มันแล้วแต่โรงเรียนนะคะ
ที่รู้เพราะมีน้องสาวอยู่โรงเรียนสาธิต
เค้าก็ค่อนข้างทันสมัย ไม่ได้เรียกการบ้าน
แต่มอบ"งาน"ไปให้ทำ งานกลุ่มมั่ง งานเดี่ยวมั่ง ตามประสาเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง
พวกครูเรียก"งาน" แต่เด็กเรียก "การบ้าน" อยู่ดี
น้องสาวไปติวกับ ติวเตอร์ ด้วย ซึ่งพี่เค้าเรียนโทอยู่วิดวะ อีกคนเรียนโทวิดยาเอกแมท
พี่ทั้งสองเค้าก็ติวให้เด็กโรงเรียนอื่นด้วย
ต่างเห็นพ้องกันว่าครูสาธิตให้งาน หรือการบ้านเนี่ยหละ เยอะมากกกกก
ถ้าเทียบกับโรงเรียนใหญ่ในจังหวัดอีกสามโรงเรียน เช่นขอนแก่นวิทย์ แก่นนคร และกัลยวัตร การบ้านที่ครูให้ถือว่าจิ๊บๆถ้าเทียบกับสาธิต
แต่ผลของการเอนทรานซ์โควต้า เมื่อปีที่แล้ว สาธิตได้แพทย์ 1/3 ของแพทย์มข. และนร.เกือบทั้งหมดของสาธิตติดมหาลัยปิด
นร.ก็คุยกันว่าเพราะทำการบ้าน ทำแบบฝึกหัดเยอะเนี่ยหละ เจอโจทย์แบบต่างๆมากมาย
คือพื้นฐานเจอเยอะที่ครูสั่ง แล้วก็ไปฝึกทำกันอีกนอกรอบ
ก็อยากรู้เหมือนกันนะว่าถ้าบังคับให้ทำการบ้านน้อย แล้วหลักสูตรต่างๆจะปรับไหม การสอบจะปรับไหม
ไอ้แบบที่ว่า เปิดเทอม ม. 6 ได้ 2 เดือนก็เริ่มตระเวณสอบโควต้า สอบตรงกันแล้ว ทำการบ้านมาน้อยจะสอบติดไหม ?
ถ้าหากแก้ + ปรับหลักสูตรด้วย จึงจะสัมพันธ์กับการลดการบ้านนะคะ
เข้ามาโพส เพราะเห็นชื่อ ร.ร.ตัวเองนะเนี่ยะ 55
เชื่อว่าหลักสูตรของสาธิต พัฒนาไปไกลแล้ว ไม่น่าห่วง
ผมห่วง ร.ร.ทั่วๆ ไปนี่แหละ ไม่รู้ความชัดเจนของหลักสูตรเป็นยังไง ต่างคนต่างทำ เด็กเรียนไม่เหมือนกัน
อีกอย่าง เท่าที่สอนเด็กมา ใบงาน นี่แหละครับตัวดี
เพราะบาง ร.ร. ครูบางวิชา ใบงานคือกระดาษเปล่าที่เต็มไปด้วยเส้นบรรทัด
ไม่มีโครงเนื้อหาให้เด็กจับยึดได้ ซึ่งไม่ใช่เอาเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่เด็กเหมือนโคจรเองด้วยซ้ำ
และครูบางวิชา ก็ไม่ได้สรุปประเด็นอะไร แล้วตกลงเด็กรู้เรื่องจริงมั้ยเนี่ยะ
เหมือนที่คุณว่าเลยครับ ปรับเนื้อหา การบ้าน เวลา ผมเห็นด้วย
แต่องค์ประกอบอื่นหละ เช่น การวัดผลระดับชั้น การสอบเข้าระดับสูงขึ้น
ถ้าระบบสอบเข้า วัดผล ยังออกข้อสอบบ้าพลังเหมือนทุกวันนี้ จบครับ
ผลักให้เด็ก วิ่งไปเรียนนอกระบบ
หรือไม่ ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ก็จะได้เด็กที่ฐานไม่แน่นขึ้นมาเรียน ส่งผลต่อการทำงานหลังเรียนจบด้วย