ในที่สุด พรรคร่วมรัฐบาลก็ค้นพบ ทางออก เกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามข้อเสนอของคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล โดยอาจให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ก่อนที่จะเดินหน้าให้รัฐสภาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 ที่ยังค้างอยู่ แต่ต้องทำความเข้าใจกับสังคมให้ชัดเจนว่า มิให้เรียกร้องความรับผิดชอบจากคณะรัฐมนตรี ถ้าประชามติไม่ผ่าน
มติของคณะทำงานร่วมพรรครัฐบาล ยังได้ขอทำความเข้าใจกับสังคมอีกด้วยว่า ไม่ว่าผลประชามติจะออกมาในทางใด ทุกฝ่ายต้องยอมรับว่ารัฐสภา ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่สอดคล้องต่อหลักนิติธรรมตลอดไป แสดงว่าผลของประชามติไม่เป็นเด็ดขาด แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่รัฐสภา
การออกเสียงประชามติเป็นเรื่องใหญ่พอๆกับการเลือกตั้งทั่วไป เพราะจะต้องทำพร้อมกันทั่วประเทศ มีหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รัฐ พอๆกับการเลือกตั้งใหญ่ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลพร้อมที่จะให้มีการลงประชามติ เพื่อถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ แต่มีข้อแม้ว่าถึงประชาชนส่วนใหญ่จะคัดค้าน แต่รัฐสภาก็ยังแก้ไขได้
เงื่อนไขสำคัญอีกประการหนึ่ง คือการที่พรรคร่วมรัฐบาลขอทำความเข้าใจกับประชาชน ขอให้ยกเว้นไม่เรียกร้องความรับผิดชอบจากคณะรัฐมนตรี ถึงแม้เสียงข้างมากจะคัดค้านการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นการยกเว้นกติกามารยาทของระบบรัฐสภา ที่ถือปฏิบัติกันว่า ถ้าร่างกฎหมายหรือญัตติสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศ ไม่ผ่านรัฐบาลต้องลาออก
เหตุที่พรรคร่วมรัฐบาลขอยกเว้น ไม่ให้คณะรัฐมนตรีลาออก ถ้าเสียงข้างมากของประชาชนไม่ผ่านประชามติให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เขียนไว้ว่า การออกเสียงประชามติเพื่อชี้ขาดเรื่องใด จะต้องตัดสินด้วย “เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง” คือกว่า 23 ล้านเสียงขึ้นไป คาดว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงคราวนี้ อาจจะเพิ่มเป็น 47 ล้านคน
รัฐบาลจึงหวั่นกลัวว่า อาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนเกิน 23 ล้านคน เพราะเป็นการลงมติสอบถามความเห็นเกี่ยวกับกระดาษเปล่าๆ ยังไม่มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นตัวตน แต่ให้ลงมติว่า “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” จึงเชื่อว่าจะมีคนมาใช้สิทธิ์น้อย แม้แต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุด พรรคเพื่อไทยก็ได้เพียง 15.7 ล้านเสียง จากผู้ออกเสียง 35.2 ล้านคน
ส่วนการที่พรรคร่วมรัฐบาลสงวนสิทธิที่จะให้รัฐสภาเดินหน้าแก้ไขหรือจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต่อไป ถึงแม้เสียงข้างมากของประชาชนจะไม่ผ่านประชามติ จะทำให้การออกเสียงของประชาชนไร้ความหมาย แม้ประชาชนอาจจะออกเสียงคัดค้านกว่า 23 ล้านเสียง แต่เสียงข้างมากของสมาชิกรัฐสภาแค่กว่า 300 เสียง ใหญ่กว่าเสียงประชาชน เรียกว่าประชาธิปไตยหรือ?
บทบรรณาธิการไทยรัฐ
17 ธ.ค. 2555
0000
ข้อมูลเดิม การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550

น่าหนักใจสำหรับพรรคขี้ข้า...
ตอนนั้นรณรงค์ต้านร่างรัฐธรรมนูญเต็มที่ จ่ายหัวละ 50 บาท ก็ได้แค่ 10 ล้านเสียง...
งานใหม่ต้องหาเสียงเพิ่มให้คนมาลงคะแนนเป็น 23 ล้าน ต้องออกแรงมากกว่าเดิม 13 ล้านเสียง....
ก็เหมือนเข็นครกขึ้นเขา!
มองอีกมุมก็แค่ลากเวลาให้รัฐบาลยืนอยู่ต่อป ก่อนที่ ปปช.จะชี้มูลความผิด รัฐบาลโคตรโกง
เท่านั้นเอง
แคน ไทเมือง

Suwit Kotasin