ขอเป็นแนวร่วมลุ้นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
โดยให้รับคำร้องของโจทย์(น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร)ไว้พิจารณาเพื่อให้
เป็นคดีตัวอย่างและเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานไว้ว่า"กรณีดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญหรือไม่"
เพราะในปัจจุบันในโลกไซเบอร์ได้มีการกระทำความผิดกฏหมายหลายมาตรา
ด้วยกันซึ่งส่วนมากขบวนยุติธรรมมักจะเอาผิดไม่ได้เพราะกฏหมายมันล้าหลัง
และตามไม่ทันกลุ่มคนเหล่านี้ จึงทำให้เกิดคดีความมากมายโดยที่เมื่อเกิด
เรื่องขึ้นแล้วกลุ่มคนเหล่านี้มักอาศัยช่องว่างทางกฏหมายซิกแซกหลบเลี่ยง
เอาสีข้างเข้าถูจนหลุดรอดพ้นจากการกระทำความผิดกฏหมายบ้านเมืองอยู่
เสมอๆจึงขอวิงวอนให้ศาลอุทธรณ์ได้โปรดพิจารณาคดีนี้เพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง
และเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อๆไป.
ที่มา.http://bit.ly/136SlAs
ผู้สื่อข่าวช่อง 7 เตรียมยื่นอุทธรณ์คดียื่นฟ้องแกนนำ นปช.เพชรบุรี
ส่งอีเมลข่มขู่ 7 ม.ค. 56 หลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง ยันคำว่า “จัดให้”
ส่อใช้ความรุนแรงต่อตน เมื่ออีเมลส่งต่อกันถือว่าขู่เข็ญต่อหน้าผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว
วันนี้ (3 ม.ค.)
น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีที่เป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.พรทิพย์ ปักษานนท์ ประธาน นปช.เพชรบุรี จากกรณีการส่งอีเมลไปยังเครือข่ายคนเสื้อแดงด้วยข้อความลักษณะข่มขู่ว่า “จำหน้าหล่อนไว้นะครับ เห็นที่ไหนก็จัดให้หน่อยแล้วกันนะครับ” โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่า การที่จำเลยส่งข้อความไปยังกลุ่มบุคคลจำนวน 47 คนดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้ส่งถึงโจทก์ (น.ส.สมจิตต์) โดยตรง จึงมิใช่เป็นการขู่เข็ญโจทก์ แต่เป็นเพียงการส่งข้อความภายในกลุ่มของจำเลยเองเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ได้ทราบข้อความดังกล่าวจากเพื่อนของโจทก์ที่ส่งต่อมายังโจทก์แล้วจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าวเพื่อขู่เข็ญโจทก์ด้วยนั้นหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 392
น.ส.สมจิตต์กล่าวว่า ตนเไม่ได้มีความคิดแค้นเคืองใดๆ เป็นการส่วนตัวกับ น.ส.พรทิพย์ แต่อยากให้คดีนี้เป็นคดีตัวอย่างเพื่อให้เกิดบรรทัดฐานต่อสังคม เพราะยังไม่เคยมีคดีในลักษณะการข่มขู่ผ่านอีเมลขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาลมาก่อน โดยไม่ว่าศาลอุทธรณ์จะพิจารณาอย่างไรก็พร้อมที่จะน้อมรับคำตัดสินไม่ว่าจะรับอุทธรณ์หรือไม่ เพราะเจตนาที่ดำเนินคดีเรื่องนี้ยืนยันมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะเดินให้สุดทางจนจบที่กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน และได้หารือกับทนายความแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวต่อศาลวันที่ 7 ม.ค. 56 เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของ น.ส.พรทิพย์เข้าองค์ประกอบการกระทำความผิดตามมาตรา 392 แล้ว
โดยในประเด็นนี้ได้ขออุทธรณ์ว่า คำว่า “จัดให้” เป็นลักษณะถ้อยคำสำนวนที่สื่อความหมายถึงการใช้ความรุนแรงต่อตน ดังที่พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 3 ได้วินิจฉัยไว้ เมื่อ น.ส.พรทิพย์ได้โพสต์ข้อความดังกล่าวลงในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นการกระทำที่สามารถเล็งเห็นผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ได้ว่า แม้ น.ส.พรทิพย์จะได้ส่งข้อความดังกล่าวไปให้บุคคลจำนวน 47 คน และบุคคลทั้ง 47 จะต้องมีการส่งต่อข้อความออกไปอีกในระบบอินเทอร์เน็ต อันจะทำให้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาถึงตนได้ ในที่สุดถือเป็นกรณีที่ น.ส.พรทิพย์ได้กระทำการขู่เข็ญต่อหน้าตนโดยการผ่านระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตแล้ว จึงเป็นการกระทำให้เกิดความกลัวหรือตกใจ โดยการขู่เข็ญ ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 แล้ว
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีนี้ ซึ่ง น.ส.พรทิพย์ได้โพสต์ข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ตและยังไม่มีการวินิจฉัยของศาลสูงพิพากษาเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญหรือไม่ หากศาลสูงได้มีโอกาสพิจารณาอุทธรณ์ของตนแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยรับฟ้องไว้พิจารณา จึงขอผู้พิพากษาคือ นายพิษณุ ทิพย์รอด ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีนี้ ได้โปรดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและรับอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมต่อไป.
หากศาลอุทธรณ์ไม่รับเรื่องและยืนตามคำตัดสินศาลชั้นต้น
งั้นต่อไปก็ให้ถือคำตัดสินนี้เป็นตัวอย่างและใครๆก็สามารถ
กระทำในลักษณะเดียวกันนี้ได้โดยไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน
เกิดวันดีคืนดีมีคนส่งอีเมล์ลงเฟสบุ๊คเชิญชวนเพื่อนๆจำนวน
หนึ่งว่า “จำหน้า E โง่ หรือเมีย หรือลูก หรือร้านอาหารแกนนำ"
คนนั้นคนนี้ไว้นะครับ เห็นที่ไหนก็จัดให้หนักๆหน่อยแล้วกัน
เขาก้อคงลอยนวลและไม่มีความผิด..ใช่หรือไม่..
Edited by zeed~ko, 4 มกราคม พ.ศ. 2556 - 06:57.