ถนนมันมีเลนเดียวหรือครับ ถ้า 2 เลน ตัวเลข 1905 ก็ต้องหาร 2 อีก
เวลาใช้รถพร้อมกันไหมครับ ถ้าไม่พร้อมก็ต้องแบ่ง 381000 เป็นช่วงเวลา แล้วไปคำนวณช่วงเวลามากที่สุดเป็นความต้องการของถนนหารด้วยจำนวนเลนถนน
ถึงถนนจะมี 2 เลน และเวลาที่มีการใช้รถจะกระจายกัน แต่จริงๆแล้วการใช้รถของคนเมือง
จะมีทิศทางและจำกัดเวลาในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนนะครับ ไม่ได้หมายความว่าจะกระจายรถไปบนพื้นผิวถนนได้ตามชอบใจ
เพราะถนนเป็นทางสัญจร ไม่ใช่ที่จอดรถ
ดังนั้นในถนนย่านธุรกิจ ในเวลา 7 โมงถึง 9 โมง ก็จะมีปริมาณรถมากมายไปกระจุกอยู่ด้านเดียวของถนน ขณะที่อีกด้านแทบจะโล่ง
และในทางกลับกัน ในช่วงตอนเย็นประมาณ 4 โมงครึ่งถึง 3 ทุ่ม รถก็จะประดังกันไปอยู่ในฟากตรงกันข้ามที่เป็นเส้นทางกลับบ้าน
ขณะที่เส้นทางอีกฝั่งก็โล่ง
ช่วงชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า รถส่วนใหญ่จะเป็นรถบ้าน แต่พอสายๆก็จะเป็นรถส่งของหรือที่เกี่ยวกับธุรกิจมากขึ้น แต่ในช่วงกลางคืน รถที่จะ
อยู่บนถนนดึกกว่าน่าจะเป็นรถบ้าน เพราะมีรถที่ไปโอ้เอ้อยู่ตามห้างหรือแหล่งบันเทิงเยอะ ความเข้มข้นในการจราจรช่วงชั่วโมงเร่งด่วนที่จะเพิ่มขึ้น
ก็เพราะปริมาณรถบ้านที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายนี้แหละ อาจจะได้เห็นคนตื่นตีห้าไปส่งลูกเรียก นั่งกินข้าวเช้าในรถกันอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนาน
อย่างไรก็ดี ในบางเส้นทาง อย่างแถวชานเมืองแถวบางนา หรือสมุทรปราการ ที่มีนิคมอุตสาหกรรม รูปแบบอาจจะเป็นติดขัดทั้งเข้าทั้งออก
เพราะในชุมชนมีทั้งคนที่เดินทางเข้าไปทำงานในเมือง และคนที่เดินทางออกไปทำงานนอกเมือง
แต่ถ้าเป็นในตัวเมือง รูปแบบการเดินทางน่าจะเป็นรถติดฟากเดียวแบบแรกมากกว่าครับ
และในการเดินทางไปทำงาน บางครั้งถนนบางเส้นก็แทบจะไม่มีคนใช้ ขณะที่บางเส้นแน่นขนัด บางครั้งอาจเกิดจากเส้นทางนั้นไม่ใช่เส้นทางหลัก
หรือไม่สะดวกที่จะใช้เดินทาง แต่บางครั้งก็เกิดจากปรากฎการณ์ "ใจตรงกัน" ที่คนแห่ไปใช้เส้นทางลัดเดียวกันโดยมิได้นัดหมายเพราะคาดผิดว่าคนส่วนใหญ่
จะใช้เส้นทางอีกเส้นทาง ปรากฎการณ์นี้ก็เกิดบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อระบบรายงานการจราจรในรถส่วนตัวส่วนใหญ่ก็ยังไม่มี ขณะที่แท็กซี่จำนวนมากจะ
เปิดฟังจส.100 กัน และหลีกเลี่ยงกันแบบนกรู้ได้
นี่ยังไม่นับรวมถึงพื้นที่อยู่อาศัยแบบคอนโดมิเนียม ที่เพิ่มจำนวนขึ้นมากมายตามถนนเส้นหลักๆ แต่ละแห่งมีรถไม่ต่ำกว่า 500 คัน ลองนึกภาพคอนโด
ใกล้ถนนใหญ่ ที่มีรถทะลักออกมาทีละ 2-300 คันต่ออาคารในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน คอนโดแต่ละแห่งอยู่ห่างกันแค่ไม่ถึง 1 กม.ดูครับ
ว่ามันจะทำให้เกิดการชะลอตัวติดสะสมขนาดไหน แถมยังมีพื้นที่คอขวดสำคัญๆ อย่างช่วงข้ามสะพานหลักๆระหว่างฝั่งธนกับกรุงเทพ
หรือปากทางที่จะขึ้นทางด่วน ที่จะมีรถชะลอตัวติดสะสมออกมากระทบพื้นที่ถนนใหญ่อีก
ดังนั้นการเอาแค่พื้นผิวจราจรกับปริมาณรถมาหารเฉลี่ยกัน ผมว่ายังคิดไม่ลึกซึ้งพอครับ
Edited by isa, 5 มกราคม พ.ศ. 2556 - 07:47.