ไม่พอใจการ์ตูน "เซีย ไทยรัฐ" ประชาธิปัตย์เตรียมร้องสภาการหนังสือพิมพ์
Sun, 2009-04-26
นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าววันนี้ (26 เม.ย.) ว่า อยากขอความเป็นธรรมจากสื่อ โดยเฉพาะนักเขียนการ์ตูน "เซีย ไทยรัฐ" ซึ่งเขียนคอลัมน์การ์ตูน หน้า 3 อย่างมีอคติต่อนายกฯ และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีข้อคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์นายกฯและพรรคเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหรือฐานะอะไร และไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ความขัดแย้ง หรือสถานการณ์ใดๆ ของประเทศ
นาย สาธิต กล่าวต่อว่า นักเขียนการ์ตูนเซีย ไทยรัฐ ไม่ได้ใช้ความเป็นสื่อสารมวลชนปฏิบัติหน้าที่ อยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณสื่อ ไม่ได้ใช้วิชาชีพในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นในเชิงที่สร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การบริโภคข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา พร้อมทั้งไม่ได้ใช้ความคิดไปในทางที่เกิดประโยชน์ต่อสถานการณ์ที่เกิดความ รุนแรง สถานการณ์บ้านเมืองมีปัญหา
ดังนั้น จึงขอความเป็นธรรมไปให้ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ และให้ดำเนินการตามวิชาชีพ จรรยาบรรณ ตามมาตรฐานของสื่อ ทั้งนี้ จะรวบรวมข้อมูลที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของ "เซีย ไทยรัฐ" เพื่อนำเสนอต่อนายกฯสภาการหนังสือพิมพ์ว่าให้ตรวจสอบจรรยาบรรณต่อไป
http://prachatai.com...l/2009/04/21034
หลักฐานพฤติกรรมการแทรกแทรงสื่อของรัฐบาลสมัยนั้นอย่างชัดเจนครับ ทำไมผมไม่เคยเห็นรัฐบาลทักษิณจะมีเรื่องกับคนเขียนการ์ตูนบ้างเลยอะ
สมัยรัฐบาลทักษิณ แค่การ์ตูน.....เด็กๆ
ไม่เล่นคนเขียนการ์ตูนหรอก แต่เล่นนักข่าว
http://prachatai.com...l/2008/11/18937
มธ. โชว์งานวิจัย 24 วิธีที่รัฐบาลทักษิณแทรกแซงสื่อ
Fri, 2008-11-14 02:25
13 พ.ย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นประธานเปิดงาน "เวทีวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551 : รักษ์คน รักษ์สังคม รักษ์สิ่งแวดล้อม" หรือ TU RESEARCH FORUM 2008 ณ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มธ.ศูนย์รังสิต ซึ่งจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน โดยงานดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของธรรมศาสตร์สู่สังคม เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย โดยภายในงานได้นำเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยทั้งสิ้น 45 เรื่อง แบ่งเป็น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 17 เรื่อง สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 16 เรื่องและสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 12 เรื่อง
ทั้งนี้หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ได้หยิบยกงานวิจัย เรื่อง "การแทรกแซงสื่อสาธารณะของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 2548"โดย ผศ.รุจน์ โกมลบุตร อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (มธ. ) ขึ้นมานำเสนอในเว็บไซต์คมชัดลึก โดยรายงานว่า งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาเนื้อหาการนำเสนอข่าวเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ในหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ได้แก่ กรุงเทพธุรกิจ เดลินิวส์ และโพสต์ทูเดย์ ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.ถึง 31 ธ.ค.48 ซึ่งเป็นสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มดำรงตำแหน่งนายฯ สมัยที่ 2 โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ ในหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับ จำนวน 6 คน แต่ขอปกปิดรายชื่อ
ผศ.รุจน์ เริ่มต้นด้วยการนำเสนอ การจัดอันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่วโลก โดย Reporters Without Borders ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ที่มุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพด้านการสื่อสาร ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2549 พบว่า ในปี 2544 อันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยอยู่ลำดับที่ 65 จาก 139 ประเทศ และไทยถูกปรับลดเสรีภาพอยู่ลำดับที่ 135 จาก 169 ประเทศ ในปี 2549 (2 รัฐบาล) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย เริ่มลดลงอย่างรุนแรงในปี 2547-2548 ที่สื่อพยายามเสนอเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวมลายูมุสลิมในภาคใต้ และ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มฟ้องร้องหมิ่นประมาทสื่อจำนวนมาก สั่งปิดวิทยุชุมชน ที่วิจารณ์รัฐบาล และในปี 2549 ของรัฐบาลทักษิณ มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 6 คนถูกทำร้ายร่างกาย และอย่างน้อย 5 คน ที่เชื่อว่ารัฐบาลกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง
จากการศึกษาเรื่องการแทรกแซงสื่อ พบว่าวิธีการแทรกแซงสื่อในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 มี 24 วิธี ได้แก่ 1. ขอร้อง เตือน พูดขู่ พูดท้าทายสื่อ 2. เสียดสี ประชด เปรียบเปรย 3. พูดสั่งสื่อ 4. อ้างชาติ 5. ลดความน่าเชื่อถือ 6. ไม่ตอบคำถาม หรือตอบไม่ตรงคำถาม 7. ปั่นข่าว สร้างข่าวอื่นกลบ 8. ใช้ตัวแทนในการแทรกแซง (ร่างทรง) 9. ใช้ข้อมูลเท็จ 10. ใช้กระบวนการศาล
11. แทรกแซงการพูดของแหล่งข่าว 12.แทรกแซงการบริหารงานของสื่อ 13. เข้าช่วงชิงความเป็นเจ้าของในระยะยาว 14แทรกแซงการเงิน การโฆษณาของสื่อ 15. แทรกแซงหน่วยงานอิสระ 16. ละเว้นหลีกเลี่ยงที่จะใช้อำนาจ เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ 17.สั่งตรวจสอบองค์กรสื่อ และสั่งค้นองค์กรสื่อ 18. สั่งปิดองค์กรสื่อ 19. ห้ามจำหน่ายจ่ายแจก 20. ใช้กฎหมาย ระเบียบ หรือมติ ครม.สร้างกฎขึ้นมาใหม่ 21 การใช้มวลชนปิดล้อมสื่อ 22.การปาระเบิดใส่องค์กรสื่อ 23. การขู่ฆ่าบุคลากรด้านสื่อ และ 24. จัดตั้งผู้อ่านเพื่อตอบโต้สื่อ
ผศ.รุจน์ ได้ยกตัวอย่างการแทรกแซงสื่อสมัยทักษิณ 2 เช่น การขู่ฆ่าบุคลากรด้านสื่อ โดยสัมภาษณ์ผู้ข่าวอาวุโส ฝ่ายการเมือง (ขอสงวนนาม) เดลินิวส์ ที่ระบุว่า เคยถูกขู่ฆ่า 2 ครั้ง เพื่อให้เลิกวิจารณ์รัฐบาล หรือการจัดตั้งผู้อ่านเพื่อตอบโต้สื่อ โดยผู้สื่อข่าวอาวุโส กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า ช่วงที่มีการเสนอข่าวการชุมนุมขับไล่รัฐบาลทักษิณ กองบรรณาธิการได้รับจดหมายตอบโต้จากผู้อ่านจำนวนมาก โดยไม่มีชื่อผู้ส่ง แต่เมื่อพิจารณาพบว่า จดหมายเกือบทั้งหมดมีลายมือคล้ายกัน และมาจากอำเภอรอบนอก ที่ นสพ.กรุงเทพธุรกิจส่งไปไม่ถึง การพูดขู่หรือท้าผู้สื่อข่าว โดยผู้สื่อข่าวภาคสนามของสำนักข่าวเนชั่น ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้สื่อข่าวจะถูกตวาดกลับเป็นประจำเมื่อถามเรื่องปัญหาความไม่สงบภาคใต้ เช่น "คุณเดินมาจากมหาวิทยาลัยสดๆ เลยใช่มั้ย ร้อนแรงมากใช่มั้ย ผมรู้จักดีหัวหน้าคุณเป็นใคร" ฯลฯ
"ประชาชนไม่รู้สึกว่านายกตวาดนักข่าว เพราะไม่เป็นข่าวและมีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยมาก นอกจากนายกฯ ครม.ทักษิณ 2 ก็ชอบใช้แบบนี้ เรื่องการปั่นข่าวที่เห็นได้ชัด คือ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจปี 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศซื้อหุ้นสโมสรลิเวอร์พลู เพื่อกลบข่าวการอภิปราย แต่เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ก็ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าว"
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปาระเบิดใส่องค์กรสื่อ วันที่ 3 พ.ย.48 มีการปาระเบิดเข้าไปในสำนักงาน ผู้จัดการ และการใช้มวลชนปิดล้อม สำนักงาน นสพ.เดอะเนชั่น ผู้จัดการ แนวหน้า ฯลฯ เมื่อผู้สื่อข่าว นำประเด็นดังกล่าวไปถาม ก็ได้รับคำตอบว่า ก็เนชั่นคุกคามผมมาตั้ง 5 ปีแล้วนี่
อีกทั้งยังมีการอ้างชาติ รักชาติ เพื่อให้สื่อทำหน้าที่ เช่น กรณีหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เสนอข่าวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดรอยร้าว วันที่ 9 ส.ค.48 พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวในเดลินิวส์ว่า บางกอกโพสต์ เป็นหนังสือพิมพ์สัญญาชาติไทย ทำไมลงข่าวไม่จริง สร้างประเด็นอย่างนี้ จะทำอะไรขอให้คำนึงถึงประเทศชาติบ้าง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ไม่เชื่อมั่นกระบวนยุติธรรมไทย ก็ใช้ศาลฟ้องร้องสื่อมวลชนจำนวนมาก เช่น ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ขอหาหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 1พันล้านบาท และฟ้องไทยโพสต์ กรณีเสนอข่าว สินบนคาร์ปาร์ค ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นอกจากนี้ ผศ.รุจน์ ยังได้รวบรวมข้อมูล รูปแบบการแทรกแซงสื่อสมัย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งมีการแทรกแซงสื่อน้อยกว่า โดยมุ่งสร้างบรรยากาศสงบเรียบร้อย เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป ส่วนวิธีการแทรกแซงมีดังนี้ 1. ปิดสถานีวิทยุ 300แห่งที่เคยเชียร์รัฐบาลทักษิณ ควบคุม ไอทีวี ควบคุมสื่อออนไลน์ บล็อกสำนักข่าวต่างประเทศที่แพร่ภาพการให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ การสร้างบรรยากาศให้สื่อมวลชนเซ็นเซอร์ตัวเอง
สำหรับข้อเสนอแนะสำหรับสื่อมวลชนเอง ผู้วิจัยเสนอว่า สื่อมวลชนควรประกาศนโยบายของกองบรรณาธิการให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะหากมีนโยบายที่จะนำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน และมุ่งตรวจสอบรัฐบาล เพื่อที่ประชาชนจะได้เลือกรับสาร และเข้าไปมีส่วนร่วม เป็น 1 ใน กลไกสังคม เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากรัฐบาลได้