1.) พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ริเริ่มโครงการ
2.) ครม.สมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีมติ 6 พ.ย.2550 อนุมัติหลักการให้ สตช.และบริษัทธนารักษ์-พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ก่อสร้าง วงเงิน 17,679 ล้านบาท
3.) พล.ต.อ.พัชรวาท เสนอครม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อนุมัติ 17 ก.พ.2552 ให้ประมูลแบบรายภาค งบผูกพันสามปี วงเงิน 6,672 ล้านบาท ถูกกว่าการอนุมัติยุคสมชายประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท
4.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. 18 พ.ย.52 พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เสนอ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนการประมูลเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมเป็นสัญญาเดียว เนื่องจาก ครม.อนุมัติเงินก้อนเดียวจึงเห็นว่าแยกประมูลเป็นรายภาคไม่ได้ และจะช่วยประหยัดงบประมาณทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม สตช.บริหารสัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.) 20 พ.ย.52 สุเทพลงนามอนุมัติตามข้อเสนอของ พล.ต.อ.ปทีป
6.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. 25 มี.ค.54 ประมูลราคาแล้วเสร็จในสมัยที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี เป็น ผบ.ตร.
7.) เปลี่ยนแปลงรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ชินวัตร และ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภาวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เริ่มบริหารประเทศอย่างเป็นทางการ และรับผิดชอบในการบริหารสัญญาก่อสร้างโรงพักทั่วประเทศ
8.) ยุคพล.ต.อ.วิเชียร ขยายเวลาการก่อสร้างให้กับบริษัทผู้รับเหมา 2 ครั้งจากเดิมกำหนดต้องก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 17 มิ.ย.2555 เป็นวันที่ 13 ม.ค.56 รวมขยายเวลาให้ 7 เดือน
9.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ รับตำแหน่งนานเกือบ 1 ปี แต่ไม่มีการบริหารให้เป็นไปตามสัญญา
10.) เปลี่ยนแปลง ผบ.ตร. ยุคพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว 7 พ.ย.55 ขยายเวลาสัญญาการก่อสร้างอีก 60 วันจาก 13 ม.ค.56 เป็น 14 มี.ค.56
โรงพักร้างมีแต่เสาเพราะบริหารสัญญาผิดพลาดในยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร...