้าฟ้ามหิดลจะให้เจ้าฟ้าบริพัตรขึ้นครองราชย์เป็น ร.7 แต่เจ้าฟ้าบริพัตรทรงปฏิเสธไป เจ้าฟ้าประชาธิปกเลยต้องขึ้นครองราชย์เป็น ร.7...ส่วนเรื่องกระทู้นั้นก็ยังมีคนแอ๊บใส่ร้ายเจ้า บอกว่าอำนาจจริงๆอยู่ที่กรมขุนนครสวรรค์พรพินิจ
จะขึ้นมาเป็น King แทน เอิ่ม ขออภัยนะครับ คนยุคนั้นโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าที่คนเขาเคารพเกรงใจ
เขามีสัจจะ เจ้าองค์ที่คนทั่วไปแม้แต่เจ้าด้วยกันเองไม่ไว้ใจก็คือพระองค์เจ้าบวรเดชต่างหาก
นั่นเป็นสาเหตุที่กองทัพโคราชพ่ายแพ้กลายเป็นกบฎบวรเดช ทั้งๆที่ตอนแรกมีทหารเข้าไปร่วมเยอะ
เพราะเคารพพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ-อาจจะจำยศท่านไม่แม่นยำนะครับ) ที่สู้จนตายในที่รบ
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#13
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 16:17
เคยอ่านที่ไหนมาไม่ทราบ เจ้าฟ้าประชาธิปกกับเจ้าฟ้ามหิดลจะให้เจ้าฟ้าบริพัตรขึ้นครองราชย์เป็น ร.7 แต่เจ้าฟ้าบริพัตรทรงปฏิเสธไป เจ้าฟ้าประชาธิปกเลยต้องขึ้นครองราชย์เป็น ร.7
...ส่วนเรื่องกระทู้นั้นก็ยังมีคนแอ๊บใส่ร้ายเจ้า บอกว่าอำนาจจริงๆอยู่ที่กรมขุนนครสวรรค์พรพินิจ
จะขึ้นมาเป็น King แทน เอิ่ม ขออภัยนะครับ คนยุคนั้นโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าที่คนเขาเคารพเกรงใจ
เขามีสัจจะ เจ้าองค์ที่คนทั่วไปแม้แต่เจ้าด้วยกันเองไม่ไว้ใจก็คือพระองค์เจ้าบวรเดชต่างหาก
นั่นเป็นสาเหตุที่กองทัพโคราชพ่ายแพ้กลายเป็นกบฎบวรเดช ทั้งๆที่ตอนแรกมีทหารเข้าไปร่วมเยอะ
เพราะเคารพพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ-อาจจะจำยศท่านไม่แม่นยำนะครับ) ที่สู้จนตายในที่รบ
ตามกฎมณเฑียรบาลและพระราชดำรัส ร.๖ อย่างไรก็ต้องเป็น "เจ้าฟ้าประชาธิปก" อยู่แล้วครับ
.หากมีพระราชโอรส ก็ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์จนกว่าพระมหากษัตริย์จะทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ใคร่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงรับรัชทายาทสืบสันติวงศ์ตามราชประเพณี...
จุดยืนของผม "ต่อต้านระบอบทักษิณ, เสื้อแดง, พวกล้มเจ้า ไม่เอาแป๊ะลิ้ม"
#14
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 16:43
สมัยนั้นยังไม่มีรัฐธรรมนูญครับ ตามพินัยกรรม ตามกฎมณเฑียรบาลนะใช่ แต่เจ้าฟ้าบริพัตรจะขึ้นครองราชย์ตามความต้องการเจ้าฟ้าประชาธิปกก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะสมัยนั้นยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ครับ
เคยอ่านที่ไหนมาไม่ทราบ เจ้าฟ้าประชาธิปกกับเจ้าฟ้ามหิดลจะให้เจ้าฟ้าบริพัตรขึ้นครองราชย์เป็น ร.7 แต่เจ้าฟ้าบริพัตรทรงปฏิเสธไป เจ้าฟ้าประชาธิปกเลยต้องขึ้นครองราชย์เป็น ร.7
...ส่วนเรื่องกระทู้นั้นก็ยังมีคนแอ๊บใส่ร้ายเจ้า บอกว่าอำนาจจริงๆอยู่ที่กรมขุนนครสวรรค์พรพินิจ
จะขึ้นมาเป็น King แทน เอิ่ม ขออภัยนะครับ คนยุคนั้นโดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าที่คนเขาเคารพเกรงใจ
เขามีสัจจะ เจ้าองค์ที่คนทั่วไปแม้แต่เจ้าด้วยกันเองไม่ไว้ใจก็คือพระองค์เจ้าบวรเดชต่างหาก
นั่นเป็นสาเหตุที่กองทัพโคราชพ่ายแพ้กลายเป็นกบฎบวรเดช ทั้งๆที่ตอนแรกมีทหารเข้าไปร่วมเยอะ
เพราะเคารพพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ-อาจจะจำยศท่านไม่แม่นยำนะครับ) ที่สู้จนตายในที่รบ
ตามกฎมณเฑียรบาลและพระราชดำรัส ร.๖ อย่างไรก็ต้องเป็น "เจ้าฟ้าประชาธิปก" อยู่แล้วครับ
— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
.หากมีพระราชโอรส ก็ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์จนกว่าพระมหากษัตริย์จะทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ใคร่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงรับรัชทายาทสืบสันติวงศ์ตามราชประเพณี...
ในเมื่อเจ้าฟ้าอันดับต้น ๆ ต้องการให้เจ้าฟ้าบริพัตรขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าฟ้าบริพัตรปฏิเสธ พวกแอ๊บใส่ร้ายเจ้ายังจะมาบิดเบือนได้หน้าตาเฉยว่าเจ้าฟ้าบริพัตรจะขึ้นครองราชย์
[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]
ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556
#16
ตอบ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 17:47
คุณอาจจะคลั่งเหมือนหมาบ้า กับบางสิงที่เกิดขึ้นในชีวิต
คุณอาจจะสบถ สาปแช่งโชคชะตา
แต่เมื่อวาระสุดท้ายมาถึง คุณก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไป
Curious Case Of Benjamin Button
ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน