คำถามและคำตอบ แนวการปฏิบัติธรรม
พระสุญโญภิกขุ พระภิกษุชาวอเมริกันจดบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อลาสิกขาแล้วท่านได้พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน ต่อมามีผู้แปลเป็นภาษาไทย และหลวงพ่อชาให้พระวีรพลเตชะปัญโญ
แห่งวัดหนองป่าพงสอบผ่านแล้วจึงได้ให้พิมพ์ฉบับภาษาไทย
15. ถาม ท่านอาจารย์เคยสอนว่าสมถะ หรือสมาธิและวิปัสสนา หรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน ขอให้ท่านอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมได้ไหม
ตอบ นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆนี่เอง สมาธิ สมถะและปัญญา วิปัสสนา นี่ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ ภาวนา
จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะ และอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญา หรือวิปัสสนาได้ในที่สุด
แล้วจิตก็จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่ หรือเดินอยู่ในเมืองที่วุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่าครั้งหนึ่ง ท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่
แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็นคนๆเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน
ในทำนองเดียวกัน สมถะหรือวิปัสสนาก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
และถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่พูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไปและเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง
ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิ และปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัวของท่านเอง ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นกับอยู่ชื่อเรียก
ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่าวิปัสสนา สมถะก็ถูกเหยียดหยาม หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่าสมถะ ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อนวิปัสสนา
เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไปแล้วท่านจะรู้ได้ด้วยตัวท่านเอง
มิลินทปัญหา เป็นปกรณ์มีมาเก่าแก่และสำคัญปกรณ์หนึ่งในพระพุทธศาสนา มิลินทปัญหา รจนา โดย ท่าน ปิฏก จุฬา ภัย ประมาณ พ.ศ. ๕๐๐เป็นคัมภีร์ชั้นหลังจากพระไตรปิฎก
รจนาขึ้นเพื่อชี้แจงข้อธรรม และหลักธรรมต่างๆ ให้ชัดเจนโดยอาศัยเรื่องราวในอดีตที่พระนาคเสน แก้ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์เป็น "เรื่องของธรรมะ" ที่อธิบายข้อธรรม และ
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ยอมรับและยกย่องกันทั่วไปว่า "มิลินทปัญหา" อธิบายพระธรรมวินัยได้อย่างลึกซึ้ง และ กระจ่างชัดเป็นการวินิจฉัย และ นำเสนอพระธรรมวินัย
เพื่อให้เกิดความเข้าใจสภาพธรรม"โดยการอุปมา
พระพุทธโฆษาจารย์ผู้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยในลังกา ราวปีพุทธศักราช ๑๐๐๐ และเป็นผู้รจนาอรรถกถา ตลอดจนคัมภีร์มากมาย ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการอธิบายความ ในพระไตรปิฎก
เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้อ้างถึง "มิลินทปัญหา"เป็นหลักในการวินิจฉัยความในอรรถกถาของท่าน หลายแห่ง
ปัญญาลักขณปัญหา
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ปัญญามีลักษณะเป็นอย่างไร "
พระเถรเจ้าทูลตอบว่ า "แต่ก่อนอาตมภาพได้กล่าวว่ า 'ปัญญา มีลักษณะตัดให้
ขาด,' อีกอย่ างหนึ่ ง ปัญญา มีลักษณะส่องให้สว่ าง"
ร "ปัญญามีลักษณะส่องให้สว่ างเป็นอย่ างไร "
ถ "ปัญญา เมื่อเกิดขึ้นย่ อมกํ าจัดมืด คือ อวิชชา, ทําความสว่ าง คือ วิชชาให้เกิด,
ส่องแสง คือ ญาณ, ทําอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏ, แต่นั้น พระโยคาวจรย่ อมเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบว่ า 'สิ่งนี ไม่เที่ยง สิ่งนี เป็นทุกข์ สิ่งนี้ไม่ใช่ตัว"
ร "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง"
ถ "เหมือนอย่ างว่ า จะมีบุรุษถือไฟเข้าไปในเรือนที่มืด, ไฟที่เข้าไปแล้วนั้นย่ อม
กําจัดมืดเสียทําความสว่ างให้เกิด, ส่องแสง ทํารูปให้ปรากฏ ข้อนั้นฉันใด; ปัญญา เมื่อ
เกิดขึ้นย่ อมกํ าจัดมืด คือ อวิชชา, ทําความสว่ าง คือ วิชชาให้เกิด, ส่องแสง คือ ญาณ, ทํา
อริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏ, แต่นั้น พระโยคาวจรย่ อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่ า 'สิ่งนี ไม่
เที่ยง สิ งนี เป็นทุกข์ สิ่งนี มิใช่ตัว' ข้อนี้ก็ ฉันนั้น ปัญญา มีลักษณะส่องให้สว่ างอย่ างนี
ธัมมสันตติปัญหา
พระราชาตรัสถามว่ า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดเกิดขึ้น เขาจะเป็นผู้นั้น หรือจะเป็นผู้อื่น "
พระเถรเจ้าทูลตอบว่ า "จะเป็นผู้นั้นก็ ไม่ใช่จะเป็นผู้อื่นก็ ไม่ใช่"
ร "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง"
ถ "พระองค์จะทรางสดับต่อไปนั้นเป็นไฉน ข้อความที่อาตมภาพจะทูลถาม: ก็
เมื่อเวลาใด พระองค์ยังทรงพระเยาว์เป็นเด็กอ่อน บรรทมหงายอยู่ ในพระอู่, พระองค์นั้น
นั่นแหละได้ทรงพระเจริญวัย เป็นผู้ใหญ่ขึ้นในเวลานี้ "
ร "ไม่ใช่อย่ างนั้น พระผู้เป็นเจ้า, ในเวลานั้น ข้าพเจ้าเป็นเด็กอ่อนนอนหงายอยู่
นั้นคนหนึ่ ง ในเวลานี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ขึ้นคนหนึ่ ง"
ถ "ก็ เมื่อเป็นอย่ างนั้ น แม้มารดาบิดาอาจารย์ และคนมีศีลมีสิปปะมีปัญญาก็ จัก
ไม่มีนะซิ, มารดาของสัตว์ซึ่งแรกปฏิสนธิ เป็นกลละ เป็นอัมพุทะ เป็นชิ้นเนื้อ เป็นแท่ง
และมารดาของสัตว์ที่เป็นทารก มารดาของสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่คนละคน ไม่ใช่คนเดียวกั น
ดอกหรือ คนหนึ่งศึกษาสิปปะ คนหนึ่งเป็นผู้ได้ศึกษาแล้ว คนหนึ่ งทําบาปกรรม มือและ
เท้าทั้ งหลายของคนหนึ่งขาดไปหรือ "
ร "ไม่เป็นอย่ างนั้น พระผู้เป็นเจ้า, ก็ เมื่อเขาถามพระผู้เป็นเจ้าอย่ างนั้น พระผู้
เป็นเจ้าจะตอบอย่ างไร "
ถ "อาตมภาพนี้แหละเป็นเด็ก อาตมภาพนี้แหละเป็นผู้ใหญ่ในเวลานี้
สภาวธรรมทั้งหลายอาศัยกายนี้นี่แหละ นับว่ าเป็นอันเดียวกันทั้งหมด"
ร "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก"
ถ "เหมือนอย่ างว่ า บุรุษคนหนึ่ งจะตามประทีป อาจตามไปได้จนตลอดรุ่งหรือไม่"
ร "ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า"
ถ "เปลวไปอันใดในยามแรก เปลวไฟอันนั ้นหรือในยามกลาง"
ร ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า"
ถ "เปลวไฟอันใดในยามกลาง เปลวไฟอันนั ้นหรือในยามสุด "
ร ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า"
ถ ประทีบในยามแรก ในยามกลาง และในยามสุด ดวงหนึ่ ง ๆ ต่างหากกั นหรือ
ร "ไม่ใช่ พระผู้เป์ นเจ้า, ประทีปที่อาศัยประทีปนั้นนั่ นแหละสว่ างไปแล้วจน
ตลอดรุ่ง"
ถ "ข้อนั้นฉันใด, ความสืบต่อแห่งสภาวธรรมก็ สืบต่อกั น ฉันนั้นนั่ นแหละ;
สภาวะอันหนึ่ งเกิดขึ้น สภาวะอันหนึ่ งดับไป, เหมือนกะสืบต่อพร้อม ๆ กั น, เพราะเหตุ
นั้น ผู้ที่เกิดขึ้นจึงได้ชื่อว่ าจะเป็นผู้นั ้นก็ ไม่ใช่ จะเป็นผู้อื่นก็ ไม่ใช่แต่ถึงความสงเคราะห์ว่ า
ปัจฉิมวิญญาณ"
ร "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังให้ยิ่ งขึ ้นอีก"
ถ "เหมือนอย่ างว่ า นํ้านมที่เขารีดออก ครั ้นเวลาอื่น แปรเป็นนมส้มไป, และ
แปรไปจากนมส้มก็ เป็นเนยข้น, แปรไปจากเนยข้นก็ เป็นเปรียง, และจะมีผู้ใดผู้หนึ่ งมาพูด
อย่ างนี้ว่า 'นํ้านมอันใด นมส้มก็ อันนั้นนั่นเอง นมส้มอันใด เนยข้นก็ อันนั้นนั่ นเอง เนยข้น
อันใด เปรียงก็ อันนั้นนั่ นเอง' ฉะนี้ เมื่อผู้นั้นเขาพูดอยู่ จะชื่อว่ าเขาพูดถูกหรือไม่ "
ร "ไม่ถูก พระผู้เป็นเจ้า, มันอาศัยนํ้านมนั้นนั่ นเองเกิดขึ้น"
ถ "ข้อนั้นฉันใด, ความสืบต่อแห่งสภาวธรรม ก็ สืบต่อกันฉันนั้นนั่ นแหละ;
สภาวะอันหนึ่ งเกิดขึ้น สภาวะอันหนึ่ งดับไป, เหมือนกะสืบต่อพร้อม ๆ กั น, เพราะเหตุ
นั้น ผู้ที่เกิดขึ้นจึงได้ชื่อว่ าจะเป็นผู้นั้นก็ ไม่ใช่ จะเป็นผู้อื่นก็ ไม่ใช่แต่ถึงความสงเคราะห์ว่ า
ปัจฉิมวิญญาณ"