อ้อหรือจขกทจะพูดถึงสมัยยุบสภาก็น่าจะขยายความมาหน่อยไม่ใช่ตัดแปะแล้วไม่ออกความเห็น ใช้สมองสักนิดเลยทำงงไปด้วย งั่นดูข่าวนี้ที่คับว่าปปช.ว่าไง
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ทำการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 จากการยุบสภา โดยบัญชีทรัพย์สินของบุคคลที่น่าสนใจ อาทิ
- นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มีทรัพย์สิน 1,401,957 บาท ไม่มีหนี้สิน
ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.สงขลา วันที่ 10 มกราคม 2551
นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มีทรัพย์สิน 1,447,395 บาท
มีหนี้สิน 119,233,696 บาท รวมมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 117,786,300 บาท (http://hilight.kapook.com/view/61039 ) แสดงว่าตอนพ้น 10/5/54 ยื่นแล้วใช่ไหมคับ ตอนนี้กับมาเป็นส.ส.ใหม่ต้องรอให้พ้นส.ส.อีกรอบศิริโชคถึงจะยื่นอีกทีใช่ไหมคับงั่นช่วยบอกนายกปูให้รีบๆๆยุบสภาที่คับนายศิริโชคจะได้ยื่นให้ดู
ศิริโชค แจง หนี้สิน 119 ล้านบาท เพราะ ค้ำประกันครอบครัว นำทรัพย์สินขายชดใช้ หนี้หาย
นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีรายงานข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ระบุถึงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ซึ่งอ้างอิงในส่วนของตนเองได้ว่าหนี้สินประมาณ 119 ล้านบาทถูกชำระหมดภายในระยะเวลา 3 ปีที่ดำรงตำแหน่งว่า หนี้สินจำนวน 119 ล้านบาท ที่เคยถูกแสดงก่อนเข้ารับตำแหน่งนั้นไม่ใช่หนี้ที่ตนเองก่อขึ้น แต่เป็นหนี้ของบริษัทครอบครัวซึ่งตนเป็นได้ไปค้ำประกัน ในฐานะคนในครอบครัว โดยการค้ำประกันดังกล่าวนั้น มีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นทั้งที่ดินในกรุงเทพฯ และบริเวณชายทะเล รวมไปถึงห้องชุดในโครงการที่ยังไม่ได้ขายของบริษัท แต่ไม่ได้แจงในรายการบัญชีทรัพย์และหนี้สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบ ( ป.ป.ช.) เพราะเป็นทรัพย์สินของบริษัท ทำให้มีคนบางกลุ่มได้หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นโจมตีว่าเป็นบุคคลที่มี หนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี เนื่องจากอาจจะมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
นายศิริโชค กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเมื่อบริษัทถูกฟ้องล้มละลายตนในฐานะผู้ค้ำประกันได้เข้าไปเจรจา ปรับโครงสร้างหนี้หลักกับกองทุนรวมไทยรีสตรัคเจอริ่ง ซึ่งมีธนาคารเกียรตินาคิน เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมกับนำทรัพย์สินออกมาขายทอดตลาดให้บุคคลภายนอกเพื่อเป็นการชำระหนี้ตาม สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ทำให้ภาระในการค้ำประกันก็หมดไป ดังนั้นการกล่าวหาว่าตนชำระหนี้หมดเพราะมีผลประโยชน์นั้นไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ตนได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมารับตำแหน่งในเดือนธ.ค.2551 และเป็นช่วงภายหลังจากรับตำแหน่งส.ส.ได้เพียง3เดือน
“ ต้องขอตั้งคำถามกับคนที่พยายามบอกว่าตนอยู่ 3 ปีแล้วเสกหรือปลดหนี้ให้หายไปได้ ทั้งๆ ที่ตนเข้ามาเป็นสส.เดือน ม.ค.ปี 2551 นั้นไม่เป็นความจริง และทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าผมได้ประโยชน์จากการที่พรรคประชา ธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาล ” นายศิริโชคกล่าว
Edited by PPPP58, 13 January 2013 - 21:23.