รัฐบาลหยุดตัดสินใจช่วยสมาชิก กบข. ให้รับบำนาญแบบเดิม เหตุใช้เงินสูงถึง 1 ล้านล้านบาท
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ได้หยุดการตัดสินใจช่วยเหลือสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ได้เคยสัญญาว่าจะให้สมาชิกที่เข้ามาในช่วงแรกของการจัดตั้งกองทุน กบข. มีโอกาสเลือกว่าจะรับเงินบำเหน็จบำนาญแบบเดิม หรือยังคงเลือกอยู่ในกองทุน กบข.ต่อไป
“รมว.คลัง เพิ่งรู้ว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมากๆ หากทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับสมาชิก กบข. ขณะที่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินในการลงทุนและดำเนินนโยบายประชานิยมต่อเนื่อง จึงต้องจัดสรรการใช้เงินให้กับสิ่งที่จำเป็นมากกว่าดูแลสมาชิก กบข.” แหล่งข่าวเปิดเผย
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ กบข. เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะไม่เจรจากับสมาชิก กบข. ที่จะชุมนุมใหญ่ในวันที่ 26 มี.ค.นี้ ส่วนข้อเสนอที่สมาชิกเคยยื่นมาก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางได้หารือร่วมกับ รมว.คลัง แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะมีข้อมูลที่ต้องหาเพิ่มเติม และแนวทางการแก้ไขต้องใช้เงินจำนวนมาก
ทั้งนี้ ในกรณีที่ให้สมาชิกเลือกรับบำเหน็จบำนาญแบบเดิม รัฐบาลจะต้องใช้เงินในการดูแลถึง 1 ล้านล้านบาท ในตลอด 10-20 ปี ที่ต้องจ่ายให้กับข้าราชการผู้เกษียณอายุ
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขมีหลายแนวทาง แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ข้อเสนอให้ยุบกองทุน กบข. คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ส่วนการปรับสูตรคำนวณบำนาญของสมาชิก กบข. ก็คงมีความเป็นไปได้ยาก
สำหรับข้อเสนอทั้ง 4 ข้อ ที่สมาชิก กบข. เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการ ประกอบด้วย ให้แก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 มาตรา 63 เพื่อให้ได้รับบำนาญที่สูงขึ้น ให้สามารถลาออกได้ กรณีตายให้ได้รับประโยชน์เท่าเกษียณ และให้มีผลแก่ผู้เกษียณไปแล้ว
ที่มา : http://www.posttoday...ข-ส่อเคว้งบำนาญ
เห็นไม่มีใครเอามาตั้งเป็นกระทู้พูดคุยกันเลย แต่จะมองข้ามประเด็นนี้ไม่ได้เลยสำหรับระเบิดลูกนี้
ระเบิดที่ไกล้จะระเบิดเต็มทีกับความอดทนของข้าราชการที่ถูกรัฐหลอกให้เป็นสมาชิก กบข.
ขอใช้คำว่าหลอกเพราะตอนมีการชีชวนก็ไม่ได้แจ้งข้อกฎหมายอะไรเลย มีแค่เจ้าหน้ากระทรวงการคลัง
มาทำหน้าที่เหมือนเซลล์ขายกองทุนรวมพูดแต่ข้อดีจนมีข้าราชการหลงเชื่อจำนวนมาก
และผู้ที่เข้ามาหลังปี ๒๕๔๐ ต้องอยู่ภาวะจำยอมต้องเป็นสมาชิก
และเมื่อเขาเรียร้องรัฐกลับทำเฉยแถมบอกว่าต้องเอาเงินไปทำประชานิยมไม่พูดคุย ปิดทางข้าราชการ
ในเมื่อไม่ฟังข้าราชการก็เตรียมการลุกฮือชุมนุมบ้างเริ่มวันที่ ๒๖ หากรัฐไม่สนใจอาจจะมีมาตราการตอบโต้
จากข้าราชการซึ่งก็คาดเดายากเหลือเกินว่าจะมารูปแบบไหน?
รัฐควรเจรจาหากเขาก่อหวอดชุมนุมรัฐนั่นแหละจะเดือดร้อน ๒๖ มีนาคมมันปิดเทอมแล้ว
ครูซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของกองทุนจะรวมตัวกันง่ายเพราะไม่มีการสอนมาขวาง
แล้วรัฐบาลจะทำอย่างไร? คอยติดตาม
Edited by นายตัวเกร็ง, 9 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 02:03.