Jump to content


Photo
- - - - -

เลิกพูดเรื่องเก่าซ้ำซาก มาโูว่ารัฐบาลไทยจะทำอะไรกับการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร วันนี้


  • Please log in to reply
9 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 06:21

กระทรวงต่างประเทศ ชี้ ศาลโลกไร้อำนาจตีความปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นคดีเก่าแถมยังมีเงื่อนงำซ่อนไว้ในอุทรณ์ แต่ไม่ว่าผลพิจารณาจะเป็นเช่นไร ไทยต้องยอมรับโดยดี

เมื่อ วันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐสภาฯ กรณีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) พิจารณาคำร้องของกัมพูชาเกี่ยวกับข้อพิพาทบริเวณปราสาทพระวิหารในเดือน เมษายนนี้ โดยได้เชิญนายสุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเข้าชี้แจง แต่นายสุรพงศ์ ติดภารกิจจึงมอบหมายให้อธิบดีที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงต่อ กมธ. แทน

ทั้ง นี้ นายดามพ์ บุญธรรม ผอ.กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันว่า กรอบแนวทางการต่อสู้ในการแถลงคดีด้วยวาจาในวันที่ 15-19 เมษายนนั้น ทีมกฎหมายไทยจะชี้แจงต่อศาลว่าไม่มีอำนาจในการตีความคดีครั้งนี้ โดยประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่

1. การชี้แจงคัดค้านว่าศาลไม่มีอำนาจในการตีความพื้นที่ทับซ้อน เพราะถึงแม้ธรรมนูญศาลจะให้อำนาจศาลตีความใหม่ในคดีเดิมที่เคยมีคำพิพากษาไป แล้วโดยไม่มีอายุความ แต่ทางกัมพูชาดำเนินการไม่ถูกต้อง เพราะทางกัมพูชายื่นให้ศาลตีความคดีเดิมในเรื่องใหม่ คือ ให้ตีความพื้นที่ทับซ้อนไม่ใช่ตัวปราสาทเขาพระวิหาร เปรียบเสมือนกัมพูชาซ่อนอุทธรณ์ในการยื่นตีความต่อศาลครั้งนี้

2. ชี้แจงต่อศาลว่าระยะเวลาที่ผ่านมาไม่ได้เกิดข้อพิพาทใดในเรื่องของการ ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในปี 2505 โดยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของไทยได้อนุมัติให้มีการล้อมรั้วครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อน และกัมพูชาไม่ได้มีการโต้แย้งใดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาเหมือนเป็นการยอมรับสิทธิในพื้นที่ทับซ้อนของไทย

3. ชี้แจงต่อศาลว่า ทางกัมพูชาไม่มีอำนาจในการยื่นตีความ เพราะยื่นตีความโดยไม่ถูกต้อง เป็นในลักษณะการอุทธรณ์ที่ซ่อนรูปในการตีความ ซึ่งแท้จริงแล้วธรรมนูญศาลไม่ได้ให้อำนาจในการอุทธรณ์ในคดีที่มีคำพิพากษา สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ปี 2505

ด้านาย วรเดช วีระเวคิน อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ประเมินแนวทางคำพิพากษาของศาลไว้ 4 แนวทาง ดังนี้

1. ศาลยกฟ้อง เพราะไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ ซึ่งส่งผลให้ไทยได้สิทธิตามสถานะเดิมหลังคำพิพากษาในปี 2505

2. ศาลระบุว่าศาลเองมีอำนาจในการพิจารณาคดีและพิพากษาให้ยึดอธิปไตยของไทยเหนือ พื้นที่ทับซ้อนตามที่มติ ครม. ของไทยเมื่อปี 2505 ที่อนุมัติให้มีการล้อมรั้ว

3. ศาลพิพากษาให้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่เป็นของกัมพูชา โดยยึดแผนที่ 1:200,000 ที่ทางกัมพูชาใช้กล่าวอ้าง

4. คำพิพากษาของศาลออกมาในแนวทางเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง เนื่องจากมีคณะตุลาการร่วมวินิจฉัยทั้งสิ้นรวม 17 คน โดยศาลอาจออกมาตรการบังคับอื่นแทน ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นแนวทางใด

โดย นายดามพ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า คาดหวังว่าศาลจะมีคำพิพากษาในแนวทางแรก คือ ยกฟ้องการยื่นตีความของกัมพูชา แต่ที่สุดแล้วไม่สามารถไปสรุปแทนศาลได้ว่าคำพิพากษาจะออกมาแนวทางใด อย่างไรก็ตาม คาดว่าหลังจากมีการแถลงด้วยวาจาแล้ว ศาลจะพิพากษาในราวเดือนตุลาคม โดยยืนยันว่า ไทยจะยอมรับคำพิพากษาของศาล และนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล

ทั้ง นี้ หากไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก อาจเข้าข่ายผิดต่อกฎบัตรสหประชาชาติข้อ 94 ที่ระบุว่า หากผู้เป็นฝ่ายในคดีฝ่ายใดไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันซึ่งตกอยู่แก่ตนตาม คำพิพากษาของศาล อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงได้ ซึ่งถ้าเห็นจำเป็นก็อาจทำคำแนะนำหรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดำเนินเพื่อให้ เกิดผลตามคำพิพากษานั้น

นอกจากนี้ นายดามพ์ ยังกล่าวถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มการเมืองบางฝ่ายที่ระบุไม่ให้ไทยรับอำนาจ ศาลโลก และไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลว่า ต้องทำความเข้าใจว่า การไม่รับอำนาจศาลโลกได้นั้นต้องเกิดขึ้นในกรณีที่เป็นคดีความที่เกิดขึ้น ใหม่ แต่คดีนี้เป็นคดีเดียวกับที่ศาลเคยมีคำพิพากษาไปตั้งแต่ปี 2505 ให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ดังนั้นถือว่าไทยรับอำนาจศาลโลกไปแล้ว แต่ประเด็นในการต่อสู้ครั้งนี้คือ การชี้แจงว่าศาลไม่มีอำนาจในการตีความคดีเดิมที่เสมือนเป็นการอุทธรณ์ตามที่ ทางกัมพูชาได้ยื่นคำร้อง เพราะธรรมนูญศาลโลกไม่ได้ให้อำนาจไว้

ที่ ผ่านมายังไม่พบว่ามีประเทศใดในองค์การสหประชาชาติไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของ ศาลโลก ส่วนกรณีที่นายสมปอง สุจริตกุล อดีตทนายความประสานงานคดีปราสาทพระวิหารระบุว่า สหรัฐอเมริกาไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นอาจเกิดจากความเข้าใจผิด ทั้งนี้ยอมรับว่า สหรัฐฯ ได้ประหารชีวิตนักโทษเม็กซิโกจริงทั้งที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ศาลโลก อันเนื่องมาจากการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศไม่ทันการณ์ โดยรัฐบาลกลางได้ประกาศเจตนารมณ์ชัดที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกแล้ว เพียงแต่แก้กฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับศาลไม่ทันเท่านั้น จึงขอยืนยันว่า สหรัฐฯ ไม่ได้แสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อศาลโลกแต่อย่างใด

อย่าง ไรก็ตาม ในส่วนที่มีการเรียกร้องให้นายสมปองเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านกฎหมายต่อสู้คดี ปราสาทพระวิหารนั้น ทางกระทรวงต่างประเทศยินดีรับฟังและนำไปพิจารณา แต่จะมีการแต่งตั้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต่างประเทศ

#2 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 06:30

วันพฤหัสบดี มีการสัมนาที่นิด้า หากไม่สะดวก ดูถ่ายทอดสด FMTV

พรรคประชาธิปัตย์แจ้งมาแล้วว่า จะส่ง สส.ศิริโชค โสภา เป็นตัวแทนพรรคมาเป็นวิทยากรในการสัมมนา ที่จัดโดย เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง ๓ สถาบัน (ครส) ร่วมกับ กลุ่มสยามสามัคคี
พฤหัสฯที่ ๒๔ มค ๕๖ ที่ห้องประชุมชั้น ๕ อาคาร บุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เรื่อง "“แนวทางของไทยต่อการพิจารณาคดีของ
ศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศว่าด้วยปราสาทพระวิหาร ”
กำหนดการ
๐๘.๓๐ น. - ๐๙.๑๕ น. ลงทะเบียน
๐๙.๑๕ น.... - ๐๙.๓๐ น. พิธีเปิดการสัมมนา
๐๙.๓๐ น. – ๑๐.๑๕ น. บรรยายโดย ม.ล. วัลย์วิภา จรูญโรจน์
๑๐.๑๕ น. – ๑๐.๓๐ น. พักรับประทานของว่าง
๑๐.๓๐ น. – ๑๑.๑๕ น. บรรยายโดย ดร. สมปอง สุจริตกุล
๑๑.๑๕ น. – ๑๒.๐๐ น. บรรยายโดย ส.ว. คำนูณ สิทธิสมาน
๑๒.๐๐ น. - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น. – ๑๓.๔๕ น. บรรยายโดย ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ "ศิริโชค โสภา"
๑๓.๔๕ น. – ๑๔.๓๐ น. บรรยายโดย ผู้แทนพรรคเพื่อไทย
๑๔.๓๐ น. – ๑๔.๔๕ น. พักรับประทานของว่าง
๑๔.๔๕ น. - ๑๕.๑๕ น. สรุปการสัมมนาโดย อ. บวร ยสินทร,
พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์
๑๕.๑๕ น. – ๑๖.๓๐ น. รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เข้าสัมมนา
ปิดการสัมมนา

#3 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 06:33


http://www.youtube.com/watch?v=2nnJJlkZCpk
“ปึ้ง” โชว์โง่กลางสภา เจอ “กษิต” สอนมวย 
***17 ม.ค. 56 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
 
เเล้วที่ท่านพูดบอกว่าผมเนี่ยไม่กล้านำคณะไปสู้คดีที่ศาลโลก ผมจะเล่าให้ท่านฟัง สมัยที่รัฐบาลท่านเนี่ย ท่านรัฐมนตรีต่างประเทศก็นำคณะไป เเต่ก็ไปนั่งดู เพราะอะไรเพราะในศาลนั้นหัวหน้าฝ่ายศาลของกัมพูชาคือท่านฮอร์นัมฮง ท่านพูดภาษาฝรั่งเศส หัวหน้าศาลของทีมทนายของเรา ก็พูดภาษาฝรั่งเศส
 
“ผมเนี่ยฟังไม่รู้เรื่องเเม้เเต่เเอะหนึ่งภาษาฝรั่งเศส ไปนั่งก็ไม่มีประโยชน์ เเต่เมื่อท่านอยากให้ผมไป ผมก็จะใช้งบประมาณเเผ่นดินร่วมคณะไปครับ”
 
224443_463614120360689_696792724_n.jpg
 
***17 ม.ค. 56 นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
 
การที่มีคณะผู้เเทนระดับสูงนำโดยรัฐมนตรี ไปสมบทกับคณะเจรจานั้น มันก็เป็นหลักการปฏิบัติโดยทั่วๆไป เพื่อไปให้กำลังใจ เพื่อเเสดงว่าฝ่ายรัฐบาลฝ่ายการเมืองนั้น สนับสนุนการดำเนินการของคณะผู้เชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ เเล้วระหว่างก่อนหรือหลังการไปชี้เเจงที่ศาลโลกนั้น ก็จะมีการปรึกษาหารือเป็นระยะๆ 
 
เพราะบางครั้งบางคราว ผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยเเละต่างประเทศนั้น ก็ต้องการข้อคิดเห็นทางฝ่ายการเมือง เเล้วรัฐบาลก็ได้เเต่งตั้งท่านทูตวีรชัยไป ไม่ใช่รัฐมนตรีต่างประเทศ ส่วนในกรณีของกัมพูชานั้น เขาเเต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะผู้เเทนในการเจรจา 
 
“ไม่จำเป็นครับว่าจะต้องพูดภาษาฝรั่งเศสได้หรือไม่ เพราะมันมีกระบวนการของการแปล” 
 
เเล้วก็หลักปฏิบัติของกัมพูชา ที่เอารัฐมนตรีต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้เเทน ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราช ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกัมพูชาเสมอไป
 
เหม่งปึ้ง ใจแขมร์ รู้เรื่องไรบ้าง ปะกิตก้อไม่ได้เรื่อง ฝรั่งเศษไม่กระดิก 
และปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแห่งแอเคริน รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา นะเหนี้ยยย
พอๆกะ KFC U. State เลย 555555555555555
 

Edited by redfrog53, 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 06:35.

Posted Image

#4 charlie24

charlie24

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,017 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 06:56

"ไม่จำเป็นต้องปฎิบัตตามคำสั่งของกัมพูชา(เขมร)เสมอไป"

ผมได้ยินชัด ควายยยยยยปิ้งได้ยินไหม



#5 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 07:09

สรุปข้อมูล เดือน ก.พ. 2555

ความคืบหน้ากรณีการขอตีความคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร

ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1. ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554 กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก” ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 และพร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเร่งด่วนขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยอ้างเหตุการณ์ร้ายแรงซึ่งกล่าวหาว่าไทยเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้นในบริเวณปราสาทพระวิหารและในบริเวณอื่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ และประชาชนจำนวนมากต้องอพยพหนีภัย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากส่วนของดินแดนกัมพูชาในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารในทันทีและไม่มีเงื่อนไข ห้ามไทยดำเนินกิจกรรมทางทหารใดๆ ในบริเวณดังกล่าว และให้ไทยงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่อาจกระทบสิทธิของกัมพูชา หรือเพิ่มความขัดแย้ง
องค์คณะผู้พิพากษาในครั้งนี้มีผู้พิพากษาทั้งหมด 16 คน โดยมี Mr. Hisashi Owada เป็นประธาน และมีผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc) จำนวน 2 คน ซึ่งไทยและกัมพูชาได้ใช้สิทธิเลือกฝ่ายละหนึ่งคน โดยไทยได้เลือก Mr. Jean-Pierre Cot ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ส่วนกัมพูชาได้เลือก Mr. Gilbert Guillaume ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสเช่นกัน และเคยเป็นประธานศาลโลก (ช่วง ค.ศ. 2000-2003) อันทำให้องค์คณะนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสถึง 3 คน โดยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสอีกหนึ่งคนคือ Mr. Ronny Abraham
ในวันที่ 30-31 พ.ค. 2554 ศาลโลกได้รับฟังการให้ถ้อยคำของทั้งไทยและกัมพูชากรณีคำร้องขอของกัมพูชาให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยกัมพูชาสรุปขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวรวม 3 ข้อตามที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ไทยสรุปขอให้ศาลจำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาออกจากสารบบความ ต่อมาในวันที่ 18 ก.ค. 2554 ศาลโลกได้มีคำสั่งยกคำขอของไทยดังกล่าวข้างต้นด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ และด้วยคะแนนเสียง 11 ต่อ 5 (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Owada, Al-Khasawneh, Xue, Donoghue, Cot) สั่งให้ทั้งไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราว (Provisional Demilitarized Zone: PDZ) ตามที่ศาลได้กำหนด
รวมทั้งด้วยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue) ให้ไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระของกัมพูชาไปยังปราสาทพระวิหาร ให้ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามในกรอบอาเซียนรวมทั้งต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์เข้าไปยัง PDZ และให้ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทนั้นเกิดมากขึ้น ตลอดจนให้แต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
สำหรับการสู้คดีนี้ ไทยได้ตั้งคณะทำงาน 3 คณะ ได้แก่ (1) คณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของไทย มีองค์ประกอบ 15 คน นำโดยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ทำหน้าที่เป็น ผู้แทน (Agent) ฝ่ายไทย และมีที่ปรึกษากฎหมาย (Counsel) ชาวต่างชาติ 3 คน โดยมีชาวฝรั่งเศสหนึ่งคน คือ Mr. Alian Pellet รวมทั้งมีที่ปรึกษา อาทิ รมว. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) รมว. กระทรวงกลาโหม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และเจ้ากรมแผนที่ทหาร (2) คณะทำงานของ กต. เพื่อสนับสนุนการดำเนินคดี ซึ่งมีปลัด กต. เป็นประธาน และมีคณะทำงานย่อยในด้านต่างๆ อีก 5 ชุด (3) คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ ซึ่งมี รมว. กต. เป็นประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย 34 คน ทำหน้าที่ช่วยให้คำปรึกษาด้านนโยบายและความเห็นทางกฎหมายให้กับคณะดำเนินคดีฯ

2. ความคืบหน้า
ความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับกรณีการขอตีความคำพิพากษาของศาลโลกมีส่วนที่สำคัญตามลำดับดังนี้
วันที่ 18ก.ค. 2554 ภายหลังศาลโลกได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว นายกษิต ภิรมย์ รมว. กต. ในขณะนั้น ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ฝ่ายไทยเคารพคำสั่งของศาลและจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้ไทยมีความพอใจต่อคำสั่งศาลโลกดังกล่าวเพราะมีผลให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม
วันที่ 25ก.ค. 2554 ได้มีการประชุมหารือระหว่าง กต. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของไทยกรณีศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว นายกษิต ภิรมย์ ในฐานะประธานในที่ประชุมดังกล่าวได้แถลงว่า จะได้นำข้อสรุปจากที่ประชุมเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาส่งมอบให้รัฐบาลชุดใหม่ต่อไป
วันที่ 16 ส.ค. 2554 ครม. ของรัฐบาลชุดใหม่ที่มี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2554 ได้มีมติให้ กต. ไปพิจารณารายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับกรณีการที่กัมพูชาขอให้ตีความคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารและคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว ให้รอบคอบและรอบด้านก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
วันที่ 12 ต.ค. 2554 สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้ให้ความเห็นชอบตามที่ กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลก
วันที่ 18 ต.ค. 2554 ครม. ได้มีมติให้ความเห็นชอบตามที่ สมช. เสนอให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ตามพันธกรณีที่ไทยในฐานะรัฐสมาชิกที่มีอยู่ตามกฎบัตรสหประชาชาติ พร้อมทั้งแนวทางในการดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว รวมทั้งให้ความเห็นชอบท่าทีของไทยในการประสานกับกัมพูชาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกต่อไป
วันที่ 15 พ.ย. 2554 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้มีการเปิดการอภิปรายทั่วไปตามที่ ครม. เสนอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในเรื่องการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 ทั้งนี้เนื่องจากทางทหารในฐานะผู้ปฏิบัติมีความกังวลว่า การถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทอาจทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้ประเทศเสียอธิปไตย และนำไปสู่การยื่นฟ้องดำเนินคดี สมช. จึงมีความเห็นมายัง ครม. ขอให้เปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาดังกล่าว ในการประชุมดังกล่าวได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่าเรื่องนี้ต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ซึ่ง ค.ร.ม. เห็นว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 190 แต่สมาชิกรัฐสภาหลายคนเห็นตรงข้าม แต่เนื่องจากเป็นการประชุมโดยไม่มีการลงมติ จึงไม่มีข้อสรุปใดๆ
วันที่ 16 พ.ย. 2554 พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว. กระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ไทยพร้อมเจรจาโดยจะนำกรอบการเจรจาที่ได้จากการประชุมร่วมกันของรัฐสภาดังกล่าวไปหารือกับกัมพูชาในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC) ที่จะจัดให้มีขึ้น เพื่อให้ได้ข้อยุติใน 5 ข้อดังนี้ ข้อ 1 การปรับกำลัง ข้อ 2 การปฏิบัติต่อผู้สังเกตการณ์ ข้อ 3 การจัดจุดตรวจ ข้อ 4 การดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่ยูเนสโก ข้อ 5 การดำเนินการต่อประชาชนที่วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา
วันที่ 21 พ.ย. 2554 ไทยได้ยื่นข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Observations) ต่อนายทะเบียนศาลโลกเพื่อโต้แย้งคำขอของกัมพูชาให้ตีความคำพิพากษาของศาลโลก โดยมีความยาว 300 หน้า และภาคผนวกอีก 600 หน้า
วันที่ 24 พ.ย. 2554 นายทะเบียนศาลโลกได้มีหนังสือแจ้งให้กัมพูชาและไทยส่งคำอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Explanations) ภายในวันที่ 8 มี.ค. และ 21 มิ.ย. 2555 ตามลำดับ
วันที่ 13 ธ.ค. 2554 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงได้เสร็จสิ้นการเลือกตั้งผู้พิพากษาในศาลโลกครบ 5 คน (ผู้ที่ได้รับเลือก: Owada, Tomka, Xue, Gaja, Sebutinde) แทนผู้พิพากษาที่จะครบวาระในวันที่ 5 ก.พ. 2555 (Owada, Tomka, Xue, Koroma, Simma,) โดยมีผู้พิพากษาเก่า 3 คนได้รับเลือกเข้าไปใหม่
วันที่ 19 ธ.ค. 2554 กลุ่มกำลังแผ่นดินและเครือข่ายประชาชนชาวกันทรลักษ์พิทักษ์เขาพระวิหารได้ยื่นผลการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนจำนวนประมาณ 5,000 คน ใน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต่อ ผบ.หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 โดยมากกว่า 99% คัดค้านการถอนกำลังทหารตามคำสั่งศาลโลก เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัยและการปกป้องดินแดนบริเวณชายแดนหากไม่มีทหารประจำการอยู่
วันที่ 21 ธ.ค. 2554 หลังเสร็จสิ้นการประชุม GBC ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ร่วมโดยมีส่วนที่สำคัญพอสรุปได้ว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก โดยต้องโปร่งใส เสมอภาค และชัดเจนแน่นอน ภายใต้การตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์ร่วมสามฝ่าย ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย พร้อมตั้งคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาเพื่อหารือรายละเอียดการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกใน PDZ ที่ยังไม่ได้มีข้อยุติ
วันที่ 9 ม.ค. 2555 กลุ่มรวมพลังปกป้องดินแดนไทยจังหวัดอีสานใต้ประมาณ 100 คนได้ไปชุมนุมที่ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์เพื่อคัดค้านการถอนกำลังทหารตามคำสั่งของศาลโลก และได้มีประชาชนชาว จ.ศรีสะเกษ เดินทางมาสมทบกับกลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 10 ม.ค. 2555 กลุ่มแนวร่วมคนไทยรักชาติ รักษาแผ่นดินประมาณ 200 คนได้ไปชุมนุมหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทยเพื่อยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชนจำนวน 15,312 คน ในการปฏิเสธอำนาจศาลโลกในการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร
วันที่ 13 ม.ค. 2555 คณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของไทยได้มีการประชุมโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า
หลังจากที่ศาลโลกได้พิจารณาคำอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ทั้งสองฝ่ายยื่นแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่ศาลโลกจะให้มีการรับฟังการให้ถ้อยคำ (Oral Hearings) ก่อนที่จะตัดสินคดี ซึ่งคาดว่ากระบวนการทั้งหมดน่าจะเสร็จสิ้นในช่วงปลายปี 2555 เป็นอย่างเร็ว คณะดำเนินคดีฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการที่ประชาชนควรจะได้รับข้อมูลมากที่สุดเพื่อให้การดำเนินการมีความโปร่งใส โดยที่ผ่านมาเอกสารที่ยื่นต่อศาลทุกฉบับและข้อมูลการรับฟังการให้ถ้อยคำมีการเผยแพร่บนเว็บไซท์ของศาลโลกมาโดยตลอด ยกเว้นข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษรเพียงฉบับเดียว ซึ่งศาลยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยเพื่อศาลจะได้พิจารณาโดยปราศจากการรบกวนจากภายนอก
ทั้งนี้ภายหลังการรับฟังการให้ถ้อยคำหลังการยื่นคำอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรของไทยแล้ว เอกสารทั้งหมดก็จะสามารถเปิดเผยได้โดยทันทีตามข้อ 53 ของข้อบังคับของศาลโลก นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้เชิญผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเข้าร่วมประชุมตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้คณะดำเนินคดีฯ พยายามอย่างเต็มที่ในการรวบรวมข้อมูลและหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้คดี เนื่องจากการพิจารณาออกคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาล แสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังปี 2505 สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมได้
วันที่ 18 ม.ค. 2555 สื่อมวลชนรายงานข่าวว่า หลังจากทางการกัมพูชาได้ไล่ที่ชาวบ้านสวายจรุม ใน จ.พระวิหาร ซึ่งอยู่ห่างจากตัวปราสาทพระวิหารประมาณ 10 กม. เมื่อช่วงปลายปี 2554-ต้นปี 2555 เพื่อจัดทำเป็นเขตกันชน (Buffer Zone) ตามแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก พบว่าชาวบ้านสวายจรุมบางส่วนไม่ยอมย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านธรรมชาติสมเด็จเดโชที่ทางการกัมพูชาจัดให้ แต่ได้พากันขึ้นไปตั้งบ้านเรือนบริเวณรอบวัดแก้วสิขาคีรีสะวารา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวของทหารกัมพูชาที่ประจำการอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร
วันที่ 8 ก.พ. 2555 กัมพูชาได้ส่งหนังสือประท้วงต่อไทยกรณีไทยสร้างศาลาและอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนภูมะเขือซึ่งอยู่ในเขตปลอดทหารชั่วคราว พร้อมสำเนาถึงศาลโลกร้องเรียนว่าไทยละเมิดคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
วันที่ 9 ก.พ. 2555 กต. ได้แถลงเปิดตัวหนังสือ “ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารและการเจรจาเขตแดนไทย-กัมพูชา” ซึ่งจัดพิมพ์โดย กต. จำนวนประมาณ 20,000 เล่ม เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสองและสาม ทั้งนี้สามารถอ่านและดาว์นโหลดได้ที่ http://www.mfa.go.th.../news/42107.pdf อีกด้วย

3. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่สำคัญมีดังนี้
3.1ผู้พิพากษาในศาลโลกทั้ง 5 คนที่ครบวาระในวันที่5 ก.พ. 2555 ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนเสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณาคำร้องขอให้ตีความคำพิพากษาดังกล่าว ทั้งนี้เป็นไปตามธรรมนูญของศาลโลก มาตรา 13 วรรค 3 ในประเด็นนี้มีหลายคนเข้าใจผิดว่าผู้พิพากษาที่ครบวาระแล้ว หน้าที่ในการพิจารณาคำร้องดังกล่าวก็จะสิ้นสุดไปด้วย
3.2 ศาลโลกจะมีคำพิพากษากรณีคำร้องขอให้ตีความคำพิพากษาดังกล่าวได้ประมาณปลายปี 2555 เป็นอย่างเร็ว เนื่องจากศาลโลกกำหนดให้ไทยส่งคำอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่ 21 มิ.ย. 2555 และมีความเป็นไปได้สูงที่ศาลโลกจะให้มีการรับฟังการให้ถ้อยคำของทั้งสองฝ่ายก่อนที่จะมีคำพิพากษาดังที่คณะดำเนินคดีฯ ได้วิเคราะห์ไว้ ในประเด็นนี้มีหลายคนซึ่งรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วย ที่คาดการณ์คลาดเคลื่อนว่าศาลโลกจะมีคำพิพากษาภายในเดือน ก.พ. 2555 โดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับการครบวาระในวันที่ 5 ก.พ. 2555 ของผู้พิพากษา 5 คนในศาลโลก
3.3 รัฐบาลต้องให้ข้อมูลการสู้คดีนี้ต่อประชาชนให้ครบถ้วน รวมทั้งมีการแปลเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สามารถอ่านเข้าใจได้ เนื่องจากคดีนี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อประชาชนอย่างครบถ้วน รวมทั้งให้สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
การที่คณะดำเนินคดีฯ อ้างว่าได้ให้ข้อมูลประชาชนโดยที่ผ่านมาเอกสารที่ยื่นต่อศาลทุกฉบับและข้อมูลการรับฟังการให้ถ้อยคำมีการเผยแพร่บนเว็บไซท์ของศาลโลกมาโดยตลอดนั้น ไม่น่าจะเป็นการดำเนินการให้ข้อมูลกับประชาชนในเรื่องนี้ที่เหมาะสมและเพียงพอ อีกทั้งไม่มีการแปลเอกสารทั้งหมดที่เป็นภาษาต่างประเทศเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สามารถอ่านเข้าใจได้ นอกจากนี้ยังอ้างว่าข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้ยื่นไปแล้วนั้น ศาลโลกยังไม่อนุญาตให้เปิดเผย ข้ออ้างนี้ไม่น่าจะถูกต้องเนื่องจากไม่มีข้อบังคับใดของศาลโลกที่ห้ามรัฐคู่กรณีเปิดเผยเอกสารการสู้คดีให้ประชาชนของตนเองได้รับทราบ
3.4 เพื่อความไม่ประมาทในการต่อสู้คดีนี้ คณะดำเนินคดีฯ ต้องถือว่าฝรั่งเศสเป็นเสมือนคู่กรณีกับไทยด้วย เนื่องจากการสู้คดีครั้งนี้ ไทยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึงการมีผลบังคับใช้หรือไม่ของแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ที่ฝรั่งเศสจัดทำฝ่ายเดียวในการกำหนดเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา รวมทั้งการกระทำต่างๆ ในอดีตของฝรั่งเศสที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อไทย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาดังกล่าวแล้ว ที่ปรึกษากฎหมายของไทย 1 คนและผู้พิพากษาอีก 3 คนซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสอาจไม่สามารถดำรงความเป็นกลางได้ โดยอาจเอนเอียงเพื่อรักษาเกียรติภูมิของชาติตนเอง การต่อสู้คดีของไทยจึงต้องระมัดระวังและพิจารณาแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าวด้วยความไม่ประมาทไว้ด้วย
3.5 รัฐบาลต้องประท้วงต่อกัมพูชากรณีที่มีการตั้งบ้านเรือนชาวกัมพูชาเพิ่มขึ้นในพื้นที่พิพาท และร้องต่อศาลโลกว่ากัมพูชามีการดำเนินการที่ขัดต่อคำสั่งศาลในข้อที่ให้แต่ละฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทนั้นเกิดมากขึ้น หรือทำให้ยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข ทั้งนี้ตามที่ปรากฏว่ามีชาวกัมพูชาไปตั้งบ้านเรือนเพิ่มบริเวณรอบวัดแก้วสิขาคีรีสะวาราเมื่อช่วงปลายปี 2554-ต้นปี 2555 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
3.6 กรณีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก รัฐบาล และ GBC ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีรายละเอียดตามบทความพิเศษเรื่อง “การดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของ ครม. และ GBC กรณีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก” ในเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1022 วันที่ 30 ธ.ค. 2554 หรือที่ http://www.pub-law.n...ew.aspx?id=1682

0000

ที่มา
http://www.pub-law.n...ew.aspx?id=1694

#6 Can Thai

Can Thai

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,383 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 07:10

วันที่ 25 รัฐบาลเชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เข้าร่วมประชุมและจะสรุปผลเป็นแถลงให้ประชาชนทราบ

#7 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:16

กษัตริย์นครศรีธรรมราช ผู้สร้างเขาพระวิหาร

อิทธิพลอาณาจักรขอม
.......อาณาจักรพนมที่กระบี่ปรากฏตัวตน บนเอกสารที่เกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.๖๖๗ อาณาจักรมลราชที่ อ.ลานสกา นครศรีธรรมราช พ.ศ.๖๙๒ สองอาณาจักรนี้มีเส้นทางติดต่อกันทางแม่น้ำตาปี โดยมีกลองมโหระทึกเป็นโบราณวัตถุหลักฐานตามเส้นทางสายนี้ และ ๒ นครรัฐนี้คือ ชนเผ่าชวากะตัวจริงและเป็นส่วนร่วมของราชวงศ์ศรีบูชาราชวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์แรกของนครศรีธรรมราชที่อาหรับเรียกขาน

 

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
(เดิมเรียก
หาดทรายแก้ว)

ภูมิหลังส่วนหนึ่งของเมืองนคร
......... เมื่อมีนครรัฐที่ลานสกา ชื่อมลราช เมื่อพ.ศ.๖๙๒ แสดงว่านครศรีธรรมราชมีท่าเรือชายทะเลที่คับคั่งด้วยเรือนานาชาติ ดังนั้นนางเหมชาลาและพระทนตกุมาร จึงอาศัยเรือผ่านนครศรีธรรมราช และฝังกระดูกพระพุทธเจ้าไว้ที่หาดทรายแก้ว ใต้องค์พระธาตุปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ.๘๕๔

......... ในปี พ.ศ.๑๐๖๑ พราหมณ์มาลี และพราหมณ์มาลา จากอินเดียอพยพเข้าเมืองนครไปรวมกับเขาวัง ลานสกา และสร้างพระธาตุครั้งที่ ๒

......... พ.ศ.๑๑๑๑ พระภิกษุ ๓๐๐ องค์ อพยพเข้าเมืองนครสร้างวัดท้าวโครตยุคแรก

......... พ.ศ.๑๑๙๑ นครโฮลิง-นครศรีธรรมราช ส่งทูตไปจีน ยุคนี้นครศรีธรรมราชปกครองด้วย พระนางสีมา กษัตริย์ผู้หญิงลูกครึ่งโรมัน ผู้สั่งฆ่าโอรสที่เก็บทองคำกลางเมืองได้แล้วไม่คืนให้เจ้าของ
......... พ.ศ. ๑๑๙๓ เจ้าชายโมคคัลลานะ ขัดแย้งกับพ่อกษัตริย์ลังกา มาสร้างเมืองใหม่ที่โมคลาน อ.ท่าศาลา ยึดเส้นทางการค้าระหว่างลังกากับอาณาจักรฟูนัน

......... พ.ศ.๑๒๐๒ กำเนิดอาณาจักรศรีโพธิ์หรือศรีวิไชยา ในจ.สุราษฏร์ธานีปัจจุบัน

......... พ.ศ.๑๒๑๐ เมืองนครถูกปกครองโดยราชวงศ์ศิวะไกลวัลย์(ใช้พราหมณ์ทุกตำแหน่ง)

......... พ.ศ.๑๒๙๕ พระองค์ตั้งลึงค์บรรพตเขาคา อ.สิชล เพื่อประกอบพิธีกรรมวันศิวาราตรีบูชาพระศิวะในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ทุกปี ศาสนาพุทธเป็นวันมาฆบูชา

......... เรามองเห็นความเกี่ยวเนื่องระหว่าง ขอม-นครศรีธรรมราช-ลังกา อินเดียได้อย่างชัดเจน

......... พ.ศ.๑๒๑๐-๑๓๑๐ นครศรีธรรมราช ปกครองโดยราชวงศ์พราหมณ์ศรีศิวะไกวัลย์ ดังนั้นในปี พ.ศ.๑๓๑๐ พระเจ้าวิษณุที่๑ แห่งชวา ปาเล็มบัง ส่งวิษณุที่ ๒ โอรสมายึดครองนครศรีธรรมราชเป็นพระเจ้าศรีวิชัย แปลว่า ผู้ชนะพราหมณ์

......... พ.ศ.๑๓๓๕ นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของศรีวิชัยทั้ง ๓ ไชยา-นครศรีธรรมราช-ชวา

ลัทธิเทวราชา
......... ลัทธิเทวราชา โดยมุ่งกษัตริย์ให้เป็นพระศิวะหรือเทพเจ้าหลังความตาย พระเจ้าไชยวรมันที่๒ เป็นผู้กำเนิดขึ้น ในตำนานศรีวิไชยากล่าวว่า “พระอินทร์” ฉายาของกษัตริย์องค์ต้นๆของอาณาจักรศรีโพธิ์ไชยา ผู้เป็นลุงได้เลี้ยง พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ มาตั้งแต่ ๖ ขวบตามหลักสูตรเจ้าชายศรีวิชัยจนอายุ ๑๖ ปี อาจจะมีแม่หรือพ่อเป็นขอมแล้วไปส่งให้เป็นกษัตริย์ขอมโดยมอบมหาพราหมณ์ศิวะไกลวัลย์ พระมหาฤาษีระดับสุดยอดที่ศรีวิชัยมีไปเป็นพี่เลี้ยง พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๓๓๒-๑๓๙๓ รวมครองราชย์ ๖๑ ปี รวบรวมเขมรหรือขอมโบราณให้เป็นราชอาณาจักร จากพระกรณียกิจดังนี้
......... ๑.ทรงรวบรวมเจนละบกแถบภูเขาและเจนละน้ำแถบทะเลสาบหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกัน ทำให้กัมพูชาเป็นอาณาจักรเดียว
......... ๒.สร้างเมืองพนมบาแค็ง
......... ๓.เมืองอินทร์ปุระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่ “พระอินทร์” แห่งศรีวิไชยา
......... ๔.สร้างเมืองบันทายไพรนคร
......... ๕.เมืองพระนครทะเลสาบ
......... ๖.ปราสาทบันทายกุฏี
......... ๗.หริหราลัย
......... ๘.อมเรนทรปุระ
......... ๙.ปราสาทออกยม
......... ๑๐.มเหนทรบรรพตที่พนมกุเลน
......... พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ แผ่อิทธิพลออกทะเลใต้ไปทางจันทบุรี-เกาะกง-สู่ศรีวิชัยไชยา-ศรีวิชัยนครศรีธรรมราช และศรีวิชัยชวาปาเล็มบัง ทรงรวบรวมลัทธิพุทธมหายาน ลัทธิชัยเกษตรที่บูชาพนมบูชาบุณคุณของภูเขาเข้ากับลัทธิไศวนิกายที่บูชาศิวลึงค์ เป็นศาสนาใหม่ เรียกว่า ลัทธิเทวราชา ยกกษัตริย์เป็นเทพโดยสมมุติโดยมีเป้าหมายทำกษัตริย์ให้อยู่ในเทพเจ้าและเทพเจ้าอยู่ในตัวตนกษัตริย์ พิธีกรรมนี้กระทำบนภูเขาพนมกุเลน โดยพราหมณ์ศิวะไกลวัลย์เป็นเจ้าพิธีและกองทัพ “สยามกุก” ก็ปรากฏตัวตนที่นี่ดังเป็นปัญหาของนักวิชาการกรุงเทพฯตามจดหมายเหตุของจีน คำว่า เสียมหลอ”(Siam-Lo) เป็นอาณาจักรรวมระหว่าง “ไชยากับละโว้” และเป็นที่มาของคำว่า “สยาม”(Siam) ในปัจจุบัน

นครศรีธรรมราชสยายปีก
......... ในปี พ.ศ.๑๔๔๖ พระแก้วมรกตสถิตอยู่ที่นครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยทั้ง๓ ครั้งที่ ๒ ละโว้แปรพักตร์จะไปเข้าข้างขอมมากขึ้น กษัตริย์นครศรีธรรมราชจึงส่งพระเจ้าสุชิตราชพร้อมพล ๑๗ หมื่นไปตีละโว้หรือลพบุรีเพราะขอมส่งกองทัพมารุกรานนครศรีธรรมราช พระเจ้าสุชิตมีแม่เป็นเจ้าหญิงละโว้ ในขณะนั้นกษัตริย์ลำพูนยกทัพมาทำศึกกับละโว้ พระเจ้าละโว้ยกกองทัพออกไปนอกเมือง พระเจ้าสุชิตราชจึงเข้ายึดละโว้ได้โดยง่ายแล้วปกครองอยู่ ๒๖ ปี ๘ เดือน ในพระนามพระยาปานะโกศลกัมโพชราช น่าสงสัยว่าเป็นเชื้อสายของพราหมณ์กัมพุชหรือกัมโพช เป็นพราหมณ์ประเภทเลี้ยงวัว ที่อพยพจากอินเดียมาสู่นครศรีธรรมราช แถววัดป่ายาง ต.ท่างิ้ว ซึ่งพบเทวรูปพระกฤษณะ เทพเจ้าคนเลี้ยงวัวที่นั่น

......... เจ้ากรุงละโว้จากเมืองนครได้โปรดให้โอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองราม ที่เมืองพระสวามีพระนางจามเทวีเคยปกครองมาก่อน เมืองนี้ต่อมาปริวรรตมาเป็นแคว้นอโยธยา ชื่อเมืองของพระรามในรามเกียรติ์ แสดงว่า คัมภีร์รามายณะก็มีอิทธิพลต่อระบบกษัตริย์ไม่แพ้ศาสนาฮินดูพุทธแล้วให้โอรสองค์ที่ ๒ ไปครองเมืองศรีจนาศะเดิมเรียกชื่อใหม่ว่า “วิมายะ” หรือ พิมาย โดยสร้างประสาทหินพิมายขึ้น เพราะ “วิมายะ” เป็นชื่อหนึ่งของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ และพระยาสุชิตราช เป็นผู้นับถือศาสนาพราหมณ์นิกายวิษณุ หรือไวษณพนิกายจากนครศรีธรรมราช โอรสองค์ที่ ๒ นี้คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ต่อมาได้โปรดสร้างเทวาลัยเขาพระวิหาร จากที่มีการสร้างมาหลายครั้งให้ยิ่งใหญ่อลังการกว่าเดิม ประสาทเขาพระวิหารจึงมีทั้งศิลปะแบบเกาะแกร์ แบบปาปวน และแบบบายน รวมทั้งเทวรูปจตุคามรามเทพแบบนครศรีธรรมราช

......... กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชกาลที่ ๒๗ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงหนีความวุ่นวายของฝรั่งเศสทั้งด้านการทูต การทหาร การศาสนาและการปกครอง ดังเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ฝรั่งชาติกรีกเอเยนต์สายตรงของฝรั่งเศสที่มียศถึงสมุหนายก เสด็จมาสร้างเมืองหลวงสำรองที่ลพบุรี หรือละโว้ชะรอยพระองค์จะทรงรู้ว่า “เทพเจ้าวิมายะ” แห่งปราสาทหินพิมายเป็นฮวงจุ้ยที่ดีของเทพเจ้าพระนารายณ์ด้วยกันที่มีพระนามเหมือนกัน ทำให้พระองค์ปลอดภัยจากศัตรูตลอดมาข้อนี้น่าคิด

ความเป็นไป
........การสร้างเทวาลัยเขาพระวิหารดูจะเป็นรูปแบบเล็กๆมาตั้งแต่ พ.ศ.๗๐๐-พ.ศ.๙๐๐ จากอิทธิพลของกษัตริย์โกณฑัญญะจากอาณาจักรพนม และสร้างเปลี่ยนรูปไปตามกาลเวลา เพราะตำแหน่งที่ตั้งของเขาพระวิหารต้องโฉลก “ลึงค์บรรพต” หรือภูเขาที่เป็นรูปลึงค์ของพระศิวะ โดยธรรมชาติการพัฒนาการสร้างและเปลี่ยนเจ้าของ ผู้สร้างจึงเปลี่ยนไปเสมอเหมือนกระท่อมเปลี่ยนเป็นบ้าน บ้านกลายเป็นตัวตึก จากตัวตึกกลายเป็นคอนโด เมื่อเปลี่ยนเจ้าของเดิม แต่ต้องสร้างในที่เดียวกัน

........ดังนั้น การสร้างด้วยรูปแบบแผนผังศักดิ์สิทธิ์ดัง “ปุระ” ของพราหมณ์จะเกิดขึ้นจริงๆประมาณ พ.ศ.๑๔๓๐ เป็นต้นมา และการสร้างอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.๑๔๓๖ เป็นต้นมาเมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงสร้างเทวาลัย วิมายะ-พิมายเสร็จแล้ว จึงเข้ามาบริหารจัดการสร้างเขาพระวิหารประมาณปี พ.ศ.๑๔๖๐ โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงขอมพระองค์หนึ่งทำให้มีกำลังคน ทั้งนายช่างฝ่ายต่างๆ คนงานและพราหมณ์ผู้รอบรู้พิธีกรรม
........และที่สำคัญที่สุดคือ เครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างและเสบียงอาหารตลอดเวลาการสร้างเทวาลัยอย่างต่อเนื่องจนมาถึงสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒


ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์
........ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์เอเชียชาวฝรั่งเศส เข้ามาศึกษาวิจัยนครวัด นครธม และอาณาจักรศรีวิชัย ตามคำสั่งของรัฐบาลฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่๖ พ.ศ.๒๔๖๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาประวัติศาสตร์ไทยได้นำมาขุดค้นวัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราชพบศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ จารึกเมื่อ พ.ศ.๑๓๑๘ โดยพระเจ้าวิษณุที่ ๒ หรือพระเจ้าศรีวิชเยนทรราชาในจารึกหลักนี้มีคำว่า “ศรีวิชัย” แปลว่า “ผู้ชนะพราหมณ์”

........ยิ่งกว่านั้น ยอร์ช เซเดส์ ยืนยันว่าผู้สร้างเขาพระวิหารพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เป็นกษัตริย์ไปจากนครศรีธรรมราช แต่ ณ วันนี้ นักวิชาการกรุงเทพฯกำลังแสดงท่าทีอคติกับฝรั่งเศส เรื่องเขาพระวิหารเป็นของเขมรเพราะขอมเป็นผู้สร้างเขาพระวิหารแต่พอผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสยืนยันว่า คนไทยเป็นผู้สร้างเขาพระวิหาร นักวิชาการกรุงเทพฯและนักการเมืองกลับไม่เชื่อ แถมปฏิเสธ แทนที่จะอ้างประวัติศาสตร์ส่วนนี้ว่า คนไทยสร้างจะได้มีน้ำหนักต่อคำพิพากษา นักวิชาการเหล่านี้กลับปฏิเสธ ว่าเป็นไปไม่ได้

คุณกลัวอะไร??
........กลัวศรีวิชัยนครศรีธรรมราชจะปกครองประเทศไทย หรือหากความกลัวนี้เป็นจริงและต่อเนื่องมาจากอดีต ความคิดของราชธานีกรุงเทพฯที่เผาเอกสารจำนวนมากหน้าวัดพระธาตุเมืองนคร พ.ศ. ๒๔๖๖ ก็เป็นจริง เพื่อลบศรีวิชัยนครศรีธรรมราชออกไปจากนโยบายการปกครอง

พระเจ้าไชยวรมันที่
........พระเจ้าไชยวรมันที่ ๗ ครองราชย์ระหว่างพ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๒ ผู้ตั้งลัทธิพุทธราชาห่างจากพระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ เกือบ ๔๐๐ ปี ผู้สร้างปราสาทตาพรม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทพิมานอากาศ เป็นต้น โดยนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งยืนยันว่าพระองค์ท่านเป็นกษัตริย์จากเมืองพิมายและละโว้ โดยเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์ขอมอีกทีหนึ่ง
........ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ.๑๗๔๐ พระองค์ได้ส่งกรมเต็งอัญศรีชคตไตรโลกราชจากละโว้ให้มาปกครองศรีวิชัยไชยา ในนามพระเจ้าสูรยนารายณ์ที่ ๒ หรือพระเจ้าไตรโลกยราชเพื่อป้องกันการข่มขู่ศรีวิชัยไชยา จากแคว้นอโยธยาที่ขยายอำนาจลงใต้มา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๒๒ โดยผนึกกำลังกับเมืองโปโลนนรุวะในลังกา และเมืองพระเวียงนครศรีธรรมราช พระเจ้าไตรโลกยราช คือ “ปู่” ของพระเจ้าจันทร-ภาณุศรีธรรมโศกราชมหาราชแห่งนครศรีธรรมราช (พ.ศ.๑๗๗๐-๑๘๑๓) ผู้พยายามจะให้นครศรีธรรมราช(ตามพรลิงค์) เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ทั้ง ๓ ครั้งที่ ๓ และในช่วงปี พ.ศ. ๑๗๔๐-๑๗๖๒ ที่นครศรีธรรมราช ต้องส่งส่วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๗ แห่ง ไปให้กษัตริย์ขอมอาบเหมือนละโว้โดยขนส่งทางเรือ อาบบนมนังคศิลาอาสน์สมมุติที่ทำด้วยไม้มะเดื่อเพื่อความเป็นราชาเทวะ

บทสรุป
........จากบริบทที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า พราหมณ์หนุ่มโกณฑัญญะจากอาณาจักรพนม(กระบี่) ไปสร้างอาณาจักรฟูนัน(พนัน) พระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของขอมผู้ตั้งลัทธิเทวราชาไปจากศรีวิชัย-ไชยา พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ผู้สร้างเขาพระวิหารเป็นกษัตริย์นครศรีธรรมราช และพระเจ้าไชยวรมันที่ ๗ ผู้ตั้งลัทธิพุทธราชาไปจาก “พิมาย” ลูกหลานละโว้ นครศรีธรรมราช แล้วเราจะไปกลัวอะไรกับการอ้างเอาว่า “ขอมเป็นผู้สร้างเขาพระวิหาร” เพราะปราสาทหินมากมายในอาณาจักรขอม คนไทยจากภาคใต้เป็นผู้สร้าง

........และยิ่งมีน้ำหนักเข้าไปอีกมาก เมื่อศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสเองยืนยันว่าสุริยวรมันที่ ๑ เป็นกษัตริย์จากนครศรีธรรมราช นักวิชาการ นักการเมือง ระดับชาติของไทยเองต่างหากที่ไม่น่าเชื่อหลักฐานชิ้นนี้ แล้วกลับไปด่าฝรั่งเศสว่าเป็นผู้วางระเบิดเวลาใช้เขาพระวิหารเป็นเครื่องมือ หากนักวิชาการไทยยังมีความคิดปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของศรีวิชัยที่เป็นอาณาจักรของคนไทยเสียเองก็เป็นการยากที่จะไปเอาชัยชนะคืนมาจากเขมรลูกน้องของศรีวิชัยในอดีต
____________________________________

หมายเหตุ อาณาจักรพนม พ.ศ.๖๖๗ ครอบคลุมอาณาบริเวณในอดีตของ จ.กระบี่และ อ.เวียงสระ สุราษฏร์ธานี

 

http://board.palungj...หาร-148644.html


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#8 bonnerr

bonnerr

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,158 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:17

รมต ต่างประเทศติดภาระกิจ หรือว่าไม่มีกึ๊นที่จะไปอธิบายให้ กมธ ฟัง ต้องให้ ผอ กองเขตแดนไปแทน คำว่า ติดภาระกิจนี่เห็น รมต ชอบใช้ก้นจัง

ไม่รู้ภาษาฝรั่งเศสเลยไม่อยากไป เป็นข้ออ้างที่ตลกสิ้นดี

อย่างน้อยสถานทูตไทยในกรุงปารีสต้องมีพนักงานท้องถิ่นทำหน้าที่ล่ามที่แปลฝรั่งเศสเป็นไทยให้ รมต ต่างประเทศฟังได้



#9 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 19:09

อย่าว่าแต่ "ภาษาฝรั่งเศส" เลยครับ ที่ "ไอ้นกตะกรุมปึ้ง" มันไม่กระดิก...

 

ภาษา "คน" ที่เค้าพูดกันดีๆ ทั่วๆ ไป มันก็ยัง "ฟังไม่รู้เรื่อง" เลยครับ...!!! -_- -_-


ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#10 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 - 19:14

สงสัยว่าไอ้นกตะกรุมมันจะพูดภาษาญี่ปุ่นได้แหง๋ ๆ

 

วันก่อนนายกญี่ปุ่นมาเมืองไทย เห็นมันไปลอยหน้าลอยตาอยู่

 

อ่อ..ตอนมันไปกราบไข่ฮุนเซ็นต์นั่นแสดงว่ามันพูดภาษาเขมรได้

 

ผมเข้าใจถูกมั๊ย..

 

:lol: 






ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน