- 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 21:02 น. |
- เปิดอ่าน 4,871 |
- ความคิดเห็น 24
โดย....ทีมข่าวการเมือง
ภายหลัง นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม
ภรรยาพล.อ.ร่มเกล้า
ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่คลี่คลายสถานการณ์การชุมนุมคนเสื้อแดง
ได้เขียนบันทึก”ประชาชนได้อะไรจากการนิรโทษกรรม…ในวันนี้”
โดยมีการเสนอแนะทางออกต่อการออกกฎหมายนิรโทษกรรม(จากรายงานพิเศษโพสต์ทูเดย์
ออนไลน์เมื่อวันที่ 8 ก.พ.56 http://bit.ly/YYB3qD
) กระทั่งที่ประชุมสภาอย่างไม่เป็นทางการซึ่งมีนายเจริญ จรรย์โกมล
รองประธานสภาเชิญตัวแทนจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แกนนำคนเสื้อแดง
ได้หยิบยกข้อเสนอของนิชาร่วมหารือด้วย
ปรากฎว่าบันทึกของนิชา ยังนำมาซึ่งจดหมายฉบับหนึ่ง จาก นพ.ชูชัย ศุภวงศ์
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ส่งถึงนิชา
โดยเนื้อหาบอกเล่าถึงเบื้องหลังรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์คนเสื้อ
แดงเผาเมือง ที่ถูกตั้งคำถามว่าเหตุใดถึงยังไม่มีการเผยแพร่!?!
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์ขอนำรายละเอียดเสนอ ดังนี้
คุณนิชาครับ
ผมอ่านบันทึกล่าสุดของคุณนิชา
ที่เขียนทักท้วงถึงความพยายามที่จะผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมในขณะนี้แล้ว
ผมอดไม่ได้ที่จะขอแสดงความชื่นชมในความแข็งแกร่งของคุณนิชาที่แสดงความกล้า
หาญในการถามหาความจริงและความจริงใจจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
ทั้งที่ยังคงเป็นข้าราชการที่สามารถจะถูกกลั่นแกล้งใดๆ
ก็ได้จากฝ่ายการเมือง
และเป็นข้อเสนอที่ผมคิดว่าได้ก้าวข้ามความสูญเสียของคนที่รักไปถึงการต้อง
การให้สังคมได้เรียนรู้ความผิดพลาดในอดีต
เพื่อมิให้ความรุนแรงต้องเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้เป็นสังคมที่ปลอดภัย
ปลอดความรุนแรงแก่ลูกแก่หลานในอนาคต
ผมเห็นว่าคุณนิชามีสิทธิอันชอบธรรมอย่างยิ่ง
ในฐานะของคนที่สูญเสียคนที่เป็นที่รักซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การ
ชุมนุมของ นปช. ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553
ที่จะเรียกร้องจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบถึงสิ่งที่เป็นความจริง ความถูกต้อง
ซึ่งไม่ต่างกับคุณแม่ของน้องเกด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตในเหตุการณ์
แม้จะเป็นผู้สูญเสียจากคนละฟากฝั่งและมีวิธีการถามหาความจริงที่แตกต่างกัน
แต่ในสาระสำคัญของการเรียกร้องว่าอะไรเกิดขึ้นกับการสูญเสียของสามีและลูก
และการต้องมีผู้รับผิดชอบต่อการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่มีความชอบธรรม
และเป็นหน้าที่ของทุกองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคมจะต้อง
ดำเนินการโดยสุจริต ไม่บิดพลิ้วจากความเป็นจริง
อย่างกล้าหาญและมีความเที่ยงธรรม
ผมเห็นเช่นกันว่า
กระบวนการปรองดองที่ขณะนี้กำลังพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นโดยใช้การนิรโทษ
กรรมนั้น ไม่มีทางที่จะสร้างความปรองดองที่แท้จริงให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้
เพราะการปรองดองที่แท้จริงไม่เพียงแต่การทำให้ฝ่ายขัดแย้งอยู่ร่วมกันได้โดย
สันติ แต่เป็นการป้องกันไม่ให้ความรุนแรงกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีกในสังคมไทย
การเรียกร้องให้ทุกฝ่ายต้องยอมรับการนิรโทษกรรมโดยไม่มีกระบวนการต่อ
เนื่องอย่างจริงใจ และจริงจังโดย อ้างเหตุของความปรองดองเป็นเพียง
“สิ่งฉาบหน้า”
ความพยายามที่จะปิดหน้าประวัติศาสตร์และบังคับให้ทุกฝ่ายลืมสิ่งที่เกิดขึ้น
ผมไม่คิดว่าการที่สังคมไม่ตระหนักถึงความทุกข์ระทม
ความขมขื่นของผู้สูญเสียหรือผู้ได้รับผลกระทบแล้ว
เขาเหล่านั้นพร้อมที่จะลืมและก้าวไปสู่หน้าใหม่ของประวัติศาสตร์และทิ้งความ
เจ็บปวดสูญเสียให้เป็นอดีต
เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคมไทยที่ผ่านมา
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 และ 2519 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
หรือแม้แต่ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และการชุมนุมเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา ล้วนสะท้อนให้เห็นว่า
หากไม่สามารถเยียวยาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม
ไม่เยียวยาบาดแผลที่บาดลึกทางจิตใจของผู้ที่ยังมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด
ไม่สามารถทำให้คู่ขัดแย้งเข้าใจร่วมกันได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีตและยอมรับ
ร่วมกันถึงสาเหตุหรือความผิดพลาด
ไม่มีการแก้ไขความอยุติธรรมที่มีอยู่ในเชิงโครงสร้างและสถาบันก็อย่าได้หวัง
ว่าเราจะมองไปในอนาคตว่าจะเกิดความสมานฉันท์ การให้อภัย
และทำให้ผู้ได้รับผลกระทบและผู้สูญเสียสามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างปกติใน
สังคมได้ โดยไม่รู้สึกว่าต้องแบกรับความขมขื่นของการเป็นผู้ถูกกระทำ
สังคมไทยก็ไม่มีทางหนีพ้นจากวงจรของความรุนแรงที่จะกลับมาอีก...
กับดักสำคัญที่เป็นอุปสรรคในกระบวนการสร้างความปรองดองที่แท้จริงให้เกิด
ขึ้นได้ในสังคมไทยคือ
การไม่ทำความจริงให้ปรากฏเพื่อที่จะนำไปสู่ความรับผิดชอบของบุคคลที่มีส่วน
ทำให้เกิดขึ้นตามกระบวนการยุติธรรม อย่างน้อยที่สุด ได้แสดงความเสียใจ
ขอโทษโดยสำนึกและรับผิดต่อการกระทำของตนที่นำความสูญเสียมาสู่ผู้อื่นและ
สังคม
การนิรโทษกรรมโดยไม่ทำให้ความจริงปรากฏเสีย
ก่อนเท่ากับว่าเป็นการทำให้ผู้สูญเสียหรือผู้ถูกกระทำอยู่ในฐานะเดียวกับผู้
กระทำความผิด นั่นคือ ผู้กระทำความผิด “ปราศจาก”
โทษหรือไม่ต้องรับโทษจากการกระทำที่ละเมิดต่อผู้อื่น
ในที่สุดแล้วสังคมเองก็ไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ความรุนแรง
ที่เกิดขึ้น
ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกและผมคิดว่าก็คงจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย
เพราะผู้กระทำผิดย่อมย่ามใจว่าจะกระทำอะไรก็ได้หากได้มาซึ่งอำนาจรัฐ
แล้วก็ค่อยมีการ นิรโทษกรรมกันภายหลัง
องค์กรใดไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ
หรือองค์กรอิสระที่มีหน้าที่แล้วไม่ดำเนินการ ไม่ว่าจะด้วยเจตนา
ขาดความสามารถ ขาดประสิทธิภาพ ขาดเจตนารมณ์มุ่งมั่นทางการเมือง
และยิ่งแสดงอาการไม่รู้ร้อนรู้หนาวจากความขมขื่นของผู้สูญเสียที่รอคอยความ
จริงอย่างคุณนิชา หรือคุณแม่ของน้องเกด ผมเห็นว่าเป็นการ “สมยอม”
ให้ผู้กระทำผิดอยู่อย่างลอยนวล
ในเหตุการณ์การชุมนุมของ นปช. ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553
มีหลักฐานต่างๆ มากมายแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่ามี “เจตนา”
ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น
มีกลไกของรัฐ 2 องค์กรที่ทำหน้าที่ค้นหาความจริงในเรื่องนี้
คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
และคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)
ที่ตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
และได้ดำเนินการต่อมาจนถึงสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา สองปีหลังเหตุการณ์การชุมนุมของ
นปช. องค์กร Human Rights Watch
ได้ออกแถลงการณ์ตอนหนึ่งตั้งคำถามถึงรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงของทั้ง
กสม. และ คอป. ที่ยังไม่แล้วเสร็จ บัดนี้ รายงานของ คอป.
ได้ออกมาแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2555 ดังที่ทราบกัน
จึงมีคำถามว่าเหตุใดรายงานของ กสม. จึงไม่แล้วเสร็จเสียที
ผมในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในขณะนั้น
ต้องทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานกรณี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีพนักงานเจ้าหน้าที่ 30
คนและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอีก 4 คน
(เป็นศาสตราจารย์ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยมีชื่อ
อัยการและทนายความอาวุโสที่เป็นที่เชื่อมั่นในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน)
เป็นที่ปรึกษา
ได้ร่วมกันวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพยานหลักฐานทั้งหมดที่มี โดยประธาน
กสม. ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานหลายครั้ง
และในขณะเดียวกัน กสม. ยังได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจอีก 3 ชุด
เมื่อคณะทำงานฯ ได้จัดทำร่างรายงานแล้วเสร็จ ประธาน กสม.
ได้เชิญประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทั้งสามชุดร่วมกับ กสม. เมื่อวันที่ 29
พฤษภาคม 2554 หลังจากนั้น ประธาน กสม. ได้ให้มีการประชุม กสม.
นัดพิเศษในวันที่ 29 มิถุนายน 2554 เพื่อพิจารณาร่างรายงานที่คณะทำงานฯ
ได้ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมเป็นการเฉพาะ
ในการประชุมครั้งนั้น ฝ่ายเลขานุการได้อ่านร่างรายงานทีละบรรทัด
ที่ประชุมได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมในบางประเด็นโดยไม่มีการคัดค้านร่างรายงาน
ทั้งฉบับ และประธาน กสม.
มอบให้ฝ่ายเลขานุการไปปรับแก้ตามความเห็นของที่ประชุม
และให้นัดประชุมอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 6 กรกฎาคม 2554 ซึ่งประธาน กสม.
บอกกับผมว่าเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย
โดยที่ได้พูดในที่ประชุมและนอกห้องประชุมว่ารายงานฉบับนี้ทำให้ประธาน กสม.
สู้หน้าใครต่อใครได้ ซึ่งมีพยานบุคคลสามารถยืนยันในเรื่องนี้
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554
ได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือก
ตั้ง ในการประชุม กสม. วันที่ 6 กรกฎาคม
ได้ปรากฏเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนคือ
มีกรรมการท่านหนึ่งได้นำความเห็นจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ไม่ได้เกี่ยว
ข้องกับการพิจารณาเรื่องนี้มาเสนอต่อที่ประชุม
เพื่อคัดค้านร่างรายงานฉบับที่คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ 3 ชุดและ กสม.
ได้พิจารณาร่วมกันและได้ให้ความเห็นมาแล้ว
ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบรักษาความลับทางราชการเพราะได้นำร่างรายงาน
ที่เป็นเอกสารราชการประทับตราลับไปแจกในที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่กรรมการ
ท่านนั้นเป็นประธานแต่ไม่มีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องนี้
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีกรรมการท่านอื่นๆ
ก็ได้บอกให้ไปทบทวนร่างรายงานใหม่
กรรมการท่านหนึ่งถึงกับพูดว่าหากรายงานออกไปเช่นนี้
กรรมการต้องไปขึ้นศาลทั่วประเทศ
ทั้งที่ในการประชุมก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ให้ความเห็นในลักษณะดังกล่าว
กรรมการบางท่านก็เสนอให้กลับไปให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทั้ง 3
ชุดพิจารณาใหม่อีก ทั้งที่ในการประชุมร่วมของคณะอนุกรรมการทั้งสามชุด
ประธาน กสม.
ก็ได้กล่าวขอบคุณคณะอนุกรรมการทั้งหมดไปแล้วและว่าจะไม่มีการประชุมคณะ
อนุกรรมการเฉพาะกิจอีก
ผมได้ยืนยันว่าขั้นตอนของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทั้งสามชุดได้สิ้นสุดลงแล้ว
แต่ก็มีกรรมการที่ยืนยันความคิดเช่นเดิม ทั้งยังไปให้ข่าวต่อในสื่อต่างๆ
ทั้งหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์
และทางโทรทัศน์ว่ารายงานที่เป็นข่าวทางสื่อมวลชนนั้น กสม. ยังไม่ได้พิจารณา
เป็นเพียงอยู่ในชั้นของสำนักงานหรือคณะทำงานฯเท่านั้น
ซึ่งต่อมามีความพยายามปกปิดหรือทำให้ความจริงคลาดเคลื่อนไป
โดยไม่มีการเปิดเผยความจริงต่อสาธารณชนอย่างตรงไปตรงมา
คุณนิชาครับ
หลังจากที่ผมในฐานะเลขาธิการ กสม.
และผู้อำนวยการสำนักที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานถูกย้ายออกไป
ยังมีการประชุมพิจารณาร่างรายงานอีกกว่าสิบครั้ง จนบัดนี้ รวมเวลา 1 ปี 6
เดือนที่ร่างรายงานถูกปฏิเสธจากที่ประชุม กสม.
ก็ยังไม่มีรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ดังกล่าวของ
กสม. ปรากฏต่อสาธารณะ
กสม.ทั้งคณะคงต้องตอบคำถามต่อสาธารณชนและผู้สูญเสียให้ได้ว่า
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
มีอะไรที่เป็นสาระสำคัญต่างจากร่างรายงานเดิมที่ควรจะได้รับการเผยแพร่และทำ
ความจริงให้ปรากฏแก่สังคมมานานมากแล้ว
การที่คุณนิชาเรียกร้องต่อสาธารณะอย่างสุภาพ
ด้วยความอดทนเพื่อให้ความจริงได้ปรากฏทั้งทางส่วนบุคคลและผ่านสื่อเป็นระยะๆ
เป็นความมานะมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์อันชอบธรรมของผู้ที่ต้องสูญเสีย
และจะเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทยในอนาคต
ผมทำได้เพียงเสนอความจริงให้สังคมได้เห็นถึงกระบวนการทำงานที่ผ่านมาใน
ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับตัวผมเอง
ที่เหลือจากนี้เป็นเรื่องกลไกที่เกี่ยวข้องจะต้องออกมาชี้แจงความจริงต่อไป
ขอเพียงมีส่วนแม้เล็กน้อยในการทำหน้าที่ใช้ฝ่ามือแหวกเมฆหมอกแห่งความเท็จ
ที่ปกคลุมทั่วแผ่นดินสยาม
ให้แสงสว่างได้เล็ดลอดออกมาได้บ้างเท่านั้นดูเพิ่มเติม
http://www.posttoday...เมืองไม่เปิดเผย