Jump to content


Photo
- - - - -

ความจริงที่ต้องรู้: ยินดีกับเพื่อนสมาชิกทุกๆท่าน และ ชาวไทยทั้งประเทศ เพราะท่านจะไม่ได้เป็นหนี้ 50 ปีอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้ จากรถไฟความเร็วสูง


  • Please log in to reply
25 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

ตอบ 5 เมษายน พ.ศ. 2556 - 23:47

*
POPULAR

อภิมหาโครงการกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ที่จะมีหนี้สินมากถึง 5 ล้านล้านบาทนั้น

โครงการสำคัญคือรถไฟความเร็วสูง อาจไม่ทำให้ท่านทั้งหลายต้องแบกภาระใช้หนี้ถึง 50 ปีอย่างที่คิด

เพราะไปๆมาๆจะกลายเป็นการเจ๊งไม่รู้จบ เพราะอะไรนั้นหรือ จะสาธยายเปิดโลกให้ผู้สนับสนุนรัฐบาลเพื่อไทยฟัง

สาเหตุเนื่องจากเงินดังกล่าวเกือบ 8 แสนล้าน จะเอาไปลงทุนระบบรถไฟฟ้า และจะลากตกเหวทั้งขบวน

และเงินที่แบ่งมาจาก 2.2 ล้านล้านๆจะก่อสร้างได้แค่ระบบรางเท่านั้น ส่วนระบบการเดินรถต้องใส่เงินเพิ่มอีก

เท่ากับว่าการลงทุนระบบรางเป็นเงินก้อนแรกที่ลงทุนไปแล้ว "สูญ" ไม่ได้มีผลงอกเงย หายวับไปกับตา

และหลังจากก่อสร้างระบบรางเสร็จเมื่อไร ก็ต้องหาระบบรถไฟมาวิ่ง "นี่แหละจุดขาดทุน"

เพราะจุดที่สร้างรถไฟจากกรุงเทพฯ กระจายไปตามทิศต่างๆ ทั้งเหนือ ใต้ อีสาน ออก ตก ปริมาณผู้โดยสารไม่พอเพียง

ไม่ถึงจุดคุ้มทุนใดๆทั้งสิ้น จะไปขนผัก ขนผลไม้ มันไม่คุ้มหรอก แค่เรื่องของอดีตพนักงานในบริษัทพี่ชายฝันกลางวันซะมากกว่า

ทำไมผมไม่ให้เครดิตโครงการนี้ เพราะเป็นคนหนึ่งที่รู้ดีเรื่องรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ที่ไม่ได้บริหารโดย bts นะซิ

จะไล่ให้ฟังทั้งแอร์พอร์ตลิงค์ และ รถไฟฟ้าใต้ดิน

แอร์พอร์ตลิงค์ เชื่อมระหว่างสุวรรณภูมิ มักกะสัน เป็นฝีมือรัฐบาลไทยรักไทย

โครงการนี้ขาดทุนตั้งแต่วันแรกที่เปิดดำเนินการ เฉพาะค่าบริหารจัดการ ของโครงการนี้อยู่ประมาณวันละ 2 ล้านบาท

ขณะจำนวนผู้โดยสารไม่เคยถึงจุดคุ้มทุนแม้แต่วันเดียว

รถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าบริหารจัดการแพงกว่านั้นอีกปาเข้าไปวันละ 4 ล้านบาท ต้องกลืนเลือดขาดทุนมานาน ตอนนี้แค่พยุงตัวได้

แต่ไม่มีกำไรใดๆมากนัก

ลองคิดดูเถอะ ผู้โดยสานที่จะขึ้นรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะสร้างขึ้นไปต่างจังหวัดจะมีคนมากไปกว่าคนกรุงเทพ ที่ขึ้นรถไฟฟ้าหรือ

นีแหละ ต้นทุนค่าบริหารจัดการจะบานปลายกลายเป็นหนี้ไม่รู้จบ

หากนึกภาพขาดทุนไม่ออก เอาแอร์พอร์ตลิงค์ตั้ง บวกเพิ่มไปอีก 4 สาย โดยระยะทางยาวกว่า ต้นทุนการบริหารจัดการแพงกว่า

"ยิ่งวิ่ง ยิ่งเจ๊ง ยิ่งขาดทุน"

ส่วนจะมีเอกชนมาลงทุนคงยาก ยกเว้นรัฐต้องใช้เงินอุดหนุน หรือให้ผลตอบแทนคุ้มค่าถึงมีใครกล้าทำ

งานนี้ไม่ใช้เฉพาะหนี้ 5 ล้านล้านบาทที่รออยู่ แต่หนี้จะเพิ่มพูนหลังจากที่มีการเดินรถวันแรกทันที

เตรียมตัว เตรียมใจไว้เถอะ ผมขอเอาตัวรอดไม่ร่วมใช้หนี้พร้อมๆกับพวกท่านฯหมดหรอก

ให้ลูกหลานรับต่อไป ใช้หนี้กันแบบไม่มีวันจบสิ้น

Edited by โจโฉ นายกตลอดกาล, 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 00:05.

เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#2 นายตัวเกร็ง

นายตัวเกร็ง

    Monkey Godfather Lv.3

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,901 posts

ตอบ 5 เมษายน พ.ศ. 2556 - 23:51

ขอให้ลูกหลานจำไว้แล้วกันว่าตระกูลไหนมันกู้ก็แล้วกัน


เขียนเรื่องการเมือง : ดราม่า ,เขียนเรื่องสังคม : ดราม่า เขียนเรื่องบันเทิง : ดราม่า
แต่พอโพสเรื่องหื่น : มีความเห็นเป็นไปทางเดียวกันเสมอ >3<


#3 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 5 เมษายน พ.ศ. 2556 - 23:56

กดไลค์ให้ลายเซ็นข้างล่างคุณโจโฉด้วยครับ   :D


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#4 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 00:00

แอบคิดหน่อยๆ 

ว่าโครงการนี้ น่าจะยังไม่ถึงกะตั้งท้อง (อย่าว่าแต่จะคลอดเลยครับ)

เพราะปัญหานานับปการ

อยู่ที่ว่า รัฐบาลจะหน้าด้านแค่ไหนที่จะเข็ญโครงการออกมา

ทั้งที่รู้ว่า มันจะไม่สำเร็จ หรือสำเร็จก็มีแต่เจ๊ง

 

เว้นแต่ ถ้ารัฐบาลสามารถทำให้ค่าโดยสารถูกกว่าโลว์คอส

ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้

โครงการนี้ เชื่อว่า น่าจะสะดุดล้มหลายครั้ง

 

อยู่ที่ว่าจะหน้าด้านลุกขึ้นสิ่งต่อมั๊ย


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#5 RaRa

RaRa

    Seien Sie loyal zu Majesty

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,976 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 00:32

เอาง่ายๆ นะครับ........ถ้าหากว่า "ลงทุนแล้วมีกำไร"

 

ป่านนี้ นักธุรกิจเอกชน ชาวต่างชาติ ต้องแห่กันเข้ามา

 

"ล๊อบบี้ ของานไปทำกัน เป็นนานสองนานแล้วหล่ะครับ"...!!! -_- -_-

 

 

 

ป.ล. จุดประสงค์การกู้ของไอ้พวกระยำ และพวกที่สนับสนุนมัน ไม่ได้คิดเพื่อประเทศชาติหรอกครับ......Commision Only !!!


ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด

...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี

โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี

...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย


#6 Tatiana

Tatiana

    แทนคุณแผ่นดินเกิด

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,063 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 00:59

ที่แน่ๆก็คือลูกหลานประชาชนและประชาควายต้องก้มหน้าก้มตาใช้หนี้กันไป แต่จะมีลูกหลานของพวกระำไม่กี่ตระกูลที่จะมีมรดกไว้ให้ผลาญอีกหลายชั่วโคตร


กราบหัวใจพี่น้องที่เสียสละออกมาทวงอำนาจคืนจากระบอบทักษิณ


#7 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 01:27

รถไฟความเร็วสูง ไปถึงแค่พิดโลก..... ทุนคืนยังท่าจะไม่รอดนะครับ  อย่าว่าแต่กำไรเลย


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#8 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 04:06

รถไฟความเร็วสูง ไปถึงแค่พิดโลก..... ทุนคืนยังท่าจะไม่รอดนะครับ  อย่าว่าแต่กำไรเลย

 

จุดคุ้มทุนอยู่ที่ชาตินึงครับ 



#9 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:11

มีการออกข่าวว่าจะให้เอกชนร่วมลงทุนด้วย จะได้ไม่ใช้งบฯเกินเพดาน

แสดงว่าคนในรัฐบาลก็คิดเหมือนผมเช่นกัน เลยผ่องไปให้เอกชนรับไปบ้าง
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#10 Bourne

Bourne

    สายลับ ๆ ล่อ ๆ หัดเกรียน

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,471 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:42

อยากได้ความรู้เรื่องการสร้างเครือข่ายระบบรถไฟของประเทศญี่ปุ่นด้วยครับ

เคยอ่านผ่าน ๆ ถ้าจำไม่ผิด รัฐทำเองก็เจ๊ง จนต้องให้สัมปทานเอกชนหลายแห่งมาช่วยกันทำใช่ป่าวครับ

ถ้าใช่ แล้วบ้านเรา รัฐจะทำเองทั้งหมด มันจะไม่เจ๊งเหรอครับ เงินลงทุนแยะขนาดนั้น

ใครรู้ช่วยเล่าย่อ ๆ ให้ฟังหน่อยครับ


Edited by Bourne, 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:21.

ภาระกิจหลักของผมบนบอร์ดเสรีไทย คือ ด่าควายครับ เรื่องคิดต่างผมรับได้ แต่เรื่องคิดชั่วผมรับไม่ไหวครัช

#11 ริวมะคุง

ริวมะคุง

    ห้ามให้อาหารสัตว์

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,577 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:16

ผมถึงกล้าบอกเลยว่า ได้กำไรให้ถีบเลย  :lol:


Posted Image

#12 kaidum

kaidum

    ขาดขา

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,125 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:44

หมดกัน. รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ หาดใหญ่ ของผม

ขอถามหน่อยครับน้าโจ แล้วโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย จีนของ ปชป
มีอะไรที่แตกต่างบ้างครับ ผมยังแอบเชียร์เผื่อยังมีโอกาสได้นั่ง
รัฐบาลใหนๆก็เถอะครับ จุดคุ้มทุน บริหารจัดการ ถ้าคิดกันให้ดีดี
เราน่าจะทำได้
ประชาธิปไตยของผม ไม่ได้เกิดจากอารมณ์และการอุปถัมป์ โดยใคร

#13 หมูสนามจริง

หมูสนามจริง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 330 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 18:06

หมดกัน. รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ หาดใหญ่ ของผม

ขอถามหน่อยครับน้าโจ แล้วโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย จีนของ ปชป
มีอะไรที่แตกต่างบ้างครับ ผมยังแอบเชียร์เผื่อยังมีโอกาสได้นั่ง
รัฐบาลใหนๆก็เถอะครับ จุดคุ้มทุน บริหารจัดการ ถ้าคิดกันให้ดีดี
เราน่าจะทำได้

"เรื่องของรถไฟความเร็วสูง - แล้วถ้าเป็นประชาธิปัตย์เราจะทำ

อย่างไร?

รมว.คมนาคม คุณชัชชาติถูกแฉกลางสภาฯว่า 'โกหก' ที่ระบุในเอกสารประกอบการพิจารณาว่ารถไฟฟ้าจะวิ่งไปถึงหนองคาย และทางใต้ไปถึงปาดังเบซาร์

ก็อาจจะว่ากันแรงไปหน่อย แต่ท่านพยายามแก้ตัวในสภาฯ แต่ก็ไปไม่รอด สุดท้ายทางกระทรวงจึงออกมายอมรับว่ามีงบเงินกู้จัดไว้ให้ไปแค่โคราชและหัวหิน ลึกๆคุณชัชชาติพลาดเพราะไปยอมทุ่มเงินกับเส้นทางไปเชียงใหม่ตามความต้องการของ 'นายใหญ่-นายหญิง' ทั้งๆที่คุณชัชชาติก็คงจะรู้ว่าไม่ได้เป็นเส้นทางที่คุ้มค่าที่สุด จากนั้นพอสส.อีสานกลัวเสียคะแนนก็เลยยอมมาแก้เอกสาร จนถูกจับได้

ถ้าใครอยู่ในวงการหุ้น จะรู้นะครับว่าบริษัทใหนทำเอกสารประกอบการขอเงินเพิ่มทุนอย่างนี้ ถึงกับผิดอาญาเลยทีเดียว โทษสูงสุดติดคุกสองปี และนั่นเขาขอเงินกันเพียงหลักร้อยล้านพันล้าน

แต่นี่จะเอาเงิน ๒ ล้านล้าน แต่เอกสารที่อ้างว่าครบถ้วนเรียบร้อยนั้น จริงแล้วยังขาดความน่าเชื่อถือในอีกหลายจุดสำคัญ และเป็นเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลจึงไม่ยอมยืนยันให้เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย

วันก่อนผมนั่งคุยกับคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ท่านเล่าให้ผมฟังว่าตอนที่ท่านไปคุยกับจีนเรื่องนี้ ผู้ที่จีนให้มาคุยด้วยก็คือผู้นำสูงสุดคนปัจจุบัน ขณะนั้นทั้งสองท่านยังเป็นรองนายกฯอยู่ และท่านทั้งสองได้วาดแผนว่าจะต้องมีการเชื่อมโยงจีนเข้ามากับอาเซี่ยนด้วยเส้นทาง คุนหมิง-สิงคโปร์ ที่ผ่านเมืองไทยจากหนองคายไปสู่ปาดังเบซาร์ และที่สำคัญข้อตกลงเบื้องต้นกับจีนคือการร่วมลงทุนที่จะทำให้ภาระการลงทุนของไทยเราลดลงอย่างมา

แนวคิดเราคือ
๑. เริ่มลงทุนด้วยเส้นแรกสาย 'เอเซียใต้' คุนหมิง-ลาว-ไทย-มาเลย์ฯ-สิงคโปร์
๒. เราใช้พื้นที่ทางรางเป็นส่วนทุนของเรา
๓. จีนลงเงินค่าวางราง ซึ่งใช้ส่วนนี้เป็นทุนของเขา
๔. ทั้งหมดจดทะเบียนเป็นบริษัทร่วมทุน ไทยถืออย่างน้อย ๕๑% มีสัมปทานบริหารเส้นทางรางประมาณ ๕๐ปี
๕. บริษัทนี้กู้เงินเองเพื่อมาลงทุนในตัวรถไฟและการบริหารจัดการ เท่ากับประชาชนคนไทยผู้เสียภาษีต้องใส่เงินน้อยมาก
๖. ใครคนอื่นอยากวิ่งรถไฟบนรางนี้ก็ได้ แต่ต้องเสียค่าเช่ารางให้บริษัทร่วมทุนในช่วงสัมปทาน
๗. ส่วนเงินที่ไทยต้องใช้ จะมาจากงบประมาณ
๘. ทุกขั้นตอนผ่านรัฐสภาฯ และได้พิจารณาตามมาตรา ๑๙๐ แล้วด้วย

นี่คือการ 'แปลงสินทรัพย์เป็นทุน' ที่รัฐมนตรีชัชชาติตอบในสภาฯว่า 'ยากเกินไป' และทั้ง'ผู้คิดแทนพรรค'และสส.พรรคเพื่อไทยทุกคนก็กลับลำคำสัญญาว่า หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็จะ 'ไม่กู้'

แถมดันไปกู้นอกระบบงบประมาณอีกต่างหาก และไม่ยอมยืนยันว่าจะใช้ระเบียบการพัสดุในการจัดซื้อจัดจ้าง

เรื่องเดียวกัน แต่วิธีคิด วิธีทำต่างกันชัดเจน
ผลต่อประเทศ ต่อประชาชนก็ต่างกันด้วยครับ"
 

วิธีสู้กับพวกติงต๊อง
1.เฉย
2.ติงต๊องให้มากกว่า

#14 วิท

วิท

    ขาแพง

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,333 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 18:56

หมดกัน. รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ หาดใหญ่ ของผม
ขอถามหน่อยครับน้าโจ แล้วโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย จีนของ ปชป
มีอะไรที่แตกต่างบ้างครับ ผมยังแอบเชียร์เผื่อยังมีโอกาสได้นั่ง
รัฐบาลใหนๆก็เถอะครับ จุดคุ้มทุน บริหารจัดการ ถ้าคิดกันให้ดีดี
เราน่าจะทำได้

"เรื่องของรถไฟความเร็วสูง - แล้วถ้าเป็นประชาธิปัตย์เราจะทำ
อย่างไร?รมว.คมนาคม คุณชัชชาติถูกแฉกลางสภาฯว่า 'โกหก' ที่ระบุในเอกสารประกอบการพิจารณาว่ารถไฟฟ้าจะวิ่งไปถึงหนองคาย และทางใต้ไปถึงปาดังเบซาร์ก็อาจจะว่ากันแรงไปหน่อย แต่ท่านพยายามแก้ตัวในสภาฯ แต่ก็ไปไม่รอด สุดท้ายทางกระทรวงจึงออกมายอมรับว่ามีงบเงินกู้จัดไว้ให้ไปแค่โคราชและหัวหิน ลึกๆคุณชัชชาติพลาดเพราะไปยอมทุ่มเงินกับเส้นทางไปเชียงใหม่ตามความต้องการของ 'นายใหญ่-นายหญิง' ทั้งๆที่คุณชัชชาติก็คงจะรู้ว่าไม่ได้เป็นเส้นทางที่คุ้มค่าที่สุด จากนั้นพอสส.อีสานกลัวเสียคะแนนก็เลยยอมมาแก้เอกสาร จนถูกจับได้ถ้าใครอยู่ในวงการหุ้น จะรู้นะครับว่าบริษัทใหนทำเอกสารประกอบการขอเงินเพิ่มทุนอย่างนี้ ถึงกับผิดอาญาเลยทีเดียว โทษสูงสุดติดคุกสองปี และนั่นเขาขอเงินกันเพียงหลักร้อยล้านพันล้านแต่นี่จะเอาเงิน ๒ ล้านล้าน แต่เอกสารที่อ้างว่าครบถ้วนเรียบร้อยนั้น จริงแล้วยังขาดความน่าเชื่อถือในอีกหลายจุดสำคัญ และเป็นเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลจึงไม่ยอมยืนยันให้เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายวันก่อนผมนั่งคุยกับคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ท่านเล่าให้ผมฟังว่าตอนที่ท่านไปคุยกับจีนเรื่องนี้ ผู้ที่จีนให้มาคุยด้วยก็คือผู้นำสูงสุดคนปัจจุบัน ขณะนั้นทั้งสองท่านยังเป็นรองนายกฯอยู่ และท่านทั้งสองได้วาดแผนว่าจะต้องมีการเชื่อมโยงจีนเข้ามากับอาเซี่ยนด้วยเส้นทาง คุนหมิง-สิงคโปร์ ที่ผ่านเมืองไทยจากหนองคายไปสู่ปาดังเบซาร์ และที่สำคัญข้อตกลงเบื้องต้นกับจีนคือการร่วมลงทุนที่จะทำให้ภาระการลงทุนของไทยเราลดลงอย่างมาก
แนวคิดเราคือ๑. เริ่มลงทุนด้วยเส้นแรกสาย 'เอเซียใต้' คุนหมิง-ลาว-ไทย-มาเลย์ฯ-สิงคโปร์๒. เราใช้พื้นที่ทางรางเป็นส่วนทุนของเรา
๓. จีนลงเงินค่าวางราง ซึ่งใช้ส่วนนี้เป็นทุนของเขา๔. ทั้งหมดจดทะเบียนเป็นบริษัทร่วมทุน ไทยถืออย่างน้อย ๕๑% มีสัมปทานบริหารเส้นทางรางประมาณ ๕๐ปี๕. บริษัทนี้กู้เงินเองเพื่อมาลงทุนในตัวรถไฟและการบริหารจัดการ เท่ากับประชาชนคนไทยผู้เสียภาษีต้องใส่เงินน้อยมาก๖. ใครคนอื่นอยากวิ่งรถไฟบนรางนี้ก็ได้ แต่ต้องเสียค่าเช่ารางให้บริษัทร่วมทุนในช่วงสัมปทาน
๗. ส่วนเงินที่ไทยต้องใช้ จะมาจากงบประมาณ
๘. ทุกขั้นตอนผ่านรัฐสภาฯ และได้พิจารณาตามมาตรา ๑๙๐ แล้วด้วยนี่คือการ 'แปลงสินทรัพย์เป็นทุน' ที่รัฐมนตรีชัชชาติตอบในสภาฯว่า 'ยากเกินไป' และทั้ง'ผู้คิดแทนพรรค'และสส.พรรคเพื่อไทยทุกคนก็กลับลำคำสัญญาว่า หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็จะ 'ไม่กู้'แถมดันไปกู้นอกระบบงบประมาณอีกต่างหาก และไม่ยอมยืนยันว่าจะใช้ระเบียบการพัสดุในการจัดซื้อจัดจ้าง
เรื่องเดียวกัน แต่วิธีคิด วิธีทำต่างกันชัดเจน
ผลต่อประเทศ ต่อประชาชนก็ต่างกันด้วยครับ"
 
Korn Chatikavanij

เมื่อวานไปนวดตัวกับคนตาบอดเสื้อแดง. เขาสงสัยเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่ทำสายหนองคาย ที่เชื่อมต่อไปลาวก่อน เขาแอบบ่นว่าไม่เข้าใจทำไมรัฐบาลถึงเลือกเส้นทางไปเชียงใหม่ทั้งๆที่รู้ว่าขาดทุน 100% ทำไมถึงไม่ทำรถไฟไปอีสานทั้งที่คนอีสานเลือกพรรคเพื่อไทย

พอคุยไปสักพักก็เปรยเบาๆว่าทำยังไงถึงจะล้มรัฐบาลนี้ได้?!?!

ผมก็แอบคิดในใจว่ากว่าจะฉลาดแม่งต้องฉิบหายก่อน แต่ก็ยังดีกว่าเสื้อแดงแถวนี้ที่จมอยู่กับปลักไม่ยอมขึ้นมาเป็นผู้เป็นคนสักที

#15 Gop

Gop

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,450 posts

ตอบ 6 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:18

อยากได้ความรู้เรื่องการสร้างเครือข่ายระบบรถไฟของประเทศญี่ปุ่นด้วยครับ
เคยอ่านผ่าน ๆ ถ้าจำไม่ผิด รัฐทำเองก็เจ๊ง จนต้องให้สัมปทานเอกชนหลายแห่งมาช่วยกันทำใช่ป่าวครับ
ถ้าใช่ แล้วบ้านเรา รัฐจะทำเองทั้งหมด มันจะไม่เจ๊งเหรอครับ เงินลงทุนแยะขนาดนั้น
ใครรู้ช่วยเล่าย่อ ๆ ให้ฟังหน่อยครับ


สายหลักๆนั้นกำไรครับ อย่างโตเกียว-โอซาก้านั้น คนขึ้นกันถล่มทลาย ปีนึงเป็นร้อยล้านคน แต่มันมีสายอื่นๆที่ออกไปในแนวประชานิยม ซึ่งพอทำเข้ามากๆ ก็ถ่วงความเจริญของทั้งบริษัท ในที่สุดก็ต้องแปรรูป โดยแบ่งการรถไฟเป็นภูมิภาค แล้วให้บริหารจัดการกันเองครับ

หลักฐานไม่เคยโกหก (Gilbert Grissom C.S.I.)<p>Beneath this mask there is more than flesh. Beneath this mask there is an idea, Mr. Creedy, and ideas are bulletproof.

 


#16 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:22

วันนี้คุยกับตาโกร่ง เรื่องนี้แล้วปวดตับ ขาดทุนก็ช่างมัน ให้ประเทศมีรถไฟใช้ก็พอ
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#17 คนดื่มเบียร์

คนดื่มเบียร์

    พอจะทนแดงได้หน่อยๆ

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,721 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:31

อ่านเรื่องนี้ทีไรแล้วเพลียตับ ไปตีกอลฟ์ดีกว่า :P


ช่วงนี้ คนเป่านกหวีดเสียงดังกันเยอะ ปีนี้เลยกลายเป็น " ปี แสบ หู "


#18 Mootang

Mootang

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 507 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:39

วันนี้คุยกับตาโกร่ง เรื่องนี้แล้วปวดตับ ขาดทุนก็ช่างมัน ให้ประเทศมีรถไฟใช้ก็พอ

 

เอ่อ ที่ว่าขอแค่มีรถไฟใช้ก็พอนี่ ตกลงว่าเขาตั้งใจจะสร้างสาย กรุ่งเทพ-เชียงใหม่ ที่ไม่ได้มีประโยชน์ในการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหรือเปล่าครับ?

 

ถ้าเป็นแบบนั้นนอกจากขาดทุนแล้วยังไม่มีหนทางหาเงินจากรถไฟสายนี้มาใช้หนี้ด้วยซ้ำ



#19 อ่อนโลก

อ่อนโลก

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 681 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:41

เรื่องรถไฟมันก็แค่สับขาหลอกเท่านั้นเอง จุดประสงค์จริงๆมันเอาเงินไปให้ไอ้แม้วหมุนมากกว่า (ความรู้สึกส่วนตัวจากค้นอดีตที่ผ่ามา อย่าถามหาหลักฐานเลยครับ)

#20 galaxy

galaxy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 662 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:43

เตรียมตัว เตรียมใจไว้เถอะ ผมขอเอาตัวรอดไม่ร่วมใช้หนี้พร้อมๆกับพวกท่านฯหมดหรอก

ให้ลูกหลานรับต่อไป ใช้หนี้กันแบบไม่มีวันจบสิ้น

....ผมขอเอาตัวรอดด้วย ลูกหลานใครลำบากในภายภาคหน้า ก็เล่าขานกันต่อไปก็แล้วกันว่าไอ้ตระกูลชินและลิ่วล้อมันสร้างความชิหายไว้

#21 จิ้งเหลน

จิ้งเหลน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 314 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:44

ผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม

ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง

ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ

 

https://www.facebook...thaksinofficial



#22 โจโฉ นายกตลอดกาล

โจโฉ นายกตลอดกาล

    น้องใหม่

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,795 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 20:19

ผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อม[/size]เปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม
ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง
ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ[/size]

 
https://www.facebook...thaksinofficial


ยังคงทิ้งทวนแบบเอาดีเข้าตัวเอาชั่วใส่คนอื่นเช่นเดิม ไม่บอกให้หมดเล่าทำไมใช้หนี้ได้หมดไว

ส่วนความคิดตื้นเขินที่ต้องกู้มหาศาล ทั้งๆที่ใช้งบฯปกติ และ การร่วมทุนก็ย่อมทำได้ ถ้าบริหารจัดการเป็น

ทั้งหมดทั้งสิ้นถ้าไม่ละโมบใช้นโยบายมอมเมาประชาชนประเทศจะอยู่ได้โดยไม่ต้องกู้
เชื่อเถอะ อีกไม่ช้า นายเวร จะเสียฉายา "ร้อยล๊อกอิน" ไปในไม่กีอึดใจนี้

#23 บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,880 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 20:20

เปลี่ยนไปปรับปรุงรถไฟเดิมเป็นรางรางคู่ก็คลาสสิกดีสำหรับประเทศไทยแล้ว


ความพึงพอใจของคนโง่ คือ หายนะ

#24 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 20:28

แอบคิดหน่อยๆ 

ว่าโครงการนี้ น่าจะยังไม่ถึงกะตั้งท้อง (อย่าว่าแต่จะคลอดเลยครับ)

เพราะปัญหานานับปการ

อยู่ที่ว่า รัฐบาลจะหน้าด้านแค่ไหนที่จะเข็ญโครงการออกมา

ทั้งที่รู้ว่า มันจะไม่สำเร็จ หรือสำเร็จก็มีแต่เจ๊ง

 

เว้นแต่ ถ้ารัฐบาลสามารถทำให้ค่าโดยสารถูกกว่าโลว์คอส

ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้

โครงการนี้ เชื่อว่า น่าจะสะดุดล้มหลายครั้ง

 

อยู่ที่ว่าจะหน้าด้านลุกขึ้นสิ่งต่อมั๊ย

 

 

 

เวลานี้โยนไปให้สภาพัฒน์ศึกษาแล้ว...

สภาพัฒน์บอกว่าโครงการไหนขาดทุน....

ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ กิตติรัตน์ ชัชชาติ จะทำตัวว่านอนสอนง่ายทันทีไม่สร้าง.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


Edited by ปุถุชน, 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 20:29.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#25 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:34

ผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม

ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง

ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ

 

https://www.facebook...thaksinofficial

 

ใช้คำว่า สมัยเคยทำ แสดงว่าปัจจุบันไม่ได้ทำธุรกิจนั้นแล้ว

สาเหตุที่เลิกทำไปเพราะอะไรครับ 

 

สิ่งที่คุณนำมาพูด นั่นคือความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลครับ

ปัญหาคือ ตามประสบการณ์ที่เราได้เรียนรู้มา

เราจึงไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นนี้ ต่อรัฐบาลนี้ได้

โครงการหลายโครงการ ที่พังพาบไป หรือก่อปัญหาตามหลัง

แสดงให้เราเห็นแล้วว่า รัฐบาลหาได้คิดวางแผน หาทางหนีทีไล่ไว้

ค่าแรง 300 เงินเดือนหมื่นห้า เราเห็นปัญหาเยอะแยะตามที่เคยพูดกันในหลายกระทู้

คืนภาษีรถยนต์คันแรก ที่ไม่มีปัญญาหาเงินมาโปะได้ครบถ้วน

 

มีอันไหนบ้าง ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่คุณพูดมา มันจะสามารถเกิดขึ้นได้

 

ยกตัวอย่างง่ายๆ ค่ารถไฟความเลวสูง 1700 เทียบกับการบินโลว์คอสยังไม่ได้

 

แค่นี้ก็แสดงให้เห็นแล้ว ว่ารัฐคิดแต่ต้นเรื่อง

หาได้หาวิธีจบเรื่องเอาไว้ สิ่งที่เหลือตามมาคือปัญหาครับ

การลงทุนพื้นฐาน เพื่อทำให้เศรษฐกิจโต ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและเป้นไปได้

จึงจะเอามาพูดว่าจะสามารถสร้างเศรษฐกิจให้โตตามได้

 

คุณเปรียบเทียบกับหนี้ IMF ก็ดีแล้ว

คุณจะเห็นได้ว่า หนี้ทั้งหมด ที่เราตั้งใจกู้ 17000 ล้านเหรียญ

ภายหลัง เปลี่ยนเป็นเบิกกู้ 14000 ล้านเท่านั้น (จำตัวเลขแน่นอนไม่ได้ ขออภัยครับ)

แสดงให้เห็นถึงความรู้จักประมาณ และความสามารถในการหาเงินมาใช้หนี้

ควบคู่กันไป

 

อีกทั้ง เงินกู้ประมาณ 17000 ล้านเหรียญในสมัยนั้น

เรายังเคร่งเครียด ปวดหัวกันเลย

แต่ตอนนี้ ตัวเลขพุงไปกว่าเจ็ดหมื่นล้านเหรียญนะครับ

ดูความต่างกันให้ดี

 

ทีนี้ คำว่า ดูที่ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครใช้จ่ายเป็นอย่างเดียว

ผมเชื่อว่าคุณคงได้คำตอบแล้ว อยู่ที่จะยอมรับหรือไม่

 

 

 

สมัยนี้ เวลานี้

ผมก็ทำธุรกิจนะครับ แม้ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก

หนี้ที่ผมยอมให้มี คือหนี้ผ่อนเล็กๆ น้อยๆ ครับ

เช่น คอมพิวเตอร์ หรืออาคารสำนักงาน ที่ผมผ่อนซื้อเป็นของตัวเอง

เคยคิดกันว่า จะเปิดธุรกิจบางอย่างเพิ่มเติม

หลังจากศึกษาความเป็นไปได้ เมื่อต้องหักลบกับหนี้สินที่จะตามมา

หากต้องกู้แบงค์เพื่อทำธุรกิจนั้น ผมไม่เห็นความต่างที่คุ้มค่าเหนื่อย

ผมก็ไม่ทำครับ

 

แต่นั่น คือธุรกิจของผมเอง

หนี้สินทุกอย่าง จะผูกพันกับผมตลอดไปในฐานะเจ้าของธุรกิจ

ต่างกับนักการเมือง ที่มาแล้วก้ไป

เมื่อทำเรื่องกู้ มีภาระผูกพันไป 50 ปี

ถึงเวลานั้น ไอ้อีที่เป็นคนคิดและคนกู้ มันก็คงตายไปแล้ว

แต่หนี้ยังคงอยู่บนหัวคนไทยทั้งชาติ อย่างหนีไปไม่ได้นะครับ

หนี้ 70 ล้าน หมายความว่าคนไทย 70 ล้านคน เฉลี่ยไปคนละบาท

ไม่ได้หมายความว่า นักการเมืองผู้นั้นจะรับ 70 ล้านนั้นไปนะครับ

 

 

 

 

ในความเห็นก่อน ผมพูดถึงความเป้นไปได้ของโครงการนี้

ที่ผมแอบคิดไปว่า มันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง

เนื่องด้วยความจำเป้นที่ยังไม่เห็น

และอาจเป็นเพียงความพยายามสร้างกระแสเพื่ออะไรบางอย่างด้วยซ้ำ

เพราะผมไม่ค่อยอยากเชื่อ ว่าเรื่องนี้ จะผ่านได้

ทั้งจากรัฐบาลเอง ทั้งจากศาล รวมถึงกระแสที่ถูกจุดไปแล้วในสังคม

ถ้ารัฐบาลคิดอยากลอง ก็ลองดูได้ครับ


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#26 ต้นหอม

ต้นหอม

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,472 posts

ตอบ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 - 09:11

ผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม

ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง

ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ

 

https://www.facebook...thaksinofficial

เอ่อ...อันนั้นเค้าใช้กับโครงการที่มีความคุ้มค่าทางการลงทุนค่ะ ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกโครงการ ถ้าจะยกตัวอย่างใกล้ตัวประชาชนก็คงเป็นแคมเปญเงินกำลังจะหมุนไปของธ.กรุงไทยสมัยทักษิณ เงินมันหมุนไปจริงๆค่ะ แต่มันกลับเข้ามาหาบางคนที่ใช้เงินอย่างคุ้มค่า กับบางคนมันหมุนไปเลยไม่กลับมา ทุกวันนี้มีหนี้ไว้ดูต่างหน้าเป็นจำนวนมากเพราะอะไร....


มันจะทำให้เราคิดก่อนพูดได้ดีขึ้น เมื่อเชื่อว่าคำพูดที่ออกไปเหล่านั้นคือคำที่เราจะได้ยินเองในอนาคต

และถ้าเราจะทำดีได้มากขึ้น เมื่อเชื่อว่าเราจะได้เจอสิ่งดีๆในอนาคต

แม้ว่าวันนี้เราจะยังไม่เห็นว่ามันดีอย่างไรแต่อย่างน้อยทำให้เราผ่านวันนี้ไปได้อย่างราบรื่น





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน