Jump to content


Photo
- - - - -

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ความปรองดอง(ตอนที่ 2)


  • Please log in to reply
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 sriariya

sriariya

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:47

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ความปรองดอง (ตอนที่ ๒)

            ความขัดแย้งต่างๆที่มีอยู่ เกิดจากความโลภ ในลาภ ยศ สรรเสริญ จนเกินเหตุ ต่างคนต่างอ้างความคิดของฝ่ายตนอันเป็นความหลง ความโลภ โดยไม่ได้คิดถึงหลักความจริงหรือหลักเหตุผล ไม่คิดถึงความสูญเสียในด้านต่างๆของประเทศชาติและประชาชน คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเพียงฝ่ายเดียว ท่านทั้งหลายคิดกันบ้างไหมว่า ไม่ว่าพวกท่านจะมีตำแหน่งใหญ่โตโอ่อ่า มีทรัพย์ศฤงคารมากสักเพียงใด สิ่งที่พวกท่านมีอยู่ อย่างมากมันก็แค่สร้างความคิด สร้างความระลึกนึกถึง ฯลฯ ให้แก่ท่านทั้งหลายเท่านั้น พวกท่านไม่ได้อะไรจากตำแหน่งที่ใหญ่โต หรือไม่ได้อะไรจากทรัพย์ศฤงคารที่พวกท่านมีอยู่เลย นอกจาก การกิน ฯ นอน ฯ แล้วท่านทั้งหลายที่คิดหรือกระทำการใดใดเพื่อแก่งแย่งอำนาจในการบริหารประเทศ พวกท่านได้อะไรจากการกระทำของพวกท่าน คิดกันบ้างไหม ประชาชนที่ไม่รู้ต้องตกเป็นเครื่องมือของพวกท่าน สูญเสียไปเท่าไหร่แล้ว

            ความสูญเสียในด้านต่างๆที่เกิดจากความขัดแย้ง ประมาณค่ามิได้แม้บางอย่างจะสามารถประเมินออกมาเป็นตัวเงิน แต่หากเป็นในด้านจิตใจและคุณค่าของความเป็นมนุษย์แล้ว ค่าของมันมหาศาลไม่มีอะไรจะมาเทียบได้ ดังนั้น ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ ต้องยุติอย่างสิ้นเชิงและถาวร อย่าได้เคลื่อนไหวอีก เพราะหากทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มยังเคลื่อนไหวท้าทายให้ร้ายข่มขู่ซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งไม่มีวันจบสิ้น ถ้าหากทุกคนยังคงเป็นคนไทย ต้องการจะมีชีวิตความเป็นอยู่ภายใต้ “ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ต้องยุติการเคลื่อนไหวทุกรูปแบบ

            พฤติกรรมของบุคคลบางบุคคล บางฝ่าย บางกลุ่ม มักแสดงออกไปในทางที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบการปกครองแบบอื่น ก็ให้ยุติบทบาทอย่าได้คิดกระทำอีก ความขัดแย้งก็ย่อมไม่เกิด ความสูญเสียในด้านต่างๆก็ย่อมไม่เกิดขึ้น บ้านเมืองก็มีแต่ความสงบสุข สามัคคี ปรองดอง ดำเนินชีวิต ดำเนินกิจกรรมไปตามวิถีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างปกติ

            แต่ถ้าหาก ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม ไม่ยอมกัน ไม่หันหน้าเข้าหากัน ไม่ปรึกษาหารือ ถกเถียงกันเพื่อให้ได้แนวทางที่ดี ที่ถูกต้องทำนองคลองธรรม ความปรองดอง ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าหาก ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มยอมกัน หันหน้ามาจับมือกัน ปรึกษาหารือกัน ถกเถียงกันในทางที่ถูกต้องทำนองคลองธรมเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อประชาชน และประเทศชาติ ความปรองดองสามัคคีก็ย่อมเกิดขึ้น

            ดังนั้น เพื่อความปรองดอง เพื่อความสามัคคีของคนในชาติ เพื่อความสงบสุขของประชาชนและบ้านเมือง ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม ควรได้หยุดพฤติกรรม และการกระทำต่างๆ อันจักเป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง  อย่าได้ใช้ประชาธิปไตยมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และที่สำคัญหลักประชาธิปไตยเป็นหลักแห่งเหตุผล เป็นหลักแห่งการแจกจ่ายทรัพยากรในการดำรงชีวิตที่ผลิตได้หรือที่มีอยู่ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ฯลฯ โดยประชาชนเพื่อประชาชน เสียงข้างน้อยก็อาจชนะเสียงข้างมากได้ ไม่ใช่มีเสียงข้างมากแล้วจะชนะเสมอไป ถ้าคิดว่ามีเสียงข้างมากแล้วจะทำอะไรก็ต้องได้ อย่างนั้นเขาเรียกว่า “เผด็จการรัฐสภา”

 

 

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)

๒๘ ธ.ค.๒๕๕๕






ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน