สภาพัฒน์เผยเศรษฐกิจ(GDP)ปี 55 โต 6.4%
สศช. แถลงภาวะเศรษฐกิจ(GDP)ไทยไตรมาสที่ 4 ปี 55 ขยายตัวถึง 18.9% ทำให้ตลอดปี55 เศรษฐกิจไทยขยายตัวถึง 6.4% ส่วนปี 56 คาดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4.5 - 5.5%สูงกว่าที่คาด
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) ไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ว่า ภาวะเศรษฐกิจ(GDP)ไตรมาส 4 ของปี 2555 ขยำยตัวร้อยละ 18.9 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในไตรมำสที่แล้ว นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา เป็น ผลมาจากการเพิ่มขึ้นของทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและภายนอกประเทศ โดยการ ใช้จ่ำยเพื่อกำรอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยำยตัวต่อเนื่องร้อยละ 12.2 สูงกว่ำ ร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยเฉพาะสินค้ำคงทนประเภทยำนยนต์เร่งตัวขึ้น อย่างเด่นชัด รวมทั้งหมวดสินค้ำกึ่งคงทน สินค้ำไม่คงทน และบริการขยายตัวอัตรำ ร้อยละ 12.1 เทียบกับร้อยละ 9.8 ในไตรมาสที่แล้ว โดยทั้งค่ำตอบแทนแรงงาน และรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการสุทธิขยายตัว
ส่วนการลงทุนโดยรวมเร่งตัวขึ้น ต่อเนื่องร้อยละ 23.5 จำกร้อยละ 15.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการขยายตัว ของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐในอัตราร้อยละ 21.7 และร้อยละ 31.1 เทียบกับ ร้อยละ 16.2 และร้อยละ 13.2 ในไตรมาสที่แล้วตามลำดับ
สำหรับการส่งออก และการนำเข้าสินค้ำและบริการปรับตัวเร่งขึ้น โดยขยำยตัวร้อยละ 19.0และ ร้อยละ 14.7 จำกที่หดตัวร้อยละ 2.8 และร้อยละ 1.8 ในไตรมำสที่แล้ว
และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ที่ขายตัวถึง 18.9% ส่งผลให้เมื่อคำนวณทั้งปีแล้วเศรษฐกิจ(GDP)ของประเทศไทยทั้งปี 2555 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ระดับ 6.4% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์จากทั้งภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนคาดการณ์ก่อนหน้านี้
เลขาธิการสภาพัฒน์ฯกล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งปี 2555 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 6.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และ บัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.7 ของ GDP
ส่วน เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 - 5.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 11.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.5 และ 8.9 ตามลําดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2556 ประกอบด้วย
1) การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีการเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สกุลเงินในภูมิภาคและประเทศที่เป็นคู่แข่งขันด้านการส่งออก ที่สําคัญ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งแรงกดดันจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
2) การดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการดูแลให้ราคาสินค้าหลัก เช่น เชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบทางการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนและราคาสินค้า รวมทั้งป้องกันความผันผวนในตลาดสําคัญๆ ที่มีความอ่อนไหวต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดอสังหาริมทรัพย์
3) การบริหารจัดการให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบจากการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก โดยเฉพาะการเร่งรัดผลักดันการส่งออกในตลาดสําคัญ การเร่งรัดให้เม็ดเงินที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีที่ผ่านมาสามารถดําเนินโครงการลงทุนได้โดยเร็ว ตลอดจนการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ
4) การเร่งรัดมาตรการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบให้กับ SMEs โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการแข็งค่าของเงินบาท การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการแก้ไขปัญหา SMEs และ
5) การเร่งรัดโครงการลงทุนภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการเร่งรัดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
Edited by wkai, 18 February 2013 - 19:42.