รัฐบาลขู่ปชช.ไม่มาลงประชามติผิดกฎหมาย
รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.(18 ธ.ค.2555) ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ในวาระของแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในที่ประชุมมีการแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง และมีความเป็นห่วงจนทำให้หาทางออกด้วยการตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อให้โปร่งใสที่สุดและเคลียร์ที่สุด เพราะถ้ามีคนออกมาใช้สิทธิ์ไม่ถึงครึ่งของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงหรือไม่ถึง 23 ล้านคน ก็จะถือเป็นโมฆะ แสดงว่าคนเขาไม่รับ แต่ถ้าออกมาใช้สิทธิ์เกินครึ่งหนึ่งก็ต้องมาดูอีกว่าใครชนะ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
โดยในที่ประชุมครม. นั้นนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้แสดงความเห็นอะไร แต่ก็ได้สอบถามขั้นตอนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ได้รายงานผลการดำเนินการหลังจากครม.มีมติมอบหมายกระทรวงยุติธรรมไปประสานกับ ประธานสภาและประธานวุฒิสภาซึ่งก็เห็นด้วย รวมทั้งจากการหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด รวมทั้งกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์รณรงค์ให้ประชาชนไม่ออกมาลงคะแนนเสียงในการ ทำประชามตินั้นก็ผิดกฎหมายเพราะเป็นหน้าที่ของประชาชน
ส่วนนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประเมินตัวเลขกลม ๆ ให้ที่ประชุมได้เห็นภาพ คือมีผู้ที่มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด 45 ล้านคน และคนที่จะออกมาใช้สิทธิ์คือ 23 ล้านคน และหากได้เสียงสนับสนุนเกินกว่า 12 ล้านเสียง ก็จะผ่านประชามติ
"แต่ประเด็นวันนี้คือจะต้องเอาข่าวสารออกไปสู่ประชาชนให้ทราบว่าคุณต้องออกมาใช้สิทธิ์เพราะเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพราะไม่เช่นนั้นจะผิดกฎหมาย ดังนั้นต้องสื่อให้ประชาชนเข้าใจ ส่วนจะออกมาแล้วไม่เห็นด้วยก็เรื่องของคุณ ซึ่งเรื่องนี้นายกฯก็เห็นด้วยเพราะอยากทำความเข้าใจ"
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์จะรณรงค์ให้ประชาชนออกมาให้คนคว่ำประชามตินั้น มีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นั้นกล่าวว่า ตามหน้าที่ที่ระบุในรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าผิดกฎหมาย แต่ทั้งนี้ครม.ไม่มีความเห็นว่าจะฟ้องดำเนินคดีกับพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวสรุปในตอนท้ายถึงขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติปี 2552 ที่จะกำหนดหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งวันนี้ครม.ยังไม่มีมติกำหนดหน่วยงาน ดังนั้นจึงมอบหมายกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯและกฤษฎีกา ไปดำเนินการอุดรูรั่วเพิ่มเติมก่อนแล้วเสนอกลับไปที่ประธานวุฒิสภากับประธาน สภาแล้วเสนอกลับเข้าครม.เพื่อกำหนดแต่งตั้งหน่วยงานรัฐตามพระราชบัญญัติให้ ดำเนินการต่อ และจากนั้นกกต.ก็จะเข้ามาดำเนินการต่อ
อ้าว...รัฐบาลทำผิดกฎหมายเสียเอง โดยข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากไม่ไปลงประชามติ
มาตรา ๔๓ ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(๓)หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียงหรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
Edited by คนกรุงธน, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 18:20.