สิ่งเดียวที่ผมไม่ชอบนโยบายหนึ่งคือ ทำรถไฟฟ้าโมโนเรล เนี่ยแหละครับ
ควรเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าขนาดหนัก เพราะจำนวน กทม. คนเยอะ ไม่เหมาะกับรถไฟฟ้าขนาดเบา (ถ้าไปทำที่ภูเก็ตยังว่าไปอย่าง)
ถ้าทำรถไฟฟ้าขนาดหนัก สามารถใช้รถไฟฟ้า วิศวกร อะไหล่ ใช้ร่วมกันได้ ไม่ต้องรอส่งจากต่างประเทศ ไม่ต้องหาโกดังมาเก็บชิ้นส่วนอะไหล่จำนวนมาก บลาๆ
/人= ‿‿ =.u人\
ปัญหาคือสัมปทานรถไฟฟ้าขนาดหนักครับ
รถไฟฟ้าขนาดหนักในประเทศไทยตอนนี้ มีเจ้าของโครงการ 2 รายครับคือ กทม. และรัฐบาล
โดย กทม. เป็นคนเริ่มก่อนในสมัย พล.ต.จำลอง ให้สัมปทานรถไฟฟ้าแก่บริษัทธนายง หรือ BTS ในปัจจุบัน
หลังจากนั้นรัฐบาลจึงเริ่มตามมาโดย รฟท. โดยมี รฟม. เป็นเจ้าของสัมปทาน
ซึ่งของ กทม. ได้อนุมัติแค่สายเดียวคือ สายสีเขียวในปัจจุบัน หลังจากนั้นสัมปทานรถไฟฟ้าทุกสายที่เกิดตามมาหรือจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตข้างหน้าจะเป็นของ รฟม. ทั้งสิ้น
ดังนั้นถ้า กทม. จะสร้างระบบขนส่งของ กทม. เองก็ต้องพัฒนาระบบอื่นให้เชื่อมต่อกับ BTS แต่ต้องไม่ใช้รถไฟฟ้าขนาดหนัก เนื่องจาก กทม. ไม่มีสัมปทานอีกแล้ว
ดังนั้นเพื่อเลี่ยงบาลีเรื่องนี้ กทม. จึงต้องหันไปพัฒนารถไฟฟ้ามวลเบาหรือ monorail แทนครับ
ถ้ามันเป็นเรื่องจริง ผมว่าการทำตัวแปลกแยกของ กทม. มันไม่สร้างสรรค์ครับ
คำถามของผมคือ ประชาชนที่จ่ายภาษีให้แก่รัฐบาลกับกรุงเทพมหานครจะได้อะไรจากความแตกต่างนี้ครับ?
รถไฟฟ้าขนาดเบาจุคนได้น้อย ขนาดตอนนี้ BTS เบียดกันยังกะปลากระป๋อง เพิ่มจำนวนรถ เพิ่มโบกี้ ยังไม่พอเลยครับ
ถ้าจะทำรถไฟฟ้าขนาดเบาจริงๆ ปัญหาตามมาเพียบแน่นอนครับ ผมฟันธงเลย
/人= ‿‿ =.u人\
มันเป็นปัญหาเรื่องของการบริหารครับ ความจริงไม่ใช่เรื่องแปลกแยกอะไร
คือ กทม. เค้าเห็นปัญหาก่อนว่าเรื่องรถติดต้องแก้ด้วยรถไฟฟ้า เค้าก็เปิดสัมปทานก่อน ซึ่งก็ไม่ผิดกฏหมายนะครับ
แล้วต่อมารัฐบาลมาเห็นตามหลัง เออต้องแก้แบบนี้ด้วยวุ้ย เค้าก็เปิด รฟม. ขึ้นมา แล้วออกกฏว่าสัมปทานรถไฟฟ้าขนาดหนักหลังจากนี้ต้องมาจาก รฟม. เท่านั้น
คือการแก้ปัญหาเรื่องนี้จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แค่ 2 ฝ่ายหันหน้าเข้ามาคุยกัน
รฟม. เปิดรถไฟฟ้ากี่สาย วิ่งจากไหนไปไหนบ้าง งั้น กทม. ขอช่วย ทำ monorail ต่อสายย่อยมาให้สายรถไฟฟ้าขนาดหนักของ รฟม. ช่วยขนส่งคนให้ดียิ่งขึ้น เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว
แต่ปัญหาคือ รัฐบาลนี้ไม่ค่อยทำงานร่วมกับ กทม. เท่าไร รอยต่อเพียบ
ดังนั้นทางเลือกของ กทม. คือต้องใช้ทรัพยากรที่มีในมือตัวเองให้ได้ผลมากที่สุด คือ BTS
ดังนั้น model นี้จึงเกิดขึ้น ให้ BTS เป็นกระดูกสันหลัง แล้วมี monorail และ BRT เป็นระยางค์ไปตามชุมชนย่อยต่างๆ
ดังนั้น ต่อจากนี้เป็นไป BTS จะต้องเพิ่มตู้และจำนวนเที่ยวมากขึ้น เนื่องจากต้องรองรับคนที่หันมาใช้ระบบบริการนี้มากขึ้น
อันนั้นก็เป็นการแก้ปัญหาแบบไทยๆ นะครับ
ถ้าเป็นต่างประเทศ การแก้ปัญหาคือ โอนกิจการรถไฟฟ้าในเมืองหลวงทั้งหมดให้ผู้ว่าฯ
สิ่งที่ต้องโอนอำนาจให้ผู้ว่าฯ เพิ่มเติม ถ้าเป็นต่างประเทศนะครับ คือ
1. กิจการขนส่งสาธารณะทั้งมวล เช่น รฟม., ขสมก., เรือด่วน
2. ตำรวจนครบาล
3. การประปา
4. การไฟฟ้า
แต่สิ่งเหล่านี้คงเกิดขึ้นยากในประเทศไทย เพราะเรามักหวงอำนาจไว้ในมือตัวเอง
Edited by Ricebeanoil, 5 March 2013 - 13:40.