Jump to content


Photo
- - - - -

บทความโดนใจ "ดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ มิใช่นักโทษการเมือง"...


  • Please log in to reply
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 Suraphan07

Suraphan07

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,016 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:07

ดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ มิใช่นักโทษการเมือง

 กวนน้ำให้ใส

สารส้ม 

000(356).jpg


การเรียกร้อง “ปลดปล่อยนักโทษการเมือง” โดยพยายามตีขลุมรวมเอาผู้กระทำผิดในคดีดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นนักโทษการเมืองที่สมควรจะได้รับการนิรโทษกรรมด้วยนั้น ควรถูกตั้งคำถามว่าถูกต้อง เหมาะสม แค่ไหน?

 

1) กฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้มีการใช้บังคับมาแต่เก่าก่อน ทุกยุคทุกสมัย ทุกรัฐบาล

ไม่เกี่ยวกับรัฐประหาร

ไม่เกี่ยวกับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผู้ชุมนุมเกือบทั้งหมด ผู้ปราศรัยทางการเมือง นักเขียน บรรณาธิการสื่อมวลชน ฯลฯ ส่วนมากไม่ได้ถูกดำเนินคดีด้วยความผิดฐานดูหมิ่นสถาบัน ม.112 ซึ่งมีแค่ไม่กี่คนที่มีพฤติกรรมจงใจกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว

ไม่มีเหตุจำเป็นอันใด ที่จะต้องไปนิรโทษกรรมให้กับคนที่จงใจกระทำผิดกฎหมาย ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ซึ่งหากต้องการได้รับการลดหย่อนโทษหรืออภัยโทษ ก็มีกระบวนการยุติธรรมตามปกติอยู่แล้ว

2) กฎหมายอาญา มาตรา 112 มีสภาใช้บังคับโดยถูกต้องชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ใจความบางประเด็นชี้ชัดว่า
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติอยู่ในภาคความผิดลักษณะที่ 1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นมาตรการของรัฐที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์จากหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ซึ่งการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เพราะพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้ และเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย ดังนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่มีความหมายเช่นเดียวกับการเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคสอง ที่เป็นเงื่อนไขแห่งการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคหนึ่ง
“อัตราโทษตามที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กำหนดไว้ก็เป็นการกำหนดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้รัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่รับรองสถานะของพระมหากษัตริย์มีผลใช้ได้อย่างสมบูรณ์ในทางปฏิบัติ และเป็นการจำแนกการกระทำความผิดที่เหมาะสมและได้สัดส่วนกับสถานะของบุคคลที่ประมวลกฎหมายอาญาได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เป็นการทั่วไป ไม่ได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจงและไม่ได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45วรรคหนึ่ง แต่ประการใดเพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้”

 

3) การพิพากษาคดีดูหมิ่นสถาบัน แต่ละคดีก็มีข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายชัดเจน

ศาลยุติธรรมมิได้พิพากษาคดีไปตามอำเภอใจ

ยกตัวอย่างล่าสุด กรณีคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข

คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า นายสมยศหมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ปีที่ 1 ฉบับที่ 15 ปักษ์หลังกุมภาพันธ์ 2553 บทความของผู้ใช้นามปากกา จิตร พลจันทร์ เรื่องแผนนองเลือด กับยิงข้ามรุ่น และนิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ปีที่ 1 ฉบับที่ 16 ปักษ์แรก มีนาคม 2553 บทความคมความคิดของผู้ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ เรื่อง 6 ตุลาคม 2553 โดยทั้งสองบทความมีเนื้อหาใส่ร้ายสถาบันเบื้องสูง เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์
ศาลพิพากษาชัดเจนทั้งพฤติกรรมแห่งการกระทำผิด และประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด มีพยานหลักฐานชัดเจน น่าเชื่อถือ

คำพิพากษาระบุว่า บทความคมความคิดในนิตยสารเสียงทักษิณทั้ง 2 ฉบับ มีเนื้อหาที่ไม่ได้กล่าวถึงชื่อบุคคล แต่เขียนโดยมีเจตนาเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีต เมื่อนำเหตุการณ์ในอดีตมาเชื่อมโยงแล้วสามารถระบุได้ว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื้อหาของบทความเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ การที่จำเลยนำบทความไปจัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และเผยแพร่ จึงมีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112


เมื่อมีการจัดพิมพ์นิตยสาร 2 ฉบับ ต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำสองกรรม

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมสองกระทงแล้ว จำคุก 10 ปี บวกโทษจำคุก 1 ปีในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1078/2552 ของศาลอาญา รวมเป็นจำคุก 11 ปี
 

หากพิจารณาคำพิพากษาด้วยใจเป็นธรรม จะเห็นว่า ศาลยุติธรรมได้ใช้ความละเอียด ถี่ถ้วน และไม่ได้ใช้อำนาจเกินเลยกฎหมายหรือตามอำเภอใจเลย

ในเมื่อกฎหมายอาญาแผ่นดินบัญญัติห้ามไว้แล้ว แต่ยังมีการกระทำผิด จะไม่ให้ศาลยุติธรรมพิพากษาคดีตามกฎหมายได้อย่างไร? แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงสถานะตามรัฐธรรมนูญได้อย่างไร?

ใครด่านักการเมือง ยังต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายหมิ่นประมาท
 

แต่สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ใครริจะด่า ใส่ร้ายป้ายสี โจมตีเพื่อความสะใจ หรือหวังผลบางประการ จะถือว่าเป็นเรื่องการเมือง ลบล้างกันได้ง่ายๆ อย่างนั้นหรือ?

 

กฎหมายบ้านเมือง จะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร?

http://www.naewna.co.../columnist/5175

 

ตายในคุกเถอะมรึง... :mellow: 


Edited by Suraphan07, 31 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:08.





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน