...การแก้เรื่องกัดเซาะชายฝั่ง โจทย์มันต่างกันตามพื้นที่ครับ
อย่างแถวอ่าวไทยตอนล่างนั้น ชายหาดเป็นทราย การกัดเซาะเกิดจากคลื่นลม อันนี้แก้ยากมาก เคยมีการทำสันรูปตัว T ดัก
แต่ก็ยิ่งไปเพิ่มแรงคลื่นให้กัดเซาะระหว่างตัว T หนักกว่าเดิม การแก้ปัญหาควรจะต้องศึกษาเรื่องกระแสน้ำ และการทำแนวดัก
ที่สามารถหักเหหรือสะท้อนแรงของคลื่นให้ออกไปกระแทกกับคลื่นลูกถัดๆไปเพื่อชะลอแรงของคลื่นลง อย่างทำแนวดักเป็นรูป V เฉียง
เพื่อสะท้อนกระแสน้ำให้ไปปะทะกันเอง ก็น่าศึกษาดู
กับอีกด้านคือพวกอ่าวไทยตอนบน อย่างแถวๆสมุทรปราการ พวกที่เป็นหาดโคลน การกัดเซาะเกิดจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น
และการสร้างเขื่อนตอนบนของแม่น้ำ ที่ดักตะกอนไม่ให้มีตะกอนดินใหม่ๆลงมาเสริม การแก้ปัญหาก็คือการสร้างป่าชายเลนนี่แหละครับ
เพราะรากไม้จะเป็นตัวสร้างตะกอนดิน และใบไม้ต้นไม้ที่ตายใหม่ๆจะลงไปทับถมเป็นชั้นดินใหม่ๆได้
อย่างไรก็ดี สาเหตุที่การสร้างป่าชายเลนไม่ค่อยได้ผล ก็เพราะคิดกันแค่ปลูกต้นโกงกางแบบแป๊บๆ จริงๆแล้วการสร้างป่าชายเลนนั้น จะต้องมีพืชพันธ์หลายๆชนิด
ทั้งไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น ไม้ปรากประสาน ไม้ลอยน้ำ เป็นโครงข่ายป่าทึบป่าพรุ และจะต้องดำเนินการในระยะยาว ซึ่งหน่วยงานที่น่าจะดำเนินการได้ผลจริงๆก็คือกรมอุทยานแห่งชาติ
เพราะน่าจะมีข้อมูลและวิทยาการพร้อมที่สุด และพื้นที่นี้ก็ห้ามทำกิจการอื่น เว้นแต่การทำประมงน้ำตื้นแบบควบคุม
แต่อย่าเอาดินไปถมที่แบบที่บักเหลี่ยมบอกเด็ดขาดนะครับ อาจจะได้ที่ดินเพิ่มนิดหน่อย แต่ไม่ใช่แค่ประมงชายฝั่งจะตายสนิท แต่ประมงในอ่าวไทยก็จะไม่เหลือหลอ
ไปด้วย
Edited by isa, 29 มกราคม พ.ศ. 2556 - 11:32.