ไปหามาให้ จาก google แล้วครับ ตามนี้
1. ลาออกเป็นสิทธิของลูกจ้างในการบอกเลิกสัญญาจ้าง กับนายจ้าง แต่หากการบอกเลิกสัญญานั้นทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างชอบที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนั้นได้ แต่นายจ้างต้องเป็นผู้พิสูจน์ความเสียหายนั้น
2. การบอกเลิกสัญญาจ้าง ตามมาตรา 17 พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 การบอกเลิกสัญญาจ้างไม่จำเป็นต้องบอกเกินกว่า 3 เดือน หากนายจ้างทำสัญญาให้บอกเลิกเกินกว่า 3 เดือน หรือ 90 วัน สัญญานั้นก็เป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ เพราะกฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
3. การหักเงินประกันการทำงานตามมาตรา 10 พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินประกัน หากนายจ้างเรียกรับเงินค้ำประกันโดยไม่มีสิทธิ นายจ้างต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144
4. ทวงกับนายจ้างก่อน หากนายจ้างไม่คืนเงินนั้น ก็ไปร้องแรงงาน หรือฟ้องศาลแรงงาน เพื่อเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย หรือ ให้ทางเจ้าหน้าที่แรงงานดำเนินคดีอาญากับนายจ้างได้
อ้างอิงจาก website decha.com
ต่อไปจะอ้างอิง กฎหมายให้ นะครับ
มาตรา 9 ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตาม มาตรา
10 วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ภายในเวลาที่กำหนดตาม มาตรา
70 หรือ ค่าชดเชยตาม มาตรา
118 ค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา
120 มาตรา
121 และ มาตรา
122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่าง เวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดย ปราศจากเหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้ลูกจ้างร้อยละสิบห้า ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน
ในกรณีที่นายจ้างพร้อมที่จะคืนหรือจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและ วรรคสอง และได้นำเงินไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตั้งแต่ วันที่นายจ้างนำเงินนั้นไปมอบไว้
มาตรา 10 ภายใต้บังคับ มาตรา
51 วรรคสอง ห้ามมิให้ นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความ เสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของ งานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สิน ของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้าง ได้ ตลอดจนจำนวนเงินและวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกัน หรือทำสัญญา ประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกัน สิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้าง ลาออกหรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี
มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะ เวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้าง อาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่าย หนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง คราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราว ถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน
ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตาม มาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้าง ให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอก กล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้างตามวรรคนี้ เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตาม มาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การบอกกล่าวล่วงหน้าตาม มาตรา นี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้าง ตาม มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และ มาตรา 583 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Edited by ทรงธรรม, 26 December 2012 - 11:02.
ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ
PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract
FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY