ข้อเท็จจริง กรณีอากง SMS
จากการที่มีการพูดถึงกันมาก เกี่ยวกับอากงSMS
ผมขอแชร์ความรู้คราวๆ เกี่ยวกับระบบมือถือเท่าที่ผมรู้
เพื่อเป็นข้อมูลอีกด้าน
นอกจาก ดราม่า
"อากงผู้น่าสงสารที่นั่งอยู่ดีๆที่บ้าน ก็โดน ตร. บุกมารวบเข้าซังเต 20 ปี ด้วย
ข้อหาหมิ่น และ ศาลก็มีหลักฐานที่อ่อนอย่าง IMEI ที่สามารถปลอมแปลงได้"
ปกติแล้ว โทรศัพท์ที่พร้อมใช้งาน จะมีข้อมูลสำคัญ 2 อย่างคือ
1) IMEI ซึ่งเป็น รหัสที่ระบุ ตัวตนของโทรศัพท์
ซึ่งตามหลัก โทรศัพท์แต่ละเครื่องควรจะมี IMEI ไม่ซ้ำกัน
ถึงแม้จะเป็น ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกันก็ตาม
2) IMSI ซึ่งเป็น รหัสที่ระบุใน SIM
หลังจากที่ เปิดโทรศัพท์แล้ว
โทรศัพท์ จะรอคลื่นจาก Cell Site ที่มีรหัส SID(รหัสค่ายมือถือ) ตรงกับที่ระบุใน SIM
หากพบคลื่นจาก Cell Site โทรศัพท์มือถือจะทำการ "ลงทะเบียน" กับ Cell Site นั้น
โดยส่ง IMEI/IMSI ไปให้ Cell Site
Cell Site ก็จะจดจำ IMEI/IMSI เข้าในเครือข่าย
เพื่อว่า ใครโทรมาหาเรา เครือข่ายจะได้รู้ว่า เราสังกัดอยู่ Cell Site ไหน
แล้วทำให้โทรศัพท์เราดัง ได้ถูก
ซึ่ง Cell Site นี้ มีระยะทำการตั้งแต่หลัก ไม่กี่ร้อยเมตร จนถึงหลายกิโลเมตร
ทำให้ข้อมูล Cell Site สามารถบ่งชี้ สถานที่ของผู้ใช้โทรศัพท์แบบคราวๆได้
(ถ้าใครใช้ GoogleMap บน Smart Phone
คงจะเคยเห็น วงฟ้าๆของระยะ Cell Site เวลา GPS ยังรับคลื่นไม่ได้)
ดังนั้น log จาก โอเปอเรเตอร์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในชั้นศาล
จะมีข้อมูลสำคัญถึง 4 ด้าน คือ
1) IMEI (รหัสที่ระบุ โทรศัพท์)
2) IMSI (รหัสที่ระบุ SIM)
3) Cell Site ที่เชื่อมต่อ ซึ่งจะบ่งชี้ถึงสถานที่
4) ช่วงเวลา ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย
ซึ่งข้อมูล log จาก โอเปอเรเตอร์ บ่งชี้ว่า
ช่วงเวลา เชื่อมต่อกับ True หยุดไป
ไปเชื่อมต่อกับ DTAC แล้วส่งข้อความหมิ่น
ก่อนจะกลับมา เชื่อมต่อกับ True อีกครั้ง
ใน cell site สถานที่เดียวกันคือ บ้านลุง
นั่นคือ
โทรศัพท์อากง มีการเปลี่ยน SIM เพื่อหมิ่น
ก่อนจะเปลี่ยน SIM กลับ นั่นเอง!!!!
ถึงแม้จะมีข้อเท็จจริงว่า
"มีโปรแกรมเฉพาะที่สามารถเข้าไปแก้ไขเลข IMEI ได้อย่างอิสระ"
แต่ log จะไม่มีทางที่จะหน้าตาแบบนี้
อย่างน้อย cell site และ เวลา
ควรจะแตกต่างกันมากกว่านี้
ไม่ใช่สถานที่เดียวกัน แล้วช่วงเวลาสลับการเชื่อมต่อ SIM กันแบบนี้
สรุปง่ายๆคือ
1) โทรศัพท์มือถือสามารถปลอมแปลง IMEI หรือไม่?
คำตอบคือ "ใช่"
แต่
.
.
.
2) อากงถูกปลอมแปลง IMEI ไปหมิ่น หรือไม่?
คำตอบกลับเด่นชัดว่า "ไม่"
เพราะ ข้อเท็จจริงของ log จาก โอเปอเรเตอร์
นั้นครอบคลุมชัดเจนกว่า เพียงด้าน IMEI
-----
แสดงให้เห็นว่า
"จำเลยกระทำความผิดจริง อย่างมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อกลบเกลื่อนความผิด
ด้วยการซื้อ SIM DTAC แบบใช้แล้วทิ้ง มาก่อการ"
หน่ำซ้ำ จำเลยยังไม่สำนึกผิด
ยังพยายามกลบเกลื่อนต่อในชั้นศาล เพื่อให้ตนพ้นข้อกล่าวหา โดย
1)ตอนแรกพยายามจะบอกว่า เดือนพฤษภาคมนั้นตนเอามือถือไปซ่อม
(จะโบ้ยว่าร้านมือถือเป็นคนส่ง)
แต่หลักฐาน log มีสถานที่กำกับ
จำเลยจึงเปลี่ยนคำให้การ อ้างว่าจำผิด อาจส่งซ่อมเดือนเมษายน
2)จากนั้นจึงอ้างว่า IMEI นั้นสามารถปลอมแปลงได้
ดังนั้น อากงอาจถูกปลอมแปลงตอนไปซ่อมมือถือ
แต่คำให้การก็มีพิรุธ อ้างว่าจำ ร้านซ่อมมือถือไม่ได้
ทั้งๆที่ ถ้าส่งซ่อมจริงต้องจำได้เพื่อไปเอามือถือคืน
นอกจากนี้ log ก็ ชี้ชัดอยู่แล้วว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
3)อากงจึงดิ้นรนเฮือกสุดท้ายว่า
อากงลืมมือถือไว้ที่บ้านบ่อยๆ
โดยให้คนใกล้ชิดมาเป็นพยาน
(จะโบ้ยว่ามีใครบุกเข้ามาในบ้านเปลี่ยนSIM แล้วส่ง??)
ซึ่ง common sense เลยคือ
ถ้าบุกถึงในบ้านจะมาเปลี่ยน SIM ทำอาแป๊ะอะไร??
ศาลจึง จัดเต็ม ไป 4x5 = 20 ปี
คุก 20 ปีของอากง จึงไม่ใช่ได้มาเพราะโชคช่วย!!
-----
4) ข้อน่าสังเกตอันนึงคือ
หลังจากจนต่อหลักฐานโจทก์
อากงยังเลือกที่จะสู้ต่อ ด้วยดราม่าน่าสงสาร ว่า
ตนจงรักภักดี, แก่แล้วหลงๆลืมๆ, ส่ง SMS ไม่เป็น ฯลฯ
และ ยังเอาหลานมาเป็นพยาน เพื่อให้บันทึกในศาลอีกด้วย
ซึ่งตรงนี้ถ้าใครรู้เรื่องนิติศาสตร์
จะรู้ว่าการต่อสู้แบบนี้จะไม่มีผลต่อคดีในศาลเลย
เหมาะกับจัดตั้งมวลชนนอกศาลมากกว่า
เพราะคนปกติ มักจะคิดว่า คนใกล้ชิดให้การ
ศาลควรให้น้ำหนัก เพราะน่าเชื่อถือ
แต่จริงๆแล้ว ตามหลักนิติศาสตร์
คนใกล้ชิดฝ่ายใดฝ่ายนึง จะมีน้ำหนักน้อยมาก ในศาล
เพราะมีแนวโน้มสูงว่าจะให้การช่วยเหลือ โจทก์/จำเลย
(ดูความหมาย ผู้หญิงปิดตา ถือตาชั่งและดาบ)
ยิ่งอากงให้การขัดกับหลักฐานมาก่อนหลายครั้งยิ่งไม่ต้องพูดเลย
ว่าจะเหลือน้ำหนักเท่าไหร่
พูดง่ายๆคือ
การสู้แบบนี้ มันไม่ได้คิดชนะในศาลแต่แรกแล้ว
แต่ จะใช้ การดึงอารมณ์ร่วมจากประชาชนปกติที่ไม่รู้ตรงนี้
เพื่อจัดตั้งมวลชนนอกศาลมากกว่า!!!
http://www.bloggang....group=1&gblog=3
เอามาให้อ่านกันครับ