จากผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ซึ่งคนกรุงเทพฯออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,715,640 คน หรือร้อยละ 63.98 โดย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้ง 1,256,349 คะแนน ส่วน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จากพรรคเพื่อไทย ได้ 1,077,899 คะแนน
ทั้งนี้ สามารถจำแนกคะแนนที่คนกรุงเทพฯออกเสียงให้ 2 ผู้สมัครจาก 2 พรรคการเมือง ใน 50 เขตได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1.เขตชนะขาด 10,000 คะแนน
พรรคประชาธิปัตย์ ชนะใน 6 เขต ประกอบด้วย 1.เขตยานนาวา 2.คลองสาน 3.สาทร 4.บางคอแหลม 5.สวนหลวง 6.วัฒนา
พรรคเพื่อไทย ชนะใน 3 เขต ประกอบด้วย 1.ลาดกระบัง 2.ดอนเมือง 3.สายไหม
2.ชนะขาดเกิน 2,000 คะแนน
พรรคประชาธิปัตย์ ชนะใน 28 เขต ประกอบด้วย 1.พระนคร 2.บางรัก 3.บางกะปิ 4.ปทุมวัน 5.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 6.พระโขนง 7.สัมพันธวงศ์ 8.ธนบุรี 9.บางกอกน้อย 10.จตุจักร 11.ประเวศ 12.คลองเตย 13.บางแค 14.สะพานสูง 15.วังทองหลาง 16.ทวีวัฒนา 17.บางนา 18.ทุ่งครุ 19.พญาไท 20.บางกอกใหญ่ 21.ห้วยขวาง 22.บางพลัด 23.ดินแดง 24.บึงกุ่ม 25.จอมทอง 26.ราชเทวี 27.ลาดพร้าว 28.บางบอน
พรรคเพื่อไทย ชนะใน 4 เขต ประกอบด้วย 1.บางเขน 2.ดุสิต 3.หนองจอก 4.หนองแขม
3.เขตสูสี ชนะไม่เกิน 2,000 คะแนน
พรรคประชาธิปัตย์ ชนะใน 5 เขต ประกอบด้วย 1.ตลิ่งชัน 2.ภาษีเจริญ 3.ราษฎร์บูรณะ 4.มีนบุรี 5.บางขุนเทียน
พรรคเพื่อไทย ชนะใน 4 เขต ประกอบด้วย 1.บางซื่อ 2.หลักสี่ 3.คลองสามวา 4.คันนายาว
@ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต กทม. 3 กรกฎาคม 2554 จากทั้งหมด 33 เขตเลือกตั้ง หากย้อนไปดูผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตใน กทม.เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 จะพบสัดส่วนที่คนกรุงเทพฯลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย ดังนี้
1.เขตเลือกตั้งที่ชนะขาดเกิน 5,000 คะแนน
-พรรคประชาธิปัตย์ ชนะใน 12 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย 1.พระนคร-ป้อมปราบศัตรูพ่าย-สัมพันธวงศ์ 2.ปทุมวัน-บางรัก-สาทร 3.บางคอแหลม-ยานนาวา 4.คลองเตย-วัฒนา 5.สวนหลวง-ประเวศ 6.ดินแดง-พญาไท 7.ห้วยขวาง-วังทองหลาง 8.ลาดพร้าว-วังทองหลาง 9.สะพานสูง-ประเวศ 10.พระโขนง-บางนา 11.ธนบุรี-คลองสาน 12.จอมทอง-ธนบุรี
-พรรคเพื่อไทย ชนะใน 4 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย 1.สายไหม 2.บางเขน 3.ลาดกระบัง 4.ดอนเมือง
2.เขตเลือกตั้งที่แพ้-ชนะไม่เกิน 5,000 คะแนน
-พรรคประชาธิปัตย์ ชนะใน 11 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย 1.จตุจักร 2.บางซื่อ 3.บางกะปิ 4.ราษฎร์บูรณะ-ทุ่งครุ 5.บางขุนเทียน 6.บางบอน-หนองแขม 7.ทวีวัฒนา-หนองแขม 8.บางแค 9.ภาษีเจริญ-บางกอกใหญ่ 10.ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย 11.บางพลัด-บางกอกน้อย
-พรรคเพื่อไทย ชนะใน 6 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย 1.ดุสิต-ราชเทวี 2.หลักสี่-ดอนเมือง 3.บึงกุ่ม-คันนายาว 4.มีนบุรี-คันนายาว 5.คลองสามวา 6.หนองจอก
ตาราง ผลต่างของคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เมื่อปี 2554 กับคะแนนผู้ว่าฯกทม. ปี 2556 ผู้สมัคร/ พรรคการเมือง /ผลการเลือกตั้ง
ผู้ว่าฯกทม.56 /ส.ส.บัญชีรายชื่อ กทม. 3 ก.ค.54 / ผลต่างของคะแนน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร / พรรคประชาธิปัตย์ : 1,256,349 / 1,277,669 / 21,320
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ / พรรคเพื่อไทย : 1,077,899 / 1,356,672 / 131,609
ตาราง ผลต่างของคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขต เมื่อปี 2554 กับ คะแนนผู้ว่าฯกทม. ปี 2556 ผู้สมัคร/พรรคการเมือง ผลการเลือกตั้ง
ผู้ว่าฯกทม.56 / ส.ส.แบบแบ่งเขต กทม. 3 ก.ค.54 / ผลต่างของคะแนน จำนวน ส.ส.แบ่งเขต 3.ก.ค.54
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร / พรรคประชาธิปัตย์ 1,256,349 / 1,356,672 / 100,323 / 23
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ / พรรคเพื่อไทย 1,077,899 / 1,206,617 / 128,718 / 10
ถ้าวันที่ 3 มีนาคม 2556 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปใน กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย จะมี ส.ส.ใน 33 เขตเลือกตั้ง จำนวนเท่าใด?
เมื่อวิเคราะห์จากผลคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ล่าสุดในแต่ละ 50 เขตของ กทม. มาแปรเป็นคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตใน กทม.ทั้ง 33 เขตเลือกตั้ง พบว่า 2 พรรคการเมืองจะได้ ส.ส.ดังนี้
1.พรรคประชาธิปัตย์ กวาด ส.ส. 23-24 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.พระนคร-ป้อมปราบศัตรูพ่าย-สัมพันธวงศ์ 2.ปทุมวัน-บางรัก-สาทร 3.บางคอแหลม-ยานนาวา 4.คลองเตย-วัฒนา 5.ดินแดง-พญาไท 6.ห้วยขวาง-วังทองหลาง 7.ลาดพร้าว-วังทองหลาง 8.จตุจักร 9.บางกะปิ 10.สะพานสูง-ประเวศ 11.สวนหลวง-ประเวศ 12.พระโขนง-บางนา 13.ธนบุรี-คลองสาน 14.จอมทอง-ธนบุรี 15.ราษฎร์บูรณะ-ทุ่งครุ 16.บางขุนเทียน 17.บึงกุ่ม-คันนายาว 18.มีนบุรี-คันนายาว 19.บางแค 20.ภาษีเจริญ-บางกอกใหญ่ 21.ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย 22.บางพลัด-บางกอกน้อย 23.บางบอน-หนองแขม 24.อาจได้เพิ่มเขตเลือกตั้งที่ 28 บางบอน-หนองแขม หรือในเขตเลือกตั้งที่ 29 ทวีวัฒนา-หนองแขม
2.พรรคเพื่อไทย กวาด ส.ส. 9-10 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.ดุสิต-ราชเทวี 2.บางซื่อ 3.หลักสี่-ดอนเมือง 4.ดอนเมือง 5.สายไหม 6.บางเขน 7.คลองสามวา 8.หนองจอก 9.ลาดกระบัง 10.อาจได้เพิ่มเขตเลือกตั้งที่ 28 บางบอน-หนองแขม หรือเขตเลือกตั้งที่ 29 ทวีวัฒนา-หนองแขม
เมื่อวิเคราะห์จากผลคะแนนที่คนกรุงเทพฯลงคะแนนให้ผู้สมัครจาก 2 พรรคการเมือง จะพบว่าผลของจำนวนที่นั่ง ส.ส.กทม.ที่คาดว่าจะได้ ไม่มีความต่างจากการเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เมื่อปี 2554 แม้แต่น้อย
โดยพรรคประชาธิปัตย์อาจะได้ 23-24 ที่นั่ง โดยได้เขตในพื้นที่ของ พรรคเพื่อไทย คือ เขตบึงกุ่ม เขตมีนบุรี เขตคันนายาว
ขณะที่พรรคเพื่อไทยอาจจะได้ ส.ส. 9-10 ที่นั่ง โดยได้เขตในพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์ คือ เขตบางซื่อ และอาจได้ ส.ส.เพิ่มเติมในเขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม
นอกจากนี้ ผลคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งนี้ เมื่อนำไปเทียบกับคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อใน กทม.เมื่อปี 2554
ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทย เคยได้ 1,209,508 คะแนน แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งนี้ได้ 1,077,899 คะแนน โดยผ่านไป 2 ปี คะแนนของพรรคเพื่อไทย ลดลง 131,609 คะแนน
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ เคยได้ 1,277,669 คะแนน แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งนี้ได้ 1,256,349 คะแนน โดยผ่านไป 2 ปี คะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ ลดลงเพียง 21,320 คะแนน
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่า "พรรคประชาธิปัตย์" สามารถกุมฐานคะแนนเสียงเดิมไว้ได้ใกล้เคียงฐานเสียงเมื่อปี 2554 ในขณะที่ "พรรคเพื่อไทย" ไม่สามารถยึดฐานคะแนนเสียง ซึ่งเป็นความนิยมเดิมในการเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เมื่อ 2 ปีที่แล้วได้!
หน้า 11,มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ 13 มีนาคม 2556 http://www.matichon....1&subcatid=0100
เพื่อไทยกำลังน้อยลง
Edited by ตามงคล, 13 March 2013 - 20:13.