ทำทานพระอรหันต์ 100 องค์ก็ไม่เท่าทำทานสร้างที่อยู่ให้พระภิกษุสงฆ์, ทำทานสร้างที่อยู่ให้ภิกษุสงฆ์ ก็ไม่เท่าทำอาณาปานสติเพียงครั้งเดียว....
สาเหตุใดทำไมบุญที่ได้รับจึงสูงกว่ากันมากครับท่าน
เป็นไปได้ไหม สร้างที่อยู่ถวายสงฆ์เป็น "ประโยชน์สาธารณะ" หรือว่าอย่างไร
ส่วนอาณาปานสตินั้น...ก็เพราะทำทานได้บุญมากสู้ภาวนาจิตไม่ได้ครับท่าน?
ขอบพระคุณท่านล่วงหน้าครับ

1. สงฆ์คือหมู่คณะของภิกษุ การสร้างที่อยู่ถวายสงฆ์เป็น "ประโยชน์สาธารณะ" ที่ว่านั้นเรียก "สังฆทาน" ไงขอรับ คือการให้ทานแก่ภิกษุโดยไม่กำหนดว่าให้ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งเหตุผลของสังฆทานก็ตามพระสูตรหนึ่งในพุทธวจนะที่ครั้งสมัยพุทธกาลมีคหบดีผู้ทูลถามพระตถาคตว่า ในเมื่ออานิสงค์การถวานทานดังกล่าวไม่เท่ากัน แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าให้ทานแก่ภิกษุผู้เป็นอริยะ พระตถาคตกล่าวว่า คงเป็นการยากสำหรับปุถุชนผู้ยังมีกิเลส ใช้เครื่องใช้สิ่งของฟุ่มเฟือยเพื่อการดำรงชีวิตจะทราบได้ถึงวัตรปฎิปทาของพระอริยะเจ้า (ขนาดภิกษุด้วยกัน พระองค์ยังทรงห้ามแสดงอวดอุตริใดๆ, การพยากรณ์ผู้อื่นผู้ใด พระองค์กล่าวนั่นคือวิชชาของเดียรถีย์ มีพระองค์หรือผู้เป็น "สัพพัญญู" เหมือนพระองค์เท่านั้นที่จะสามารถพยากรณ์ผู้ใดได้, พระอริยะระดับอรหันต์เจอหน้ากันยังไม่ทราบเลยว่าใครเป็นใคร นอกเสียจากได้มาสนทนาธรรมด้วยกันตามที่มีพระสูตรกล่าวถึงอยู่) พระตถาคตจึงให้ถวายทานเป็น "สังฆทาน" คือเป็นกองกลางของสงฆ์ ภิกษุสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่กำหนดว่าเป็นผู้หนึ่งผู้ใด... ส่วนหลักการพิจารณาว่าภิกษุผู้ใดเป็นอริยะหรือไม่ตามพุทธวจนะ ก็ดูคำแปลได้จากบท อิติปิโสท่อนตั้งแต่สุปฏิปัณโนนั่นแหละขอรับ (ไม่แปลให้เพราะหาในกุ๊กเกิ้งได้เยอะแยะขอรับ) และดูที่ปฎิปทา, จริยวัตรของท่านว่าเหมาะสมตามอริยวินัยหรือไม่ และการกล่าวธรรมใดๆมีความรู้แจ้งแทงตลอดในอรรถในธรรมหรือเปล่าขอรับ...
2. เกี่ยวกับอาณาปานสติ หรือเกี่ยวกับอานิสงค์ที่ได้กล่าวถึงว่าทำไมมากน้อยไม่เท่ากัน... คำว่ามากน้อยนี่วัดยากขอรับ ก็คิดดูง่ายๆขนาดถวายทานแก่พระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์ ยังสู้ทำอาณาปาณสติไม่ได้ แล้วไปทำกับใครไม่รู้เป็นอริยบุคคลหรือยังก็ไม่ทราบได้ หรือไปให้ทานสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ผลทานจะเป็นเช่นไร ไม่ใช่ไม่มีอานิสงค์ แต่วัดเป็นปริมาณคงไม่ทราบได้ว่าจะใช้สิ่งใดเป็นตัววัดขอรับ...
ตามความเห็นของกระพ๊ม มีพระสูตรในพุทธวจนะที่พระตถาคตกล่าวถึงสิ่งที่ปุถุชนควรรู้แจ้งก่อนอื่นใดคือ "อริยสัจสี่" สิ่งที่ควรละให้ไวที่สุดคืออกุศลในจิต... พระตถาคตกล่าวไว้ว่าหากเกิดทุกขเวทนาใดๆทางจิต (อารมณ์นั่นแหละ) ไม่ว่าจะเป็นกาม (รูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัสนะขอรับ มิใช่เซ็กซ์อย่างเดียว), พยาบาท, เบียดเบียน, โกรธ, หลง ให้เธอจงใช้ความเพียรดำรงสติสัมปชัญญะ หรือทุกวิถีทางดับมันไปให้ได้โดยไวที่สุด...เพราะอะไร? พระตถาคตกล่าวว่า...หากเธอนั้นทำกาละ (ตาย) ในขณะที่จิตไปเกาะกับเวทนาดังกล่าวนั้นอยู่ "นั่นคือภพที่จะนำเธอไปสู่อบายทุคติวินิตบาต(นรกนั่นแหละ) โดยพลัน... สังเกตดีๆจะต่างกับพระอาจารย์โน้นนี้ที่กล่าวทำนองว่าหากโกรธก็ใคร่ครวญมันไปเรื่อยๆจนกว่ามันจะดับ หรือเห็นว่ามันดับ... ชาวพุทธเราทุกวันนี้ "หลงทาง" กันไปตาม "อรรถกถา" นี่มากมายขอรับ (ในเรื่องที่เราได้ยินประจำๆหากเป็นคนพุทธเช่นวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด, การกรวดน้ำ ฯลฯ แต่ไม่ขอกล่าวเดี๋ยวจะเป็นประเด็นโต้กับผู้อื่นยาวยืดอีก...)
นั่นแสดงว่า "จิต หรือมโน หรือวิญญาณ" นั้นเป็นเงื่อนสำคัญที่พระตถาคตได้ค้นพบสัจจะธรรมนี้ ดังพระสูตรที่กล่าวถึงว่า "พระตถาคตบังเกิดขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หากไม่ได้รู้แจ้งในสัจจะความจริงอันเป็นอริยสัจ4 นี้ พระองค์ก็ป่วยการที่จะบังเกิดขึ้นมาในโลกนี้" ในแง่การทำอาณาปานสติซึ่งเป็น 1 ในมรรค 8 นั้นหากเราลองเทียบกับการโกรธแล้วทำกาละ (ตาย)ไปในขณะนั้น ผลจะบังเกิดตรงกันข้ามได้ กล่าวคือพระองค์การันตีไว้ได้ว่า "เธอสามารถก้าวสู่วิมุติ (นิพพาน) ได้ทันทีที่ทำกาละ โดยการทำอาณาปาณสติ แม้เพียงในปฐมฌาณ เพียงเธอเห็นการเกิดดับของจิต, มโน, วิญญาณนี้" ...

นี่แหละขอรับ ที่กระพ๊มคิดว่าทำไมอานิสงค์ดังกล่าวจึงมากมายนักตามคำสอนอันเป็นพุทธวจนะของพระพุทธองค์...
Edited by wat, 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 21:41.