http://chaoprayanews...¸à¸à¸£à¸£à¸¡à¸/
มาตรา ๒๙๑/๓ บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตามมาตรา ๒๙๑/๒ อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๒๙๑/๑ หรือมาตรา ๒๙๑/๒ ตลอดจนการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากการกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็นเป็นความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ให้คณะกรรมการขจัดความขัดแย้งวินิจฉัยว่าการกระทำใด ๆ เป็นความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๒๙๑/๔ ให้มีคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งอันประกอบด้วยกรรมการขจัดความขัดแย้งจำนวน ๕ คน ซึ่งประธานรัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลซึ่งได้รับเลือกโดยคณะรัฐมนตรี จำนวน ๑ คน
(๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๒ คน โดยต้องมาจากพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวน ๑ คน และต้องมาจากพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวน ๑ คน
(๓) ผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมรัฐสภา จำนวน ๑ คน
(๔) พนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมรัฐสภา จำนวน ๑ คน
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขจัดความขัดแย้งตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการขจัดความขัดแย้ง แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการขจัดความขัดแย้งในราชกิจจานุเบกษาในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับเลือกและการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการขจัดความขัดแย้ง
0000
ที่มาของ 5 อรหันต์ ให้มาจากรัฐสภา รัฐบาล อัยการ ไม่เข้าท่าจริง ๆ
0000
พวกเสื้อแดงหนักกว่าอีก จะออกพรฎ.นิรโทษกรรมตรง ๆ ถามจริงๆ มันทำได้จริงหรือ หากประชาชนกลุ่มอื่นๆ ไม่เอาด้วย
ทำเมื่อไหร่มันก็กลียุคทันที
อยู่ดีๆ จะมาประกาศล้างความผิดให้ตัวเอง ไม่คำนึงถึงหลักนิติรัฐ หรือคำพิพากษาของศาล
นี่มันเผด็จการชัด ๆ
0000
เสื้อแดงตกนรกไปแล้วครึ่งตัว ดิ้นขอนิรโทษกรรม...เวรกรรมจริง ๆ
ประธาน นปช. เตรียมอ่านแถลงการณ์จี้รัฐบาลออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ให้ผู้ชุมนุมพ้นผิด โดยไม่แบ่งแยกว่าจะเป็นกลุ่มการเมืองใด ยกเว้นแกนนำ ขณะที่เสื้อแดงร่วมคึกคัก
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. เตรียมที่จะอ่านแถลงการณ์ เพื่อเสนอร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษ หรือ ถูกกล่าวโทษทางอาญา อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วัน...ที่ 1 มกราคม ปี 2550 - วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2554 ต่อนายกรัฐมนตรี มีทั้งสิ้น 4 มาตรา สำหรับพระราชกำหนดนิรโทษกรรมนั้น มีเนื้อหาใจความสำคัญว่า บรรดาผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดอาญา อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2550 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปี 2554 ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจากคำพิพากษาอันถึงที่สุด หรือ อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งยังไม่ถึงที่สุดให้ถือว่า ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้พ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง แต่ทั้งนี้ไม่ครอบคลุมถึงแกนนำที่เป็นผู้สั่งการให้มีการชุมนุมในแต่ละกลุ่มการเมือง
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ขณะนี้ คนเสื้อแดง ยังคงมีการจัดกิจกรรมแสดงดนตรี ในพื้นที่ด้านในของเรือนจำ และแกนนำ นปช. ต่างสับเปลี่ยนปราศรัยและทักทายกับนักโทษที่อยู่ในเรือนจำด้วย
Edited by Can Thai, 15 January 2013 - 18:03.