แนวหน้า
สำหรับการแจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่า กทม.เข้ารับทราบข้อกล่าวหาคดีบริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากมอบอำนาจให้สภาฯ หักบัญชีเงินเดือน ครั้งละ 20,000 บาท รวม 5 ครั้ง จำนวน 100,000บาท ขัดมาตรา 57 วรรค 2 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง2550 ที่กำหนดให้การบริจาคเงินเข้าพรรคการเมืองเกิน 20,000 บาท ต้องทำเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็คขีดคร่อม เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินบริจาคได้ โดยมีโทษ ตามมาตรา 114 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 เท่าของเงินบริจาค หรือทั้งจำและปรับ และมีโทษเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี
http://www.naewna.com/politic/44817
มติชน
นายธาริต กล่าวต่อว่า วิธีการหักบัญชีเงินเดือนจำนวน 20,000 บาท เข้าพรรค ดีเอสไอเห็นว่าเป็นการกระทำไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายระบุุและต้องได้รับการพิสูจน์ตามกระบวกายุติธรรม อีกทั้งเมื่อมีการร้องเรียน เรื่องดังกล่าวต้องเข้าสู่กระบวนการะบวนการยุติธรรม เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าถูกหรือผิด ดีเอสไอเป็นเพียงหน่่วยงานเริ่มต้นที่ทำให้เรื่องเข้าสู่ระบบการะบวนการยุติธรรม การด่วนตัดสินเป็นการตัดตอนยุติธรรม ดีเอสไอไม่ได้หาเรื่องใคร แต่เมื่อมีการร้องเรียนก็ต้องทำหน้าที่ เพื่อส่งอัยการตรวจสอบถ่วงดุลชี้ผิดถูก หากไม่ผิดก็ให้ยุติเรื่องไป
http://www.matichon....9&subcatid=1905
Voicetv
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยว่าในวันพรุ่งนี้ (14 มี.ค.56) ได้นัดให้หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เข้าชี้แจงกรณีที่มีการจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองให้กับพรรคประชาธิปัตย์โดยวิธีการให้สภาผู้แทนราษฎรหักเงินเดือน ส.ส.เข้าบัญชีพรรคว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีจำนวน ส.ส.หักบัญชีเงินเดือนเข้าพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น 48 ราย ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาตรา 57 วรรค 2
มาตรา 157 ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต ธาริต ถ้าจะโดนเต็มๆ
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 http://goo.gl/CTxjs
มาตรา ๕๔ การหารายได้จากการจัดกิจกรรมหาทุนของพรรคการเมืองต้องกระทำโดยเปิดเผยและแสดงวัตถุประสงค์ว่าเป็นการหาทุนของพรรคการเมืองอย่างชัดเจน และเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ได้จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวจากผู้สนับสนุนรายใดที่มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้ถือเป็นรายได้จากการบริจาคเมื่อพรรคการเมืองได้ดำเนินกิจกรรมหาทุนในแต่ละครั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วให้รายงานรายได้ที่หาได้และกิจกรรมที่จัดขึ้นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดกิจกรรมดังกล่าวการรายงานตามวรรคสองให้ระบุชื่อบุคคลผู้สนับสนุนทางการเงินเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป แก่กิจกรรมหาทุนนั้นด้วย
มาตรา ๕๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๔ วรรคสาม การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ต้องเปิดเผยชื่อผู้บริจาคต่อสาธารณชนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดการบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป จะต้องบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อม
ดังนั้น ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดคดีบริจาคเงินเข้าพรรค DSI กำลังเล่นแง่เป็นศรีธนญชัย
เพราะถ้าหยิบมาตรา 57 วรรค 2 อย่างเดียวมาใช้ก็จะไม่รู้เลยว่าการบริจาคนั้นต้องเป็นต่อครั้ง หรือรวมเงินทั้งหมดที่บริจาค
**** ถ้าการเดาใจ DSI ครั้งนี้ของผมไม่ผิด ธาริตจะทำเรื่องที่ฮาเงิบไปทั้งวงการนักกฎหมาย และนักวิชาการด้านกฎหมายแน่นอน
เพราะการที่หยิบมาตรา 57 มาตราเดียวมาตี ปชป.เท่ากัีบมั่วได้สุดๆ แล้วครับ
***(อธิบาย) มาตรา 57 ถ้าอ่านรวมในมาตรา จะต้องติดที่ "ภายใต้บังคับมาตรา 54 วรรคสาม" เราก็ต้องไปดูที่มาตรา 54 วรรค 3 แล้วจะมีประโยค "การรายงานตามวรรคสอง" เราก็ต้องย้อนขึ้นไปดูที่มาตรา 54 วรรค 2 ก็จะพบว่า "ในแต่ละครั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว"
ซึ่งก็เท่ากับว่า การที่คุณชายจะบริจาคเข้าพรรคโดยอาจไม่ได้มีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อม จะไม่เข้าข่ายความผิดเลย เพราะคุณชายหักเงินไป 5 ครั้ง เป็นเงินประมาณ 1 แสนบาท ก็เท่ากับว่าในแต่ละครั้ง บริจาคไม่เกิน 20,000 บาท
แต่ DSI กำลังเป็นศรีธนญชัยด้านกฎหมายแล้วงานนี้