Jump to content


Photo

ทำไมถึงต้อง "พุทธวจนะ" เท่านั้น...


  • Please log in to reply
7 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 - 20:14

20121127_BuddhaPhoto.jpg

 

๑๐ พระสูตรสำคัญของพระบรมศาสดาฯ


๑.พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิเมื่อจะพูดทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด ...อัคคิเวสนะ! เรานั้นหรือจำเดิมแต่เริ่มแสดงกระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอกดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำดังนี้…

 

มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐


๒.แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโกคือถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา …ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํเวทตพฺโพ วิญฺญูหิ)…

 

มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐


๓.คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้นสอดรับไม่ขัดแย้งกัน ...ภิกษุทั้งหลาย! นับตั้งแต่ราตรีที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอนพร่ำสอนแสดงออกซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้นไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย…

 

อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓


๔.ทรงบอกเหตุแห่งความอัตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก ...ภิกษุทั้งหลาย! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะเรียกว่าอานกะมีอยู่ เมื่อกลองอานกะนี้มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่มเสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่งซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคตจักมีภิกษุทั้งหลาย สุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป ภิกษุทั้งหลาย! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึกมีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล

 

นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓


๕.ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้นอย่าฟังคนอื่น ...ภิกษุทั้งหลาย! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใดที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้ ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้ ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้

 

ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒


ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่ออุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด เมื่อสุตตันตะทั้งหลายตถาคตภาสิตา อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไรดังนี้ เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆได้ ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา

 

ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด เมื่อสุตตันตะทั้งหลายที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกันทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไรดังนี้ เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆได้  ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา

 

ภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล

 

ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒


๖.ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้ …ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัดอยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ไม่มีความเสื่อมเลยอยู่เพียงนั้น

 

มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙


๗.สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตา …ภิกษุทั้งหลาย! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค) ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (เดินตามมรรค) ป็นผู้ตามมาในภายหลังภิกษุทั้งหลาย! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์

 

ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕


๘.ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้องพร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป …ภิกษุทั้งหลาย! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูกความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป ภิกษุทั้งหลาย! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย

ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอนเนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลายก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป ภิกษุทั้งหลาย! นี่เป็นมูลกรณีที่สามซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

 

จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐

 

๙.ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน

 

๙.๑.
(หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”

 

๙.๒
(หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”

 

๙.๓.
(หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”

 

๙.๔.
(หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา” …เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทสนี้ไว้

 

อุปริ. ม. ๑๔/๕๓/๔๑


๑๐.ทรงตรัสแก่พระอานนท์ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป …อานนท์! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้ อานนท์! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น อานนท์! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา อานนท์! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเป็นอยู่ อานนท์! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล


มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘


... อานนท์! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุรษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย ...

 

ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.

 

774094_321177057982028_559933782_o.jpg

 

:)


Edited by wat, 31 มกราคม พ.ศ. 2556 - 20:15.

:) Sometime...Sun shine through the rain...

#2 ter162525

ter162525

    มหาอำมาตย์ใต้พระบาทตลอดกาล

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,077 posts

ตอบ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 15:01

เพราะเหตุนี้แล ผมถึง ชอบอ่าน พุทธวจนะ มากกว่า พระไตรปิฏกที่แปลโดย อรรถ


  • wat likes this
บรรพชนเป็นพยาน ข้าลูกหลานแผ่นดินท่าน ขอสาปส่ง มันผู้ใด ทรยศ คดโกงชาติ ขายแผ่นดิน ขอให้มันบรรลัย อย่าได้มีสุขในแผ่นดินนี้ เดินเหยียบไปในถิ่นใด ขอให้มันร้อนรนดังถูกเพลิงเผา มันผู้ใด คิดล้มล้างกษัตริย์ผู้ทรงทศพิธ ของให้มันผู้นั้นเกิดเป็นคนอนาถทุกชาติไป

#3 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 19:45

ปฐมํ กลลํ โหติ     กลลา โหติ อพฺพุทํ

 

อพพุทา ชายเต เปสิ     เปสิ นิพฺพตฺตติ ฆโน

 

ฆนา ปสาขา ชายนฺติ     เกสา โลมา นขา ปิจ

 

ยญฺจสฺส ภุญชติ มาตา     อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ

 

เตน โส ยตถ ยาเปติ     มาตุกุจฺ ฉิคโต นโร

 

คัดลอกมาจาก พระสุตตันตปิฎก สคาถาวรรค สังยุตตนิกาย

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๙.๔๕ นาฬิกา


"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#4 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 08:47

ปฐมํ กลลํ โหติ     กลลา โหติ อพฺพุทํ

 

อพพุทา ชายเต เปสิ     เปสิ นิพฺพตฺตติ ฆโน

 

ฆนา ปสาขา ชายนฺติ     เกสา โลมา นขา ปิจ

 

ยญฺจสฺส ภุญชติ มาตา     อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ

 

เตน โส ยตถ ยาเปติ     มาตุกุจฺ ฉิคโต นโร

 

คัดลอกมาจาก พระสุตตันตปิฎก สคาถาวรรค สังยุตตนิกาย

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๙.๔๕ นาฬิกา

 

:wacko:  แปลให้ด้วยสิขอรับ... ท่องได้แปลไม่ออกพระตถาคตก็ว่าไร้ประโยชน์น่ะขอรับ อยากทราบขอรับ...


:) Sometime...Sun shine through the rain...

#5 ตะนิ่นตาญี

ตะนิ่นตาญี

    La vie en rose

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,174 posts

ตอบ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 17:33

ปฐมํ กลลํ โหติ     กลลา โหติ อพฺพุทํ

 

อพพุทา ชายเต เปสิ     เปสิ นิพฺพตฺตติ ฆโน

 

ฆนา ปสาขา ชายนฺติ     เกสา โลมา นขา ปิจ

 

ยญฺจสฺส ภุญชติ มาตา     อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ

 

เตน โส ยตถ ยาเปติ     มาตุกุจฺ ฉิคโต นโร

 

คัดลอกมาจาก พระสุตตันตปิฎก สคาถาวรรค สังยุตตนิกาย

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๙.๔๕ นาฬิกา

 

:wacko:  แปลให้ด้วยสิขอรับ... ท่องได้แปลไม่ออกพระตถาคตก็ว่าไร้ประโยชน์น่ะขอรับ อยากทราบขอรับ...

 

 

 

จำได้เฉพาะ ประโยค แรก ประโยค เดียวที่กล่าวว่า


ปฐมํ กลลํ โหติ เท่านั้นแหละครับ คุณ wat ส่วนที่เหลือก็พยายามนึกเอาว่า


ตัวเองนั้นไปเอาประโยคนี้มาจากไหน นึกขึ้นได้ก็นำมาคัดลอกลงไว้


ในกระทู้ พุทธะวจนะ ของ คุณ wat เพื่อที่จะเก็บ ความทรงจำ-จดจำ ไว้ได้ครบถ้วน


ในส่วน ของ คำแปล ก็เช่นกันครับ ตะนิ่นตาญี ไม่ อาจหาญ ที่จะแปล บาลี-สันสกฤต ได้ ลึกซึ้ง


จึงได้คัดลอก คำแปล มาจาก ครูบาอาจารย์ ที่รู้จริง ซึ่ง ท่านได้ แปล ไว้แล้ว มาฝากไว้ ดังต่อไปนี้


“ปฐมชีวิต คือ กลละ จาก กลละ ถึง อัพพุทะ (น้ำล้างเนื้อ)


จาก อัพพุทะ ถึง เปสิ (ชิ้นเนื้อ) จาก เปสิ ถึง ฆนะ (ก้อนแข็ง)


จาก ฆนะ ถึง สาขา บังเกิดเป็น ศีรษะ ผม ขน เล็บ จากนั้น ก็เป็น ทารก ที่เมื่อ


บิดามารดา บริโภค โภชนะ อันใด ก็เป็นอยู่ด้วย โภชนะ อันนั้น”


ถามว่าเหตุแห่งการ นึกถึง พระคาถา นี้มีมาเพราะอะไร นั่นสืบเนื่องมาเพราะ


วันก่อนนี้ได้เข้าไปปล่อย ไก่ตัวใหญ่ ไว้ที่ กระทู้ quantum physics แต่โดยความจริงแล้ว


ต้องเป็น metaphysics (อภิปรัชญา) จึงจะเกี่ยวข้องกันโดยตรงครับ


ตะนิ่นตาญี


วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖


เวลา ๑๗.๓๓ นาฬิกา


"จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา"

#6 ปังตอ

ปังตอ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,229 posts

ตอบ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 14:39

^_^ ...

 

ปฐมํ กลลํ โหติ     กลลา โหติ อพฺพุทํ

 

อพพุทา ชายเต เปสิ     เปสิ นิพฺพตฺตติ ฆโน

 

ฆนา ปสาขา ชายนฺติ     เกสา โลมา นขา ปิจ

 

ยญฺจสฺส ภุญชติ มาตา     อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ

 

เตน โส ยตถ ยาเปติ     มาตุกุจฺ ฉิคโต นโร

 

คัดลอกมาจาก พระสุตตันตปิฎก สคาถาวรรค สังยุตตนิกาย

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๙.๔๕ นาฬิกา

 

:wacko:  แปลให้ด้วยสิขอรับ... ท่องได้แปลไม่ออกพระตถาคตก็ว่าไร้ประโยชน์น่ะขอรับ อยากทราบขอรับ...

พุทธวจนะก้อเช่นกัน...อ่านออกแปลได้ แต่ทำไม่ถึง ก้อเปล่าประโยชน์ ก้อไม่ต่างอะไรจากเถรใบลานเปล่า.... ^_^


ลูกหลานที่รัก จงจำปฏิปทานี้ไว้ “ถ้ามีความจำเป็นเราต้องเสียสละเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปวงชนชาวไทย แม้แต่ชีวิตก็ต้องยอม”

 


#7 wat

wat

    เนตังมะมะ เนโสหะมัสมิ นะเมโสอัตตา.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,542 posts

ตอบ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 18:11

^_^ ...

 

 

ปฐมํ กลลํ โหติ     กลลา โหติ อพฺพุทํ

 

อพพุทา ชายเต เปสิ     เปสิ นิพฺพตฺตติ ฆโน

 

ฆนา ปสาขา ชายนฺติ     เกสา โลมา นขา ปิจ

 

ยญฺจสฺส ภุญชติ มาตา     อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ

 

เตน โส ยตถ ยาเปติ     มาตุกุจฺ ฉิคโต นโร

 

คัดลอกมาจาก พระสุตตันตปิฎก สคาถาวรรค สังยุตตนิกาย

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

 

เวลา ๑๙.๔๕ นาฬิกา

 

:wacko:  แปลให้ด้วยสิขอรับ... ท่องได้แปลไม่ออกพระตถาคตก็ว่าไร้ประโยชน์น่ะขอรับ อยากทราบขอรับ...

พุทธวจนะก้อเช่นกัน...อ่านออกแปลได้ แต่ทำไม่ถึง ก้อเปล่าประโยชน์ ก้อไม่ต่างอะไรจากเถรใบลานเปล่า.... ^_^

 

^_^  ตถาคตกล่าวไว้ว่า จงอย่าเอาตนไปเปรียบผู้อื่น หรืออย่าเปรียบผู้อื่นกับตนว่าดีกว่า, ด้อยกว่า หรือเสมอกันนะขอรับ อันธรรมจากพุทธโอษฐ์นั้น แม้ได้สดับแม้เพียงบทเดียว อย่างเข้าใจ รู้แจ้งแทงตลอดก็เป็นประโยชน์สุขชั่วกาลนานแล้วขออรับ แล้วก็หากแต่ท่องสวดไปเปล่าๆ โดยไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่รู้ความหมายบทพยัญชนะที่แท้จริง แล้วคิดว่านั้นคือสิ่งที่ดี เป็นมงคล เป็นสรณะได้... แค่นี้ก็บิดเบือนเจตนาคำสอนพระตถาคตแล้วขอรับ และคงหาความเจริญอันใดมิได้นะขอรับ...


:) Sometime...Sun shine through the rain...

#8 kittikron

kittikron

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 18 posts

ตอบ 9 เมษายน พ.ศ. 2556 - 23:35

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนี้ครับ เด็กรุ่นหลังๆไม่ค่อยได้รู้เลย


  • wat likes this

Tag:: เปิดให้บริการเล่น Gclub ใน Holiday Palace สถานที่ที่ดีที่สุด





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน